#เมื่อครั้งหมอเลือกโรงเรียนอนุบาลให้ลูก
แชร์ประสบการณ์
(เป็นบทความที่ไม่ได้อิงหลักวิชาการ เอาแค่วิชาความเป็นพ่อแม่)
.
หมอเชื่อว่าพ่อแม่ ต้องการให้ลูกได้รับสิ่งที่ดีที่สุด
แต่ ชีวิต บางครั้ง และบางเรื่อง
ไม่มีทาง...ให้เราเลือกมากนัก
หมอเป็นเด็กต่างจังหวัดที่ต้องมาใช้ชีวิตในเขตกรุงเทพและปริมณฑลมากว่า 10 ปีแล้ว
(บ้านกรุงเทพ ทำงาน นนทบุรี)
หมอเข้าใจดี....ว่า มันมีปัจจัยอะไรมากมายในการเลือกโรงเรียนให้ลูก
.
เราได้เห็นข่าว
เรื่องของ ความรุนแรงในโรงเรียน มามากแล้ว
ไม่ต้องไปกล่าวถึงเหตุการณ์นั้นให้สะเทือนใจอีก
.
มีเพื่อนของหมอ หลายคน
ที่ลูกต้องเข้าเรียนอนุบาลในเวลาอันใกล้นี้
เมื่อเห็นภาพข่าว ถึงกับจิตตก...ปรึกษาว่า
เมื่อต้องเลือกโรงเรียนให้ลูก
ต้องดูอะไร เลือกอย่างไร
หมอเอาคำตอบที่ให้คำแนะนำเพื่อน มาแชร์ ซึ่งเป็นสิ่งที่หมอปฏิบัติจริง
แบ่งเป็น 2 ส่วน
● ส่วนแรก คือคำถามที่เราต้องตอบตัวเอง
● ส่วนที่ 2 คือ เทคนิคการสังเกต ที่หมอดูโรงเรียน
°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°
👉 Part 1 ตัวเรา
มีสิ่งสำคัญที่เราต้องรู้ก่อน
1.โรงเรียนที่สำคัญที่สุด ที่เราต้องเลือกให้ลูก
คือโรงเรียนอนุบาล (วันนี้เขียนแต่อนุบาลเท่านั้น)
เพราะเด็กวัยนี้ เป็นวัยที่ยังสร้างตัวตน จากต้นแบบ ก็คือคนใกล้ชิด
ไม่ว่าจะด้วยเหตุอันใดก็แล้วแต่
หากจำเป็นต้องส่งลูกไปอนุบาล
นั่นแปลว่า....ลูกต้องมี บ้านหลังที่สอง ที่ไม่มีเรา ประมาณวันละ 8 ชั่วโมง
เลือกให้ดีที่สุด ในบริบทที่เราทำได้
2. การเลือกโรงเรียน คือ ความเห็นพ่อแม่ แทบ 100%
เพราะฉะนั้น #อยากได้อะไรจากโรงเรียน
ตอบตัวเองให้ได้ก่อน
• อยากให้ลูกเล่นอย่างเดียวเลย
หรือ
• อยากให้เรียนเขียนอ่าน เตรียมความพร้อมวิชาการ
(ไม่วิจารณ์ เรื่องถูกผิดนะคะ เพราะแต่ละคนย่อมมีเหตุผลของตัวเอง)
หมอคิดว่า ยุคนี้ก็ไม่ยาก เราจะได้ข้อมูลจากพ่อแม่ที่เล่าในสื่อออนไลน์ส่วนหนึ่ง
(เชื่อได้ประมาณหนึ่ง เพราะข้อมูลส่วนใหญ่เป็นความคิดเห็น ขึ้นกับว่าเค้าต้องการมาเขียน เพราะเค้าเจอเหตุการณ์อะไรมา ชมก็ชมไปเลย แต่ถ้าเจอเรื่องลบๆก็จะแย่ไปเลย พ่อแม่กลางๆมักไม่ออกมาเขียน)
ส่วนหนึ่ง คือ ถ้าเรามีคนรู้จัก มีลูกเรียนอยู่ที่โรงเรียนนั้นๆ เราก็จะได้คำตอบ ที่ตรงกับสิ่งที่เราอยากรู้มากกว่า
.
#จริตของพ่อแม่ที่พ้องกับจริตของโรงเรียน
ถึงจะทำให้ความสัมพันธ์ ความไว้เนื้อเชื่อใจของพ่อแม่กับครูและโรงเรียนไปได้ด้วยดี
เช่น กรณีของลูกสาวหมอ
หมอเลือกโรงเรียนอนุบาล เพราะเราอยากให้ลูกไปเล่น ในสถานที่ปลอดภัยมีผู้ใหญ่ใจดี
ซึ่งหมอพอใจมาก ในขณะที่มีบางคน เตือนหมอว่า ลูกเรียนโรงเรียนนี้ อนุบาล 2 ยังไม่รู้จัก ก-ฮ เลย
เค้าเคยให้ลูกเรียน แล้วทนไม่ไหว เหมือนไม่สอนอะไร ต้องลาออก...ที่เล่าให้ฟัง คือ จะเห็นว่า ถ้าจริตของผู้ปกครอง ไม่พ้องกับนโยบายโรงเรียน ยากที่จะเข้าใจกัน
3.กางแผนที่
ยุคนี้คงไม่ยาก เทคโนโลยีช่วยเราได้
ลองจำลองเหตุการณ์ ตอนเช้าก่อนออกไปทำงาน ถ้าเราต้องไปส่งลูกไปรร.ที่เราอยากให้ไปเรียน
ใช้เวลาเดินทางนานเท่าไหร่ life style ของเราต้องปรับเปลี่ยนมากน้อยแค่ไหน
ไหวมั้ย??
4. ค่าเทอม
เมื่อได้ #รายชื่อของโรงเรียนที่ตรงกับความต้องการของเรา และ
การเดินทางที่เราคิดว่า life style ของเราปรับให้เข้ากับการเดินทางไปรับ ส่งลูก เช้า เย็นได้
ลองสำรวจ งบประมาณของเรา ซึ่งต้องตอบตัวเองอย่างจริงใจ ว่าเราไหวแค่ไหน
°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°
Part 2 ต้องไปดูให้เห็นกับตา
เสร็จ 4 ขั้นตอนนี้ เราจะได้รายชื่อ โรงเรียน ที่เรา #จะต้องไปสำรวจด้วยตาตัวเอง
ซึ่งขั้นตอนการเข้าไปชมโรงเรียน ก็จะเป็นนโยบายของแต่ละโรงเรียน ว่าจะให้เราเข้าไปได้ตอนไหน
บางโรงเรียน มีจัด open house เป็นเรื่องเป็นราว
บางโรงเรียน อาจนัดวันเวลา และสามารถไปได้เลย
*** ถ้าได้ไปดูในวันที่ไม่ต้องมี open house จะดีมาก (ไม่แน่ใจก็ไป 2 รอบเลยก็ได้ open house และวันที่ไม่ใช่)
โรงเรียนที่เค้าเข้าใจ...เค้าจะรู้ว่า การที่พ่อแม่ ไว้วางใจ ส่งลูกเล็ก ไปให้เค้าดูแล เป็นเรื่องใหญ่มาก
ดังนั้น โรงเรียนดีๆ เราจะสัมผัสได้ถึงความจริงใจ ยินดี เชื้อเชิญ และอยากให้พ่อแม่มามีส่วนร่วมอยู่แล้ว **
======
ตอนไปดูโรงเรียนแล้วเราดูอะไร
หมอเรียงลำดับความสำคัญ ในความคิดของหมอเองนะคะ
👉1. #ดูความคิดผู้บริหาร แน่นอน โรงเรียนที่มีขนาดใหญ่ ผู้บริหารคงไม่สามารถออกมาต้อนรับคุณพ่อคุณแม่ที่ไปเยี่ยมชมโรงเรียนได้ทุกครั้ง
แต่ คนที่พาเราไปดูโรงเรียน
เค้าเสมือนตัวแทนของผู้บริหาร
หมอเชื่อเรื่อง แรงดึงดึงระหว่างมนุษย์เสมอ
ผู้บริหาร ให้ความสำคัญกับคุณสมบัติใดของผู้ทำงาน
เค้าจะเลือกคนที่มีคุณสมบัตินั้น...และคนคล้ายกัน อยู่ใกล้ชิดกัน
ก็จะกลายเป็นเบ้าหลอมของกันและกันอีกทีหนึ่ง
ดังนั้น คนที่มาพูดคุยกับเรา...เค้าคือตัวแทน
หมอเล่าเหตุการณ์ของตัวเองสักเล็กน้อย หมอเคยไปเยี่ยมโรงเรียนที่มีชื่อเสียงมากๆ โรงเรียนหนึ่ง
คนที่พาเราเดินชมโรงเรียน ไม่ใช่ผู้บริหาร แต่เป็นตัวแทน ซึ่งคงทำหน้าที่นี้ ทุกวัน
เราบอกว่าลูกเราจะมาเข้าอนุบาล
คุณคนนั้น ก็คงพูดเหมือนกันเป็น pattern ว่าโรงเรียนยิ่งใหญ่ยังไง
มีชื่อเสียงมากแค่ไหน
คนดังส่งลูกเข้ามาเรียนมากน้อยแค่ไหน
ระหว่างการพูดคุย สังเกตว่าเค้า
ไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์กับลูกของเรามากเท่าไหร่
พาเดินชม ห้องหรูหรา อุปกรณ์ทดลงวิทยาศาสตร์ (ซึ่งอนุบาลไม่มีวันจะได้ใช้)
จนกระทั่ง เดินไปถึงสนามเด็กเล่นในร่ม
ลูกสาวซึ่งตอนนั้นอายุเพียง 3 ขวบ
ก็อยากไปเล่นตามประสาเด็ก
คุณคนนั้น หันมาและพูดว่า
“ถ้าอยากเล่น ก็ต้องมาเรียนที่นี่นะคะ”
และพาเราเดินผ่านอย่างรวดเร็ว....หมอตัดโรงเรียนนี้ออกอย่างไม่ลังเล
คนที่ไม่เข้าใจธรรมชาติของเด็ก
ไม่สามารถสร้างโรงเรียนที่เด็กจะมีความสุขได้
ไม่ใช่โรงเรียนไม่ดีนะคะ....
แต่อาจจะไม่ดีสำหรับชั้นเด็กเล็ก
👉2. ดูครู
หมอให้ความสำคัญกับครูเป็นอันดับ 1
แต่ที่ต้องเขียนถึงผู้บริหารก่อน ก็เพราะ
ครูดีแค่ไหน ถ้าถูกบีบ ก็จะทนไม่ไหว
ลาออกกันได้ง่ายๆ
สมมติเราชอบคุณครูตอนไปดูโรงเรียนมากเลย
(วันที่เราไปดูโรงเรียนเราอาจจะถูกชะตากับคุณครู) แต่อย่างที่บอก แรงดึงดูดของมนุษย์ที่คิดเห็นตรงกัน •มีอยู่จริง•
ครูคนนั้น อาจจะลาออกในไม่ช้า
หากสถานที่นั้น ไม่ใช่สำหรับเค้า
ดังนั้น ดูนโยบายผู้บริหารก่อน....เป็นตัวแทนของทั้งโรงเรียน
ค่อยมาเจาะลึกเรื่องคุณครู
.
ปัจจัยที่หมอดูคุณครู
❤ครูที่เด็กรัก จะถูกล้อมหน้า ล้อมหลังด้วยเด็กๆตลอดเวลา
❤ดูแววตา ตอนที่เค้าพูดกับเด็ก
❤ครูดี ไม่ใช่ต้องยิ้มหัวเราะ น้ำเสียงมีเมตตาตลอดเวลา...นั่นก็ดู fake ไป ดูว่าเมื่อมีเด็กที่หลุดกลุ่ม เทคนิคของการเข้าหาเด็กเพื่อให้ กิจกรรมของห้องไปต่อได้ ครูทำอย่างไร (เขียนเหมือนต้อง observe นาน แต่จริงๆ ในชั้นอนุบาล เกิดเหตุการณ์ทำนองนี้ ทุกๆ 5 วินาที จะอ่านนิทาน คนนั้นวิ่ง คนนี้เดินมาดึงหนังสือใหนมือคุณครู....ดูว่าเค้าตอบสนองเด็กๆอย่างไร)
❤สังเกตว่า เมื่อเค้าเห็นเรา ท่าทีเค้าเป็นอย่างไร (หมอคิดว่าพวกเรามี sense กันพอสมควร)
❤mom figure เหมือนคุณแม่ อบอุ่น
👉3.ดูสนามเด็กเล่น
เป็นเรื่องที่หมอให้ความสำคัญมาก เพราะอย่างที่บอก จริตของเราคือ ส่งลูกไปเล่นในสถานที่ปลอดภัย และมีผู้ใหญ่ใจดี
หมอเล่าประสบการณ์ที่ไปดูโรงเรียนมาให้ฟังนะคะว่าหมอเจอ weak point อะไร จุดสังเกตอะไร
👉สนามเด็กเล่น มีพื้นที่มากพอกับจำนวนนักเรียนมั้ย ถ้าไม่กว้างพอ โรงเรียนจัดการอย่างไร เช่นให้สลับเวลากัน ถ้าในโรงเรียนมีมากกว่าชั้นอนุบาล....มีสนามเด็กเล่นสำหรับอนุบาลโดยเฉพาะหรือไม่
ลองนึก เด็กอนุบาล 1 กับพี่ประถม 1-2 เล่นรวมกัน... ถ้าต้องมาเล่นรวมกัน...คงนึกภาพออก
ถ้าโรงเรียน ไม่ชัดเจนเรื่องการใช้สนามเด็กเล่น และดูว่าเค้าไม่ได้ให้ความสำคัญเท่าที่ควร...หมอตัดออก
👉ดูเครื่องเล่น ว่ามีความปลอดภัยมั้ย
บริเวณที่เด็กวิ่งเล่น ถ้าดีที่สุด
คือพื้นสนามหญ้า หรือพื้นดินธรรมชาติ
แต่เข้าใจว่าเด็กมาเหยียบทุกวัน
การดูแลสนามธรรมชาติทำได้ยาก โรงเรียนก็จะนิยม ปูพื้นไปเลย
• ถ้าเป็นพื้นยางสำหรับสนามเด็กเล่น...[ผ่าน]
• ถ้าเป็นพื้นปูน แบบที่เด็กวิ่งแล้วไม่ลื่น...ยังพอ OK (ถ้าปัจจัยอื่นดีหมด)
• เป็นพื้นชนิดอื่น....เคยเจอ slide ลงมาเจอพื้นกระเบื้อง...แบบนี้แปลว่าไม่ได้ให้ความสำคัญกับสนามเด็กเล่น ซึ่งเป็นสถานปฏิบัติการเรียนรู้ในวัยอนุบาลอย่างแท้จริ....หมอตัดออก
👉การยึดของเล่นได้มาตรฐานหรือไม่
ถ้าเจอของเล่นสนามที่ไม่ยึดกับพื้น แปลว่าเค้าไม่ได้เห็นความปลอดภัยของเด็กเป็นที่ 1....หมอตัดออก
👉จุดสังเกตว่าเด็กได้เล่นจริงหรือไม่
ถ้าเด็กได้ใช้สนามเด็กเล่น หรือพื้นที่ในโรงเรียนจริงๆ....มันจะไม่ ดูดี เว่อร์ๆ
• ถ้ามี slide เด็กเล่นตลอดเวลา ถ้าตั้งอยู่บนพื้นหญ้าพื้นดิน....ตรงที่เด็กๆ slide ลงมา พื้นจะเป็นหลุม หรือต่อให้เป็นพื้นยาง บริเวนนั้น ก็จะไม่เนี๊ยบ
มีรอยบุ๋ม ลายลอก etc. แปลว่าเด็กเล่นจริง
• ชิงช้า เมื่อเด็กไกวเองได้ เค้าจะเอาเท้าถีบ เพื่อให้ตัวเองแกว่งแรงๆ พื้นตรงนั้นก็จะเป็นรอย ถ้าเนี๊ยบมาก หญ้าขึ้นเต็ม ให้คิดว่ามีชิงช้า เอาไว้โชว์ แต่เด็กไม่เคยได้เล่น
• บาร์ห้อยโหน...ไม่ต้องกังวล โรงเรียนไหนมี ต้องเคยมีคดี เด็กแขนหัก
แต่นั่นแปลว่า ของเล่นได้ใช้จริงๆ....การเล่นมาพร้อมความเสี่ยง ลองดูทัศนคติเกี่ยวกับเรื่องนี้
(หมอเป็นแม่สายโหดนะคะ หมอคิดว่าอุบัติเหตในการเล่น เกิดขึ้นได้ แต่ต้องไม่ใช่การตั้งใจทำร้ายกัน)
👉4.ดูความยืดหยุ่น และแนวทางการแก้ปัญหาของโรงเรียน
แน่นอน ปัญหาของพ่อแม่ เกิดขึ้นทุกวัน
หมอเจอบ่อย กรณีไปรับลูกได้สายกว่าที่ควรเป็น เพราะงานของเรา
โรงเรียนเจอเด็กปีละหลายคน และแน่นอน มาพร้อมกับพ่อแม่หลากหลายนิสัย
หลากหลายอาชีพ ความเชื่อ บุคลิก
หมอจะสมมติ เหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ แล้วถาม ดูว่าคำตอบเป็นอย่างไร (ชอบคำตอบแบบไหนนั่นคงแล้วแต่เรา อันนี้ชี้นำไม่ได้)
👉5.การสื่อสารระหว่างครูกับโรงเรียน และการยอมให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วม
เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก
ถ้าโรงเรียน มองลูกของเรา เหมือนลูกหลานจริงๆ
ข้อมูลจากเรา ต้องเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเค้าเสมอ เพราะถ้าเราอยากให้เด็กคนหนึ่งมีความสุข
คนที่รู้ใจลูกมากที่สุด ต้องเป็นพ่อแม่
ด้วยเหตุผลที่ว่า #ปรารถนาดีกับเด็กอย่างจริงใจ เราจะรับรู้เลยว่าครูไม่รู้สึกรำคาญ
เมื่อเราอยากรู้ข้อมูล หรือ เราอยากได้ข้อมูลอะไรบางอย่าง
กรณีของลูกสาวหมอ ช่วงที่เธอเข้าอนุบาลใหม่ๆ
คุณครูเล่าว่า เค้ามีปัญหาตอนนอนกลางวัน
แต่ครูรู้วิธีแก้แล้วคือ
คุณครูต้องเข้านอนพร้อมลูกสาวหมอ รอจนเธอหลับสนิท จึงจะลุกไปทำอย่างอื่น
และกะเวลาว่าเธอจะตื่น แล้วก็จะแอบไปนั่งข้างๆ เพื่อให้ตื่นมาแล้วเห็นครู
พอเราได้ฟังแบบนั้น เราก็รู้ว่าคุณครูใส่ใจลูกเราจริงๆ
(เพราะเป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่ที่บ้านต้องทำ ตอนนอนกลางวันที่บ้าน คืออยู่ข้างๆ)
เราอาจจะต้องถาม รูปแบบการสื่อสาร
***แต่ต้องตั้งอยู่บน พื้นฐานของการให้เกียรติ และเคารพความเป็นส่วนตัวของคุณครู**
โรงเรียนอนุบาลของลูกสาวหมอ ใช้การเขียนบันทึกประจำสัปดาห์
(ด้วยเหตุผลที่พ่อแม่ไม่ได้ลงไปพูดคุยกับคุณครูมากนักเพราะเรื่องขาดแคลนที่จอดรถ)
ซึ่งหมออ่านและตอบอย่างใส่ใจทุกครั้ง
.
ที่เล่ามาทั้งหมด
หวังว่าจะเป็นประโยชน์ สำหรับคนที่มีทางเลือก
.
แต่ก็มีบางครอบครัว ไม่ได้มีทางให้เลือกขนาดนั้น
หมอเข้าใจค่ะ ตัวหมอเองตอนอนุบาล เป็นเด็กในอำเภอเล็กๆ จ.นครศรีธรรมราช
เราก็เรียนโรงเรียนอนุบาลรัฐบาลใกล้บ้าน ก็คือไม่ต้องเลือก
และหมอเชื่อว่า สิ่งนี้ก็เป็นทางเลือกหลักของคนส่วนใหญ่ในประเทศนี้
ถ้าจะไปแตะเรื่องความเหลื่อมล้ำ เดี๋ยวจะยาว
เอาเป็นว่า
ก็ไม่ต้องรู้สึกผิดกับตัวเอง ถ้าเราไม่มีทางเลือก
แต่มีสิ่งหนึ่งที่เราเลือกให้ลูกได้เสมอ คือ เราต้องเลือกที่จะเลี้ยงดูลูกด้วยความรัก
และ #ความเข้าใจในพัฒนาการของเด็ก เมตตา และให้เกียรติลูกในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง
(ความรู้ที่ถูกต้อง และฟรีมีมากมายในยุคนี้)
.....เพราะคนที่สำคัญเหนือใคร คือคนในครอบครัวค่ะ
.
หมอแพม
「ดูความคิดผู้บริหาร」的推薦目錄:
- 關於ดูความคิดผู้บริหาร 在 หมอแพมชวนอ่าน Facebook 的最讚貼文
- 關於ดูความคิดผู้บริหาร 在 10 แนวคิด ที่ทำให้เรา เป็นผู้บริหารชีวิตของตนเอง - YouTube 的評價
- 關於ดูความคิดผู้บริหาร 在 ผู้นำ เก่งๆ มีวิธีคิด อย่างไร EP.1 อยากประสบความสำเร็จ - YouTube 的評價
- 關於ดูความคิดผู้บริหาร 在 คุณสมบัติของการเป็นผู้นำหรือผู้บริหารที่ดีในความคิดของคุณคืออะไร? 的評價
- 關於ดูความคิดผู้บริหาร 在 ผู้บริหารที่ดีในความคิดคุณ? - คณะรัฐประศาสนศาสตร์ - YouTube 的評價
ดูความคิดผู้บริหาร 在 ผู้นำ เก่งๆ มีวิธีคิด อย่างไร EP.1 อยากประสบความสำเร็จ - YouTube 的推薦與評價
ผู้นำ เก่งๆ มีวิธี คิด กันอย่างไร EP.1 / Mindset / แนวคิด / ภาวะผู้นำ / การ บริหาร / ทัศนคติผม ฉัตรชัย เทียมเศวต / Chatchai TiamsawetTHE ... ... <看更多>
ดูความคิดผู้บริหาร 在 คุณสมบัติของการเป็นผู้นำหรือผู้บริหารที่ดีในความคิดของคุณคืออะไร? 的推薦與評價
คุณอยากจะแก้ไขปัญหาอะไรเป็นอันดับแรก? หากว่ายังไม่เคย ลองรับชมคลิปนี้แล้วก็ คิด ตามไปพร้อม ๆ กันกับเรา ดู ได้คำตอบอะไรในใจกัน ... ... <看更多>
ดูความคิดผู้บริหาร 在 10 แนวคิด ที่ทำให้เรา เป็นผู้บริหารชีวิตของตนเอง - YouTube 的推薦與評價
เขาว่ากันว่าคนที่เปลี่ยน ความคิด หรือ Mindset ... 10 แนวคิด ที่ทำให้เรา เป็น ผู้บริหาร ชีวิตของตนเอง | 5 Minutes Podcast EP.1313. ... <看更多>