คนอายุเกินร้อยปีนั้นมี แต่ไม่มาก บ้านอายุเกินร้อยปี น่าจะมีมากกว่า แต่บ้านอายุเกิน ๑๕๐ ปี ก็คงหายากยิ่ง แล้วบ้านอายุ ๑๙๐ ปีล่ะ จะมีไหม?
.
คืนนี้ "ลายกนก ยกสยาม" จะพาไปชม บ้านเก๋งจีนของตระกูล “ทังสมบัติ” อายุไม่น้อยกว่า ๑๙๐ ปี แถมอยู่ในเมืองหลวง และอยู่ริมน้ำเจ้าพระยาเสียด้วย
.
บ้านที่อยู่ริมน้ำ การดูแลรักษาไม่ใช่เรื่องง่าย บ้านหลังนี้ในอดีต มีแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่หน้าบ้าน ก่อนที่ริมตลิ่งจะตื้นเขิน เสมือนบ้านอยู่ลึกเข้ามาในผืนดิน แท้จริงบ้านอยู่ที่เดิม แต่แม่น้ำเจ้าพระยากลับแคบลง
.
คุณพูนศักดิ์ ทังสมบัติ เจ้าของร้าน "บ้านอากงอาม่า" เล่าว่า เดิมอากงทำน้ำปลาอยู่ตลาดพลู ต้องพายเรือมาส่งท่าเตียน ใช้เวลาหนึ่งวัน
.
จนมีคนชวนมาเช่าบ้านหลังนี้อยู่ ราวปี พ.ศ. ๒๔๖๐ สมัยรัชกาลที่ ๖ เช่าอยู่มา ๓๙ ปี จึงซื้อไว้ในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ราคาแสนกว่าบาท !
.
ผู้รู้เรียกบ้านเก๋งจีนนี้ว่า “เหี่ยซัวโห้ว” (เสือลงภูเขา) ซุ้มประตูด้านหน้าคือศรีษะของเสือ เวลากลางคืนเมื่อจุดโคม จะเหมือนตาของเสือที่เปล่งประกาย ประตูเหมือนปากเสือที่อ้าออก อาคารที่หันเข้าหาเราเหมือนขาของเสือที่ยื่นออกมา ตัวอาคารด้านหลัง เหมือนกับตัวเสือ
.
ส่วน "บ้านอากงอาม่า" เป็นบ้านที่ซื้อเพิ่มเติมเพื่อเป็นทางออกแม่น้ำ และเป็นที่พักอาศัย บ้านหลังนี้อายุ ๙๓ ปี สร้างก่อนสะพานพุทธฯ
.
ราคาเครื่องดื่มและของทานเล่นในร้าน มีราคาย่อมเยา เพราะคุณพูนศักดิ์บอกว่า "คนที่มาไหว้ศาลเจ้ากวนอู ใช่จะมีแต่คนที่มีความสุข คนมีทุกข์มากราบไหว้ขอให้เจ้าพ่อกวนอูช่วย มีอยู่ไม่น้อย..."
.
"...เมื่อคนมีทุกข์ไหว้เจ้าเสร็จ มานั่งพักผ่อนที่ร้าน ถ้าเจอราคาเครื่องดื่มอาหารแพงๆ เขาคงจะทุกข์หนักขึ้น เราจึงไม่อยากซ้ำเติมคนที่ทุกข์อยู่แล้ว"
.
เมื่อ ๒๐๐ กว่าปีก่อน สถานที่ตั้งศาลเจ้ากวนอู ที่คลองสานนี้ เป็นแหล่งที่เรือสำเภาจีนแทบทุกลำต้องมาจอดเทียบท่า เพื่อกราบสักการะเจ้าพ่อ หลังจากมีชาวจีนฮกเกี้ยนคนหนึ่ง อัญเชิญมาจากมณฑลฮกเกี้ยน เป็นองค์แรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๒๗๙ สมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ซึ่งเป็นองค์เล็กสุด ในจำนวน ๓ องค์
.
ปี พ.ศ. ๒๓๔๕ (เลขเรียงสวย สมัยรัชกาลที่ ๑) ได้มีผู้อัญเชิญเจ้าพ่อกวนอูองค์กลางมาเพิ่มอีกองค์หนึ่ง และในปี พ.ศ. ๒๓๖๕ (รัชกาลที่ ๒) ก็มีการอัญเชิญองค์ที่สาม มาประดิษฐานร่วมกันในเก๋งเป็นสามองค์
.
คนจีนโพ้นทะเล ก่อนออกเดินทางไปค้าขายในต่างประเทศ หรือขึ้นเรืออพยพไปที่ใดก็ตาม ต้องบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ มีเทพเจ้าอย่างน้อย 2 องค์ขึ้นเรือไปด้วย คือ "เทพเจ้ากวนอู" และ "เจ้าแม่ทับทิม"
.
พ.ศ. ๒๕๐๙มีเหตุการณ์แปลกประหลาดขึ้นที่ศาลเจ้าแห่งนี้ และไม่มีใครสามารถอธิบายได้ เมื่อหิ้งบูชา ถ้วยน้ำชา และกระถางธูป เกิดสั่นสะเทือนขึ้นเป็นแรมเดือน จนเป็นที่กล่าวขาน
.
สำหรับวิธีการขอพรจากเทพเจ้ากวนอูของที่นี่ จะพิเศษตรงที่ ผู้ที่ขอพรต้องเข้าไปจับที่เท้าของท่านแล้วอธิษฐาน โดยมีข้อห้ามสำคัญ สำหรับสุภาพสตรีคือ ถ้าร่างกายไม่สะอาด (มีประจำเดือน) ห้ามแตะต้องท่านเป็นอันขาด
.
วิธีบูชาขอพรเพิ่มเติม ติดตามได้ใน รายการลายกนก ยกสยาม ต้อนรับเทศกาลตรุษจีน คืนวันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์นี้ เวลา 20.10 น. ทาง TOP News
Pock producer
อุบลรัตน์ เถาว์น้อย
Kitika Palakawong
บ้านอากงอาม่า 在 Kanok Ratwongsakul Fan Page Facebook 的精選貼文
เนื่องในเทศกาลตรุษจีน "ลายกนก ยกสยาม" เชิญชวนคุณผู้ชมทุกท่าน มากราบสักการะ "ศาลเจ้ากวนอู" คลองสาน ที่เก่าที่สุดในประเทศไทย โดยชาวจีนฮกเกี้ยนได้อัญเชิญมาจากมณฑลฮกเกี้ยนทางเรือ ในปี พ.ศ. ๒๒๗๙ ในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เพิ่งจะขึ้นครองราชย์
.
ทางประเทศจีน ตรงกับสมัย เฉียนหลงฮ่องเต้ จักรพรรดิองค์ที่ 6 ของราชวงศ์ชิง ก็เพิ่งขึ้นครองราชย์ได้เพียงปีเดียว สมเด็จพระเจ้าตากสิน เคยเสด็จมาสักการะเทพเจ้ากวนอูที่ศาลแห่งนี้
.
เชิญเข้าไปเยี่ยมชม "บ้านเก๋งจีน" อายุไม่ต่ำกว่า ๑๙๐ ปี (ปลายรัชกาลที่ ๒) อดีตเป็นโรงงานน้ำปลา "ทั่งง่วนฮะ" หรือน้ำปลาตรารวงทอง ปัจจุบัน
.
"บ้านอากงอาม่า" บ้านไม้เรือนไทยทรงปั้นหยา หน้าตาสุดคลาสสิก ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๗ ราวปี พ.ศ. ๒๔๗๒ บ้านพักของตระกูล "ทังสมบัติ" ที่ยังคงเต็มไปด้วยความอบอุ่น และความทรงจำในวัยเด็กของคนในครอบครัว จนกลายมาเป็น My Grandparent's House - บ้านอากงอาม่า
.
"หมิว อุบลรัตน์" จะพาคุณผู้ชมไปค้นหาชื่อที่มาในย่านเยาวราช... อุบลรัตน์ เถาว์น้อย
.
Pock producer พาติวเตอร์เซเล็บคนสวย Kitika Palakawong ไปขอความรักจากเจ้าแม่... ฉลองวันวาเลนไทน์...
.
รายการลายกนก ยกสยาม 新正如意, 新年发财 (ซิงเจียหยู่อี่ ซิงนี้ฟาไฉ) คืนวันอาทิตย์นี้ เวลา ๒๐.๑๐ น. หลังข่าวพระราชสำนัก ทาง @TOP NEWS
บ้านอากงอาม่า 在 Facebook 的精選貼文
เย่าชือเลอนาาา 😋😋 @ My Grandparent's House บ้านอากงอาม่า
บ้านอากงอาม่า 在 My Grandparent's House บ้านอากงอาม่า - Home - Facebook 的推薦與評價
My Grandparent's House บ้านอากงอาม่า. 15230 likes · 64 talking about this · 12465 were here. A Thai heritage house with Chinese family. Open as Coffee... ... <看更多>