"เปิดรายได้เกษตรกรของเยอรมัน"
ถ้าพูดถึงเยอรมันหลายคนคงจะนึกถึงแต่ในเรื่องของเทคโนโลยี, เรื่องของวิทยาศาสตร์ หรือเรื่องวิศวกรรมใช่มั้ยครับ?
แต่รู้มั้ยครับว่าอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญมากของเยอรมันนั้นก็คือ "ภาคการเกษตร" ที่เยอรมันนั้นในปัจจุบันจะมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรประมาณ 16.7 ล้านเฮกตาร์ หรือประมาณ 104 ล้านไร่
ซึ่งภาพลักษณ์ของเกษตรกรในหลายๆ ประเทศนั้นเราอาจจะมองว่าเป็นอาชีพที่ค่อนข้างเหนื่อยและรายได้ไม่สูง แต่ที่เยอรมันพ่อบ้านบอกได้เลยว่า
"มีรายได้ที่ดีพอตัวเลยครับ"
เพราะเกษตรกรของเยอรมันนั้นถือว่าเป็นอาชีพที่ดีและมีรายได้สูงระดับนึงเลย และเกษตรกรที่นี่ก็ไม่ได้จะเป็นได้ง่ายๆ เพราะคุณต้องผ่านการเรียนในสายอาชีพเสียก่อน
โดยจะเรียนเป็นระยะเวลา 3 ปี และรายได้ระหว่างเรียนนั้นจะอยู่ที่ 530 -730 ยูโร หรือประมาณ 19,080 - 26,280 บาท
และเมื่อเรียนจบแล้วจะมีรายละเอียดรายได้ดังนี้
รายได้เฉลี่ยของอาชีพนี้จะอยู่ที่ 36,900 ยูโรต่อปีหรือประมาณ 1,328, 400 บาทต่อปี
รายได้โดยเฉลี่ยต่ำสุดจะอยู่ที่ 30,900 ยูโรต่อปีหรือประมาณ 1,112,400 บาทต่อปี
รายได้เฉลี่ยสูงสุดจะอยู่ที่ 46,100 ยูโรต่อปีหรือ 1,659,600 บาทต่อปี
(ที่มา Stepstone)
หรือถ้าเราแยกออกเป็นรายรัฐทั้ง 16 รัฐ รัฐที่เกษตรจะมีรายได้สูงที่สุดคือ Bayern ที่ 2,919 ยูโรต่อเดือน และที่น้อยที่สุดคือ Hessen ที่ 1,977 ยูโรต่อเดือน หรือประมาณ 71,172 - 105,084 บาท
(ที่มา Gehaltsvergleich)
* ตัวเลขด้านบนเป็นตัวเลขค่าเฉลี่ยเงินเดือนของพนักงาน หากแต่ว่าจะมีเกษตรกรบางคนที่จะเปิดกิจการของตัวเอง หรือกิจการเจ้าของคนเดียวที่จะมีรายได้สูงกว่าหรือน้อยกว่านี้ได้ครับ
*เจ้าของสวนผึ้ง, ไร่มันฝรั่งกับสวนองุ่น ที่พ่อบ้านรู้จักเขาขับ Porsche เลยนะเทอวว
"ส่วนนึงที่พ่อบ้านคิดว่ารายได้ของเกษตรกรที่นี่ดี ส่วนหนึ่งคือการที่สนับสนุนให้ซื้อของในประเทศ ที่ถึงแม้จะแพงกว่าแต่คุณภาพดีและปลอดสารพิษ"
"และอีกส่วนคือการที่บริษัทพวกซุปเปอร์มาร์ทต่างๆ ก็สนับสนุนสินค้าจากเกษตรกรในท้องถิ่นนั้นๆ โดยให้ราคาที่ดีและรับเข้ามาขายในทุกๆ วันครับ"
#พ่อบ้านเยอรมัน #เยอรมัน #เยอรมนี #Germany #German #Agricultural #Landwirtschaft
ที่มาของข้อมูล Ausbildung. De, Stepstone, และ Gehaltsvergleich
https://www.ausbildung.de/berufe/landwirt/gehalt/
https://www.stepstone.de/gehalt/Landwirt-in.html
https://www.gehaltsvergleich.com/news/gehaltscheck-wer-verdient-wie-viel-in-der-landwirtschaft
「ภาคการเกษตร」的推薦目錄:
- 關於ภาคการเกษตร 在 Facebook 的最佳解答
- 關於ภาคการเกษตร 在 อายุน้อยร้อยล้าน Facebook 的最佳解答
- 關於ภาคการเกษตร 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的最佳貼文
- 關於ภาคการเกษตร 在 การขับเคลื่อนภาคเกษตร ด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG - YouTube 的評價
- 關於ภาคการเกษตร 在 กสก.ขับเคลื่อน BCG Model ภาคการเกษตร | By กรมส่งเสริมการเกษตร 的評價
ภาคการเกษตร 在 อายุน้อยร้อยล้าน Facebook 的最佳解答
ชี้ช่อง SMEs ไทย กับโอกาสลงทุนภาคการเกษตรใน สปป.ลาว
.
สปป.ลาว ประเทศเพื่อนบ้านของไทย ถือเป็นประเทศที่มีทรัพยากรทางธรรมชาติที่สมบูรณ์และหลากหลาย เหมาะแก่การทำการเพาะปลูกทางการเกษตร แต่ด้วยพฤติกรรมและนิสัยของคนลาวมักปลูกพืชผักไว้ใช้ในครัวเรือน ไม่ได้ปลูกเพื่อการค้าใดๆ จึงทำให้ลาวมีพื้นที่ทางเกษตรกรรมเพียงแค่ 20% มี GDP จากภาคการเกษตรอยู่ที่ 23% ของ GDP รวมทั้งประเทศ ประกอบไปด้วยพืชผักผลไม้ 54%, สินค้าปศุสัตว์ 34% และอุตสาหกรรมป่าไม้ 10% โดยพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของลาว คือ ข้าว กาแฟ ข้าวโพด อ้อย ยางพารา และมันสำปะหลัง
.
จากประเด็นข้างต้น จึงนับเป็นการสร้างโอกาสการลงทุนภาคการเกษตรให้กับผู้ประกอบการของไทย ซึ่งการลงทุนนี้จะส่งผลให้ทั้งสองประเทศได้ผลประโยชน์ร่วมกัน โดยไทยได้ประโยชน์ด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก ส่วนลาวก็ได้ประโยชน์จากการสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างรายได้ให้กับประชากรในประเทศ รวมถึงยังมีโอกาสได้พัฒนาบุคลากรด้านการเกษตรให้มีความรู้ความสามารถที่จะผลิตและทำการตลาดสินค้าทางการเกษตรมากขึ้น
.
อีกทั้ง ไทยและลาวเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีความคล้ายคลึงกันในหลาย ๆ ด้าน ตั้งแต่ ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ลักษณะภูมิประเทศ และสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการของไทยและลาว สามารถสื่อสารและทำธุรกิจกันได้อย่างสะดวก โดยเฉพาะการที่ไทย เป็นอีกหนึ่งประเทศที่โดดเด่นด้านการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการเกษตร ก็อาจนำความรู้และความถนัดในส่วนนี้เข้าไปใช้หรือแนะนำผู้ประกอบการของลาวได้
.
แม้จะดูเป็นเรื่องไม่ยากที่ไทยจะเข้าไปบุกตลาดทำการค้าด้านการเกษตรในลาว แต่ก็มีปัญหาและข้อจำกัดอยู่บ้าง เนื่องจากเส้นทางคมนาคมไม่สะดวก และระบบชลประทานยังมีน้อย จึงอาจทำให้มีต้นทุนการผลิตที่สูง อีกทั้งตลาดลาวถือเป็นตลาดที่เล็ก มีประชากรเพียง 7.27 ล้านคน รวมถึงพฤติกรรมการทำการเกษตรเพื่อใช้ในครัวเรือน ทำให้การลงทุนภาคเกษตรเน้นการผลิตและแปรรูปเพื่อการส่งออก
.
อย่างไรก็ตาม เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนให้กับประเทศ “การลงทุนจากต่างประเทศ (FDI)” จึงเป็นนโยบายที่รัฐบาลของลาว ส่งเสริมและสนับสนุนเป็นอย่างมาก โดยได้กำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของ สปป.ลาว ฉบับที่ 7 (ปี 2016-2020) ว่า FDI จะมีสัดส่วนร้อยละ 60 ของการลงทุนในประเทศทั้งหมด และร้อยละ 30 มาจากการช่วยเหลือจากต่างประเทศ
.
โดยโอกาสที่ผู้ประกอบการจะได้รับจากการเข้าไปลงทุนด้านการเกษตรในลาวนั้น คือ ได้รับสิทธิพิเศษจากภาครัฐโดยตรง ไม่ว่าจะด้านภาษี ค่าสัมปทานที่ดินราคาถูก มีเวลาสัมปทานยาว ค่าแรงงานและค่าไฟฟ้าราคาถูกที่จะช่วยให้การผลิตมีต้นทุนที่ต่ำ รวมถึงได้รับสิทธิประโยชน์อื่นๆ จากกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ นอกจากนี้ ทำเลที่ตั้งของลาว ยังตั้งอยู่กึ่งกลางของเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ เชื่อมโยงระหว่างประเทศจีน-ลาว-สิงคโปร์ และระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก เชื่อมโยงระหว่าง 2 คาบสมุทรผ่านประเทศเวียดนาม-ลาว-ไทย-เมียนมาร์ ซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่ที่เหมาะแก่การลงทุนอย่างมาก
.
ดังนั้น เพื่อให้การลงทุนของผู้ประกอบการ SMEs ไทยประสบความสำเร็จและไม่มีปัญหาใดๆ ภาครัฐไทยควรให้การสนับสนุน โดยให้ความสำคัญทางด้านนโยบายสนับสนุนในการย้ายฐานการผลิต เงินทุนในลักษณะการกู้ดอกเบี้ยผ่อนปรนตามความเหมาะสม รวมถึงพัฒนาบุคลากรของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของประเทศที่จะไปลงทุน เพื่อนำไปถ่ายทอดให้แก่เกษตรกรภายใต้โครงการที่จะลงทุนต่อไป
.
ที่มา : https://www.facebook.com/2522872977738211/posts/4839316446093841/?extid=viM9q63Eu5UtHWCG&d=n
https://www.posttoday.com/aec/column/464206?fbclid=IwAR1mQPOJyeC4aY-s-77jDsR3tbIyP9CVN3CJ8fkhkcfNQE5vZ24QRARMCu8
https://www.posttoday.com/aec/column/465308?fbclid=IwAR3VUSawrDA0kl91tXNwaDyH1kSI3Dt4l3_OVbAC0mQ20Cn2PHeWve8Wz_w
#อายุน้อยร้อยล้านNEWS
#อายุน้อยร้อยล้าน #ryounoi100lan
#SMEs #ผู้ประกอบการ #ไทย #ลาว
#ภาคการเกษตร #โอกาสลงทุน
ภาคการเกษตร 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的最佳貼文
"นักวิชาการเวทีจุฬาฯ เสวนา ครั้งที่ 24 ถอดบทเรียนเหตุการณ์ระเบิดที่เบรุต จุดชนวนความปลอดภัยอย่างยั่งยืน"
จากงานเวทีจุฬาฯ เสวนา ครั้งที่ 24 เรื่อง “ระเบิดเบรุต จุดชนวนความปลอดภัยอย่างยั่งยืน” ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดขึ้นเมื่อวันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม 2563 ณ ห้องประชุม 111 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ นักวิชาการจุฬาฯ และผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการสารเคมี ได้ถอดบทเรียนจากเหตุการณ์การระเบิดอย่างรุนแรงของคลังเก็บสารเคมีที่ท่าเรือเมืองเบรุต ประเทศเลบานอน ซึ่งสร้างความเสียหาย มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก เพื่อสร้างความตระหนักรู้และความตื่นตัวแก่สังคมเกี่ยวกับการจัดการสารเคมีอันตรายอย่างถูกต้อง ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ
ศ.ดร.ธีรยุทธ วิไลวัลย์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และผู้อำนวยการศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาฯ อธิบายถึงเหตุระเบิดของคลังเก็บสารเคมีในครั้งนี้ว่าเกิดจากสารแอมโมเนียมไนเตรตที่ถูกเก็บไว้ในคลังสินค้าจำนวนมากถึงเกือบ 3,000 ตัน ในบริเวณพื้นที่ชุมชน สารเคมีชนิดนี้มีอันตราย สามารถระเบิดได้เมื่อได้รับความร้อนหรือเมื่อผสมกับสารที่ติดไฟได้ และเป็นสารที่เป็นต้นเหตุของอุบัติเหตุร้ายแรงหลายครั้ง ในประเทศไทยมีการใช้สารนี้อย่างกว้างขวาง ทั้งในภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร หรือแม้แต่ในสถานศึกษา นอกจากนี้ยังมีสารเคมีอันตรายอื่นๆ ใกล้ตัวเราที่มีการใช้งานแพร่หลาย ซึ่งหากมีการจัดเก็บและใช้งานอย่างไม่ถูกต้องก็อาจส่งผลให้เกิดความเสียหายรุนแรงได้ ดังเช่นกรณีระเบิดของสารเร่งดอกลำไย (โพแทสเซียมคลอเรต) ซึ่งเกิดจากการนำไปผสมกับปุ๋ย
“บ่อยครั้งเราอาจมีพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยจนเคยชิน โดยอาจรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือละเลยต่อความปลอดภัย เมื่อไม่เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นก็ทำให้ชะล่าใจว่าที่ทำอยู่นั้นถูกต้องแล้ว ในกรณีเหตุระเบิดของสารแอมโมเนียมไนเตรตที่เบรุตเป็นสารเคมีที่เก่าเก็บมานานถึง 6 ปี เหตุการณ์นี้เป็นกรณีศึกษาที่ดีที่จะกระตุ้นให้สาธารณชนตระหนักถึงอันตรายจากการครอบครองและใช้งานสารเคมีอย่างไม่ถูกวิธี และเห็นความสำคัญของการศึกษาข้อมูลของสารเคมีจากฉลาก และการปฏิบัติตามคำแนะนำในเอกสารข้อมูลความปลอดภัย เหตุการณ์เช่นนี้ยังสามารถเกิดขึ้นได้อีก ตราบใดที่ผู้ที่เกี่ยวข้องยังไม่ตระหนักรู้ถึงความสำคัญและอันตรายของสารเคมี และรู้จักสื่อสารความเสี่ยงให้สาธารณชนได้รับทราบ แต่ต้องระวังไม่ให้เกิดความตื่นตระหนกเกินความจำเป็น” ศ.ดร.ธีรยุทธ กล่าว
คุณเฉลิมศักดิ์ กาญจนวรินทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฮาซเคม โลจิสติกส์ แมเนจเมนท์ จำกัด ที่ปรึกษากลุ่มอุตสาหกรรมเคมี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และประธานกลุ่ม Responsible Care® ประเทศไทย กล่าวว่า เหตุการณ์ระเบิดของสารเคมีอันตรายในลักษณะนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก แต่เคยเกิดมาแล้วหลายครั้งในประเทศไทย เช่น เพลิงไหม้รถขนส่งถังแก๊ส คลังสารเคมีระเบิดที่ท่าเรือคลองเตย เพลิงไหม้ ตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสารเคมีที่ท่าเรือแหลมฉบัง เป็นต้น หัวใจสำคัญของเรื่องนี้คือ ความรู้เรื่องอันตรายของสารเคมี วิธีการจัดการที่เหมาะสม และผู้ประกอบการมีความตระหนักด้านความปลอดภัยและดำเนินตามกฎหมายอย่างถูกต้องหรือไม่ มีการควบคุมปริมาณสารเคมีและวิธีการจัดเก็บอย่างไร บรรจุภัณฑ์ที่ใช้มีความเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งรวมถึงในมหาวิทยาลัย เช่น กรณีการจัดการสารเคมีในห้องปฏิบัติการด้วย นอกจากนี้การป้องกันการสัมผัสสารอันตรายด้วยอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล มาตรการด้านความปลอดภัยต่างๆ ทั้งในเชิงรุกและเชิงรับ ก็เป็นสิ่งสำคัญด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงต้องมองมิติของความเป็นอันตรายให้ครบรอบด้าน อย่างไรก็ตาม การพิจารณาจากความอันตรายของสารเคมีอย่างเดียวอาจจะยังไม่เพียงพอ ต้องพิจารณาถึงความเสี่ยงที่อาจเกี่ยวข้องในภาพรวมทั้งหมดด้วย
“การไม่รู้ว่าสารเคมีนั้นๆ อันตรายหรือไม่เป็นสิ่งที่น่ากลัวมาก ยิ่งไปกว่านั้นการที่ผู้ประกอบการหรือคนที่อยู่รอบตัวเรารู้ว่าครอบครองสารเคมีอันตรายแต่ไม่เปิดเผยข้อมูลออกมาเป็นสิ่งที่น่ากลัวมากที่สุด เช่นเดียวกับเหตุการณ์ที่เบรุต วิธีง่ายๆ ที่ควรทำก็คือ Hazard Classification หรือการจำแนกว่าอันตรายหรือไม่ จากนั้นจึงสื่อสารความอันตรายออกไปให้สาธารณชนรับรู้” คุณเฉลิมศักดิ์ กล่าว
ด้าน ดร.ไพฑูรย์ งามมุข ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานเขตดอนเมือง อดีตหัวหน้าฝ่ายจัดการสารเคมีและวัตถุอันตรายในสถานประกอบการ สำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ได้ให้ความรู้ในส่วนของแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรณีเหตุฉุกเฉิน ไม่ว่าจะเกิดจากสารเคมี รังสี ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิต ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อม หน่วยงานภาครัฐมีแนวทางป้องกันและตอบโต้เหตุฉุกเฉิน ตั้งแต่การเตรียมความพร้อม การตอบโต้ และการฟื้นฟูช่วยเหลือผู้ประสบภัย ตามหลักการสากล รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอุบัติภัยสารเคมี นอกจากนี้หน่วยงานภาครัฐมีการถอดบทเรียนจากเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต เพื่อปรับปรุงแผน และสร้างความความตระหนัก ใส่ใจด้านความปลอดภัย
ดร.ไพฑูรย์ เสนอว่า “อยากให้ผู้ประกอบการเฝ้าระวังโรงงานและโกดังเก็บสารเคมีซึ่งไม่มีพื้นที่ที่เป็น bubble zone หากเกิดอะไรขึ้นมาจะกระทบไปยังชุมชน เราพยายามขอข้อมูลจากผู้ประกอบการที่เป็นปัจจุบันและไม่แจ้งเท็จ เป็นการลดความเสี่ยง ไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์ความสูญเสียก่อนแล้วจึงมองเห็นความสำคัญ”
รศ.สุชาตา ชินะจิตร ที่ปรึกษาคณะกรรมการนโยบายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาฯ และคณะกรรมการความปลอดภัยด้านเคมี จุฬาฯ ให้ข้อมูลว่าการบริหารจัดการความปลอดภัยต้องใช้ความรู้พื้นฐานเพื่อบ่งบอกได้ว่าอะไรคือปัจจัยเสี่ยง และประเมินความเสี่ยงได้ รวมทั้งต้องสื่อสารความเสี่ยงไปยังกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหตุระเบิดในครั้งนี้ชวนให้คิดว่าการจัดการสารเคมีอันตรายมีปัญหาตั้งแต่ระดับนโยบาย ในประเทศไทยก็เคยเกิดพิบัติภัยเกี่ยวกับสารเคมีหลายครั้ง แต่ละครั้งเป็นบทเรียนให้มีการจัดการที่ดีขึ้น ภาคเอกชนให้การดูแลเรื่องนี้อย่างจริงจัง เช่น มีกลุ่ม Responsible Care® ของสภาอุตสาหกรรม ภาครัฐเองก็มี พ.ร.บ.หลายฉบับที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสารเคมี ความรู้เกี่ยวกับอันตราย
“อุทาหรณ์จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นน่าจะมีส่วนช่วยลดสถิติการเกิดอุบัติภัยสารเคมีได้ โดยใช้เหตุการณ์พิบัติภัยเป็นตัวจุดประกาย นำทางไปสู่ความรู้และข้อคิดในการเฝ้าระวัง สื่อมวลชนมีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอด ยกระดับความรู้ของสังคมให้มีความตระหนักรู้ถึงอันตราย การป้องกันเหตุจะต้องปลูกฝังเรื่องนี้ให้อยู่ในจิตสำนึกของทุกคน” รศ.สุชาตา กล่าวในที่สุด
ภาคการเกษตร 在 กสก.ขับเคลื่อน BCG Model ภาคการเกษตร | By กรมส่งเสริมการเกษตร 的推薦與評價
งานแถลงข่าว กสก.ขับเคลื่อน BCG Model ภาคการเกษตร 25 สิงหาคม 2565 ณ กรมส่งเสริมการเกษตร. ... <看更多>
ภาคการเกษตร 在 การขับเคลื่อนภาคเกษตร ด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG - YouTube 的推薦與評價
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดทำแนวทางการพัฒนา ภาคเกษตร ภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG โดยมีเป้าหมายในการปรับเปลี่ยน ภาคเกษตร ไทยไปสู่ 3 สูง คือ ... ... <看更多>