ภาวะเศรษฐกิจ 4 ภูมิภาคของไทย
การแพร่ระบาดของ Covid-19 เป็นสถานการณ์การระบาดใหญ่ทั่วโลก ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในทุกภาคส่วน หลายประเทศงดการเดินทาง ปิดประเทศ ปิดเมือง ลดการนำสินค้าเข้า-ออก ลดการจ้างงาน ผู้ประกอบการ SMEs ต่าง ๆ ปรับตัวไม่ทันทำให้เศรษฐกิจหดตัว รวมถึงประเทศไทย
.
มาดูกันว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยแต่ละภูมิภาคเป็นอย่างไรกันบ้าง จากการรวบรวมข้อมูลที่ธนาคารแห่งประเทศไทยร่วมมือกับภาคธุรกิจ ผู้ประกอบการและหน่วยงานต่าง ๆ รวม 4 ภูมิภาค นั้นเป็นอย่างไร
-----------
ภาคเหนือ
ด้านธุรกิจ
เนื่องจากปัญหา Covid-19 และปัญหาหมอกควัน ทำให้ธุรกิจการท่องเที่ยวและธุรกิจด้านบริการอยู่ในระดับต่ำ กำลังซื้อและนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศลดลง ทำให้ธุรกิจการค้าและการผลิตได้รับผลกระทบ หลายธุรกิจลดการจ้างแรงงานเพื่อลดภาระต้นทุน
.
ด้านบริการและการท่องเที่ยว
ธุรกิจท่องเที่ยวหดตัวตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงมาก ธุรกิจทัวร์ที่เน้นกลุ่มตลาดจีน ยอดขายและยอดจองล่วงหน้าลดลงเกือบทั้งหมด กลุ่มนักท่องเที่ยวสัญชาติอื่น อัตราการเข้าพักเหลือเพียง 20-30 % กลุ่มตลาดประชุมสัมมนาได้ยกเลิก/ลดขนาด/เลื่อนโดยไม่มีกำหนด ทั้งนี้ยังส่งผลไปถึงธุรกิจร้านอาหาร ยอดขายลดลงมากกว่า 50-60 % ธุรกิจด้านบริการ เช่น โรงแรม มีการปรับลดค่าจ้างและวันทำงาน บางธุรกิจปิดให้บริการชั่วคราวเพื่อลดค่าใช้จ่าย ธุรกิจโรงแรมขนาดเล็กบางส่วนประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง
.
ด้านการค้าและการบริโภค
ยอดขายสินค้าอุปโภคบริโภคลดลง ลูกค้าบางส่วนหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายในห้างฯ หันมาซื้อสินค้าในชุมชนแทน ในช่วงปลายไตรมาสแรกมีการเร่งซื้อและกักตุนสินค้า จากความกังวลต่อมาตรการ Lockdown ทำให้ยอดขายร้านค้าปลีกขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย สำหรับธุรกิจขายรถยนต์หดตัวมากจากภาวะเศรษฐกิจซบเซาและความวิตกกังวลการแพร่ระบาด covid-19 ทำให้ยอดขายลดลง ตัวแทนจำหน่ายต้องปรับตัว ทำโปรโมชั่นกระตุ้นการขาย เช่นฟรีดาวน์ หรือขยายเวลาผ่อนชำระเงิน และหันมาขายรถยนต์ผ่านทางออนไลน์
.
ด้านการผลิตและการส่งออก
จากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ส่งผลให้ธุรกิจผลิตชิ้นส่วนอเล็กทรอนิกส์ประเภท Connectors และจอภาพในรถยนต์ มียอดซื้อลดลงมาก และบางส่วนไม่สามารถนำเข้าวัตถุดิบจากจีนได้ ด้านธุรกิจผลไม้แปรรูปอบแห้ง ถูกยกเลิกการสั่งซื้อจากจีนและการปิดเส้นทางการขนส่งหลายด้าน แต่ในธุรกิจแปรรูปเกษตรบางกลุ่มทรงตัว เนื่องจากมียอดสั่งซื้อระยะยาว ธุรกิจที่สามารถเติบโตได้ คือสินค้ากลุ่มที่รองรับเทคโนโลยี 5G และธุรกิจเซรามิก
.
ด้านอสังหาริมทรัยพย์และก่อสร้าง
จากปัญหา Covid-19 ทำให้ลูกค้าชาวไทยและชาวต่างชาติชะลอการซื้อ บางส่วนเลื่อนการโอนตามกำหนดออกไป ขณะที่ส่วนหนึ่งถูกปฏิเสธสินเชื่อหลังจากตกงานหรือปิดกิจการ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์บางรายยังคงต้องดำเนินการก่อสร้างเพื่อให้ผู้รับเหมามีงานทำ ทำให้สภาพคล่องกิจการลดลง
.
ด้านการลงทุนของภาคธุรกิจ
ธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ยังไม่มีแผนลงทุนใหม่ๆ หลายธุรกิจชะลอการลงทุนออกไป มีเพียงธุรกิจค้าปลีกท้องถิ่นรายใหญ่ที่ยังทีแผนขยายสาขาเพิ่ม รวมไปถึงธุรกิจการผลิตโดยเฉพาะธุรกิจผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ประเภท Connectors ชิ้นส่วนยานยนต์ จอภาพในรถยนต์ และเลนส์กล้องมือถือ ที่ยังคงมีการลงทุนรองรับผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และลดต้นทุนด้านพลังงาน
.
ด้านการจ้างงาน
ธุรกิจส่วนใหญ่ลดการจ้างงาน โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจการท่องเที่ยว เช่น ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจนำเที่ยวบางแห่งเริ่มให้พนักงานลาโดยไม่ได้รับค่าจ้าง (Leave without pay) มีการลดงานแบบชั่วคราว ลดจำนวนวันทำงาน และจ่ายเงินเดือนเพียงบางส่วน การจ้างงานในธุรกิจด้านการผลิตมีการจ้างงานลดลงเล็กน้อย บางรายปรับลดชั่วโมงการทำงาน และไม่มีค่าล่วงเวลา (Zero overtime) รวมถึงการเกษียณอายุก่อนกำหนด (Early retirement) ในส่วนธุรกิจด้านการค้าและอสังหาริมทรัพย์ยังไม่มีการปรับลดการจ้างงาน ทั้งนี้จากปัญหา Covid-19 แรงงานต่างด้าวบางส่วนเดินทางกลับบ้านประเทศผ่านในทางภาคเหนือมากขึ้น เนื่องจากกังวลกับมาตรการปิดด่านชายแดน หรือ ปิดเมืองในแต่ละจังหวัด
.
ด้านต้นทุนและราคา
ธุรกิจด้านการเกษตรมีต้นทุนวัตถุดิบเพิ่ม เนื่องจากผลผลิตได้รับกระทบจากภัยแรง และจากการขนส่งสินค้าภายใต้สถานการณ์ Covid-19 ทางด้านธุรกิจตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ มีต้นทุนเพิ่มจากการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายที่บริษัทแม่ผลักภาระมาให้จากที่เคยสนับสนุน ส่วนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีต้นทุนทางด้านแรงงานเพิ่มขึ้น กลไกลทางด้านราคาของธุรกิจส่วนใหญ่ไม่สามารถปรับขึ้นราคาได้เนื่องจากภาวะการแข่งขันสูงและกำลังซื้อต่ำ ในขณะที่ธุรกิจด้านการท่องเที่ยวต้องปรับลดราคาเพื่อดึงลูกค้า สำหรับธุรกิจด้านการผลิตสามารถปรับราคาลดลงได้ เนื่องจากมีเทคโนโลยีและวิธีบริหารจัดการต้นทุน เช่น ปรับเปลี่ยนเวลาเดินเครื่องจักรเพื่อหลีกเลี่ยงช่วงเวลาที่มีค่าไฟสูง และลดการสูญเสียจากกระบวนการผลิตให้น้อยที่สุด
.---------------------------
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ด้านธุรกิจ
ธุรกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือหดตัวในทุกภาคธุรกิจ เนื่องจากได้รับผลกระทบหลายปัจจัย ตั้งแต่ภัยแล้ง การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และการแพร่ระบาดของ Covid-19 โดยภาคการค้าหดตัวทุกหมวด ธุรกิจการผลิตประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ ธุรกิจบริการโดยเฉพาะโรงแรมและร้านอาหารได้รับผลกระทบถูกเลื่อนการจัดงานและการจำกัดการเดินทางเพื่อควบคุมการแพร่ระบาด เช่นเดียวกับภาคอสังหาริมทรัพย์ เพราะได้รับผลกระทบจากกำลังซื้อที่ลดลง
.
ด้านการค้าและการบริโภค
ภาวะธุรกิจการค้าหดตัวจากกำลังซื้อที่ลดลง มีการระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น อุปกรณ์ทางการเกษตรมียอดขายลดลง เช่นเดียวกับยอดขายสินค้าฟุ่มเฟือยก็ลดลงไปมาก เช่นเครื่องสำอางและสินค้าแฟชั่น แต่สินค้าจำเป็นยังเติบโตขายได้ เช่น หน้ากากอนามัย อุปกรณ์น้ำยาทำความสะอาด อาหาร และน้ำเป็นต้น
.
ด้านการผลิตและการส่งออก
ธุรกิจการผลิตไม่สามารถส่งออกสินค้าและนำเข้าวัตุดิบจากหลายประเทศโดยเฉพาะจีน หลังจากที่มีการปิดประเทศส่งผลให้ห่วงโซ่การผลิตหยุดชะงัก รวมไปถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าส่งผลให้คำสั่งซื้อลดลง ได้แก่ ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ชิ้นส่วนสมาร์ทโฟน กล้องถ่ายรูป สิ่งทอ เคมีภัณฑ์ และเครื่องดื่ม ขณะเดียวกันภัยแล้งส่งผลให้ธุรกิจแปรรูปสินค้าเกษตรขาดแคลนวัตถุดิบ ยกเว้นการแปรรูปมันสำปะหลัง เนื่องจากประเทศจีนต้องการนำไปผลิตแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้น และการแปรรูปเนื้อสัตว์ เนื่องจากจีนและประเทศเพื่อนบ้านพบโรคระบาดในเนื้อสุกร (African swine fever) ด้านการบริการและการท่องเที่ยว ธุรกิจโรงแรมรายได้ลงลดมากจากการเลื่อนจัดงานอีเว้นท์และประชุมสัมมนา รวมไปถึงการจองห้องพัก หลังจากประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ร้านอาหารก็รายได้ลดลงไปมาก พบว่าร้านอาหารเล็ก ๆ มากกว่า 50% ต้องปิดตัว ร้านอาหารที่ดำเนินกิจการต่อไปได้ต้องใช้บริการออนไลน์และการจัดส่งเดลิเวอรี่แทน
.
ด้านอสังหาริมทรัพย์
จากปัญหา Covid-19 ทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายได้ อีกทั้งการโอนกรรมสิทธิ์ต่าง ๆ ต้องชะลอตัวเนื่องจากสำนักงานที่ดินบางจังหวัดปิดให้บริการชั่วคราว และมีลูกค้าขอคืนเงินจองบ้าน ในกลุ่มคนที่ตกงาน หรือขาดความมั่นคงในอาชีพ
.
ด้านการลงทุน
มีการชะลอตัวเม็ดเงินในการลงทุน เนื่องจากความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจ ธุรกิจส่วนใหญ่ยังคงมีการลงทุน แต่เป็นการลงทุนจากแผนเดิม ยกเว้นธุรกิจแปรรูปมันสำปะหลังและธุรกิจผลิตเครื่องดื่มมีการลงทุนด้านพัฒนาสินค้า สำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังชะลอการลงทุนเพื่อเร่งระบายสต็อกคงค้าง
.
ด้านการจ้างงาน
ธุรกิจด้านการผลิตและการบริการ มีการลดจำนวนพนักงานบางส่วน โดยเฉพาะลูกจ้างชั่วคราว แต่ผู้ประกอบการท้องถิ่นยังคงพยายามรักษาแรงงานโดยเฉพาะคนที่มีทักษะ หรือกลุ่มที่จ้างมายาวนาน
.
ต้นทุนและราคา
ต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นทั้งด้านแรงงาน วัตถุดิบ และค่าใช้จ่ายดำนเนินการ ในขณะที่ราคาสินค้าและค่าบริการไม่สามารถปรับขึ้นได้ เนื่องจากภาวะกำลังซื้อที่ลดลงและการแข่งขันทางธุรกิจที่สูงขึ้น ทางด้านธุรกิจการค้าต้นทุนเพิ่มขึ้นนิดหน่อยตามค่าจ้าง รวมไปถึงการจัดกิจกรรมกระตุ้นยอดขาย และค่าใช้จ่ายในการทำความสะอาดตามนโยบายของรัฐ ส่วนธุรกิจด้านการผลิตและธุรกิจแปรรูปสินค้าเกษตร มีต้นทุนราคาวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นและหาได้ยาก ส่วนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ต้นทุนทรงตัว โดยผู้ประกอบการเลือกที่จะลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น หรือใช้เทคโนโลยีช่วยลดระยะเวลาในการก่อสร้าง
------------
ภาคกลาง
ด้านธุรกิจ
สถานการณ์การแพร่ระบาด Covid-19 เป็นสิ่งฉุดรั้งต่อความเชื่อมั่นและผลประกอบการในทุกภาคส่วนของธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจบริการส่งผลให้การจ้างงานและรายได้แย่ลง ผู้ประกอบการจะต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับความไม่แน่นอนของปัญหา Covid – 19 และการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก
.
ด้านบริการและการท่องเที่ยว
ธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวหดตัวมากตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลง สำหรับธุรกิจโรงแรมถูกยกเลิกการจองห้องพัก เช่นเดียวกับธุรกิจบริการขนส่งผู้โดยสารทางบกและทางอากาศ สำหรับธุรกิจร้านอาหารได้รับผลกระทบบ้าง แต่ส่วนใหญ่หันมาให้ความสนใจการจัดส่งเดลิเวอร์รี่และขายทางออนไลน์มากขึ้น
.
ด้านการผลิตและส่งออก
ธุรกิจผลิตรถยนต์จำหน่ายน้อยลงตามความต้องการที่ลดลง ขณะที่ธุรกิจผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ไม่สามารถนำเข้าวัตถุดิบได้หลังหลายประเทศที่เป็นซัพพลายเออร์ประกาศปิดไป ส่วนธุรกิจกลุ่มปิโตรเคมียอดการผลิตลดลงตามภาวะเศรษฐกิจโลก และความผันผวนของราคาพลังงาน ทางด้านธุรกิจกลุ่มผลิตอาหารสำเร็จรูปและเครื่องดื่ม มียอดผลิตส่งออกลดลงเช่นกัน ยกเว้นธุรกิจผลิตไก่แปรรูปยังขยายตัวได้ เพราะประเทศจีนยังมีความต้องการบริโภคเนื้อไก่เพิ่มขึ้นหลังจากประสบปัญหาโรคระบาดในสุกร
.
ด้านการค้าและการบริโภค
ผู้บริโภคมีความระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ยอดขายในร้านค้าปลีกและห้างฯลดลง ขณะที่ยอดสินค้าของกินของใช้ในร้านสะดวกซื้อเพิ่มขึ่น แต่ยอดขายสินค้าคงทนและสินค้าฟุ่มเฟือยหดตัว ส่วนยอดขาย E-commerce เติบโตอย่างต่อเนื่อง
.
ด้านอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง
ความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยยังหดตัวตามกำลังซื้อที่ลดลงจากภาวะเศรษฐกิจ มีการขอยกเลิกการจองหรือขอขยายเวลาในการผ่อนดาวน์เพิ่ม ผู้ประกอบการมีการชะลอการเปิดตัวโครงการใหม่ ๆ
ด้านต้นทุนและราคา
วัตถุดิบทางการเกษตรและต้นทุนการขนสินค้าปรับราคาสูงขึ้น ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มองว่าในภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัวและมีการแข่งขันสูง การปรับราคาตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้นทำได้ยาก ดังนั้นจึงเลือกที่จะบริหารจัดการต้นทุนมากกว่า
.
ด้านการลงทุนของภาคธุรกิจ
ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เน้นลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงาน ธุรกิจในหลายอุตสาหกรรมได้นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในกระบวนการทำงานเพื่อลดต้นทุนด้านแรงงาน บางส่วนเพื่อมูลค่าสินค้าและบริการให้สามารถแข่งขันได้
.
การจ้างงาน
ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ปรับลดเวลาการทำงาน ลดเงินเดือน รวมถึงขอความร่วมมือใช้มาตรการ Leave without pay และพยายามรักษากลุ่มแรงงานที่มีทักษะ เนื่องจากเป็นแรงงานที่หายาก ส่วนธุรกิจด้านการผลิตบางส่วนมีการเลิกจ้างเฉพาะกลุ่มแรงงานที่ไม่มีทักษะ
.
ด้านต้นทุนราคา
ต้นทุนวัตถุดิบและต้นทุนการขนส่งสินค้ามีการปรับตัวสูงขึ้น ส่วนต้นทุนแรงงานเพื่ขึ้นเล็กน้อย การหาแรงงานกลุ่มที่มีทักษะค่อนข้างยาก ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เน้นเรื่องการบริหารจัดการต้นทุน มากกว่ากว่าการปรับราคาสินค้าเนื่องจากมีการแข่งขันสูงในขณะที่เศรษฐกิจชะลอตัว
--------
ภาคใต้
ด้านธุรกิจ
การแพร่ระบาดของ Covid-19 ส่งผลกระทบต่อธุรกิจท่องเที่ยว และขยายวงกว้างไปยังภาคการค้าและการผลิตเพื่อส่งออก แต่มีบางอุตสาหกรรมได้รับคำสั่งซื้อเพิ่ม สำหรับอสังหาริมทรัพย์ มีผู้ประกอบการบางรายยังเปิดโครงการตามแผนเดิม
.
ด้านบริการและการท่องเที่ยว
หลังจากที่สายการบินระหว่างประเทศทยอยยกเลิก นักท่องเที่ยวลดลงเกือบทุกสัญชาติ ยอดจองห้องพักล่วงหน้าถูกยกเลิก ส่งผลให้ธุรกิจโรงแรมส่วนใหญ่ต้องปิดกิจการชั่วคราว เนื่องจากไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนได้
.
ด้านการผลิตและการส่งออก
คู่ค้าชะลอคำสั่งซื้อสินค้าออกไป เช่น ยาพาราแปรรูป อาหารทะเลแช่เย็น-แช่แข็ง โดยเฉพาะกุ้ง สำหรับไม้ยางพาราแปรรูปมีจีนเป็นคู่ค้ารายใหญ่ได้ปิดทำการช่วงตรุษจีนนานกว่าปกติ แม้กลับมาเปิดทำการได้แต่ก็ผลิตไม่ได้เนื่องจากปัญหาแรงงานไม่เพียงพอ แต่บางอุตสาหกรรมได้รับผลเชิงบวกจากสถานการณ์ Covid-19 เช่น ถุงมือยางทางการแพทย์ และอาหารทะเลกระป๋อง
.
การค้าและการบริโภค
ธุรกิจค้าส่ง-ค้าปลีกในพื้นที่ท่องเที่ยวรายได้ลดลงตามกำลังซื้อและจำนวนของนักท่องเที่ยว ขณะเดียวกันธุรกิจค้าปลีกนอกพื้นที่ท่องเที่ยวรับแรงกดดันมากขึ้น ทำให้ยอดขายในห้างฯลดลง โดยเฉพาะกลุ่มเสื้อผ้า และสินค้าฟุ่มเฟือย สำหรับยอดขายรถยนต์ลดเล็กน้อย ในส่วนของธุรกิจค้าวัสดุก่อสร้างยังมีการลงทุนก่อสร้างของโครงการบ้านจัดสรร
.
ด้านอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้าง
ในกลุ่มลูกค้าชาวไทยและชาวจีน มีผู้ซื้อขอลดเงินจองและเงินดาวน์ ขอยืดระยะในการผ่อนและการทำสัญญา ผู้ประกอบการบางรายยังคงดำเนินการโครงการใหม่ตามแผนการลงทุนเดิม สำหรับงานก่อสร้างในกลุ่มบ้านจัดสรรและอพาร์ทเม้นต์การลงทุนจากภาคเอกชนยังทรงตัวดีกว่าการก่อสร้างโดยภาครัฐ
.
ด้านการลงทุนของภาคธุรกิจ
บางธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจท่องเที่ยว ยังไม่มีแผนการลงทุนเนื่องจากต้องรักษาสภาพคล่องทางธุรกิจ ธุรกิจที่มีการลงทุนส่วนใหญ่ เป็นการปรับปรุงซ่อมแซมบำรุงรักษาเครื่องจักรประจำปี นอกจากนี้ยังมีการลงทุนเพื่อประสิทธิภาพการผลิตมีแนวโน้มเติบโตดี เช่นไม้อัดเพื่อผลิตฟอร์นิเจอร์
.
ด้านการจ้างงาน
ธุรกิจด้าการท่องเที่ยวบางแห่งต้องปิดกิจการชั่วคราว และเลิจ้างพนักงานบางส่วนพร้อมทั้งปรับรูปแบบการจ้างอื่น ๆ เช่น Leave without pay หรือการลดเงินเดิน ทางด้านแรงงานธุรกิจอื่น ๆ ยังทรงตัวเนืองจากว่าต้องรักษาแรงงานที่มีทักษะไว้ รวมถึงไม่สามารถลดแรงงานต่างด้าวได้ตามสัญญา MOU ในภาคอุตสาหกรรม
.
ด้านต้นทุนและราคา
ต้นทุนวัตถุดิบบางรายปรับเพิ่มขึ้น เช่น หิน ทรายที่ใช้ในการก่อสร้าง หรือ ปาล์มน้ำมัน ยางสังเคราะห์ที่ใช้ในธุรกิจผลิตสินค้าและแปรรูปสินค้าเกษตร สำหรับราคาขายโดยรวมยังทรงตัว เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่สามารถปรับราคาในขณะที่กำลังซื้อของครัวเรือนลดลง การแข่งขันระหว่างธุรกิจมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจการค้าและการท่องเที่ยวปรับตัว มีการจัดโปรโมชั่นกระตุ้นการขายอย่างต่อเนื่อง
.
จะเห็นได้ว่า จากการแพร่ระบาด Covid-19 ทำให้เศรษฐกิจโลก และประเทศไทยได้รับผลกระทบไปทุกภาคส่วนของภูมิภาค ธุรกิจส่วนใหญ่ที่ได้รับผลกระทบรุนแรง คือธุรกิจด้านการท่องเที่ยว เนื่องจากได้รับผลกระทบเป็นวงกว้าง และการรับมือกับปัญหาต้องใช้ระยะเวลาและการลงทุนมากกว่าการปรับตัว เช่นธุรกิจสายการบิน โรงแรม หรือสถานที่ท่องเที่ยวที่ปรับตัวได้ค่อนข้างยาก และธุรกิจสายการผลิต ที่มีปัญหาด้านราคาวัสดุหรือวัตุดิบที่สูงขึ้น ในขณะที่ไม่สามารถปรับราคาในการขายได้ เนื่องจากมีการแข่งขันทางธุรกิจมากขึ้น แต่ผู้อุปโภคบริโภคมีกำลังซื้อที่ลดลง จนทำให้ธุรกิจขาดเงินสภาพคล่องและไม่สามารถปรับตัวได้ทันที สิ่งที่ทุกภาคส่วนทางธุรกิจสามารถแก้ไขปัญหาเพื่อเอาตัวรอดให้ธุรกิจทรงตัวได้ คือการพึ่งพา Digital , Ecommerce และ Technology จะทำให้ธุรกิจดำเนินต่อได้
ที่มา : รายงานแนวโน้มธุรกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย
https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/EconomicConditions/Pages/BLP.aspx
#อายุน้อยร้อยล้าน #ryounoi100lan
#อายุน้อยร้อยล้านNEWS
#เศรษฐกิจ #covid19 #business #Thailand
ธนาคารแห่งประเทศไทย ภาคเหนือ 在 สมบัติชาติ : พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ 的推薦與評價
สมบัติชาติ : พิพิธภัณฑ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงาน ภาคเหนือ. 785 views · 5 years ago ...more. Bank of Thailand. 51.4K. Subscribe. ... <看更多>
ธนาคารแห่งประเทศไทย ภาคเหนือ 在 งานสัมมนาวิชาการธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ ประจำ ... 的推薦與評價
เรื่อง “Moving beyond the curve: ก้าวข้ามความท้าทาย สู่อนาคตเศรษฐกิจการเงินใหม่ ภาคเหนือ ” 9.00 น. -- สนทนากับผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย ... ... <看更多>