ถ้าโรคระบาดไม่จบในปีนี้ เราจะเจอ Great Depression /โดย ลงทุนแมน
เราเคยคิดว่าจะสำรองเงินสดไว้ยามฉุกเฉินกี่เดือนของรายได้?
3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี
แต่รู้ไหมว่าคนส่วนใหญ่บนโลกนี้
มีเงินสดสำรองไว้ไม่ถึง 3 เดือน
ในทางกลับกัน พวกเขายังมีหนี้มหาศาลรออยู่ และคิดว่ามันจะหมุนไปเรื่อยๆได้
เรื่องนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับแค่บุคคล แต่ยังเกิดขึ้นกับ “บริษัท” ส่วนใหญ่ของโลกนี้
เมื่อทั้งโลกกำลังขับเคลื่อนไปด้วยหนี้
เอารายได้สิ้นเดือนนี้มาจ่ายหนี้เดือนหน้า
แต่แล้ว..
บททดสอบมนุษยชาติครั้งใหญ่ในรอบ 100 ปี ก็เกิดขึ้น
โคโรนาไวรัส
แล้วถ้ามนุษย์ผ่านบททดสอบนี้ไปไม่ได้
อะไรจะเกิดขึ้น
ลงทุนแมนจะพาไปดูก้อนเมฆดำที่ลอยอยู่
ว่ามีอะไรซ่อนอยู่ในนั้น..
╔═══════════╗
Blockdit แหล่งรวมบทความวิเคราะห์
เจาะลึกแบบ deep content
ล่าสุดมีฟีเจอร์พอดแคสต์แล้ว
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ตัวเลขบัญชีเงินฝากธนาคารของคนไทยล่าสุด เดือนมกราคม 2563
ประเทศไทยมีบัญชีเงินฝากจำนวน 101.5 ล้านบัญชี
แต่รู้ไหมว่า 87% ของบัญชีทั้งหมด มีเงินฝากไม่เกิน 50,000 บาท
คำว่า 50,000 บาทนี้สำคัญ
เพราะมันแปลว่า ถ้าพวกเขาไม่มีรายได้
เขาจะใช้ชีวิตอยู่ได้ ไม่กี่เดือน..
และเรื่องนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับแค่ประเทศไทย
แต่กำลังเกิดขึ้นกับทุกประเทศทั่วโลก
ตัวเลขจำนวนผู้ว่างงานสัปดาห์ล่าสุดของสหรัฐอเมริกาพุ่งแตะ 3.3 ล้านคน
เป็นจุดสูงสุดในประวัติศาสตร์ตั้งแต่มีการบันทึกสถิตินี้มา
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเพราะรัฐบาลสหรัฐสั่งปิดร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า จำนวนมาก
ซึ่งมันจะแตกต่างจากครั้งก่อนๆที่การว่างงานมันเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ
ดังนั้นถ้ารัฐบาลอนุญาตให้กลับมาเปิดร้านอีกครั้ง การว่างงานก็น่าจะลดลง
แต่คำถามที่สำคัญคือ ธุรกิจที่หยุดชะงักทั่วโลก มันจะลากยาวไปอีกนานเท่าไร
ถ้า 1-2 เดือน ก็น่าจะพอรับไหว
แต่ตอนนี้ตัวเลขผู้ติดเชื้อทั่วโลกนอกประเทศจีน ไม่มีทีท่าว่าจะชะลอลง..
หลายคนคาดการณ์ว่าเรื่องนี้จะลากยาวไปถึงเดือนตุลาคม
หลายคนคาดการณ์ว่าจะมีวัคซีนปลายปีนี้
แต่ถ้ามีอุบัติเหตุอะไรที่ทำให้เรื่องลากยาวเกินกว่าที่คาด?
เราเตรียมรับมือไว้แล้วหรือยัง
-ถ้าไวรัสมีการกลายพันธุ์ ทำให้การผลิตวัคซีนต้องล่าช้าออกไปอีก
-ถ้าประเทศที่ควบคุมการระบาดได้แล้ว กลับต้องย้อนกลับมามีการระบาดใหม่ เพราะมีการนำเข้าเชื้อจากประเทศที่ยังคุมการระบาดไม่ได้
แล้วเมื่อไหร่ที่ทุกประเทศทั่วโลกจะคุมการระบาดได้
แล้วเมื่อไหร่ที่วัคซีนจะถูกแจกจ่ายให้ทุกคน
แล้วเมื่อไหร่ที่เรามั่นใจในการเดินทางไปทั่วโลกได้เหมือนเดิม
สุดท้ายแล้ววันนั้นจะเกิดขึ้น
แต่ถ้ามันลากยาว ก็ดูเหมือนว่าจะสายเกินไปสำหรับหลายคนไปแล้ว..
ไม่ต้องเถียงกันว่าเราจะเจอสภาวะเศรษฐกิจถดถอยหรือไม่
คำว่า Recession หรือ ภาวะเศรษฐกิจถดถอย คือการที่ GDP ติดลบติดต่อกัน 2 ไตรมาส
ซึ่งแน่นอนว่าเราจะเจอแน่ในไตรมาสที่ 1 และไตรมาสที่ 2 ปี 2020
แต่สำหรับคำต่อไปจาก Recession ก็คือ Great Depression..
Great Depression เป็นคำที่ใช้เรียกภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่รุนแรงในช่วงปี ค.ศ. 1930 ซึ่งในตอนนั้นกว่าที่เศรษฐกิจจะกลับมาที่จุดเดิมได้ก็ใช้เวลาหลายปี
เหตุการณ์ในตอนนั้นเริ่มจากตลาดหุ้นตกแบบรุนแรงในเดือนตุลาคม 1929 คล้าย เหตุการณ์ในเดือนมีนาคม 2020
และในช่วง 3 ปี ต่อจากนั้น GDP ทั่วโลกลดลง 15% หลังจากนั้นการว่างงานเพิ่มขึ้น ผู้คนตกงานเป็นจำนวนมาก ถ้าในตอนนั้นเดินไปตามท้องถนนในสหรัฐอเมริกาจะมี 1 ใน 5 คนที่ไม่มีงานทำ
เมื่อผู้คนตกงานจะพบกับอะไร?
คนตกงานจะขาดรายได้ ใช้เงินเก็บที่มีอยู่
และเมื่อเงินเก็บหมด คนเหล่านั้นจะไม่มีกำลังซื้อของมาบริโภค และต้องไปขอรับสวัสดิการของรัฐ ซึ่งคล้ายกับเหตุการณ์ที่กำลังเริ่มต้นขึ้นในปัจจุบัน
และเมื่อผู้คนเริ่มกังวลว่าเงินเก็บจะไม่พอใช้
สิ่งที่จะเกิดขึ้นเป็นอันดับแรกก็คือ “การเลื่อนซื้อของใหญ่”
ของใหญ่ในที่นี้หมายถึงของที่มีราคาสูง ซึ่งถ้าไม่ซื้อก็ไม่เป็นไร สามารถถูกเลื่อนซื้อออกไปก่อนได้
ตัวอย่างของใหญ่เหล่านี้จะประกอบไปด้วย บ้าน คอนโด รถยนต์ หรือแม้แต่กระเป๋าแบรนด์เนม.. เราอยู่บ้านหลังเดิม คอนโดหลังเดิม ขับรถคันเดิม ใช้กระเป๋าใบเดิม คงไม่เป็นไร เมื่อเทียบกับความเสี่ยงที่รออยู่ตรงหน้า
ดังนั้น นอกจากธุรกิจภาคบริการที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากผู้คนไม่เดินทาง ก็คือ สายการบิน โรงแรม ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้าแล้ว ธุรกิจที่จะได้รับผลกระทบลำดับต่อมาก็คือ
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจยานยนต์ และ ธุรกิจสินค้าฟุ่มเฟือย
สำหรับบริษัทที่มีเงินสดมากไว้รองรับช่วงเวลาแบบนี้ไปได้อีกสัก 1 ปี ก็คงไม่เป็นไร
แต่สำหรับบริษัทที่มีฐานะการเงินตึงๆมาตลอดเวลา สร้างหนี้ที่ระดับสูงสุดเพื่อผลกำไรสูงสุด บริษัทเหล่านี้จะพบกับอุปสรรคที่ไม่เคยเจอมาก่อน จนไม่แน่ใจว่าวิกฤติครั้งนี้ หรือวิกฤติต้มยำกุ้งจะรุนแรงกว่ากัน..
และด้วยจำนวนพนักงานในภาคบริการถือว่ามีสัดส่วนสูงมากในระบบเศรษฐกิจ
ดังนั้นอัตราการว่างงานทั่วโลกจะพุ่งสูงขึ้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
ในตอนนี้จะมีหลายบริษัทที่มีเงินสดพอจ่ายพนักงานได้ไม่เกิน 3 เดือน เราอาจได้เห็นบริษัทในภาคบริการ ทยอยปิดตัวอย่างไม่เคยมีมาก่อนเช่นกัน
และนี่ก็เป็นสาเหตุให้รัฐบาลทั่วโลกต่างพากันรีบแจกเงินให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบเหล่านี้
สำหรับรัฐบาลไทยถือว่าทำได้เร็ว จะว่าไปประเทศไทยโชคดี เพราะมีประสบการณ์จากการแจกเงินในโครงการ ชิมช้อปใช้ มาแล้ว
ทำให้การลงทะเบียนและจ่ายเงินชดเชยรายได้คราวนี้ทำได้รวดเร็วผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้วางรากฐานมาก่อนหน้านี้ ซึ่งหลายประเทศทั่วโลกอาจจะยังไม่มีความสามารถทำระบบได้แบบนี้เลยด้วยซ้ำ
ลองคิดดูเล่นๆถ้าโรคระบาดเกิดขึ้นเร็วกว่านี้สัก 5 ปี ในวันนั้นประเทศไทยยังไม่มีระบบการจ่ายเงินระหว่างภาครัฐกับประชาชน
ในตอนนั้นระบบอินเทอร์เน็ตยังไม่ครอบคลุมประชาชนเท่านี้ ถ้าให้คนต้องมากรอกแบบฟอร์ม รอโอนเงิน มันคงจะทุลักทุเล และคงมีเงินรั่วไหลเป็นแน่
ซึ่งนี่อาจจะเป็นเรื่องโชคดีของการที่โคโรนาไวรัสมาเกิดในปี 2020 ปีที่ระบบการแจกเงินของรัฐบาลไทยมีความพร้อมในระดับหนึ่ง
และก็น่าจะเป็นโชคดีชั้นที่ 2 ที่ไทยเคยเจอกับวิกฤติต้มยำกุ้งมาก่อน และเราคนไทยเข็ดหลาบจากเหตุการณ์ในครั้งนั้น ทำให้ที่ผ่านมารัฐบาลในแต่ละยุคไม่กล้าสร้างหนี้สาธารณะมาก เพราะเมื่อไหร่ที่ก่อหนี้ก็จะมีฝ่ายตรงข้ามเอาประเด็นนี้มาโจมตี
ปัจจุบันหนี้สาธารณะของประเทศไทยอยู่ที่ระดับ 41% ของ GDP ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้วทั่วไป
สหรัฐอเมริกา มีหนี้สาธารณะ 107% ของ GDP
ญี่ปุ่น มีหนี้สาธารณะ 238% ของ GDP
ฝรั่งเศส มีหนี้สาธารณะ 98% ของ GDP
ซึ่งนี่อาจถึงเวลาแล้วที่เราจะใช้กระสุนที่มีอยู่เพื่อพยุงสถานการณ์นี้
เพราะลำพังการใช้นโยบายการเงิน หรือ อัตราดอกเบี้ยต่ำ คงไม่เพียงพอ เพราะตอนนี้ดอกเบี้ยนโยบายก็อยู่ในระดับที่ 0.75% ซึ่งต่ำสุดในประวัติศาสตร์แล้ว
การใช้นโยบายการคลังมีมาตรการ และงบประมาณในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ให้ถูกจุด และให้แรงเพียงพอเป็นสิ่งที่ควรทำในเวลานี้
และสำหรับภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ปกติ ที่เราจะได้เจอในลำดับถัดไปก็คือ
“เงินเฟ้อจะติดลบ” หรือในทางเศรษฐศาสตร์เรียกว่า เงินฝืด
อะไรคือเงินเฟ้อติดลบ?
เงินเฟ้อติดลบ คือ ราคาสินค้าบริการ โดยทั่วไปในระบบเศรษฐกิจจะมีราคาที่ต่ำลง
ซึ่งปัจจัยที่ช่วยดึงราคาให้ต่ำลงอยู่ 2 ประการก็คือ
1.ต้นทุนของผู้ผลิตลดลง จากราคาน้ำมันที่ต่ำลงเป็นอย่างมาก และน้ำมันเป็นต้นทุนทุกภาคส่วนในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งเมื่อต้นทุนของผู้ผลิตลดลง ผู้ขายย่อมมีช่องว่างในการลดราคาลงมาได้
2.ดีมานด์ความต้องการสินค้าลดลง จากสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทำให้ผู้ซื้อในระบบเศรษฐกิจน้อยลง ถ้าผู้ขายมีจำนวนเท่าเดิม ก็แปลว่าจะต้องแย่งกันลดราคาเพื่อจูงใจให้ผู้ซื้อซื้อสินค้า ดังนั้นเราจะได้เห็นโปรโมชันลดแลกแจกแถม จากผู้ขายสินค้าในแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน จนกว่าจะมีผู้ขายที่ทนไม่ไหวและออกไปจากระบบ ราคาสินค้าถึงจะไม่ลดลง
ดูเหมือนว่าคำว่าราคาสินค้าต่ำลง หรือเงินเฟ้อติดลบ จะเป็นเรื่องดีสำหรับผู้บริโภค
แต่ถ้าในแง่ของการเติบโตทางเศรษฐกิจแล้ว เรื่องนี้จะไม่ค่อยดีนัก
เพราะคำว่าเงินเฟ้อติดลบ หมายถึงมูลค่าของเงินสดจะเพิ่มขึ้นตามเวลา สวนทางกับความเชื่อในอดีตว่ามูลค่าของเงินสดจะด้อยค่าตามเวลา
ดังนั้นผู้คนจะต่างพากันถือเงินสด เลื่อนการลงทุน เลื่อนการใช้จ่าย และพอเป็นแบบนี้มากขึ้นเรื่อยๆ เศรษฐกิจก็จะวนลูปไปในทิศทางที่แย่ลง
ดังนั้นดูเหมือนว่าช่วงเวลานี้จะเป็นช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อของผู้คนทั่วโลก
ทุกวันที่ผ่านไป จะมีบุคคลและบริษัทที่อยู่ไม่ไหวมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่แพ้ตัวเลขผู้ติดเชื้อ
ยิ่งปล่อยให้นานไป เศรษฐกิจก็จะดำดิ่งลงมากขึ้นเท่านั้น
เรากำลังอยู่ในยุคที่คาดเดาได้ยากว่าจะเกิดอะไรขึ้น
อย่าว่าแต่ปีหน้า
ในเดือนข้างหน้าเรายังไม่รู้เลยว่าธุรกิจของแต่ละคนจะเป็นอย่างไร
2 เดือนที่แล้ว เราคิดว่าแค่นักท่องเที่ยวจีนหาย กระทบเฉพาะธุรกิจท่องเที่ยวที่รับคนจีน
1 เดือนที่แล้ว เราคิดว่านักท่องเที่ยวจากทั่วเอเชียจะหายหมด เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง ไต้หวัน
ตอนนี้ อย่าว่าแต่นักท่องเที่ยวทั่วโลกหายหมด แต่กลายเป็น ทุกธุรกิจทั่วโลกหยุดชะงักหมด แม้แต่ประเทศอินเดียที่ตอนแรกเราไม่คิดว่าจะเกี่ยวอะไรด้วย
ล่าสุดธนาคารแห่งประเทศไทยคาดการณ์ใหม่ว่า ปีนี้เศรษฐกิจไทยจะมี GDP -5.3% จากเดิม 2.8%
ทำไมธนาคารแห่งประเทศไทยกล้าทำตัวเลขให้ลดลงจากเดิม 8.1%
คำตอบนี้ทุกคนคงรู้ว่าสภาพเป็นอย่างไร
แต่ที่ทุกคนคงไม่รู้คือ
1 เดือนข้างหน้า
2 เดือนข้างหน้า
และปีหน้า
จะมีอะไรเกิดขึ้น?
เรื่องทั้งหมดกำลังเกิดขึ้นอย่างรุนแรงและรวดเร็วแบบที่คาดเดาได้ยาก
และกว่าจะรู้ตัวอีกที
เราก็อาจอยู่ใน Great Depression แล้ว..
╔═══════════╗
Blockdit แหล่งรวมบทความวิเคราะห์
เจาะลึกแบบ deep content
ล่าสุดมีฟีเจอร์พอดแคสต์แล้ว
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
「ภาวะเศรษฐกิจถดถอย」的推薦目錄:
ภาวะเศรษฐกิจถดถอย 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
สรุป ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ที่เคยเกิดขึ้นในไทยทั้งหมด /โดย ลงทุนแมน
เคยสงสัยไหมว่า นับตั้งแต่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้งเมื่อปี 1997
ประเทศไทยเคยเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยกี่ครั้ง
วันนี้ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit ที่สุดของแอปมีสาระ
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ในทางเศรษฐศาสตร์นั้น ภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Economic Recession) คือ ภาวการณ์ที่การเติบโตของ GDP เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าติดลบติดต่อกันอย่างน้อย 2 ไตรมาส
ในปี 2019 ที่ผ่านมา เศรษฐกิจประเทศไทย
ไตรมาสที่ 1/2019 GDP เติบโต 1%
ไตรมาสที่ 2/2019 GDP เติบโต 0.4%
ไตรมาสที่ 3/2019 GDP เติบโต 0.2%
ไตรมาสที่ 4/2019 GDP เติบโต -0.2%
พอตัวเลขออกมาแบบนี้ ก็หมายว่า เศรษฐกิจไทยกำลังเข้าสู่ภาวะของการชะลอตัว ยังไม่ได้เข้าสู่ภาวะถดถอย
อย่างไรก็ตาม
การระบาดของโควิด-19 ที่กำลังส่งผลกระทบอย่างหนักต่อภาคการท่องเที่ยว จึงมีความเป็นไปได้สูงที่ประเทศไทยอาจประสบกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยหรือติดลบ 2 ไตรมาสติดต่อกัน
ถ้าให้ย้อนกลับไป
นับตั้งแต่ปี 1997 ประเทศไทยนั้นเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยไปทั้งหมด 4 ครั้ง ซึ่งกินเวลาไปทั้งหมด 10 ไตรมาส หรือประมาณ 2 ปีครึ่ง
1) ครั้งที่ 1 ในปี 1997 ภาวะเศรษฐกิจถดถอยของไทยเกิดขึ้นในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง
จุดเริ่มต้นมาจากการเปิดเสรีทางการเงินและการจัดตั้งกิจการวิเทศธนกิจไทย (BIBF) ทำให้ประเทศไทยสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากต่างประเทศได้สะดวก
ตอนนั้นการกู้เงินจากต่างประเทศได้รับความนิยม เพราะมีดอกเบี้ยถูกกว่าในประเทศ ภาคเอกชนจำนวนมาก จึงไปกู้เงินจากต่างประเทศมาลงทุน
อย่างไรก็ตาม เงินจำนวนไม่น้อยกลับถูกนำไปเก็งกำไรในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งตลาดหลักทรัพย์จนเกิดเป็นฟองสบู่
ช่วงปี 1996 การส่งออกของประเทศเริ่มชะลอตัวลง ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยเริ่มขาดดุลมากเรื่อยๆ ซึ่งเป็นสัญญาณการอ่อนค่าของเงินบาท
ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงต้องนำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศมาซื้อเงินบาทเพื่อพยุงค่าเงิน แต่เมื่อทุนสำรองระหว่างประเทศเริ่มเหลือน้อยลงเรื่อยๆ
สุดท้ายธนาคารแห่งประเทศไทยจึงตัดสินใจปล่อยค่าเงินบาทลอยตัวจากระดับที่ 25 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเงินบาทนั้นเคยเพิ่มไปถึงระดับ 56 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ
คนที่กู้เงินจากต่างประเทศจำนวนมากต้องล้มละลาย สถาบันการเงินหลายแห่งปิดกิจการ คนไทยจำนวนมากต้องตกงาน และวิกฤตนี้ยังกระจายไปอีกหลายประเทศในเอเชีย
ในตอนนั้น GDP ของประเทศไทยลดลงติดต่อกัน 4 ไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาสที่ 3/1997 - ไตรมาสที่ 2/1998
2) ครั้งที่ 2 ในปี 2008 วิกฤตซับไพรม์ในสหรัฐอเมริกา
แม้ว่าวิกฤตดังกล่าวเกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา แต่กลับมีผลกระทบไปยังภูมิภาคอื่นๆ ของโลกโดยเฉพาะในยุโรป เพราะสถาบันการเงินในยุโรปหลายแห่งมีการลงทุนในตราสารที่เกี่ยวข้องกับสินเชื่อประเภทซับไพรม์ในสหรัฐอเมริกาจํานวนมาก
โดยผลของวิกฤตดังกล่าวทำให้เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกานั้นชะลอตัว จนมีผลทำให้ความต้องการสินค้าจากไทยไปขายที่สหรัฐอเมริกา และความต้องการวัตถุดิบจากไทยที่นำไปผลิตและส่งออกยังสหรัฐอเมริกานั้นลดลงไปด้วย
ในตอนนั้น GDP ของประเทศไทยลดลงติดต่อกัน 2 ไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาสที่ 4/2008 - ไตรมาสที่ 1/2009
3) ครั้งที่ 3 ในปี 2013 การชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะประเทศในสหภาพยุโรป
สหภาพยุโรปมีอัตราการว่างงานอยู่ในระดับสูงกว่า 10% จากผลกระทบของวิกฤตหนี้สาธารณะจำนวนมากของหลายประเทศอย่างกรีซ โปรตุเกส อิตาลี ไอร์แลนด์ และ สเปน ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปลายปี 2009 แต่ส่งผลกระทบต่อเนื่องหลายปีต่อมา
เมื่อรวมกับวิกฤตภัยแล้งของประเทศไทยที่กระทบหลายจังหวัดในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ภาคการส่งออก การผลิตภาคอุตสาหกรรม และภาคเกษตรกรรมของไทยได้รับผลกระทบอย่างหนัก
ในตอนนั้น GDP ของประเทศไทยลดลงติดต่อกัน 2 ไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาสที่ 1/2013 - ไตรมาสที่ 2/2013
4) ครั้งที่ 4 ในปี 2013-2014 ความไม่สงบเรียบร้อยทางการเมือง
ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2013 มาจนถึงกลางปี 2014 โดยมีการชุมนุมและประท้วงต่อต้านรัฐบาล จนนำไปสู่การปิดกรุงเทพฯ หรือเรียกว่า Bangkok Shutdown ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้นำไปสู่การรัฐประหารโดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ การท่องเที่ยว การลงทุน การค้าของประเทศไทยได้รับผลกระทบอย่างหนักในช่วงนั้น เพราะสถานที่สำคัญหลายแหล่งในกรุงเทพฯ ถูกใช้เป็นที่ชุมนุม
ในตอนนั้น GDP ของประเทศไทยลดลงติดต่อกัน 2 ไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาสที่ 4/2013 - ไตรมาสที่ 1/2014
โดยปกติแล้ว เมื่อเศรษฐกิจมีแนวโน้มว่าจะเข้าสู่ภาวะถดถอย ธนาคารแห่งประเทศไทยก็จะเข้ามามีบทบาทด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง เพื่อบรรเทาผลกระทบจากช่วงที่ประเทศเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย
แต่การระบาดของโควิด-19 ครั้งนี้อาจถือเป็นความท้าทายครั้งสำคัญ เพราะอัตราดอกเบี้ยนโยบายของประเทศไทยก็กำลังอยู่ ณ จุดต่ำสุดในประวัติศาสตร์เรียบร้อยแล้ว หรือพูดอีกอย่างก็คือ นโยบายการเงินของประเทศกำลังมีข้อจำกัดมากขึ้นเมื่อเทียบกับอดีต เพราะกระสุนเกือบหมดแล้ว
ซึ่งตอนนี้หลายคนก็ได้แต่หวังว่า นโยบายการคลัง (Fiscal Policy) ซึ่งเป็นการใช้จ่ายของภาครัฐ ต้องเข้ามาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้มากขึ้นกว่านี้
เราก็ต้องมาตามดูกันต่อไปว่า ด้วยนโยบายการเงินที่มีอยู่ เมื่อรวมกับนโยบายการคลังของประเทศจะสามารถช่วยไม่ให้เศรษฐกิจของไทยเข้าสู่ภาวะถดถอยได้หรือไม่
ที่น่าสนใจคือ ไม่ใช่แค่ประเทศไทยเท่านั้นที่กำลังเจอกับเรื่องนี้ แต่ประเทศทั่วโลกกำลังเจอความเสี่ยงที่เข้าสู่ภาวะถดถอยเหมือนกันหมด
และโดยปกติแล้วแต่ละประเทศจะดำเนินเข้าสู่ภาวะถดถอยต่างเวลากัน
แต่ครั้งนี้น่าจะเป็นครั้งแรกที่ประเทศทั่วโลกมีเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอยพร้อมกันทั้งหมด..
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
รู้ไหมว่า ภาวะเศรษฐกิจที่รุนแรงและยาวนานกว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยก็คือ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ (Economic Depression) ซึ่งจะกินเวลาหลายปี บางครั้งก็ใช้เวลากว่า 10 ปี กว่าที่เศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง
ซึ่งนับตั้งแต่เริ่มศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา
ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่รุนแรงมากที่สุดก็คือ The Great Depression ซึ่งกินเวลาตั้งแต่ปี 1929-1941 มีจุดเริ่มต้นจากสหรัฐอเมริกา
โดยตั้งแต่ปี 1929-1933 มูลค่า GDP ของสหรัฐอเมริกาหายไปกว่า 33% อัตราการว่างงานพุ่งขึ้นสูงกว่า 25% ซึ่งนับเป็นอัตราการว่างงานที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา
ธนาคารในสหรัฐอเมริกากว่า 11,000 แห่งต้องปิดตัวลง คนที่ฝากเงินไว้กับธนาคารเหล่านี้ต้องสูญเงินไปทั้งหมด ขณะที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ก็ตกต่ำอย่างหนัก
คนอเมริกันกว่า 2 ล้านคน กลายเป็นผู้ไร้ที่อยู่อาศัย และ 60% ของประชากรอยู่ในฐานะยากจน
แม้วิกฤตจะเริ่มต้นที่สหรัฐอเมริกาในตอนนั้น
แต่ความรุนแรงนั้นกลับแพร่กระจายไปในหลายประเทศทั่วโลก
หนึ่งในนั้นรวมถึงประเทศไทยของเราด้วย
ทำให้ช่วงนั้น ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงหลายเรื่องเช่นกัน
ถ้าเรื่องใหญ่สุดก็คือ ปี ค.ศ. 1932 หรือ ปี พ.ศ. 2475
เป็นปีที่ประเทศไทยเปลี่ยนการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย นั่นเอง..
อยากเข้าใจความเป็นไปของเศรษฐกิจโลก ต้องเรีบนรู้อดีต
หนังสือ เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี พิมพ์ครั้งที่ 3
หนังสือเล่มนี้จะพูดถึงประวัติเศรษฐกิจโลกตั้งแต่ปี ค.ศ.1100 ไล่ยาวไปจนถึง ค.ศ.2019
ถ้าทางออนไลน์หมดแล้วก็คงต้องไปตามหาซื้อได้ที่ร้านหนังสือ หรือ รอพิมพ์ในครั้งต่อไป
สั่งซื้อได้ที่ (ซื้อตอนนี้มีส่วนลด 10% จากราคาปก 350 บาท)
Lazada : https://www.lazada.co.th/products/1000-i714570154-s1368712682.html
Shopee : https://shopee.co.th/product/116732911/6716121161
╔═══════════╗
Blockdit ที่สุดของแอปมีสาระ
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-http://www.nesdc.go.th/download/article/article_20200220160533.pdf
- https://www.bot.or.th/Thai/Statistics/EconomicAndFinancial/RealSector/Pages/Index.aspx
-https://www.investopedia.com/terms/r/recession.asp
-http://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=5176&filename=QGDP_report
-https://www.thebalance.com/recession-vs-depression-definition-causes-and-stats-3306048
-https://www.history.com/topics/great-depression/great-depression-history
-https://www.thebalance.com/the-great-depression-of-1929-3306033
-https://www.thebalance.com/unemployment-rate-by-year-3305506
-https://www.scbeic.com/th/detail/product/1431
-http://www.etatjournal.com/mobile/index.php/menu-read-tat/menu-2013/menu-2013-jan-mar/22-12556-euro
-https://www.youtube.com/watch?v=vMfD8gq7aSc
-https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/ArticleAndResearch/FAQ/FAQ_115.pdf
-http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~msompraw/Subprime%20paper_Revised.pdf
ภาวะเศรษฐกิจถดถอย 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
กรณีเลวร้ายสุด ปีนี้เศรษฐกิจไทย จะแย่ได้ขนาดไหน? /โดย ลงทุนแมน
ปีที่แล้วเศรษฐกิจไทย GDP เติบโต 2.4%
ทางสภาพัฒน์ฯ เคยคาดการณ์ว่า ปีนี้ GDP จะโต 2.7 - 3.7%
แต่นั่นมันก่อนจะเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน..
โรคระบาด COVID-19 แพร่จากอู่ฮั่น
จนในที่สุด เอเชีย ยุโรป ตะวันออกกลาง อเมริกา ก็เริ่มป่วยตาม..
หลังจากการแพร่ระบาดที่เกินควบคุมได้ในหลายประเทศ
ก็ไม่เห็นวี่แววว่าจะหยุดลงในเร็วๆ นี้
หลายสำนักก็ได้ปรับประมาณการณ์เศรษฐกิจไทยลง
โดยสภาพัฒน์ฯ คาดว่าปีนี้ GDP ไทยจะโตแค่ช่วง 1.5 - 2.5%
ซึ่งลงทุนแมนอยากลองวิเคราะห์ดูว่า ในกรณีเลวร้ายที่สุด
เศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบหนักขนาดไหน?
╔═══════════╗
Blockdit ที่สุดของแอปมีสาระ
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ปี พ.ศ. 2562 GDP ของประเทศไทยมีมูลค่า 16.8 ล้านล้านบาท
โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวมาเยือน 39.8 ล้านคน
คิดเป็นรายได้ทั้งหมด 1.9 ล้านล้านบาท หรือ 11.3% ของ GDP
ซึ่งลงทุนแมนจะลองแบ่งย่อยระดับความรุนแรง ในแต่ละกรณีดู
เริ่มจากความรุนแรงที่น่าจะถือว่าหนักก็คือ
การแพร่ระบาดและความกังวลเรื่องโรคระบาด COVID-19 นี้กินเวลาไป 6 เดือนเต็ม
กรณีแรก นักท่องเที่ยวจีนหายไปทั้งหมด
ปี พ.ศ. 2562 ไทยมีนักท่องเที่ยวจีนมาเยือน 11 ล้านคน
สร้างรายได้ 544,000 ล้านบาท
ถ้าคิดแบบง่ายๆ นักท่องเที่ยวจีนไม่มา 6 เดือน ก็คือหารครึ่ง
ดังนั้นไทยจะสูญเสียรายได้เท่ากับ 272,000 ล้านบาท
หรือคิดเป็น 1.6% ของ GDP
กรณีต่อมา เมื่อนักท่องเที่ยวจีน, ฮ่องกง, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้ และไต้หวัน ทั้งหมดหายไป
ซึ่งแน่นอนประเทศเหล่านี้ได้รับผลกระทบไปด้วยไม่ต่างจากจีน เกาหลีใต้มีผู้ติดเชื้อจำนวนมากที่สุดในโลกรองจากจีน ส่วน ญี่ปุ่น ฮ่องกง ไต้หวัน ก็มีผู้ติดเชื้อมากเป็นอันดับต้นๆ ของโลกเช่นกัน
นักท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศนี้ทั้งหมดมีจำนวน 16.5 ล้านคน และสร้างรายได้รวมให้ไทยในปีที่แล้วมูลค่า 784,000 ล้านบาท
ถ้าหารครึ่ง ไทยจะสูญเสียรายได้เท่ากับ 392,000 ล้านบาท หรือ 2.3% ของ GDP
กรณีที่แย่กว่า ถ้ารวมนักท่องเที่ยวในแถบตะวันออกกลางด้วย
แน่นอนว่า ตอนนี้ที่อิหร่านมีปัญหามาก และล่าสุดสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ก็ได้ห้ามไม่ให้คนเดินทางมาไทย
ถ้านักท่องเที่ยวตะวันออกกลางหายไปพร้อมกับ ประเทศในเอเชียตะวันออก เป็นเวลา 6 เดือน
ไทยจะสูญเสียรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 420,000 ล้านบาท หรือ 2.5% ของ GDP
และสุดท้าย กรณีแย่ที่สุด
นักท่องเที่ยวจากยุโรป และสหรัฐอเมริกาหายไปอีก
ซึ่งรวมเป็นนักท่องเที่ยวทั้งหมด 25.1 ล้านคน และรายได้รวม 1,386,000 ล้านบาท
ไทยจะสูญเสียรายได้เป็นเวลา 6 เดือนเท่ากับ 693,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 4.1% ของ GDP
ทั้งหมดนี้ยังไม่รวมถึงผลกระทบแบบลูกโซ่ในระบบเศรษฐกิจ
เนื่องจากเม็ดเงินหรือรายได้ ที่ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวได้รับ
จะถูกนำไปลงทุนต่อ หรือจ่ายเงินให้พนักงาน
และนำเงินไปใช้จ่าย ซื้อสินค้า บริการ หมุนเวียนเป็นทอดๆ ในระบบเศรษฐกิจ
ดังนั้น ตัวเลขผลกระทบจริงจากโรคระบาด COVID-19
จึงอาจเกินกว่าที่ประเมินหลายเท่า
ซึ่งถ้าเทียบกับที่หลายสำนักได้ปรับลดการคาดการณ์ว่า GDP ไทยปีนี้ จะโตประมาณ 1.5 - 2.5%
มันก็ยังอาจเป็นการมองโลกในแง่ดีเกินไป..
นอกจากนี้ ยังมีผลกระทบจากภาคการส่งออกไทย
เนื่องจากไทยเป็นห่วงโซ่การผลิต ที่เกี่ยวเนื่องกับจีน
เมื่อโรงงานในจีนหยุดการผลิต ก็จะนำเข้าวัตถุดิบ และสินค้าต่างๆ จากไทยน้อยลง
รวมถึงไทยก็ใช้วัตถุดิบหลายอย่างจากจีน ซึ่งถ้าจีนไม่ส่งมาให้ ก็จะผลิตไม่ได้
ซึ่งปีล่าสุด ไทยส่งออกสินค้าไปจีนกว่า 902,000 ล้านบาท
ทั้งภาคการท่องเที่ยว และการส่งออก
ที่เป็นหัวใจสำคัญ หล่อเลี้ยงเศรษฐกิจไทยมานาน
ซึ่งยังไม่นับรวมสินค้าทางการเกษตร ที่จะกระทบต่อเกษตรกรเป็นจำนวนมาก
ดูเหมือนว่าตอนนี้ โรคระบาด COVID-19 เป็นดั่งมีด
ที่กำลังทิ่มแทงตรงไปยังหัวใจของเศรษฐกิจไทย
ที่ประเทศไทยไม่เคยเจอมาก่อน
สำหรับสูตรการคิด GDP ก็คือ C+I+G+(X-M)
C คือ การบริโภค
I คือ การลงทุน
G คือ การใช้จ่ายภาครัฐ
X คือ การส่งออกหรือการนำเงินเข้ามา
M คือ การนำเข้าหรือการนำเงินออกไป
การที่นักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศหายไป ก็จะทำให้ตัว X ลดน้อยลง
แน่นอนว่า ตัว M ก็จะลดลงด้วย เพราะคนไทยไปเที่ยวต่างประเทศน้อยลงเช่นกัน
เห็นได้ชัดว่าช่วงนี้ คนไทยที่อยากไปเที่ยวญี่ปุ่น สิงคโปร์ เกาหลีใต้ก็คงเลื่อนออกไป
แต่ประเด็นมันอยู่ที่ คนต่างประเทศโดยเฉพาะคนจีนนั้น มาใช้จ่ายเงินในประเทศไทยเป็นมูลค่ามหาศาล
และมากกว่าเงินที่คนไทยนำไปใช้ต่างประเทศมาก
จากศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าคนไทยไปเที่ยวต่างประเทศในปี 2562 นำเงินไปใช้จ่ายประมาณ 390,000 ล้านบาท คิดเป็นเพียง 28% ของเงินที่ต่างประเทศเข้ามาใช้จ่ายในประเทศไทย
และนั่นก็เป็นที่มาที่ทำให้ค่าเงินบาทในตอนนี้อ่อนลงอย่างรวดเร็ว ถ้าคิดจากต้นปีก็อ่อนลง 6% แล้ว เพราะเมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้น เงินไหลเข้าประเทศไทยสุทธิแล้ว น้อยลงนั่นเอง
ดังนั้นจากการประเมินเบื้องต้น ก็เป็นไปได้ว่า
ถ้าเหตุการณ์เลวร้ายสุดๆ
GDP ไทยปีนี้ ก็จะขยายตัวต่ำกว่าคาดการณ์พอสมควร
เราอาจได้เห็น GDP ไตรมาส 1 ติดลบ
และไตรมาส 2 ก็ยังมีความเสี่ยงที่จะติดลบต่อ
ซึ่งถ้า GDP ติดลบติดต่อกัน 2 ไตรมาส
ในทางเศรษฐศาสตร์จะเรียกว่าประเทศเข้าสู่ Recession หรือ ภาวะเศรษฐกิจถดถอย
และกว่าที่ประเทศไทยจะรู้ตัวเลขไตรมาส 2 และประกาศอย่างเป็นทางการว่าเข้าสู่ Recession ก็คงเป็นไตรมาส 3 ในปีนี้
แน่นอนว่าเหตุการณ์นี้ก็น่าจะเป็นเหตุการณ์ชั่วคราว
ในที่สุดถ้าโรคระบาดคุมได้แล้ว GDP ก็จะกลับฟื้นคืนมาได้
แต่คำถามก็คือ มันจะลากยาวไปถึงไหน?
เพราะระหว่างทาง จะมีหลายคนที่ทนไม่ได้..
แม้แต่คนที่มีอายุแล้ว พวกเขาก็คงไม่เคยเจอเหตุการณ์แบบนี้เหมือนกัน
เหตุการณ์ที่ทุกประเทศต่างพากันห้ามคนในประเทศออกไปต่างประเทศ
มันรุนแรงยิ่งกว่าการกีดกันการค้า หรือสงครามการค้าหลายเท่า
เพราะกีดกันการค้า ตัวเลขก็แค่ชะลอ ส่วนใหญ่ก็ยังเหลืออยู่
แต่เหตุการณ์นี้ ทำให้ทุกอย่างกลายเป็นศูนย์
จากที่ลงทุนแมนเคยเขียนหนังสือ เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี
ถ้าให้ย้อนกลับไป เหตุการณ์ที่ดูเหมือนจะห้ามทุกคนไปต่างประเทศครั้งสุดท้าย
ก็คือ สงครามโลกครั้งที่ 2..
เรากำลังเผชิญกับภาวะที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
แม้แต่ผู้มากประสบการณ์ในยุคนี้ก็ไม่เคยเจอ
สิ่งสำคัญก็คือ เราต้องประเมิน Worst Case Scenario ที่พอจะเกิดขึ้นได้
และเตรียมรับมือกับมัน
เพราะนี่เป็นการทดสอบ Stress Test ครั้งสำคัญของประเทศไทย
และคนที่เตรียมพร้อมกับเหตุการณ์ร้ายที่สุด จะเป็นคนที่อยู่รอดได้
ซึ่งถ้าเราผ่านไปได้
มันจะทำให้เราจะแข็งแกร่ง ยิ่งกว่าเดิม..
อยากรู้เรื่องเศรษฐกิจในอดีตทั้งหมดต้องอ่านหนังสือเล่มนี้
"เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี"
หนังสือนี้จะย่นย่อประวัติศาสตร์เศรษฐกิจโลกให้เหลือเพียงเล่มเดียว
สั่งซื้อได้ที่ (ซื้อตอนนี้มีส่วนลด 10% จากราคาปก 350 บาท)
Lazada : https://www.lazada.co.th/products/1000-i714570154-s1368712682.html
╔═══════════╗
Blockdit ที่สุดของแอปมีสาระ
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
-กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
-ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
ภาวะเศรษฐกิจถดถอย 在 ลงทุนแมน, profile picture - Facebook 的推薦與評價
สรุป ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ที่เคยเกิดขึ้นในไทยทั้งหมด /โดย ลงทุนแมน เคยสงสัยไหมว่า นับตั้งแต่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้งเมื่อปี 1997... ... <看更多>
ภาวะเศรษฐกิจถดถอย 在 Recession หรือ ภาวะเศรษฐกิจถดถอยคืออะไร - YouTube 的推薦與評價
ช่วงนี้คำที่เรามักจะได้ยินกันบ่อยขึ้นก็คือคำว่า Recession หรือที่แปลว่า ภาวะเศรษฐกิจถดถอย แต่หลายคนยังไม่เข้าใจความหมาย ที่มา ... ... <看更多>