“ฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560”
สิทธิกร ศักดิ์แสง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารในระบบรัฐบาลแบบรัฐสภาของประเทศไทย ตามรัฐธรรมนูญ 2560 มีสาระที่สำคัญ ดังนี้
1.ที่มาของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร
1.1 ฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา) ประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)กับวุฒิสภา (ส.ว.)
ส.ส.มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน จำนวน 500 คนแบ่งเขต 350 คน บัญชีรายชื่อจำนวน 150 คน โดยใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียวทั้งแบบแบ่งเขตกับแบบบัญชีรายชื่อ
ส่วน ส.ว. มีที่มาอยู่ 2 ระยะ คือ ระยะ 5 แรก กับระยะ 5 ปีหลัง
ในระยะ 5 ปีแรก ในบทเฉพาะกาลได้กำหนดไว้ในกรณี 5 ปีแรก ส.ว. ที่มาจากการแต่งตั้ง มาจากการแต่งตั้งของคสช.จำนวน 250 คน (ม.269 )
ข้อสังเกต ส.ว. มีที่มาจากการแต่งตั้ง จากบุคคลกลุ่มต่างๆ 244 คน กับบุคคลที่ดำรงแหน่งผู้บัญชากองทัพกับตำรวจ 6 คน
ข้อสังเกต ส.ว. มีอำนาจร่วมพิจารณานายกรัฐมนตรีร่วมกับ ส.ส. (ม.272)
ในระยะ 5 ปีหลังมาจากจากการสรรหา (ม.107-113) จากกลุ่มบุคคลต่างๆ หลากหลายอาชีพ จำนวน 200 คน ทำหน้าที่ในการกลั่นกรองกฎหมายและมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของฝ่ายบริหารได้เช่นเดียวกับส.ส. แต่ไม่มีอำนาจในการเลือกนายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ ปัจจุบันได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 83 สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 500 คน โดยเป็นสมาชิกซึ่งมา จากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 400 คน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 100 คน
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้ใช้วิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ โดยให้ใช้ บัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบละ 1 ใบ คือ หนึ่งใบแบบแบ่งเขต เขตเดียวเบอร์เดียวกับ อีก 1 ใบ แบบบัญชีรายชื่อ ซึ่งผ่านการพิจารณาของรัฐสภา เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2564 รอทิ้ง ไว้ 15 วันและให้นายกฯส่งทูลเกล้าฯเพื่อทรงลงพระปรมภิไธย ตามมาตรา 81
1.2 ฝ่ายบริหาร
หัวหน้าฝ่ายบริหารต้องมาจากฝ่ายนิติบัญญัติ คือ นายกรัฐมนตรีมาจากผู้ที่พรรคการเมืองเสนอชื่อ ซึ่งเป็น ส.ส.หรือไม่เป็น ส.ส.ก็ได้ แต่ต้องไม่เป็น ส.ว. (ม.88) (มาตรา 159) และเลือกรัฐมนตรี อื่นไม่เกิน 35 คน รวมเป็นคณะรัฐมนตรี ทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน กล่าวคือ และรัฐบาลมาจากความไว้วางใจของ ส.ส.เริ่มต้นด้วยการให้ประชาชนเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อได้ ส.ส. ครบถ้วนแล้ว (ม.83-ม.106) สภาก็จะให้ความเห็นชอบในการจัดตั้งฝ่ายบริหาร โดยมอบให้ใครเป็นนายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง (ม.158 - ม.159) เพื่อจัดตั้งฝ่ายบริหาร (คณะรัฐมนตรีหรือเรียกว่า “รัฐบาล”)
ข้อสังเกต ที่ 1 ในระยะ 5 ปี แรก ส.ว. พิจารณาเลือก นายกรัฐมนตรี กับ ส.ส.
ข้อสังเกต ที่ 2 ในกรณีสมัยแรกถ้าไม่สามารถหาได้นายกรัฐมนตรี อาจรัฐสภา (ส.ส. กับ ส.ว.) เสนอบุคคลที่ไม่ได้เสนอตาม ม.88 (ม.272)
2.การถ่วงดุลอำนาจกันระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหาร
ในระบบรัฐสภาของประเทศไทย ตามรัฐธรรมนูญ 2560 ได้กำหนดให้ฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา) มีอำนาจควบคุมการทำงานของฝ่ายบริหาร (รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี) เนื่องจากฝ่ายบริหารมาจากความไว้วางใจของฝ่ายนิติบัญญัติ เมื่อเป็นเช่นนี้ฝ่ายนิติบัญญัติจึงมีอำนาจควบคุมการทำงานของฝ่ายบริหารได้ เรียกว่า “อำนาจในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน” บนรากฐานของ “ความไว้วางใจของสภา” (Parliament’s confidence) ดังนี้
1)ฝ่ายบริหารที่จัดตั้งขึ้นเสร็จแล้วต้องแถลงนโยบายต่อฝ่ายนิติบัญญัติ (ม.162)
2) การตั้งกลไกกรรมาธิการเพื่อตรวจสอบ กล่าว สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอำนาจเลือกสมาชิกของแต่ละสภาตั้งเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ และมีอำนาจเลือกบุคคลผู้เป็นสมาชิกหรือมิได้เป็นสมาชิก ตั้งเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญ หรือคณะกรรมาธิการร่วมกันตามมาตรา 137 เพื่อกระทำกิจการพิจารณาสอบหาข้อเท็จจริง หรือศึกษาเรื่องใด ๆ และรายงานให้สภาทราบ (มาตรา 129)
3) สมาชิกฝ่ายนิติบัญญัติ (สมาชิกรัฐสภา) สามารถตั้งกระทู้ถาม (Question) ซึ่งอาจจะเป็นการตั้งกระทู้ถามสด หรืออาจจะเป็นการตั้งกระทู้ถามทั่วไปก็ได้(ม.150)ต่อนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีในปัญหาที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินหรือปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
4)การเปิดอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ (Vote of no Confidence) ทั้งคณะ(เป็นการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี) หรือรัฐมนตรีรายบุคคล (ม.151) ซึ่งเป็นการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจแบบลงมติโดยสภาผู้แทนราษฎรกับเปิดอภิปรายไม่ไว้วางแบบไม่ลงมติ (ม.152)
ข้อสังเกต การเปิดอภิปรายไม้ไว้วางใจตามมาตรา 151 เป็นมาตรการขั้นเด็ดขาดขั้นสุดท้ายที่จะควบคุมฝ่ายบริหาร
ข้อสังเกต การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี ถือ เป็นไม่ไว้วางใจทั่งคณะ ถ้านายกรัฐมนตรีก็ต้องพ้นทั้งคณะ
ข้อสังเกต การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจแบบลงมติ จะต้อง ส.ส. เท่านั้น
ข้อสังเกต การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจแบบไม่ลงมติ เป็น ส.ส. หรือ ส.ว. ก็ได้
5) เมื่อกรณีฝ่ายบริหารออกพระราชกำหนด ภายใต้เงื่อนไข มาตรา 172 มาตรา 174 และเมื่อเข้าสู่สมัยประชุมการสภานิติบัญัติ (สมัยการตรากฎหมาย) ฝ่ายบริหารต้องนำพระราชกำหนดให้ฝ่ายนิติบัญญัติอนุมัติ
6) ฝ่ายบริหารจะดำเนินการ เช่น ที่เกี่ยวกับสัญญาที่มีผลเกี่ยวอาณาเขตของรัฐ อำนาจอธิปไตยของรัฐ การประกาศสงคราม เป็นต้น ต้องได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติ
7) ฝ่ายบริหารก็มีอำนาจควบคุมฝ่ายนิติบัญญัติ ได้คือ การเสนอให้พระมหากษัตริย์ (ประมุขของรัฐ) ยุบสภาผู้แทนราษฎรให้มีการเลือกตั้งใหม่ (ม.103)
ข้อสังเกต การยุบสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส) ถือเป็นการถ่วงดุลของฝ่ายบริหารที่มีต่อฝ่ายนิติบัญญัติ ที่ฝ่ายนิติบัญญัติกลัวที่สุด
สรุป ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารภายใต้ระบบรัฐบาลแบบรัฐสภา ของประเทศไทยตามรัฐธรรมนูญ 2560 มีประเด็นปัญหาที่ไม่เป็นระบอบประชาธิปไตย ใน 2 เรื่องใหญ่ ๆ คือ
1.เรื่องที่มาของนายกรัฐมนตรี ที่มีจารีตประเพณีที่ว่า นายกรัฐมนตรี ต้องมาจากพรรคการเมืองที่ได้รับเสียงมาก คือ ได้จำนวน ส.ส. มากที่สุด สามารถจัดคั้งรัฐบาลและผู้ที่เป็นหัวหน้าพรรคการเมือง แต่รัฐธรรมนูญ2560 นี้ได้ทำลายหลักการนี้ไปแล้ว คือ
1.1 นายกฯมาจากผู้ที่พรรคการเมืองเสนอ 3 รายชื่อ เป็น ส.ส.หรือไม่ก็ตาม และไม่จำเป็นต้องเป็นพรรคการเมืองที่มี จำนนวน ส.ส. มาก เป็นผู้มีสิทธิ ขึ้นอยู่กับพรรคการเมืองที่สามารถรวบรวม ส.ส.มากกว่ากัน และมิหนำซ้ำ ในกรณี 5 ปีแรกในบทเฉพาะกาลที่ให้มี ส.ว. ที่มาจากการแต่ตั้ง คสช. (องค์ชั่วคราวที่มาจากการรัฐประหารเป็นผู้แต่งตั้ง) สามารถเลือกนายกฯร่วมกับ ส.ส. ได้ ไม่จำเป็นต้องมีการรวบรวม ส.ส.มาก แต่ถ้ารวมกับ กับ ส.ว. อีก 250 คนได้ มากกว่า ก็เป็นนายกฯได้แล้ว ตัวอย่างเช่น
ส.ส. 500 คน ได้เสียง ส.ส. 126 คน รวมกับ ส.ว.250 คน ก็สามารถเลือกนายกฯ ได้แล้ว ถือเป็นการทำลายหลักประชาธิปไตยเป็นอย่างมาก ที่ว่า ผู้ปกครองที่บริหารประเทศต้องมาจากความยินยอมพร้อมใจจากประชาชน ด้วยการเลือกตั้งที่เป็นเสียงส่วนใหญ่ ในระบบประขาธิปไตยทางผู้แทน คือ เสียง ส.ส. ที่ประชาชนเลือกตั้ง
1.2 ในกรณีที่ไม่สามารถหานายกฯได้ ในบทเฉพาะกาล กำหนดว่า ให้ รัฐสภา (ส.ส.กับ ส.ว.) เลือกบุคคลที่ไม่อนู่ในรายชื่อ 3 รายชื่อ ที่พรรคการเมืองเสนอให้ประชาชนเลือกตั้ง โดยเฉพาะการเลือกพรรคและเลือก ส.ส. ใช้บัตรใบเดียวกันทั้งประเทศ ดังนั้น นายกฯก็ต้องมาจาก บุคคลที่ พรรคการเมืองเสนอ จะให้เป็นบุคคลที่ไม่อยู่ในรายชื่อเสนอให้กัยประขาขนเลือก ถือ เป็นการทำลายหลักประชาธิปไตย ที่ว่า ระบอบการปกครองของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน
2. ที่มาของ ส.ว. ในระยะ 5 ปี ที่มาจากการแต่งตั้ง จาก คสช.( องค์ชั่วคราวที่มาจากการรัฐประหารเป็นผู้แต่งตั้ง) โดยเฉพาะจากผู้นำเหล่าทัพ ถือ เป็นสืบทอดอำนาจเผด็จการ สืบทอดอำนาจที่มาจากการรัฐประหาร เพราะ คสช. ก็คือ กองทัพ ที่สนับสนุน รัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร อีกส่วนหนึ่งก็มาจากข้าราชการทหาร ตำรวจ แบะบุคคลที่เป็นเครือข่ายของคณะรัฐประหาร ดังนั้นที่มา ส.ว. ในระยะ 5 ปี ไม่ได้มาจากประขาชนหรือตัวแทนประชาชนที่แท้จริง
3. จากที่มาของนายกฯหัวหน้าฝ่ายบริหาร กับที่มา ส.ว. ที่เป็นพวกหรือกลุ่มเดียวกัน การตรวจสอบ หรือการถ่วงดุลฝ่ายบริหารของฝ่ายนิติบัญญัติไม่สามารถทำได้เลย หรือทำได้ยากมาก วุฒิสภา คือ จึงเป็นเครื่องมือในการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารที่ทรงพลังเป็นอย่างมากถือ เป็นการใช้อำนาจที่ไม่ยึดโยงจากประชาชนตามหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยภายใต้ระบบรัฐบาลแบบรัฐสภาที่นานาอารยประเทศใช้กันอยู่
同時也有76部Youtube影片,追蹤數超過32萬的網紅The Topics,也在其Youtube影片中提到,ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย 0698975539 บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด Join สมัคร ร่วมเป็นผู้สนับสนุน The Topics แบบรายเ...
「คสช」的推薦目錄:
- 關於คสช 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
- 關於คสช 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
- 關於คสช 在 Facebook 的精選貼文
- 關於คสช 在 The Topics Youtube 的最佳貼文
- 關於คสช 在 SongDoHe Youtube 的最佳解答
- 關於คสช 在 The Topics Youtube 的最佳解答
- 關於คสช 在 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แถลงอำลาจากตำแหน่งหัวหน้าคณะรักษา ... 的評價
- 關於คสช 在 22 พฤษภาคม 2557 คสช. กระทำรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาล ... 的評價
คสช 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
“คสช.สิ้นไป : คำสั่งหัวหน้า คสช. 37/2560 สิ้นผลไปด้วยหรือไม่
มีหลายคนยังมีความเข้าใจผิดคลาดเคลื่อนว่า คสช.(คณะรักษาความสงบแห่งชาติ) พ้นสภาพเมื่อมีรัฐบาลชุดใหม่มาบริหารประเทศ มาตรา ๔๔ ก็ตายไปด้วย ดังนั้น คำสั่งตามมาตรา ๔๔ ก็ตายไปด้วยนั้น ถือเป็นการเข้าใจผิด ครับ
ถาม การบริหารงานของสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา มักปรากฏปัญหาการได้มาซึ่งผู้ดํารงตําแหน่งผู้บริหาร ทําให้การบริหารงานของสถานศึกษาต้องหยุดชะงัก มีการแก้ไขปัญหาอย่างไร
ตอบ ปัจจุบันปัญหาการบริหารงานของสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา มักปรากฏปัญหาการได้มาซึ่งผู้ดํารงตําแหน่งผู้บริหาร ทําให้การบริหารงานของสถานศึกษาต้องหยุดชะงัก ไม่สามารถขับเคลื่อนสถานศึกษาได้อย่างเป็นระบบ ขาดความต่อเนื่อง และเกิดความล่าช้าในการบริหารงานที่สําคัญหลายกรณี ส่งผลให้การดําเนินการเพื่อปฏิรูปการศึกษาซึ่งเป็นเรื่องสําคัญเรื่องหนึ่งในการปฏิรูปประเทศตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ไม่อาจบรรลุผลสําเร็จลงได้ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๒๖๕ ของรัฐธรรมนูญ ประกอบกับมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จึงมี คําสั่งที่ ๓๗/๒๕๖๐เรื่องการแก้ไขปัญหาการบริหารงานของสถาบันอุดมศึกษา ดังต่อไปนี้
๑.ในคําสั่งนี้ “สถาบันอุดมศึกษา”หมายความว่า สถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เป็นส่วนราชการและเป็นนิติบุคคล “สภาคณาจารย์”หมายความว่า สภาคณาจารย์และข้าราชการ หรือสภาคณาจารย์และบุคลากร หรือสภาที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งทําหน้าที่ทํานองเดียวกับสภาคณาจารย์แล้วแต่กรณี ตามกฎหมายจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษา
๒.เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานของสถาบันอุดมศึกษาให้มีความต่อเนื่องและเกิดประสิทธิภาพ ให้สถาบันอุดมศึกษามีอํานาจแต่งตั้งบุคคลใดที่มิได้เป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา หรือเป็นพนักงานในสถาบันอุดมศึกษามาดํารงตําแหน่งอธิการบดี รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี คณบดีหรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะได้ สําหรับคุณสมบัติและลักษณะ ต้องห้ามอื่นให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาและกฎหมายจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษานั้นๆ ความในวรรคหนึ่ง ให้นํามาใช้บังคับกับผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งอธิการบดี รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี คณบดีหรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะอยู่ในวันก่อนวันที่คําสั่งนี้ใช้บังคับ และผู้ซึ่งอยู่ในระหว่างกระบวนการสรรหาผู้ดํารงตําแหน่งดังกล่าวในวันที่คําสั่งนี้ใช้บังคับด้วย
๓. มิให้นําบทบัญญัติที่เกี่ยวกับระยะเวลาในการรักษาราชการแทนผู้ดํารงตําแหน่งอธิการบดีที่บัญญัติอยู่ในกฎหมายจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษามาใช้บังคับกับการรักษาราชการแทนในระหว่างการดําเนินการสรรหาหรือดําเนินการเพื่อแต่งตั้งผู้ดํารงตําแหน่งดังกล่าว
๔.ในการดําเนินการเพื่อให้มีสภาคณาจารย์ตามกฎหมายจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษา ให้คณาจารย์และบุคลากรอื่นของสถาบันอุดมศึกษานั้นซึ่งมิได้เป็นคณาจารย์แต่เป็นข้าราชการ หรือพนักงานของสถาบันอุดมศึกษานั้นมีสิทธิเลือกและดํารงตําแหน่งในสภาคณาจารย์ได้เช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ ตามที่กําหนดไว้ในข้อบังคับของสถาบันอุดมศึกษานั้นๆ ความในวรรคหนึ่ง มิให้มีผลกระทบต่อผู้ดํารงตําแหน่งในสภาคณาจารย์ของสถาบันอุดมศึกษาที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่คําสั่งนี้ใช้บังคับ หรืออยู่ระหว่างการดําเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งผู้ดํารงตําแหน่งในสภาคณาจารย์ของสถาบันอุดมศึกษาในวันที่คําสั่งนี้ใช้บังคับ
๕.ในกรณีเห็นสมควรนายกรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีอาจเสนอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติแก้ไขเปลี่ยนแปลงคําสั่งนี้ได้
๖.คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ถาม การรับรองการใช้อำนาจและรับรองความชอบด้วยกฎหมายและชอบด้วยรัฐธรรมนูญของคำสั่งหัวหน้า คสช. ๓๗/๒๕๖๐
ตอบ เมื่อพิจารณาศึกษาถึงการรับรองการใช้อำนาจและรับรองความชอบด้วยกฎหมาย ชอบด้วยรัฐธรรมนูญของคำสั่งหัวหน้า คสช. ๓๗/๒๕๖๐ จะปรากฏอยู่ในมาตรา ๒๖๕ กับมาตรา ๒๗๙ รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ดังนี้
“มาตรา ๒๖๕ให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ยังคงอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญนี้จะเข้ารับหน้าที่
ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคณะรักษาความสงบแห่งชาติยังคงมีหน้าที่และอำนาจตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑) พุทธศักราช ๒๕๕๘ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๕๕๙ และให้ถือว่าบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคณะรักษาความสงบแห่งชาติยังคงมีผลใช้บังคับได้ต่อไป
ให้นำความในมาตรา ๒๖๓ วรรคเจ็ด มาใช้บังคับแก่การสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้ดำรงตำแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติด้วยโดยอนุโลม”
“มาตรา ๒๗๙ บรรดาประกาศ คำสั่ง และการกระทำของคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ หรือที่จะออกใช้บังคับต่อไปตามมาตรา ๒๖๕ วรรคสอง ไม่ว่าเป็นประกาศ คำสั่งหรือการกระทำที่มีผลใช้บังคับในทางรัฐธรรมนูญ ทางนิติบัญญัติ ทางบริหาร หรือทางตุลาการให้ประกาศ คำสั่ง การกระทำ ตลอดจนการปฏิบัติตามประกาศ คำสั่ง หรือการกระทำนั้นเป็นประกาศ คำสั่ง การกระทำ หรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้และกฎหมาย และมีผลใช้บังคับโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้ต่อไป การยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมประกาศหรือคำสั่งดังกล่าวให้กระทำเป็นพระราชบัญญัติ เว้นแต่ประกาศหรือคำสั่งที่มีลักษณะเป็นการใช้อำนาจทางบริหารการยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมให้กระทำโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรีหรือมติคณะรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี
บรรดาการใด ๆ ที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑) พุทธศักราช ๒๕๕๘ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๕๕๙ ว่าเป็นการชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมาย รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าว ให้ถือว่าการนั้นและการกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้และกฎหมาย”
ถาม คสช.สิ้นไป ประกาศ คำสั่ง คสช. คำสั่งหัวหน้า คสช.สิ้นไปผลได้ด้วยหรือไม่
ตอบ เมื่อพิจารณาถึงปัจจุบันตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ มาตรา ๒๖๕ คือ มีรัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารประเทศแล้ว คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) สิ้นไปแล้ว การใช้อำนาจตามมาตรา ๔๔ รัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว ๒๕๕๗ ที่ได้รับรองไว้ในมาตรา ๒๖๕ ก็ไม่มีการใช้อำนาจนั้น คือ ไม่มีการใช้อำนาจมาตรา ๔๔ ได้แล้ว แต่ ประกาศ คำสั่ง หัวหน้า คสช. ตามมาตรา ๔๔ ที่ได้ประกาศมาใช้แล้วนั้นยังอยู่ใช้ได้อยู่ตามมาตรา ๒๗๙ รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ดังนั้น คําสั่งที่ ๓๗/๒๕๖๐เรื่องการแก้ไขปัญหาการบริหารงานของสถาบันอุดมศึกษา ยังใช้บังคับอยู่
ถาม สภามหาวิทยาลัยใช้อำนาจเปลี่ยนรักษาการอธิการบดี ได้หรือไม่
ตอบ ไม่ได้ เพราะต้องปฏิบัติตาม ข้อ ๓ มิให้นําบทบัญญัติที่เกี่ยวกับระยะเวลาในการรักษาราชการแทนผู้ดํารงตําแหน่งอธิการบดีที่บัญญัติอยู่ในกฎหมายจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษามาใช้บังคับกับการรักษาราชการแทนในระหว่างการดําเนินการสรรหาหรือดําเนินการเพื่อแต่งตั้งผู้ดํารงตําแหน่งดังกล่าว ของดังนั้น คําสั่งที่ ๓๗/๒๕๖๐เรื่องการแก้ไขปัญหาการบริหารงานของสถาบันอุดมศึกษา
ถาม ถ้าสภามหาวิทยาลัยใช้อำนาจมติ คำสั่ง กฎ ที่ออกมาขัดหรือแย้งต่อ คำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ ๓๗/๒๕๖๐ เปลี่ยนรักษาการอธิการบดี ผิดหรือไม่
ตอบ อาจโดนฟ้องฐานขัดคำสั่ง ข้อ ๓ คําสั่งที่ ๓๗/๒๕๖๐เรื่องการแก้ไขปัญหาการบริหารงานของสถาบันอุดมศึกษา ดังนั้นดังนั้น มติ คำสั่ง กฎ ที่ออกมาขัดหรือแย้งต่อ คำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ ๓๗/๒๕๖๐ จะกระทำไม่ได้เพราะถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เข้าข่ายการปฏิบัติหน้าที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย มาตรา ๑๕๗ แห่งประมวลกฎหมายอาญา และที่สำคัญถือเป็นการฝ่าฝืนคำสั่ง คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓/๒๕๕๘ เรื่อง การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ ข้อ ๓ ให้เจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยดำเนินการป้องกันและปราบปราม การกระทำอันเป็นความผิด ๑) ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตามมาตรา ๑๐๗ ถึงมาตรา ๑๑๒ แห่งประมวลกฎหมายอาญา ๒)ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ตามมาตรา ๑๑๓ ถึงมาตรา ๑๑๘ แห่งประมวลกฎหมายอาญา ๓)ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน และวัตถุระเบิด สำหรับใช้เฉพาะ แต่ในการสงคราม ๔)ความผิดอันเป็นการฝ่าฝืนประกาศหรือคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ถาม ถ้ารักษาการอธิการลาออก สามารถดำเนินแต่งตั้งรักษาการอธิการบดีได้หรือไม่
ตอบ ได้ ตาม ข้อ ๒.เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานของสถาบันอุดมศึกษาให้มีความต่อเนื่องและเกิดประสิทธิภาพ ให้สถาบันอุดมศึกษามีอํานาจแต่งตั้งบุคคลใดที่มิได้เป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา หรือเป็นพนักงานในสถาบันอุดมศึกษามาดํารงตําแหน่งอธิการบดี รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี คณบดีหรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะได้ สําหรับคุณสมบัติและลักษณะ ต้องห้ามอื่นให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาและกฎหมายจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษานั้นๆ ความในวรรคหนึ่ง ให้นํามาใช้บังคับกับผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งอธิการบดี รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี คณบดีหรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะอยู่ในวันก่อนวันที่คําสั่งนี้ใช้บังคับ และผู้ซึ่งอยู่ในระหว่างกระบวนการสรรหาผู้ดํารงตําแหน่งดังกล่าวในวันที่คําสั่งนี้ใช้บังคับด้วย
คสช 在 Facebook 的精選貼文
นายกฯ ชี้แจงเบื้องต้นในสภาครับ …
#อภิปรายไม่ไว้วางใจ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลุกขึ้นชี้แจงตอบโต้พรรคการเมืองฝ่ายค้าน ระหว่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ตอนหนึ่งระบุว่า ตนนึกถึงประชาชนทุกวัน ที่ต้องทำงาน WFH และต้องกักตัว 14 วันจริงๆ เพราะคนที่ถ่ายรูปข้างตนติดโควิด ตนทำงานทุกวันที่ทำเนียบรัฐบาล แต่ประชุมออนไลน์ คุยกันผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ติดต่อกันทุกวัน การทำงานเป็นแบบนี้ วันนี้เป็นโลกยุคใหม่แล้ว
พลเอกประยุทธ์ กล่าวว่า เรื่องเงินทอนการจัดซื้อวัคซีน ท่านไปหามาว่าใครได้ ตนยอมรับการตรวจสอบทุกชนิด อย่าบอกว่าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ไม่ถูกตรวจสอบ ที่ผ่านมามีการตรวจสอบทั้งหมด ตนคิดว่าท่านเข้าใจอะไรไม่ค่อยถูกต้อง
“ส่วนที่บอกว่าท่านใช้เงินส่วนตัวช่วยเหลือประชาชนมากกว่าผม ทุกวันนี้ผมแต่เงินเดือน ไม่มีลูกหลานทำธุรกิจอะไร ใช้แต่เงินเดือนเท่านั้น และผมสวดมนต์ทุกวัน ดังนั้น จะไม่ทำอะไรที่ผิด”
ที่จริงตอนนี้ยังไม่ถึงเวลาที่ตนต้องชี้แจง แต่ที่ต้องพูดเพราะเห็นว่าพล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส เป็นพี่ แต่ท่านตำหนิน้องมากไปหน่อย จะให้ฝ่ายค้านมาชมตน ก็คงเป็นไปไม่ได้ แต่อยากให้คำนึงถึงความจริง
“อยากฝากถึงประชาชนที่ฟังอยู่ ให้ดูหน้าผม ผมพูดจากหัวใจ จากสมองที่ท่านบอกว่าน้อยเนี่ยของผม แต่อย่าลืมว่าผมมีประสบการณ์ 6–7 ปีมาแล้ว นี่คือความแตกต่างที่ผมอาจจะรู้มากกว่าท่าน”
ส่วนเรื่องโควิดกับเศรษฐกิจ ต้องว่ากันต่อไป ส่วนการบริหารจัดการวัคซีน เราพยายามแก้ปัญหามาตลอด รายละเอียดต่างๆ รองนายกฯ พร้อมชี้แจงอยู่แล้ว
ผมยืนยันรัฐบาลทำหน้าที่ซื่อสัตย์ เป็นห่วงเป็นใยประชาชน และพิจารณาตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นระยะมาตลอด ตอนที่รองนายกฯ ชี้แจงขอให้ฟังด้วย ถ้าไม่ใช่ก็ตรวจสอบ แต่ถ้าไปพูดข้างนอก อาจจะมีปัญหา ผมไม่ได้ขู่ เพราะแม้จะเป็นการพูดในสภาก็ต้องระมัดระวังเหมือนกัน
คสช 在 The Topics Youtube 的最佳貼文
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698975539
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
Join สมัคร ร่วมเป็นผู้สนับสนุน The Topics แบบรายเดือนให้พวกเราก็คลิกที่ลิงค์นี้ได้เลย
https://www.youtube.com/channel/UCXgEzqMzXXVpW4_fOxKcHVg/join
Left ซ้าย Rights สิทธิ Presented by Amnesty International Thailand (แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย) กลับมาคราวนี้ คุยกับ”ลูกเกด-ชลธิชา แจ้งเร็ว”นักกิจกรรมทางการเมืองรุ่นใหม่ ที่ลุกขึ้นมาเคลื่อนไหวในยุคคสช. จะมาบอกเหล่าประสบการณ์การลงถนนหรือการจัดม็อบต่อต้านระบอบคสช. 6 ปี ตั้งแต่ช่วงที่เกิดรัฐประหาร เจอต้องเจออะไรบ้าง รัฐมีทัศคติอย่างไรกับนักเคลื่อนไหวและเพราะอะไรการต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษย์ชนถึงสำคัญ ชัยชนะของคนรุ่นใหม่อยู่ที่ไหน
#สิทธิ #ประสบการณ์ #คสช
คสช 在 SongDoHe Youtube 的最佳解答
? ดูแล้วอย่าลืมกด Like, Subscribe กันด้วยนะครับ ?
::::ช่องทางการติดตาม::::
Fan Page : https://goo.gl/CpMzwf
Facebook : https://goo.gl/hkm2Uu
Youtube : https://goo.gl/I3947P
▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬
►รหัสเกมบัตรเติมเงินไอเท็มโค๊ด เกมเมอร์ที่แท้จิงต้องที่นี้
https://www.khanthep.in.th/
►แนะนำร้านเติมเพชรฟีฟายราคาถูก ไม่โกงไม่เกรียน
https://bit.ly/34SpLJF
▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬
✌ ✌ 【สนใจติดต่อโฆษณาหรือสปอนเซอร์】 ✌✌
อีเมล์ : kov1tangza95@gmail.com
เบอร์ : 0826829449 [ตังค์]
คสช 在 The Topics Youtube 的最佳解答
ช่วยเป็นผู้สนับสนุนพวกเรา
ผ่านบัญชีกสิกรไทย
0698975539
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
เพื่อให้เรามีกำลังในการผลิตเนื้อหาสาระแบบนี้ต่อไป
ขอบพระคุณมากครับ
หาเรื่องคุยกับอาจารย์สุรชาติ บำรุงสุข ประวัติศาสตร์ที่เราควรเรียนรู้เสียที และการล่มสลายของอำนาจเผด็จการด้วยน้ำมือของคนรุ่นใหม่
#หาเรื่อง #findtrouble
คสช 在 22 พฤษภาคม 2557 คสช. กระทำรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาล ... 的推薦與評價
22 พฤษภาคม 2557 คสช. กระทำรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลรักษาการ . วันนี้ครบรอบ 4 ปี ที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) นำโดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา... ... <看更多>
คสช 在 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แถลงอำลาจากตำแหน่งหัวหน้าคณะรักษา ... 的推薦與評價
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แถลงอำลาจากตำแหน่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ( คสช.) 77K views · Streamed 4 years ago ...more ... ... <看更多>