ป่าโมก อ่างทอง แม่น้ำเจ้าพระยา ครับ …
#น้ำท่วม
พนังดินกั้นน้ำ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง ทรุดตัวพังทลายเป็นระยะทางยาวกว่า 20 เมตร ทำให้มวลน้ำไหลทะลักเข้าพื้นที่ ทางเจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลป่าโมก ได้นำดินมาถมซ่อมแซม แต่เนื่องจากมวลน้ำที่ไหลแรงและมีระดับที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ต้านแรงน้ำไม่ไหวจนเอาไม่อยู่ มวลน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาทะลักเข้าท่วม บริเวณ เขตเทศบาลป่าโมก ฝั่งอำเภอเก่า ขณะนี้มีชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน กว่า 200 หลังคาเรือน ต้องรีบขนของอพยพออกจากพื้นที่
เทศบาลตำบลป่าโมก เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง เจ้าหน้าที่กู้ภัย เจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ ต่างเร่งนำเครื่องกลหนัก ดิน และกระสอบทราย เข้าเสริมกั้นจุดเชื่อมต่อ เพื่อปิดกั้นมวลน้ำไม่ให้ไหลเอ่อขยายวงกว้างเข้าท่วมพื้นที่ใกล้เคียง พร้อมเข้าช่วยเหลือชาวบ้านของย้ายข้าวของ และเร่งประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านขนย้ายทรัพย์สินขึ้นบนที่สูง โดยกระแสน้ำยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
#เรื่องเล่าเช้านี้
同時也有1265部Youtube影片,追蹤數超過84萬的網紅AomAmChannel,也在其Youtube影片中提到,เล่นแมพนี้ https://www.roblox.com/games/6366316561/Scary-Elevator-2-Survive-the-Killer? #aomamchannel #roblox ติดตามคลิปใหม่ๆของอ้อมทาง Youtube ได้ท...
ตำรวจ 在 The Flash Key Facebook 的最佳貼文
ตำรวจ No 1 วันที่ 2 นายกประชารัฐ 4.0
www.facebook.com/becomesupporter/624295091033892/ สนับสนุน โดยการซับได้ 99 บาทเท่านั้น
ตำรวจ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
“ฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560”
สิทธิกร ศักดิ์แสง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารในระบบรัฐบาลแบบรัฐสภาของประเทศไทย ตามรัฐธรรมนูญ 2560 มีสาระที่สำคัญ ดังนี้
1.ที่มาของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร
1.1 ฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา) ประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)กับวุฒิสภา (ส.ว.)
ส.ส.มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน จำนวน 500 คนแบ่งเขต 350 คน บัญชีรายชื่อจำนวน 150 คน โดยใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียวทั้งแบบแบ่งเขตกับแบบบัญชีรายชื่อ
ส่วน ส.ว. มีที่มาอยู่ 2 ระยะ คือ ระยะ 5 แรก กับระยะ 5 ปีหลัง
ในระยะ 5 ปีแรก ในบทเฉพาะกาลได้กำหนดไว้ในกรณี 5 ปีแรก ส.ว. ที่มาจากการแต่งตั้ง มาจากการแต่งตั้งของคสช.จำนวน 250 คน (ม.269 )
ข้อสังเกต ส.ว. มีที่มาจากการแต่งตั้ง จากบุคคลกลุ่มต่างๆ 244 คน กับบุคคลที่ดำรงแหน่งผู้บัญชากองทัพกับตำรวจ 6 คน
ข้อสังเกต ส.ว. มีอำนาจร่วมพิจารณานายกรัฐมนตรีร่วมกับ ส.ส. (ม.272)
ในระยะ 5 ปีหลังมาจากจากการสรรหา (ม.107-113) จากกลุ่มบุคคลต่างๆ หลากหลายอาชีพ จำนวน 200 คน ทำหน้าที่ในการกลั่นกรองกฎหมายและมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของฝ่ายบริหารได้เช่นเดียวกับส.ส. แต่ไม่มีอำนาจในการเลือกนายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ ปัจจุบันได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 83 สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 500 คน โดยเป็นสมาชิกซึ่งมา จากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 400 คน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 100 คน
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้ใช้วิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ โดยให้ใช้ บัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบละ 1 ใบ คือ หนึ่งใบแบบแบ่งเขต เขตเดียวเบอร์เดียวกับ อีก 1 ใบ แบบบัญชีรายชื่อ ซึ่งผ่านการพิจารณาของรัฐสภา เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2564 รอทิ้ง ไว้ 15 วันและให้นายกฯส่งทูลเกล้าฯเพื่อทรงลงพระปรมภิไธย ตามมาตรา 81
1.2 ฝ่ายบริหาร
หัวหน้าฝ่ายบริหารต้องมาจากฝ่ายนิติบัญญัติ คือ นายกรัฐมนตรีมาจากผู้ที่พรรคการเมืองเสนอชื่อ ซึ่งเป็น ส.ส.หรือไม่เป็น ส.ส.ก็ได้ แต่ต้องไม่เป็น ส.ว. (ม.88) (มาตรา 159) และเลือกรัฐมนตรี อื่นไม่เกิน 35 คน รวมเป็นคณะรัฐมนตรี ทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน กล่าวคือ และรัฐบาลมาจากความไว้วางใจของ ส.ส.เริ่มต้นด้วยการให้ประชาชนเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อได้ ส.ส. ครบถ้วนแล้ว (ม.83-ม.106) สภาก็จะให้ความเห็นชอบในการจัดตั้งฝ่ายบริหาร โดยมอบให้ใครเป็นนายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง (ม.158 - ม.159) เพื่อจัดตั้งฝ่ายบริหาร (คณะรัฐมนตรีหรือเรียกว่า “รัฐบาล”)
ข้อสังเกต ที่ 1 ในระยะ 5 ปี แรก ส.ว. พิจารณาเลือก นายกรัฐมนตรี กับ ส.ส.
ข้อสังเกต ที่ 2 ในกรณีสมัยแรกถ้าไม่สามารถหาได้นายกรัฐมนตรี อาจรัฐสภา (ส.ส. กับ ส.ว.) เสนอบุคคลที่ไม่ได้เสนอตาม ม.88 (ม.272)
2.การถ่วงดุลอำนาจกันระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหาร
ในระบบรัฐสภาของประเทศไทย ตามรัฐธรรมนูญ 2560 ได้กำหนดให้ฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา) มีอำนาจควบคุมการทำงานของฝ่ายบริหาร (รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี) เนื่องจากฝ่ายบริหารมาจากความไว้วางใจของฝ่ายนิติบัญญัติ เมื่อเป็นเช่นนี้ฝ่ายนิติบัญญัติจึงมีอำนาจควบคุมการทำงานของฝ่ายบริหารได้ เรียกว่า “อำนาจในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน” บนรากฐานของ “ความไว้วางใจของสภา” (Parliament’s confidence) ดังนี้
1)ฝ่ายบริหารที่จัดตั้งขึ้นเสร็จแล้วต้องแถลงนโยบายต่อฝ่ายนิติบัญญัติ (ม.162)
2) การตั้งกลไกกรรมาธิการเพื่อตรวจสอบ กล่าว สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอำนาจเลือกสมาชิกของแต่ละสภาตั้งเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ และมีอำนาจเลือกบุคคลผู้เป็นสมาชิกหรือมิได้เป็นสมาชิก ตั้งเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญ หรือคณะกรรมาธิการร่วมกันตามมาตรา 137 เพื่อกระทำกิจการพิจารณาสอบหาข้อเท็จจริง หรือศึกษาเรื่องใด ๆ และรายงานให้สภาทราบ (มาตรา 129)
3) สมาชิกฝ่ายนิติบัญญัติ (สมาชิกรัฐสภา) สามารถตั้งกระทู้ถาม (Question) ซึ่งอาจจะเป็นการตั้งกระทู้ถามสด หรืออาจจะเป็นการตั้งกระทู้ถามทั่วไปก็ได้(ม.150)ต่อนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีในปัญหาที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินหรือปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
4)การเปิดอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ (Vote of no Confidence) ทั้งคณะ(เป็นการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี) หรือรัฐมนตรีรายบุคคล (ม.151) ซึ่งเป็นการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจแบบลงมติโดยสภาผู้แทนราษฎรกับเปิดอภิปรายไม่ไว้วางแบบไม่ลงมติ (ม.152)
ข้อสังเกต การเปิดอภิปรายไม้ไว้วางใจตามมาตรา 151 เป็นมาตรการขั้นเด็ดขาดขั้นสุดท้ายที่จะควบคุมฝ่ายบริหาร
ข้อสังเกต การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี ถือ เป็นไม่ไว้วางใจทั่งคณะ ถ้านายกรัฐมนตรีก็ต้องพ้นทั้งคณะ
ข้อสังเกต การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจแบบลงมติ จะต้อง ส.ส. เท่านั้น
ข้อสังเกต การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจแบบไม่ลงมติ เป็น ส.ส. หรือ ส.ว. ก็ได้
5) เมื่อกรณีฝ่ายบริหารออกพระราชกำหนด ภายใต้เงื่อนไข มาตรา 172 มาตรา 174 และเมื่อเข้าสู่สมัยประชุมการสภานิติบัญัติ (สมัยการตรากฎหมาย) ฝ่ายบริหารต้องนำพระราชกำหนดให้ฝ่ายนิติบัญญัติอนุมัติ
6) ฝ่ายบริหารจะดำเนินการ เช่น ที่เกี่ยวกับสัญญาที่มีผลเกี่ยวอาณาเขตของรัฐ อำนาจอธิปไตยของรัฐ การประกาศสงคราม เป็นต้น ต้องได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติ
7) ฝ่ายบริหารก็มีอำนาจควบคุมฝ่ายนิติบัญญัติ ได้คือ การเสนอให้พระมหากษัตริย์ (ประมุขของรัฐ) ยุบสภาผู้แทนราษฎรให้มีการเลือกตั้งใหม่ (ม.103)
ข้อสังเกต การยุบสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส) ถือเป็นการถ่วงดุลของฝ่ายบริหารที่มีต่อฝ่ายนิติบัญญัติ ที่ฝ่ายนิติบัญญัติกลัวที่สุด
สรุป ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารภายใต้ระบบรัฐบาลแบบรัฐสภา ของประเทศไทยตามรัฐธรรมนูญ 2560 มีประเด็นปัญหาที่ไม่เป็นระบอบประชาธิปไตย ใน 2 เรื่องใหญ่ ๆ คือ
1.เรื่องที่มาของนายกรัฐมนตรี ที่มีจารีตประเพณีที่ว่า นายกรัฐมนตรี ต้องมาจากพรรคการเมืองที่ได้รับเสียงมาก คือ ได้จำนวน ส.ส. มากที่สุด สามารถจัดคั้งรัฐบาลและผู้ที่เป็นหัวหน้าพรรคการเมือง แต่รัฐธรรมนูญ2560 นี้ได้ทำลายหลักการนี้ไปแล้ว คือ
1.1 นายกฯมาจากผู้ที่พรรคการเมืองเสนอ 3 รายชื่อ เป็น ส.ส.หรือไม่ก็ตาม และไม่จำเป็นต้องเป็นพรรคการเมืองที่มี จำนนวน ส.ส. มาก เป็นผู้มีสิทธิ ขึ้นอยู่กับพรรคการเมืองที่สามารถรวบรวม ส.ส.มากกว่ากัน และมิหนำซ้ำ ในกรณี 5 ปีแรกในบทเฉพาะกาลที่ให้มี ส.ว. ที่มาจากการแต่ตั้ง คสช. (องค์ชั่วคราวที่มาจากการรัฐประหารเป็นผู้แต่งตั้ง) สามารถเลือกนายกฯร่วมกับ ส.ส. ได้ ไม่จำเป็นต้องมีการรวบรวม ส.ส.มาก แต่ถ้ารวมกับ กับ ส.ว. อีก 250 คนได้ มากกว่า ก็เป็นนายกฯได้แล้ว ตัวอย่างเช่น
ส.ส. 500 คน ได้เสียง ส.ส. 126 คน รวมกับ ส.ว.250 คน ก็สามารถเลือกนายกฯ ได้แล้ว ถือเป็นการทำลายหลักประชาธิปไตยเป็นอย่างมาก ที่ว่า ผู้ปกครองที่บริหารประเทศต้องมาจากความยินยอมพร้อมใจจากประชาชน ด้วยการเลือกตั้งที่เป็นเสียงส่วนใหญ่ ในระบบประขาธิปไตยทางผู้แทน คือ เสียง ส.ส. ที่ประชาชนเลือกตั้ง
1.2 ในกรณีที่ไม่สามารถหานายกฯได้ ในบทเฉพาะกาล กำหนดว่า ให้ รัฐสภา (ส.ส.กับ ส.ว.) เลือกบุคคลที่ไม่อนู่ในรายชื่อ 3 รายชื่อ ที่พรรคการเมืองเสนอให้ประชาชนเลือกตั้ง โดยเฉพาะการเลือกพรรคและเลือก ส.ส. ใช้บัตรใบเดียวกันทั้งประเทศ ดังนั้น นายกฯก็ต้องมาจาก บุคคลที่ พรรคการเมืองเสนอ จะให้เป็นบุคคลที่ไม่อยู่ในรายชื่อเสนอให้กัยประขาขนเลือก ถือ เป็นการทำลายหลักประชาธิปไตย ที่ว่า ระบอบการปกครองของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน
2. ที่มาของ ส.ว. ในระยะ 5 ปี ที่มาจากการแต่งตั้ง จาก คสช.( องค์ชั่วคราวที่มาจากการรัฐประหารเป็นผู้แต่งตั้ง) โดยเฉพาะจากผู้นำเหล่าทัพ ถือ เป็นสืบทอดอำนาจเผด็จการ สืบทอดอำนาจที่มาจากการรัฐประหาร เพราะ คสช. ก็คือ กองทัพ ที่สนับสนุน รัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร อีกส่วนหนึ่งก็มาจากข้าราชการทหาร ตำรวจ แบะบุคคลที่เป็นเครือข่ายของคณะรัฐประหาร ดังนั้นที่มา ส.ว. ในระยะ 5 ปี ไม่ได้มาจากประขาชนหรือตัวแทนประชาชนที่แท้จริง
3. จากที่มาของนายกฯหัวหน้าฝ่ายบริหาร กับที่มา ส.ว. ที่เป็นพวกหรือกลุ่มเดียวกัน การตรวจสอบ หรือการถ่วงดุลฝ่ายบริหารของฝ่ายนิติบัญญัติไม่สามารถทำได้เลย หรือทำได้ยากมาก วุฒิสภา คือ จึงเป็นเครื่องมือในการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารที่ทรงพลังเป็นอย่างมากถือ เป็นการใช้อำนาจที่ไม่ยึดโยงจากประชาชนตามหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยภายใต้ระบบรัฐบาลแบบรัฐสภาที่นานาอารยประเทศใช้กันอยู่
ตำรวจ 在 AomAmChannel Youtube 的最佳解答
เล่นแมพนี้ https://www.roblox.com/games/6366316561/Scary-Elevator-2-Survive-the-Killer?
#aomamchannel #roblox
ติดตามคลิปใหม่ๆของอ้อมทาง Youtube ได้ที่ https://goo.gl/S3CoKl
พูดคุยกับอ้อม หรือกดไลค์กดแชร์ได้ที่เพจ Aom Am Chanel นะจ๊ะ
กดติดตาม Facebookของอ้อม : https://www.facebook.com/AomAmChanel-1541504809487319/
ขอบคุณสำหรับทุกๆกำลังใจนะคะที่ช่วย กด like กดแชร์ กด subscribe ให้ช่องอ้อมนะคะ
---------------------------------------------------------------
สมัครเป็นพาร์ทเนอร์กับOnline Stationเพื่อช่วยสร้างโอกาสและพัฒนาให้ช่อง Youtube ของคุณเติบโตมากขึ้น http://caster.online-station.net
ตำรวจ 在 AomAmChannel Youtube 的最讚貼文
เล่นแมพนี้ https://www.roblox.com/games/5215010244/Escape-The-Theme-Park-Obby?
#aomamchannel #roblox
ติดตามคลิปใหม่ๆของอ้อมทาง Youtube ได้ที่ https://goo.gl/S3CoKl
พูดคุยกับอ้อม หรือกดไลค์กดแชร์ได้ที่เพจ Aom Am Chanel นะจ๊ะ
กดติดตาม Facebookของอ้อม : https://www.facebook.com/AomAmChanel-1541504809487319/
ขอบคุณสำหรับทุกๆกำลังใจนะคะที่ช่วย กด like กดแชร์ กด subscribe ให้ช่องอ้อมนะคะ
---------------------------------------------------------------
สมัครเป็นพาร์ทเนอร์กับOnline Stationเพื่อช่วยสร้างโอกาสและพัฒนาให้ช่อง Youtube ของคุณเติบโตมากขึ้น http://caster.online-station.net
ตำรวจ 在 SUNFESOVERLOAD Youtube 的最佳解答
สั่งซื้อแว่น Ophtus ได้ที่ www.facebook.com/ophtus
ใช้ Code "SUNFESOVERLOAD" รับทันทีส่วนลด 100 บาท จากทางร้าน
เฟสส่วนตัว : http://goo.gl/Y0tVwY
แฟนเพจ : http://goo.gl/x5phXD
เพจขายเสื้อ : http://bit.ly/2Sec0QQ
ติดต่องาน
Email : Por_steam@hotmail.com
#SFOL
ตำรวจ 在 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ - Facebook 的推薦與評價
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. ถูกใจ 241034 คน · 8080 คนกำลังพูดถึงสิ่งนี้. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. ... <看更多>