ล้วงลึก “โมเดลธุรกิจ” และ “รายได้” วงการ “KOL” ในแต่ละแพลตฟอร์มออนไลน์ “จีน”
.
คอลัมน์: ปากตลาดจีน BY อ้ายจง
ผู้เขียน: ภากร กัทชลี อาจารย์ประจำภาควิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
.
จากบทความ KOL คราวที่แล้ว มีคำถามถามไถ่อ้ายจงมาว่า “KOL แพลตฟอร์ม และ ตัวเจ้าของสินค้า มีโมเดลรายได้ระหว่างกันอย่างไรบ้าง?” ฉะนั้น วันนี้อ้ายจงขออาสามาล้วงลึก ไขข้อข้องใจนี้ โดยขอโฟกัสไปที่ตลาดประเทศ “จีน”
.
วงการผู้ทรงอิทธิพลทางความคิด หรือ KOL (Key Opinion Leader) กับการซื้อขายสินค้าออนไลน์ ประเทศ “จีน” มียอดเงินจากการขายสินค้าโดย KOL สูงถึง 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2019 และคาดการณ์ว่าจะทะลุไปถึง 2.7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2022 หรืออีก 1 ปีข้างหน้า
.
ในประเทศจีน KOL ที่ขับเคลื่อนวงการอีคอมเมิร์ซหรือการซื้อขายสินค้าออนไลน์มีอยู่ 2 รูปแบบหลักๆ
.
กลุ่มแรก คือ KOL ที่สร้างสรรค์เนื้อหาทั่วไปตามด้านที่ตนเองถนัดและสนใจ พอเป็นที่รู้จัก มีคนติดตามในระดับหนึ่ง ก็เริ่มรับรีวิวสินค้าเพื่อขายทางออนไลน์ ซึ่งกลุ่มนี้พวกเราคงคุ้นเคยเป็นอย่างดี อาจรวมกลุ่มศิลปินดาราเซเลปคนดังเข้าไปด้วย เพราะถือเป็นผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดเช่นกัน โดยเฉพาะกับกลุ่มแฟนคลับของแต่ละคนเอง ถึงขั้นเกิดเป็น “Fan Economy”
.
กลุ่มที่สอง คือ KOL ที่ดังมาจากการรีวิวขายสินค้าออนไลน์โดยเฉพาะ ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในช่วงที่แพลตฟอร์มร้านค้าออนไลน์จีน เถาเป่า (Taobao) ในเครือ Alibaba ได้สร้างฟีเจอร์ไลฟ์สดขึ้นมาบนแพลตฟอร์มในปี 2016
#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน #KOL #จีน #ตลาดจีน #สังคมออนไลน์จีน #Ecommerce #Marketing #ChineseMarketing
ปากตลาดจีน 在 อ้ายจง Facebook 的最讚貼文
เจาะลึกวงการ “KOL” ผู้ทรงอิทธิพลสำคัญที่กระตุ้นเม็ดเงิน “ขายออนไลน์” จีน
.
ผู้เขียน : ภากร กัทชลี อาจารย์ประจำภาควิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
.
จีน ในปี 2020 เกิดการระบาดของโควิดอย่างหนักหน่วง ทุกประเทศต่างได้รับผลกระทบด้านเศรษฐกิจการค้าขาย แต่จีนกลับมีเม็ดเงินจากการค้า "ขายออนไลน์" เพิ่มขึ้นถึง 9 เท่า ส่วนหนึ่งมาจากการทำการตลาดโดยใช้ผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดอย่าง "KOL"
.
ในประเทศจีน ปี 2020 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นปีแรกที่เกิดการระบาดและสถานการณ์หนักหน่วงมาก ในแง่ของเม็ดเงินจากการค้า ขายออนไลน์ กลับเพิ่มขึ้น โดยเพิ่มขึ้น 9 เท่า จากมูลค่า 1.8 แสนล้านดอลลาร์ เป็น 1.7 ล้านล้านดอลลาร์
โดยปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อการซื้อขายสินค้าออนไลน์ คือ การประชาสัมพันธ์และการทำการตลาด โดยใช้ผู้ทรงอิทธิพลทางความคิด หรือ KOL (Key Opinion Leader)
.
ผลสำรวจผู้ทรงอิทธิพลบนสังคมออนไลน์ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในประเทศจีน เดือนตุลาคม ปี 2020 โดย Rakuten Insight เผยให้เห็นว่า 81.8% หรือเกือบ 82% ของผู้ทำแบบสำรวจ ระบุว่า Social media Influencer มีผลโดยตรงต่อการตัดสินใจซื้อ ขณะที่ 17.6% ตอบปฏิเสธ และ 0.5% ไม่เข้าใจว่าหมายถึงอะไร
.
อ่านต่อได้ที่ คอลัมน์ "ปากตลาดจีน BY อ้ายจง" กรุงเทพธุรกิจ
#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน #ปากตลาดจีน #การตลาดจีน
ปากตลาดจีน 在 อ้ายจง Facebook 的最佳解答
บทสรุปวิกฤติ ‘ธุรกิจการศึกษาจีน’ มูลค่าแสนล้านหยวน หลัง ‘รัฐบาลจีน’ จัดระเบียบใหม่
.
เราได้เห็นมูลค่าตลาดการศึกษาจีนโตในอัตรา 20% ขึ้นไป ตั้งแต่ปี 2556 โดยหลังจากนั้นหนึ่งปีก็แตะระดับแสนล้านหยวนเป็นครั้งแรก ธุรกิจการศึกษาทั้งรายเล็กรายใหญ่และสตาร์ทอัพที่มุ่งเน้นทางด้านการศึกษาออนไลน์นอกห้องเรียนปกติ กลายเป็นธุรกิจเนื้อหอม ใครๆ ก็อยากทำ และอยากลงทุน
.
แต่วันหนึ่งฝันร้ายก็มาเยือน เมื่อในวันที่ 24 กรกฎาคม 2564 รัฐบาลจีนออกมาตรการควบคุมธุรกิจการศึกษา โดยเฉพาะติวเตอร์-กวดวิชา-แพลตฟอร์มที่ให้บริการคอร์สเรียนออนไลน์นอกหลักสูตรปกติ ตั้งเป้าควบคุมและจัดระเบียบให้เป็นรูปธรรม ภายในสิ้นปี 2564
"ทำไมต้องจัดระเบียบ?" "จัดระเบียบแล้วยังไงต่อ?" "ทิศทางของธุรกิจสายการศึกษาในจีน หากไปต่อ ควรไปทิศทางไหน?"
เรามาดูคำตอบของคำถามข้างต้นไปพร้อมๆกันในบทความนี้เลยครับ
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/956020
#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน #ปากตลาดจีนBYอ้ายจง
ปากตลาดจีน 在 ทุนจีนเปิดร้านขายดอกไม้ปากคลองตลาด | วันใหม่ ไทยพีบีเอส 的推薦與評價
พูดถึงอาหารการกินตอนนี้ใน ตลาด จะพบว่ามีผักและผลไม้นำเข้าจาก จีน จำนวนมากส่งผลกระทบต่อเกษตรผู้ในบ้านเรา เเละตอนนี้ เริ่มเห็นสินค้าเกษตรอื่นๆ ... ... <看更多>
ปากตลาดจีน 在 คอลัมน์ "ปากตลาดจีน BY อ้ายจง" กรุงเทพธุรกิจ . "มะพร้าว" อีก ... 的推薦與評價
คอลัมน์ "ปากตลาดจีน BY อ้ายจง" กรุงเทพธุรกิจ . "มะพร้าว" อีกหนึ่งผลไม้ไทยที่สร้างมูลค่ามหาศาลใน "ตลาดจีน" . เขียนโดย: ภากร กัทชลี (อ้ายจง)... ... <看更多>