“ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง” หรือ “เลือกตั้งก่อนปฏิรูป” (?) (เราจะปฏิรูปประเทศกันอย่างไร)" โดย ศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ 16 กุมภาพันธ์ 2557 17:55 น.
(หมายเหตุ : บทความนี้ เป็นบทความที่ ศ.ดร. อมร จันทรสมบูรณ์ เขียนขึ้นตาม “แนวทาง” ที่ได้ให้สัมภาษณ์แก่ FM TV ไปเมื่อกลางเดือนมกราคม 2557 เกี่ยวกับ “วิธีการแก้ปัญหาวิกฤตชาติ” ครั้งสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ในปัญหานื้ ผู้เขียนได้ให้สัมภาษณ์ (โดยคุณอัมภา) แก่ FM TV ไป 2 ครั้ง ในการให้สัมภาษณ์ครั้งแรก ผู้เขียนได้ให้สัมภาษณ์ไปเมื่อต้นเดือนธันวาคม 2556 เรื่อง "เกาะติดวิกฤตชาติกับ ศ.ดร.อมร" ซึ่งในครั้งนั้น ผู้เขียนได้ให้สัมภาษณ์ เพื่อให้ท่านผู้ฟังมองไปถึง “สาเหตุ” ของปัญหาวิกฤตชาติที่เกิดจาก “ระบบเผด็จการ โดยพรรคการเมืองนายทุนในระบบรัฐสภา” ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของเรา (รัฐธรรมนูญที่นักกฎหมายและนักวิชาการของเราเขียนขึ้นมาเอง และเป็นรัฐธรรมนูญฉบับเดียวในโลกที่ใช้ระบบนี้)ซึ่งปรากฏว่า ได้มีท่านผู้ที่สนใจปัญหาการเมือง ได้คลิ๊กเข้าไปดูรายการของ FM TV ที่อยู่ใน you tube เป็นจำนวนถึงกว่าหนึ่งแสนราย
ในการให้สัมภาษณ์ครั้งที่สอง เรื่อง "เจาะข่าววงในฯ ช่วง อ.อมร" ในราวกลางเดือนมกราคม 2557 เป็นการให้สัมภาษณ์ที่ผู้เขียนตั้งใจจะให้ท่านผู้ฟัง “คิด” ไปถึงวิธีการแก้ปัญหาวิกฤตชาติโดยการปฏิรูปประเทศไทยที่เป็นรูปธรรม แต่เนื่องจากความจำกัดของเวลาในการให้สัมภาษณ์ ทำให้ “สาระ” ในการให้สัมภาษณ์ครั้งนี้ ดูจะไม่ครบถ้วนพอเพียง และได้มีผู้ที่รู้จักกับผู้เขียนจำนวนไม่น้อยสอบถาม “สาระ”เพิ่มเติมจากผู้เขียนซึ่งทำให้ผู้เขียนคิดว่า น่าจะต้องนำ “แนวทางการให้สัมภาษณ์ครั้งที่สอง”นี้มาเขียนเป็น “บทความ” เพื่อเพิ่มเติมข้อความที่ขาดหายไปให้สมบูรณ์ และให้ท่านผู้อ่านมีโอกาสได้ทราบความเห็นของผู้เขียนให้ชัดขึ้น ซึ่งก็ได้แก่บทความนี้)
ก่อนอื่น ผู้เขียนขอแสดงความเสียใจแก่การเสียชีวิตและการบาดเจ็บของ นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง (นายทวีศักดิ์ โพธิ์แก้ว ที่บริเวณมหาวิทยาลัยรามคำแหง) และของผู้ที่กล้าหาญและเสียสละทั้งหลายของมวลมหาประชาชน (นายวสุ สุฉันทบุตร ถูกลอบยิงเสียชีวิตที่สนามกีฬาไทย – ญี่ปุ่น ดินแดง ; นายยุทธนา องอาจ การ์ดของ คปท.เสียชีวิตที่บริเวณเชิงสะพานชมัยมรุเชฐ โดยถูกกราดยิงด้วยอาวุธสงคราม ; นายประคอง ชูจันทร์ จาก จ.ภูเก็ตที่บริเวณถนนบรรทัดทอง โดยการขว้างระเบิด ; และนายสุทิน ธราทิน แกนนำ กปท. กองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ ที่เสียชีวิตที่แยกวัดศรีเอี่ยม ถนนศรีนครินทร์ โดยถูกลอบยิงบนรถกระบะ ฯลฯ )
เขาเหล่านี้ได้ต่อสู้เพื่อให้ประเทศไทยพ้นจาก “ระบบเผด็จการของพรรคการเมืองนายทุน” ซึ่งเป็นประเทศเดียวในโลก รวมทั้ง ขอแสดงความเสียใจในการเสียชีวิตของตำรวจที่เสียชีวิตเพราะการปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา (ด.ต.ณรงค์ ปิติสิทธิ จร.สน.ตลาดพลูโดยที่เรายังไม่รู้ว่าใครเป็นผู้ยิง)
นอกจากนั้น ผู้เขียนคิดว่า เราคนไทยทุกคนควรสงสารประเทศไทย สงสารที่ประเทศไทย ที่เรามีบุคคลที่อยู่ใน “ฐานะ” ที่สามารถเข้ามาแก้ปัญหาวิกฤตชาตินี้ได้ แต่บุคคลเหล่านี้ไม่ได้เข้ามาช่วยแก้ปัญหาวิกฤตนี้ให้คนไทย ทั้งๆ ที่ตลอดเวลา 2-3 เดือนที่ผ่านมานี้ “สาเหตุของวิกฤตชาติ” ครั้งประวัติศาสตร์ของเรานี้ ได้ถูกเปิดเผยอย่างชัดแจ้ง และคนไทยทุกคนได้ทราบเป็นอย่างดีแล้ว
ประเทศไทยขาด “Statesman” ที่จะแก้ปัญหาประเทศและยิ่งรอนานวัน ประเทศก็ยิ่งเสียหายมากขึ้นทุกๆ วัน ขณะนี้ปรากฏว่า “มวลมหาประชาชน” ได้ปิดกรุงเทพฯ มาตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2557 โดยไล่ตามปิด “ประตู” และล่ามโซ่ใส่กุญแจสถานที่ราชการต่างๆ และในวันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เราก็มีการเลือกตั้งทั่วไป ทั่วประเทศ ดังสถานการณ์เป็นที่ทราบกันอยู่แล้ว ซึ่งเราก็ยังไม่ทราบว่า จะประกาศผลการเลือกตั้งทั่วไปครั้งนี้ได้เมื่อใด และไม่ทราบว่า การเลือกตั้งที่ทำไปแล้วนั้น จะมีผลใช้ได้หรือใช้ไม่ได้ (โมฆะ) หรือไม่
และเวลาก็ผ่านไปเป็นเวลานานพอสมควร (กว่า 10 วันหลังการเลือกตั้ง) แต่เราก็ยังไม่รู้ว่า วิกฤตชาติครั้งนี้ จะยุติเมื่อไร และจะยุติลงอย่างไร และเมื่อยุติแล้ว เราก็ยังไม่รู้ว่าเราจะแก้ปัญหาวิกฤตชาติหรือจะปฏิรูป(ประเทศ)ได้หรือไม่ แต่ที่แน่ๆ ก็คือ ประเทศไทยและผลประโยชน์ของคนไทยส่วนรวม ต่างก็เสียหายทับถมเพิ่มขึ้นทุกวัน
● ความนำ “ ปฏิรูปก่อน เลือกตั้ง” หรือ “เลือกตั้งก่อน ปฏิรูป” (?)
ในการสัมภาษณ์ FM TV ครั้งแรก (เดือนธันวาคม) ผู้เขียนได้กล่าวไว้ว่า ผู้เขียนดีใจที่ “วิกฤตชาติครั้งนี้ได้เกิดขึ้น และดีใจที่ “มวลมหาประชาชน” ได้มองไปถึง “การปฏิรูปประเทศ” เพราะถ้า “วิกฤตชาติ” ครั้งนี้ไม่เกิดขึ้น และเราไม่มี “การปฏิรูปประเทศ” แล้ว ในอนาคตอันไม่ไกลนักประเทศไทยก็คงจะล่มสลาย เพราะการทุจริตคอร์รัปชันและหนี้สาธารณะ (ทั้งในระบบและนอกระบบ )ที่ท่วมประเทศอย่างแน่นอนซึ่งเมื่อถึงขณะนั้น ก็เป็นการสายเกินไปที่จะแก้ไข
ในการให้สัมภาษณ์ FM TV ครั้งแรกนั้น ผู้เขียนไม่ค่อยได้พูดถึงเรื่อง “การปฏิรูปประเทศ” เท่าใดนัก เพราะผู้เขียนเห็นว่าเป็นการเร็วเกินไปและซับซ้อนเกินไป;โดยในการให้สัมภาษณ์ครั้งแรก เกือบทั้งหมด จะเป็นการกล่าวถึงความเป็นจริงที่ว่า รัฐธรรมนูญของประเทศไทย ไม่ใช่การปกครองใน “ระบอบประชาธิปไตย” (ตามที่นายทุนนักการเมืองบอกกับเรา) แต่ระบอบการปกครองของเราเป็น “ระบบเผด็จการ โดยพรรคการเมืองนายทุน ในระบบรัฐสภา” ประเทศเดียวในโลก เพราะเรามีบทมาตราอยู่ 3 มาตราในรัฐธรรมนูญปัจจุบัย ที่ทำให้นายทุนเจ้าของพรรคการเมืองสามารถเข้ามาผูกขาดอำนาจรัฐ ทำการทุจริตคอร์รัปชันและแสวงหาความร่ำรวยได้ ด้วยการลงทุนใช้เงินซื้อ ส.ส.เพื่อเข้ามาเป็นรัฐบาลใน “ระบบรัฐสภา” และให้ ส.ส.ในสภาลงมติตามคำสั่งของตน (นายทุนของพรรคการเมือง)
(หมายเหตุ บทมาตรา 3 มาตราดังกล่าว ได้แก่ (1) บทมาตราที่บังคับให้ ส.ส. ต้องสังกัดพรรคการเมือง (ม. 101 (3 )); (2) บทมาตราที่ให้อำนาจพรรคการเมือง มีมติปลด ส.ส.ให้พ้นสภาพจากการเป็น ส.ส.ได้ถ้าไม่ลงคะแนนตามมติคำสั่งพรรค (ม. 106 (7)); และ (3) บทบังคับให้นายกรัฐมนตรีต้องมาจาก ส.ส. เท่านั้น (ม. 171 วรรคสอง))
นอกจากนั้นเราได้พูดถึงว่า เรา(คนไทย)จะหลุดพ้นจาก ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุน”ประเทศเดียวในโลกนี้ได้อย่างไร ในเมื่อนายทุนเจ้าของพรรคการเมืองที่ผูกขาด “อำนาจรัฐ” อยู่ ไม่ยอมแก้รัฐธรรมนูญ ให้เรา
ดังนั้น ในการสัมภาษณ์ FM TV ครั้งที่สอง (เดือนมกราคม) และในบทความนี้(เดือนกุมภาพันธ์) เราก็จะมาดูต่อไปว่า ถ้าเราต้องการ “ปฏิรูป(ประเทศ)” นอกเหนือไปจากการต้องการทำให้การปกครองประเทศของเราเป็น “ประชาธิปไตย” แล้วเราจะต้องทำอย่างไร
● แต่อย่างไรก็ตาม ก่อนที่เราจะกำหนดว่า ในบทความนี้ เราจะพูดกันใน “หัวข้อหรือประเด็น” ใดบ้าง ผู้เขียนขอเริ่มต้นอารัมบท ด้วยการกล่าวถึง “ประเด็น” ที่ปรากฎอยู่ในหน้าสื่อมวลชน ที่เป็นเรื่อง hit ที่ถกเถียงขัดแย้งกันอยู่ระหว่าง “รัฐบาล” กับ “มวลมหาประชาชน”กันก่อน
ประเด็นนั้น ก็คือ เราจะ “ปฏิรูปก่อน การเลือกตั้ง” หรือจะ“เลือกตั้งก่อน การปฏิรูป” ซึ่งตามที่ปรากฏเป็นข่าวอยู่ในขณะนี้ ดูเหมือนว่า ทุกฝ่ายมีความเห็นสอดคล้องกันว่า ประเทศไทย มีความจำเป็นต้องมี“การปฏิรูปประเทศ” แต่ข้อขัดแย้งขณะนี้อยู่ที่ว่า จะ“ปฎิรูปก่อน การเลือกตั้ง” หรือจะ“ เลือกตั้งก่อน การปฏิรูป”
ถ้าเราอ่านข่าวในหน้าสื่อมวลชนในระยะหลังปีใหม่ (พ.ศ. 2557) นี้ คือ หลังจากที่นายกรัฐมนตรี” ได้ประกาศยุบสภา เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ปลายปีพ.ศ. 2556 เราก็จะพบว่า ขณะนี้ได้มีการเสนอ “รูปแบบ” เพื่อการปฏิรูปประเทศกันอย่างมากมายและหลากหลาย โดยหนังสือพิมพ์บางฉบับถึงกับกล่าวว่า “การปฏิรูปผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด ฝ่ายรัฐบาล ก็เสนอให้ปฏิรูป โดยจัดตั้ง “สภาปฏิรูปประเทศ” ประกอบด้วย สมัชชาของผู้ประกอบวิชาชีพต่างๆ 2,000 คนเลือกกันเองให้เหลือ 499 คน ; ท่านเลขาธิการ กปปส. (“คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”) ก็เสนอให้มีการตั้ง “สภาประชาชน” มีสมาชิกจำนวน 400 คน โดย 300 คนมาจากตัวแทนสาขาอาชีพต่างๆ และอีก 300 คน กปปส. เลือกจากผู้ทรงคุณวุฒิมาทำการปฏิรูป ; องค์การภาคเอกชน 7 องค์กรหลัก เสนอให้มีการออกพระราชกำหนด ให้ตั้ง “องค์กรปฏิรูป” ที่ประกอบด้วยผู้แทนของผู้ที่มีปัญหาขัดแย้งและผู้แทนภาคส่วนสังคม ; ปลัดกระทรวงยุติธรรม (นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์) ก็เสนอให้ตั้ง “คณะบุคคล” ประกอบด้วยผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งมีจำนวนไม่มากนักเพื่อเป็น “เวทีกลาง” สำหรับการกำหนดประเด็นในการปฏิรูปให้รัฐบาลที่จะเข้ามาใหม่ ดำเนินการ ; และสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอ ก็เสนอให้มีการตั้ง “คณะกรรมการ” ประกอบด้วยกรรมการ 3 ฝ่าย คือรัฐบาล ปชป. และ กปปส. อย่างละ 1 ใน 3 ฯลฯ
ผู้เขียนคิดว่า เรา (คนไทย) น่าจะกำลัง “หลง” ประเด็น เพราะเรากำลังเถียงกันว่า “รูปแบบ” ขององค์กรที่จะทำการ “ปฏิรูป (ประเทศ)” ควรจะเป็นอย่างไร ทั้งๆ ที่เรายังไม่ได้พิจารณาว่า “สาเหตุ” ปัญหาวิกฤตชาติของเรานั้นเกิดจากอะไร และเราได้แก้ “สาเหตุ” ที่ทำให้เกิดวิกฤตชาติครั้งนี้ไปแล้วหรือไม่ และถ้าเรามัวเถียงกันเรื่อง“รูปแบบ” ขององค์กรที่จะทำการ “ปฏิรูป (ประเทศ)” เราก็คงแก้ปัญหาวิกฤตชาติไม่ได้ การ “หลง” ประเด็นในครั้งนี้มีความสำคัญมาก และ (ตามความเห็นของผู้เขียน) อาจมีผลถึงกับทำให้ความมุ่งหมายของ “มวลมหาประชาชน” ในการล้มล้าง “ระบอบทักษิณ” และทำการ “ปฏิรูป(ประเทศ)” ล้มเหลวได้
● “ปฏิรูปก่อน เลือกตั้ง” หรือ “เลือกตั้งก่อน ปฏิรูป” (?)
“ปฏิรูปก่อน เลือกตั้ง” หรือ “เลือกตั้งก่อน ปฏิรูป” มีความหมายอย่างไร ; ผู้เขียนคิดว่า วิธีการที่จะเข้าใจความหมายของประโยค 2 ประโยคนี้ ได้ดีที่สุด คือ วิธีการตั้ง “คำถาม” และดู “เหตุผล” จากการตอบ
แน่นอน ผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับการ “เลือกตั้งก่อน ปฏิรูป” และถ้าถามผู้เขียนว่า ทำไม ผู้เขียนจึงไม่เห็นด้วยกับการ “เลือกตั้งก่อนปฏิรูป” ผู้เขียนก็จะตอบว่า เพราะการเลือกตั้งก่อนปฏิรูป (ซึ่งในครั้งนี้หมายถึง การเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557) เป็น “การเลือกตั้งที่ไม่ใช่การเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย” เนื่องจากเป็นการเลือกตั้งที่รัฐธรรมนูญ (ฉบับปัจจุบัน) พ.ศ. 2550 บังคับให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องสังกัดพรรคการเมือง และเมื่อได้รับเลือกตั้งมาแล้ว ส.ส.ก็ไม่มีอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของ ส.ส.ได้ตามมโนธรรมของตน แต่ต้องอยู่ภายใต้บังคับของนายทุนเจ้าของพรรคการเมือง กล่าวคือ ถ้า ส.ส.ไม่ออกเสียง(ในสภา)ตามมติของพรรคการเมือง รัฐธรรมนูญ ให้อำนาจพรรคการเมืองมีอำนาจมีมติให้ ส.ส.ต้องพ้นจากสมาชิกภาพการเป็น ส.ส. ได้ซึ่งบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเหล่านี้ ไม่ใช่หลักการของการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย (แต่เป็นการเลือกตั้งใน “ระบอบเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุนในระบบรัฐสภา” ประเทศเดียวในโลก)
ถ้าจะถามผู้เขียนต่อไปว่า ถ้าเช่นนี้ หมายถึงว่า ผู้เขียนเห็นด้วยกับการ “ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง” ใช่หรือไม่ ผู้เขียนก็คงตอบว่า ไม่ใช่อีกเช่นกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ “ข้อเท็จจริง”ว่า ในการปฏิรูป (ก่อนการเลือกตั้ง) นั้น ได้มีการยกเลิก บทมาตราที่บังคับให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องสังกัดพรรคการเมือง และบทมาตราที่ให้อำนาจพรรคการเมืองมีอำนาจมีมติให้ ส.ส.พ้นจากสมาชิกภาพของการเป็น ส.ส.ได้ ออกไปจากรัฐธรรมนูญแล้วหรือไม่; ถ้ายกเลิกไปแล้ว ผู้เขียนก็เห็นด้วยกับ “การปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง”; แต่ถ้าการปฏิรูปนั้น ไม่ได้ยกเลิกบทมาตราดังกล่าว ผู้เขียนก็ไม่เห็นด้วย
จากคำตอบของผู้เขียนดังกล่าวต้น จะเห็นได้ว่า การตัดสินใจของผู้เขียนในการ “เลือก” การปฏิรูปก่อนหรือหลังการเลือกตั้งทั่วไป (วันที่ 2 กุมภาพันธ์) นั้น “เหตุผล” ของผู้เขียนไม่ได้อยู่ที่ว่า “การปฏิรูป” นั้นจะกระทำ “ก่อน” หรือ “หลัง” การเลือกตั้ง (และก็ไม่ได้อยู่ที่ประเด็นว่า “รูปแบบ” ขององค์กรที่จะทำการปฏิรูปที่เสนอโดยองค์กรใดหรือโดยผู้ใด ว่า องค์กรไหนจะดีกว่าหรือทำงานได้ผลมากกว่ากันไม่ว่าองค์กรนั้น จะเป็น “สภาประชาชน” ที่ประกอบด้วยผู้แทนจากนานาอาชีพ ฯลฯ ตามที่เลขาธิการ กปปส. เสนอ หรือจะเป็น “สภาปฏิรูปประเทศ” ที่ประกอบด้วยสมัชชา 2,000 คน และเลือกกันให้เหลือ 499 คนตามที่รัฐบาลเสนอ)
แต่ “เหตุผล” ในการที่ผู้เขียนตัดสินใจ เลือกหรือไม่เลือก “ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง” หรือ “เลือกตั้งก่อนปฏิรูป” นั้น จะอยู่ที่ “คุณลักษณะ” ของการเลือกตั้งนั่นเอง ว่า การเลือกตั้งนั้นเป็นการเลือกตั้งใน “ระบอบประชาธิปไตย”หรือไม่; ถ้าไม่ใช่ ผู้เขียนก็ไม่สามารถยอมรับ “การเลือกตั้ง” นั้นได้ถ้าใช่ ผู้เขียนก็ยอมรับ ; นอกจากนั้น จะเห็นได้ว่า “เหตุผล” ของผู้เขียนก็จะไม่เกี่ยวข้องกับ “การปฏิรูปในเรื่องอื่นๆ” เพราะเป็นคนละเรื่อง คนละประเด็น แต่ผู้เขียนจะพิจารณาเพียงว่า ได้มีการเปลี่ยนแปลง “คุณลักษณะ” ของการเลือกตั้งหรือไม่เท่านั้น
สิ่งที่แปลกสำหรับผู้เขียน ก็คือ ใน “การปฏิรูป” ตามที่พูดๆ กันอยู่นั้น ไม่ปรากฏว่า มีผู้ใด (รวมทั้ง กปปส.เอง) บอกว่า ในการปฏิรูปนั้น จะมีการยกเลิกบทมาตรา ในรัฐธรรมนูญ (3 มาตรา) ที่ทำให้เกิด “ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุน” และทำให้ “การเลือกตั้ง” ของเรา ไม่เป็นการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย ออกไปจากรัฐธรรมนูญหรือไม่; ดังนั้น “การปฏิรูป” ของมวลมหาประชาชน และของ กปปส. จึงอาจไม่รวมถึงการยกเลิก “ระบบเผด็จการ โดยพรรคการเมืองนายทุน ในระบบรัฐสภา” ก็ได้
นี่คือ “เหตุผล” ง่ายๆ ที่ตรงไปตรงมา และขอให้ผู้อ่าน (หรือท่านผู้ฟัง) ก็ลองคิดดูเอาเองก็แล้วกัน ว่า ภายใต้ “รัฐบาล”(ที่จะเข้ามาหลังการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ นี้หรือ จะเข้ามาหลังการเลือกตั้งครั้งใดๆ ก็ตาม) โดยที่รัฐธรรมนูญของเรา ยังคงเป็น “ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุน ในระบบรัฐสภา” อยู่ เราจะ “ปฏิรูป” หลังเลือกตั้งได้หรือไม่
การที่ผู้เขียนกล่าวในตอนต้นว่า การ “หลง” ประเด็นในครั้งนี้ (ตามความรู้สึกของผู้เขียน) มีความสำคัญมาก เพราะอาจมีผลทำให้ความมุ่งหมายของ “มวลมหาประชาชน” ในการล้มล้างระบอบทักษิณและการปฏิรูป (ประเทศ) ถึงกับล้มเหลวได้
ทั้งนี้ ก็เพราะว่า การตั้งประเด็นให้ “มวลมหาประชาชน” เลือกเอาระหว่าง “ปฏิรูปก่อน เลือกตั้ง” หรือ “เลือกตั้งก่อน ปฏิรูป” (?)จะทำให้ “มวลมหาประชาชน” มองไม่เห็นสาเหตุที่แท้จริง ของวิกฤตชาติ และเมื่อมองไม่เห็นถึงสาเหตุที่แท้จริงของวิกฤตชาติ แล้ว ก็จะนำไปสู่การเข้าใจ “วิธีการปฏิรูป (ประเทศ)” ที่ผิดพลาด ได้ ( หมายเหตุ เพราะตามความเป็นจริง การปฏิรูป (ประเทศ) นั้น ไม่ใช่เรื่องที่จะทำ “ก่อนหรือหลัง”การเลือกตั้ง (ทั่วไป) ตามที่พูดกัน แต่ในการปฏิรูป (ประเทศ) จะมีทั้ง “ส่วน” ที่ต้องทำก่อน การเลือกตั้งทั่วไป และ “ส่วน” ที่จะทำหลัง การเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป)
●“ระบอบการปกครองตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของไทย” ไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตย “การเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557” ไม่ใช่ “การเลือกตั้งที่เป็น Democratic Process”
“สาเหตุ” ที่แท้จริงของวิกฤตชาติ คือ ระบอบการปกครองตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของไทย ไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตย และการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไม่ใช่การเลือกตั้งที่เป็น Democratic Process
สิ่งที่ผู้เขียนแปลกใจมาก ก็คือ ทำไม วงการนักกฎหมายและวงการนักวิชาการของเราซึ่งบางทีอาจจะ(เกือบ)ทั้งประเทศไทยจึงไม่รู้ว่า “การเลือกตั้ง”ที่กฎหมาย (รัฐธรรมนูญ) บังคับให้ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ต้องสังกัดพรรคการเมือง และเมื่อได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. แล้ว ส.ส.ก็จะไม่มีอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ แต่ต้องอยู่ภายใต้บังคับของพรรคการเมืองและต้องปฏิบัติตามมติพรรค (มิฉะนั้น พรรคการเมืองสามารถมีมติให้พ้นจากตำแหน่ง ส.ส.ได้) “ นั้น ไม่ใช่ “การเลือกตั้ง ในระบอบประชาธิปไตย”
ทำไมวงการนักกฎหมายและวงการนักวิชาการของเรา จึงมองไม่เห็น ว่า “ระบบเผด็จการ โดยพรรคการเมืองนายทุน ในระบบรัฐสภา” ที่มาจากบทมาตรา 3 มาตราที่บัญญัติอยู่ในรัฐธรรมนูญของประเทศไทย ประเทศเดียวในโลกนั้นเป็น “สาเหตุ” โดยตรงของการทุจริตคอร์รัปชันอย่างมโหฬารที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ เพราะในระบบเผด็จการนั้น ไม่มีการถ่วงดุลและการตรวจสอบระหว่างสถาบันฝ่ายบริหารและสภาผู้แทนราษฎร
ทำไม วงการนักกฎหมายและวงการนักวิชาการของเรา จึงมองไม่เห็นว่า ระบบเผด็จการ โดยพรรคการเมืองนายทุน ในระบบรัฐสภา” เป็น “สาเหตุ” โดยตรง ของการใช้นโยบายประชานิยมอย่างผิดๆ (จนประเทศจะล้มละลาย) เพียงเพื่อจะซื้อเสียงจากประชาชน เพื่อให้ตนเองได้เข้ามาผูกขาดอำนาจรัฐ และทำการทุจริตคอร์รัปชัน และแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรของส่วนรวมต่อไปให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้ จนกว่าประเทศจะล่มสลาย
ผู้เขียนเชื่อว่า การที่สหรัฐอเมริกาหรือต่างประเทศบางประเทศ หรือแม้แต่นายบัน คี มุน (เลขาธิการสหประชาชาติ) ที่เขาสนับสนุนการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 นั้น เป็นเพราะต่างประเทศ ฯลฯ เขาคิดว่า “การเลือกตั้งของเรา” เหมือนกับ “การเลือกตั้งของประเทศของเขา” ที่เป็น Democratic Process
ทั้งนี้ เพราะไม่มีใครไปบอกกับเขาว่า การเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์นั้น เป็นการเลือกตั้งที่ไม่เป็นไปตามหลักการสากลของ “การเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย” เพราะตามรัฐธรรมนูญของเรา ผู้สมัครรับเลือกตั้งของเราถูกบังคับให้ต้องสังกัด “พรรคการเมือง” ไม่สามารถสมัครรับเลือกตั้งโดยอิสระได้ และเพราะไม่มีใครไปบอกเขา ว่าเมื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.แล้ว ส.ส.ของเรา ไม่มีความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของ ส.ส. ได้ตามมโนธรรมของตนเอง แต่ต้องออกเสียงตามมติสั่งการของ “พรรคการเมือง”เพราะรัฐธรรมนูญของเราได้ให้อำนาจแก่พรรคการเมืองให้มีมติปลด ส.ส.ให้พ้นจากสมาชิกภาพการเป็น ส.ส.ได้ ถ้า ส.ส.นั้นไม่ออกเสียงในสภาตามมติของพรรคการเมือง ฯลฯ
บทมาตราเหล่านี้ไม่ใช่ “หลักการของระบอบประชาธิปไตย Principle of Democracy” และไม่มีรัฐธรรมนูญของประเทศใดในโลก ที่มีบทมาตราเช่นนี้ (หมายเหตุ : ข้อเท็จจริงเหล่านี้ บรรดาสมาชิกสภาคองเกรสของสหรัฐอเมริกาเองหรือนายบัน คี มุน (เลขาธิการสหประชาชาติ) หรือบรรดา Professors ของมหาวิทยาลัยต่างประเทศในประเทศต่างๆ ที่สนับสนุนการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 อาจตรวจสอบดูได้จากตำรากฎหมายรัฐธรรมนูญ และตัวบทรัฐธรรมนูญของประเทศของเขาเอง)
แน่นอนว่า การที่ “รัฐบาล” ของเรา ไปขอให้ต่างประเทศเขาสนับสนุนการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 นั้นผู้เขียนเชื่อว่ารัฐบาลของเราคงไม่ได้บอกกับต่างประเทศ ว่า “การเลือกตั้งของเรา” เป็นอย่างไร และเนื่องจาก วงการกฎหมายและวงการวิชาการของเราก็ไม่รู้จัก “หลักประชาธิปไตย Principle of Democracy” ในการเลือกตั้งของระบอบประชาธิปไตย” ดังนั้นจึงไม่มีใครไปบอกเขา
ถ้าเรามีใครสักคนไปบอกต่างประเทศเขาว่า การที่เราไม่ต้องการให้มี “การเลือกตั้งทั่วไป” ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์นั้น ก็เพราะเราต้องการให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยกเลิกบทมาตราเหล่านี้ไปก่อน และทำให้การเลือกตั้งของเราเป็น “ประชาธิปไตย” และเมื่อเรายกเลิกมาตราเหล่านี้แล้วเราก็จะจัดให้มี “การเลือกตั้งทั่วไป” โดยเร็ว
ควรบอกเขาไปด้วยว่าใน “ระบบเผด็จการ โดยพรรคการเมืองนายทุนฯ “ภายใต้รัฐธรรมนูญปัจจุบัน” ของเราในช่วงเวลาที่ผ่านมากว่า 10 ปีนี้ ทำให้ บรรดา “นายทุนเจ้าของพรรคการเมือง” ที่ร่วมกันเข้ามาเป็นพรรครัฐบาล ในระบบรัฐสภาของเรา สามารถตกลงแบ่งโควตาตำแหน่ง “รัฐมนตรี” ระหว่างกัน และให้แต่ละพรรคการเมืองต่างมีโอกาสแสวงหาประโยชน์และทำการทุจริตคอร์รัปชันจากการบริหารงานในกระทรวงที่ตนเป็นรัฐมนตรีได้โดยอิสระ โดยที่พรรคการเมืองอื่นจะไม่เข้าไปก้าวก่าย นอกจากนั้น ถ้าหัวหน้าพรรคการเมืองเหล่านี้ยังไม่อยากเป็นรัฐมนตรี เขาก็สามารถเอาลูกเอาเมียมาเป็นรัฐมนตรีแทนตนได้ โดย ส.ส.ในพรรคการเมืองไม่มีสิทธิพูดอะไร เพราะส.ส.เหล่านี้ได้รับเงินพิเศษจากนายทุนเจ้าของพรรคการเมือง เป็นประจำเดือนทุกเดือน
และระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุน ตามรัฐธรรมนูญของประเทศไทย ได้ทำให้ “นายทุนเจ้าของพรรคการเมือง” พรรคใหญ่ สามารถสั่งบริหารประเทศในฐานะที่เป็น “นายกรัฐมนตรีตัวจริง” ได้ แม้ว่าตนเองจะต้องคดีอาญาและหนีไปอยู่ต่างประเทศ ดังที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้
นี่คือ “ผล” ของการเขียน(ออกแบบ)รัฐธรรมนูญที่ขาด “ความรู้” และขาดประสบการณ์ของวงการกฎหมายและวงการวิชาการของไทย อันเป็น “ต้นเหตุ” ของการทุจริตคอร์รัปชันอย่างมโหฬารของบรรดานายทุนเจ้าของพรรคการเมือง ในระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุน (ฉบับเดียวในโลก)
ผู้เขียนเชื่อว่า เมื่อต่างประเทศเขารู้ความจริงข้อนี้ เขาคงจะแปลกใจมากเพราะเขาไม่คิดว่า ในโลกนี้ จะมีประเทศใดที่เขียน (ออกแบบ) รัฐธรรมนูญอย่างนี้และ ผู้เขียนก็เชื่อว่า เมื่อเขารู้ความจริงแล้ว เขาคงจะต้องถอนการสนับสนุนการเลือกตั้งของรัฐบาล ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์นี้ อย่างแน่นอน
ระบอบการปกครองของประเทศไทย ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันไม่ใช่ “ระบอบประชาธิปไตย”
ผู้เขียนคิดว่า ถ้าเราคนไทยตั้งใจจะแก้ปัญหาวิกฤตชาติ เราคงต้องระมัดระวัง อย่า “หลง” ประเด็นได้ง่ายนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “องค์กรอิสระ” ที่ประสงค์ (หรืออยาก) จะชี้นำสังคม ก็ต้องระวังให้มาก มิฉะนั้น ท่านอาจจะชี้นำสังคมอย่างผิดๆ ไม่ว่าจะด้วยเจตนาหรือไม่เจตนา เพราะคนที่ไม่หวังดีและตั้งใจแสวงหาประโยชน์จาก “ความไม่รู้” ของเรานั้น มีอยู่มากมายรอบๆ ตัวเร
สิ่งที่ผู้เขียนกังวลอย่างมาก ก็คือ การ “หลง” ประเด็นนี้จะ ทำให้การปฎิรูปประเทศไม่เกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นแต่ไม่ประสบความสำเร็จ คือ เป็นการแก้ “ปัญหาเก่า” เพื่อสร้าง “ปัญหาใหม่” ที่(อาจ)เลวร้ายกว่าเก่า
(หมายเหตุ : และสำหรับ “ปัญหา” ที่จะกำลังถกเถียงกันอยู่ ในหน้าสื่อมวลชนอยู่ขณะนี้ (เดือนกุมภาพันธ์) ว่า การเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมถาพันธ์ 2557 ที่ยังไม่เสร็จสิ้น จะดำเนินการต่อไปได้อย่างไรและจะมีผลใช้ได้หรือไม่ได้ (เป็นโมฆะ) เพียงใด (?) ผู้เขียนขอไม่มีความเห็น เพราะผู้เขียนไม่สามารถยอมรับ “การเลือกตั้งครั้งนี้” ได้ (ไม่ว่าการเลือกตั้งจะเสร็จสิ้นหรือไม่) เนื่องจากการเลือกตั้งครั้งนี้ ไม่ได้เป็น “การเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย”)
● เราจะปฏิรูปประเทศกันอย่างไร
เมื่อเราได้ทำความเข้าใจกับ “ประเด็น” ในอารัมภบทนี้แล้ว ต่อไปนี้ผู้เขียนขอให้ความเห็นใน “วิธีการแก้ปํญหาวิกฤตชาติ” ครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ของเรา โดยจะพูดต่อจาก “สาระ” ที่ผู้เขียนได้ให้สัมภาษณ์ FM TV ไปแล้วในครั้งแรกเมื่อเดือนธันวาคม โดยในการให้สัมภาษณ์ FM TV ครั้งที่สองและในบทความนี้ ผู้เขียนขอแบ่งสาระเป็น 3 หัวข้อ ดังนี้
ใน 2 หัวข้อแรก (คือ ข้อ 1 และ ข้อ 2) ผู้เขียนจะได้พูดถึง “ปัญหาวิกฤตชาติของเรา ”ว่า มีอะไรบ้าง และเราจะมีวิธีแก้ (การแก้รัฐธรรมนูญปัจจุบัน) อย่างไร
ตามความเป็นจริง ปัญหาวิกฤตชาติของเรามี 2 ระดับ คือ ระดับแรก (หรือหัวข้อแรก) เราจะทำอย่างไรประเทศไทยจึงจะเป็น “ประชาธิปไตย” (ที่ไม่ใช่ “ระบบเผด็จการ โดยพรรคการเมืองนายทุน ในระบบรัฐสภา” ซึ่งเป็นประเทศเดียวในโลก);
ระดับที่สอง (หรือหัวข้อที่สอง) เราจะทำอย่างไร การบริหารประเทศในระบอบประชาธิปไตยของเรา (ในระบบรัฐสภา) จึงจะมีประสิทธิภาพ ซึ่งได้แก่ “การปฏิรูปประเทศไทย”
กล่าวคือเมื่อเราแก้รัฐธรรมนูญ ทำให้การปกครองของเราเป็น “ประชาธิปไตย” แล้ว เราจะแก้ไขรัฐธรรมนูญในส่วนอื่น (นอกจาก 3 มาตราดังกล่าว) และแก้ไขกฎหมายที่สำคัญๆ ฉบับใดบ้าง เพื่อทำให้การบริหารประเทศของเรามีประสิทธิภาพ และไม่ให้มีปัญหาเดิมๆ ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต เช่น ปัญหา ส.ส.ขายเสียง (หรือรับซอง) ให้ยกมือสนับสนุนญัตติของรัฐบาล ฯลฯ เกิดขึ้นซ้ำอีก
หัวข้อที่ 3 ซึ่งผู้เขียนถือว่า เป็นหัวข้อที่สำคัญที่สุด ในการแก้ปัญหาวิกฤตชาติคือ ใครจะเป็นผู้ใช้อำนาจรัฏฐาธิปัติ และทำให้ อย่างไร การปกครองในระบอบประชาธิปไตยของเรา จึงจะมีประสิทธิภาพ” จำเป็นต้องแก้รัฐธรรมนูญ (ฉบับปัจจุบัน “การปฏิรูป” เกิดขึ้นได้จริง เพราะไม่ว่าจะเป็นเรื่อง “ทำอย่างไร เราจึงจะเป็นประชาธิปไตย” หรือ “ทำ) ทั้งสิ้น ดังนั้น ในการแก้ปัญหาวิกฤตชาติเราจึงจำเป็นต้องมี “อำนาจรัฏฐาธิปัตย์” เพื่อที่จะแก้รัฐธรรมนูญ
ปัญหาของคนไทยมีอยู่ว่าโดยที่ขณะนี้ ระบอบการปกครองตามรัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบัน พ.ศ. 2550 ไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตย แต่เป็น “ระบอบเผด็จการ โดยพรรคการเมืองนายทุน ในระบบรัฐสภา” ประเทศเดียวในโลก และนายทุนพรรคการเมืองกำลังผูกขาดอำนาจรัฐอยู่
ถ้านายทุนพรรคการเมืองที่ผูกขาดอำนาจรัฐ ไม่ยอมแก้รัฐธรรมนูญที่จะทำให้ตนเองต้องสูญเสียอำนาจ เรา(คนไทย) จะแก้รัฐธรรมนูญ (ให้เป็นประชาธิปไตย) ได้อย่างไร
ผู้เขียนเห็นว่า ในการแก้ปัญหาวิกฤตชาติครั้งนี้ สิ่งแรกที่จะต้องทำ คือ ต้องทำให้ปรากฏอย่างชัดเจน ว่าการปฏิรูป(ประเทศ)นั้น เป็นไปเพื่อ “ประโยชน์ส่วนรวม” ของคนไทยทั้งประเทศ และเมื่อปรากฏชัดแจ้งแล้วว่า “ประโยชน์ส่วนรวม” อยู่ที่ไหน “คนไทยทุกคนมีหน้าที่ที่จะต้องประพฤติตัวปฏิบัติงานให้สมแก่ฐานะและหน้าที่เพื่อให้สำเร็จ “ประโยชน์ส่วนรวม”
หัวข้อที่ 1 ทำให้ระบอบการปกครองของประเทศไทยเป็นประชาธิปไตย
● ทำไมนานาประเทศและเลขาธิการสหประชาชาติ (นาย บัน คี มุน) จึงไม่เข้าใจการกระทำของ “มวลมหาประชาชน” และตำหนิการขัดขวางการเลือกตั้งทั่วไป ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ของ “มวลมหาประชาชน”
ผู้เขียนได้กล่าวในตอนต้นแล้ว ว่าการตั้งประเด็นให้ “มวลมหาประชาชน” เลือกเอาระหว่าง “ปฏิรูปก่อน เลือกตั้ง” หรือ “เลือกตั้งก่อน ปฏิรูป” (?)ได้ทำให้ “มวลมหาประชาชน” และคนทั่วไป มองไม่เห็น “สาเหตุ” ที่แท้จริงของวิกฤตชาติ และเมื่อมองไม่เห็นถึงสาเหตุที่แท้จริงของวิกฤตชาติ ก็จะนำไปสู่ การเข้าใจ“วิธีการปฏิรูป (ประเทศ)” ที่ผิดพลาด
เราลองมาดูสโลแกนของ “มวลมหาประชาชนที่ว่า “ปฏิรูป ก่อนเลือกตั้ง” (ที่อยู่บนผ้าคาดหัวของสมาชิกมวลมหาประชาชน) ประกอบกับการอธิบาย ของ “กปปส.” ที่ว่า การปฏิรูปประเทศของมวลมหาประชาชน จะกระทำด้วยการตั้ง “สภาประชาชน” ที่ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 400 คนโดยมาจากผู้แทนสาขาอาชีพต่างๆ 300 คน และสมาชิกอื่นที่ กปปส.เลือกมาอีก 100 คน (โดยจะมีการปฏิรูปในเรื่องต่างๆ เช่น กิจการตำรวจ การเลือกตั้งผู้ว่าราชการทุกจังหวัด และฯลฯ)
ปัญหามีว่าสโลแกนของ “มวลมหาประชาชนและคำอธิบาย ของ “กปปส.” (ที่ว่า การปฏิรูปจะกระทำด้วยการตั้ง “สภาประชาชน”) ได้สร้างความเข้าใจ ใน “การกระทำ” ของมวลมหาประชาชนแก่บุคคลภายนอกได้ มากน้อยเพียงใด
ผู้เขียนเห็นว่าสโลแกนของมวลมหาประชาชนที่ว่า “ปฏิรูป ก่อนเลือกตั้ง” นอกจากจะไม่มีส่วนในการอธิบาย “การกระทำ” ของมวลมหาประชาชน ให้บุคคลภายนอกได้เข้าใจถึง “เหตุผล” ในการกระทำของมวลมหาประชาชนแล้ว แต่กลับจะสร้างความไม่แน่ใจและความสงสัยให้แก่คนจำนวนหนึ่งที่มองไปไกลกว่านั้น
ถ้ามวลมหาประชาชนจะขัดขวาง “การเลือกตั้งทั่วไป ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557”ผู้เขียนคิดว่า กปปส. ควรจะต้องให้เหตุผลว่า “การเลือกตั้งทั่วไป ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557” ไม่ถูกต้องอย่างไร;ไม่ใช่ให้เหตุผลว่า เพราะมวลมหาประชาชน ต้องการ “การปฏิรูป” ซึ่งเป็นคนละเรื่อง คนละประเด็น ; เหมือนกับถามว่าไปไหนมา ตอบว่า สามวาสองศอก
ถ้า “มวลมหาประชาชน” ต้องการการปฏิรูป “ก่อน” การเลือกตั้ง และขัดขวางการเลือกตั้งทั่วไป ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ผู้เขียนก็คิดว่า กปปส.ควรจะต้องอธิบาย ว่า “การเลือกตั้ง” หลังการปฏิรูปจะดีกว่า หรือถูกต้องกว่า “การเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ (ที่ทำ) ก่อนการปฏิรูป” อย่างไรซึ่งไม่ปรากฏว่า “กปปส.” มีคำอธิบายในเรื่องนี้แต่อย่างใด
คำว่า “การปฏิรูป” มีความหมายไม่แน่นอน สิ่งที่ “กปปส.” ระบุว่า จะมีการปฏิรูป (เช่น การเปลี่ยนแปลงการบริหารตำรวจ การเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด ฯลฯ) ก็ไม่อาจแน่ใจได้ว่าถ้าทำไปแล้วจะมีผลดีผลเสียในการบริหารอย่างไร เพราะยังไม่มีกระบวนการคีกษาวิเคราะห์หากแต่เป็นเพียง “ความเห็น” ของ กปปส.; คำว่า “การเลือกตั้ง”(ซึ่งหมายถึง การเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557) ก็เช่นเดียวกันการเลือกตั้งครั้งนี้ เป็นการเลือกตั้งทั่วไปที่กระทำขึ้นหลังจากที่รัฐบาลได้ยุบสภาเมื่อวัน 9 ธันวาคม 2556 อันเป็นวิธีการเปลี่ยนรัฐบาล ในกรณีที่มีวิกฤตในการบริหารประเทศที่กระทำกันใน “ระบบรัฐสภา” ทั่วๆ ไป ซึ่ง “กปปส.” ไม่ได้ให้เหตุผลว่า การที่ “มวลมหาประชาชน” ขัดขวางการเลือกตั้งครั้งนี้ เป็นเพราะการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่เป็นไปตาม “ระบอบประชาธิปไตย” อย่างไร หรือไม่ถูกต้องอย่างไร
ข้อที่สำคัญ ที่ทำให้ดูเหมือนว่า “มวลมหาประชาชน” และ กปปส. เอง อาจจะเป็นฝ่ายผิดพลาด ก็คือ การที่ กปปส. ได้เสนอให้มี “การปฏิรูปประเทศ”และมีแก้ไขกฎหมายต่างๆ ด้วยความเห็นชอบ โดย “สภาประชาชน” ซึ่งเป็นสภาที่มาจากบุคคลเพียงบางกลุ่ม” ฯลฯ ซึ่งไม่ได้เป็นไปตามหลักการของประชาธิปไตย Principle of Democracy เนื่องจาก “สภาประชาชน” มิใช่ “สภา” ที่สมาชิกมาจากการเลือกตั้งโดย ผู้มีสิทธิออกเสียงทั่วประเทศ
(หมายเหตุ: ซึ่งก็ปรากฏ “ข้อเท็จจริง” ให้เห็นแล้วว่า รัฐบาลปัจจุบัน รวมทั้งนักกฎหมายฝ่ายรัฐบาล ก็ มิได้พลาดโอกาส ที่จะย้ำแสดงให้เห็นความผิดพลาดของ “มวลมหาประชาชน” และ กปปส. ในการเสนอครั้งนี้ โดยกลุ่มนักกฎหมายดังกล่าวได้จัดให้มีการอภิปรายขึ้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อเร็วๆ นี้ (กลางเดือนมกราคม 2557) และได้ยกประเด็นความไม่ถูกต้อง (ตามกระบวนการประชาธิปไตย) ของ “สภาประชาชน” ขึ้นมาแถลงให้ประชาชนเห็นเพียงแต่ว่า ในการอภิปรายดังกล่าว บุคคลเหล่านี้จะพูดถึงความผิดพลาดในข้อเสนอของ กปปส. เพียงด้านเดียว และจะหลีกเลื่ยงไม่พูดถึง “ระบบเผด็จการของพรรคการเมืองนายทุน” ที่รัฐบาลกำลังผูกขาดอำนาจรัฐอยู่ตามรัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบัน ซึ่งไม่ใช่ “ระบอบประชาธิปไตย” เช่นเดียวกัน)
ตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏอาจสรุปได้ว่า ดูเหมือนว่า มวลมหาประชาชนต้องการ “ปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง” ทั้งๆ ที่มวลมหาประชาชนยังไม่แน่ใจว่า “การปฏิรูป (ที่มวลมหาประชาชน ต้องการทำก่อนการเลือกตั้ง)” นั้น หมายถึงการปฏิรูปเรื่องอะไรและมีวิธีการปฏิรูปอย่างไรและยังไม่ทราบว่า “การเลือกตั้ง (ที่มวลมหาประชาชนต้องการหลังปฏิรูป)” หรือ “การเลือกตั้ง (ที่มวลมหาประชาชนไม่ต้องการก่อนปฏิรูป)” นั้น หมายถึง การเลือกตั้งลักษณะไหน
ผู้เขียนคิดว่า มวลมหาประชาชน และ กปปส. น่าจะต้องทำความกระจ่าง และสื่อให้บุคคลภายนอกได้เข้าใจ “เหตุผล” ในการกระทำของ “มวลมหาประชาชน” ให้ชัดเจนมากกว่านี้เป็นต้นว่า การที่มวลมหาประชายนไม่เห็นด้วยกับการเลือกตั้ง วันที่ 2กุมภาพันธ์ 2557 เป็นเพราะ “(มวลมหาประชาชนไม่ต้องการ) การเลือกตั้งที่ ส.ส.เป็นทาสนายทุน” หรือ “(ไม่ต้องการ) รัฐธรรมนูญที่เป็นระบบเผด็จการนายทุน” หรือ “(ต้องการ) รัฐธรรมนูญที่เป็นระบอบประชาธิปไตย” หรือ ฯลฯ
● การทำให้ระบอบการปกครองของประเทศไทยเป็น “ประชาธิปไตย”
ทำอย่างไร นานาประเทศและเลขาธิการสหประชาชาติ (นาย บัน คำ มุน) จึงจะรู้ “ความจริง” และเข้าใจการกระทำ ของ “มวลมหาประชาชน” อย่างถูกต้อง (ซึ่งจะช่วยให้ความมุ่งหมายของ “มวลมหาประชาชน” ในการแก้ปัญหาวิกฤตชาติประสบความสำเร็จ)
คำตอบอย่างง่ายๆ ก็คือ มวลมหาประชาชน และ กปปส. จะต้องทำให้นานาประเทศ รวมทั้งคนไทยทั้งประเทศ มองเห็น “ความจริง” ที่ว่า “ระบอบการปกครองของประเทศไทยตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันไม่ใช่ ระบอบประชาธิปไตย” และ การเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ก็ไม่ใช่ ” การเลือกตั้ง ที่เป็น Democratic Process”
ด้วยเหตุนี้มวลมหาประชาชน และ กปปส. จึงได้ขัดขวางการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 เพราะต้องการทำให้ “การเลือกตั้ง(ทั่วไป)” เป็นไปตามหลักการของระบอบประชาธิปไตยเสียก่อน แล้วจึงจะจัดให้มีการเลือกตั้ง (ทั่วไป)
สำหรับการเสนอ “วิธีการปฎิรูป(ประเทศ)” ของ มวลมหาประชาชน และ กปปส. (ว่าด้วย “สภาประชาชน”) ก็เช่นเดียวกัน ผู้เขียนก็เห็นว่ามวลมหาประชาชน และ กปปส. น่าจะต้องเปลี่ยนแปลง “ข้อเสนอ” ในวิธีการปฏิรูปเพื่อให้วิธีการปฏิรูป (ประเทศ) ของมวลมหาประชาชนเป็นไปตามหลักการของ Democratic Process (ซึ่งจะได้กล่าว ในหัวข้อต่อไป)
ขณะนี้ “มวลมหาประชาชน” ทราบอยู่แล้วว่า “สิ่งที่เราไม่ต้องการ” ก็คือ เราไม่เอา “ระบอบทักษิณ”
ความเลวร้ายของ “ระบอบทักษิณ” (ซึ่งนอกจากเรื่องการทุจริตคอร์รัปชันอย่างมโหฬาร ทั้งทุจริตทางตรง และทุจริตทางนโยบายด้วยการใช้ “สภา” ออกกฎหมายเพื่อประโยชน์ของตนเอง เอากิจการสื่อสารของรัฐไปขายให้แก่ต่างชาติออกกฎหมายแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เอากิจการผูกขาดของรัฐไปให้แก่ตนเองและพรรคพวก ออกกฎหมายนิรโทษกรรมแบบเหมาเข่ง ฯลฯ) มีมากมายเพียงใด ท่านคงฟัง “ข้อเท็จจริง” ที่มวลมหาประชาชนได้นำมาเปิดเผยในการปราศรัยที่เวทีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และในเวทีอื่นๆ นับเวลากว่า 2-3 เดือนนี้และทราบกันดีอยู่แล้ว ผู้เขียนคงไม่จำต้องนำมากล่าวซ้ำอีก และเราคงไม่ เอาระบอบทักษิณแน่ๆ
แต่ข้อที่น่าสังเกต ก็คือ สิ่งที่คนทั่วๆ ไปได้ยินจาก “คำปราศรัย” ในเวทีต่างๆ ของมวลมหาประชาชน เป็นต้นว่า “ระบอบทักษิณเป็นระบบเผด็จการนายทุน” “ระบอบทักษิณ เป็น “ระบอบนายทุนสามานย์”ฯลฯ แต่สิ่งที่ผู้เขียนไม่ได้ยิน ก็คือ การบอกว่า “ระบอบทักษิณ” เกิดขึ้นมาได้อย่างไร และ อะไรที่เป็น “สาเหตุ” ที่ทำให้ทักษิณสามารถซื้อ ส.ส. และผูกขาดใช้อำนาจรัฐ ทำการทุจริตคอร์รัปชันและแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากทรัพยากรของชาติได้มากมายถึงเพียงนั้น
ดูเหมือนว่า ขณะนี้ เราทราบเพียงแต่ว่า เราไม่เอา “ระบอบทักษิณ” เพราะการทุจริตคอร์รัปชันอย่างมโหฬาร ซึ่งมีข้อเท็จจริงที่ยืนยันมากมาย แต่เราไม่ทราบว่า อะไรคือ “สาเหตุ” ที่ทำให้ระบอบทักษิณสามารถ ทำการทุจริตคอร์รัปชันได้อย่างมโหฬาร
ในการให้สัมภาษณ์ใน FM TVครั้งแรก เมื่อต้นเดือนธันวาคม 2556 ที่ผ่านมานี้ผู้เขียนได้นำ “ปัญหา” เรื่องบทบัญญัติรัฐธรรมนูญของเรา ที่ได้สร้าง “ระบบเผด็จการ โดยพรรคการเมืองนายทุน ในระบบรัฐสภา” (ฉบับเดียวในโลก) มาเสนอต่อท่านผู้ฟัง ซึ่งก็เป็นที่ประหลาดใจมาก ที่ปรากฏว่า การให้สัมภาษณ์ FM TV ของผู้เขียนครั้งแรกนี้ ได้มีผู้สนใจเข้ามาอ่านคำให้สัมภาษณ์ของผู้เขียนนี้ถึงหนึ่งแสนคนเศษ (หมายเหตุ ทั้งที่ ผู้เขียนได้เคยเขียนบทความต่างๆ ในประเด็นนี้ เพื่อเตือนนักกฎหมายและนักวิชาการของเรา มานานแล้วไม่ต่ำกว่า 20 ปีแล้ว)
“ระบอบทักษิณ” เกิดจาก บทบัญญัติเพียง 3 มาตราในรัฐธรรมนูญของเรา ซึ่งทำให้ระบอบการปกครองของเรา เป็น “ระบบเผด็จการ โดยพรรคการเมืองนายทุน ในระบบรัฐสภา” (ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับเดียวในโลก ไม่มีรัฐธรรมนูญของประเทศใดเขียนอย่างนี้) และ ไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตย
ระบอบการปกครองของประเทศไทยตามรัฐธรรมนูญของไทยฉบับปัจจุบัน ไม่ใช่ “ระบอบประชาธิปไตย” และ “การเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗”ไม่ใช่เป็น “การเลือกตั้งที่เป็น Democratic Process”
(เพราะเป็นการเลือกตั้งที่ “ผู้สมัครรับเลือกตั้ง” ของเราถูกรัฐธรรมนูญบังคับ ให้ต้องสังกัดพรรคการเมือง ไม่สามารถสมัครโดยอิสระได้ และเมื่อได้รับการเลือกตั้งมาแล้ว ส.ส.ของเราไม่มีอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ ของ ส.ส. ได้ตามมโนธรรมของตนเองหากแต่ต้องใช้สิทธิออกเสียงในสภา ตามมติสั่งการของพรรคการเมือง
(หมายเหตุ อันที่จริงแล้ว “การเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557” ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของเรา นอกจากจะไม่ใช่ Democratic Process แล้ว ยังเป็น Process ในทางตรงกันข้าม คือ เป็นกระบวนการที่ธำรงรักษา “ระบบผูกขาดอำนาจของพรรคการเมืองนายทุน” ไว้อีกด้วย)
ในการทำให้ “ระบอบการปกครองของประเทศไทยเป็นประชาธิปไตย เราจำเป็นต้องยกเลิก บทมาตรา 3 มาตราในรัฐธรรมนูญ (ที่ทำให้ระบอบการปกครองของเราเป็น “ระบบเผด็จการ โดยพรรคการเมืองนายทุน ในระบบรัฐสภา”) และคงต้องยกเลิก “ก่อนการเลือกตั้ง(ทั่วไป)” ทำเร็วเท่าไรก็ยิ่งดีเท่านั้นทำพรุ่งนี้ได้ก็ดี
ในการให้สัมภาษณ์ FM TV ครั้งแรก ผู้เขียนได้กล่าวไว้แล้วว่าถ้าไม่ยกเลิก “บทมาตราของรัฐธรรมนูญ” ที่สร้าง “ระบบเผด็จการ โดยพรรคการเมืองนายทุน” ที่เป็นรัฐธรรมนูญฉบับเดียวในโลกนี้แล้ว เลือกตั้งอีกกี่ครั้ง “ระบอบทักษิณ” ก็จะกลับมาอีก;เหมือนกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ. 2540 โดยรัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ. 2550 เมื่อปี พ.ศ. 2550 ; ซึ่งรัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ. 2550 นอกจากจะมองไม่เห็นและไม่ได้ยกเลิก “ระบบเผด็จการ โดยพรรคการเมืองนายทุน ในระบบรัฐสภา” (ประเทศเดียวในโลก) ในรัฐธรรมนูญ ฉบับ ปี พ.ศ. 2540 แล้ว แต่ยังกลับแก้ไขเพิ่ม “มาตรการ” ที่ทำให้ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุน มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้นอีกด้วยดังนั้น ระบบทักษิณจึงได้กลับมาอีก (หมายเหตุ ในประเด็น “วิวัฒนาการ” ของการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับต่างๆ ของประเทศไทยโปรดดูได้จากบทความของผู้เขียน ในการบรรยายที่ “ศาลรัฐธรรมนูญ” ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556)
ดังนั้น การล้มล้างระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุนนี้ออกจากตัวบทรัฐธรรมนูญ จึงเป็น “สิ่งแรก” ที่จะต้องทำในการแก้ปัญหาวิกฤตชาติ การล้มล้างระบบเผด็จการนี้ออกจากรัฐธรรมนูญ เป็นการแก้ปัญหาที่สำคัญ มากกว่าการปรับปรุงกฎหมายต่างๆ ว่าด้วยระบบเลือกตั้ง หรือการไล่ตามจับการซื้อขายเสียงในการเลือกตั้งเป็นรายกรณีตามที่พูดๆ กันอยู่
● การแก้ไขรัฐธรรมนูญ (ฉบับปัจจุบัน) เพื่อทำให้ประเทศไทยเป็น “ประชาธิปไตย”
เราต้องไม่ลืมว่าการบริหารประเทศของ“รัฐ Modern State” ”ในยุคปัจจุบันรัฐจำเป็นต้องมี “รัฐธรรมนูญ”(ลายลักษณ์อักษณ) เป็นกฎเกณฑ์ในการจัดระบบสถาบันการเมืองในการบริหารประเทศ ไม่ว่า จะเป็นรัฐธรรมนูญ (หรือธรรมนูญ) ฉบับชั่วคราว หรือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับถาวร (ที่เราตั้งใจจะใช้ต่อไปเป็นเวลานาน) ก็ตาม
ดังนั้น เราจึงไม่สามารถพูดถึง การเปลี่ยนแปลงการจัดระบบสถาบันการเมืองฯโดยไม่พูดถึง การยกเลิกหรือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่ได้
ผู้เขียนไม่ทราบว่า ท่านผู้อ่านได้สังเกตบ้างหรือไม่ว่า ในการแก้ปัญหาวิกฤตชาติครั้งนี้ นักกฎหมายและนักวิชาการของเราไม่(ค่อย)ได้พูดถึง “การแก้รัฐธรรมนูญ” ;กล่าวคือ นักกฎหมายและนักวิชาการของเรา พูดถึง “ระบอบทักษิณ ว่า เป็นระบบเผด็จการนายทุนสามานย์” แต่นักกฎหมายและนักวิชาการของเราไม่พูดถึง (และไม่ตรวจดู) บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ที่ทำให้เกิดระบบทุนสามานย์ ; นักกฎหมายและนักวิชาการของเรา พูดถึง “การไม่เอาระบอบทักษิณ” แต่นักกฎหมายและนักวิชาการของเราไม่พูดถึงการยกเลิกบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ที่ทำให้เกิด “ระบอบทักษิณ”; และนักกฎหมายและนักวิชาการของเรา พูดถึง “การปฏิรูป” แต่นักกฎหมายและนักวิชาการของเราไม่พูดถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งผู้เขียนเห็นว่า เป็นความแปลกประหลาด อย่างหนึ่งในวงการกฎหมายและวงการวิชาการของเรา
แต่ไม่ว่า ความแปลกประหลาดในวงการกฎหมายและวงการวิชาการของเรา จะเกิดขึ้นเพราะเหตุใด ในบทความนี้ ผู้เขียนจะขอพิจารณาต่อไปว่า ถ้าเราจะทำให้ “ระบอบการปกครองของประเทศไทยเป็นประชาธิปไตย” เราจะแก้รัฐธรรมนูญและกฎหมาย(ที่เกี่ยวข้อง) อย่างไร และเราจะใช้เวลานานประมาณเท่าใด ก่อนที่จะมี “การเลือกตั้งทั่วไป”
เราได้กล่าวแล้วว่า “สิ่งแรก”ที่เราต้องทำในการทำให้การปกครองของเราเป็น “ระบอบประชาธิปไตย” คือการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน โดยการยกเลิกบทมาตรา 3 มาตรา ที่ทำให้ระบอบการปกครองของไทย เป็น “ระบอบเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุนในระบบรัฐสภา” และถ้าหากไม่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามกระบวนการที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญโดยนักการเมืองนายทุนเจ้าของพรรคการเมืองที่ผูกขาดอำนาจรัฐอยู่ในปัจจุบัน เราก็จำเป็นต้องมีการ “ปฏิวัติ” เพื่อให้ได้มาซึ่ง อำนาจรัฏฐาธิปัตย์ ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
แต่อย่างไรก็ตาม เราต้องระลึกด้วยว่าอำนาจรัฐที่ได้มาโดย “การปฏิวัติ” นั้น เป็นเพียงอำนาจยกเว้น ที่ใช้เพื่อแก้ปัญหาประเทศในยามวิกฤต เป็นการเฉพาะคราวเท่านั้น
ดังนั้น เมื่อเราได้ยกเลิกบทมาตรา (3 มาตรา) ที่สร้าง “ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุน ในระบบรัฐสภา” ออกไปรัฐธรรมนูญแล้ว เราก็ต้องกลับเข้าไปสู่หลักการของการปกครองระบอบประชาธิไตย ที่นานาประเทศยอมรับกันเป็นสากลโดยเร็ว นั่นก็คือ การมี “สภาผู้แทนราษฎร” ที่มี สมาชิกมาจากเลือกตั้งทั่วไป ที่ ประชาชนทั้งประเทศ ทำการเลือกตั้ง
“การปฏิวัติครั้งนี้(หากมี) ก็จะเป็นการปฏิวัติ (หรือรัฐประหาร) ที่แตกต่างกับการปฏิวัติหรือรัฐประหารครั้งก่อนๆ เพราะเป็น “การปฏิวัติ” เพื่อทำให้การปกครองประเทศของเราเป็น “ประชาธิปไตย” และหลุดพ้นจาก “ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุน ในระบบรัฐสภา” (ประเทศเดียวในโลก) และเป็น “การปฏิวัติ” เพื่อล้มล้าง “รัฐบาล” ที่เข้ามาผูกขาดอำนาจรัฐโดยอาศัยการเลือกตั้งภายใต้ระบบเผด็จการตามรัฐธรรมนูญ ที่เต็มไปด้วยการทุจริตคอร์รัปชันและไม่ยอมแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้การปกครองประเทศเป็น “ประชาธิปไตย”
เราต้องไม่ลืมว่า คนที่คิดอย่าง “ทักษิณ” และอยากจะทำอย่าง “ทักษิณ” คงมิใช่มีแต่เพียงทักษิณคนเดียว ไม่ว่าจะในปัจจุบันนี้หรือในอนาคต และผู้เขียนเองก็ไม่อยากจะคิดว่า แม้ในขณะปัจจุบันนี้ ก็อาจยังมี “นักการเมือง” บางคนที่คิดอยากร่ำรวยอย่างทักษิณอยู่อีกก็ได้ และมีความหวังว่า เมื่อได้ไล่ทักษิณออกไปแล้ว ตนเองจะได้เข้าแทนที่ (หมายเหตุ โปรดสังเกตว่า เพราะเหตุใด จึงมีการพูดว่า ไม่เอาระบอบทักษิณ และต้องการการปฏิรูป แต่ทำไม จึงไม่มีการพูดว่า จะยกเลิกบทมาตราที่ทำให้เกิด “ระบบเผด็จการ โดยพรรคการเมืองนายทุน” ออกไปจากรัฐธรรมนูญ)
ถ้าเราต้องการเพียงเท่านี้ คือต้องการให้ประเทศไทยเป็น “ประชาธิปไตย” (หมายถึง “ประชาธิปไตย” ตามหลักสากล ไม่ใช่ประชาธิปไตย ตามแบบของนายทุนเจ้าของพรรคการเมืองบอกให้เราเชื่ออยู่ทุกวันนี้) โดยที่เรายังไม่พิจารณาถึง “การปฏิรูป” หรือ“การปฏิรูปประเทศ” ; นอกจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญยกเลิกบทมาตรา 3 มาตราดังกล่าวแล้วเราก็แก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งเพื่อให้มีความเป็นกลางและเป็นธรรมมากขึ้น (โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มบทบาทและอำนาจหน้าที่ขององค์กรอาสาสมัครที่เป็นกลาง) และแก้ไข “กลไกเกี่ยวกับการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและรวดเร็วยิ่งขึ้นและเปลี่ยนแปลงตัวบุคคลที่เป็นเจ้าหน้าที่ที่ชอบรับใช้นักการเมืองนายทุน ฯลฯ เพียงเท่านี้ ผู้เขียนก็คิดว่า เราสามารถจัดให้มี “การเลือกตั้งทั่วไป” ได้ทันที
ผู้เขียนคิดว่า ระยะเวลาที่แก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมาย จนกระทั่งมี “การเลือกตั้งทั่วไป” ได้ คงจะใช้เวลาไม่เกิน 90 วันหรือ 3 เดือน และเราก็จะมีรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (จากรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน พ.ศ. 2550) มาใช้บังคับได้
ในกรณีนี้ “มวลมหาประชาชน” บางส่วน ก็อาจไปรวมตัวกัน ตั้งเป็นพรรคการเมืองพรรคใหม่ และส่งผู้สมัครเข้ารับเลือกในการเลือกตั้งทั่วไป และพิสูจน์กับพรรคเพื่อไทยของรัฐบาลดูว่า ในการเลือกตั้งทั่วไปนั้น พรรคการเมืองใดจะมีจำนวน ส.ส. ที่ได้รับเลือกตั้งมากกว่ากัน
ซึ่งผู้เขียนเองก็อยากจะทราบเหมือนกันว่า ในขณะนี้ คือ เมื่อสังคมไทยได้รับรู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ “ระบอบทักษิณ” ตามที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ดี แล้ว ผลหรือ Profileของการออกเสียงเลือกตั้งของผู้มีสิทธิออกเสียงของเราในการเลือกตั้งทั่วไปในครั้งหน้า(หลังจากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฯลฯแล้ว) จะเป็นอย่างไร
ผู้เขียนคิดว่า เมื่อระบอบการปกครองของเราเป็นประชาธิปไตยแล้ว และถ้ามาตรการที่เป็น “กลไกเกี่ยวกับการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน” ที่ได้แก้ไขไปโดยการใช้ “อำนาจรัฏฐาธิปัติ” ที่ได้มาจากการปฏิวัติไปนั้นพอเพียงก็น่าจะเป็นที่คาดหมายได้ว่า การซื้อขายเสียงในการเลือกตั้งทั่วไปตามรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ก็จะลดน้อยลง เนื่องจากนักการเมืองนายทุน มองไม่เห็นโอกาสที่จะ “ถอนทุนคืน” แม้ว่าตนจะได้กลับเข้าคุมเสียงข้างมากของ ส.ส. ในสภาผู้แทนราษฎร และได้มาเป็นรัฐบาลก็ตาม
“ระบบเผด็จการ โดยพรรคการเมืองนายทุน ในระบบรัฐสภา” เป็น ต้นเหตุโดยตรง ของการทุจริตคอร์รัปชัน เพราะการผูกขาดอำนาจรัฐ เป็น “มูลเหตุจูงใจ” ที่ทำให้นายทุนเจ้าของพรรคการเมืองลงทุนซื้อเสียงในการเลือกตั้ง เพื่อให้พรรคการเมืองของตนได้เข้ามาผูกขาดอำนาจรัฐใน “ระบบรัฐสภา” และทำการทุจริตคอร์รัปชันและแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรของส่วนรวม
การแก้รัฐธรรมนูญเพื่อให้ประเทศไทยเป็น “ประชาธิปไตย” โดยล้มล้างระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุน (ประเทศเดียวในโลก) จะเป็นการแก้ปัญหาวิกฤตชาติ ในส่วนสำคัญ แม้จะไม่ทั้งหมด
แต่ถ้าเรา (คนไทย) ต้องการจะ “ปฏิรูป (ประเทศ)” ไปด้วย เราก็ต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นมากกว่านี้ และต้องการ “ความรู้” มากกว่านี้ แน่นอน ก่อนที่เราจะรู้ว่า เราจะแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันอย่างไรเพื่อการปฏิรูป(ประเทศ) เราก็คงต้องรู้ก่อนว่า “การปฏิรูปประเทศ คือ อะไร” เพราะมิฉะนั้นเราคงแก้รัฐธรรมนูญไม่ถูกซึ่งเราจะพูดถึงเรื่องนี้ต่อไป ในหัวข้อที่สอง
● แต่อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะผ่านหัวข้อแรกนี้ไป ผู้เขียนมีประเด็นอยู่ประเด็นหนึ่งที่อยากจะขอย้ำไว้ในการสัมภาษณ์ FM TV ครั้งที่สอง (หรือในบทความ) นี้เพราะประเด็นนี้มีความสำคัญอย่างมากสำหรับการปฏิรูป (ประเทศ) ที่เรากำลังจะต้องทำ ต่อไป
ประเด็นที่ผู้เขียนเป็นกังวลก็คือ มาตรฐานความรู้ทาง “กฏหมายมหาชน” ของ นักกฎหมายและนักวิชาการ ของเรา
เพราะเท่าที่ปรากฏในขณะนี้ (ตามความเห็นของผู้เขียน) ผู้เขียนมีความเห็นว่ามาตรฐานความรู้ทางกฏหมายมหาชน ของเราต่ำกว่ามาตรฐานของประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นอย่างมาก; เราคงจำได้ ในการให้สัมภาษณ์FM TVครั้งแรก ผู้เขียนได้กล่าวว่า รัฐธรรมนูญของประเทศไทยในปัจจุบันไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตย แต่เป็น “ระบอบเผด็จการ โดยพรรคการเมืองนายทุน ในระบบรัฐสภา” ด้วยบทมาตรา ในรัฐธรรมนูญ 3 มาตรา ( คือ (1) การบังคับให้ ส.ส.ต้องสังกัดพรรคการเมือง / (2) การให้อำนาจพรรคการเมืองไล่ ส.ส.ให้พ้นจากสมาชิกภาพของการเป็น ส.ส. ได้ / และ (3) การกำหนดให้นายกรัฐมนตรีต้องเป็น ส.ส.เท่านั้น) ซึ่งรัฐธรรมนูญทั่วโลกเขาไม่มีบทบัญญัติเช่นนี้เพราะขัดกับหลักการของระบอบประชาธิปไตย Principle of Democracy โดยเขายึดถือว่า ส.ส. ที่มาจากการเลือกตั้งนั้น จะต้องมีความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของ ส.ส. ได้ตามมโนธรรมของตน และต้องไม่อยู่ภายใต้อาณัติและการมอบหมายใดๆ
เราเป็น “ระบอบเผด็จการ โดยพรรคการเมืองนายทุน ในระบบรัฐสภา” อย่างสมบูรณ์แบบเช่นนี้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2535 จนถึง พ.ศ. 2557 คือรวมเป็นเวลา กว่า 20 ปีมาแล้ว
ประเด็นสำคัญ ที่ผู้เขียนอยากจะขอให้ท่านผู้อ่านหรือท่านผู้ฟังระลึกไว้เสมอก่อนที่จะทำการ “ปฏิรูปประเทศ” ครั้งนี้ ก็คือ เราได้เขียนรัฐธรรมนูญที่เป็นระบบเผด็จการโดยนายทุนเจ้าของพรรคการเมือง (ฉบับเดียวในโลก) นี้ขึ้นมาเป็นเวลากว่า 20 ปีแล้วโดยที่นักกฎหมายและนักวิชาการของเราทั้งประเทศ ไม่เคยรู้เลยว่า รัฐธรรมนูญที่เราเขียนขึ้นมานี้ เป็นรัฐธรรมนูญเพียงประเทศเดียวในโลกที่เขียนเช่นนี้ ทั้งนี้ โดยยังไม่ต้องพูดถึงว่า นักกฎหมายและนักวิชาการของเราจะรู้หรือไม่รู้ว่า สิ่งที่เราเขียนขึ้นมานี้จะขัดหรือไม่ขัดต่อหลักการของระบอบประชาธิปไตย Principle of Democracy หรือไม่
นี่คือ มาตรฐานความรู้ “กฎหมายมหาชน” ของนักกฎหมายและนักวิชาการโดยทั่วไปของประเทศไทยในปัจจุบัน
ที่น่าวิตกยิ่งกว่านั้น ก็คือ ขณะนี้ได้มี “ข้อเท็จจริง” ที่แสดงให้เห็นถึงสภาพความล้าหลังของมาตรฐานความรู้กฎหมายมหาชนของวงการกฎหมายและวงการวิชาการไทย ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่นการที่วงการกฎหมายและวงการวิชาการของเรา “หลง” ประเด็น ในเรื่องการปฎิรูป (ประเทศ) ในประเด็นที่ว่า เราจะเลือก “ปฏิรูป ก่อน การเลือกตั้ง” หรือ “ปฏิรูป หลัง การเลือกตั้ง” โดยที่วงการกฎหมาย และวงการวิชาการของเราจำนวนไม่น้อย ที่มิได้สังวรว่า ความสำคัญของประเด็นนี้ มิได้อยู่ที่ว่า จะทำ “การปฏิรูป” ก่อนหรือหลัง การเลือกตั้ง แต่ความสำคัญอยู่ที่ว่า ใครหรือนักการเมิองกลุ่มใดจะเป็นผู้ที่มาควบคุม “การปฏิรูป (ประเทศ) ”
หรือตัวอย่างเช่น การที่ได้มีองค์กรบางองค์กร หรือบุคคลบางคนได้เสนอให้มี “การปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง” (วันที่ 2 กุมภาพันธ์) โดยจัดตั้งองค์กรปฏิรูปขึ้น ด้วยการออกเป็น “พระราชกำหนด” บ้างหรือโดยทำเป็น “ประกาศของส่วนราชการ” บ้าง หรือโดยให้พรรคการเมืองทุกพรรคมาให้คำปฏิญาณร่วมกันก่อนการเลือกตั้งบ้างฯ ลฯ โดยที่องค์กรหรือบุคคลเหล่านี้ไม่ได้คำนึงถึง “ข้อเท็จจริง” ว่า “ผลงานขององค์กรปฏิรูปที่ตั้งขึ้นโดยพระราชกำหนด หรือโดยประกาศของส่วนราชการ ฯลฯ ตามที่ตนเองเสนอนั้น ย่อมสามารถถูกลบล้างได้ทั้งสิ้นหลังการเลือกตั้ง วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ถ้าหากการปกครองของประเทศไทย ยังคงเป็น “รัฐบาล” ในระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุน ในระบบรัฐสภา อยู่
ข้อเท็จจริงเหล่านี้ แสดงให้เห็นว่า มาตรฐานความรู้ของนักกฎหมายและนักวิชาการไทยอาจเป็นอุปสรรคแก่การ “ปฏิรูปประเทศ” ที่เราจำเป็นต้องทำ
ขณะนี้ คือ ขณะที่เรากำลังพูดว่า เราจำเป็นจะต้องทำการ “ปฏิรูป(ประเทศ)” แต่ก็จะเป็น “การปฏิรูป” ในขณะที่ มาตรฐานความรู้กฎหมายมหาชนของวงการกฎหมายและวงการวิชาการของไทย ยังคงเป็นไปตามที่ปรากฏให้เห็นอยู่นี้ปัญหามีว่าเราจะปฏิรูป(ประเทศ)กันอย่างไร(?)
พรรคการเมือง ญี่ปุ่น 在 พรรคก้าวไกล - Move Forward Party | Bangkok - Facebook 的推薦與評價
พรรค ก้าวไกล - Move Forward Party, กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย. ถูกใจ 1286227 คน · 152957 คนกำลังพูดถึงสิ่งนี้. แฟนเพจเฟซบุ๊กทางการของพรรคก้าวไกล. ... <看更多>
พรรคการเมือง ญี่ปุ่น 在 นักการเมืองขวาจัดของญี่ปุ่นมาแรง | ทันโลก กับ ที่นี่ Thai PBS | 25 ก ... 的推薦與評價
... ใน ญี่ปุ่น ก็เริ่มมีสัญญาณของการเมืองขวาจัดสุดโต่ง จากชัยชนะของ พรรค ซันเซโตะ พรรคการเมือง ขวาจัดน้องใหม่ที่สามารถกวาดชัยชนะได้นับล้านเสียง ... ... <看更多>