ข่าว "จับตา ปีนี้จะมีพายุเกิดขึ้นถึง 11 ลูก" เป็นข่าวปลอมครับ !!
มีเพจข่าวสารภาคอีสานเพจหนึ่ง ได้เผยแพร่ข่าว โดยอ้างอิงจากข้อความที่เเชร์กันในโซเชียล ทำนองว่า "ประเทศไทยจะมีพายุเข้าถึง 11 ลูก ให้ประชาชนโปรดระมัดระวัง น้ำท่วม น้ำล้นตลิ่งด้วย พายุ ลมกรรโชกแรง ฟ้าผ่า ฝนฟ้าคะนอง" พร้อมรายชื่อพายุ 11 ลูก คือ ว่องฟ้ง นูรี ซิลลากู ฮากูปิด ซังมี เมฆขลา ฮีโก๊ด บราวหวี ไม้สัก ไฮ่เช็ค (จะเข้าช่วง ตุลาคม) และ โนอึน !?
เรื่องนี้เป็นข่าวปลอมนะครับ !! ทางกรมอุตุนิยมวิทยา ได้เคยออกมาชี้แจงแล้ว (ดูข่าวด้านล่าง) ว่าเป็นการสร้างความหวาดกลัวเกินจริง
ในปีๆ หนึ่งมีพายุที่เกิดขึ้นทางด้านมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก และทะเลจีนใต้ ถึง 21 – 29 ลูก โดยมีที่ผ่านเข้าสู่ประเทศไทยเฉลี่ยเพียงแค่ 1 – 2 ลูก เท่านั้น .. โดยพายุที่เคยเกิดขึ้นมาในปี 2563 ที่ผ่านมาแล้วนั้น แทบไม่มีลูกไหนเลย ที่ประเทศไทยเป็นพื้นที่ผลกระทบ (ที่ผ่านมา มีพายุซินลากู เท่านั้น) โดยส่วนใหญ่จะลดระดับลงมาเป็นพายุดีเปรสชัน และมีความถี่ในช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม
รายชื่อของพายุที่อ้างถึงนั้น เป็นชื่อตามระบบการเรียกสากล โดยกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) กำหนดชื่อให้กับพายุหมุนเขตร้อนของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ที่มีความเร็วลมเฉลี่ยภายใน 10 นาที ที่ 65 กม./ชม. โดยในปี พ.ศ. 2563 นี้ ได้ใช้มาถึงรายชื่อชุดที่ 3 โดยชื่อ หว่องฟ้ง นูรี ซินลากู ฮากูปิต ชังมี เมขลา ฮีโกส และบาหวี่ ไปแล้วกับพวกพายุไต้ฝุ่น พายุโซนร้อน พายุดีเพรสชั่น ที่เกิดขึ้นไปแล้ว ส่วนชื่อ ไมสัก ไห่เฉิน ฯลฯ ยังไม่ได้ใช้ (ข้อมูลรายชื่อพายุ จาก https://th.wikipedia.org/wikii/ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก_พ.ศ._2563#ชื่อสากล)
ดังนั้น อย่าพึ่งแตกตื่นตกใจกับข้อความข่าวปลอมที่แชร์กันดังกล่าว ควรติดตามข่าวพยากรณ์อากาศของกรมอุตุฯ โดยตรง จาก https://www.tmd.go.th/index.php ดีกว่าครับ
ตัวอย่างเช่น ช่วงนี้ มีประกาศเตือนภัยลักษณะอากาศฝนตกหนักบริเวณประเทศไทยตอนบน มีผลกระทบจนถึงวันที่ 23 สิงหาคม โดยร่องมรสุมกำลังแรงที่พาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีกำลังอ่อนลง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน และประเทศไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกหนักบางพื้นที่
----------------
"กรมอุตุฯ ระบุสื่อโซเซียล ปล่อยข่าวปลอม เกิดพายุ 11 ลูก"
นายประพฤติ ยอดไพบูลย์ ผู้อำนวยการสถานีอุตุนิยมวิทยาจังหวัดพิษณุโลก กล่าวว่า กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ชี้แจงข้อเท็จจริงไปแล้วก่อนหน้านี้ กรณีมีการปล่อยช่าวออกมาทางสื่อโซเซี่ยล ทำให้ประชาชนเกิดความสับสน เรื่อง ปี 2563 จะมีพายุเกิดขึ้น 11 ลูก กรมอุตุนิยมวิทยา ขอชี้แจงว่าจะมีพายุเกิดขึ้นถึง 11 ลูกนั้น ก็อาจจะเกิดขึ้นได้ เพราะ โดยเฉลี่ยพายุที่เกิดทั้งปี ทางด้านมหามุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก และทะเลจีนใต้ สามารถเกิดขึ้นได้ 21 – 29 ลูก แต่ที่ผ่านเข้าสู่ประเทศไทย โดยเฉลี่ยประมาณ 1 – 2 ลูก เท่านั้น
นายประพฤติ กล่าวอีกว่า ซึ่งเดือนที่เกิดพายุมากที่สุด ระหว่างเดือนสิงหาคม-ตุลาคม ซึ่งขณะนี้ยังเหลือเวลาอีกประมาณ 2 – 3 เดือน สามารถมีพายุได้ หากเกิดพายุในลำดับต่อไปได้เรียงไว้ตาม ตารางคอลัมน์ ตามชื่อจากข้อมูลอ้างอิง
- พายุหมุนเตรอนที่เคลื่อนข้าสู่ประเทศไทย รายเดือน คาบ 69 ปี (พ.ศ. 2494 – 2562)
– พายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นพายุดีเปรสชันและมีความถี่ช่วงเดือน ก,ย. – ต.ค. มีพายไต้ฝุ่น “เกย์”เพียง 1 ลูก ที่เคลื่อนตัวเข้าสู่ภาคใต้ ปี 2532
- ค่าเฉลี่ยทั้งปีพายุมีโอกาสเคลื่อนตัวเข้าสู่ไทย 1 – 2 ลูกเท่านั้น
นายประพฤติ ยอดไพบูลย์ กล่าวเพิ่มด้วยว่า มีพายุ 3 ลูก แผนที่อากาศผิวพื้น https://www.tmd.go.th/weather_map.php วัน 11สิงหาคม 2563 เวลา 01:00 น. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย อนึ่ง พายุระดับ 3 (โซนร้อน) “เมขลา” (MEKKHALA) ที่ปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน คาดว่าจะเคลื่อนผ่านช่องแคบไต้หวันและขึ้นสู่ชายฝั่งด้านตะวันออกของประเทศจีน ในช่วงวันที่ 11-12 ส.ค. 63 โดยพายุนี้ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย
ข้อมูลจาก https://northernnewsthailand.com/news/51272?fbclid=IwAR3PcwuLjcJQTxUDEkM0YX5s1bW3hZ87vt61Ayh193mtBcH52QAjC5JTRj4
พายุโซนร้อน คือ 在 พายุหมุนเขตร้อน (Tropical Cyclone) พายุดีเปรสชั่น พายุโซนร้อน ... 的推薦與評價
รู้จักประเภท พายุ 1 พายุ ฝนฟ้าคะนอง (Thunderstorm)2 พายุ หมุนเขต ร้อน (Tropical Cyclone)3 พายุ ทอร์นาโด ... ... <看更多>
พายุโซนร้อน คือ 在 ข่าวสภาพอากาศ คมนาคม รถไฟ, profile picture - Facebook 的推薦與評價
ความรู้เรื่องพายุ มาตราความรุนแรงพายุหมุนเขตร้อนใหม่ ของ ... TD คือ ดีเปรสชัน TS คือ พายุโซนร้อน STS คือพายุโซนร้อนกำลังแรง TY คือ พายุไต้ฝุ่น STY คือ ... ... <看更多>