“Cheng Wei” เขาไม่ใช่คนเก่ง ไม่ใช่คนโดดเด่นอะไร แต่เขาเป็นคนหนึ่งที่สามารถสร้างฐานะขึ้นมาด้วยตัวเอง จากพนักงานบริษัทเงินเดือน 7 พันบาท สู่การเป็นเศรษฐีหมื่นล้าน เจ้าของ “Didi Chuxing” สตาร์ทอัพสัญชาติจีนผู้ให้บริการเรียกรถรับส่ง แม้ภายนอกดูไม่น่ากลัว ไม่มีพิษภัย แต่ร้ายลึกจนคู่แข่งผู้ยิ่งใหญ่อย่าง “Uber” ต้องยอมจำนน!ซึ่งนำไปสู่การควบรวมกิจการในที่สุด
.
โดยเจ้าของ Uber “Travis Kalanick” ได้ตัดสินใจขายกิจการในประเทศจีนให้กับบริษัท Didi Chuxing ในราคา 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 3 หมื่นล้านบาท พร้อมรับสิทธิ์การถือหุ้น 18% ของบริษัทใหม่หลังควบรวม ซึ่งมีมูลค่าประเมินราว 3.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยทั้ง Cheng และ Kalanick ได้นั่งเก้าอี้คณะกรรมการของแต่ละบริษัท
.
ชัยชนะและความสำเร็จในครั้งนี้ นับว่าเป็นการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของบริษัท Didi Chuxing และด้วยบริการที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าสามารถเรียกและชำระเงินค่ารถแท็กซี่ รถยนต์ส่วนตัว รถลีมูซีน หรือรถตู้วิ่งทางไกล ส่งผลให้บริษัทสามารถดึงดูดผู้ใช้บริการได้กว่า 300 ล้านคนใน 400 เมืองของจีน ภายในช่วงเวลาเพียงแค่ 4 ปีเท่านั้น ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า ความสำเร็จนี้เกิดขึ้นได้เพราะผู้อยู่เบื้องหลังอย่าง “Cheng Wei”
.
บทบาทและการสร้างปรากฏการณ์ทางธุรกิจของเขา ทำให้เขาขึ้นแท่นเป็น “สุดยอดนักธุรกิจแห่งปี 2016” ของ Forbes Asia แต่อย่างที่เคยกล่าวไว้ข้างต้นว่า เขาไม่ใช่คนที่เก่งกาจหรือโดดเด่นแต่อย่างใด ทุกสิ่งเกิดขึ้นจากความพยายามของเขาทั้งนั้น เพราะก่อนหน้าที่เขาจะประสบความสำเร็จ มหาวิทยาลัยที่เรียนก็เพียงระดับกลางๆของจีน จบด้วยคะแนนกลางๆ หลังเรียนจบก็ทำงานจิปาถะทั่วไป
.
จนกระทั่งได้ทำงานในบริษัท Alibaba ตำแหน่งพนักงานขายทั่วไป ด้วยเงินเดือนเพียง 225 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 7,000 บาท เขาใช้เวลาเพียง 6 ปี ก็สามารถขึ้นเป็นผู้จัดการประจำภาคเหนือของจีน จากนั้นย้ายไปเป็นผู้จัดการที่ Alipay เพียง 2 ปี เขาได้เลื่อนตำแหน่งเป็นรองประธานของ Alipay
.
เมื่อลาออกจาก Alipay ในปี 2012 เขามาก่อตั้งบริษัท Beijing Orange Technology Co., Ltd. และเปิดตัว Didi Dache แอปพลิเคชันเรียกแท็กซี่แบบเดียวกันกับ Uber ซึ่งเหตุผลที่ทำ เนื่องจากเขาขับรถไม่เป็น และมักเรียกแท็กซี่เป็นประจำในการเดินทางไปไหนมาไหน เขาจึงเห็นโอกาสในการพัฒนาแอปฯ เรียกรถแท็กซี่ในจีน แต่ในช่วงแรกที่พัฒนา แอปฯกลับยังไม่ได้รับความนิยม จนถึงขนาดที่ว่าเขาต้องจ้างคนมาเรียกแท็กซี่ผ่านแอปฯ ของตัวเอง เพื่อให้แท็กซี่มั่นใจว่าแอปฯ ของเขาจะช่วยเรียกลูกค้าให้เหล่าแท็กซี่ได้
.
ซึ่งหลังจากนั้นไม่นาน แอปฯ เรียกแท็กซี่ของเขา ก็เริ่มมีคนใช้มากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิน 1,000 ครั้งต่อวัน และด้วยความเติบโตที่รวดเร็ว ส่งผลให้เขาได้รับเงินลงทุนครั้งแรกจาก GSR Ventures จำนวน 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไม่เพียงเท่านั้น Tencent คู่ปรับของเจ้านายเก่าอย่างอาลีบาบา ก็สนใจลงทุนในกิจการของเขา และได้ประเมินมูลค่าบริษัทของเขาสูงถึง 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 2,000 ล้านบาท สูงกว่าบริษัทอื่นๆ ถึง 2 เท่า เขาจึงตอบตกลงเป็นพันธมิตรกัน
.
เมื่อเงินทุนพร้อม เขาจึงเดินหน้าแสดงศักยภาพในการเขี่ยคู่แข่งหลายรายออกจากตลาด จนเหลือเพียงรายเดียว คือ Kuaidi ซึ่งมีอาลีบาบาเป็นผู้สนับสนุนเงินทุน แต่เมื่อ Uber มาบุกตลาดจีนช่วงปี 2014 สองคู่แข่งทั้งเขาและ Kuaidi จึงควบรวมธุรกิจกันเพื่อต่อสู้กับบริษัทข้ามชาติ เท่ากับว่าตอนนี้ Didi มีขาใหญ่เป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้น
.
แน่นอนว่าในตอนนั้นกลยุทธ์ของ Uber ถือว่าดีในระดับหนึ่ง แต่ Didi ทำได้ดีกว่า เพราะเมื่อ Uber ประกาศผลการระดมทุน 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากกลุ่มกองทุนเพื่อความมั่งคั่งของซาอุดีอาระเบีย ไม่นานขณะที่ Didi สามารถดึงตัว Jean Liu กรรมการผู้จัดการประจำภาคเอเชียจาก Goldman Sachs มาร่วมทีมด้วย ประกาศว่าบริษัทระดมทุนได้ 7.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในรุปแบบของหุ้นและเงินกู้ยืม ซึ่ง Jean Liu เธอมีส่วนสำคัญที่ทำให้บริษัทของเขาระดมทุนได้มูลค่ามหาศาล
.
นอกจากนี้ สองขาใหญ่อย่าง Alibaba และ Tencent ได้ช่วยโฆษณาบริการเรียกรถรับส่งผ่าน Alipay และ WeChat ยิ่งไปกว่านั้นคือ Tencent ทำการบล็อค Uber จากบัญชีสมาชิกใน WeChat ข้อความโฆษณาต่าง ๆ ของ Uber ก็จะไม่สามารถเข้าถึงผู้ใช้งานแอปฯ กว่า 800 ล้านคนได้เลย
.
ขณะเดียวกัน Didi ยังรักษาฐานตลาดในประเทศ ด้วยการควักเงินกว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลงทุนใน Lyft คู่แข่งสำคัญในสหรัฐฯ ของ Uber เพื่อกดดันธุรกิจหลักของ Kalanick ที่เป็นเหมือนเส้นเลือดหล่อเลี้ยงเงินทุนสำหรับขยายธุรกิจในต่างประเทศ ซึ่งเขาทำสำเร็จ ในที่สุด Uber ในจีนก็ยอมแพ้อย่างราบคาบ
.
ทั้งนี้ Cheng Wei เคยกล่าวว่า รัฐบาลจีนไม่ได้ยื่นมือเข้าช่วยเหลือเขาแต่อย่างใด ความสำเร็จของเขามาจากผลิตภัณฑ์และบริการที่ดีกว่า เรียกได้ว่า การต่อสู้เพื่อชิงบัลลังก์ของเขา เสมือนเป็นการทำสงครามครั้งใหญ่ ที่ไม่ได้มีดาบ ปืน หรือธนู เช่นสงครามอื่นๆ แต่เป็นการใช้ “เงิน” เป็นอาวุธ ใครที่มีมากกว่า คนนั้นชนะ!
.
ซึ่งแน่นอนว่าการเติบโตของ Didi Chuxing ไม่ได้หยุดเพียงเท่านั้น เพราะปัจจุบันบริษัทได้รับเงินสนับสนุนจาก SoftBank Group บริษัทเทคโนโลยีและการลงทุนของญี่ปุ่น ที่สำคัญเขายังเตรียมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อเสนอขายหุ้นใหม่ให้แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรกในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ โดยคาดว่าจะสามารถระดมทุนได้มากกว่า 6.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 1.9 ล้านล้านบาท
.
ที่มา : https://bit.ly/3f9ahqd
https://bit.ly/3bkfydn
.
#อายุน้อยร้อยล้านNEWS
#อายุน้อยร้อยล้าน #ryounoi100lan
#ChengWei #DidiChuxing #Uber #บริการแท็กซี่ #ธุรกิจจีน #Business #Alibaba #บริการเรียกรถรับส่ง #Taxi
บริการเรียกรถรับส่ง 在 อัพเดทวิธีใช้ Grab เรียกรถ ใช้ง่ายกว่าเดิม มีรถทุกแบบ ฟังก์ชันพิเศษ ... 的推薦與評價
ขั้นตอนการ รับ งาน GrabCar หรือ JustGrab ( รับส่ง ผู้โดยสาร) ... GrabDriverTH. GrabDriverTH ... 74K views 1 year ago ... ... <看更多>
บริการเรียกรถรับส่ง 在 Go MAMMA บริการรถรับส่ง-แท็กซี่สำหรับผู้สูงอายุ - Facebook 的推薦與評價
เพราะนอกจากจะช่วยเรียกเหงื่อ และเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์แล้ว ยังทำให้เกิดความภาคภูมิใจหลังวัยเกษียณอีกด้วยนะคะ ... <看更多>