โปรแกรม The Wild Chronicles Clubhouse วันพุธ (22 ก.ย.) เวลา 19:00 น. พบกับรายการ "ไขปริศนาพระเจ้าตาก ตอนที่ 5"
รอบนี้เราจะมาพูดเรื่อง "การท่องเที่ยวพระเจ้าตาก" โดยพาท่านเที่ยวออนไลน์ไปในสถานที่เกี่ยวกับพระเจ้าตากย่านฝั่งธน อาทิ พระราชวังเดิม, วัดอรุณ, มัสยิดต้นสน, ซางตาครูส, วัดอินทราราม วัดระฆัง ฯลฯ”
::: ::: :::
ย้ำอีกครั้งนะครับ วันพุธ เวลา 19:00 น. ท่านที่สนใจติดตามรายการได้ทาง link https://www.clubhouse.com/event/mJ5kokrd และให้กดตามห้อง The Wild Chronicles ใน Clubhouse กับตามไอดีของผมคือ Pup Pongsorn ด้วยนะครับ จะมีรายการที่น่าสนใจมาเสนอเรื่อยๆ ตอนนี้ใช้แอนดรอยด์หรือ iphone ก็เข้า Clubhouse ได้แล้ว 🙂
(อนึ่งจะมีการมารีแคบเป็นบทความในเพจเรื่อยๆ ให้ติดตามดูในหน้าเพจ หรือในส่วนอัลบัมของเพจเราได้ ผมมีสรุปบทความเหล่านี้ไว้ครับ)
同時也有2部Youtube影片,追蹤數超過6,710的網紅ท่องเที่ยว ผจญภัย,也在其Youtube影片中提到,ถนนคนเดินหลวงพระบาง by : http://www.oceansmile.com/ ยุ่ใจกลางเมืองหลวงพระบาง บนถนนบริเวณด้านหน้าหอพิพิธภัณฑ์หลวงพระบาง(พระราชวังเดิม) รวมระยะทางประม...
「พระราชวังเดิม」的推薦目錄:
- 關於พระราชวังเดิม 在 The Wild Chronicles - ประวัติศาสตร์ ข่าวต่างประเทศ ท่องเที่ยวที่แปลก Facebook 的精選貼文
- 關於พระราชวังเดิม 在 saisawankhayanying Facebook 的最佳解答
- 關於พระราชวังเดิม 在 เข็มทิศชีวิต ฐิตินาถ ณ พัทลุง Facebook 的最佳解答
- 關於พระราชวังเดิม 在 ท่องเที่ยว ผจญภัย Youtube 的最讚貼文
- 關於พระราชวังเดิม 在 ท่องเที่ยว ผจญภัย Youtube 的最讚貼文
- 關於พระราชวังเดิม 在 บิ๊กเกรียน - #เกรียนพาเที่ยว ***เปิดพระราชวังเดิม... | Facebook 的評價
พระราชวังเดิม 在 saisawankhayanying Facebook 的最佳解答
รายการ "เล่าเรื่องไทย ๆ กับสายสวรรค์ ขยันยิ่ง"
ตอน พระราชวังเดิม
ออกอากาศวันจันทร์ที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๖๓
เวลา ๑๖:๔๕ น. ทางช่อง ๓๓ HD
https://youtu.be/8zPp03ErO1E
พระราชวังเดิม 在 เข็มทิศชีวิต ฐิตินาถ ณ พัทลุง Facebook 的最佳解答
รัชกาลที่ 3 ทำให้ แผ่นดินไทยมั่งคั่ง พระองค์ ได้ชื่อว่า เจ้าสัวถุงแดง ขอบารมีของพระองค์ ส่งให้ทุกท่านร่ำรวย เงินเต็มห้อง ทองเต็มบ้าน เทอญ 🙏🙏🙏
Cr. ภาพ วันทำบุญ วันคล้ายวันขึ้นครองราชย์ ร.3
21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 (ค.ศ. 1824)
เจ้าสัวเรือสำเภา โกยรายได้เข้าชาติ "รัชกาลที่ 3" รักษาเอกราช ด้วยเงินถุงแดง
ณ ขณะที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ทรงพระประชวร กระทั่งต่อมาพระองค์เสด็จสวรรคต เมื่อมีพระชนมพรรษาได้ 57 พรรษา ครองราชย์ได้ 15 ปี โดยพระองค์มิได้ตรัสมอบราชสมบัติให้แก่พระราชโอรสองค์ใด พระราชวงศานุวงศ์และบรรดาเสนาบดี ผู้เป็นประธานในราชการจึงปรึกษา เห็นว่า เจ้าฟ้ามงกุฎฯ ยังผนวชและมีพระชนม์เพียง 20 พรรษา จึงเห็นพ้องให้อัญเชิญพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ หรือ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชกาลที่ 3 พระราชโอรสจาก เจ้าจอมมารดาเรียม หรือ สมเด็จพระศรีสุลาไลย ขึ้นครองราชย์ในวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 ขึ้น 7 คํ่า เดือน 9 ปีวอก ขณะนั้นพระองค์ทรงมีพระชนมพรรษาได้ 37 พรรษา
ในหลวงรัชกาลที่ 3 เสด็จพระราชสมภพ ณ พระราชวังเดิม กรุงเทพมหานคร ขณะที่ ในหลวงรัชกาลที่ 1 (ปู่) และในหลวงรัชกาลที่ 2 (พ่อ) ได้เสด็จยกทัพไปตีเมืองทวาย จึงนับว่าเป็นยามที่บ้านเมืองเพิ่งก่อร่างสร้างกรุง ด้วยทรงละม้ายคล้ายในหลวงรัชกาลที่ 1 จึงได้รับความพระเมตตาเป็นอย่างยิ่ง กระทั่งพระชนมายุครบ 21 พรรษา โปรดให้ทรงผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และพระองค์ทรงงานร่วมกับพระราชบิดามาโดยตลอด
"เจ้าสัว" ของพ่อ ทรงปราดเปรื่องเรื่อง ค้าขาย กฎหมาย บ้านเมือง
ความเก่งกาจฉลาดปราดเปรื่องเป็นที่เรื่องลือ จนข้าราชบริพาร และพระประยูรญาติ ทราบถึงคำชมเชยที่ในหลวงรัชกาลที่ 2 ได้กล่าวถึงโอรสพระองค์นี้อย่างสม่ำเสมอ ทว่าเมื่อครั้งที่ทรงกำกับราชการกรมท่า (ในสมัยรัชกาลที่ 2) พระองค์ได้ทรงแต่งสำเภาบรรทุกสินค้าออกไปค้าขายในต่างประเทศ ทำให้ไทยมีรายได้เพิ่มขึ้นในท้องพระคลังเป็นอันมาก
พระราชบิดาทรงเรียกพระองค์ว่า "เจ้าสัว" เพราะขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ดีกว่าใครในช่วงเวลานั้น กระทั่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 2 เสด็จสวรรคต โดยมิได้ตรัสมอบราชสมบัติแก่ผู้ใด ขุนนางและพระราชวงศ์ต่างมีความเห็นพ้องต้องกันว่าพระองค์ (ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นกรมหมื่นเจษฏาบดินทร์ มีพระชนมายุ 37 พรรษา) ทรงรอบรู้กิจการบ้านเมืองดี ทรงปราดเปรื่องในทางกฎหมาย การค้า และการปกครอง จึงพร้อมใจกันอัญเชิญขึ้นครองราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ 3
พลิกแผ่นดินกอบกู้เศรษฐกิจ พระคลังหลวงเงินล้น นำพัฒนาประเทศ
เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองราชย์สมบัติ ต้องยอมรับว่าในครานั้นประเทศไทยตกอยู่ในภาวะยากจน เนื่องจากเมื่อต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศไทยได้ใช้เงินจำนวนมาก ทำนุบำรุงบ้านเมืองขึ้นมาใหม่ ประกอบกับกรุงศรีอยุธยาสูญเสียทรัพย์สินจากการพ่ายแพ้สงคราม เหตุนี้เอง พระองค์จึงตั้งระบบการจัดเก็บภาษีขึ้นมาเพื่อหาเงินเข้าท้องพระคลังหลวง ทำให้รายได้เข้าประเทศหลายอย่าง คือ จังกอบ อากรฤชา ส่วย ภาษี เงินค่าราชการจากพวกไพร่ เงินค่าผูกปี้ข้อมือจีน เป็นต้น
รายได้ของรัฐจึงมีเพิ่มมากขึ้นกว่ารัชกาลก่อนๆ ทั้งนี้เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงและการปรับปรุงการเก็บภาษีอากรจากรูปของสินค้าและแรงงานเป็นชำระด้วยเงินตรา และที่สำคัญ คือ ภาษีที่ตั้งขึ้นมาใหม่ถึง 38 อย่าง การเก็บภาษีอากรภายในประเทศนี้ พระองค์ทรงตั้งระบบการเก็บภาษีโดยให้เอกชนประมูลรับเหมาผูกขาด ไปเรียกเก็บภาษีจากราษฎรเอง เรียกว่า เจ้าภาษี หรือนายอากร ซึ่งส่วนใหญ่ชาวจีน จะเป็นผู้ประมูลได้ การเก็บภาษีด้วยวิธีการนี้ ทำให้เกิดผลดีหลายประการในด้านเศรษฐกิจ ทั้งสามารถเก็บเงินเข้า พระคลังมหาสมบัติได้สูงแล้ว ยังส่งผลดีทางด้านการเมือง เพราะทำให้เจ้าภาษีนายอากรที่ส่วนใหญ่ที่เป็นชาวจีนนั้น มีความจงรักภักดีต่อองค์พระมหากษัตริย์ และมีความผูกพันกับแผ่นดินไทยแนบแน่นขึ้น
รายได้เข้าประเทศ จากการค้าสำเภา เสถียรภาพมั่นคง รัฐมีเงินเพิ่ม
นอกจากนี้รายได้ของรัฐอีกส่วนหนึ่ง ได้มาจากการค้าขายกับชาวต่างประเทศ ภาษีหลายชั้น คือ ภาษีเบิกร่อง ภาษีขาออก และการค้าแบบผูกขาดของพระคลัง นอกจากนี้ไทยยังส่งเรือสินค้าเข้าไปค้าขายในประเทศต่างๆ เนื่องจากพระองค์ทรงสนพระราชหฤทัย และเชี่ยวชาญการส่งเรือสินค้ามาตั้งแต่ครั้งดำรงพระยศเป็น พระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ เมื่อพระองค์เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ จึงทรงสนับสนุนการค้าขึ้นอีก เป็นจำนวนมาก ทรงมีเรือกำปั่นพาณิชย์ประมาณ 11-13 ลำ เรือกำปั่นของขุนนางที่สำคัญอีก 6 ลำ
รายได้จากการค้าสำเภานี้นับเป็นรายได้ที่สำคัญยิ่งอีกประเภทหนึ่ง เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศมีเสถียรภาพมั่นคงและรัฐมีรายได้มากขึ้น รายได้นี้จึงได้นำมาใช้ในการทำนุบำรุงบ้านเมือง การป้องกันประเทศ การศาสนา และด้านอื่นๆ ได้อย่างเต็มที่ ทั้งในรัชสมัยของพระองค์เองและในรัชสมัยต่อมา กล่าวคือ รายได้ของแผ่นดินในรัชกาลนี้ปรากฏว่าสูงขึ้นมาก บางปีมีจำนวนมากถึง 25 ล้านบาท
ทำนุบำรุงรักษาวัด พัฒาประเทศไทย
เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคต เงินในท้องพระคลังหลวงซึ่งหมายรวมถึงเงินค่าสำเภาด้วย เหลือจากการจับจ่ายของแผ่นดิน มี 40,000 ชั่ง และด้วยทรงมีพระราชหฤทัยห่วงใยในด้านการสร้างและปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่างๆ ก่อนที่จะเสด็จสวรรคต ทรงมีพระราชปรารภให้แบ่งเงินส่วนนี้ไปทำนุบำรุงรักษาวัดที่ชำรุดเสียหาย และวัดที่สร้างค้างอยู่ 10,000 ชั่ง ส่วนที่เหลืออีก 30,000 ชั่ง โปรดให้รักษาไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการแผ่นดินต่อไป เงินจำนวนดังกล่าวนี้ กล่าวกันว่าโปรดให้ใส่ถุงแดงเอาไว้ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำมาใช้จ่ายเป็นค่าปรับในกรณีพิพาทระหว่างประเทศ เมื่อ ร.ศ. 112 (พ.ศ.2436) จะเห็นได้ว่า แม้สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจะเสด็จสวรรคตไปแล้ว พระองค์ทรงมีส่วนช่วยเหลือประเทศให้รอดพ้นวิกฤตการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ก็ด้วยเงินถุงแดง ที่พระองค์ทรงเก็บสะสมไว้
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระมหากษัตริย์กู้วิกฤติการเมือง
การปกครองในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น สืบทอดมาจากสมัยอยุธยาและกรุงธนบุรี ยึดหลักปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในตำแหน่งสูงสุดของการปกครองประเทศ และทรงเป็นประมุขผู้พระราชทานความพิทักษ์รักษาบ้านเมืองให้ปลอดภัย ตำแหน่งรองลงมา คือ พระมหาอุปราช ซึ่งดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล เช่นเดียวกับในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ตำแหน่งบังคับบัญชาในด้านการปกครอง แยกต่อมา คือ อัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหาร คือ พระสมุหพระกลาโหม และฝ่ายพลเรือน คือ สมุหนายก ตำแหน่งรองลงมา เรียก เสนาบดีจตุสดมภ์ คือ เสนาบดีเมืองหรือเวียง กรมวัง กรมพระคลัง และกรมนา
ส่วนการบริหารราชการแผ่นดิน ยังคงจัดแบ่งออกเป็นหัวเมืองชั้นนอก หัวเมืองชั้นใน และหัวเมืองประเทศราช ดังที่เคยปกครองกันมาตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งการแบ่งการปกครองในลักษณะนี้ก่อให้เกิดปัญหาในการปกครองหัวเมืองประเทศราช เช่น ลาว เขมร และมลายู เพราะหัวเมืองเหล่านี้พยายามหาทางเป็นเอกราช หลุดจากอำนาจของอาณาจักรไทย
สนธิสัญญาเบอร์นี
รัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว "เฮนรี เบอร์นี" ทูตอังกฤษในขณะนั้น ได้เดินทางเข้ามายังกรุงรัตนโกสินทร์ใน พ.ศ. 2368 เพื่อเจรจาปัญหาทางการเมืองและการค้า ในด้านการค้า รัฐบาลอังกฤษประสงค์ขอเปิดสัมพันธไมตรีทางการค้ากับรัตนโกสินทร์ และขอความสะดวกในการในการค้าได้โดยเสรี การเจรจาได้เป็นผลสำเร็จ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2369 และมีการลงนามในสนธิสัญญากัน
สนธิสัญญาเบอร์นี ประกอบด้วย สนธิสัญญาทางพระราชไมตรีรวม 14 ข้อ และมีสนธิสัญญาทางพาณิชย์ แยกออกมาอีกฉบับหนึ่ง รวม 6 ข้อ ที่เกี่ยวกับการค้า ได้แก่ ข้อ 5 ให้สิทธิพ่อค้าทั้งสองฝ่ายค้าขายตามเมืองต่างๆ ของอีกฝ่ายหนึ่งได้อย่างเสรีตามกฎหมาย ข้อ 6 ให้พ่อค้าทั้งสองฝ่ายเสียค่าธรรมเนียมของอีกฝ่าย และข้อ 7 ให้สิทธิแก่พ่อค้าจะขอตั้งห้าง เรือน และเช่าที่โรงเรือนเก็บสินค้าในประเทศอีกฝ่ายหนึ่งได้ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของกรมการเมือง
ยกทัพสู้ศึก ป้องกันประเทศ ปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์
และแม้ว่าการสงครามทางด้านทิศตะวันตก ระหว่างไทยกับพม่าจะเบาบาง และสิ้นสุดในรัชกาลที่ 3 เพราะพม่ารบกับอังกฤษ แต่บ้านเมืองก็ไม่ได้ว่างเว้นจากศึกสงคราม ต้องยกทัพไปสู้รบป้องกันพระราชอาณาเขตส่วนทางด้านทิศตะวันออก ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทิศเหนือและทิศใต้ ซึ่งในรัชสมัยนี้ มีเหตุการณ์ทำสงครามที่สำคัญ คือ เมื่อ พ.ศ. 2369 เจ้าอนุวงศ์ เวียงจันทน์ เป็นกบฏ โปรดให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพย์ เป็นแม่ทัพไปปราบปราม และยึดเมืองเวียงจันทน์ได้ในปี พ.ศ. 2370
พ.ศ. 2376-2391 การทำสงครามกับญวนที่พยายามชิงเขมรไปจากไทย 4 ครั้ง และญวนสามารถสู้รบกันในแผ่นดินเขมรส่วนนอก เป็นเวลานานถึง 15 ปี จนเลิกรบกัน ผลของสงครามทำให้ไทยได้เขมรมาอยู่ในปกครองอีก นอกจากนั้น ทรงเตรียมรบอยู่พร้อมสรรพ มีการสร้างป้อมป้องกันศัตรูทางน้ำ เช่น ที่เมืองสมุทรสาคร เป็นต้น ในปลายรัชกาลโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเรือกำปั่นรบ กำปั่นลาดตระเวน ไว้รักษาพระนครและค้าขาย นอกจากนี้ยังทรงมีอาวุธยุทโธปกรณ์ไว้เป็นอันมาก คลองต่างๆ ที่ขุดขึ้นในรัชสมัย นอกจากตั้งพระราชหฤทัยจะให้ใช้เป็นเส้นทางคมนาคมแล้ว ยังใช้เป็นทางลัดไปมาระหว่างสงครามอีกด้วย
ค้าขายแลกเปลี่ยน เอเชีย ยุโรป สหรัฐอเมริกา
ประเทศไทย มีการติดต่อกับต่างประเทศ ทั้งทวีปเอเชียและยุโรป ด้านการทูตและด้านการค้า ชาติที่สำคัญในทวีปเอเชีย ได้แก่ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น และประเทศเพื่อนบ้าน ส่วนชาติในทวีปยุโรป ได้แก่ อังกฤษ โปรตุเกส เป็นต้น ในสมัยรัชกาลที่ 1 ไทยมีความสัมพันธ์อันดีกับ จีน ญวน เขมร ลาว และ มลายู แต่มีประเทศโปรตุเกสเป็นชาติเดียวในยุโรปที่เข้ามาติดต่อในสมัยรัชกาลที่ 1 ต่อมามีชาวยุโรปอื่นเข้ามาเจรจาเปิดสัมพันธไมตรี คือ อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา
ในบรรดาประเทศต่างๆ ในเอเชียนั้น ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีความสัมพันธ์อันดีกับไทย ทั้งทางด้านการทูตและการค้า ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ไทยจัดส่งราชทูตเชิญพระราชสาสน์ และเครื่องราชบรรณาการไปเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศจีน ใน พ.ศ. 2368 และการค้าระหว่างไทยกับจีนก็ดำเนินไปได้ด้วยดีตลอดรัชสมัย
ในขณะนั้นประเทศอังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ได้เข้ามาติดต่อเจริญสัมพันธไมตรี และตกลงทำสัญญาการค้า ซึ่งเจรจาตกลงเรื่องการค้าไม่ประสบผลสำเร็จนัก ด้วยในตอนต้นทรงมีนโยบายไม่ยอมอ่อนข้อให้กับประเทศตะวันตก ด้วยระมัดระวังในเกียรติของชาติ รวมถึงประโยชน์ของชาติเป็นสำคัญ การทำสัญญาการค้าในประเภทที่ไทยจะต้องเสียเปรียบก็ไม่ทรงยินยอม พระองค์ทรงพยายามที่จะรักษาประโยชน์ของชาติให้มากที่สุด ที่ทรงกระทำเช่นนั้นไม่ใช่ว่าจะไม่ทรงตระหนักถึงภัยจากการรุกรานของมหาอำนาจตะวันตกที่มีต่อประเทศใกล้เคียง แต่พระองค์ทรงเข้าพระทัยดี
ต่อมาจึงได้พระราชทานกระแสเกี่ยวกับการต่างประเทศไว้ในอนาคต ก่อนหน้าที่จะเสด็จสวรรคตว่า “การศึกสงครามข้างญวนข้างพม่าก็เห็นจะไม่มีแล้ว จะมีก็อยู่แต่ข้างพวกฝรั่ง ให้ระวังให้ดีอย่าให้เสียท่าแก่เขาได้ การงานสิ่งใดของเขาที่คิดควรจะเรียนเอาไว้ก็เอาอย่างเขา แต่อย่าให้นับถือเลื่อมใสกันทีเดียว”
โดยเฉพาะที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม อันเป็นวัดที่สำคัญที่โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะในรัชกาลของพระองค์ ความรู้และตำราต่างๆ ที่โปรดให้จารึกไว้นั้น มีทั้งวิชาอักษรศาสตร์ แพทยศาสตร์ พุทธศาสตร์ และโบราณคดี เช่น ตำราโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ตำรายา ตำราโหราศาสตร์ พร้อมกันนั้นก็ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ปั้นรูปฤาษีดัดตน แสดงท่าบำบัดโรคลม กับคำโคลงบอกชนิดของลม ตั้งไว้ในศาลารายรอบเขตพุทธาวาส ทำให้ประชาชนสามารถศึกษาหาความรู้ในด้านต่างๆ ได้อย่างแพร่หลาย จนคนไทยทั้งหลายในยุคนั้นกล่าวว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของเมืองไทย
พระราชนิพนธ์ วรรณกรรม มากความสามารถด้านกวี
ก่อนเสด็จขึ้นครองราชย์ ได้พระราชนิพนธ์วรรณกรรมไว้หลายเรื่อง คือ โคลงปราบดาภิเษกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย บทละครเรื่องสังข์ศิลป์ชัย เพลงยาวสังวาส และบทเสภาบางตอนในเรื่องขุนช้างขุนแผน ต่อมา เมื่อทรงครองราชย์ พระองค์ทรงมีพระราชกรณียกิจมากมาย ทำให้ไม่มีเวลาในการพระราชนิพนธ์วรรณกรรมด้วยพระองค์เอง แต่ถึงกระนั้นก็ทรงทำนุบำรุงวรรณกรรมอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะวรรณคดีทางพระพุทธศาสนา
ในรัชสมัยนี้ยังมีกวีที่สำคัญๆ เช่น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส และสุนทรภู่ ซึ่งมีชื่อเสียงมาตั้งแต่รัชกาลที่ 2 แล้ว วรรณคดีที่แต่งขึ้นมาในรัชสมัยนี้ ได้แก่ ลิลิตตะเลงพ่าย ปฐมสมโพธิ์กถา กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ ระเด่นลันได โคลงสุภาษิตโลกนิติ เป็นต้น
ในส่วนของการทำนุบำรุงศิลปกรรมในรัชสมัยนี้ แบ่งออกได้ 2 ลักษณะ คือ ศิลปกรรมที่สร้างขึ้นมาใหม่ และศิลปะแบบพระราชนิยม โดยศิลปกรรมที่สร้างขึ้นมาใหม่นี้ เฉพาะด้านสถาปัตยกรรม เป็นศิลปะที่ผสมผสานระหว่างศิลปะไทย จีน และตะวันตก ด้วยติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศ ทำให้อิทธิพลทางด้านศิลปะเข้ามาผสมผสาน ส่วนศิลปะแบบพระราชนิยม เป็นศิลปกรรมไทยที่มีลักษณะโดดเด่นมาก เป็นศิลปะแบบรัตนโกสินทร์อย่างแท้จริง ซึ่งยังหลงเหลือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมาจนทุกวันนี้ ก่อนที่ศิลปะทางตะวันตกจะเข้ามาอิทธิพลในงานศิลปะไทยในยุคต่อมา
ราษฎรผู้มีทุกข์ จะสามารถตีกลองร้องถวายฎีกา
พระองค์ทรงดูแลทุกข์สุขของราษฎร เสด็จออกนอกพระราชวัง โปรดให้นำกลองวินิจฉัยเภรีออกตั้ง ณ ทิมดาบกรมวัง ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อราษฎรผู้มีทุกข์จะได้ตีกลองร้องถวายฎีกา เพื่อให้มีการชำระความกันต่อไป โดยพระองค์จะคอยซักถามอยู่เนืองๆ ทำให้ตุลาการผู้ทำการพิพากษาไม่อาจพลิกแพลงคดีเป็นอื่นได้
ในรัชสมัยของพระองค์ได้มีมิชชันนารีชาวอเมริกันและชาวอังกฤษเดินทางเข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์เพิ่มมากขึ้น หนึ่งในจำนวนนี้คือ ศาสนาจารย์ นายแพทย์แดน บีช บรัดเลย์ หรือที่คนไทยรู้จักกันดีในนาม "หมอบรัดเลย์" ได้เป็นผู้ริเริ่มให้มีการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ และการฉีดวัคซีนป้องกันอหิวาตกโรค และการทำผ่าตัดขึ้นเป็นครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์ นอกจากนี้ หมอบรัดเลย์ ยังได้คิดตัวพิมพ์อักษรไทยขึ้น (ปี พ.ศ. 2379) ทำให้มีการพิมพ์หนังสือภาษาไทยเป็นครั้งแรกโดยพิมพ์คำสอนศาสนาคริสต์เป็นภาษาไทย เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2379 ต่อมาปี พ.ศ. 2385 หมอบรัดเลย์พิมพ์ปฏิทินภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรก
ในด้านการหนังสือพิมพ์ฉบับแรกในสมัยรัชกาลที่ 3 หมอบรัดเลย์ได้ออกหนังสือพิมพ์แถลงข่าวรายปักษ์เป็นภาษาไทย ชื่อ บางกอกรีคอร์เดอร์ (Bangkok Recorder) มีเรื่องสารคดี ข่าวราชการ ข่าวการค้า ข่าวเบ็ดเตล็ด ฉบับแรกออกเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2387
หนังสือบทกลอนเล่มแรกที่พิมพ์ขาย และผู้เขียนได้รับค่าลิขสิทธิ์คือ นิราศลอนดอน ของหม่อมราโชทัย (หม่อมราชวงศ์กระต่าย อิศรางกูร) โดย หมอบรัดเลย์ ซื้อกรรมสิทธิ์ไปพิมพ์ในราคา 400 บาท เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2404 และตีพิมพ์จำหน่ายครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2404
“ถุงแดง” และทรัพย์ส่วนพระองค์ช่วยชาติ
พ.ศ. 2431 ประเทศไทยมีเรื่องพิพาทกับฝรั่งเศส เรื่องดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง เพราะฝรั่งเศสคอยพาลกล่าวหาว่า ไทยรุกล้ำดินแดนญวนและเขมร ซึ่งฝรั่งเศสยึดครองเป็นอาณานิคมไว้แล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้รวมเมืองต่างๆ ขึ้นเป็นภาค เช่น ภาคอุดร ภาคอีสาน ภาคลาวพวน ลาวกาว ลาวพุงขาว ต่อมาเกิดกรณีพิพาทในการรังวัดเขตแดน เช่น แย่งปักธงในทุ่งเชียงคำ เขตลาวพวน และถึง พ.ศ.2436 เกิดกรณีพระยอดเมืองขวาง ต่อสู้กับ นายทหารฝรั่งเศส ซึ่งจะขับไล่ไทยออกจากเมืองคำม่วน
ฝ่ายฝรั่งเศสแพ้ นายทหารฝรั่งเศสตาย 1 คน ทหารญวนตายประมาณ 20 คน ไทยตาย 5-6 คน รัฐบาลฝรั่งเศสได้ส่งเรือรบโคเมต์ กับเรือลังกองสตอง เข้ามาในน่านน้ำไทย สมทบกับเรือลูตัง ซึ่งเข้ามาจอดอยู่หน้าสถานทูตฝรั่งเศส ตั้งแต่ พ.ศ. 2435 ทั้งนี้ก็เพราะฝรั่งเศสมีเจตนาจะยึดครองดินแดนไทยให้ได้
เมื่อเรือทั้ง 2 ลำของฝรั่งเศสเข้ามาถึงป้อมพระจุลจอมเกล้า เรืออรรคเรศของไทยจึงยิงเรือรบฝรั่งเศสเพื่อรักษาอธิปไตยของชาติไทย ขณะนั้นฝรั่งเศสเป็นมหาอำนาจ และประสงค์จะยึดครองไทยเป็นอาณานิคม เหมือนดังที่ยึดครองดินแดนประเทศต่างๆ ในอินโดจีนไว้หมดแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงต้องดำเนินนโยบาย เสียน้อยเพื่อรักษาเอกราชของชาติไว้ มีการเจรจาตกลงกันระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ซึ่งในที่สุดไทยต้องยอมตามข้อเรียกร้องของฝรั่งเศส โดยยอมชดใช้ค่าเสียหายให้ฝรั่งเศส เป็นเงิน 3 ล้านบาท และไทยต้องสละสิทธิในดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศส และฝรั่งเศสได้เข้ายึดเมืองจันทบุรีไว้เป็นตัวประกัน ซึ่งยึดไว้เป็นเวลานานถึง 10 ปี
สมภพ จันทรประภา อดีตรองอธิบดีกรมศิลปากร เขียนเล่าไว้ว่า “พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต้องทรงนำเงินที่ใส่ ‘ถุงแดง’ จำนวนสามหมื่นชั่ง (2,400,000บาท) ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานไว้สำหรับแผ่นดิน และ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มิได้ทรงนำไปใช้จ่าย มาทรงใช้ในการนี้ และส่วนที่ยังขาดอยู่ 6 แสนบาทนั้น ใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ของพระบรมวงศานุวงศ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝ่ายในช่วยกันออก ส่วนใหญ่เป็นของ สมเด็จกรมพระยาสุดารัตนราชประยูร ที่ทรงเก็บไว้ใต้ถุนตำหนัก”
จึงนับได้ว่า “เงินถุงแดง” นี้ ช่วยรักษา “เอกราช” ของชาติไว้ได้หาไม่แล้ว ความพยายามหลากหลายวิธีของฝรั่งเศสก็จะต้องสัมฤทธิผลและไทยจะต้องตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส เช่นเดียวกับระเทศเพื่อนบ้านของไทย แต่เป็นบุญของชาติไทยที่มีพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถ ทรงรักชาติบ้านเมือง ทรงรักและซื่อสัตย์ต่อแผ่นดินและประชาชนดังเช่น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพสกนิกรไทยทั้งปวงสมควรน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และเทิดทูนพระเกียรติคุณของพระองค์ให้ยิ่งใหญ่ไพศาลตลอดกาล
สร้างวัดผสมผสาน ศิลปะไทยและจีน
ยุคสมัยของรัชกาลที่ 3 เป็นยุคที่การค้าขายเจริญรุ่งเรือง บ้านเมืองปราศจากศึกสงคราม จึงมีเวลาทำนุบำรุงบ้านเมือง ทั้งด้านการก่อสร้าง สถาปัตยกรรม และพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ศาสนสถาน” ในครานั้นพระองค์ทรงสร้างวัดขึ้นใหม่ในแบบอย่างสถาปัตยกรรมที่แตกต่างออกไปทุกรัชกาลที่ผ่านมา โดยผสานระหว่างศิลปไทยและจีน สืบมาจนถึงปัจจุบัน เช่น “วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร” วัดราชนัดดารามวรวิหาร วัดเทพธิดาราม วัดยานนาวา วัดนางนองวรวิหาร และวัดกัลยาณมิตร เป็นต้น
Cr.เนื้อหา ไทยรัฐ และ. Fb พัชรี ทับโคตร
พระราชวังเดิม 在 ท่องเที่ยว ผจญภัย Youtube 的最讚貼文
ถนนคนเดินหลวงพระบาง by : http://www.oceansmile.com/ ยุ่ใจกลางเมืองหลวงพระบาง บนถนนบริเวณด้านหน้าหอพิพิธภัณฑ์หลวงพระบาง(พระราชวังเดิม) รวมระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร เปิดขายตั้งแต่ 5 โมงเย็นเป็นต้นไป ซึ่งรัฐบาลลาวก็ได้จัดให้ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นเวลาแห่งถนนคนเดิน รถทุกชนิดจะไม่สามารถเข้าออกได้
สินค้าเด่น : สินค้าส่วนใหญ่พ่อค้าแม่ค้าจะนำของทำมือจากชาวบ้าน ชาวม้ง มาวางขายให้เลือกซื้อเป็นของฝากหรือของที่ระลึกกลับบ้าน โดยจะวางขายบนแผงแบกะดินบนถนน มีสินค้าให้เลือกมายมาย เช่น ผ้าคลุมเตียง ผ้าทอมือ ผ้าพันคอ กระเป๋าทอ สร้อยแหวนเงินแท้ กระเป๋าผ้า ตุ๊กตาไม้ปู่เยอย่าเยอ เสื้อยืดสะบายดี เสื้อผ้าลาว โดยสินค้าส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าหัตถกรรม ที่เน้นลวดลายและความเป็นเอกลักษณ์ของหลวงพระบาง
พระราชวังเดิม 在 ท่องเที่ยว ผจญภัย Youtube 的最讚貼文
วัดวิชุนราช เที่ยวหลวงพระบาง by : http://www.oceansmile.com/ วัดวิชุนราชนี้สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐาน พระบาง ซึ่งอาราธนามาจากเมืองเวียงคำ สร้างโดยพระเจ้าวิชุนราชในปีพ.ศ. 2057 และตั้งชื่อวัดตามพระนามของพระองค์เอง นสมัยฮ่อบุกปล้นเมืองหลวงพระบาง วัดวิชุนถูกพวกฮ่อเผาทำลาย จนรัชสมัยพระเจ้าสักกะรินจึงได้บูรณะวัดนี้ขึ้นใหม่อีกครั้งในปี พ.ศ.2457 โดยมี อองรี มาร์แซล นายช่างฝรั่งเศสผู้เคยบูรณะนครวัดเป็นแม่งาน เนื่องจากที่นี่เคยเป็นหอพิพิธภัณฑ์มาก่อนที่จะย้ายหอพิพิธภัณฑ์ไปที่ พระราชวังเดิม ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
พระราชวังเดิม 在 บิ๊กเกรียน - #เกรียนพาเที่ยว ***เปิดพระราชวังเดิม... | Facebook 的推薦與評價
มูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิม ขอเชิญชวนประชาชนเข้าเยี่ยมชมพระราชวังเดิมหรือพระราช วังกรุงธนบุรี ตั้งแต่วันที่ 15-28 ธันวาคม 2561 ตั้งแต่เวลา ... <看更多>