บทวิจารณ์หนังสือ เรื่อง “ความยุติธรรม” (JUSTICE)
สิทธิกร ศักดิ์แสง
หนังสือ เรื่อง “ความยุติธรรม” (JUSTICE) ที่เขียนโดย ไมเคิล เจ แซนเดล (Michael J. Sandel) แปลโดย สฤณี อาชวานันทกุล หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นมาเพื่อค้นหาความหมาย ปรัชญาและวิวาทะ ว่าด้วยความยุติธรรมในทุกมิติ ผ่านตัวอย่างร่วมสมัยในชีวิติจริงของตัวผู้เขียนเองและตัวผู้แปล
ตัวผู้เขียน ไมเคล เจ แซนเดล (Michael J. Sandel) เป็นนักปรัชญาการเมือง เป็นผู้บรรยายและผู้สอน ปรัชญาการเมือง วิชา “ความยุติธรรม” ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ตัวเขาเองเชื่อว่า ความเชื่อทางศีลธรรมและศาสนาเป็นเรื่อง “ส่วนตัว” ไม่ใช่เป็นเรื่อง “สาธารณะ” วิชา “ความยุติธรรม” ที่สอนโดย ไมเคิล เจ แซนเดล ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากของผู้เรียนในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ที่มีการถกเถียงของชีวิตการเมืองสมัยใหม่ อาทิ เรื่องจริยธรรม เรื่องอรรถประโยชน์ เสรีนิยม ศีลธรรมนิยม สิทธิและหน้าที่รับผิดชอบของคนในสังคม เป็นต้น
ตัวผู้แปล สฤณี อาชวานันทกุล จบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและปริญญาโทด้านการบริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ซึ่งปัจจุบันเป็นอาจารย์สอนพิเศษในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท คณะพาริชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ติดตามและการถ่ายทอดพัฒนาการใหม่ ณ พรมแดนความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ และที่สำคัญผู้แปลได้มีโอกาสลงเรียนในวิชา “ความยุติธรรม” กับผู้เขียนในฐานะเป็นลูกศิษย์อาจารย์ทำให้ผู้แปลเข้าใจบริบทงานเขียนของผู้เขียนเป็นอย่างดี
หนังสือ เรื่อง “ความยุติธรรม” (JUSTICE) ได้กล่าวถึงการค้นหา ความหมาย ปรัชญา วิวาทะว่าด้วย “ความยุติธรรม” ในทุกมิติผ่านตัวอย่างร่วมสมัยในชีวิตจริงโดยการนำหลักแนวคิด เช่น แนวเกี่ยวกับการควบคุมศีลธรรม หลักอิสระนิยม หลักอรรถประโยชน์นิยม หลักความยุติธรรมแลกเปลี่ยนตอบแทน เป็นต้นมา
วิเคราะห์วิจารณ์ ประกอบด้วย 10 บท ดังนี้
บทที่ 1 การทำสิ่งที่ถูกต้อง ไมเคล เจ แซนเดล (Michael J. Sandel) ได้อธิบายปัญหาสภาพของสังคม เช่น การโก่งราคาในภาวะที่เกิดภัยพิบัติพายุเฮอร์ริเคน ในอ่าวเม็กซิโก พัดผ่านรัฐฟลอริดาไปยังมหาสมุทรแอตแลนติก ทำให้ปัญหาเครื่องใช้ เครื่องอุปโภคขาดแคลน ร้านค้าต่างๆต่างโก่งราคา (ขึ้นราคา) ทำให้ประชาชนเดือดร้อนยิ่งขึ้น ประชาชนเกิดความโกรธแค้นต่อการขึ้นราคาสินค้า ในคำถามนี้การขึ้นราคาในเวลาภาวะคับขันเช่นนี้เป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ เราควรจะมีกฎหมายขึ้นมาควบคุมการค้ากำไรเกินควรหรือไม่ ทำให้มีการโต้แย้งแนวคิดนี้ อยู่ 2 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่ 1 มองว่า การมีกฎหมายการค้ากำไรเกินควร รวมถึงความโกรธแค้นของประชาชนต่อการขึ้นราคาสิ้นค้า เป็นเรื่องที่เข้าใจผิด นักปรัชญาและนักเทววิทยาในยุคกลางเชื่อว่า การแลกเปลี่ยนควรเกิดขึ้นใน “ราคาที่เป็นธรรม” ซึ่งกำหนดโดยประเพณีหรือมูลค่าในตัวเองของข้าวของ แต่ในสังคมตลาดนักเศรษฐศาสตร์สังเกตว่า ราคาถูกกำหนดด้วยอุปสงค์และอุปทาน ฉะนั้น “ราคาที่เป็นธรรม” ไม่มีอยู่จริง
กลุ่มที่ 2 มองว่าการออกกฎหมายค้ากำไรเกินควร คือ ข้อเสนอว่าด้วยคุณธรรม เพราะในภาวะฉุกเฉินรัฐบาลไม่อาจยืนดูอยู่ขอบสนาม เมื่อประชาชนต้องจ่ายราคาอันไร้ซึ่งมโนธรรม ขณะที่พวกเขาวิ่งหนีเอาชีวิตรอดหรือเสาะหาปัจจัยพื้นฐานสำหรับ ครอบครัวหลังจากพายุเฮอร์ริเคน ที่ไม่ใช้สถานการณ์ปกติในตลาดเสรี ซึ่งผู้ซื้อและผู้ขายต่างสมัครใจซื้อขายกันในตลาดโดยตกลงราคากันบนพื้นฐานของอุปสงค์และอุปทาน ในภาวะฉุกเฉินผู้ซื้ออยู่ภายใต้แรงกดดันและปราศจากอิสระภาพ พวกเขาถูกบังคับให้ต้องซื้อปัจจัยพื้นฐานอย่างเช่น ที่พักที่ปลอดภัย เป็นต้น
ผู้วิจารณ์มองว่าข้อโต้แย้งในเรื่องที่ว่าแม้จะเกิดภัยพิบัติอะไรก็ตามการขึ้นราคาสินค้าเกินควรนั้นเป็นไปตามอุปสงค์และอุปทานเป็นไปตามกลไกลตลาดเสรีไม่ถือว่าเป็นเรื่องที่ผิดศีลธรรมแต่อย่างไร ผู้วิจารณ์เห็นว่าการมองเช่นนี้เป็นเรื่องที่อันตรายต่อสังคมที่ได้รับเจ็บปวดจากภัยพิบัติแล้วต้องมารับการขึ้นราคาสิ้นค้าเกินควรของพวกพ่อค้าเห็นว่าเป็นการกระทำที่ผิดศีลธรรม ดังควรแล้วที่จะนำกฎหมายมาควบคุมการการค้ากำไรเกินควร
บทที่ 2 หลักความสุขสูงสุด/อรรถประโยชน์นิยม ไมเคล เจ แซนเดล (Michael J. Sandel) ได้อธิบายถึงเรื่อง ความสุขสูงสุดของอรรถประโยชน์นิยมตามหลักแนวคิดของ เจรีมี เบนแธม (Jeremy Bentham) มาศึกษาวิเคราะห์กับการฆ่าคน คือ การฆ่าเด็กรับใช้เพื่อความอยู่รอดในสถานการณ์คับขัน ถ้าหากไม่มีใครถูกฆ่าและถูกิกนทั้ง 4 คนอาจจะต้องตาย จากเหตุการณ์ในฤดูร้อน ปี ค.ศ. 1884 กรณีเรื่อล่มโดยมีชาวอังกฤษ 4 คน ประกอบด้วย ธอมัส ดัดลีย์ (กัปตัน) เอ็ดวิน สตีเฟนต์ (ผู้ช่วยกัปตัน) เอ็ดมุนด์ บรูคส์ (กะลาสีเรือ) และริชาร์ด ปาร์กเกอร์ (คนรับใช้) ทั้งสี่คนลอยเท้งเต้งในเรือชูชีพ เป็นเวลาหลายวันโดยไม่มีอาหารจำเป็นต้องฆ่าคนที่อ่อนแอที่สุดมาเป็นอาหารเพื่อประทังชีวิต จากประเด็นดังกล่าว ไมเคล เจ แซนเดล ได้ตั้งข้อสมติฐานของอรรถประโยชน์นิยมว่า ศีลธรรมเป็นเรื่องของการชั่งน้ำหนักระหว่างโทษและประโยชน์เพียงแต่ต้องคิดบัญชีผลพวงทางสังคมอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ เกิดข้อถกเถียง 2 ข้อ ดังนี้
ข้อที่ 1 เราตั้งคำถามได้ว่าการฆ่าคนเพื่อความอยู่รอดเป็นประโยชน์สูงกว่าต้นทุนจริงหรือไม่ ต่อให้นับชีวิตที่ช่วยได้และความสุขของผู้รอดตายและครอบครัวแล้ว การยอมให้ฆ่าคนแบบนี้มีผลทางแง่ลบต่อสังคมส่วนรวม เช่น ทำให้ค่านิยมที่ต่อต้านการฆาตกรรมอ่อนแอลงหรือเพิ่มแนวโน้มที่คนจะทำตัวเป็นศาลเตี้ยหรือทำให้กัปตันหาเด็กรับใช้บนเรือยากกว่าเดิม
ข้อที่ 2 ต่อให้ประโยชน์ทั้งหมดอาจมีมากกว่าโทษจริงๆเราจะไม่รู้สึกเลยหรือว่า การฆ่าและกินเนื้อเด็กรับใช้ที่ไม่มีทางสู้นั้นเป็นสิ่งผิด ด้วยเหตุผลที่อยู่นอกเหนือการคำนวณประโยชน์และโทษต่อสังคม? การใช้ชีวิตมนุษย์แบบนี้ผิดหรือไม่? การฉวยโอกาสจากความเปราะบางของเขา ฆ่าคนโดยที่เขาไม่ยินยอม? ถึงแม้ว่าการฆาตกรรมนั้นจะทำให้คนอื่นได้รับประโยชน์?
ผู้วิจารณ์มองว่าถ้านำแนวคิดแบบอรรถประโยชน์สูงสุด ตามแนวคิด เจเรมี เบนแธม ว่าการกระทำเช่นนี้ถือเป็นการกระทำเพื่อความอยู่รอดของอรรถประโยชน์ส่วนรวมแล้วถือเป็นการที่กระทำได้ แต่ถ้าพิจารณาถึงแนวคิดเรื่องของศีลธรรมนิยมการกระทำดังกล่าวถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อศีลธรรมเป็นอย่างมาก จุดนี้เองแนวคิดขัดแย้งระหว่างสำนักกฎหมายธรรมชาติที่เน้นเรื่องศีลธรรมกับสำนักกฎหมายปฏิฐานนิยมที่อยู่บนพื้นฐานประโยชน์สูงสุดของส่วนรวมและสำนักอรรถประโยชน์ที่วางหลักความสุขสูงสุด
บทที่ 3 เราเป็นเจ้าของตัวเองหรือ?/สิทธิอิสระนิยม ไมเคล เจ แซนเดล (Michael J. Sandel) ได้อธิบายถึงการเก็บภาษีคนรวยมาเลี่ยงคนจนนั้นเป็นเรื่องที่ถูกต้องหรือไม่ ในสังคมประเทศสหรัฐอเมริกา กรณีการเก็บภาษีคนรวย เช่น การเก็บภาษี บิลเกตส์และโอปราห์ วินฟรีย์ หนักเกินไป โดยที่เขาและเธอไม่ยินยอมเท่ากับเป็นการบังคับ ถึงแม้กระทำด้วยเจตนาดีก็ตามมันจะละเมิดอิสรภาพที่คนจะทำอะไรก็ได้กับเงินตามที่พวกเขาต้องการ ผู้คัดค้านการกระจายรายได้เหตุผลในทำนองนี้มักจะถูกเรียกว่า “พวกอิสระนิยม” (libertarian) ซึ่งนักอิสระนิยมชอบตลาดเสรีที่ได้การกำกับและต่อต้านการกำกับดูแลของรัฐ “ไม่ใช่ในนามของประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ” แต่ “ในนามของเสรีภาพของมนุษย์” ข้ออ้างแก่นแท้ของพวกอิสระนิยม คือ มนุษย์แต่ละคนมีสิทธิขั้นพื้นฐานต้องการอิสรภาพ สิทธิที่จะทำอะไรก็ตามกับของเราที่เราเป็นเจ้าของตราบที่เราเคารพสิทธิของผู้อื่นที่จะทำอย่างเดียวกัน
ดังนั้นนักคิดอิสระนิยมได้เสนอแนวคิดการดำเนินการของรัฐเพียงดำเนินการของรัฐเพียงดำเนินการในลักษณะ “รัฐขั้นต่ำ” คือ รัฐควรบังคับใช้สัญญาพิทักษ์รักษาชีวิตและทรัพย์สินส่วนบุคคลและรักษาสันติภาพเพียงเท่านั้น นักคิดอิสระนิยมได้ปฏิเสธนโยบายของรับสมัยใหม่ที่ดำเนินการอยู่ 3 ประการดังนี้
ประการที่ 1 ปฏิเสธลัทธิพ่อปกครองลูก (paternalism) การต่อต้านกฎหมายที่ออกจากรัฐเพื่อป้องกันไม่ให้ทำร้ายตนเอง เช่น กฎหมายบังคับให้คาดเข็มขัดนิรภัยและการสวมหมวกกันน๊อค เพราะพวกนี้ไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อน รัฐไม่มีสิทธิมากำหนดว่าพวกเขาจะนำร่างกายและชีวิตไปเกี่ยวกับไรได้หรือไม่ก็ได้
ประการที่ 2 ปฏิเสธการบัญญัติศีลธรรม นักอิสระนิยมต่อต้านการใช้อำนาจบังคับของกฎหมายในการส่งเสริมว่าด้วยคุณธรรมหรือการแสดงความเชื่อทางศีลธรรม
ประการที่ 3 ปฏิเสธการกระจายรายได้หรือความมั่งคั่ง นักอิสระนิยมมองว่า ภาษีเพื่อกระจายรายได้ คือ การบีบบังคับรูปแบบหนึ่งเป็นการขโมยด้วยซ้ำไป รัฐไม่มีสิทธิบังคับให้คนรวยผู้เสียภาษีสนับสนุนโครงการทางสังคมเพื่อคนจน เช่น เดียวกับที่ขโมยเงินจากคนรวยไปมอบให้คนจน
ผู้วิจารณ์มองว่ารัฐควรกำหนดเก็บภาษีคนรวยตามที่รายได้ที่พึงต้องหักภาษี คนมีรายได้เยอะเก็บภาษีมาก คนมีรายได้ก็ก็เก็บภาษีน้อย การเก็บภาษีในลักษณะนี้ถือว่าเป็นการกระจายรายได้มาบริการสาธารณะเพื่อคนส่วนรวม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำของสังคมระหว่างคนจนกับคนรวยเป็นเรื่องที่มีความเหมาะสม ถ้าปล่อยตามแนวคิดของพวกอิสระนิยมมันจะก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคมมากยิ่งขึ้น ดังนั้นจะรัฐจะประสบปัญหาในการบริการสาธารณะในด้านต่างๆที่ไม่รายได้จากการเก็บภาษีที่เพียงพอในการจัดทำดังกล่าว ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางทางคมมากยึ่งขึ้น
บทที่ 4 ลูกจ้าง/ตลาดและศีลธรรม ผู้เขียนได้อธิบายในเรื่องที่เกี่ยวกับความยุติธรรมในตลาดเสรี ว่าตลาดเสรีเป็นธรรมหรือไม่ มีสินค้าอะไรที่เงินซื้อไม่ได้ หรือไม่ควรซื้อหรือไม่ ถ้ามีสินค้าเหล่านี้คืออะไร แล้วทำการซื้อขายมันถึงเป็นสิ่งผิด โดยนำหลักศีลธรรมมาวิเคราะห์อยู่ 2 เรื่อง คือ
เรื่องที่ 1 ความยุติธรรมระหว่างการเกณฑ์ทหารกับการจ้างคนเป็นทหาร คือ การเกณฑ์ทหารขัดแย้งกับจารีตปัจเจกนิยมในสังคมอเมริกา และกฎหมายเกณฑ์ทหารของยูเนียนก็ก้มหัวใจให้กับจารีตนี้ คือ “ใครก็ตามที่ถูกเกณฑ์แต่ไม่อยากเป็นทหารสามารถจ้างคนอื่นมาเป็นทหารแทนได้” กลับกลายเป็นว่า “สงครามของคนรวยสนามรบของคนจน” การกระทำเช่นนี้ขัดต่อหลักศีลธรรมหรือไม่ มันเป็นการติดป้ายราคาให้กับชีวิตมนุษย์ (ความเสี่ยงที่จะตาย) และรัฐก็มอบความชอบธรรมให้กับราคานั้น (ค่าจ้างให้เป็นทหารแทน) สังคมอเมริกาจึงได้มีทหารเกณฑ์อยู่ 3 แบบ คือ ทหารที่ถูกเกณฑ์ ทหารที่รับจ้างที่ถูกเกณฑ์ ทหารอาสา (ระบบตลาดกองทัพอาสา) และส่วนในสังคมอเมริกาจะมีทหารที่เป็นกองทัพอาสามากกว่าทหารเกณฑ์ โดยการหากองทัพอาสาจะเสาะหาผ่านตลาดแรงงาน ไม่ต่างจากร้านอาหาร ธนาคาร ร้านค้าปลีกและธุรกิจอื่น ซึ่งการเป็นทหารอาสานี้กลุ่มนักคิดอิสระนิยมได้มองว่าการมีระบบทหารอาสาถือเป็นความยุติธรรมเสรีในระบบตลาด การปล่อยให้คนเลือกเป็นทหารเองโดยคำนึงถึงค่าตอบแทนที่ได้รับทำให้พวกเขาจะมาเป็นทหารก็ต่อเมื่อการทำอย่างนั้นสร้างอรรถประโยชน์สูงสุดให้กับตัวเอง ใครที่ไม่อยากเป็นทหารก็ไม่ต้องสูญเสียอรรถประโยชน์จากการถูกบังคับให้เป็นทหารโดยไม่สมัครใจ แต่อย่างไรก็ตามได้มีกลุ่มนักคิดอีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มศีลธรรมนิยมได้มีความเห็นแย้งกับการมีกองทัพอาสา ควรจะเป็นทหารเกณฑ์เท่านั้น ด้วยเหตุผลว่าการใช้กลไกตลาดกับกองทัพอาสาเป็นเรื่องของความไม่เป็นธรรมและการบีบบังคับ ความไม่เป็นธรรมของการเลือกปฏิบัติทางชนชั้นและการบีบบังคับที่เกิดขึ้นได้ถ้าหากความเสียเปรียบทางเศรษฐกิจผลักดันคนหนุ่มสาวให้เสี่ยงความตายแลกกับการได้เรียนมหาวิทยาลัยและสิทธิประโยชน์อื่นๆ จึงเป็นคำถามว่า “บริการทางหาร” (และการรับใช้ชาติโดยรวม) เป็นหน้าที่ของพลเมืองทุกคนหรือเป็นแต่งานหนักและเสี่ยงตายเหมือนงานอื่นๆ (เช่น งานเหมืองถ่านหิน) ซึ่งถูกกำกับอย่างเหมาะสมแล้วโดยตลาดแรงงาน แล้วมีคำถามต่อมาว่า พลเมืองในสังคมประชาธิปไตยมีพันธะอะไรต่อกันบ้างและพันธะเหล่านี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร เมื่อพิเคราะห์ดูว่าควรจะมีการเกณฑ์ทหารหรือให้มีทหารรับจ้าง อะไรคือความยุติธรรม
เรื่องที่ 2 รับจ้างอุ้มบุญ การรับจ้างอุ้มบุญหรือการรับจ้างอุ้มท้องแทนก็เป็นเรื่องหนึ่งของแนวคิดกลุ่มอิสระนิยมกับกลุ่มศีลธรรมนิยมได้มีความคิดที่โต้แย้งกันทางความคิด คือ กลุ่มที่สนับสนุนในเสรีภาพในการทำสัญญาการอุ้มทองแทนกันนั้นเป็นข้อตกลงบนพื้นฐานด้วยความสมัครใจในแดนแห่งเสรีภาพในการทำสัญญา ในข้อตกลงที่ได้ประโยชน์ด้วยกันทั้งสองฝ่าย ผู้ว่าจ้างจะได้ทารกที่ดองกับเขาทางพันธุกรรม ส่วนผู้รับจ้างอุ้มท้องแทน (รับจ้างอุ้มบุญ) ก็จะได้เงินสำหรับการทำงาน 9 เดือน (การอุ้มท้อง) กลุ่มที่ไม่เห็นด้วย คือ กลุ่มศีลธรรมนิยม ได้ให้เหตุผลว่า สัญญาการอุ้มท้องแทนกันนั้นไม่ใช่สัญญาทางพาณิชย์ทั่วไป มีข้อพิจารณาอยู่ 2 ข้อ ข้อที่ 1 ผู้รับจ้างอุ้มท้องแทนได้รับข้อมูลเพียงหรือไม่ ตอนที่ตกลงตั้งท้องแทนและยกลูกให้คนอื่น ข้อที่ 2 การซื้อขายทารกหรือการเช่าความสามารถในการเจริญพันธุ์ของผู้หญิงเป็นสิ่งน่ารังเกียจ (ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองและศีลธรรมอันดีของประชาชน) แม้ว่าทั้งสองฝ่ายจะตกลงกันก็ตาม เราอาจถกเถียงได้ว่าการทำแบบนี้เท่ากับแปลงเด็กให้เป็นสินค้าและเอาเปรียบผู้หญิงด้วยการมองว่าการตั้งท้องและการอุ้มท้องเป็นธุรกิจทำเงิน
ซึ่งจากสถานการณ์ทั้ง 2 เรื่องที่กล่าวมาข้างต้นผู้วิจารณ์มองว่าเป็นการยากที่จะตอบคำถามที่แบ่งแนวคิดเรื่อง “ความยุติธรรม” การตัดสินใจของเราในตลาดเสรีนั้นเป็นอิสระเพียงใดและมีคุณธรรมหรือสินค้าสูงส่งชนิดใดหรือไม่ที่ตลาดไม่ควรตีค่าและเงินซื้อไม่ได้ทั้งสองกรณีเพราะผิดศีลธรรมเป็นอย่างมาก
บทที่ 5 สิ่งสำคัญคือเจตนา/เอมมานูเอล คานท์ ในบทนี้ผู้เขียนอธิบายถึงแนวคิดเรื่อง “สิทธิมนุษยชนกับแนวคิดอรรถประโยชน์นิยม” ที่มองมนุษย์ทุกคนควรแก่นับถือ ไม่ว่าพวกเขาจะเป็นใครหรืออยู่ที่ไหน มันก็ผิดที่เราจะปฏิบัติต่อพวกเขาราวกับเครื่องมือสร้างความสุขส่วนรวมเท่านั้น ข้อสนับสนุนสิทธิของ คานท์ ได้เสนอทางเลือกในการมองหน้าที่และสิทธิไม่ได้ตั้งอยู่บนความคิดที่ว่าเราเป็นเจ้าของตัวเองหรือข้ออ้างที่ว่า “ชีวิตและอิสรภาพของเราคือ ของขวัญจากรพระผู้เป็นเจ้า” แต่ตั้งอยู่บนความคิดที่ว่า “เราเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเหตุผลซึ่งคู่ควรแก่เกียรติยศและความเคารพ”
เอมมานูเอล คานท์ ได้วิพากษ์วิจารณ์อรรถประโยชน์นิยมโดยเสนอว่า ศีลธรรมไม่ใช่เรื่องของการสร้างความสุขสูงสุดหรือเป้าหมายอื่นใด แต่เป็นเรื่องของความเคารพในมนุษย์และความเคารพดังกล่าวก็เป็นเป้าหมายในตัวเอง ศีลธรรมไม่อาจตั้งอยู่บนปัจจัยเชิงปฏิบัติเท่านั้นไม่ว่าจะเป็นผลประโยชน์ ความจำเป็น ความปรารถนาหรือรสนิยมของผู้คน ณ จุดใดจุดหนึ่ง คานท์ ชี้ว่าปัจจัยเหล่านี้เปลี่ยนแปลงได้และไม่แน่นอน ทำให้ไม่อาจใช้เป็นรากฐานของหลักศีลธรรมใดๆ อย่างเช่น “สิทธิมนุษยชนสากล” คานท์ มองว่าคุณค่าทางศีลธรรมของการกระทำไม่ได้อยู่ที่ผลพวงของการกระทำแต่อยู่ที่เจตนาแห่งหน้าที่ คือ “การทำสิ่งที่ถูกต้องด้วยเหตุผลที่ถูก”
ผู้วิจารณ์มองว่าแนวคิดของ เอมมานูเอล คานท์ ก็มีความแตกต่างไปจากออรถประโยชน์นิยม ตามหลักคิดของ เจเรมี่ เบนแธม แตกต่างไปจากเสรีนิยมของ จอห์น สจ๊วตมิลส์ แตกต่างไปจาก อริสโตเติล ในเรื่องของเหตุผล โดยเฉพาะในเรื่องของ “พันธะทางสังคมหรือสัญญาประชาคม” (Social contract) พันธะทางสังคมในที่นี้ คานท์ อธิบายว่าเป็นความคิดอย่างมีเหตุผลเป็นความคิดทางจินตนาการมีหน้าที่อย่างไรและไม่ได้บอกว่ามันจะผลิตหลักความยุติธรรมอะไร
บทที่ 6. ข้อสนับสนุนความเท่าเทียม/จอห์น รอลส์ จาก“พันธะทางสังคมหรือสัญญาประชาคม” (Social contract) ของ เอมานูเอล คานท์ ในทางจินตนาการแบบสมมติ กฎหมายจะยุติธรรมถ้าหากมันได้รับความเห็นพ้องจากประชาชนส่วนใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามก็ยังคงมีคำถามว่า แล้วพันธะทางสังคมในทางความเป็นจริง การตกลงแบบสมมติหรือในทางจินตนาการนั้นจะใช้เท่ากับของจริงได้อย่างไรในแง่ศีลธรรม
จอห์น รอลส์ ได้เสนอว่าวิธีที่เราคิดถึงความยุติธรรม คือ การถามว่าเราจะเห็นชอบกับหลักการชุดใดในจุดเริ่มต้นที่เท่าเทียมมาเขียนพันธะทางสังคมร่วมกัน เราเลือกหลักการอะไร คงยากที่จะเห็นพ้องทั้งหมด ต่างคนต่างหลักการคนละชุด ซึ่งสะท้อนผลประโยชน์ความเชื่อทางศีลธรรม ความเชื่อทางศาสนาและฐานะทางสังคมที่แตกต่างหลากหลาย บางคนร่ำรวย บางคนยากจน บางคนมีอำนาจและรู้จักคนมาก บางคนไม่รู้จักใคร บางคนเป็นสมาชิกกลุ่มน้อยทางสีผิว ชาติพันธุ์หรือศาสนา บางคนไม่อาจประนีประนอมกันได้ แต่หลักการที่ประนีประนอมกันนั้นน่าจะสะท้อนอำนาจการต่อรองของคนบางกลุ่มเหนือกลุ่มอื่น ไม่มีเหตุผลใดๆที่ทำให้เราเชื่อว่า พันธะทางสังคมซึ่งเกิดจากวิธีนี้เป็นสัญญาที่ยุติธรรม หลักการที่ รอลส์ เลือก คือ ไม่เลือกอรรถประโยชน์นิยมและไม่เลือกอิสระนิยมแบบสุดโต่ง เพราะรอลส์เชื่อว่า หลักการแห่งความยุติธรรมจะปรากฏอยู่ในพันธะทางสังคม มีอยู่ 2 ข้อ
ข้อที่ 1 คุ้มครองอิสรภาพพื้นฐานที่เท่าเทียมกันของพลเมือง
ข้อที่ 2 เป็นเรื่องของความเท่าเทียมกันแต่ก็ยอมรับเฉพาะความเหลื่อมล้ำทางสังคมและเศรษฐกิจที่เป็นประโยชน์ต่อคนด้อยโอกาสที่สุดในสังคม
ผู้วิจารณ์มองว่าพันธะทางสังคม ของ จอห์น รอลส์ ก็ยังมีข้อบกพร่องในเรื่องเรื่องของความยินยอมที่เข้าร่วมพันธะทางสังคม (การเข้าร่วมพันธะสัญญาทางสังคม) อาจไม่ได้เต็มใจเข้าร่วมนักหรือในครั้งนั้นไม่ได้มีโอกาสเข้าร่วมในพันธะสัญญาที่ตกลงกันนั้น อยู่ภายใต้สภาวะที่มีความกดดันที่ไม่สามารถปฏิเสธที่จะเข้าร่วมได้ แล้วพันธะทางสัญญาทางสังคมในลักษณะนี้มันเป็นธรรมหรือไม่หรือมีความยุติธรรมหรือไม่ ข้อนี้คงเป็นข้อบกพร่องของพันธะทางสังคมของ รอลส์
บทที่ 7. ถกเถียงเรื่องระบบโควตา ในบทนี้ผู้เขียนได้เสนอแนวคิดข้อถกเถียงระบบโควตา เช่นในกรณีเกี่ยวกับการเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย มีชาวสีผิว นามเชอชิล ฮ๊อฟวู๊ด ได้ฟ้องต่อศาลว่าเขาไม่ได้รับความเป็นในการถูกตัดสิทธิ์ในการเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยเท็กซัส ด้วยเหตุผลที่มาจากการที่มหาวิทยาลัยได้กำหนดโควตาของนักศึกษาในการเข้าเรียน คือ กำหนดให้สิทธิ์กับคนกลุ่มน้อย 15 % จากการกำหนดให้สิทธิ์คนกลุ่มน้อยดังกล่าวทำให้เขาไม่สามารถสมัครเข้าเรียนได้ การฟ้องร้องของเขาได้อ้างว่า เขาเป็นเหยื่อของการเลือกปฏิบัติของการกำหนดระบบโควตา และการฟ้องร้องในระบบโควตานี้ได้สู่การพิจารณาคดีของศาลมาหลายคดีมาแล้ว บางคดีศาลยังให้ใช้ระบบโควตาได้ จึงมีคำถามที่เกิดขึ้นนโยบายใช้ระบบโควตากับการรับสมัครนักศึกษานั้นขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญซึ่งรับประกันความเสมอภาคภายใต้กฎหมายหรือไม่ (การละเมิดรัฐธรรมนูญของความเท่าเทียมกัน) เราควรใช้ระบบโควตาหรือไม่ ได้มีแนวคิดสนับสนุนว่าควรใช้และแนวคิดที่ว่าไม่ควรใช้ระบบโควตาในมหาวิทยาลัยเพราะขัดหลักความเสมอภาคภายใต้รัฐธรรมนูญ
ฝ่ายที่สนับสนุนควรมีระบบโควตา ให้เหตุผลว่า ด้วยความหลากหลายในนามของผลประโยชน์สาธารณะทั้งประโยชน์สาธารณะของมหาวิทยาลัยและของสังคมในวงกว้างและเหตุผลว่าด้วยความหลากหลาย การเตรียมให้ชนกลุ่มน้อยผู้เสียเปรียบได้มีโอกาสเป็นผู้นำในภาครัฐและเอกชนจะช่วยบรรลุเป้าหมายทางสังคมของมหาวิทยาลัยและมีส่วนร่วมสร้างประโยชน์สาธารณะ
ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการใช้ระบบโควตา ให้เหตุผลว่าด้วยความหลากหลายได้มีข้อโต้แย้งทางปฏิบัติในทางหลักการซึ่งข้อโต้แย้งในทางปฏิบัติตั้งคำถามว่า นโยบายระบบโควตานั้นมีประสิทธิภาพจริงหรือไม่ การใช้เกณฑ์สีผิวเป็นเกณฑ์การคัดเลือกนั้นจะไม่ช่วยสร้างสังคมที่เป็น “พหุนิยม” มากกว่าเดิมหรือลดทอน “อคติ” และความเหลื่อมล้ำ แต่จะบั่นทอนความเชื่อมั่นในตัวเองของนักศึกษากลุ่มน้อย อาจจะก่อให้เกิดโทษมากว่าประโยชน์และข้อคิดเชิงหลักการ อ้างว่าไม่ทราบเป้าหมายของการให้ชั้นเรียนหลากหลายมากขึ้นหรือสร้างสังคมที่เท่าเทียมกันมากกว่าเดิมจะน่ายกย่องในการใช้สีผิวหรือชาติพันธุ์เป็นเกณฑ์คัดเลือกนักศึกษาก็ไม่เป็นธรรม เพราะการละเมิดสิทธิของผู้สมัครอย่าง เชอชิล ฮ๊อพวู๊ด ซึ่งไม่ได้ทำอะไรผิดแต่กลับตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบในการแข่งขัน
ในเรื่องนี้ผู้วิจารณ์มองว่าการใช้ระบบโควตาไม่ควรจะมีขึ้นเพราะถ้าเรามองถึงสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคเท่าเทียมในทางกฎหมายตามหลักคิดของพวกอิสระนิยม ควรจะเปิดให้มีการแข่งขันในการเข้าเรียนอย่างเสรีภาพภายใต้กรอบและคุณสมบัติที่กำหนด
บทที่ 8. ใครคู่ควรกับอะไร/อริสโตเติล ในบทนี้ผู้เขียนได้อธิบายถึงเรื่องของสิทธิและคุณสมบัติของการเป็นเชียร์ลีดเดอร์ ควรมีคุณสมบัติแบบใดที่เหมาะสมกับการเป็นเชียร์ลีดเดอร์ จากการที่ที่คนพิการที่นั่งรถเข็นได้กระตือรือร้นที่จะสร้างสีสันขอบสนามเวลาแข่งขันกีฬาระหว่างโรงเรียน สร้างแรงบันดาลใจให้กับนักฟุตบอลและแฟนๆ แต่พอจบฤดูกาล เธอก็ถูกกีดกันให้ออกจาการเป็นเชียร์ลีดเดอร์ โดยได้กำหนดคุณสมบัติใหม่ของการเป็นเชียร์ลีดเดอร์ต้องทำท่ายิมนาสติกรวมทั้งการถ่างขาและม้วนตัวได้ ทำให้เธอที่พิการไม่สามารถที่จะเป็นเชียร์ลีดเดอร์ได้อีกต่อไป จึงได้เกิดคำถามขึ้นว่า ด้วยความเป็นธรรมกับเธอหรือไม่ เป็นธรรมกับคนพิการอย่างเธอหรือไม่ และการเป็นเชียร์ลีดเดอร์ที่ดีมีความหมายอย่างไร เมื่อพิจารณาศึกษาความขัดแย้งเรื่องเชียร์ลีดเดอร์กับทฤษฎีความยุติธรรมของอริสโตเติล ประกอบด้วนหลักคิด 2 ประการ คือ
1.ความยุติธรรมเป็นเรื่องของเป้าประสงค์ การระบุสิทธิต่างๆแปลว่าเราต้องค้นหาเป้าประสงค์ของกิจกรรมทางสังคมที่กำลังพิจารณาก่อน
2.ความยุติธรรมเป็นเรื่องการใช้เหตุผลเกี่ยวเป้าประสงค์ของกิจกรรมหรือถกเถียงเรื่องนี้อย่างน้อยส่วนหนึ่ง คือ การให้เหตุผลเถียงกันว่า กิจกรรมนี้ควรยกย่องและให้รางวัลความดีข้อใด
ผู้วิจารณ์มองว่าความยุติธรรมของอริสโตเติล คือ การมอบสิ่งที่ผู้คนคู่ควรให้กับพวกเขา ให้ในสิ่งที่แต่ละคนควรได้โดยชอบธรรมเป็นการใช้เหตุผลแบบยึดเป้าประสงค์ กล่าวอีกนัยหนึ่งความยุติธรรมของอริสโตเติล คือ ความยุติธรรมแลกเปลี่ยนตอบแทน เป็นความยุติธรรมตามความสามารถโดยไม่ใช้เกณฑ์อื่น เช่น ความมั่งคั่ง ชาติตระกูล ความงดงามหรือโชค (เช่นการจับฉลาก) ดังนั้นเป้าประสงค์ของโรงเรียนให้มีเชียร์ลีดเดอร์นั้นเพื่ออะไร นั่นคือคำตอบของความยุติธรรมของอริสโตเติล
บทที่ 9. เราเป็นหนี้บุญคุณกันเรื่องอะไร?/ความย้อนแย้งเรื่องความจงรักภักดี ในบทนี้ผู้เขียนได้อธิบายถึงการขอโทษในการกระทำของบรรพบุรุษรุ่นก่อนที่กระทำต่อบุคคลต่างๆ เช่น การกระทำของนาซี โดย ฮิตเลอร์ ต่อชาวยิวภายหลังที่รัฐบาลเยอรมัน นำโดยนายกรัฐมนตรี คอนราด อเดนาวเออร์ ได้ขอโทษต่อหน้าสภาผู้แทนราษฎร การขอโทษของนายกรัฐมนตรีของออสเตรีเลียที่คนรุ่นก่อนหรือรัฐบาลรุ่นก่อนที่ทำลายวัฒนธรรมเผ่าอะบอริจิ้น ด้วยการเข้าไปมีครอบครัวกับชาวเผ่าอะบอริจิ้นโดยคนผิวขาวเพื่อให้กลืนเป็นชาวออสเตรเลียหรือแม้กระทั่งมีนโยบายขโมยเด็กชาวอะบอริจิ้นมาดูแลเพื่อให้กลืนเป็นชาวออสเตรเลีย เป็นต้น
การขอโทษในสิ่งเหล่านี้ซึ่งเป็นการไถ่บาปของบรรพบุรุษนั้นเป็นกระทำที่ควรหรือไม่? เป็นคำถามในเชิงปรัชญาการขอโทษและการไถ่บาปให้บรรพบุรุษเป็นวาทะกรรมทางการเมือง เป็นการอภิปรายสาธารณะ โดยแสร้งทำตัวเป็นกลางทั้งที่เป็นกลางไม่ได้ คือ สูตรสร้างปฏิกิริยาโต้กลับและความไม่พอใจของผู้คนที่ได้รับจากการกระทำของบรรพบุรุษ รัฐหรือรัฐบาลในปัจจุบันจึงจำเป็นต้องขอโทษหรือไถ่บาปให้กับบรรพบุรุษ เพื่อลดความเกลียดชังหรือลดการต่อต้านภายใต้ความสำนึก ความเจ็บปวดในอดีต หรือต้องการให้อภัยแก่บรรพบุรุษที่ได้กระทำลงไป แต่มองอีกมุมหนึ่งการขอโทษหรือการไถ่บาปของรัฐบาลปัจจุบันให้กับบรรพบุรุษนี้เป็นการสร้างภาพเพื่อการบริหารประเทศหรือไม่ เพราะดำเนินการขอโทษหรือไถ่บาปของรัฐหรือรัฐบาลมักจะกระทำไปในช่วงเวลาที่ชนะการเลือกตั้งเข้ามาบริหารประเทศเกือบทั้งนั้น
บทที่ 10. ความยุติธรรมและความดีสาธารณะ ในบทสุดท้ายนี้ผู้เขียนได้อธิบายถึงนักการเมือง นักปรัชญา โดยเฉพาะในฐานะผู้นำของประเทศกับการกล่าวถึงการวางตัวเป้นกลางในการบริหารประเทศ เช่น ในกรณีของ 2 พรรคการเมืองใหญ่ขิงสหรัฐอเมริกา พรรครีพับลิกันใช้ความคิดเรื่องรัฐที่เป็นกลาง กำหนดนโยบายเศรษฐกิจในปัจเจกชนควรมีอิสระภาพในการตัดสินใจทางเศรษฐกิจของพวกเขาได้ตามอำเภอใจ การที่รัฐเอาเงินภาษีประชาชนไปใช้จ่ายหรือกำกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อเป้าหมายสาธารณะนั้นเป็นการยัดเยียดวิสัยทัศน์ของรัฐเกี่ยวกับความดีสาธารณะซึ่งไม่ใช่ทุกคนที่เห็นด้วย นี่คือแนวคิดที่จอห์น เคนเนดี ได้อ้างถึง แต่ในขณะที่พรรคเดโมแครตใช้รัฐแทรกแซงในตลาดเสรีเพื่อสังคมและวัฒนธรรมในการบริหารประเทศ โดย บารัค โอบามา ได้ปฏิเสธว่ารัฐวางตัวเป็นกลางไม่ได้ ควรที่ให้รัฐเข้ามาแทรกแซงเพื่อประโยชน์ของคนส่วนรวม
จากหนังสือเรื่อง “ความยุติธรรม” ที่ผู้เขียน ไมเคิล เจ แซนเดล เขียนขึ้นทั้ง 10 บทนี้ ซึ่งมาจากการถ่ายทอดบทสนทนาและการโต้วาทีในชั้นเรียนระหว่างนักศึกษาด้วยกันและระหว่างอาจารย์กับนักศึกษาเกี่ยวกับความรู้เกี่ยวประวัติศาสตร์ ความคิดทางปรัชญาการเมืองในโลกตะวันตก ในมุมมองการให้เหตุผลใน เรื่องศีลธรรม เรื่องอิสระนิยม เรื่องอรรถประโยชน์นิยม เรื่องความยุติธรรมแลกเปลี่ยนตอบแทน เป็นต้น ไมเคิล เจ แซนเดล พยายามบอกว่า “ความยุติธรรม”นั้นถึงที่สุดแล้วเป็นเรื่องของการ “ให้คุณค่า” กับสิ่งต่างๆและด้วยเหตุนี้ ทั้ง “เหตุผล” และ “ศีลธรรม” จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นการให้เหตุผลทางศีลธรรมจึงไม่ใช่เป็นสิ่งที่เป็นไปไปไม่ได้หรือไม่ควรนำมาคิดวิเคราะห์ในการกระทำ แต่เป็นสิ่งที่เราทำอยู่แล้วในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่ ผู้วิจารณ์หวังว่าหนังสือเล่มนี้เป็นตัวอย่างของปัญญาปฏิบัติเป็นการให้เหตุผลสาธารณะเพื่อถกมิติทางศีลธรรมในประเด็นสาธารณะ เพื่อชีวิตและประโยชน์สาธารณะในสังคมไทยให้พ้นไปจากมนุษย์อันคับแคบ ไม่ว่าจะเป็นแบบเข้าข้างตัวเอง แบบยึดติดกับตัวบทกฎหมายหรือแบบ “ลัทธิคลั่งศีลธรรม” ก็ตามที
「นักปรัชญา คือ」的推薦目錄:
- 關於นักปรัชญา คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
- 關於นักปรัชญา คือ 在 Wannasingh Prasertkul (วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล) Facebook 的最佳解答
- 關於นักปรัชญา คือ 在 Roundfinger Facebook 的最讚貼文
- 關於นักปรัชญา คือ 在 ปรัชญาคืออะไร? - YouTube 的評價
- 關於นักปรัชญา คือ 在 ปรัชญาตะวันตก ตอนที่ 1 (ปรัชญาคืออะไร) Philosophy หรือในภาษา ... 的評價
นักปรัชญา คือ 在 Wannasingh Prasertkul (วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล) Facebook 的最佳解答
ขอบคุณเพจ Books for Life สำหรับรีวิว เถื่อนแปดนะครับ เขียนรีวิวดีจัง
ขอประกาศตรงนี้ เถื่อนเล่มใหม่ มาตุลานี้แน่นอน เก็บตังค์รอกันได้เบยย
เล่มที่ 233
“เถื่อนแปด”
ผู้เขียน: คุณวรรณสิงห์ ประเสริฐกุล
สนพ: a book
อ่านจบ: 4 มิ.ย. 62
ขนาด: 632 หน้า (495 บาท)
หมวด: ท่องเที่ยว / ทั่วไป
นิยาม: “Life is a Journey. Writing is a Legacy”
.
===============
.
เมื่อหลายปีก่อน…
ผมได้ดูหนัง “รีเมคซุปเปอร์ฮีโร่” ของไทยที่เคยโด่งดังมากตั้งแต่ผมยังไม่เกิด
มาคราวนี้ พระเอกก็คือ “คุณอนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม”
หนังเรื่องนั้นก็คือ “อินทรีแดง” นั่นเองครับ
แก่นเรื่องก็ถือว่าน่าสนใจมาก แต่พอดูๆ ไป ตัวหนังกลับไม่สนุกเลย เนื้อหาไม่ค่อยมีเหตุผลรองรับ ทั้งรู้สึกว่ามัน “รุนแรง” เกินไปด้วย
.
.
ไงก็ตาม สิ่งที่ “พอจะ” ทำให้หนังน่าสนใจบ้าง (นอกจากนางเอกแล้ว - แฮ่ม) กลับเป็น “นักแสดงหน้าใหม่” ที่เล่นเป็นนายตำรวจตงฉิน คู่ปรับของอินทรีแดงนั่นล่ะครับ…
ทั้งๆ ที่ผมไม่เคยเห็นเขามาก่อน แต่กลับรู้สึกได้ว่า คนๆ นี้ “มีอะไรบางอย่างที่น่าสนใจ” แต่ (อีกรอบ) บทหนังที่แบนราบ ก็ไม่ช่วยส่งเสริมเท่าไหร่
.
ผ่านไปหลายปี ผมถึงได้รู้ว่า ผู้เล่นบทตำรวจคนนั้น ก็คือ....
“คุณวรรณสิงห์” ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ และ พิธีกรรายการทีวี (ที่ผมติดหนึบมากๆ)...
.
“รายการเถื่อน Travel” นั่นเองครับ
.
=================
.
.
ก่อนมีครอบครัว
ผมเป็นคนที่มีโลกส่วนตัวสูงมากกกก..ครับ (Introvert) ไม่ยุ่งกับใคร ไม่ออกไปไหน มีความสบายใจกับการอยู่เฝ้าถ้ำ เอ้ย... บ้าน
ในทางตรงกันข้าม คุณภรรยา (ที่อุตส่าห์จีบติด) เป็นประเภทเข้าสังคม (Extrovert) เธอมักเติมความสุขในชีวิต ด้วยการออกข้างนอก ได้เจอผู้คน ได้เที่ยวไปสถานที่ใหม่ๆ
.
ด้วยความรัก (และความสงบสุขของตัวเอง) ผมจึงค่อยๆ ปรับตัว ซึ่งไม่ยากเท่าปรับสิ่งที่ยากกว่า อย่าง “วิธีคิด” นี่ล่ะครับ
ผมไม่เคยเข้าใจ "วิถี" ของนักเดินทางเลย ว่ามันสนุกตรงไหน (ฟะ) เพราะมันมีปัจจัยหลายอย่าง ที่ไม่สามารถ "ควบคุม" ได้
.
ช่วงหนึ่งของชีวิต ส่วนหนึ่งของงานที่ทำได้มอบโอกาสเดินทางไปต่างประเทศบ่อยครั้ง (เคยไปกระทั่ง Las Vegas) แต่ไม่ได้ตื่นเต้นอะไรนักหนา...
.
.
=============
.
.
กระทั่ง….ได้ดูรายการ “เถื่อน Travel” (ใน Youtube) ครั้งแรก สัญนิษฐานว่าจะเป็น ep. ที่เขาไปบุกตะลุยกองถ่าย AV ที่ญี่ปุ่น (5555)
.
รายการสนุกมากกกกก…..กกกก
.
เลยได้เปิดกระโหลก ได้รู้จักคุณสิงห์
ได้เห็นว่า เขาเป็นธรรมชาติ เป็นนักเล่าเรื่องที่เก่งกาจ ด้วยการทำสารคดีการเดินทางที่ “ลุยแหลก” แบบข้ามาคนเดียว ในหลายๆ สถานที่ที่ “คนดีๆ เขาไม่ (ค่อย) ไปกัน”
เช่น war zone อย่าง อัฟกานิสถาน หรือ ภูมิอากาศ extreme ที่หนาวจัดจนฉี่กลายเป็นน้ำแข็งทันที ในกรีนแลนด์ หรือ ร้อนจัด เหมือนกำลัง “ย่างเท้า” ในทะเลทรายนามิเบีย...และอีกหลากหลายสถานที่แปลกๆ มากมาย
.
.
นอกจากนั้น คุณสิงห์ยังตั้งคำถามได้เด็ดดวง จนทำให้รู้สึกว่า การได้ฟังพวกเขา ได้เรียนรู้วิถีชีวิต วิธีคิด ความแตกต่างของผู้คน มันน่าสนใจมากจริงๆ !
.
===============
.
หนังสือเล่มนี้ คือ “บันทึกการเดินทาง” เป็นส่วนเสริม ส่วนอธิบาย เบื้องหลังโคตรสนุก จาก 2 รายการที่ทำ คือ “เถื่อน Travel” และ “พื้นที่ชีวิต”
เนื้อหาในเล่มประกอบไปด้วย 8 ตอนหลัก (ที่มีตอนย่อยๆ) ด้วยกันครับ
.
.
==================
.
ตอนที่ 1 ความว่างเปล่า แห่งนามิเบีย
.
ตอนแรกนี้ เป็นการเดินทางคนเดียว “ครั้งแรก” เป็นช่วงที่คุณสิงห์ทดลองถ่ายทำ โดยไม่มีทีมงานไปด้วย เป็นการเปลี่ยนผ่านตนเอง สู่อนาคตที่ไม่แน่นอน ท่ามกลางทะเลทรายที่ร้อนระอุ และแทบจะไร้ผู้คน
มีแต่เพียงคำถามที่ล่องลอยในหัวเป็นระยะๆ คอยเป็นเพื่อนร่วมทาง...
.
“กูมาทำอะไรที่นี่วะ?”
เมื่อการเดินทางสิ้นสุดลง ทุกคำถามได้รับคำตอบ (บางส่วน) โดยเป็นของขวัญที่ส่งตรงมาจากจักรวาล เป็นการเดินทางที่จะต้องจดจำไปตลอดชีวิต
.
.
==============
.
ตอนที่ 2 อุดมการณ์ แห่งคิวบา
.
ตอนนี้ว่าด้วยเรื่องของวีรบุรุษแห่งคิวบา
ลมหายใจของชายที่ชื่อ “เช เกวารา” สิ้นสุดไปนานแล้ว แต่ “ความคิด ความหวัง เพื่ออนาคตที่ดีกว่า” กลับส่งผ่าน และมีอิทธิพลต่อชีวิตของชาวคิวบาจำนวนมาก
ความเคยชิน ความสบาย จากการถูกอุ้มชูโดยผู้อื่น
โดยไม่ได้พัฒนาตนเองเท่าที่ควร เมื่อความเปลี่ยนแปลงมาเยือน สุดท้ายก็ปรับตัวแทบไม่ทัน และ แปรเปลี่ยนกลายเป็นความทุกข์แสนสาหัส
.
.
==============
.
ตอนที่ 3 ศรัทธา แห่งเกาหลีเหนือ
.
แนวทางการเมือง การปกครองเพื่อความเท่าเทียม
ไม่มีความร่ำรวย ไม่มีความยากจน และไม่มีโอกาส
ประเทศ และการปกครองที่ไม่เหลือพื้นที่ไว้สำหรับความฝัน การมีวิถีชีวิตที่ไม่อนุญาตแม้กระทั่งการตั้งคำถาม
ชีวิต และความฝันในอุดมคติ บางที สิ่งที่ต้องแลกมา สุดท้ายแล้วก็ไม่รู้ว่า มันจะคุ้มรึเปล่า
.
.
==============
.
ตอนที่ 4 ราคะ แห่งญี่ปุ่น
.
ความ “จริง” เบื้องหลังธุรกิจ AV ที่สร้างรายได้มหาศาลให้แก่ประเทศญี่ปุ่น
อาชีพ การแสดง วงการที่เชี่ยวชาญในการเปิดเผยและนำเสนอหนึ่งใน “ด้านมืด” ที่สุดของมนุษย์
ความเอาจริงเอาจัง รวมทั้งสินค้าหลากหลาย เพื่อสนอง “ตัณหา” และ “จินตนาการสุดบรรเจิด” ของผู้คน ทำให้ธุรกิจนี้ยังไปต่อได้ ในขณะที่คลื่นของการดาวน์โหลดผิดลิขสิทธิ์ยังถาโถมอย่างรุนแรง
วิธีคิด วิธีมองโลก ของนักแสดง AV จากสัมภาษณ์สุด exclusive
.
.
==============
.
ตอนที่ 5 รอยยิ้ม แห่งมาไซมารา
.
เงินทอง รูปร่าง หน้าตา ไม่ใช่สิ่งสำคัญสำหรับ “ชนเผ่ามาไซ”
ความมั่งคั่ง วิถีชีวิต เสน่ห์ดึงดูดใจ หรือการดำรงอยู่ของพวกเขาพึ่งพา “วัว” เป็นดัชนีชี้วัดทุกอย่าง
พวกเขากินเนื้อวัว ดื่มนม ดื่มเลือดวัวเพื่อบำรุงร่างกาย ใช้หนังวัวทำรองเท้า และขี้วัวสร้างบ้าน!
แนวคิดที่เหมือนจะแตกต่างกับสังคมศิวิไลซ์ สุดท้าย มันจะต่างกันจริงๆ หรือเปล่า?
.
.
===========
.
ตอนที่ 6 สายใย แห่งเซเรนเกติ
.
การเดินทางในทวีปแอฟริกา กับผู้หญิงที่คุณสิงห์รักมากที่สุด ได้พบเจออุปสรรคที่คาดไม่ถึง กับได้เสี่ยงชีวิตเบาๆ
การเดินทางไปที่ไหนๆ ก็อาจไม่สำคัญว่า เดินทางไปกับใคร
พิสูจน์คำกล่าวที่ว่า ทุกการเติบโตของผู้ชาย มีผู้หญิงที่สมบูรณ์แบบ อยู่เบื้องหลังเสมอ
.
.
=============
.
ตอนที่ 7 ขอบฟ้า แห่งคิริมันจาโร
.
การเดินทางสู่ยอดเขาคิริมันจาโร ที่ความสูง 5,895 เมตร (ยอดเขาที่สูงที่สุดของไทยคือ ดอยอินทนนท์ ความสูง 2,565 เมตร)
การเดินทางที่ต้องใช้หลายองค์ประกอบ
ผู้นำทางที่มีประสบการณ์ การวางแผนอย่างรัดกุมอุปกรณ์ที่เหมาะสม ร่างกายที่อึดถึก พลังใจมหาศาล และที่สำคัญ กำลังใจจากเพื่อนร่วมทาง ในเวลาที่ความทดท้อ กำลังกัดกินหัวใจ
.
.
==============
.
ตอนที่ 8 ความขัดแย้ง แห่งอัฟกานิสถาน
.
ตอนที่เสี่ยงตายที่สุดในหนังสือเล่มนี้
กรุงคาบูล เมืองหลวงของประเทศอัฟกานิสถาน ที่มีระเบิด การยิงกัน การฆ่ากัน ความรุนแรงที่เกิดขึ้นแทบไม่เว้นแต่ละวัน
ประชากรในประเทศล้วนกลายเป็นเป้าหมาย เป็นตัวประกัน เพื่อแสดงแสนยานุภาพของกองกำลังไม่ทราบฝ่าย
และที่สำคัญ คนต่างชาติที่มาที่นี่ ก็ถือเป็นแหล่งทำรายได้ชั้นดีในการจับไปเรียกค่าไถ่
เป็นคุณจะเสี่ยงไปไหมครับ ?
.
.
===========
.
เอาล่ะครับ…
ผมใช้เวลาอ่านหนังสือที่ความหนาขนาด 600+ หน้าเล่มนี้ แค่ 2 วันเท่านั้น
ไม่ใช่เพียงการเขียนที่จัดจ้าน ไม่เก๊กหล่อ เนื้อหายังอ่านง่าย อ่านเพลิน (เหมือนเพื่อนนั่งเมาท์ให้ฟัง) ภาพถ่ายประกอบ (ที่สวย และมีจำนวนมาก) ยังมีพลังช่วยให้เข้าใจเรื่องราวได้ดียิ่งขึ้นไปอีก
ผมรู้สึกว่าตัวเองเติบโตขึ้นระหว่างดูสารคดี และการได้อ่านหนังสือเล่มนี้ครับ
ก่อนหน้านี้ ผมไม่เคยสนใจนามิเบีย คิวบาเกาหลีเหนือ
ได้เห็นแง่มุมความอ่อนไหว ของผู้ชายคนหนึ่งในเซเรนเกติ คิริมันจาโร และอัฟกานิสถาน
เคยเห็น “ชนเผ่ามาไซ” จากหนัง 2 เรื่อง คือ The Air Up There และ The Ghost and The Darkness และได้ “เข้าใจ” พวกเขามากขึ้นในตอนมาไซมารา
ได้มองวงการ AV และนักแสดงในมุมใหม่ ได้เห็นชีวิต ไม่ใช่เพียงตัวละครในหนังที่ไม่จำเป็นต้องจดจำ
.
.
==============
.
หลังจากอ่านหนังสือเล่มนี้
.
สิ่งที่เห็นเพิ่มเติมก็คือ
นอกจากคุณสิงห์จะเป็นคนทำงานที่เอาจริง (และฮาโคตร) ในการทำรายการแล้ว เขายังเป็นนักตั้งคำถาม นักปรัชญา และนักเขียน ที่ผลิตงานออกมาให้อ่านได้สนุกชะมัด!
.
.
ถ้าคุณเป็นแฟนรายการ “พื้นที่ชีวิต” หรือ “เถื่อน Travel” หนังสือเล่มนี้จะทำให้คุณฟินมากๆ ครับ เพราะได้รู้วิธีคิด เบื้องหลัง และเรื่องราวที่ไม่สามารถนำออกอากาศได้
“เถื่อนแปด” เป็นงานเขียนของคุณวรรณสิงห์ ที่ผมได้อ่านเล่มแรก
แน่นอนว่า หลังจากอ่านจบ จะไปไล่เก็บเล่มก่อนหน้า คือ “เถื่อนเจ็ด” และงานเขียนเล่มอื่นๆ ของเขาด้วย!
.
Introvert แบบผม นึกอยากแบกเป้ ออกท่องเที่ยว เพื่อหาความหมายของชีวิตให้มากขึ้นกว่าเดิมเพราะงานของชายหนุ่มคนนี้ครับ…
ขอบคุณที่เอาจริงกับทุกสิ่งที่ทำ
และเขียนงานชิ้นเยี่ยมนี้ออกมานะครับ คุณวรรณสิงห์!
.
.
แล้วพบกันใหม่เล่มต่อไปคร้าบ
.
.
ซิม
2 ก.ค. 62
ปล. ผมซื้อเล่มนี้มาจากร้าน B2S ครับ
.
.
นักปรัชญา คือ 在 Roundfinger Facebook 的最讚貼文
...เรามักสะสมความทรงจำและเรื่องราวเลวร้ายไว้กับตัว เพื่อให้ตนเองตกอยู่ในภาวะ 'ฉันมันช่างน่าสงสารเสียจริงๆ' และ 'คนอื่นช่างเลวร้ายเสียจริงๆ'
ประเด็นสำคัญของการเปลี่ยนแปลงชีวิตไม่ใช่การมานั่งยกอดีตมาอธิบายว่า "ที่ฉันเป็นแบบนี้ก็เพราะอดีตเป็นแบบนั้น โน้น นี้" หรือ "ที่ฉันเป็นแบบนี้ก็เพราะพ่อ แม่ พี่ น้อง แฟนเก่า ครู เจ้านาย ฯลฯ ทำแบบนั้น นู้น นี้"
คำถามไม่ใช่ว่า เพราะอะไรเราจึงเป็นแบบที่เป็นอยู่ คำถามคือ แล้วเราอยากเป็นแบบไหน
คำถามสำคัญคือ "แล้วจะเอายังไงต่อ"...
---
ฝากกดติดตามหรือกดไลก์เพจ นิ้วกลมอ่าน กันไว้หน่อยนะครับ จะชวนคุยและเล่าเรื่องหนังสือที่อ่านให้ฟังเนืองๆ ครับผม :)
กล้าที่จะถูกเกลียด 2
คิชิมิ อิชิโร / โคะกะ ฟุมิทะเกะ: เขียน
อภิญญา เตชะบุญไพศาล: แปล
สนพ.วีเลิร์น
---
ออกหลังจากเล่มแรกนานจนลืมเนื้อหาไปแล้ว แต่ในเล่มสองก็ยังมีทบทวนให้เห็นเป็นระยะ เล่มนี้มีเจตนาจะอุดรูในสิ่งที่เล่มแรกอาจไม่ค่อยได้กล่าวถึง เพราะเล่มแรกอาจกระตุ้นให้ 'กล้าที่จะถูกเกลียด' หรือไม่ใช้ชีวิตตามความคาดหวังจากคนอื่น อะไรทำนองนั้น เล่มนี้กลับเน้นเรื่องการรักษาความสัมพันธ์และมอบความรัก เสียจนน่าตั้งชื่อว่า 'กล้าที่จะรัก (แม้จะถูกเกลียด)' --ฮ่าฮ่า
แม้หนังสือดำเนินเรื่องด้วยบทสนทนาระหว่าง 'ชายหนุ่ม' กับ 'นักปรัชญา' ราวกับโสเครตีสสนทนากับเพลโต แต่เนื้อหาก็คือฮาวทูจิตวิทยาตามโรงเรียนอัลเฟรด แอดเลอร์นั่นแล เช่นนี้แล้วหนังสือจึงอ่านง่าย ได้ใจความโดยกระชับ คว้าหมับขึ้นมา ไม่ช้าก็จบ
ขณะที่ฟรอยด์เชื่อว่า ตัวตนของเราในวันนี้ได้รับอิทธิพลมาจากชีวิตในช่วงวัยต่างๆ ปมต่างๆ ในจิตใต้สำนึกส่งผลให้เราเป็นอย่างที่เป็นอยู่ แอดเลอร์กลับเชื่อว่า อดีตไม่มีผลต่อตัวตนในปัจจุบัน เราสามารถเลือกได้ว่าจะสุขหรือทุกข์ต่อสิ่งที่เกิดขึ้น จะใช้เรื่องเลวร้ายที่เกิดขึ้นมาผลักดันให้ชีวิตเป็นไปในด้านดีก็ย่อมทำได้
ที่เจ็บเหมือนโดนด่าก็คือ แอดเลอร์บอกว่า แทนที่สิ่งเลวร้ายที่เกิดขึ้นจะทำให้ชีวิตพัง เราเองนั่นแหละที่เลือกใช้มันมาเพื่ออธิบายชีวิตที่พังของเรา เพื่อเราจะได้ไม่ต้องรับผิดชอบตัวเอง
เช่น บางคนบอกว่าตัวเองเป็นคนไม่ร่าเริงเพราะเติบโตมาในครอบครัวที่เลวร้าย แต่แอดเลอร์บอกว่า คนคนนั้นมีเป้าหมายว่า 'ไม่อยากเจ็บปวดจากความสัมพันธ์กับคนอื่น' จึงเลือกแล้วว่าจะเป็น 'คนหม่นหมอง ไม่ร่าเริง' แล้วใช้เรื่องครอบครัวมาเป็นข้ออ้างให้ตนเอง
เราเป็นแบบนี้กันบ่อยๆ คือหาข้ออ้างจากอดีตมาอธิบายสิ่งแย่ๆ ที่ตัวเองเป็น ลึกลงไปเราอาจแค่ไม่อยากเปลี่ยนแปลงไปเป็นสิ่งที่ดีกว่าเดิม เพราะมันยากและเหนื่อย ยอมรับแล้วโทษอดีตง่ายกว่า
แอดเลอร์บอกว่า เราเองต่างหากที่จะให้ความหมายกับสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตอย่างไร
แนวคิดของเขาคือ ดึงความรับผิดชอบต่อชีวิตกลับมาอยู่ในมือตัวเราเองอีกครั้ง ไม่โทษใครหรือเหตุการณ์ใดๆ
"มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่กำหนดชีวิตตัวเองได้ทุกเมื่อ"
...
ในชีวิตมีเหตุการณ์มากมายที่เกิดขึ้น แต่เราจะเลือกเอาเฉพาะเรื่องที่สอดคล้องกับ 'เป้าหมาย' ของเรามาผูกรวมเข้าด้วยกันแล้วทำให้มันกลายเป็น 'ความทรงจำ' จากนั้นก็ลบเอาเรื่องที่ไม่สอดคล้องออกไปให้หมด แล้วตัวตนเราก็ก่อร่างขึ้นจาก 'ความทรงจำ' ที่เราคัดสรรมา
ในหนังสือมีตัวอย่างง่ายๆ ให้เห็นภาพ
ชายคนหนึ่งเคยถูกหมากัด ที่ญี่ปุ่นช่วงหนึ่งมีหมาจรจัดเยอะ แม่จึงสอนเขาแต่เด็กว่า "เจอหมาให้อยู่นิ่งๆ ถ้าวิ่งมันจะไล่งับ"
วันหนึ่งเขาไปเจอหมาจรจัด เพื่อนที่อยู่ด้วยกันรีบวิ่งหนีไป ตัวเขายืนนิ่ง แล้วเจ้าหมาตัวนั้นก็วิ่งมางับที่ขา
เขากลายเป็นคนขี้กังวล กลัวหมา ระแวงคน และไม่เชื่อใครง่ายๆ เพราะ 'จำ' ว่าเขาเชื่อแม่ แล้วผลลัพธ์คือโดนหมากัด
ความทรงจำนี้มีผลต่อตัวตนของเขาทั้งชีวิต เวลาเราเลือกความทรงจำ เรามักเลือกที่จะเป็นฝ่ายถูก แล้วโยนความผิดให้คนอื่น
เขาไม่ได้สร้างความทรงจำขึ้นเพื่อโกหกตัวเอง ปัญหาคือ เขาตัดเหตุการณ์อื่นๆ ที่เกิดขึ้นให้หายไปหมดเกลี้ยง แล้วเลือกจำแค่ที่อยากจำ
...
เมื่อสอบถามต่อ เขาจึงนึกออกว่า เรื่องไม่ได้จบลงแค่นั้น!
หลังจากถูกกัด ผู้ชายที่ขี่จักรยานผ่านมาก็ช่วยประคองเขาไปส่งที่โรงพยาบาล
ก่อนคุยกับนักจิตวิทยา เขามองว่า "โลกนี้เต็มไปด้วยอันตราย ทุกคนล้วนเป็นศัตรู" เพราะตัดสินจากความทรงจำที่ตัวเองเลือก แต่หลังจากคุยหลายรอบจนนึกเหตุการณ์อื่นๆ ออก เขาก็มองโลกเปลี่ยนไป กลายเป็น "โลกนี้เป็นสถานที่ที่ปลอดภัย ทุกคนเป็นมิตรของเรา"
แล้วจึงเริ่มมี 'ภาคต่อ' ที่สอดคล้องกับความทรงจำใหม่ของตัวเองได้
ประเด็นสำคัญของแนวคิดแอดเลอร์คือ 'อดีต' มิได้กำหนด 'ปัจจุบัน' แต่ 'ปัจจุบัน' ต่างหากที่เป็นตัวกำหนด 'อดีต'
ว่าง่ายๆ คือ เราสามารถมองกลับไปยังอดีตด้วยสายตาที่กว้างและเป็นจริงในปัจจุบัน เพื่อนิยามสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตเพื่อเป็นบวกกับชีวิตของเราได้เสมอ
เพราะเรื่องราวที่สมบูรณ์มักมีมากกว่าสิ่งที่เราเลือกจำ
...
เรามักสะสมความทรงจำและเรื่องราวเลวร้ายไว้กับตัว เพื่อให้ตนเองตกอยู่ในภาวะ 'ฉันมันช่างน่าสงสารเสียจริงๆ' และ 'คนอื่นช่างเลวร้ายเสียจริงๆ'
ลองสังเกตดูว่า ตัวเราเป็นแบบนี้บ่อยแค่ไหน เข้าข้างตัวเอง โทษคนอื่น และไม่คิดจะเปลี่ยนแปลง เพราะเอาแต่คิดว่าปัจจัยที่มีผลต่อชีวิตเราอยู่ในอุ้งมือคนอื่น
วิธีนั้นง่ายที่สุด คือการผลักความรับผิดชอบ แล้วนั่งสงสารตัวเองไปวันๆ
ประเด็นสำคัญของการเปลี่ยนแปลงชีวิตไม่ใช่การมานั่งยกอดีตมาอธิบายว่า "ที่ฉันเป็นแบบนี้ก็เพราะอดีตเป็นแบบนั้น โน้น นี้" หรือ "ที่ฉันเป็นแบบนี้ก็เพราะพ่อ แม่ พี่ น้อง แฟนเก่า ครู เจ้านาย ฯลฯ ทำแบบนั้น นู้น นี้"
คำถามไม่ใช่ว่า เพราะอะไรเราจึงเป็นแบบที่เป็นอยู่ คำถามคือ แล้วเราอยากเป็นแบบไหน
คำถามสำคัญคือ "แล้วจะเอายังไงต่อ"
"จากนี้ไปจะทำอย่างไร"
คำถามนี้คือการรับเอาความรับผิดชอบต่อชีวิตตัวเองกลับมาอยู่ในมือตัวเองอีกครั้ง ยึดอำนาจของชีวิตตัวเองกลับมาที่ตนเอง แล้วเริ่มต้นคิดและลงมือบัญชาการชีวิตด้วยพลังแห่ง 'ปัจจุบัน' ไม่ใช่ 'อดีต'
ใช้ปัจจุบันนิยามอดีตเสียใหม่ เติมพลังให้ตัวเอง
สิ่งนี้อาศัยความกล้าหาญ เพราะมันต้องลงแรงในการเปลี่ยนตัวเอง เปลี่ยนความคิดและข้ออ้างที่มอบให้ตัวเองมาตลอด
มันคือการยอมรับว่า ถ้าชีวิตเราแย่ เราโทษใครไม่ได้
แต่--ถ้าชีวิตเราดี นั่นก็เพราะเราเอานั่นแหละที่ทุ่มเททำมันให้ดีภายใต้เงื่อนไขยากเย็นมากมายก่ายกอง
นี่คือสิ่งที่เรียกว่า 'การสร้างสรรค์ตัวตน' ซึ่งถ้าเราเข้าใจตัวเอง เข้าใจความต้องการของตัวเอง เราจะมีเรี่ยวแรงและพลังใจในการเอาชนะอุปสรรคต่างๆ นานาที่ขวางทางอยู่
เพราะเราจะใช้ชีวิตในแบบที่เราอยากเป็นจริงๆ ไม่ใช่ชีวิตที่เป็นไปเพื่อเอาใจใคร หรือตกอยู่ใต้อิทธิพลของคนที่เป็นฝ่ายกระทำต่อชีวิตเรา
เริ่มจากเห็นปัญหาของการใช้เรื่องราวที่ผ่านมาในอดีตมาเป็นข้ออ้างให้ตัวเอง นิยามอดีตเสียใหม่ด้วยการมองให้กว้างกว่าเดิม แล้วดึงความรับผิดชอบในชีวิตกลับมาที่มือตัวเองอีกครั้ง
เปิดหน้ากระดาษถัดไป
แล้วเริ่มเขียนชีวิต 'ภาคต่อ' โดยไร้อิทธิพลจากอดีต
#นิ้วกลมอ่าน
#ยังมีต่อ #เดี๋ยวมาเล่าต่อ
#ฝากกดติดตามเพจกันไว้ด้วยนะครับ 😊
นักปรัชญา คือ 在 ปรัชญาตะวันตก ตอนที่ 1 (ปรัชญาคืออะไร) Philosophy หรือในภาษา ... 的推薦與評價
Philo ซึ่งแปลว่า ความรัก กับคำว่า Sophia หมายถึง wisdom หรือความรู้ รวมกันจึงหมายถึงความรักในความรู้นั่นเอง นิยามนี้ ผู้ที่ให้คือนักปรัชญาคนแรกๆของโลกนั่นก็คือ ... ... <看更多>
นักปรัชญา คือ 在 ปรัชญาคืออะไร? - YouTube 的推薦與評價
9 บทเรียนพลิกชีวิต จาก ปรัชญา Stoicism | 5 Minutes Podcast EP.1423 ... ผี คือ อะไรในทางวิทยาศาสตร์ | ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ EP.5. ... <看更多>