"สิทธิของผู้สูงอายุที่รับรองโดยรัฐธรรมนูญ"
หมายเหตุ ที่มาของเอกสารเป็นส่วนหนึ่งของรายงานวิจัย เรื่อง การจัดสวัสดิการผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลคลองแงะ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา โดย สิทธิกร ศักดิ์แสงและคณะ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ในฐานะเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศได้บัญญัติรองรับสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลไว้ เพื่อให้ หน่วยงานต่าง ๆ รับผิดชอบดำเนินการตามกรอบที่รัฐธรรมนูญกำหนด ซึ่งมีผลครอบคลุมถึงผู้สูงอายุ ให้ได้รับสิทธิดังกล่าวด้วย ดังนี้
1.1 การรับรองสิทธิและเสรีภาพ
มาตรา 27 ของรัฐธรรมนูญฯ กำหนดให้หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบ โดยตรงต่อภารกิจทั้งหลายต้องดำเนินการตรากฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ในด้านต่าง ๆ ให้สามารถดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ตามภารกิจที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทยกำหนดต่อไป ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวทั้งในส่วนที่ระบุถึงผู้สูงอายุโดยตรง และบทบัญญัติที่ไม่ได้ ระบุไว้โดยตรงแต่ใช้กับผู้สูงอายุด้วยนั้น ย่อมส่งผลให้รัฐต้องตรากฎหมายเพื่อให้ความคุ้มครองสิทธิ ต่าง ๆ ของผู้สูงอายุให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญต่อไป ซึ่งสามารถพิจารณาได้ ดังนี้
1.สิทธิได้รับการส่งเสริม สนับสนุน และช่วยเหลือจากรัฐ (มาตรา 28 วรรคสี่ ของรัฐธรรมนูญฯ) เป็นบทบัญญัติรับรองสิทธิของบุคคลทุกคนให้มีสิทธิได้รับการส่งเสริม สนับสนุน และช่วยเหลือจากรัฐในการใช้สิทธิตามความในหมวดนี้ ซึ่งส่งผลทำให้ผู้สูงอายุได้รับความคุ้มครอง สิทธิดังกล่าวด้วยเช่นกัน
2. ความเสมอภาคหรือสิทธิเท่าเทียมกันตามกฎหมาย (มาตรา 30 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญฯ) เป็นบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองบุคคลทุกคนตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่จำกัดเชื้อชาติ ศาสนา เพศและอายุ ซึ่งครอบคลุมถึงผู้สูงอายุด้วย
3. สิทธิในกระบวนการยุติธรรม (มาตรา ๔๐ (๖) ของรัฐธรรมนูญฯ) เป็นบทบัญญัติ รับรองสิทธิของผู้สูงอายุโดยเฉพาะในกระบวนการยุติธรรม เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับความคุ้มครองในการ ดำเนินกระบวนพิจารณาคดีและได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสมในคดีที่เกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศ
4. สิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพ (มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฯ) เป็นบทบัญญัติรับรองสิทธิของบุคคลโดยได้รับหลักประกันความปลอดภัยและสวัสดิภาพในการทำงาน รวมทั้งหลักประกันในการดำรงชีพทั้งในระหว่างการทำงานและเมื่อพ้นภาวะการทำงานตามที่ กฎหมายบัญญัติ โดยจะเห็นได้จากการตรากฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ดังกล่าวเพื่อคุ้มครองผู้ประกอบอาชีพต่าง ๆ เช่น กฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการต่าง ๆ หรือกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม เป็นต้น ล้วนแล้วแต่มีผลทำให้ผู้สูงอายุที่เป็นข้าราชการมีรายได้ เมื่อเกษียณอายุราชการ หรือผู้สูงอายุที่เป็นพนักงานเอกชนเมื่อมีอายุหกสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป และพ้นตำแหน่งมีหลักประกันในการดำรงชีพต่อไปฝ
5. สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขและสวัสดิการจากรัฐ (มาตรา 51 มาตรา 53 และมาตรา 55 ของรัฐธรรมนูญฯ) เป็นบทบัญญัติที่ส่งผลทำให้รัฐต้องให้ความคุ้มครอง เพื่อให้บุคคลทุกคนมีสิทธิเสมอกันในการได้รับบริการทางสาธารณสุขที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ ซึ่งครอบคลุมถึงผู้สูงอายุที่ได้รับสิทธินี้ด้วย และมีการกำหนด หลักเกณฑ์เกี่ยวกับอายุและรายได้ของบุคคลในการจัดสวัสดิการและสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็น สาธารณะอย่างสมศักดิ์ศรี และให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสมแก่บุคคลซึ่งมีอายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์ และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ ซึ่งบทบัญญัตินี้เองแสดงให้เห็นได้ว่า ผู้สูงอายุ หมายถึง บุคคล ที่มีอายุหกสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป นอกจากนี้ ยังให้ความคุ้มครองบุคคลซึ่งไร้ที่อยู่อาศัยและไม่มีรายได้ เพียงพอแก่การยังชีพมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐซึ่งครอบคลุมถึงผู้สูงอายุด้วย
1.2 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
1. ส่วนที่ 4 แนวนโยบายด้านศาสนา สังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม มาตรา 80 (1) ของรัฐธรรมนูญฯ เป็นบทบัญญัติที่กำหนดชัดเจนสำหรับผู้สูงอายุ ให้ได้รับการสงเคราะห์และจัดสวัสดิการ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและพึ่งพาตนเองได้ ซึ่งแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่ารัฐได้ตระหนักถึงความสำคัญในการจัดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุ
2. ส่วนที่ 5 แนวนโยบายด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม มาตรา 84 (4) ของรัฐธรรมนูญฯ เป็นบัญญัติที่กำหนดให้รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ โดยจัดให้ มีการออมเพื่อการดำรงชีพในยามชราแก่ประชาชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างทั่วถึง
ทั้งนี้ เนื่องจาก พัฒนาการทางวิทยาศาสตร์การแพทย์สามารถทำให้มนุษย์มีสุขภาพดีและมีอายุยืนยาวขึ้น ทำให้ ในปัจจุบันผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นจนกลายเป็นประชากรส่วนใหญ่ของสังคม ดังนั้น การส่งเสริม การออมเพื่อการดำรงชีพในยามชราจึงมีความจำเป็นเพื่อแบ่งเบาภาระของรัฐในการให้ความช่วยเหลือ แก่ผู้สูงอายุ
อีกทั้งยังช่วยลดภาระหน้าที่ของรัฐที่กำหนดในมาตรา 53 ของรัฐธรรมนูญฯ ที่บัญญัติให้ รัฐต้องให้ความช่วยเหลือและจัดสวัสดิการที่เหมาะสมให้แก่ผู้มีอายุเกินหกสิบปีที่ไม่มีรายได้เพียงพอ แก่การยังชีพได้ด้วย กล่าวคือ หากประชาชนมีการออมเพื่อการดำรงชีพในยามชราอย่างเพียงพอ จนกระทั่งเข้าสู่วัยผู้สูงอายุและมีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพแล้ว รัฐก็จะรับภาระในการให้ความ ช่วยเหลือและจัดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุลดลง
「ผู้สูงอายุ หมายถึง」的推薦目錄:
ผู้สูงอายุ หมายถึง 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
บทที่ 15 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ
องค์กรตามรัฐธรรมนูญ (Organization Under Constitution) เกิดขึ้นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 เรียกว่า "องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ" (Independent Organization Under Constitution) ซึ่งได้รับแนวคิดจากประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศฝรั่งเศส เป็นต้น องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญที่เกิดขึ้นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ประกอบด้วย คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน โดยตราเป็นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ส่วนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตราเป็นพระราชบัญญัติ เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) องค์กรเหล่านี้ก็ได้ถูกยกเลิกไปด้วย ต่อมารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 (ฉบับปัจจุบัน) ได้เพิ่มองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญขึ้นมาอีกกลุ่มประเภทหนึ่งจัดอยู่ในหมวดขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ มีวิชาการถือว่าองค์กรดังกล่าวใช้อำนาจในทางบริหารที่เป็นอิสระจากการกำกับดูแลของรัฐบาล
องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ หมายถึง องค์กรของรัฐที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการเกี่ยวกับภารกิจของรัฐตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมายโดยองค์กรของรัฐที่มีฐานะพิเศษซึ่งได้รับหลักประกันให้สามารถปฏิบัติภารกิจที่ได้โดยอิสระ ปลอดพ้นจากการแทรกแซงขององค์กรของรัฐอื่นหรือสถาบันทางการเมืองอื่นๆ รวมทั้งอยู่เหนือกระแสและการกดดันใดๆที่เกิดขึ้นภายในสังคมในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ดังนั้นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญผู้เขียนเห็นว่ามีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง ดังนี้
1.มีความจำเป็นที่ต้องมีองค์กรที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและเพื่อเยียวยาปัญหาของประชาชน จากการใช้อำนาจรัฐหรือการกระทำของบุคคลและการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เนื่องจากการใช้กลไกทางศาลอาจมีข้อจำกัดบางประการ เพราะจะต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาล รวมไปถึงการที่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการฟ้องร้องและการดำเนินคดีในศาลด้วย
2. มีความจำเป็นต้องมีกลไลตรวจสอบเกี่ยวกับความสุจริตในการใช้อำนาจรัฐและตรวจสอบเกี่ยวกับการใช้อำนาจรัฐ
3. มีความจำเป็นต้องมีกลไกในการควบคุมตรวจสอบที่จะลดและขจัดการซื้อเสียงและเปิดโอกาสให้คนดี มีคุณภาพ คุณธรรมเข้าสู่ระบบการเมือง
4.มีความจำเป็นต้องมีกลไกในการเสริมสร้างระบบการเมืองและพรรคการเมืองที่มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ
5. มีความจำเป็นต้องมีกลไกที่มีความเป็นอิสระและเป็นกลาง สามารถดำรงความยุติธรรมในการปฏิบัติหน้าที่
ซึ่งในปัจจุบันรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 บัญญัติไว้ให้มีองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญกับองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ ดังนี้
1. องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ (Independent Organization Under Constitution) ที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ประกอบด้วย คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งองค์กรเหล่านี้ถือเป็นองค์กรสำคัญที่ต้องมีการตรากฎหมายเป็นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ) ซึ่งถ้ารัฐธรรมนูญสิ้นผลไปพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจองค์กรเหล่านี้ก็สิ้นผลไปด้วย
1.1 คณะกรรมการการเลือกตั้ง
คณะกรรมการการเลือกตั้ง เป็นองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ควบคุมการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 กำหนดให้มีคณะกรรมการการเลือกตั้ง (Election Commission of Thailand) ไว้ในหมวด 11 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ ส่วนที่ 1 คณะกรรมการการเลือกตั้ง มีโครงสร้างและองค์ประกอบ อำนาจหน้าที่และการควบคุมการใช้อำนาจดังนี้
1.1.2 โครงสร้างและองค์ประกอบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
โครงสร้างและองค์ประกอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งจะประกอบด้วยที่มาของคณะกรรมการการเลือกตั้งกับหน่วยงานของคณะกรรมการการเลือกตั้งดังนี้
1.1.1.1 ที่มาของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้กำหนดให้กรรมการการเลือกตั้งมีที่มา ประกอบด้วยประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการอื่นอีก 4 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา จากผู้ซึ่งมีความเป็นกลางทางการเมืองและมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ มีวิธีการสรรหาและการเลือกประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ให้ดำเนินการดังนี้
1.ให้มีคณะกรรมการสรรหากรรมการการเลือกตั้งจำนวน 7 คน ซึ่งประกอบด้วยประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร บุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาคัดเลือกจำนวน 1 คน และบุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ในศาลปกครองสูงสุดคัดเลือกจำนวน 1 คน เป็นกรรมการทำหน้าที่สรรหาผู้มีคุณสมบัติเป็นกรรมการเลือกตั้ง จำนวน 3 คนเสนอต่อประธานวุฒิสภา
2.ให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาพิจารณาสรรหาผู้มีคุณสมบัติเป็นกรรมการการเลือกตั้ง จำนวน 2 คน
3.ให้ผู้ได้รับเป็นกรรมการการเลือกตั้งประชุมและเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธานกรรมการการเลือกตั้งและแจ้งผลให้ประธานวุฒิสภาทราบและให้ประธานวุฒิสภานำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งต่อไป กรรมการการเลือกตั้งมีวาระการดำรงตำแหน่ง 7 ปี นับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งและให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว กรรมการการเลือกตั้งซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการเลือกตั้งซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่จะเข้ารับหน้าที่
1.1.1.2 หน่วยงานในการบริหารงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีหน่วยงานในการบริหารงาน คือ ให้มีสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นหน่วยงานที่เป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณและการดำเนินการอื่น ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ คือ
1.มีประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งวุฒิสภา พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พระระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติและกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นและเป็นนายทะเบียนพรรคการเมือง
1.1.2 อำนาจหน้าที่ของคณะกรรการการเลือกตั้ง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้กำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง มีอำนาจเสนอร่างกฎหมายได้และควบคุมและดำเนินการจัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้งหรือการสรรหาตัวแทนประชาชน ดังนี้
1.1.2.1 การเสนอร่างกฎหมาย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้กำหนดคณะกรรมการการเลือกตั้งมีสิทธิเสนอร่างกฎหมาย ได้ดังนี้
1. เสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้น เช่น เสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งวุฒิสภา ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติเป็นต้น
2.เสนอร่างพระราชบัญญัติที่ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติ เช่น เสนอร่างพระราบัญญัติว่าด้วยการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น เป็นต้น
1.1.2.2 การควบคุมควบคุมและดำเนินการจัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้งหรือการสรรหาตัวแทนประชาชน
คณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้ควบคุมและดำเนินการจัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้งหรือการสรรหาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นแล้วแต่กรณี รวมทั้งการออกเสียงประชามติให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม โดยมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1.ออกประกาศหรือวางระเบียบกำหนดการทั้งหลายอันจำเป็นแก่การปฏิบัติตามกฎหมาย รวมทั้งวางระเบียบเกี่ยวกับการหาเสียงเลือกตั้งและการดำเนินการใดๆของพรรคการเมือง ผู้สมัครรับเลือกตั้งและผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เพื่อให้เป็นไปให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมและกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินการของรัฐในการสนับสนุนให้การเลือกตั้งมีความเสมอภาคและมีโอกาสทัดเทียมกันในการหาเสียงเลือกตั้ง
2.วางระเบียบเกี่ยวกับข้อห้ามในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ขณะอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในการให้มีการเลือกตั้งใหม่โดยคำนึงการรักษาผลประโยชน์ของรัฐและคำนึงถึงความสุจริต เที่ยงธรรม ความเสมอภาคและโอกาสทัดเทียมในการเลือกตั้ง
3.กำหนดมาตรการและการควบคุมการบริจาคเงินให้แก่พรรคการเมือง การสนับสนุนทางการเงินโดยรัฐ การใช้จ่ายเงินของพรรคการเมืองและผู้สมัครรับเลือกตั้ง รวมทั้งการตรวจสอบบัญชีทางการเงินของพรรคการเมืองโดยเปิดเผยและการควบคุมการจ่ายเงินหรือรับเงินเพื่อประโยชน์ในการลงคะแนนเลือกตั้ง
4.มีคำสั่งให้ข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐปฏิบัติการทั้งหลายอันจำเป็นตามกฎหมายเลือกตั้ง กฎหมายพรรคการเมือง กฎหมายการลงประชามติ
5.สืบสวนสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาหรือข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นตามกฎหมายกฎหมายเลือกตั้ง กฎหมายพรรคการเมือง กฎหมายการลงประชามติ
6.สั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือออกเสียงประชามติใหม่ในหน่วยเลือกตั้งใดหน่วยเลือกตั้งหนึ่งหรือทุกหน่วยเลือกตั้งนั้นๆมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
7.ประกาศผลการเลือกตั้ง ผลการสรรหาและผลการออกเสียงประชามติ
8.ส่งเสริมและสนับสนุนหรือประสานงานกับหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือสนับสนุนองค์การเอกชนในการให้การศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน
9.ดำเนินการอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ คือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พระระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ที่ออกตามมาตรา 138 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 และกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นและเป็นนายทะเบียนพรรคการเมือง
10.ดำเนินการเรียกเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำ ตลอดจนขอให้พนักงานอัยการ พนักงานสอบสวน หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่น ดำเนินการเพื่อประโยชน์แห่งการปฏิบัติหน้าที่
11.แต่งตั้งบุคคล คณะบุคคลหรือผู้แทนองค์การเอกชนเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่มอบหมาย
1.1.3 การถ่วงดุลการใช้อำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
การถ่วงดุลการใช้อำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อไม่ให้คณะกรรมการเลือกตั้งใช้อำนาจเกินกรอบหรือขอบเขตของกฎหมาย ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 จึงได้กำหนดให้มีการถ่วงดุลการใช้อำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ดังนี้
1.1.3.1 การถ่วงดุลการเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง
ในกรณีที่ประกาศผลการเลือกตั้งแล้ว ถ้าคณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่าควรให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภาผู้ใด ให้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัย เมื่อศาลฎีกาได้รับคำร้องของคณะกรรมการการเลือกตั้งแล้ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาผู้นั้นจะปฏิบัติหน้าที่ต่อไปไม่ได้ จนกว่าศาลฎีกาจะมีคำสั่งยกคำร้อง ในกรณีที่ศาลฎีกามีคำสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ในเขตเลือกตั้งใดหรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาผู้ใด ให้สมาชิกสภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาในเขตเลือกตั้งนั้นสิ้นสุดลง
1.1.3.2 การถ่วงดุลการคัดค้านการสรรหาวุฒิสภา
ในกรณีที่คัดค้านว่าการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาผู้ใดเป็นไปโดยไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าก่อนได้รับการสรรหากระทำที่ไม่สุจริตเพื่อให้ตนเองได้รับการสรรหา ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการสืบสวนสอบสวนโดยพลัน และเมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งได้วินิจฉัยสั่งการเป็นอย่างใดแล้วให้เสนอต่อศาลฎีกาเพื่อพิจารณาวินิจฉัย เมื่อศาลฎีกาได้รับคำร้องของคณะกรรมการการเลือกตั้งแล้ว สมาชิกวุฒิสภาที่ได้รับการสรรหาผู้นั้นจะปฏิบัติหน้าที่ต่อไปไม่ได้ จนกว่าศาลฎีกาจะมีคำสั่งยกคำร้อง ในกรณีที่ศาลฎีกามีคำสั่งเพิกถอนสิทธิสมาชิกวุฒิสภาที่ได้รับการสรรหาผู้ใด ให้สมาชิกสภาพของสมาชิกสมาชิกวุฒิสภาที่ได้รับการสรรหานั้นสิ้นสุดลง และให้ดำเนินการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาใหม่แทนตำแหน่งที่ว่างลง
1.1.4 การควบคุมการใช้อำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้กำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอิสระในการดำเนินการจัดการเลือกตั้ง หรือการสรรหาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่น แล้วแต่กรณี แต่อย่างไรก็ตามก็มีการควบคุมการใช้อำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ดังนี้
1.1.4.1 การควบคุมคุณสมบัติของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
การควบคุมกรรมการการเลือกตั้ง โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภาหรือสมาชิกของทั้งสองสภารวมกัน มีจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานรัฐสภาว่ากรรมการการเลือกตั้งคนใดคนหนึ่งขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 230 และให้ประธานรัฐสภาส่งคำร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญภายใน 3 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
1.1.4.2 การควบคุมโดยการเสนอถอดถอนคณะกรรมการการเลือกตั้งออกจากตำแหน่งโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
การควบคุมโดยการเสนอถอดถอนคณะกรรมการการเลือกตั้งออกจากตำแหน่ง จากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภาว่าคณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ใดมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงโดยให้ประธานวุฒิสภาส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติไต่สวนทำรายงานมีมติไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่เสนอต่อวุฒิสภาเพื่อให้วุฒิสภามีมติไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภาให้พ้นจากตำแหน่ง
1.1.4.3 การควบคุมโดยการเสนอถอดถอนคณะกรรมการการเลือกตั้งออกจากตำแหน่งโดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
การควบคุมโดยการเสนอถอดถอนคณะกรรมการการเลือกตั้งออกจากตำแหน่ง จากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 20,000 คน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภาว่าคณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ใดมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงโดยให้ประธานวุฒิสภาส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติไต่สวนทำรายงานมีมติไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่เสนอต่อวุฒิสภาเพื่อให้วุฒิสภามีมติไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภาให้พ้นจากตำแหน่ง
1.1.4.4 การดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง
การดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 4ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรหรือประชาชนไม่น้อยกว่า 20,000 คน เข้าชื่อต่อประธานวุฒิสภาเพื่อให้ดำเนินการถอดถอนและให้ประธานวุฒิสภาส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติดำเนินการไต่สวน ทำรายงานมีมติไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ส่งไปยังอัยการสูงสุดเพื่อส่งฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต่อไป
1.1.4.5 การควบคุมการใช้อำนาจทางปกครองหรือการดำเนินกิจการทางปกครองของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการเลือกตั้ง พ.ศ. 2551 มาตรา 22 กำหนดให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับการใช้อำนาจทาปกครองหรือการดำเนินกิจการทางปกครองของคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเท่านั้นที่อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง ซึ่งไม่รวมถึงการวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการเลือกตั้งที่เป็นการใช้อำนาจโดยตรงตามรัฐธรรมนูญ
1.2 ผู้ตรวจการแผ่นดิน
ผู้ตรวจการแผ่นดิน เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่พิจารณาและสอบสวนข้อเท็จจริงตามคำร้องเรียนในกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือปฏิบัตินอกเหนืออำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่นที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องเรียนหรือประชาชน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 กำหนดให้มีผู้ตรวจการแผ่นดิน (Ombusman) ไว้ในหมวด 11 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ ส่วนที่ 1 ผู้ตรวจการแผ่นดิน ซึ่งมีโครงสร้างและองค์ประกอบ อำนาจหน้าที่และการควบคุมการใช้อำนาจดังนี้
1.2.1 โครงสร้างและองค์ประกอบของผู้ตรวจการแผ่นดิน
โครงสร้างและองค์ประกอบของผู้ตรวจการแผ่นดิน จะกล่าวถึงที่มาของผู้ตรวจการแผ่นดินและหน่วยงานการบริหารงานของผู้ตรวจการแผ่นดิน ดังนี้
1.2.1.1 ที่มาของผู้ตรวจการแผ่นดิน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้กำหนดให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมีที่มาและวิธีการสรรหาผู้ตรวจการแผ่นดิน ดังนี้
1.การสรรหาและเลือกผู้ตรวจการแผ่นดิน ให้มีคณะกรรมการสรรหา 7 คน ประกอบด้วยศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร บุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาคัดเลือกจำนวน 1 คนและบุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดคัดเลือกจำนวน 1 คน ทำหน้าที่สรรหาผู้ตรวจการแผ่นดิน จำนวน 3 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา จากผู้ซึ่งเป็นที่ยอมรับนับถือของประชาชน มีความรอบรู้และมีประสบการณ์ในการบริหารราชการแผ่นดิน การบริหารวิสาหกิจหรือกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ร่วมกันของสาธารณะและมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์
2.ให้ผู้ที่ได้รับเลือกเป็นผู้ตรวจการแผ่นดินประชุมและเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธานผู้ตรวจการแผ่นดินแล้วแจ้งผลให้ประธานวุฒิสภาทราบโดยประธานวุฒิสภาเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานผู้ตรวจการแผ่นดินและผู้ตรวจการแผ่นดิน ซึ่งผู้ตรวจการแผ่นดินมีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งและให้ดำรงตำแหน่งวาระเดียว
1.2.1.2 หน่วยงานการบริหารงานของผู้ตรวจการแผ่นดิน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 กำหนดให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมีหน่วยงานในการบริหารงาน คือ ให้มีสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นหน่วยงานที่เป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณและการดำเนินการอื่น ทั้งนี้ตามกฎหมายบัญญัติ คือ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา พ.ศ. 2542
1.2.2 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของผู้ตรวจการแผ่นดิน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้กำหนดให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจเสนอร่างกฎหมายและมีอำนาจหน้าที่การดำเนินการตามกฎหมายต่างๆ ดังนี้
1.2.2.1 การเสนอร่างกฎหมาย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้กำหนดให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมีสิทธิเสนอร่างกฎหมาย ได้ดังนี้
1. เสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่ประธานผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้น เช่น เสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นต้น
2.เสนอร่างพระราชบัญญัติที่ประธานผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติ เช่น เสนอร่างพระราชบัญญัติประมวลจริยธรรมของนักการเมืองและเจ้าหน้าที่ เป็นต้น
1.2.2.2 อำนาจหน้าที่การดำเนินการตามกฎหมาย
พิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงตามคำร้องเรียน และดำเนินการเกี่ยวกับจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
1.พิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงตามคำร้องเรียนในกรณี ดังต่อไปนี้
1)การไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือปฏิบัตินอกเหนืออำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น
2)การปฏิบัติหรือละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่น ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องเรียนหรือประชาชนโดยไม่เป็นธรรม ไม่ว่าการนั้นชอบหรือไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ก็ตาม
3)การตรวจสอบการละเลยการปฏิบัติหน้าที่หรือการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายขององค์กรตามรัฐธรรมนูญและองค์กรในกระบวนการยุติธรรม ทั้งนี้ไม่รวมถึงการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีของศาล
4)กรณีอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
การใช้อำนาจหน้าที่ตามข้อ 1) 2)และ3) ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินดำเนินการการเมื่อมีการร้องเรียน เว้นแต่เป็นกรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นว่าการกระทำดังกล่าวมีผลกระทบต่อความเสียหายของประชาชนส่วนรวมหรือเพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ ผู้ตรวจการแผ่นดินอาจพิจารณาและสอบสวนโดยไม่มีการร้องเรียนได้
2.ดำเนินการเกี่ยวกับจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
3.ติดตามประเมินผลและจัดทำข้อเสนอแนะในการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ รวมตลอดถึงข้อพิจารณาเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในกรณีที่เห็นว่าจำเป็น
4.รายงานการตรวจสอบและผลการปฏิบัติหน้าที่พร้อมข้อสังเกตต่อคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาทุกปี ทั้งนี้ให้ประกาศรายงานดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษาและเปิดเผยต่อสาธารณะด้วย
5.ผู้ตรวจการแผ่นดินอาจเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครองได้ เมื่อเห็นว่ามีกรณีดังต่อไปนี้
1)บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายรัฐธรรมนูญ ให้เสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญและให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยโดยไม่ชักช้า ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ
2)กฎ คำสั่งหรือการกระทำอื่นใดของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ให้เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลปกครองและให้ศาลปกครองพิจารณาวินิจฉัยไม่ชักช้า ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
1.2.3 การควบคุมการใช้อำนาจของผู้ตรวจการแผ่นดิน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้กำหนดการควบคุมการใช้อำนาจของผู้ตรวจการแผ่นดิน ดังนี้
1.2.3.1 การควบคุมโดยการเสนอถอดถอนผู้ตรวจการแผ่นดินออกจากตำแหน่งโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
การควบคุมโดยการเสนอถอดถอนผู้ตรวจการแผ่นดินผู้ใดมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงออกจากตำแหน่ง โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภาโดยให้ประธานวุฒิสภาส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติไต่สวนทำรายงานมีมติไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่เสนอต่อวุฒิสภาเพื่อให้วุฒิสภามีมติไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภาให้พ้นจากตำแหน่ง
1.2.3.2 การควบคุมโดยการเสนอถอดถอนผู้ตรวจการแผ่นดินออกจากตำแหน่งโดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
การควบคุมโดยการเสนอถอดถอนผู้ตรวจการแผ่นดินผู้ใดมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงออกจากตำแหน่ง โดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 20,000 คน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภาให้ประธานวุฒิสภาส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติไต่สวนทำรายงานมีมติไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่เสนอต่อวุฒิสภาเพื่อให้วุฒิสภามีมติไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภาให้พ้นจากตำแหน่ง
1.2.3.3 การดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองกับผู้ตรวจการแผ่นดิน
การดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองกับผู้ตรวจการแผ่นดินผู้ใดกระทำการขาดความเที่ยงธรรม จงใจฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือมีพฤติการณ์ทีเป็นการเสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของการดำรงตำแหน่งอย่างร้ายแรง ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองว่าผู้ตรวจการแผ่นดิน ผู้ใดร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 4ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรหรือประชาชนไม่น้อยกว่า 20,000 คน เข้าชื่อต่อประธานวุฒิสภาและให้ประธานวุฒิสภาส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติดำเนินการไต่สวน ทำรายงานมีมติไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ส่งไปยังอัยการสูงสุดเพื่อส่งฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต่อไป
1.3 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
คณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญที่จัดตั้งมาเพื่อตรวจสอบการทุจริตในระบบการเมืองและวงราชการ มีอำนาจหน้าที่ไต่สวนข้อเท็จจริงและวินิจฉัยในเบื้องต้นว่ากรณีที่มีการกล่าวหาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอื่นร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดฐานทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม มีมูลเพียงใดหรือไม่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 กำหนดให้มีคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (The Nation Counter Corruption Commission) ไว้ในหมวด 11 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ ส่วนที่ 1 คณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ซึ่งมีโครงสร้างและองค์ประกอบ อำนาจหน้าที่และการควบคุมการใช้อำนาจดังนี้
1.3.1 โครงสร้างและองค์ประกอบของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
โครงสร้างและองค์ประกอบของคณะกรรมการป้องการและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีที่มาและมีหน่วยการบริหารงาน ดังนี้
1.3.1.1 ที่มาของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีที่มา คือ
1.ให้มีคณะกรรมการการสรรหาจำนวน 5 คน ประกอบด้วยประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎรและผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่สรรหาคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ 9 คน ประกอบด้วยประธานกรรมการ 1 คน และกรรมการอื่นอีก 8 คนซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา
2. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติต้องเป็นผู้ซึ่งมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามาตรา 205 โดยเคยเป็นรัฐมนตรี กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน หรือเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าศาสตราจารย์ ผู้แทนองค์การพัฒนาเอกชน หรือผู้ประกอบวิชาชีพที่มีองค์กรวิชาชีพตามกฎหมายมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 30 ปี ซึ่งองค์การพัฒนาเอกชนหรือองค์กรวิชาชีพนั้นเคยรับรองและเสนอชื่อเข้าสู่กระบวนการสรรหา
3.ให้ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
4.คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีวาระการดำรงตำแหน่ง 9 ปี นับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งและให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว
5.ให้มีกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด โดยคุณสมบัติ กระบวนการสรรหาและอหน้าที่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
1.2.3.2 หน่วยการบริหารงานของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 กำหนดให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีหน่วยงานในการบริหารงานดังนี้
1.ให้มีสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เป็นหน่วยงานที่เป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณและการดำเนินการอื่น ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ
2.มีหน่วยธุรการของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติที่เป็นอิสระ โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เป็นผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
1.3.2 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้กำหนดให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีสิทธิเสนอร่างกฎหมายและมีอำนาจในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐดังนี้
1.3.2.1 การเสนอร่างกฎหมาย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้กำหนดให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีสิทธิเสนอร่างกฎหมาย ได้ดังนี้
1. เสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้น เช่น ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เป็นต้น
2.เสนอร่างพระราชบัญญัติที่ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติ
1.3.2.2 อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้กำหนดให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติและให้ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นเจ้าพนักงานในการยุติธรรมตามกฎหมาย มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1.ไต่สวนข้อเท็จจริงและสรุปสำนวนพร้อมทั้งความเห็นเกี่ยวกับการถอดถอนออกจากตำแหน่งเสนอต่อวุฒิสภา
2.ไต่สวนข้อเท็จจริงและสรุปสำนวนพร้อมทั้งทำความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองส่งไปยังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
3.ไต่สวนและวินิจฉัยว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงหรือข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่าขึ้นไปร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม รวมทั้งดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือข้าราชการในระดับต่ำกว่าที่ร่วมกระทำความผิดกับผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือที่กระทำความผิดในลักษณะที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเห็นสมควรดำเนินการด้วย ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยป้องกันและปราบปรามการทุจริต
4.ตรวจสอบความถูกต้องและความมีอยู่จริง รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คือ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการเมืองอื่น ผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่ของรัฐตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติกำหนดตามบัญชีและเอกสารประกอบที่ได้ยื่นไว้ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติกำหนด
5.กำกับดูแลคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
6.รายงานผลการตรวจสอบและผลการปฏิบัติหน้าที่พร้อมสังเกตต่อคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาทุกปี ทั้งนี้ให้ประกาศรายงานดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษาและเปิดเผยต่อสาธารณะด้วย
7.ดำเนินการอื่นตามตามที่กฎหมายบัญญัติ คือ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542
1.3.3 การควบคุมการใช้อำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้กำหนดการควบคุมการใช้อำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ดังนี้
1.3.3.1 การควบคุมโดยการเสนอถอดถอนคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
การควบคุมโดยการเสนอถอดถอนคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ผู้ใดกระทำการขาดความเที่ยงธรรม จงใจฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือมีพฤติการณ์ที่เป็นการเสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของการดำรงตำแหน่งอย่างร้ายแรง โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภาโดยให้ประธานวุฒิสภาส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติไต่สวนทำรายงานมีมติไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่เสนอต่อวุฒิสภาเพื่อให้วุฒิสภามีมติไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภาให้พ้นจากตำแหน่ง
1.3.3.2 การควบคุมโดยการเสนอถอดถอนคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติโดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
การควบคุมโดยการเสนอถอดถอนคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ผู้ใดกระทำการขาดความเที่ยงธรรม จงใจฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือมีพฤติการณ์ที่เป็นการเสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของการดำรงตำแหน่งอย่างร้ายแรงออกจากตำแหน่ง โดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 20,000 คน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภาโดยให้ประธานวุฒิสภาส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติไต่สวนทำรายงานมีมติไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่เสนอต่อวุฒิสภาเพื่อให้วุฒิสภามีมติไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภาให้พ้นจากตำแหน่ง
1.3.3.4 การดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
การดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภาหรือสมาชิกของทั้งสองสภา มีจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองว่ากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติผู้ใดร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
1.4 คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน คือ องค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบและควบคุมการใช้จ่ายเงินของรัฐ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 กำหนดให้มีคณะกรรมการตรวจเงินแผ่น (State Audit Commission) ไว้ในหมวด 11 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ ส่วนที่ 1 คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นซึ่งมีโครงสร้างและองค์ประกอบ อำนาจหน้าที่และการควบคุมการใช้อำนาจดังนี้
1.4.1. โครงสร้างและองค์ประกอบของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
โครงสร้างและองค์ประกอบของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน จะกล่าวถึงที่มาและหน่วยการบริหารงานของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
1.4.1.1 ที่มาของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้กำหนดให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินมีที่มา คือ
1.ให้มีคณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินคณะหนึ่งจำนวน 7 คน ประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร บุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาคัดเลือกจำนวน 1 คนและบุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดคัดเลือกจำนวน 1 คน
2.คณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินทำหน้าที่สรรหาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ประกอบด้วย ประธานกรรมการ 1 คน และกรรมการอื่นอีก 6 คน คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินมีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้มีความชำนาญและประสบการณ์ด้านการตรวจเงินแผ่นดิน การบัญชี การตรวจสอบภายใน การเงิน การคลังและด้านอื่นๆ โดยที่ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าตรวจเงินแผ่นดิน
1.4.2.2 หน่วยการบริหารงานของผู้ตรวจการแผ่นดิน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 กำหนดให้คระกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน มีหน่วยงานในการบริหารงานดังนี้
1.ให้มีสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นหน่วยงานที่เป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณและการดำเนินการอื่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ คือ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542
2.หน่วยธุรการของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินที่เป็นอิสระโดยมีผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
1.4.2 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้กำหนดให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินมีอำนาจเสนอร่างกฎหมายและการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ดังนี้
1.4.2.1 การเสนอร่างกฎหมาย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้กำหนดให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินมีสิทธิเสนอร่างกฎหมาย ได้ดังนี้
1. เสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่ประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้น เช่น ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดินเป็นต้น
2.เสนอร่างพระราชบัญญัติที่ประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติ
1.4.2.2 อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ดังนี้
1.กำหนดหลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน
2.ให้คำปรึกษาแนะนำและเสนอแนะให้มีการแก้ไขข้อบกพร่องเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน
3.มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการวินัยทางการเงินและการคลังที่เป็นอิสระเพื่อทำหน้าที่วินิจฉัยการดำเนินการที่เกี่ยวกับวินัยทางการเงิน การคลังและการงบประมาณ
4.ให้ผู้ว่าตรวจเงินแผ่นดินมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดินที่เป็นอิสระและเป็นกลาง
1.4.3 การควบคุมการใช้อำนาจของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้กำหนดการควบคุมการใช้อำนาจของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ดังนี้
1.4.3.1 การควบคุมโดยการเสนอถอดถอนคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินโดยสภาผู้แทนราษฎร
การควบคุมโดยการเสนอถอดถอนคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าผู้ตรวจการแผ่นดิน ผู้ใดมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ออกจากตำแหน่ง โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภาโดยให้ประธานวุฒิสภาส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติไต่สวนทำรายงานมีมติไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่เสนอต่อวุฒิสภาเพื่อให้วุฒิสภามีมติไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภาให้พ้นจากตำแหน่ง
1.4.3.2 การควบคุมโดยการเสนอถอดถอนคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินโดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
การควบคุมโดยการเสนอถอดถอนคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าผู้ตรวจการแผ่นดินผู้ใดมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ออกจากตำแหน่ง โดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 20,000 คน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภาให้ประธานวุฒิสภาส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติไต่สวนทำรายงานมีมติไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่เสนอต่อวุฒิสภาเพื่อให้วุฒิสภามีมติไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภาให้พ้นจากตำแหน่ง
1.4.3.3 การดำเนินคดีอาญากับคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
การดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองกับคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินผู้ใดกระทำการขาดความเที่ยงธรรม จงใจฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือมีพฤติการณ์ทีเป็นการเสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของการดำรงตำแหน่งอย่างร้ายแรง ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองว่าผู้ตรวจการแผ่นดิน ผู้ใดร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 4ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรหรือประชาชนไม่น้อยกว่า 20,000 คน เข้าชื่อต่อประธานวุฒิสภาและให้ประธานวุฒิสภาส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติดำเนินการไต่สวน ทำรายงานมีมติไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ส่งไปยังอัยการสูงสุดเพื่อส่งฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต่อไป
2.องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย พ.ศ. 2550 กำหนดให้มีองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ (Other Organization Under Constitution) คือ องค์กรอัยการ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
2.1 องค์กรอัยการ
องค์กรอัยการ เป็นองค์อื่นตามรัฐธรรมนูญที่ได้ตั้งขึ้นมาใหม่ เพื่อทำหน้าที่เป็นทนายความแผ่นดินในการดำเนินคดี รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 กำหนดให้มีองค์กรอัยการ (Prosecution Organization) ไว้ในหมวด 11 องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ ส่วนที่ 2 องค์กรอัยการมีอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญและตามกฎหมายว่าด้วยอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการและกฎหมายอื่น องค์กรอัยการมีโครงสร้างและองค์ประกอบ อำนาจหน้าที่และการควบคุมการใช้อำนาจดังนี้
2.1.1 โครงสร้างและองค์ประกอบขององค์กรอัยการ
โครงสร้างและองค์ประกอบขององค์กรอัยการ นั้นประกอบด้วยที่มาและหน่วยการบริหารงานขององค์กรอัยการ ดังนี้
2.1.1.1 ที่มาขององค์กรอัยการ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้กำหนดให้เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญมีความเป็นอิสระเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ยิ่งขึ้น และเพื่อมิให้อิทธิพลทางการเมืองก้าวก่ายการดำเนินคดี ซึ่งจะทำให้เกิดความเป็นธรรมแก่ประชาชนโดยส่วนรวมยิ่งขึ้น โดยมีอัยการสูงสุดเป็นผู้บังคับบัญชา ซึ่งการแต่งตั้งและการให้อัยการสูงสุดพ้นจากตำแหน่งต้องเป็นไปตามมติคณะกรรมการอัยการและได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาโดยให้ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งอัยการสูงสุด และมีรองอัยการสูงสุดทำหน้าที่ช่วยเหลืออัยการสูงสุด
ส่วนพนักงานอัยการมาจากการแต่งตั้งตามที่กำหนดคุณสมบัติการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งอัยการ มีหลักเกณฑ์ดังนี้ คือ ต้องเป็นผู้สำเร็จปริญญาตรีทางกฎหมาย สอบไล่เนติบัณฑิต มีสัญชาติไทยโดยการเกิด อายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ และต้องผ่านการสอบคัดเลือกตามที่คณะกรรมการอัยการกำหนด หรือเมื่อคณะกรรมการอัยการพิจาณาเห็นว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ระบุไว้ในกฎหมายว่าด้วยอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการฝ่ายอัยการก็ให้คัดเลือกเป็นอัยการได้ ซึ่งทั้งสองกรณีต้องผ่านการอบรมไม่น้อยกว่า 1 ปี
พนักงานอัยการต้องไม่เป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจหรือกิจการอื่นของรัฐในทำนองเดียวกัน เว้นแต่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการอัยการ ทั้งต้องไม่ประกอบอาชีพหรือวิชาชีพหรือกระทำกิจการใดอันเป็นการกระทบกระเทือนถึงการปฏิบัติหน้าที่ หรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งตำแหน่งหน้าที่ราชการและต้องไม่เป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือที่ปรึกษากำหมาย หรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นห้างหุ้นส่วนบริษัท
2.1.1.2 หน่วยการบริหารงานขององค์กรอัยการ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ได้กำหนดให้องค์กรอัยการมีหน่วยธุรการที่เป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณและการดำเนินการอื่นโดยมีอัยการสูงสุดเป็นผู้บังคับบัญชา ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ
2.1.2 อำนาจหน้าที่ขององค์กรอัยการ
พนักงานอัยการมีอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญและตามกฎหมายว่าด้วยอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการและกฎหมาย ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 ดังนี้
1.อำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
2.ในคดีอาญา มีอำนาจและหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและตามประมวลกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
3.ในคดีแพ่งหรืคดีปกครอง มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีแทนรัฐบาล หน่วยงานของรัฐที่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ราชการส่วนกลาง หรือราชการส่วนภูมิภาค ในศาล หรือในกระบวนการทางอนุญาโตตุลาการทั้งปวง กับมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
4.ในคดีแพ่ง คดีปกครอง คดีอาญา ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ก็ดี หรือในคดีแพ่งหรือคดีอาญาที่ราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเข้าร่วมหรือช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งกระทำการในหน้าที่ราชการก็ดี เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับแก้ต่างให้ก็ได้
5.ในคดีแพ่ง คดีปกครองหรือกรณีมีข้อพิพาทที่ต้องดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการที่หน่วยงานของรัฐซึ่งไม่ได้กล่าวใน ข้อ 3 หรือนิติบุคคลซึ่งไม่ใช่หน่วยงานของรัฐ แต่ได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเป็นคู่กรณีและไม่ใช่กรณีที่เป็นข้อพิพาทกับรัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับว่าต่างหรือแก้ต่างให้ก็ได้
6.ในคดีที่ราษฎรฟ้องเองไม่ได้โดยกฎหมายห้าม เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการมีอำนาจเป็นโจทก์ก็ได้
7. ดำเนินการตามที่เห็นสมควรเกี่ยวกับการบังคับคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษา ในกรณีนี้ไม่ให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
8. ในกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันจำเลย หรือประกันรับสิ่งของไปดูแลรักษาตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานั้น ในกรณีนี้ไม่ให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
9. อำนาจและหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการอัยการ (ก.อ.) ประกาศกำหนดหรือเห็นชอบเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรี
10. ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ
11. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดตามที่ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุดที่ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุด
ข้อสังเกต อัยการสูงสุดและรองอัยการสูงสุดมีอำนาจดำเนินคดีได้ทุกศาล อธิบดีอัยการภาค มีอำนาจดำเนินคดีได้ทุกศาลภายในภาค พนักงานอัยการผู้อื่นมีอำนาจดำเนินคดีได้เฉพาะศาลแห่งท้องที่ที่พนักงานอัยการผู้นั้นรับราชการประจำ เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้
1. เมื่ออัยการสูงสุดมีคำสั่งให้พนักงานอัยการซึ่งรับราชการประในท้องที่หนึ่งไปช่วยราชการในอีกท้องที่หนึ่งชั่วคราว หรือให้ดำเนินคดีใดเฉพาะเรื่อง เมื่ออธิบดีอัยการภาคได้มีคำสั่งให้พนักงานอัยการซึ่งรับราชการประจำในท้องที่หนึ่งภายในภาคไปช่วยราชการในอีกท้องที่หนึ่งชั่วคราวหรือให้ไปดำเนินคดีใดเฉพาะเรื่องภายในภาค ให้พนักงานอัยการผู้นั้นมีอำนาจดำเนินคดีในศาลประจำท้องที่นั้นได้ และให้มีอำนาจดำเนินคดีได้ตลอดถึงศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาหรือศาลปกครองสูงสุด แล้วแต่กรณี
2. เมื่ออธิบดีอัยการภาคมีคำสั่งให้พนักงานอัยการซึ่งรับราชการประจำในภาคมีอำนาจดำเนินคดีในศาลทุกศาลภายในภาค ให้พนักงานอัยการผู้นั้นมีอำนาจดำเนินคดีในศาลทุกศาลภายในภาคนั้นได้ และให้มีมีอำนาจดำเนินคดีได้ตลอดถึงศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาหรือศาลปกครองสูงสุด แล้วแต่กรณี
3. เมื่อคดีที่พนักงานอัยการได้ดำเนินไว้ในศาลชั้นต้นขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา พนักงานอัยการผู้ดำเนินคดีนั้น หรือพนักงานอัยการผู้อื่นซึ่งประจำศาลชั้นต้น หรือพนักงานอัยการอื่นซึ่งได้รับแต่งตั้งหรือมอบหมายจากอัยการสูงสุดมีอำนาจดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาได้
4. ในคดีที่ศาลส่งประเด็นไปสืบพยานยังศาลอื่นหรือโอนคดีไปพิจารณายังศาลอื่น พนักงานอัยการประจำศาลอื่นนั้น หรือพนักงานอัยการผู้ดำเนินคดีมาแต่ต้น หรือพนักงานอัยการประจำศาลที่ดำเนินคดีมาแต่ต้น มีอำนาจดำเนินคดีนั้นในศาลที่สืบพยานตามประเด็นหรือศาลที่รับโอนนั้นได้
2.1.3 การควบคุมการใช้อำนาจของ อัยการสูงสุด พนักงานอัยการ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้กำหนดการควบคุมการใช้อำนาจของพนักงานอัยการ ดังนี้
2.1.3.1 การควบคุมโดยการเสนอถอดถอนอัยการสูงสุด พนักงานอัยการโดยสภาผู้แทนราษฎร
การควบคุมโดยการเสนอถอดถอนอัยการสูงสุด พนักงานอัยการผู้ใดมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงออกจากตำแหน่ง โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภาโดยให้ประธานวุฒิสภาส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติไต่สวนทำรายงานมีมติไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่เสนอต่อวุฒิสภาเพื่อให้วุฒิสภามีมติไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภาให้พ้นจากตำแหน่ง
2.1.3.1 การควบคุมโดยการเสนอถอดถอนอัยการสูงสุด พนักงานอัยการโดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
การควบคุมโดยการเสนอถอดถอนอัยการสูงสุด พนักงานอัยการผู้ใดมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ออกจากตำแหน่ง โดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 20,000 คน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภาให้ประธานวุฒิสภาส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติไต่สวนทำรายงานมีมติไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่เสนอต่อวุฒิสภาเพื่อให้วุฒิสภามีมติไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภาให้พ้นจากตำแหน่ง
2.1.3.3 การดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองกับอัยการสูงสุด พนักงานอัยการ
การดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองกับอัยการสูงสุด พนักงานอัยการผู้ใดกระทำการขาดความเที่ยงธรรม จงใจฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือมีพฤติการณ์ที่เป็นการเสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของการดำรงตำแหน่งอย่างร้ายแรง ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองว่าผู้ตรวจการแผ่นดิน ผู้ใดร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 4ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรหรือประชาชนไม่น้อยกว่า 20,000 คน เข้าชื่อต่อประธานวุฒิสภาและให้ประธานวุฒิสภาส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติดำเนินการไต่สวน ทำรายงานมีมติไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ส่งไปยังอัยการสูงสุดเพื่อส่งฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต่อไป
2.2 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญที่มุ่งหวังให้ทำหน้าที่ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดยมีแนวคิดว่าจะเป็นองค์กรที่เชื่อมระหว่างรัฐกับประชาชนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 กำหนดให้มีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (Nation Human Rights Commission) ไว้ในหมวด 11 องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ ส่วนที่ 3 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งมีที่มา อำนาจหน้าที่และการควบคุมการใช้อำนาจดังนี้
2.2.1 โครงสร้างและองค์ประกอบของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
โครงสร้างและองค์ประกอบของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จะกล่าวถึงที่มาและหน่วยการบริหารงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ดังนี้
2.2.1.1ที่มาของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีที่มา คือ
1.การสรรหาและเลือกคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ให้มีคณะกรรมการสรรหา 7 คน ประกอบด้วยศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร บุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาคัดเลือกจำนวน 1 คนและบุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดคัดเลือกจำนวน 1 คน ทำหน้าที่สรรหาคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วย ประธานกรรมการ 1 คน และกรรมการอื่นอีก 6 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา จากผู้ซึ่งมีความรู้หรือประสบการณ์ด้านการคุ้มครอง สิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นที่ประจักษ์ ทั้งนี้โดยต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของผู้แทนจากองค์กรเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนด้วย ให้ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
2.กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี นับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งและให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว
2.2.1.2 หน่วยการบริหารงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 กำหนดให้มีสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นหน่วยงานที่เป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณและการดำเนินการอื่น ทั้งนี้ตามกฎหมายบัญญัติ
2.2.2 อำนาจหน้าที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นองค์หนึ่งที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐในเรื่องที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1.ตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือการละเลยการกระทำ อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือไม่เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี และเสนอมาตรการการแก้ไขที่เหมาะสมต่อบุคคลหรือหน่วยงานที่กระทำหรือละเลยการกระทำดังกล่าวเพื่อดำเนินการ ในกรณีที่ปรากฏว่าไม่มีการดำเนินการตามที่เสนอ ให้รายงานต่อรัฐสภาเพื่อดำเนินการต่อไป
2.เสนอเรื่องพร้อมด้วยด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่เห็นชอบตามที่มีผู้ร้องเรียนว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดกระทบต่อสิทธิมนุษยชนและมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ตามที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ
3.เสนอเรื่องพร้อมด้วยด้วยความเห็นต่อศาลปกครอง ในกรณีที่เห็นชอบตามที่มีผู้ร้องเรียนว่า กฎ คำสั่งหรือการกระทำอื่นใดในทางปกครองกระทบต่อสิทธิมนุษยชนและมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ทั้งนี้ตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
4.ฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมแทนผู้เสียหายเมื่อได้รับการร้องขอจากผู้เสียหายและเป็นกรณีที่เห็นสมควรเพื่อแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นส่วนรวม ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ
5.เสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมายและกฎ ต่อรัฐสภาหรือคณะรัฐมนตรีเพื่อส่งและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
6.ส่งเสริมการศึกษา การวิจัยและการเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน
7.ส่งเสริมความร่วมมือและการประสานงานระหว่างหน่วยราชการ องค์การเอกชนและองค์การอื่นในด้านสิทธิมนุษยชน
8.จัดทำรายงานประจำปีเพื่อประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนภายในประเทศและเสนอต่อรัฐสภา
9.เรียกเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำ รวมทั้งอำนาจอื่นเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ
10.อำนาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ คือ พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542
2.2.3 การควบคุมการกระทำโดยการถอดถอนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติออกจากตำแหน่ง
พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.2542 ได้กำหนดการควบคุมการใช้อำนาจของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาไม่น้อยกว่า1 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา มีสิทธิร้องขอต่อประธานวุฒิสภาเพื่อให้วุฒิสภามีมติให้ถอดถอนกรรมการออกจากตำแหน่งเพราะเหตุที่กรรมการนั้นปฏิบัติหน้าที่โดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมของชาติและประชาชน หรือไม่เป็นกลางหรือมีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องทางศีลธรรมจรรยาที่อาจมีผลกระทบหรือก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อการดำรงตำแหน่งหน้าที่ หรือต่อการส่งเสริมหรือคุ้มครองสิทธิมนุษยชน หรือมีส่วนได้เสียในกิจการหรือธุรกิจใด ๆ ที่อาจมีผลกระทบโดยตรงหรือก่อให้เกิดความเสียหายทำนองเดียวกัน หรือมีหรือเคยมีพฤติการณ์ในการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือบกพร่องต่อหน้าที่อย่างร้ายแรง มติของวุฒิสภาตามข้างต้นต้องได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา
2.3 สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นองค์กรที่สำคัญมีหน้าที่ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีในปัญหาต่างๆเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 กำหนดให้มีสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (Nation Economic Social Advisory Council) ไว้ในหมวด 11 องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ ส่วนที่ 2 สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมีหน้าที่ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีในปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีโครงสร้างและองค์ประกอบอำนาจหน้าที่และการควบคุมการใช้อำนาจของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ดังนี้
2.3.1 โครงสร้างและองค์ประกอบของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
โครงสร้างและองค์ประกอบของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จะมีที่มาและหน่วยการบริหารงาน ดังนี้
2.3.1.1 ที่มาของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีที่มาจากหลายหน่วยงานที่มีความรู้ทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ ดังนี้
1.ให้มีคณะกรรมการสรรหาสมาชิกสภาที่ปรึกษาและสังคมแห่งชาติ จำนวน 20 คน ประกอบด้วย
1)ประธานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
2) ปลัดกระทรวงทุกกระทรวง ซึ่งเลือกกันเองให้เหลือ 4 คน
3) อธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นนิติบุคคลทุกแห่งซึ่งเลือกกันเองให้เหลือ 3 คน
4) อธิการบดีของสถาบันราชภัฎและสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลทุกแห่งซึ่งเลือกกันเองให้เหลือ 1 คน
5) ผู้แทนสถาบันภาคการผลิต จำนวน 4 คน ประกอบด้วย ผู้แทนหอการค้าแห่งประเทศไทย 1 คน ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 1 คน ผู้แทนสมาคมธนาคารไทย 1 คน และผู้แทนชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด 1 คน
6) ผู้แทนสหภาพแรงงานซึ่งเลือกกันเองให้เหลือ 1 คน
7) ผู้แทนองค์กรภาคเอกชนที่ดำเนินการโดยมิใช่เป็นการหาผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันจำนวน 4 คน ซึ่งเลือกกันเองในแต่ละด้านๆละ 1 คน จากองค์กรภาคเอกชนที่มีวัตถุประสงค์หลักดังต่อไปนี้
(1)ด้านการพัฒนาชุมชนชนบท การพัฒนาชุมชนเมือง การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การจัดการสิ่งแวดล้อม การจัดการเกษตรทางเลือกหรือการจัดการเทคโนโลยีที่เหมาะสม
(2)ด้านการพัฒนาชีวิตของเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ติดเชื้อเอดส์
(3)ด้านสิทธิเสรีภาพของประชาชน สิทธิของผู้บริโภค การส่งเสริมประชาธิปไตยหรือการพัฒนาแรงงาน
(4)ด้านการสาธารณสุข การศึกษาหรือศิลปวัฒนธรรม
8) ผู้แทนสื่อมวลชนในกิจการด้านหนังสือพิมพ์ ด้านวิทยุกระจายเสียงและด้านวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งเลือกกันเองกิจการละ 1 คน รวมเป็น 3 คน
2.เมื่อได้คณะกรรมการสรรหาสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีการสรรหาสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประกอบด้วยสมาชิก จำนวนเก้าสิบเก้าคน ซึ่งได้รับเลือกจากบุคคลที่เป็นตัวแทนของกลุ่มในภาคเศรษฐกิจ และกลุ่มในภาคสังคมฐานทรัพยากรและผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นกลุ่มตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตาม รัฐธรรมนูญตามจำนวนที่กำหนดไว้ในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้
2.3.1.2 หน่วยการบริหารงานของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ให้มีสำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นหน่วยงานที่เป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณและการดำเนินการอื่น ทั้งนี้ตามกฎหมายบัญญัติ
2.3.2 อำนาจหน้าที่สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นองค์กรสะท้อนปัญหา เศรษฐกิจและสังคม โดยมิใช่เป็นองค์กรเพื่อต่อรองผลประโยชน์ของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใด มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาและเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2543 ดังต่อไปนี้
1. ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีในปัญหาที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ และสังคม เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐที่บัญญัติใน หมวด 5 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
2.ให้ความเห็นเกี่ยวกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนอื่น ตาม มาตรา 14 รวมทั้งแผนอื่นใดที่มีกฎหมายกำหนดให้เสนอแผนนั้นต่อสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติก่อนพิจารณาประกาศใช้
3.ให้สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมีอำนาจแต่งตั้ง คณะทำงานที่ประกอบด้วยสมาชิกหรือบุคคลใด เพื่อทำการศึกษาหรือดำเนินกิจการอย่างใด อย่างหนึ่งของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
4. ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่า การกำหนดนโยบายในเรื่องใด อาจกระทบถึงสภาพเศรษฐกิจและสังคมเป็นส่วนรวม สมควรได้รับฟังความคิดเห็นเพื่อประกอบ การพิจารณากำหนดนโยบายในเรื่องนั้น ให้คณะรัฐมนตรีส่งเรื่องให้สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติพิจารณาให้คำปรึกษาเพื่อเสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรี
5. สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติอาจพิจารณาศึกษา เรื่องที่เห็นว่าสมควรกำหนดเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายในด้านเศรษฐกิจและสังคม ของประเทศเพื่อจัดทำรายงานเป็นข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีได้ ในกรณีที่เห็นสมควร สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติอาจพิจารณา ศึกษาเพื่อจัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเพื่อเผยแพร่ เป็นการทั่วไปก็ได้
6.ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีจะดำเนินการประกาศใช้แผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้คณะรัฐมนตรีเสนอร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้ความเห็นก่อนการประกาศใช้ เมื่อสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้จัดส่งความเห็นมาให้ คณะรัฐมนตรีแล้ว ให้คณะรัฐมนตรีนำความเห็นดังกล่าวประกอบการพิจารณาในการจัดทำ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเพื่อให้เหมาะสมกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ของประเทศ ให้เสนอแผนนั้นต่อสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนอื่นที่คณะรัฐมนตรี เห็นสมควรขอความเห็นจากสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติด้วย
7. ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีขอคำปรึกษาจากสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติตาม มาตรา 12 หรือเสนอแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือแผนอื่น ให้สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติให้ความเห็น ตาม มาตรา 14 ให้สภาที่ปรึกษา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาโดยเร็ว ในการนี้ คณะรัฐมนตรีอาจขอให้สภาที่ปรึกษา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาให้ความเห็นภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งต้องไม่น้อยกว่า 30 วัน ก็ได้ และถ้าพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติยังมิได้ จัดส่งความเห็นกลับคืนมายังคณะรัฐมนตรี ให้คณะรัฐมนตรีดำเนินการต่อไปตามที่เห็นสมควรได้ การดำเนินการดังกล่าวต้องไม่เป็นการกระทบกระเทือนถึงอำนาจในการบริหาร ราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรี
8.ความเห็นของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่จะเสนอ ต่อคณะรัฐมนตรีต้องจัดทำเป็นรายงานแสดงความคิดเห็นของสมาชิกทุกฝ่ายที่เสนอความเห็น ทั้งในทางสนับสนุนและคัดค้าน พร้อมทั้งเหตุผลและข้อดีข้อเสียหรือผลกระทบของแนวทาง การดำเนินการตามความเห็นที่เสนอ และเปิดเผยให้สาธารณชนทราบด้วย
9.ให้คำปรึกษา หรือข้อเสนอแนะ หรือให้ความเห็นต่อในกรณีที่คณะรัฐมนตรีจัดทำรายงานผลการพิจารณาหรือผลการ ดำเนินการของคณะรัฐมนตรีในเรื่องที่สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติให้คำปรึกษา หรือข้อเสนอแนะ หรือให้ความเห็นเพื่อเสนอต่อสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและ เปิดเผยเหตุผลให้สาธารณชนทราบด้วย
ผู้สูงอายุ หมายถึง 在 “สังคมผู้สูงอายุ”เริ่มแล้ว! ประเทศไทยพร้อมแค่ไหน l TNN HEALTH l ... 的推薦與評價
คุณผู้ชมรู้หรือไม่ว่าในปี 2564 ที่ผ่านมา ประเทศไทย ได้เข้าสู่สังคม ผู้สูงอายุ โดยสมบูรณ์” ตามหลักเกณฑ์ที่ว่า คือ มี ผู้สูงอายุ หรือ “คนแก่” อายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่า 20% ... ... <看更多>
ผู้สูงอายุ หมายถึง 在 ผู้สูงอายุหมายถึงผู้ที่อายุเกิน 60... - Omron Healthcare 的推薦與評價
ผู้สูงอายุหมายถึง ผู้ที่อายุเกิน 60 ปีขึ้นไปทั้งเพศชายและหญิง โดยแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ อายุ 60-69 ปี : ผู้สูงอายุตอนต้น อายุ 70 ปี :... ... <看更多>