มนุษย์เงินเดือนหลายคนคงมีความคิดที่อยากจะเติบโตแล้วก้าวออกมาเป็นเจ้าของธุรกิจเองดูบ้าง แต่หลายครั้งก็เพียงแค่คิดแต่ไม่ลงมือทำสักที วันนี้จึงได้นำเอา 5 ขั้นตอน Move on จากมนุษย์เงินเดือน สู่เจ้าของธุรกิจ มาฝากให้ทุกท่านได้เตรียมความพร้อมเป็นเถ้าแก่คนใหม่กัน
.
ผลสำรวจในปี 2020 พบอัตราการลาออกของมนุษย์เงินเดือนที่มากขึ้น โดยเหตุผลการลาออกส่วนนึงเพื่อประกอบธุรกิจส่วนตัว ซึ่งการทำธุรกิจนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ยากเกินความสามารถหากแต่ต้องอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญในการบริหารงาน รวมถึงประสบการณ์ในด้านต่างๆ ดังนั้นสำหรับพนักงานประจำทุกท่านที่อยากจะ Move on จากการเป็นมนุษย์เงินเดือน ก็สามารถเตรียมตัว เตรียมความพร้อมในการก้าวออกจาก comfort zone เพื่อดำเนินธุรกิจของตัวเองตามความฝัน ด้วย 5 ขั้นตอนต่อไปนี้
.
1. วางแผนการทำธุรกิจ
ก่อนจะลงมือทำอะไรสักอย่างก็ต้องมีแผน ธุรกิจก็เช่นเดียวกันการวางแผนจะทำให้คุณมองเห็นภาพรวมของธุรกิจทุกมุมมอง โดยควรจะวางแผนตั้งโมเดลธุรกิจ หนทางการสร้างรายได้ สินค้าหรือบริการคืออะไร กลุ่มเป้าหมาย วิธีการโปรโมท ช่องทางการจัดจำหน่าย คู่แข่ง เงินลงทุน แหล่งเงินทุน ต้นทุนคงที่และแปรผัน การกำหนดราคา กำไร ระยะเวลาการคืนกำไร เป็นต้น นอกจากนี้ก็ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกหลายจุดที่แตกต่างกันไปในแต่ละธุรกิจดังนั้นการวางแผนธุรกิจควรทำอย่างละเอียดและรอบคอบ ไม่ควรรีบเร่งทำเพราะจะทำให้ตกหล่นบางอย่างที่สำคัญไป โดยส่วนมากการวางแผนธุรกิจควรใช้เวลอย่างน้อย 3 – 5 ปี
.
2. เลือกรูปแบบการทำธุรกิจให้เหมาะสม
โดยรูปแบบการทำธุรกิจก็แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ บุคคลธรรมดา และนิติบุคคล ซึ่งการตัดสินใจจะต้องพิจารณาโดยการเทียบข้อมูลในเรื่องของภาษีและการหักค่าใช้จ่ายในส่วนต่าง ๆ
▪️ อัตราภาษีที่มีความแตกต่างกันมาก
- บุคคลธรรมดา เสียภาษีในอัตราก้าวหน้า ตั้งแต่ 5 – 35%
- นิติบุคคล ขนาดใหญ่ เสียภาษีในอัตราคงที่ คือ 20%
- นิติบุคคล ขนาดกลางและขนาดย่อม (มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท) อัตราภาษีก็จะลดลงอีก โดยแบ่งเป็น กำไรสุทธิที่น้อยกว่า 3 แสนบาทจะไม่เสียภาษี ในด้านกำไรสุทธิเกิน 3 แสนบาทแต่ไม่เกิน 3 ล้าน จะเสียภาษีในอัตรา 15% และกรณีกำไรสุทธิเกิน 3 ล้านบาทจะต้องเสียภาษีในอัตรา 20%
ซึ่งการประกอบธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคลอาจจะประหยัดภาษีได้มากกว่ารูปแบบบุคคลธรรมดา (ทั้งนี้ควรพิจารณาข้อมูลอื่นประกอบด้วย)
▪️ การหักค่าใช้จ่าย
- บุคคลธรรมดา สามารถเลือกใช้วิธีการหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาสำหรับเงินได้บางประเภท
- นิติบุคคล สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ตามจริง โดยที่จะต้องมีเอกสารหลักฐานประกอบการหักค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมด้วย
▪️ ความน่าเชื่อถือและความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน
การประกอบกิจการรูปแบบนิติบุคคลจะสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายกว่าเพราะมีความน่าเชื่อถือที่มากกว่า ทั้งนี้ควรจะต้องพิจารณาเรื่องต้นทุนในด้านอื่นประกอบด้วย เช่น กรณีนิติบุคคลจำเป็นต้องมีการจ้างผู้ทำบัญชี และผู้สอบบัญชีเพื่อรับรองงบการเงิน เป็นต้น
.
3. จัดเตรียมทรัพยากรที่จำเป็น
ในการเริ่มต้นทำธุรกิจที่ยังมีเงินทุนที่จำกัด ควรมองหาว่าอะไรคือสิ่งที่คุณพอจะมีและนำมาใช้ได้ แล้วเลือกลงทุนในสิ่งที่จำเป็นจริงๆ เพื่อเป็นการประหยัดต้นทุน เช่น สถานที่ตั้งอาจจะใช้บ้านเดิมที่มีอยู่แล้วในการจดทะเบียนและเป็นสถานที่ทำงาน หากคุณยังไม่ได้มีสมาชิกในทีมมากจนถึงกับต้องเช่าพื้นที่สำนักงานที่มีราคาสูงกว่าและไม่รู้ว่าจะคุ้มกับกำไรที่ได้มาในช่วงเริ่มต้นหรือไม่ เมื่อถึงเวลาที่ธุรกิจเติบโตแล้วต้องการขยายธุรกิจเพิ่มจำนวนพนักงาน การย้ายที่ตั้งไปพื้นที่สำนักงานให้เช่าภายหลังก็ไม่ถือว่าสายไป ทั้งนี้ยังรวมถึงในเรื่องของอุปกรณ์การทำงานต่างๆ อีกด้วย
.
4. การวางแผนบริหารสภาพคล่องและเตรียมเงินทุนสำรอง
ในช่วงแรกก็คงจะไม่มีใครู้ได้ว่าธุรกิจที่ทำนั้นจะมีกำไร เท่าทุน หรือขาดทุน เพราะถึงแม้จะมีการเตรียมการวางแผนธุรกิจมาอย่างดีแต่ก็ยังมีปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้เช่นกัน
.
ดังนั้นการดำเนินธุรกิจในช่วงแรกมักจะมีความเสี่ยงในเรื่องการบริหารการเงิน เช่น อาจจะมีการจัดส่วนลดพิเศษหรือให้ทดลองใช้ฟรีเพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดความสนใจ ซึ่งนอกจากต้นทุนของการทำสินค้าหรือบริการแล้ว ควรที่จะคำนึงถึงการบริหารสภาพคล่องให้เหมาะสมด้วย
.
ในด้านของเงินทุนสำรอง เป็นเรื่องที่สำคัญเช่นเดียวกันเพราะเป็นสิ่งที่ทุกธุรกิจควรมีการจัดเตรียมไว้สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในระยะเวลาอีก 12 เดือน ข้างหน้า ซึ่งเงินทุนสำรองที่เหมาะสมนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละธุรกิจ ซึ่งขึ้นอยู่กับรูปแบบการทำธุรกิจ ทั้งเรื่องเงินทุนหมุนเวียน เครดิตเทอมกับคู่ค้าและลูกค้า เป็นต้น
.
5. พิจารณาบริหารความเสี่ยงเพิ่มเติมและพร้อมรับมือในทุกสถานการณ์
ขณะที่คุณกำลังทำงานเป็นพนักงานประจำนั้นสิ่งที่คุณได้มาอย่างหนึ่งเลยก็คือ สวัสดิการ แต่เมื่อคุณติดสินใจจะ Move on แล้ว ก็ต้องอย่าลืมว่าสวัสดิการเหล่านี้ที่เคยได้ก็จะไม่มีอีกต่อไป ดังนั้นจึงควรพิจารณาในความเสี่ยงตรงนี้เพิ่มด้วย แต่ถึงอย่างนั้นไม่ต้องกังวลใจไปเพียงแค่ต้องทราบและวางแผนเพื่อรับมือในกรณีที่เกิดเหตุไม่คาดฝัน เหล่าผู้ประกอบการทั้งหลายก็ควรที่จะมีสวัสดิการติดตัวไว้ จะได้ไม่กระทบต่อการเงินสำรองของธุรกิจและเงินออมของตัวเองในอนาคต
.
การเป็นเจ้าของธุรกิจนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ก็ไม่ใช่เรื่องอยากอะไร เพียงแค่ต้องรู้และวางแผนอย่างรอบคอบในทุกด้าน เพราะในบางครั้งที่เราแค่คิดและลงมือทำเลยแต่ขาดการวางแผน การตัดสินใจนั้นอาจเป็นการ Move on เป็นวงกลมก็เป็นได้เพราะสุดท้ายก็ต้องกลับมาที่เก่า แต่ใครที่อยากจะ Move on จากมนุษย์เงินเดือนสู่การเป็นเจ้าของธุรกิจอย่างจริงจัง ควรศึกษาข้อมูล วางแผน เตรียมการ พิจารณาส่วนต่างๆ ให้ดี ทั้งการบริหารการเงิน วิเคราะห์ความเสี่ยง การดำเนินธุรกิจ และเมื่อคุณมั่นใจว่าพร้อมแล้วในทุกขั้นตอน ก็ขอให้ตัดสินใจก้าวออกจาก Safe zone และลงมือทำได้เลย ความสำเร็จกำลังรอคุณอยู่ไม่ไกล
.
ที่มา : https://www.wealthsolution.co.th/index.php/th/blogs/showArticle/31
https://money.philliplife.com/5150
.
#อายุน้อยร้อยล้าน #ryounoi100lan #อายุน้อยร้อยล้านNEWS
#มนุษย์เงินเดือน #business #ธุรกิจ #ทำธุรกิจ #วางแผนการเงิน #ประสบความสำเร็จ #เจ้าของธุรกิจ #การเงิน #วางแผนการเงิน #ธุรกิจส่วนตัว #วางแผนธุรกิจ #ภาษี #ภาษีบุคคลธรรมดา #ภาษีนิติบุคคล #ภาษีธุรกิจ
「มนุษย์เงินเดือน ภาษี」的推薦目錄:
- 關於มนุษย์เงินเดือน ภาษี 在 อายุน้อยร้อยล้าน Facebook 的精選貼文
- 關於มนุษย์เงินเดือน ภาษี 在 LDA ลดา - Ladies of Digital Age Facebook 的最讚貼文
- 關於มนุษย์เงินเดือน ภาษี 在 อายุน้อยร้อยล้าน Facebook 的精選貼文
- 關於มนุษย์เงินเดือน ภาษี 在 มนุษย์เงินเดือนยื่นภาษียังไง? ยื่น ภ.ง.ด.91 ออนไลน์ปี 2565 ด้วยตัว ... 的評價
- 關於มนุษย์เงินเดือน ภาษี 在 TaxBugnoms - เงินเดือนเท่าไรต้องเสียภาษี ? คำถามนี้บอกว่าเรา ... 的評價
มนุษย์เงินเดือน ภาษี 在 LDA ลดา - Ladies of Digital Age Facebook 的最讚貼文
ยื่นภาษีกันรึยัง!? ใครยังไม่ยื่น🙋🙋♂️
จำไม่ได้ว่าทำยังไง โพสต์เดียวทำตามได้เลย🤩
.
ขั้นตอนยื่นภาษีออนไลน์ สำหรับพนักงานประจำ/มนุษย์เงินเดือน มาทำไปพร้อมกัน ไม่ยากอย่างที่คิด
.
ก่อนจะเริ่ม อย่าลืมขอใบ 50 ทวิ จากบริษัทของเราด้วยนะ รวมถึงชาวฟรีแลนซ์ ก็ต้องขอจากนายจ้าง เพื่อเป็นหลักฐานว่าเราได้จ่าย ภาษี ณ ที่จ่ายไปมั้ย + ใบลดหย่อนภาษีต่าง ๆ ที่เรามีด้วย เช่น ประกันสุขภาพ, ใบกำกับภาษีช็อปดีมีคืน (เก็บใบต่าง ๆ ไว้กับตัวด้วยน้าา)
.
⚠️วันสุดท้าย : 30 มิถุนายน 64
อีกไม่นานแล้ว รีบไปยื่นกันนะทุกคนน แล้วเดี๋ยวเราจะมาอธิบายคำศัพท์ต่าง ๆ ที่ฟังยาก ๆ ให้เข้าใจง่ายมากขึ้น ใครมีคำถามคอมเมนต์มาพูดคุยกันได้นะค้าา
.
#Smartlife #ยื่นภาษีออนไลน์ #ยื่นภาษี2563 #ยื่นลดหย่อนภาษี #วิธียื่นภาษี
มนุษย์เงินเดือน ภาษี 在 อายุน้อยร้อยล้าน Facebook 的精選貼文
มนุษย์เงินเดือนหลายคนคงมีความคิดที่อยากจะเติบโตแล้วก้าวออกมาเป็นเจ้าของธุรกิจเองดูบ้าง แต่หลายครั้งก็เพียงแค่คิดแต่ไม่ลงมือทำสักที วันนี้จึงได้นำเอา 5 ขั้นตอน Move on จากมนุษย์เงินเดือน สู่เจ้าของธุรกิจ มาฝากให้ทุกท่านได้เตรียมความพร้อมเป็นเถ้าแก่คนใหม่กัน
.
ผลสำรวจในปี 2020 พบอัตราการลาออกของมนุษย์เงินเดือนที่มากขึ้น โดยเหตุผลการลาออกส่วนนึงเพื่อประกอบธุรกิจส่วนตัว ซึ่งการทำธุรกิจนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ยากเกินความสามารถหากแต่ต้องอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญในการบริหารงาน รวมถึงประสบการณ์ในด้านต่างๆ ดังนั้นสำหรับพนักงานประจำทุกท่านที่อยากจะ Move on จากการเป็นมนุษย์เงินเดือน ก็สามารถเตรียมตัว เตรียมความพร้อมในการก้าวออกจาก comfort zone เพื่อดำเนินธุรกิจของตัวเองตามความฝัน ด้วย 5 ขั้นตอนต่อไปนี้
.
1. วางแผนการทำธุรกิจ
ก่อนจะลงมือทำอะไรสักอย่างก็ต้องมีแผน ธุรกิจก็เช่นเดียวกันการวางแผนจะทำให้คุณมองเห็นภาพรวมของธุรกิจทุกมุมมอง โดยควรจะวางแผนตั้งโมเดลธุรกิจ หนทางการสร้างรายได้ สินค้าหรือบริการคืออะไร กลุ่มเป้าหมาย วิธีการโปรโมท ช่องทางการจัดจำหน่าย คู่แข่ง เงินลงทุน แหล่งเงินทุน ต้นทุนคงที่และแปรผัน การกำหนดราคา กำไร ระยะเวลาการคืนกำไร เป็นต้น นอกจากนี้ก็ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกหลายจุดที่แตกต่างกันไปในแต่ละธุรกิจดังนั้นการวางแผนธุรกิจควรทำอย่างละเอียดและรอบคอบ ไม่ควรรีบเร่งทำเพราะจะทำให้ตกหล่นบางอย่างที่สำคัญไป โดยส่วนมากการวางแผนธุรกิจควรใช้เวลอย่างน้อย 3 – 5 ปี
.
2. เลือกรูปแบบการทำธุรกิจให้เหมาะสม
โดยรูปแบบการทำธุรกิจก็แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ บุคคลธรรมดา และนิติบุคคล ซึ่งการตัดสินใจจะต้องพิจารณาโดยการเทียบข้อมูลในเรื่องของภาษีและการหักค่าใช้จ่ายในส่วนต่าง ๆ
▪️ อัตราภาษีที่มีความแตกต่างกันมาก
- บุคคลธรรมดา เสียภาษีในอัตราก้าวหน้า ตั้งแต่ 5 – 35%
- นิติบุคคล ขนาดใหญ่ เสียภาษีในอัตราคงที่ คือ 20%
- นิติบุคคล ขนาดกลางและขนาดย่อม (มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท) อัตราภาษีก็จะลดลงอีก โดยแบ่งเป็น กำไรสุทธิที่น้อยกว่า 3 แสนบาทจะไม่เสียภาษี ในด้านกำไรสุทธิเกิน 3 แสนบาทแต่ไม่เกิน 3 ล้าน จะเสียภาษีในอัตรา 15% และกรณีกำไรสุทธิเกิน 3 ล้านบาทจะต้องเสียภาษีในอัตรา 20%
ซึ่งการประกอบธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคลอาจจะประหยัดภาษีได้มากกว่ารูปแบบบุคคลธรรมดา (ทั้งนี้ควรพิจารณาข้อมูลอื่นประกอบด้วย)
▪️ การหักค่าใช้จ่าย
- บุคคลธรรมดา สามารถเลือกใช้วิธีการหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาสำหรับเงินได้บางประเภท
- นิติบุคคล สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ตามจริง โดยที่จะต้องมีเอกสารหลักฐานประกอบการหักค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมด้วย
▪️ ความน่าเชื่อถือและความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน
การประกอบกิจการรูปแบบนิติบุคคลจะสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายกว่าเพราะมีความน่าเชื่อถือที่มากกว่า ทั้งนี้ควรจะต้องพิจารณาเรื่องต้นทุนในด้านอื่นประกอบด้วย เช่น กรณีนิติบุคคลจำเป็นต้องมีการจ้างผู้ทำบัญชี และผู้สอบบัญชีเพื่อรับรองงบการเงิน เป็นต้น
.
3. จัดเตรียมทรัพยากรที่จำเป็น
ในการเริ่มต้นทำธุรกิจที่ยังมีเงินทุนที่จำกัด ควรมองหาว่าอะไรคือสิ่งที่คุณพอจะมีและนำมาใช้ได้ แล้วเลือกลงทุนในสิ่งที่จำเป็นจริงๆ เพื่อเป็นการประหยัดต้นทุน เช่น สถานที่ตั้งอาจจะใช้บ้านเดิมที่มีอยู่แล้วในการจดทะเบียนและเป็นสถานที่ทำงาน หากคุณยังไม่ได้มีสมาชิกในทีมมากจนถึงกับต้องเช่าพื้นที่สำนักงานที่มีราคาสูงกว่าและไม่รู้ว่าจะคุ้มกับกำไรที่ได้มาในช่วงเริ่มต้นหรือไม่ เมื่อถึงเวลาที่ธุรกิจเติบโตแล้วต้องการขยายธุรกิจเพิ่มจำนวนพนักงาน การย้ายที่ตั้งไปพื้นที่สำนักงานให้เช่าภายหลังก็ไม่ถือว่าสายไป ทั้งนี้ยังรวมถึงในเรื่องของอุปกรณ์การทำงานต่างๆ อีกด้วย
.
4. การวางแผนบริหารสภาพคล่องและเตรียมเงินทุนสำรอง
ในช่วงแรกก็คงจะไม่มีใครู้ได้ว่าธุรกิจที่ทำนั้นจะมีกำไร เท่าทุน หรือขาดทุน เพราะถึงแม้จะมีการเตรียมการวางแผนธุรกิจมาอย่างดีแต่ก็ยังมีปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้เช่นกัน
.
ดังนั้นการดำเนินธุรกิจในช่วงแรกมักจะมีความเสี่ยงในเรื่องการบริหารการเงิน เช่น อาจจะมีการจัดส่วนลดพิเศษหรือให้ทดลองใช้ฟรีเพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดความสนใจ ซึ่งนอกจากต้นทุนของการทำสินค้าหรือบริการแล้ว ควรที่จะคำนึงถึงการบริหารสภาพคล่องให้เหมาะสมด้วย
.
ในด้านของเงินทุนสำรอง เป็นเรื่องที่สำคัญเช่นเดียวกันเพราะเป็นสิ่งที่ทุกธุรกิจควรมีการจัดเตรียมไว้สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในระยะเวลาอีก 12 เดือน ข้างหน้า ซึ่งเงินทุนสำรองที่เหมาะสมนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละธุรกิจ ซึ่งขึ้นอยู่กับรูปแบบการทำธุรกิจ ทั้งเรื่องเงินทุนหมุนเวียน เครดิตเทอมกับคู่ค้าและลูกค้า เป็นต้น
.
5. พิจารณาบริหารความเสี่ยงเพิ่มเติมและพร้อมรับมือในทุกสถานการณ์
ขณะที่คุณกำลังทำงานเป็นพนักงานประจำนั้นสิ่งที่คุณได้มาอย่างหนึ่งเลยก็คือ สวัสดิการ แต่เมื่อคุณติดสินใจจะ Move on แล้ว ก็ต้องอย่าลืมว่าสวัสดิการเหล่านี้ที่เคยได้ก็จะไม่มีอีกต่อไป ดังนั้นจึงควรพิจารณาในความเสี่ยงตรงนี้เพิ่มด้วย แต่ถึงอย่างนั้นไม่ต้องกังวลใจไปเพียงแค่ต้องทราบและวางแผนเพื่อรับมือในกรณีที่เกิดเหตุไม่คาดฝัน เหล่าผู้ประกอบการทั้งหลายก็ควรที่จะมีสวัสดิการติดตัวไว้ จะได้ไม่กระทบต่อการเงินสำรองของธุรกิจและเงินออมของตัวเองในอนาคต
.
การเป็นเจ้าของธุรกิจนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ก็ไม่ใช่เรื่องอยากอะไร เพียงแค่ต้องรู้และวางแผนอย่างรอบคอบในทุกด้าน เพราะในบางครั้งที่เราแค่คิดและลงมือทำเลยแต่ขาดการวางแผน การตัดสินใจนั้นอาจเป็นการ Move on เป็นวงกลมก็เป็นได้เพราะสุดท้ายก็ต้องกลับมาที่เก่า แต่ใครที่อยากจะ Move on จากมนุษย์เงินเดือนสู่การเป็นเจ้าของธุรกิจอย่างจริงจัง ควรศึกษาข้อมูล วางแผน เตรียมการ พิจารณาส่วนต่างๆ ให้ดี ทั้งการบริหารการเงิน วิเคราะห์ความเสี่ยง การดำเนินธุรกิจ และเมื่อคุณมั่นใจว่าพร้อมแล้วในทุกขั้นตอน ก็ขอให้ตัดสินใจก้าวออกจาก Safe zone และลงมือทำได้เลย ความสำเร็จกำลังรอคุณอยู่ไม่ไกล
.
ที่มา : https://www.wealthsolution.co.th/index.php/th/blogs/showArticle/31
https://money.philliplife.com/5150
.
#อายุน้อยร้อยล้าน #ryounoi100lan
#อายุน้อยร้อยล้านNEWS
#มนุษย์เงินเดือน #business #ธุรกิจ #ทำธุรกิจ #วางแผนการเงิน #ประสบความสำเร็จ #เจ้าของธุรกิจ #การเงิน #วางแผนการเงิน #ธุรกิจส่วนตัว #วางแผนธุรกิจ #ภาษี #ภาษีบุคคลธรรมดา #ภาษีนิติบุคคล #ภาษีธุรกิจ
มนุษย์เงินเดือน ภาษี 在 TaxBugnoms - เงินเดือนเท่าไรต้องเสียภาษี ? คำถามนี้บอกว่าเรา ... 的推薦與評價
3) มนุษย์เงินเดือนที่มีเงินเดือนอย่างเดียว ไม่มีลดหย่อนอะไร จะถือเป็นเงินได้ประเภทที่ 1 มีสิทธิหักค่าใช ... ... <看更多>
มนุษย์เงินเดือน ภาษี 在 มนุษย์เงินเดือนยื่นภาษียังไง? ยื่น ภ.ง.ด.91 ออนไลน์ปี 2565 ด้วยตัว ... 的推薦與評價
มนุษย์เงินเดือน มือใหม่ ยื่นภาษีเงินได้ประจำปียังไงดี มีอะไรที่ต้องรู้บ้าง รายได้กรอกแบบไหน คำนวณยังไง กรอกค่าลดหย่อนอะไรบ้าง? ... <看更多>