พจนานุกรมพุทธศาสน์ โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตโต) ให้ความหมาย 'ธรรม' ไว้ว่า สภาพที่ทรงไว้, ธรรมดา, ธรรมชาติ, สภาวธรรม, สัจธรรม, ความจริง; เหตุ, ต้นเหตุ; สิ่ง, ปรากฏการณ์, ธรรมารมณ์, สิ่งที่ใจคิด; คุณธรรม, ความดี, ความถูกต้อง, ความประพฤติชอบ; หลักการ, แบบแผน, ธรรมเนียม, หน้าที่; ความชอบ, ความยุติธรรม; พระธรรม, คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งแสดงธรรมให้เปิดเผยปรากฏขึ้น
ส่วน 'ธรรมชาติ' คือ สิ่งที่เกิดมีเป็นอยู่เป็นไปตามธรรมดา เช่น ดิน น้ำ คน สัตว์ ต้นไม้
และ 'ธรรมดา' คือ อาการหรือความเป็นไปแห่งธรรมชาติ ในภาษาไทยว่า สามัญ, ปกติ, พื้นๆ
...
🌳
ท่านพุทธทาสเทศน์ว่า "สิ่งทั้งปวงนี้ไม่มีอะไรอื่นนอกจากสิ่งที่เรียกว่า 'ธรรม'" โดยบอกว่า "ธรรมะซึ่งแปลว่า 'สิ่ง' เท่านั้นแหละ; สพฺเพ ธมฺมา ก็แปลว่าสิ่งทั้งปวง
'สิ่งทั้งปวง' หมายถึงทุกสิ่งไม่ยกเว้นอะไรหมด จะเป็นเรื่องโลกหรือธรรมะก็คือสิ่งทั้งปวง จะเป็นฝ่ายวัตถุหรือฝ่ายจิตใจก็คือสิ่งทั้งปวง
สำหรับท่านพุทธทาส ตัวโลกหรือสิ่งที่เป็นวัตถุ เป็นวัตถุธรรม ก็คือธรรม
ตัวจิตใจที่จะรู้จักโลกทั้งหมดทั้งสิ้น ก็คือธรรม
เมื่อกระทบกันแล้วเกิดรัก โกรธ เกลียด กลัวขึ้น หรือเป็นสติปัญญา รู้แจ่มแจ้ง ก็คือธรรมทั้งนั้น
ถูก-ผิด ดี-ชั่ว ก็คือธรรมทั้งนั้น
สติปัญญาก่อให้เกิดความรู้ขึ้นมา อันนี้ก็คือธรรม
ความรู้เป็นเหตุให้เกิดการปฏิบัติขึ้นมา เป็นศีล สมาธิ ปัญญา การปฏิบัตินั้นก็คือธรรม
ครั้นปฏิบัติแล้วผลเกิดขึ้น เป็น มรรค ผล นิพพาน ผลที่เกิดขึ้นก็คือธรรม
ท่านพุทธทาสจึงบอกว่า ธรรมคือสิ่งทั้งปวง
...
🌳
ท่านยังบอกอีกว่า "ธรรมะล้วนๆ ไม่มีอะไรเจือนี้คือธรรมชาติ"
ธรรมะ แปลว่าสิ่งที่ทรงตัวมันอยู่ ถ้าสิ่งใดมีการทรงตัวอยู่แล้วสิ่งนั้นเรียกว่าธรรมะ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน
หนึ่ง, สิ่งที่ไหลเวียนเปลี่ยนแปลง
สอง, สิ่งที่ไม่ไหลเวียนเปลี่ยนแปลง
สิ่งแรกคือการเปลี่ยนแปลงจากการปรุงแต่ง กระแสไหลเวียนเปลี่ยนแปลงก็คือตัวมัน มันไหลเวียนแต่ก็ทรงตัวอยู่ในการไหลเวียนนั้น
สิ่งที่ไม่ไหลเวียนเปลี่ยนแปลงเพราะไม่มีเหตุปัจจัยให้เปลี่ยนแปลง คือพระนิพพาน คือความว่าง ก็จะเป็นธรรมะประเภทที่ไม่ไหลเวียนเปลี่ยนแปลง
...
🌳
ทั้งหมดนี้นำไปสู่การเห็น 'ธรรม' ตามจริง เมื่อเห็นว่าทุกสิ่งล้วนเป็นธรรมะ จะไปยึดถือว่าเป็นเรา-ของเราได้อย่างไร
เช่นนี้ ธรรมะจึงแปลว่าธรรมชาติ หรือธรรมดา หรือตถตา คือมันเป็นอย่างนั้นเอง
ถ้าเห็นสิ่งทั้งปวงตามจริง ย่อมว่างจากตัวตน คือการพยายามใช้ตัวเองเป็นศูนย์กลางในการบงการ ควบคุม ตัดสิน หรือพยายามยึดมั่น เกาะเกี่ยว เหนี่ยวรั้งสภาพบางอย่าง สถานะบางอย่าง หรือตัวตนที่ชอบเอาไว้
ท่านพุทธทาสบอกว่า "จะศึกษาความว่างก็ต้องศึกษาสิ่งทั้งปวง"
...
🌳
ส่วนตัวแล้ว ผมคิดว่าการศึกษาสิ่งนอกตัว (วัตถุ) ทำให้เราเข้าใจความเป็นไปของกฎธรรมชาติที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ เสื่อมไป รวมถึงเหตุปัจจัยที่ประกอบกันเป็นสิ่งหนึ่ง ผลลัพธ์หนึ่ง สถานการณ์หนึ่ง สิ่งเหล่านี้อาจเริ่มจากการศึกษาผ่านความคิด เป็นสุตมยปัญญา หรือจินตามยปัญญา เพื่อทำความเข้าใจ (อย่างน้อยในแง่คอนเส็ปต์) ว่าทุกสิ่งล้วนเป็นอนิจจังและอนัตตา คือเปลี่ยนแปลงและไม่มีตัวตนแท้จริง ล้วนเป็นเพียงปรากฏการณ์หนึ่งของการรวมกันของเหตุปัจจัย
ส่วนการศึกษาสิ่งในตัว (จิตใจ) ทำให้เรารู้ซึ้งถึงความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาของสภาพจิต และความร้อนของการยึดถือที่เราพยายามยึดบางอย่างไว้เสมอ พยายามยึดสุขและผลักไสทุกข์ ถ้าเห็นสิ่งนี้บ่อยมากขึ้น เห็นโทษของมัน สัมผัสถึงความร้อนของมัน เราจึงจะคลาย และค่อยๆ วางความยึดมั่นลงทีละนิด--เป็นภาวนามยปัญญา
ซึ่งทั้งหมดทั้งปวงล้วนแล้วแต่เป็นสภาวะธรรมชาติ
เป็นธรรมะ
เป็นธรรมดา
ทั้งของโลกและของเรา
ซึ่งจะว่าไปแล้ว ไม่มีเส้นแบ่งระหว่างสองสิ่งนั้น
...
🌳
ที่เราเป็นทุกข์เพราะไม่สามารถอยู่กับธรรมชาติที่เป็นไปทั้งภายนอกและภายในได้ ไม่สามารถยอมรับความธรรมดาของสิ่งทั้งปวงได้ เมื่อมองไม่เห็นความเป็นไปอย่างแท้จริง เราจึงใช้ชีวิตเพื่อให้ทุกสิ่งเป็นไปตามที่เราคิดและคาดหวัง ครูบาอาจารย์บอกว่าสิ่งนี้คืออวิชชา หรือหลงผิด เพราะไม่รู้ในความจริง
จึงน่าคิดว่า วิถีชีวิตสมัยใหม่ที่เราอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ควบคุมได้มากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยการกดปุ่มสารพัด เลือกอุณหภูมิ เลือกตั้งเวลา เลือกปรับสภาพแสง สี เสียง ทำให้เราใช้ชีวิตกับความเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติน้อยลง จนหลงคิดไปว่า สิ่งทั้งหลายควบคุมได้ และทำให้ไม่เปลี่ยนแปลงได้
การไม่เคยชินกับความเปลี่ยนแปลง ทำให้เราทุกข์ง่ายขึ้นหรือไม่
วิถีชีวิตที่ไกลจากต้นไม้ แสงแดด สรรพสัตว์ ทำให้เราห่างไกลความเปลี่ยนแปลงมากขึ้นหรือเปล่า
ความเร่งรีบจนไม่มีเวลาสังเกตจิตใจตัวเอง ทำให้เรามองไม่เห็นธรรมชาติอันปั่นป่วนของจิตใจตนเอง นำมาซึ่งความเครียดโดยไม่รู้สาเหตุหรือไม่
เราอยู่กับความจริงหรือไม่จริงมากกว่ากัน
เราอยู่กับธรรมชาติมากน้อยแค่ไหน
ธรรมชาติในความหมายของความธรรมดาที่เป็นไป
ที่ว่ากันว่า "คนสมัยใหม่ห่างธรรมะ" อาจไม่ได้หมายถึงห่างวัด แต่อาจหมายถึงห่างจากสภาวะที่เป็นจริงตามธรรมชาติ
รวมถึงห่างจากจิตใจที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาของตัวเองด้วย
-------------------------------------------------------------
ตื่นมาทำการบ้านเตรียมไปชวนคุณหมอบัญชา พงษ์พานิช และพี่เชน-มล.ปริญญากร วรวรรณ คุยในงานครบรอบ ๑๐ ปี สวนโมกข์กรุงเทพฯ x พื้นที่ชีวิต ในหัวข้อ 'ธรรมะกับธรรมชาติ'
ใครไปงานวันนี้ พบกันครับ :)
「ธรรมเนียม คือ」的推薦目錄:
- 關於ธรรมเนียม คือ 在 Roundfinger Facebook 的精選貼文
- 關於ธรรมเนียม คือ 在 โอตาคุบริโภคมาม่า Facebook 的最佳貼文
- 關於ธรรมเนียม คือ 在 โอตาคุบริโภคมาม่า Facebook 的最讚貼文
- 關於ธรรมเนียม คือ 在 สโมสรศิลปวัฒนธรรม:ธรรมเนียมราชตระกูลในกรุงสยาม : ธงทอง จันทรา ... 的評價
- 關於ธรรมเนียม คือ 在 29 มิ.ย. 64 | สิ่งที่ให้เธอตอนแรกคือธรรมเนียม แต่ตอนนี้มันคือความรัก ... 的評價
- 關於ธรรมเนียม คือ 在 Paradise Park - วันนี้คือวัน White Day ค่ะ! ตามธรรมเนียม ... 的評價
ธรรมเนียม คือ 在 โอตาคุบริโภคมาม่า Facebook 的最佳貼文
หลังจากที่พูดเรื่องความกตัญญูไปสองโพสท์
ก็มีความเห็นกลุ่มหนึ่งโถมเข้ามาว่า
นี่เป็นความคิดของคนรุ่นใหม่ที่ต่างกับคนรุ่นเก่า
...... ซึ่งพอผมได้อ่าน ผมก็ลองไปค้นอีกทีว่าอะไรคือ"คนรุ่นใหม่"
เพราะอีกไม่กี่ปีผมก็จะเข้าเลข 4
ซึ่งมันน่าจะเป็น"วัยกลางคน" อยู่แล้ว
จะมาเรียกผมว่าคนรุ่นใหม่ได้ด้วยเหรอ?
ก็เลยจะมาอธิบายหน่อยนะครับว่า
แนวคิดของผมมันมาจากไหน
...........
.......
.....
....
...
..
.
....... ผมขอเรียกแนวคิดผมว่าอยู่ในกลุ่มเต๋าประยุกต์ครับ
ทีนี้ เริ่มอธิบายยาว
-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\
คำสอนแรกของตำราปรัชญาเต๋าทุกเล่มนะครับ
คือ "เต๋าที่มีรูปย่อมไม่ใช่เต๋า"
หรือคำพูดอะไรที่มันใกล้เคียง
มันหมายถึง
การที่คุณไม่ควรที่จะมาคิดแบบยึดติดกับอะไรทั้งนั้น
แม่แต่กับคำสอนเต๋าด้วยกันเอง
ถ้าคุณไปซื้อตำราเต๋าสองเล่มของคนเขียนคนละคนมาอ่าน
คุณจะเห็นได้ว่าเนื้อหาที่สอนมันจะไปกันคนละเรื่อง
แบบที่แต่ละคนจะตีความ เพราะมันไม่มีรูปที่ตายตัว
และเมื่อคุณเรียนไปมากๆ
คุณก็จะรู้ว่ามันไม่มีอะไรที่เชื่อได้แบบเป็นจริงทุกกรณีเลย
ท้ายสุด คุณก็จะต้องกลับไปที่คำสอนแรก
คือมันไม่มีรูป
แล้วคุณก็ต้องมาศึกษา มาคิดเอาเองว่า
แนวการคิดของคุณจริงๆแล้วมันคืออะไรกันแน่
คุณเชื่อในอะไรกันแน่
และอะไรคือสิ่งที่ใช่สำหรับคุณ
จนมันได้หล่อหลอมกลายเป็นตัวตนของคุณเองขึ้นมา
ที่พลิกแพลงตามสถานการณ์ของสรรพสิ่งที่อยู่รอบตัว
ไม่ได้จะต้องมายึดติดว่านี่เป็นแนวคิดฝ่ายซ้ายฝ่ายขวา
คนรุ่นใหม่ คนรุ่นเก่า ตะวันตก ตะวันออก
หรือแม่แต่นี่เป็นความคิดชายหญิง
เพราะมันไม่ได้มีตัวกำหนดสะดวกที่จะระบุได้ในคำเดียว
ว่าคุณเป็นอะไร
-\-\-\-\-\-\-
ซึ่งหลักการนี้นะครับ มันเป็นแนวคิดคนละขั้ว
กับคำสอนสำนักหยู หรือเรียกอีกอย่างว่าลัทธิขงจื๊อ
สำนักหยูให้ความสำคัญและยึดติดกับความสัมพันธ์ครอบครัว
ความสัมพันธ์กับผู้อื่น ธรรมเนียม ความกตัญญู
และอื่นๆที่มีรูปแบบและกฏเกณฑ์ของสิ่งที่เคยมีมา
ซึ่งจริงๆแล้ว ถ้าเราจะพูดเรื่องความกตัญญู
ในวัฒนธรรมชาวเอเชียตะวันออก
เราสามารถจะโยงมันกลับมาที่คำสอนของสำนักหยูได้
ไม่เว้นแม้แต่เรื่องแนวคิดว่า
ความสัมพันธ์ระหว่างบุตรและบุพการีเป็นของตาย
พ่อแม่มีหน้าที่ต้องดูแลลูก และลูกก็ต้องกตัญญูต่อพ่อแม่
-\-\-\-\-\-\
ซึ่งถ้าคุณเป็นเต๋า คุณจะต้องโยนความคิดนี้ออกไปก่อน
แล้วมาคิดศึกษาเอาเองว่า
แนวคิดนี้มันใช่หรือไม่เพราะอะไร
..... ซึ่ง ..... ผมไม่เห็นด้วยครับว่ามันเป็นของตาย
ในกรณีนี้ ผมเชื่อแบบสังคมอเมริกามากกว่า
ว่าถ้าคุณไม่พร้อมจะเลี้ยงดูลูก
คุณก็ควรจะยกเขาให้เป็นบุตรบุญธรรมคนอื่น
และถ้าคุณไม่ได้อยู่ในสภาพที่จะดูแลพ่อแม่คุณได้จริงๆ
คุณก็ควรที่จะหาทางออกอื่นมากกว่าจะต้องแบกโลกเอาไว้
เพื่อแลกกับการถูกยกย่องว่าเป็นคนกตัญญู
-\-\-\-\-\-\
แต่ในขณะเดียวกัน
ผมก็ไม่ได้มีความคิดแบบคนชาติใดชาติหนึ่งทั้งหมด
ผมเชิดชูซางเอียงและเชื่อคำสอนของสำนักฝ่า
ในแง่ที่ว่ากฏหมายที่เข้มแข็งและสัจจะวาจา
เป็นสิ่งจำเป็นในการสร้างรัฐที่น่าเชื่อถือ
ให้เกิดมาเป็นสังคมที่เข้มแข็ง
แต่ในขณะเดียวกันก็เชื่อในแนวคิดเสรีนิยมฝรั่งเศส
ว่าคุณมีสิทธิจะพูดอะไรก็ได้
ถ้ามันจะไม่สร้างความเกลียดชังหรือแตกแยก
ผมเชื่อว่าลักษณะของคนเป็นผู้นำชาติ
มีความสำคัญกว่าระบอบปกครอง
เพราะผู้นำชาติที่ทรงธรรมจะนำความเจริญมาได้โดยไม่เกี่ยงระบอบ
แต่ถ้าผู้นำชาติเลวและไร้ความสามารถ
จะเป็นระบอบการปกครองแบบไหนมันก็บัดซบทั้งนั้น
ถ้าจะให้พูดชื่อแค่ระบอบเดียว
คือเชื่อใน Enlighten Despotism มากกว่าประชาธิปไตย
-\-\-\-\-\-\
ผมเชื่อว่าบุรษและสตรีควรมีสิทธิเท่าเทียมกัน
และเชื่อว่าไม่ว่าผู้ชายหรือผู้หญิง
ก็ไม่ควรได้อำนาจหรือสิทธิ
ที่จะทำให้เหนือกว่าอีกเพศโดยปริยาย
ในกรณีที่มีการหย่าร้างกัน
ผมเชื่อว่าถ้าคนเป็นแม่ไม่มีปัญญาหรือวุฒิภาวะพอ
เขาไม่ควรที่จะมีสิทธิที่จะดูแลลูก
และถ้าคนเป็นพ่อมีความพร้อมกว่า
สิทธินั้นควรจะเป็นของฝ่ายชาย
แต่ถ้าทั้งพ่อแม่นั้นไม่เหมาะสมทั้งคู่
พวกเขาไม่ควรจะมีสิทธิเป็นพ่อแม่
และเด็กควรจะได้ไปเป็นบุตรบุญธรรม
ของครอบครัวที่พร้อมจะดูแลเขา
-\-\-\-\-\-\
...... ซึ่ง
แนวคิดต่างๆเหล่านี้นะ...... มันมีมาเป็นร้อยเป็นพันปี ....
มันไม่ใช่ของจำพวกที่ว่าอยู่ๆมามันก็เกิด
มันไม่ใช่อะไรที่มีแต่กับเฉพาะ "คนรุ่นใหม่"
หรือพวก "คนหัวก้าวหน้า"
การที่ผมจะคิดต่างกับ"คนรุ่นเก่า"ในสังคมไทย
มันไม่ได้มีเหตุมาจากเพราะผมเป็นคนรุ่นใหม่เลย
แต่มันเป็นแค่เพราะผม
ไม่ได้คิดตามคำสอนหรือแนวคิด
ที่พวกเขานึกว่ามันเป็นสัจธรรมหนึ่งเดียวในจักรวาลเท่านั้นเองครับ
-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\
และท้ายสุด
อันนี้สำหรับคนที่เข้าใจ.....
....
..
.
.
..... สัจธรรม 42
ธรรมเนียม คือ 在 โอตาคุบริโภคมาม่า Facebook 的最讚貼文
หลังจากที่พูดเรื่องความกตัญญูไปสองโพสท์
ก็มีความเห็นกลุ่มหนึ่งโถมเข้ามาว่า
นี่เป็นความคิดของคนรุ่นใหม่ที่ต่างกับคนรุ่นเก่า
...... ซึ่งพอผมได้อ่าน ผมก็ลองไปค้นอีกทีว่าอะไรคือ"คนรุ่นใหม่"
เพราะอีกไม่กี่ปีผมก็จะเข้าเลข 4
ซึ่งมันน่าจะเป็น"วัยกลางคน" อยู่แล้ว
จะมาเรียกผมว่าคนรุ่นใหม่ได้ด้วยเหรอ?
ก็เลยจะมาอธิบายหน่อยนะครับว่า
แนวคิดของผมมันมาจากไหน
...........
.......
.....
....
...
..
.
....... ผมขอเรียกแนวคิดผมว่าอยู่ในกลุ่มเต๋าประยุกต์ครับ
ทีนี้ เริ่มอธิบายยาว
------------------------------
คำสอนแรกของตำราปรัชญาเต๋าทุกเล่มนะครับ
คือ "เต๋าที่มีรูปย่อมไม่ใช่เต๋า"
หรือคำพูดอะไรที่มันใกล้เคียง
มันหมายถึง
การที่คุณไม่ควรที่จะมาคิดแบบยึดติดกับอะไรทั้งนั้น
แม่แต่กับคำสอนเต๋าด้วยกันเอง
ถ้าคุณไปซื้อตำราเต๋าสองเล่มของคนเขียนคนละคนมาอ่าน
คุณจะเห็นได้ว่าเนื้อหาที่สอนมันจะไปกันคนละเรื่อง
แบบที่แต่ละคนจะตีความ เพราะมันไม่มีรูปที่ตายตัว
และเมื่อคุณเรียนไปมากๆ
คุณก็จะรู้ว่ามันไม่มีอะไรที่เชื่อได้แบบเป็นจริงทุกกรณีเลย
ท้ายสุด คุณก็จะต้องกลับไปที่คำสอนแรก
คือมันไม่มีรูป
แล้วคุณก็ต้องมาศึกษา มาคิดเอาเองว่า
แนวการคิดของคุณจริงๆแล้วมันคืออะไรกันแน่
คุณเชื่อในอะไรกันแน่
และอะไรคือสิ่งที่ใช่สำหรับคุณ
จนมันได้หล่อหลอมกลายเป็นตัวตนของคุณเองขึ้นมา
ที่พลิกแพลงตามสถานการณ์ของสรรพสิ่งที่อยู่รอบตัว
ไม่ได้จะต้องมายึดติดว่านี่เป็นแนวคิดฝ่ายซ้ายฝ่ายขวา
คนรุ่นใหม่ คนรุ่นเก่า ตะวันตก ตะวันออก
หรือแม่แต่นี่เป็นความคิดชายหญิง
เพราะมันไม่ได้มีตัวกำหนดสะดวกที่จะระบุได้ในคำเดียว
ว่าคุณเป็นอะไร
-------
ซึ่งหลักการนี้นะครับ มันเป็นแนวคิดคนละขั้ว
กับคำสอนสำนักหยู หรือเรียกอีกอย่างว่าลัทธิขงจื๊อ
สำนักหยูให้ความสำคัญและยึดติดกับความสัมพันธ์ครอบครัว
ความสัมพันธ์กับผู้อื่น ธรรมเนียม ความกตัญญู
และอื่นๆที่มีรูปแบบและกฏเกณฑ์ของสิ่งที่เคยมีมา
ซึ่งจริงๆแล้ว ถ้าเราจะพูดเรื่องความกตัญญู
ในวัฒนธรรมชาวเอเชียตะวันออก
เราสามารถจะโยงมันกลับมาที่คำสอนของสำนักหยูได้
ไม่เว้นแม้แต่เรื่องแนวคิดว่า
ความสัมพันธ์ระหว่างบุตรและบุพการีเป็นของตาย
พ่อแม่มีหน้าที่ต้องดูแลลูก และลูกก็ต้องกตัญญูต่อพ่อแม่
------
ซึ่งถ้าคุณเป็นเต๋า คุณจะต้องโยนความคิดนี้ออกไปก่อน
แล้วมาคิดศึกษาเอาเองว่า
แนวคิดนี้มันใช่หรือไม่เพราะอะไร
..... ซึ่ง ..... ผมไม่เห็นด้วยครับว่ามันเป็นของตาย
ในกรณีนี้ ผมเชื่อแบบสังคมอเมริกามากกว่า
ว่าถ้าคุณไม่พร้อมจะเลี้ยงดูลูก
คุณก็ควรจะยกเขาให้เป็นบุตรบุญธรรมคนอื่น
และถ้าคุณไม่ได้อยู่ในสภาพที่จะดูแลพ่อแม่คุณได้จริงๆ
คุณก็ควรที่จะหาทางออกอื่นมากกว่าจะต้องแบกโลกเอาไว้
เพื่อแลกกับการถูกยกย่องว่าเป็นคนกตัญญู
------
แต่ในขณะเดียวกัน
ผมก็ไม่ได้มีความคิดแบบคนชาติใดชาติหนึ่งทั้งหมด
ผมเชิดชูซางเอียงและเชื่อคำสอนของสำนักฝ่า
ในแง่ที่ว่ากฏหมายที่เข้มแข็งและสัจจะวาจา
เป็นสิ่งจำเป็นในการสร้างรัฐที่น่าเชื่อถือ
ให้เกิดมาเป็นสังคมที่เข้มแข็ง
แต่ในขณะเดียวกันก็เชื่อในแนวคิดเสรีนิยมฝรั่งเศส
ว่าคุณมีสิทธิจะพูดอะไรก็ได้
ถ้ามันจะไม่สร้างความเกลียดชังหรือแตกแยก
ผมเชื่อว่าลักษณะของคนเป็นผู้นำชาติ
มีความสำคัญกว่าระบอบปกครอง
เพราะผู้นำชาติที่ทรงธรรมจะนำความเจริญมาได้โดยไม่เกี่ยงระบอบ
แต่ถ้าผู้นำชาติเลวและไร้ความสามารถ
จะเป็นระบอบการปกครองแบบไหนมันก็บัดซบทั้งนั้น
ถ้าจะให้พูดชื่อแค่ระบอบเดียว
คือเชื่อใน Enlighten Despotism มากกว่าประชาธิปไตย
------
ผมเชื่อว่าบุรษและสตรีควรมีสิทธิเท่าเทียมกัน
และเชื่อว่าไม่ว่าผู้ชายหรือผู้หญิง
ก็ไม่ควรได้อำนาจหรือสิทธิ
ที่จะทำให้เหนือกว่าอีกเพศโดยปริยาย
ในกรณีที่มีการหย่าร้างกัน
ผมเชื่อว่าถ้าคนเป็นแม่ไม่มีปัญญาหรือวุฒิภาวะพอ
เขาไม่ควรที่จะมีสิทธิที่จะดูแลลูก
และถ้าคนเป็นพ่อมีความพร้อมกว่า
สิทธินั้นควรจะเป็นของฝ่ายชาย
แต่ถ้าทั้งพ่อแม่นั้นไม่เหมาะสมทั้งคู่
พวกเขาไม่ควรจะมีสิทธิเป็นพ่อแม่
และเด็กควรจะได้ไปเป็นบุตรบุญธรรม
ของครอบครัวที่พร้อมจะดูแลเขา
------
...... ซึ่ง
แนวคิดต่างๆเหล่านี้นะ...... มันมีมาเป็นร้อยเป็นพันปี ....
มันไม่ใช่ของจำพวกที่ว่าอยู่ๆมามันก็เกิด
มันไม่ใช่อะไรที่มีแต่กับเฉพาะ "คนรุ่นใหม่"
หรือพวก "คนหัวก้าวหน้า"
การที่ผมจะคิดต่างกับ"คนรุ่นเก่า"ในสังคมไทย
มันไม่ได้มีเหตุมาจากเพราะผมเป็นคนรุ่นใหม่เลย
แต่มันเป็นแค่เพราะผม
ไม่ได้คิดตามคำสอนหรือแนวคิด
ที่พวกเขานึกว่ามันเป็นสัจธรรมหนึ่งเดียวในจักรวาลเท่านั้นเองครับ
--------------
และท้ายสุด
อันนี้สำหรับคนที่เข้าใจ.....
....
..
.
.
..... สัจธรรม 42
ธรรมเนียม คือ 在 29 มิ.ย. 64 | สิ่งที่ให้เธอตอนแรกคือธรรมเนียม แต่ตอนนี้มันคือความรัก ... 的推薦與評價
สิ่งที่ให้เธอตอนแรก คือธรรมเนียม แต่ตอนนี้มัน คือ ความรัก | ลิขิตรักนี้เพื่อเธอ | 29 มิ.ย. 64 . ติดตามชม "ลิขิตรักนี้เพื่อเธอ" วันจันทร์ ... ... <看更多>
ธรรมเนียม คือ 在 Paradise Park - วันนี้คือวัน White Day ค่ะ! ตามธรรมเนียม ... 的推薦與評價
ตามธรรมเนียมคือฝ่ายชายที่ได้รับช็อกโกแลตจากผู้หญิงในวันวาเลนไทน์ที่ผ่านมา จะต้องแสดงความขอบคุณกลับในวันนี้... ... <看更多>
ธรรมเนียม คือ 在 สโมสรศิลปวัฒนธรรม:ธรรมเนียมราชตระกูลในกรุงสยาม : ธงทอง จันทรา ... 的推薦與評價
Official Matichon TV สโมสรศิลปวัฒนธรรม: ธรรมเนียม ราชตระกูลในกรุงสยาม โดย ศาสตราจารย์พิเศษ . ... <看更多>