อัฟกานิสถาน ประเทศที่ผู้คน มีความสุขน้อยที่สุดในโลก /โดย ลงทุนแมน
เมื่อการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข คือสิ่งที่ทุกคนล้วนใฝ่ฝัน
ถึงแม้ความสุขจะวัดออกมาเป็นตัวเลขได้ยาก แต่ก็มีหลายองค์กรที่พยายามสร้างเกณฑ์ในการวัด และจัดอันดับว่าประเทศไหนที่ผู้คนมีความสุขมากที่สุดในโลก
หนึ่งในนั้นคือ World Happiness Report 2021
ที่ได้ทำการสำรวจทั้งหมด 149 ประเทศทั่วโลก
ผลปรากฏว่า ประเทศที่ผู้คนมีความสุขมากที่สุดในโลก คือ ฟินแลนด์
ส่วนประเทศไทย ผู้คนมีความสุขอยู่ในอันดับที่ 54
และประเทศที่ผู้คนมีความสุขน้อยที่สุดในโลก คือ อัฟกานิสถาน
เรื่องของฟินแลนด์ลงทุนแมนเคยเล่าให้ฟังบ้างแล้ว
แต่สำหรับอัฟกานิสถาน ทำไมผู้คนในประเทศนี้ถึงมีความสุขน้อยที่สุดในโลก ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
จากรายงานของ World Happiness Report 2021 พบว่า
ประเทศที่คนมีความสุขมากที่สุดในโลก 3 อันดับสุดท้ายคือ
147. รวันดา ประเทศในทวีปแอฟริกา คะแนน 3.415
148. ซิมบับเว ประเทศในทวีปแอฟริกา คะแนน 3.145
149. อัฟกานิสถาน ประเทศในทวีปเอเชีย คะแนน 2.523
ซึ่งเกณฑ์ที่ใช้วัดว่าประเทศมีความสุขมากน้อยแค่ไหน ?
มีอยู่ 6 ข้อด้วยกัน ประกอบไปด้วย
1. รายได้
2. สุขภาพและอายุขัยเฉลี่ย
3. การสนับสนุนจากสังคม
4. อิสรภาพ
5. การได้รับความไว้วางใจ
6. การคอร์รัปชันของคนในสังคม
ทีนี้เรามาลองไล่เรียงแต่ละปัจจัยของอัฟกานิสถานว่าเป็นอย่างไร ?
เริ่มจากรายได้..
ชาวอัฟกานิสถาน 37 ล้านคนมี GDP เฉลี่ยต่อหัวต่อปี อยู่ที่เพียง 15,814 บาท
อยู่ในอันดับที่ 177 จากทั้งหมด 195 ประเทศ
นั่นก็อาจหมายความว่า ประชาชนในอัฟกานิสถานมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวที่ต่ำมาก
ซึ่งก็ไปสอดคล้องกับงานวิจัยของ Penn’s Wharton School
ที่พบว่า ความสุขที่ลดลง จะสัมพันธ์กับรายได้ที่มีน้อยลง
ปัจจัยด้านต่อมาก็คือ สุขภาพและอายุขัยเฉลี่ย
ในปี 2018 อัฟกานิสถานมีอายุขัยเฉลี่ยเพียง 64.4 ปี เป็นอันดับท้าย ๆ ของโลก
ส่วนการบริการสาธารณสุขก็เจอกับปัญหาการโจมตีสถานพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์
นอกจากนี้ ยังมีการกีดกันไม่ให้ผู้หญิงจำนวนมากเข้าถึงสถานบริการด้านสุขภาพอีกด้วย
ซึ่งเรื่องนี้ก็สะท้อนมาจากการที่ผู้หญิงในอัฟกานิสถานแทบจะไม่มีสิทธิอะไรเลยในชีวิต
ผู้หญิงจะไม่ได้รับอนุญาตให้ไปไหนคนเดียว ต้องแต่งกายให้มิดชิด
ไม่เปิดเผยอวัยวะในร่างกายให้คนอื่นได้เห็น
อีกปัญหาใหญ่สำหรับผู้หญิงอัฟกานิสถานคือ การไม่มีตัวตนในสังคม
ผู้หญิงอัฟกานิสถานไม่สามารถเปิดเผยชื่อของตัวเองในที่สาธารณะได้
เอกสารทางราชการต่าง ๆ บัตรประชาชน จะไม่มีชื่อของผู้หญิงปรากฏ
มีเพียงการบอกว่า เป็นบุตรของใคร หรือหากแต่งงานแล้วก็จะระบุว่าเป็นภรรยาของใคร
และสุดท้ายเมื่อเสียชีวิต ที่ป้ายหลุมศพก็ไม่มีแม้แต่การระบุชื่อ
ทำได้เพียงระบุว่าเป็นบุตรสาวของใคร เป็นภรรยาของใคร หรือเป็นมารดาของใครเท่านั้น
ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้ก็นำไปสู่โครงการ “Where Is My Name ?”
ที่ผู้หญิงออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลแก้กฎหมายดังกล่าว
เพราะการระบุชื่อผู้หญิงในเอกสารสำคัญทางราชการเป็นสิทธิที่ผู้หญิงทุกคนควรได้รับ
นอกจากปัญหาด้านรายได้ สุขภาพ การสนับสนุนจากสังคม
ยังมีอีกปัญหาที่สำคัญของอัฟกานิสถาน ก็คือ “ปัญหาความไม่สงบภายในประเทศ”
เริ่มมาตั้งแต่ในปี 1978 ซึ่งเป็นช่วงสงครามเย็น
เกิดการล้มล้างรัฐบาลของ โมฮัมเหม็ด ดาวูด ข่าน ประธานาธิบดีคนแรกของอัฟกานิสถาน โดยกลุ่มกบฏคอมมิวนิสต์ ที่อยู่ภายใต้การสนับสนุนของสหภาพโซเวียต ซึ่งได้ทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง
และสังหารครอบครัวของประธานาธิบดี โมฮัมเหม็ด ดาวูด ข่าน ทั้งครอบครัว
อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นเพียง 1 ปี สหภาพโซเวียตก็เข้ามายึดอัฟกานิสถาน
กลายเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามระหว่างโซเวียตและอัฟกานิสถาน และโซเวียตได้ยึดครองอัฟกานิสถานอยู่นานถึง 10 ปี ซึ่งสร้างความไม่พอใจ จนเกิดกลุ่มต่อต้านโซเวียตที่ชื่อว่า กลุ่มมูจาฮีดีน
แต่หลังจากที่สหภาพโซเวียตยอมถอนทัพออกไปจากอัฟกานิสถาน
สถานการณ์กลับกลายเป็นย่ำแย่ยิ่งไปกว่าเดิม
เพราะในช่วงปี 1989 ถึง 1996 เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นในอัฟกานิสถาน
จากกลุ่มมูจาฮีดีนที่ร่วมกันขับไล่สหภาพโซเวียตหันมาทะเลาะกันเอง
เพื่อแย่งชิงอำนาจในการปกครองประเทศ
นอกจากนี้ในปี 1991 ยังเกิดกลุ่มตอลิบานขึ้นเพราะต้องการต่อต้านกลุ่มมูจาฮีดีน
ซึ่งในช่วงแรก ตอลิบานก็ได้รับการสนับสนุนจากชาวอัฟกานิสถานเป็นอย่างดี
จนสามารถรวบรวมกองกำลังได้ถึงหลักหมื่น และสามารถยึดอำนาจทั้งยังจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ
แต่ภายหลังที่ตอลิบานขึ้นมาเป็นรัฐบาลก็เปลี่ยนคำสัญญาจากหน้ามือเป็นหลังมือ
จากคำสัญญาที่เคยให้ไว้ว่า จะสร้างความสงบ พัฒนาประเทศให้ก้าวหน้า
ก็เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง กลายมาเป็นออกกฎให้ผู้หญิงแทบจะไม่เหลือสิทธิและเสรีภาพใด ๆ เลย
สังหารผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามนิกายอื่น ๆ ที่ไม่ใช่นิกายซุนนีที่กลุ่มตอลิบานนับถือ
รวมถึงการเปลี่ยนชื่อประเทศไปเป็น Islamic Emirate of Afghanistan อีกด้วย
แต่เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นและเราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีก็คือ เหตุการณ์ 9/11
ที่กลุ่มอัลกออิดะฮ์ พันธมิตรของกลุ่มตอลิบาน ซึ่งก่อตั้งโดย อุซามะฮ์ บิน ลาดิน ชาวซาอุดีอาระเบียได้โจมตีแบบพลีชีพทางอากาศในประเทศสหรัฐอเมริกา และได้ทำให้เกิดสงครามในอัฟกานิสถานขึ้นมาอีกครั้ง
ปัจจุบันอัฟกานิสถานยังคงมีปัญหาการก่อการร้ายและการสู้รบรุนแรงภายในประเทศ
จากข้อมูลของ Global Peace Index 2020 ได้ระบุว่า
อัฟกานิสถานเป็นประเทศที่อันตรายที่สุดในโลก จากการสำรวจทั้งหมด 163 ประเทศอีกด้วย
ด้วยความที่ประเทศยังคงอยู่ในอันตรายร้ายแรง ทำให้การพัฒนาด้านต่าง ๆ ของอัฟกานิสถานยังคงล้าหลัง เต็มไปด้วยปัญหามากมาย ทั้งด้านการศึกษา
อัตราการรู้หนังสือของคนในอัฟกานิสถานมีเพียง 38.2% เท่านั้น
รวมไปถึงปัญหาด้านคอร์รัปชัน โดยจากการจัดอันดับด้านความโปร่งใส
อัฟกานิสถานอยู่อันดับที่ 165 จากทั้งหมด 180 ประเทศ
จะเห็นได้ว่า จากทั้ง 6 เกณฑ์ที่ใช้วัดว่าแต่ละประเทศมีความสุขมากแค่ไหน
อัฟกานิสถานถูกจัดให้อยู่ในอันดับท้าย ๆ ของโลก ในทุก ๆ เกณฑ์
ผู้คนในประเทศนี้ล้วนผ่านภาพของสงครามมากมาย เผชิญกับความตายไม่เว้นแต่ละวัน
และมีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่ตัดสินใจย้ายไปอยู่ต่างประเทศแล้ว
สำหรับผู้คนที่ยังอยู่ในสังคมที่ร้าวฉานแห่งนี้ จากเรื่องราวทั้งหมดที่กล่าวมา
สิ่งเดียวที่ผลักดันให้ผู้คนเหล่านี้ยังมีชีวิตอยู่ต่อไปได้
ก็อาจจะเป็นเพียงความหวังเล็ก ๆ ว่า วันพรุ่งนี้คงจะมีอะไรสักอย่างที่ดีกว่าวันนี้..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.npr.org/sections/goatsandsoda/2019/03/20/704585567/looking-for-happiness-in-the-3rd-least-happy-country-in-the-world
-https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.PCAP.CD?locations=ZW&most_recent_value_desc=true
-https://www.forbes.com/sites/alexledsom/2021/02/07/new-study-shows-that-more-money-buys-more-happiness/?sh=3af5469970d5
-http://www.emro.who.int/afg/afghanistan-infocus/situation-reports.html
-https://applications.emro.who.int/docs/AFG/EMRLIBAFG050E.pdf?ua=1
-https://www.nia.go.th/newsnow/almanac-files/static/pdf/2564/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%9F%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99_2564.pdf
-http://gotomanager.com/content/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%9F%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%95%E0%B8%99/
-https://www.history.com/this-day-in-history/soviet-tanks-roll-into-afghanistan
-https://www.britannica.com/event/Afghan-War
-https://www.longtunman.com/9734
-https://thematter.co/thinkers/taliban-and-afghanistan/13225
-https://thematter.co/thinkers/taliban-and-afghanistan-2/13268
「ประเทศในทวีปแอฟริกา」的推薦目錄:
- 關於ประเทศในทวีปแอฟริกา 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
- 關於ประเทศในทวีปแอฟริกา 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
- 關於ประเทศในทวีปแอฟริกา 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
- 關於ประเทศในทวีปแอฟริกา 在 จีน-สหรัฐฯ ขยับรักษาอิทธิพลในทวีปแอฟริกา | TNNข่าวเที่ยง 10-1-66 的評價
- 關於ประเทศในทวีปแอฟริกา 在 ️ปรับมาตรการการเดินทางเข้าราชอาณาจักร ประเทศในทวีปแอฟริกา ... 的評價
ประเทศในทวีปแอฟริกา 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
อัฟกานิสถาน ประเทศที่ผู้คน มีความสุขน้อยที่สุดในโลก /โดย ลงทุนแมน
เมื่อการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข คือสิ่งที่ทุกคนล้วนใฝ่ฝัน
ถึงแม้ความสุขจะวัดออกมาเป็นตัวเลขได้ยาก แต่ก็มีหลายองค์กรที่พยายามสร้างเกณฑ์ในการวัด และจัดอันดับว่าประเทศไหนที่ผู้คนมีความสุขมากที่สุดในโลก
หนึ่งในนั้นคือ World Happiness Report 2021
ที่ได้ทำการสำรวจทั้งหมด 149 ประเทศทั่วโลก
ผลปรากฏว่า ประเทศที่ผู้คนมีความสุขมากที่สุดในโลก คือ ฟินแลนด์
ส่วนประเทศไทย ผู้คนมีความสุขอยู่ในอันดับที่ 54
และประเทศที่ผู้คนมีความสุขน้อยที่สุดในโลก คือ อัฟกานิสถาน
เรื่องของฟินแลนด์ลงทุนแมนเคยเล่าให้ฟังบ้างแล้ว
แต่สำหรับอัฟกานิสถาน ทำไมผู้คนในประเทศนี้ถึงมีความสุขน้อยที่สุดในโลก ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
จากรายงานของ World Happiness Report 2021 พบว่า
ประเทศที่คนมีความสุขมากที่สุดในโลก 3 อันดับสุดท้ายคือ
147. รวันดา ประเทศในทวีปแอฟริกา คะแนน 3.415
148. ซิมบับเว ประเทศในทวีปแอฟริกา คะแนน 3.145
149. อัฟกานิสถาน ประเทศในทวีปเอเชีย คะแนน 2.523
ซึ่งเกณฑ์ที่ใช้วัดว่าประเทศมีความสุขมากน้อยแค่ไหน ?
มีอยู่ 6 ข้อด้วยกัน ประกอบไปด้วย
1. รายได้
2. สุขภาพและอายุขัยเฉลี่ย
3. การสนับสนุนจากสังคม
4. อิสรภาพ
5. การได้รับความไว้วางใจ
6. การคอร์รัปชันของคนในสังคม
ทีนี้เรามาลองไล่เรียงแต่ละปัจจัยของอัฟกานิสถานว่าเป็นอย่างไร ?
เริ่มจากรายได้..
ชาวอัฟกานิสถาน 37 ล้านคนมี GDP เฉลี่ยต่อหัวต่อปี อยู่ที่เพียง 15,814 บาท
อยู่ในอันดับที่ 177 จากทั้งหมด 195 ประเทศ
นั่นก็อาจหมายความว่า ประชาชนในอัฟกานิสถานมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวที่ต่ำมาก
ซึ่งก็ไปสอดคล้องกับงานวิจัยของ Penn’s Wharton School
ที่พบว่า ความสุขที่ลดลง จะสัมพันธ์กับรายได้ที่มีน้อยลง
ปัจจัยด้านต่อมาก็คือ สุขภาพและอายุขัยเฉลี่ย
ในปี 2018 อัฟกานิสถานมีอายุขัยเฉลี่ยเพียง 64.4 ปี เป็นอันดับท้าย ๆ ของโลก
ส่วนการบริการสาธารณสุขก็เจอกับปัญหาการโจมตีสถานพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์
นอกจากนี้ ยังมีการกีดกันไม่ให้ผู้หญิงจำนวนมากเข้าถึงสถานบริการด้านสุขภาพอีกด้วย
ซึ่งเรื่องนี้ก็สะท้อนมาจากการที่ผู้หญิงในอัฟกานิสถานแทบจะไม่มีสิทธิอะไรเลยในชีวิต
ผู้หญิงจะไม่ได้รับอนุญาตให้ไปไหนคนเดียว ต้องแต่งกายให้มิดชิด
ไม่เปิดเผยอวัยวะในร่างกายให้คนอื่นได้เห็น
อีกปัญหาใหญ่สำหรับผู้หญิงอัฟกานิสถานคือ การไม่มีตัวตนในสังคม
ผู้หญิงอัฟกานิสถานไม่สามารถเปิดเผยชื่อของตัวเองในที่สาธารณะได้
เอกสารทางราชการต่าง ๆ บัตรประชาชน จะไม่มีชื่อของผู้หญิงปรากฏ
มีเพียงการบอกว่า เป็นบุตรของใคร หรือหากแต่งงานแล้วก็จะระบุว่าเป็นภรรยาของใคร
และสุดท้ายเมื่อเสียชีวิต ที่ป้ายหลุมศพก็ไม่มีแม้แต่การระบุชื่อ
ทำได้เพียงระบุว่าเป็นบุตรสาวของใคร เป็นภรรยาของใคร หรือเป็นมารดาของใครเท่านั้น
ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้ก็นำไปสู่โครงการ “Where Is My Name ?”
ที่ผู้หญิงออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลแก้กฎหมายดังกล่าว
เพราะการระบุชื่อผู้หญิงในเอกสารสำคัญทางราชการเป็นสิทธิที่ผู้หญิงทุกคนควรได้รับ
นอกจากปัญหาด้านรายได้ สุขภาพ การสนับสนุนจากสังคม
ยังมีอีกปัญหาที่สำคัญของอัฟกานิสถาน ก็คือ “ปัญหาความไม่สงบภายในประเทศ”
เริ่มมาตั้งแต่ในปี 1978 ซึ่งเป็นช่วงสงครามเย็น
เกิดการล้มล้างรัฐบาลของ โมฮัมเหม็ด ดาวูด ข่าน ประธานาธิบดีคนแรกของอัฟกานิสถาน โดยกลุ่มกบฏคอมมิวนิสต์ ที่อยู่ภายใต้การสนับสนุนของสหภาพโซเวียต ซึ่งได้ทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง
และสังหารครอบครัวของประธานาธิบดี โมฮัมเหม็ด ดาวูด ข่าน ทั้งครอบครัว
อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นเพียง 1 ปี สหภาพโซเวียตก็เข้ามายึดอัฟกานิสถาน
กลายเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามระหว่างโซเวียตและอัฟกานิสถาน และโซเวียตได้ยึดครองอัฟกานิสถานอยู่นานถึง 10 ปี ซึ่งสร้างความไม่พอใจ จนเกิดกลุ่มต่อต้านโซเวียตที่ชื่อว่า กลุ่มมูจาฮีดีน
แต่หลังจากที่สหภาพโซเวียตยอมถอนทัพออกไปจากอัฟกานิสถาน
สถานการณ์กลับกลายเป็นย่ำแย่ยิ่งไปกว่าเดิม
เพราะในช่วงปี 1989 ถึง 1996 เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นในอัฟกานิสถาน
จากกลุ่มมูจาฮีดีนที่ร่วมกันขับไล่สหภาพโซเวียตหันมาทะเลาะกันเอง
เพื่อแย่งชิงอำนาจในการปกครองประเทศ
นอกจากนี้ในปี 1991 ยังเกิดกลุ่มตอลิบานขึ้นเพราะต้องการต่อต้านกลุ่มมูจาฮีดีน
ซึ่งในช่วงแรก ตอลิบานก็ได้รับการสนับสนุนจากชาวอัฟกานิสถานเป็นอย่างดี
จนสามารถรวบรวมกองกำลังได้ถึงหลักหมื่น และสามารถยึดอำนาจทั้งยังจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ
แต่ภายหลังที่ตอลิบานขึ้นมาเป็นรัฐบาลก็เปลี่ยนคำสัญญาจากหน้ามือเป็นหลังมือ
จากคำสัญญาที่เคยให้ไว้ว่า จะสร้างความสงบ พัฒนาประเทศให้ก้าวหน้า
ก็เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง กลายมาเป็นออกกฎให้ผู้หญิงแทบจะไม่เหลือสิทธิและเสรีภาพใด ๆ เลย
สังหารผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามนิกายอื่น ๆ ที่ไม่ใช่นิกายซุนนีที่กลุ่มตอลิบานนับถือ
รวมถึงการเปลี่ยนชื่อประเทศไปเป็น Islamic Emirate of Afghanistan อีกด้วย
แต่เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นและเราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีก็คือ เหตุการณ์ 9/11
ที่กลุ่มอัลกออิดะฮ์ พันธมิตรของกลุ่มตอลิบาน ซึ่งก่อตั้งโดย อุซามะฮ์ บิน ลาดิน ชาวซาอุดีอาระเบียได้โจมตีแบบพลีชีพทางอากาศในประเทศสหรัฐอเมริกา และได้ทำให้เกิดสงครามในอัฟกานิสถานขึ้นมาอีกครั้ง
ปัจจุบันอัฟกานิสถานยังคงมีปัญหาการก่อการร้ายและการสู้รบรุนแรงภายในประเทศ
จากข้อมูลของ Global Peace Index 2020 ได้ระบุว่า
อัฟกานิสถานเป็นประเทศที่อันตรายที่สุดในโลก จากการสำรวจทั้งหมด 163 ประเทศอีกด้วย
ด้วยความที่ประเทศยังคงอยู่ในอันตรายร้ายแรง ทำให้การพัฒนาด้านต่าง ๆ ของอัฟกานิสถานยังคงล้าหลัง เต็มไปด้วยปัญหามากมาย ทั้งด้านการศึกษา
อัตราการรู้หนังสือของคนในอัฟกานิสถานมีเพียง 38.2% เท่านั้น
รวมไปถึงปัญหาด้านคอร์รัปชัน โดยจากการจัดอันดับด้านความโปร่งใส
อัฟกานิสถานอยู่อันดับที่ 165 จากทั้งหมด 180 ประเทศ
จะเห็นได้ว่า จากทั้ง 6 เกณฑ์ที่ใช้วัดว่าแต่ละประเทศมีความสุขมากแค่ไหน
อัฟกานิสถานถูกจัดให้อยู่ในอันดับท้าย ๆ ของโลก ในทุก ๆ เกณฑ์
ผู้คนในประเทศนี้ล้วนผ่านภาพของสงครามมากมาย เผชิญกับความตายไม่เว้นแต่ละวัน
และมีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่ตัดสินใจย้ายไปอยู่ต่างประเทศแล้ว
สำหรับผู้คนที่ยังอยู่ในสังคมที่ร้าวฉานแห่งนี้ จากเรื่องราวทั้งหมดที่กล่าวมา
สิ่งเดียวที่ผลักดันให้ผู้คนเหล่านี้ยังมีชีวิตอยู่ต่อไปได้
ก็อาจจะเป็นเพียงความหวังเล็ก ๆ ว่า วันพรุ่งนี้คงจะมีอะไรสักอย่างที่ดีกว่าวันนี้..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.npr.org/sections/goatsandsoda/2019/03/20/704585567/looking-for-happiness-in-the-3rd-least-happy-country-in-the-world
-https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.PCAP.CD?locations=ZW&most_recent_value_desc=true
-https://www.forbes.com/sites/alexledsom/2021/02/07/new-study-shows-that-more-money-buys-more-happiness/?sh=3af5469970d5
-http://www.emro.who.int/afg/afghanistan-infocus/situation-reports.html
-https://applications.emro.who.int/docs/AFG/EMRLIBAFG050E.pdf?ua=1
-https://www.nia.go.th/newsnow/almanac-files/static/pdf/2564/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%9F%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99_2564.pdf
-http://gotomanager.com/content/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%9F%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%95%E0%B8%99/
-https://www.history.com/this-day-in-history/soviet-tanks-roll-into-afghanistan
-https://www.britannica.com/event/Afghan-War
-https://www.longtunman.com/9734
-https://thematter.co/thinkers/taliban-and-afghanistan/13225
-https://thematter.co/thinkers/taliban-and-afghanistan-2/13268
ประเทศในทวีปแอฟริกา 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
เวเนซุเอลา ประเทศที่ “เคยรวยกว่า” ไทย / โดย ลงทุนแมน
เมื่อ 60 ปีที่แล้ว คนเวเนซุเอลามีรายได้ต่อหัวมากกว่าคนไทย 11 เท่า
ปี 1960 คนเวเนซุเอลามีรายได้ต่อปี 24,130 บาท
ในขณะที่คนไทยมีรายได้ต่อปีเพียง 2,140 บาท
ถามว่าคนเวเนซุเอลา “รวย” ขนาดไหน เมื่อ 60 ปีที่แล้ว
รายได้ต่อหัว 24,130 บาทต่อปี ของคนเวเนซุเอลา
มากกว่ารายได้ต่อหัวของคนเนเธอร์แลนด์ และคนอิตาลีในช่วงเวลาเดียวกัน
และมากกว่ารายได้ต่อหัวของคนญี่ปุ่นในเวลานั้นถึง 2 เท่า
เวเนซุเอลาส่งออกน้ำมันเป็นสินค้าหลักมาตั้งแต่ปี 1917 หรือกว่า 102 ปีมาแล้ว
และเวเนซุเอลาเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งองค์การกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน หรือ OPEC
ตลอดทศวรรษที่ผ่านมา ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับขึ้นหลายต่อหลายครั้งนำรายได้มหาศาลมาให้ประเทศนี้ แต่ใครจะไปคิดว่าเรื่องนี้กลับทำให้เวเนซุเอลาประสบปัญหาทางเศรษฐกิจหลายครั้ง จนนำมาสู่สภาวะล้มละลายในปัจจุบัน
หลายคนคงพอทราบเรื่องราว การคอร์รัปชันและการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาดของผู้นำประเทศ ซึ่งแน่นอนว่ามีส่วนสำคัญในความล้มเหลวของเวเนซุเอลาในวันนี้
แต่คำถามที่น่าสนใจก็คือ
ในอดีตช่วงหนึ่ง ประชาชนเวเนซุเอลาไม่ได้ยากจน
ในทางตรงกันข้าม คนเวเนซุเอลาในอดีต ส่วนใหญ่แล้วมีความสุขอยู่บนความมั่งคั่ง
แล้วในตอนนั้น ผู้คนในประเทศเวเนซุเอลา นำเงินจากความมั่งคั่งนี้ไปทำอะไร?
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ ซีรีส์บทความ ประเทศที่ “เคยรวยกว่า” ไทย ตอน เวเนซุเอลา
┏━━━━━━━━━━━━┓
Blockdit โซเชียลมีเดีย รูปแบบใหม่
ที่มีแต่ความรู้มากมาย
Blockdit.com/download
┗━━━━━━━━━━━━┛
ถ้าถามว่าผู้นำประเทศทำอะไรผิด นอกจากคอร์รัปชัน อาจเป็นสิ่งที่ทุกคนนึกไม่ถึง
เรื่องแรกก็คือ “การกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่” หรือ Fixed Exchange Rate
จุดเริ่มต้นหายนะของประเทศนี้ เริ่มในช่วงปี 1964 - 1983 ซึ่งเป็นช่วงที่รัฐบาลเวเนซุเอลาได้กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่
โดยตั้งค่าเงินของประเทศไว้สูงกว่าความเป็นจริงเป็นระยะเวลานาน
ซึ่งเรียกในทางเศรษฐศาสตร์ว่า Prolonged Currency Overvaluation
สาเหตุสำคัญคือ ในช่วงทศวรรษ 1970 เป็นช่วงที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกพุ่งสูงอย่างมาก
น้ำมันเป็นสินค้าส่งออกหลักในระบบเศรษฐกิจของเวเนซุเอลา
รัฐบาลจึงมีเงินตราต่างประเทศมากพอที่จะกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนคงที่
การที่ค่าเงินสูงกว่าความเป็นจริง ส่งผลให้สินค้านำเข้ามีราคาถูกกว่าความเป็นจริง
เมื่อเป็นเช่นนี้
ชาวเวเนซุเอลาจึงไม่จำเป็นต้องผลิตสินค้าเอง
เอาเงินที่ได้จากการขายน้ำมัน มาจับจ่ายใช้สอยสินค้านำเข้าจากต่างประเทศในราคาถูก
รวมถึงสินค้าฟุ่มเฟือยจากยุโรป และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จากญี่ปุ่น
การใช้จ่ายที่มากเกิน ทำให้อัตราการออมของชาวเวเนซุเอลาลดต่ำลง
เพราะเชื่อว่าเขาจะมีอำนาจซื้อสินค้าคุณภาพดีจากทั่วโลกแบบนี้ไปเรื่อยๆ
เมื่อเป็นเช่นนี้การลงทุนภาคเอกชนของเวเนซุเอลาก็แทบไม่เกิดขึ้น..
ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว การลงทุนภาคเอกชน คือปัจจัยสำคัญที่จะพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตในระยะยาว
ตลอดเวลาในช่วงทศวรรษ 1970 อัตราการลงทุนภาคเอกชนของเวเนซุเอลา อยู่ที่อัตราต่ำกว่า 25% ของ GDP
ปัจจัยที่ทำให้อัตราการลงทุนต่ำ มีหลายสาเหตุ ทั้งอัตราการออมต่ำ และภาคเอกชนไม่มั่นใจในระบบเศรษฐกิจของประเทศ ลงทุนผลิตอะไรไป ก็อาจขายไม่ออก
แม้การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศได้ราคาถูก จะทำให้วัตถุดิบมีราคาถูกไปด้วย แต่สินค้าสำเร็จรูปก็มีราคาถูกไม่แพ้กัน
นั่นหมายความว่า หากเอกชนสักแห่งต้องการลงทุนตั้งโรงงานผลิตสินค้า เช่น สบู่ หรือเสื้อผ้า
ต้องมั่นใจว่าจะสามารถผลิตออกมาแล้วสามารถแข่งขันกับสินค้านำเข้าได้
แต่อีกสิ่งหนึ่งที่ทำลายบรรยากาศการลงทุนภาคเอกชนอย่างมากก็คือ นโยบายประชานิยมของรัฐบาล..
เมื่อน้ำมันมีราคาสูง รัฐบาลได้ใช้เงินอย่างมหาศาลไปกับการลงทุนในสาธารณูปโภค สร้างถนน สร้างเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้า กำหนดราคาพลังงานในราคาถูก เพิ่มเงินเดือนให้ข้าราชการ และจ้างข้าราชการเพิ่มเป็นจำนวนมาก
รวมไปถึงการออกกฎหมายแรงงาน ทั้งการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ และการปกป้องแรงงาน
หากนายจ้างจะพักงานหรือไล่ลูกจ้างจากงาน จะต้องเสียค่าชดเชยสูงมาก
เมื่อฝั่งนายจ้างต้องแบกรับค่าแรงที่สูง แต่แลกมากับแรงงานไร้ประสิทธิภาพที่ไม่สามารถไล่ออกได้ บวกกับผลิตสินค้าออกมาก็ไม่สามารถสู้ราคากับสินค้านำเข้าได้
สิ่งที่เกิดขึ้น ภาคเอกชนจึงเลือกที่จะไม่ผลิตอะไรเลย
ประสิทธิภาพในภาคการผลิตของประเทศนี้จึงลดลงเรื่อยๆ
สินค้าในท้องตลาดของเวเนซุเอลา ส่วนใหญ่จึงเป็นสินค้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ
โดยรายได้หลักของประเทศ มาจากการส่งออกน้ำมัน ซึ่งคิดเป็น 95% ของสินค้าส่งออกทั้งหมด
ทุกอย่างพึ่งพิงน้ำมันเพียงอย่างเดียว ทำให้เรื่องนี้เป็นเหมือนระเบิดเวลาที่นับถอยหลังรอวันหายนะ
แล้วสิ่งนั้นก็เกิดขึ้น
ราคาน้ำมันลดต่ำลง
จากราคา 35.5 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อบาร์เรล ในปี 1980
ลดลงอยู่ที่ 13.5 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อบาร์เรล ในปี 1985
ในขณะที่อัตราการลงทุนภาคเอกชนก็ลดต่ำลงเรื่อยๆ
จาก 25% ของ GDP ในช่วงทศวรรษ 1970
เหลือไม่ถึง 15% ของ GDP ในช่วงทศวรรษ 1980
ในช่วงแรก บริษัทน้ำมันของรัฐยังมีกำไรหลงเหลืออยู่ รัฐบาลจึงยังมีเงินมาใช้จ่ายในสวัสดิการต่างๆ แต่เนื่องจากปัญหาคอร์รัปชันที่ฝังรากลึก รวมกับโครงการประชานิยมมากมาย
ท้ายที่สุด รัฐบาลก็ต้องไปขอกู้เงินจาก IMF
แต่ IMF ไม่ให้กู้ง่ายๆ IMF ย่อมต้องอยากได้เงินต้นคืน ซึ่งต้องมีเงื่อนไขให้รัฐบาลที่กู้ปฏิบัติตาม
ดังนั้น รัฐบาลเวเนซุเอลาจึงจำเป็นต้องมีมาตรการปรับเปลี่ยนนโยบายทางเศรษฐกิจ
คือการควบคุมค่าใช้จ่าย ลดสวัสดิการ และลดค่าเงินเพื่อสะท้อนกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
การลดค่าเงินในตอนนั้น ทำให้ค่าเงินโบลิวาร์อ่อนค่าลงทันที
สินค้านำเข้าที่เคยมีราคาถูกจึงมีราคาสูงขึ้นหลายเท่าตัว
สิ่งที่เกิดขึ้นทันทีก็คือ “ภาวะเงินเฟ้อ”
อัตราเงินเฟ้อปี 1985 อยู่ที่ระดับ 11.4%
อัตราเงินเฟ้อปี 1989 อยู่ที่ระดับ 84.5%
ภาวะเงินเฟ้อส่งผลร้ายแรง จนก่อให้เกิดการจลาจลในปี 1989 จนมีผู้เสียชีวิตกว่า 300 คน
และเมื่อไม่ตัดสวัสดิการกับคนส่วนใหญ่
ปัญหาที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ ความเหลื่อมล้ำ..
ความเหลื่อมล้ำเป็นปัญหาที่มีมานานในสังคมเวเนซุเอลา
การคอร์รัปชันอย่างหนัก ทำให้รายได้หลักจากน้ำมันตกอยู่ในมือของกลุ่มผู้นำ ข้าราชการ และเครือข่ายเอกชนที่ใกล้ชิดกับรัฐบาล
ผลลัพธ์ก็คือ ประเทศเวเนซุเอลามีผู้ที่อยู่ต่ำกว่าเส้นความยากจนถึง 55.6% ของประชากรทั้งประเทศ ในปี 1997
ซึ่งจริงๆ แล้วในจุดนั้น ถ้ารัฐบาลเลือกเดินทางที่ถูกต้อง ก็น่าจะแก้ปัญหาได้ และไม่สายเกินไป
แต่เหมือนโชคชะตาทำให้ประเทศนี้ต้องกลับไปเดินในทางที่ผิดอีกครั้ง..
ในปี 1998 ประชาชนได้เลือก อูโก ชาเบซ นักการเมือง “ขวัญใจคนจน” ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดี
ช่วงเวลานั้นทุกอย่างเป็นใจให้เวเนซุเอลา ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกพุ่งสูงอย่างต่อเนื่อง
จากราคา 12.3 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อบาร์เรล ในปี 1998
เพิ่มมาที่ 105.9 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อบาร์เรล ในปี 2013
ความได้เปรียบจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้รัฐบาลใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยอีกครั้ง ทั้งสวัสดิการต่างๆ และการนำเข้าสินค้า
โครงสร้างทางเศรษฐกิจที่บิดเบี้ยวอยู่แล้ว
ถูกซ้ำเติมด้วยการกำหนดราคาสินค้าพื้นฐานในระดับต่ำ ทำให้ภาคเอกชนยิ่งอยู่ไม่ได้
การลงทุนภาคเอกชนลดลงไปมากกว่าเดิม จนอยู่ต่ำกว่า 10% ของ GDP ในช่วงทศวรรษ 2000
จำนวนบริษัทเอกชนที่ประกอบธุรกิจกว่า 13,000 แห่ง ในปี 1999
เหลือเพียง 4,000 แห่ง ในปี 2016
บัดนี้ เวเนซุเอลาต้องนำเข้าแม้แต่สินค้าพื้นฐาน อย่างอาหารและยา
นอกจากนั้น รัฐบาลยังได้ทำการยึดเปโตรเลออส เดอ เวเนซุเอลา บริษัทผู้ผลิตน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ มาเป็นของรัฐบาล
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลขาดการลงทุนในระบบการผลิตและสำรวจ ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตน้ำมันลดลงอย่างต่อเนื่อง
และแล้ว ประธานาธิบดีชาเบซก็จากไปในปี 2013
โดยมีผู้สืบทอดตำแหน่ง คือ ประธานาธิบดีนิโคลัส มาดูโร
มรดกของประเทศที่บิดเบี้ยวถูกทิ้งไว้ให้ มาดูโร พร้อมกับฝันร้ายครั้งใหญ่สุดของประเทศนี้ที่กำลังจะเกิดขึ้น
ในปี 2016 ราคาน้ำมันลดลงอย่างหนักมาอยู่ที่ระดับ 40.7 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อบาร์เรล
แล้วทุกอย่างก็วนมาที่ลูปเดิม และหนักกว่าเดิม..
เวเนซุเอลาเผชิญภาวะเงินเฟ้ออย่างหนัก เพราะรัฐบาลแทบไม่เหลือเงินตราต่างประเทศแล้ว
ค่าเงินโบลิวาร์จึงอ่อนค่าลงอย่างรุนแรง
ในขณะที่สินค้าแทบทุกอย่าง จำเป็นต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
อัตราเงินเฟ้อ ปี 2017 อยู่ที่ระดับ 493.6%
อัตราเงินเฟ้อ ปี 2018 อยู่ที่ระดับ 929,789.5%
อัตราเงินเฟ้อ ปี 2019 คาดว่าอยู่ที่ระดับ 10,000,000%
ลองนึกภาพว่าถ้าเราตื่นขึ้นมา ทุกคนไม่ว่าจะเป็น หมอ ครู วิศวกร นักบิน พนักงาน ทุกๆ คนในประเทศนี้ เงินที่ฝากอยู่ในบัญชีธนาคารไม่มีค่า ทุกอย่างกลายเป็นศูนย์ เอาเงินไปซื้ออะไรก็ไม่ได้
สิ่งที่ตามมาก็คือ ประชาชนกว่า 4.5 ล้านคนต้องอพยพออกนอกประเทศ
และประชาชนที่อยู่ในประเทศก็แทบไม่เหลืออะไร
ไม่เหลือแม้แต่ความหวัง..
เรื่องราวทั้งหมดคือบทเรียนของประเทศ ซึ่งครั้งหนึ่งเคย “รวย” กว่าไทย ถึง 11 เท่า
แต่ในวันนี้กลับกลายเป็นประเทศล้มละลาย
ซึ่งเราคนไทยสามารถเรียนรู้เพื่อไม่ให้ประเทศเดินทางไปสู่จุดนั้น
นอกจากเวเนซุเอลาแล้ว
ยังมีอีก 1 ประเทศในทวีปแอฟริกา ที่ประสบปัญหาเงินเฟ้อรุนแรงเช่นเดียวกัน
ทั้งที่ประเทศนี้ก็อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่ามากมาย
ประเทศที่ชื่อว่า “สาธารณรัฐซิมบับเว”..
ติดตาม ซีรีส์ ประเทศที่ “เคยรวยกว่า” ไทย ตอนต่อไปได้ในสัปดาห์หน้า
โหลดแอป Blockdit เพื่ออ่านซีรีส์ตอนก่อนหน้านี้ ได้ที่ Blockdit.com/download
┏━━━━━━━━━━━━┓
Blockdit โซเชียลมีเดีย รูปแบบใหม่
ที่มีแต่ความรู้มากมาย
Blockdit.com/download
┗━━━━━━━━━━━━┛
References
-Inflation and hyperinflation in Venezuela (1970s-2016), Marta Kulesza
-เล่าเรื่องเมืองน้ำมัน, ดร.ไสว บุญมา
-https://en.wikipedia.org/…/List_of_countries_by_past_and_pr…
-https://fred.stlouisfed.org/series/FXRATEVEA618NUPN
-https://www.statista.com/…/change-in-opec-crude-oil-prices…/
-https://data.worldbank.org/indicator/NE.GDI.FPRV.ZS…
-https://data.worldbank.org/indicator/SI.POV.NAHC…
-https://www.statista.com/…/371…/inflation-rate-in-venezuela/
ประเทศในทวีปแอฟริกา 在 ️ปรับมาตรการการเดินทางเข้าราชอาณาจักร ประเทศในทวีปแอฟริกา ... 的推薦與評價
หรือเดินทางไปยัง ประเทศในทวีปแอฟริกา 8 ประเทศ ในช่วง 21 วัน ก่อนเข้าราชอาณาจักรไทย ได้แก่ Botswana / Eswatini / Lesotho / Malawi / Mozambique / Namibia / South ... ... <看更多>
ประเทศในทวีปแอฟริกา 在 จีน-สหรัฐฯ ขยับรักษาอิทธิพลในทวีปแอฟริกา | TNNข่าวเที่ยง 10-1-66 的推薦與評價
สัปดาห์นี้ รัฐมนตรีต่าง ประเทศ จีนคนใหม่เดินทางเยือนหลายชาติ แอฟริกา เป็นจุดหมายปลายทางแรก หลังเข้ารับตำแหน่ง ... ... <看更多>