วัดถ้ำกลองเพล เป็นวัดป่าที่มีชื่อเสียงของจังหวัดหนองบัวลำภู ตั้งอยู่เชิงเขาภูพาน สันนิษฐานว่าเป็นวัดเก่าแก่สร้างขึ้นในสมัยขอมเข้ามาครอบครองแผ่นดิน แต่ไม่มีหลักฐานว่าสร้างมาตั้งแต่ พ.ศ.ใด ต่อมาเป็นวัดร้าง ไม่มีพระภิกษุสามเณรจำพรรษา จนกระทั่งเมื่อ พ.ศ.2501 หลวงปู่ขาว อนาลโย พระวิปัสสนากรรมฐานสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ และเป็นพระสงฆ์ต้นแบบด้านปฏิบัติธรรมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(อีสาน) แม้จะละสังขารนานแล้วก็ยังคงมีพุทธศาสนิกชนเข้ามาสักการะบูชาไม่ขาด โดยเฉพาะวันสำคัญทางพุทธศาสนาและช่วงเทศกาล
https://youtu.be/QwqoMu5iAJg
ลักษณะเด่นด้านสถานที่ เป็นสถานที่สัปปายะเหมาะแก่การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน โดยใช้พื้นที่ที่เกิดจากหมู่ก้อนหินขนาดใหญ่ 3-4 ก้อน มีหลืบและชะโงกหิน ก่อเป็นหลังคาคอนกรีตเชื่อมถึงกัน ทำให้พื้นที่บริเวณนั้นกลายเป็นห้องโถงขนาดใหญ่ สามารถจุคนได้หลายร้อยคน
ในอดีตพระอาจารย์หลวงปู่ขาว อนาลโย ใช้เป็นที่บำเพ็ญสมณธรรมจนกระทั่งมรณภาพเมื่อปี พ.ศ.2526 ปัจจุบันยังคงใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
อีกทั้งภายในบริเวณวัดบรรยากาศร่มรื่น เงียบสงบ มีเนื้อที่กว้างขวาง ปกคลุมไปด้วยแมกไม้ ป่าเขียว และสวนหินธรรมชาติรูปร่างประหลาดดูสวยงาม เอื้อให้จิตผู้สนใจปฏิบัติธรรมสงบเย็น
ภายในห้องโถงใหญ่ (พระอุโบสถ) ยังประดิษฐานรูปปั้นของหลวงปู่ขาว และกลองโบราณสองหน้า หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “กลองเพล” ตามซอกหินมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ประดิษฐานอยู่หลายองค์ ประกอบด้วย พระพุทธรูปปางสมาธิ พระพุทธรูปปางไสยาสน์ พระพุทธรูปปัญฑรนิมิตร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางลีลาที่จำหลักลงในก้อนหิน และด้านหน้าเป็นที่ประดิษฐานพระสังกัจจายน์องค์ใหญ่ มีถนนลาดยางลัดเลาะไปตามแนวป่า และหมู่ก้อนหินรูปทรงแปลกๆ เป็นระยะทาง 2 กิโลเมตร ก็จะถึงอนุสรณ์สถานของหลวงปู่ขาว ที่ประกอบด้วยพิพิธภัณฑ์อัฐบริขารหลวงปู่ขาว อนาลโย เป็นพิพิธภัณฑ์ที่สร้างขึ้นเพื่อเก็บอัฐิและรวบรวมเครื่องอัฐบริขารของหลวงปู่ขาว
กุฏิเก่าของหลวงปู่ขาว เป็นเรือนไม้หลังเล็กๆ ตั้งอยู่กลางดงไม้ บรรยากาศร่มรื่น ส่วนกุฏิใหม่สร้างเป็นเรือนทรงไทยทันสมัยหลังใหญ่พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งหลวงปู่ขาว ตัวอาคารสร้างขึ้นในรูปทรงของก้อนหินเรียงกัน 3 ก้อน เพื่อให้เข้ากับภูมิประเทศของวัดถ้ำกลองเพล ซึ่งเต็มไปด้วยสวนหิน รอบ ๆ บริเวณตกแต่งด้วยไม้ดอกและสนามหญ้าสีเขียวขจี ภายในพิพิธภัณฑ์มีหุ่นขี้ผึ้งของหลวงปู่ประดิษฐานอยู่ในท่านั่ง ห้องข้างๆ ยังมีเครื่องอัฐบริขารของหลวงปู่ขาวตั้งแสดงไว้ด้วย
สำคัญที่สุด คือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯ พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ไปทรงนมัสการ หลวงปู่ขาว อนาลโย ที่วัดถ้ำกลองเพล จ.หนองบัวลำภู รวม 13 ครั้ง ยังคงอยู่ในความทรงจำของพสกนิกรชาวไทยอยู่เสมอ
เมื่อองค์หลวงปู่ขาว มรณภาพ วันที่ 16 พ.ค. 2526 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชยทรงรับศพหลวงปู่ขาวไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ 7 วัน พระราชทานโกศโถฉัตรเบญจาตั้งประดับ และยังเสด็จฯ มาพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ขาวในวันที่ 11 ก.พ. 2527
นับเหตุการณ์สำคัญครั้งประวัติศาสตร์ ที่มีศรัทธาสาธุบนหลายแสนคนมาร่วมในพิธีฯ ทำให้พื้นที่หลายพันไร่ของวัดถ้ำกองเพลดูแคบลงไปถนัดตา
เสาร์ 5 ธันวา ปฏิบัติบูชา
ถวายแด่บูรพาจารย์ หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต และในหลวงรัชกาลที่ ๙
และน้อมถวายรูปหล่อหลวงปู่บุญเพ็ง ในวันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม
หลังจากใส่บาตร ถวายจังหันเช้า พร้อมฟังธรรมจากหลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก
✨ ร่วมกันปฏิบัติบูชา ณ กุฏิหลวงปู่ขาว อนาลโย สถานที่มงคลที่หลวงปู่ขาวสนทนาธรรมกับ ในหลวง ร.๙
และ ร.๑๐
🌟 พิเศษ! นั่งสมาธิปฏิบัติบูชา ในถ้ำกลองเพล สถานที่ปฏิบัติธรรมของพ่อแม่ครูอาจารย์ สายพระกรรมฐาน และร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี
✨ ร่วมบุญใหญ่ถวายรูปหล่อหลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต
✨ ใส่บาตร ถวายจังหัน ฟังธรรม หลวงพ่ออินทร์ถวาย
* กราบสักการะ พระพุทธไสยาสน์โลกนาถศาสดามหามุนี วัดป่าภูก้อน สวดมนต์ ประทักษิณา และร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี
✨ กราบนมัสการ ฟังธรรม หลวงปู่คลาด ครุธัมโม เจ้าอาวาสวัดป่าบ้านใหม่ ท่านเป็นศิษย์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร และหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
✨ ครั้งแรก! ปล่อยปลาถวายเป็นพระราชกุศล ณ โครงการในพระราชดำริ "อ่างเก็บน้ำห้วยยางเงาะ" บนยอดเขาวัดถ้ำฯ
✨ ชอปปิงผ้าไหมลายขิด ผ้าทอลายพิเศษใช้ไหมหลวง (ไหมแท้) จากสวนจิตรลดา ในโครงการศิลปาชีพแห่งแรกของประเทศ ที่สมเด็จพระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงพระราชทานที่ดินทำกินให้ชาวบ้าน 30 ไร่
✨ มอบหนังสือชุดมรดกแห่งแผ่นดิน 100 ชุด ให้โรงเรียนในจังหวัดหนองบัวลำภู
✨ พายเรือชมดอกบัวแดง บึงหนองหานกุมภวาปี ที่สวยงามติดอันดับโลก
🌟 วันเสาร์ที่ 5 – วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม 2563
(3 วัน 2 คืน)
กรุงเทพฯ - อุดรธานี - หนองบัวลำภู
🚌 เดินทางโดยเครื่องบินสายการบินนกแอร์ และรถตู้ VIP
🌟 พักที่โรงเเรมเซ็นทาราฯ อุดรธานี
** พร้อมใจใส่เสื้อเหลือง **
สอบถาม
ที่ LINE
https://lin.ee/23srGai
โทร. 098-268-6813 (คุณหยก)
092-956-1145 (คุณนก)
086-884-2449 (คุณแอน)
มรณภาพ คือ 在 Danai Chanchaochai Facebook 的最佳貼文
วัดถ้ำกลองเพล เป็นวัดป่าที่มีชื่อเสียงของจังหวัดหนองบัวลำภู ตั้งอยู่เชิงเขาภูพาน สันนิษฐานว่าเป็นวัดเก่าแก่สร้างขึ้นในสมัยขอมเข้ามาครอบครองแผ่นดิน แต่ไม่มีหลักฐานว่าสร้างมาตั้งแต่ พ.ศ.ใด ต่อมาเป็นวัดร้าง ไม่มีพระภิกษุสามเณรจำพรรษา จนกระทั่งเมื่อ พ.ศ.2501 หลวงปู่ขาว อนาลโย พระวิปัสสนากรรมฐานสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ และเป็นพระสงฆ์ต้นแบบด้านปฏิบัติธรรมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(อีสาน) แม้จะละสังขารนานแล้วก็ยังคงมีพุทธศาสนิกชนเข้ามาสักการะบูชาไม่ขาด โดยเฉพาะวันสำคัญทางพุทธศาสนาและช่วงเทศกาล
ลักษณะเด่นด้านสถานที่ เป็นสถานที่สัปปายะเหมาะแก่การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน โดยใช้พื้นที่ที่เกิดจากหมู่ก้อนหินขนาดใหญ่ 3-4 ก้อน มีหลืบและชะโงกหิน ก่อเป็นหลังคาคอนกรีตเชื่อมถึงกัน ทำให้พื้นที่บริเวณนั้นกลายเป็นห้องโถงขนาดใหญ่ สามารถจุคนได้หลายร้อยคน
ในอดีตพระอาจารย์หลวงปู่ขาว อนาลโย ใช้เป็นที่บำเพ็ญสมณธรรมจนกระทั่งมรณภาพเมื่อปี พ.ศ.2526 ปัจจุบันยังคงใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
อีกทั้งภายในบริเวณวัดบรรยากาศร่มรื่น เงียบสงบ มีเนื้อที่กว้างขวาง ปกคลุมไปด้วยแมกไม้ ป่าเขียว และสวนหินธรรมชาติรูปร่างประหลาดดูสวยงาม เอื้อให้จิตผู้สนใจปฏิบัติธรรมสงบเย็น
ภายในห้องโถงใหญ่ (พระอุโบสถ) ยังประดิษฐานรูปปั้นของหลวงปู่ขาว และกลองโบราณสองหน้า หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “กลองเพล” ตามซอกหินมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ประดิษฐานอยู่หลายองค์ ประกอบด้วย พระพุทธรูปปางสมาธิ พระพุทธรูปปางไสยาสน์ พระพุทธรูปปัญฑรนิมิตร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางลีลาที่จำหลักลงในก้อนหิน และด้านหน้าเป็นที่ประดิษฐานพระสังกัจจายน์องค์ใหญ่ มีถนนลาดยางลัดเลาะไปตามแนวป่า และหมู่ก้อนหินรูปทรงแปลกๆ เป็นระยะทาง 2 กิโลเมตร ก็จะถึงอนุสรณ์สถานของหลวงปู่ขาว ที่ประกอบด้วยพิพิธภัณฑ์อัฐบริขารหลวงปู่ขาว อนาลโย เป็นพิพิธภัณฑ์ที่สร้างขึ้นเพื่อเก็บอัฐิและรวบรวมเครื่องอัฐบริขารของหลวงปู่ขาว
กุฏิเก่าของหลวงปู่ขาว เป็นเรือนไม้หลังเล็กๆ ตั้งอยู่กลางดงไม้ บรรยากาศร่มรื่น ส่วนกุฏิใหม่สร้างเป็นเรือนทรงไทยทันสมัยหลังใหญ่พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งหลวงปู่ขาว ตัวอาคารสร้างขึ้นในรูปทรงของก้อนหินเรียงกัน 3 ก้อน เพื่อให้เข้ากับภูมิประเทศของวัดถ้ำกลองเพล ซึ่งเต็มไปด้วยสวนหิน รอบ ๆ บริเวณตกแต่งด้วยไม้ดอกและสนามหญ้าสีเขียวขจี ภายในพิพิธภัณฑ์มีหุ่นขี้ผึ้งของหลวงปู่ประดิษฐานอยู่ในท่านั่ง ห้องข้างๆ ยังมีเครื่องอัฐบริขารของหลวงปู่ขาวตั้งแสดงไว้ด้วย
สำคัญที่สุด คือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯ พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ไปทรงนมัสการ หลวงปู่ขาว อนาลโย ที่วัดถ้ำกลองเพล จ.หนองบัวลำภู รวม 13 ครั้ง ยังคงอยู่ในความทรงจำของพสกนิกรชาวไทยอยู่เสมอ
เมื่อองค์หลวงปู่ขาว มรณภาพ วันที่ 16 พ.ค. 2526 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชยทรงรับศพหลวงปู่ขาวไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ 7 วัน พระราชทานโกศโถฉัตรเบญจาตั้งประดับ และยังเสด็จฯ มาพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ขาวในวันที่ 11 ก.พ. 2527
นับเหตุการณ์สำคัญครั้งประวัติศาสตร์ ที่มีศรัทธาสาธุบนหลายแสนคนมาร่วมในพิธีฯ ทำให้พื้นที่หลายพันไร่ของวัดถ้ำกองเพลดูแคบลงไปถนัดตา
#saveวัดถ้ำกองเพล
#saveพระพุทธศาสนา
#saveหนองบัวลำภู
มรณภาพ คือ 在 โหรฟันธง ลักษณ์ เรขานิเทศ Facebook 的最佳貼文
พระกริ่ง จปร.100 ปี วัดราชบพิธ ปี2513
หรือ“พระกริ่งจุฬาลงกรณ์” สร้างขึ้นเพื่อถวายพระนามเป็นการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ผู้ทรงสถาปนา “วัดราชบพิธฯ” ซึ่งเมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ทรงมีพระนามว่า “สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพิฆเนศวร์สุรสังกาศฯ” โดยจำลองมาจาก “พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา ศิลปะสมัยคุปตะ” ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น “พระพุทธรูปที่มีความงดงามที่สุด” ซึ่งปัจจุบันประดิษฐานอยู่ใน มหาวิทยาลัยนาลันทาประเทศอินเดีย และรอดพ้นจากการถูกทำลายของกองทัพอิสลามเช่นกัน
จัดสร้าง “เนื้อทองคำ” จำนวนเพียง “๑,๐๐๐ องค์” และ “นวโลหะ” จำนวน “๕,๐๐๐ องค์” เท่านั้น และที่ฐานด้านหลังประดิษฐานพระปรมาภิไธยย่อ “จ.ป.ร.” ใต้ฐานมีการ “บรรจุเม็ดกริ่ง” แล้วปิดด้วยแผ่นวงกลมปั๊มตราวัดราชบพิธฯ ที่มีความคมชัดละเอียดงดงามคือ “รูปตราพระเกี้ยว” ประดิษฐานบนพานแว่นฟ้าล้อมด้วยฉัตร ๕ ชั้น ๒ ด้าน
ออกแบบและแกะแม่พิมพ์โดย นายช่างเกษม มงคลเจริญ
“พระชัยวัฒน์จุฬาลงกรณ์” สร้างรูปแบบเดียวกับ “พระกริ่งจุฬาลงกรณ์” ทุกประการแต่ไม่มีการบรรจุเม็ดกริ่งแต่มีโค้ดรูป “อุณาโลม” ตอกไว้ที่ใต้ฐานมีขนาดเล็กกว่าพระกริ่งจัดสร้างจำนวน “๕,๐๐๐องค์” ด้วยเนื้อ “นวโลหะ” เพียงอย่างเดียว
“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช” ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเททองเป็น “ปฐมฤกษ์” ในวันที่ 9 มีนาคม พุทธศักราช 2513 โดยทรงประกอบพิธีเททองหล่อ “พระกริ่งจุฬาลงกรณ์เนื้อทองคำ” เป็นปฐมฤกษ์และ “ทองชนวน” ที่เหลือนั้นช่างได้นำไปผสมผสานกับเนื้อโลหะที่สร้าง “วัตถุมงคล” ทุกชนิดจนครบตามจำนวนที่กำหนดไว้แล้วตกแต่งให้สวยงาม โดยใช้ระยะเวลาในการดำเนินการประมาณ “9 เดือน” จึงแล้วเสร็จ
จากนั้นทางวัดจึงกำหนดประกอบพิธี “มหาพุทธาภิเษก” เป็นเวลา “3 วัน 3 คืน” คือระหว่างวันที่ 29-30-31 มกราคม พ.ศ. 2514 โดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธี “จุดเทียนชัย” ในวันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2514 อันเป็นวันครบรอบวันสถาปนา “วัดราชบพิธฯ” ครบ “101 ปี กับ 2 วัน อนึ่งนับเป็นวาระ “อันพิเศษยิ่ง” ที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มหาราช ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าฯ แก่ “วัดราชบพิธฯ” ยิ่งนักเพราะตามบันทึกของวัดนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มหาราช ได้เสด็จพระราชดำเนินมายัง “พิธีพุทธาภิเษก” วัตถุมงคลฉลอง “100 ปี” ที่วัดราชบพิธฯ ถึง “2 วัน” ด้วยกันคือ
“วันที่ 29 มกราคม 2514” อันเป็นวันเริ่มพิธี “มหาพุทธาภิเษก” ได้เสด็จฯ ทรงจุด “เทียนชัยพุทธาภิเษก, เทียนมหามงคล” และ “เทียนนวหรคุณ” ในเวลา 16.05 น.
และในวันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2514 เวลา 24.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จฯ ในพิธีมหาพุทธาภิเษกและทรง “พระสุหร่าย, ทรงเจิมปูชนียวัตถุ, ทรงโปรยข้าวตอกดอกไม้” จึงนับเป็น “กรณีพิเศษยิ่ง” ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จฯ ทรงประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกเป็นเวลาถึง “2 วัน” นอกเหนือจากทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ในพิธี “เททอง” เป็นปฐมฤกษ์เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2513 แล้ว
ดังนั้น “วัตถุมงคล” ชุด “ฉลอง 100 ปี วัดราชบพิธฯ” นี้จึงเป็นวัตถุมงคลที่ถึงพร้อมด้วย “พระพุทธคุณ, พระธรรมคุณ, พระสังฆคุณ” และ “พระมหากษัตริยาธิคุณ” ของ “พระมหากษัตริย์” ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐแก่ประเทศไทยถึง “2 พระองค์” ด้วยกันคือ “รัชกาลที่ 5” และ“รัชกาลที่ 9” อย่างเปี่ยมล้นยิ่งนัก
พระกริ่งรุ่นนี้ออกแบบโดยนายช่าง เกษม มงคลเจริญ สร้างในปี 2513 ในวาะครบ 100 ปี วัดราชบพิธฯ ในหลวงเสด็จพระราชดำเนิน ประกอบพิธีถึง 3 ครั้ง พิธีมหาพุทธาภิเษก 3 วัน 3 คืน โดยพระคณาจารย์ 108 รูป ซึ่งล้วนเเต่เป็นพระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังด้านพุทธคมในยุคนั้นทั้งสิ้นที่รับนิมนต์มานั่งปรกบริกรรมเจริญภาวนาโดยผลัดเปลี่ยนกันมาร่วมพิธีในเเต่ละวันดังนี้
๑. วันศุกร์ที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๔ ระหว่างเวลา ๑๖.๓๐-๒๐.๐๐ น. คือ
๑.) พระเทพสังวรวิมล (เจียง) วัดเจริญสุขาราม จ.สมุทรสงคราม
๒.) หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นคร ปฐม
๓.) หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช จ.พระนครศรีอยุธยา
๔.) หลวงพ่อกี่ วัดหูช้าง จ.นนทบุรี
๕.) พระครูโสภณพัฒนกิจ วัดอัมพวา บางกอกน้อย ธนบุรี กรุงเทพฯ
๖.) พระครูสุทธิการี (หลวงพ่อทองอยู่) วัดใหม่หนองพะอง จ.สมุทรสาคร
๗.) พระครูโพธิสารประสาธน์ (บุญมี) วัดโพธิ์สัมพันธ์ จ.ชลบุรี
๘.) พระครูอุภัยภาดาทร (หลวงพ่อขอม) วัดโพธาราม (วัดไผ่โรงวัว) จ.สุพรรณบุรี
๙.) พระครูนนทกิจวิมล (หลวงพ่อชื่น) วัดตำหนักเหนือ จ.นนทบุรี
๑๐.) พระครูสมุห์อำพล วัดประสาทบุญญาวาส กรุงเทพฯ
๑๑.) พระอาจารย์อรุณ วัดตะล่อม ธนบุรี กรุงเทพฯ
๑๒.) พระครูสมุห์สำรวย วัดกษัตราธิราช จ.พระนครศรีอยุธยา
เวลา ๒๐.๐๐-๒๒.๐๐ น.
๑.) พระราชสุทธาจารย์ (โชติ ระลึกชาติ) วัดวชิราลงกรณ์จ.นครราชสีมา
๒.) พระนิโรธรังสีคัมภีร์เมธาจารย์ (หลวงปู่เทสก์ เทสโก) วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย
๓.) พระอินทสมาจารย์ (เงิน อินทสโร) วัดอินทรวิหาร กรุงเทพฯ
๔.) พระครูสภาพรพุทธมนต์ (สำเนียง อยู่สถาพร) วัดเวฬุวนาราม จ.นครปฐม
๕.) พระครูกัลป์ยานุกูล (เฮง) วัดกัลยาณมิตร ธนบุรี กรุงเทพฯ
๖.) พระครูภาวนาภิรม วัดปากน้ำภาษีเจริญ ธนบุรี กรุงเทพ
๗.) พระครูประภัสสรศีลคุณ (เอก) วัดไผ่ดำ จ.สิงห์บุรี
๘.) พระครูสมุห์หิน วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ
๙.) หลวงพ่อใหญ่ อภินันโท (จุล) วัดถ้ำคูหาสวรรค์ จ.ลพบุรี
๑๐.) พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโศธาราม จ.อุดรธานี
๑๑.) พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน (พระธรรมวิสุทธิมงคล) วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี
๑๒.) พระครูใบฎีกาสมาน (หลวงพ่อเณร) วัดพรพระร่วง กรุงเทพฯ,
เวลา ๒๒.๐๐-๒๔.๐๐ น.
๑.) พระราชวตาจารย์ วัดมกุฏกษัตริยาราม กรุงเทพฯ
๒.) พระญาณโพธิ (เข็ม) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ
๓.) พระวิเชียรมุนี วัดอินทราม กรุงเทพฯ
๔.) พระพุทธมนต์วราจารย์ (สุพจน์) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ
๕.) พระโสภณมหาจารย์ วัดดาวดึงนาราม กรุงเทพฯ
๖.) พระครูพิบูลมงคล วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ
๗.) พระมงคลสุรี วัดนาคกลาง กรุงเทพฯ
๘.) พระครูปลัดสงัด วัดโพธิ์ท่าเตียน กรุงเทพฯ
๙.) พระครูวินัยธร (เดช) วัดสระเกศฯ กรุงเทพฯ
๑๐.) พระปลัดมานพ วัดชิโนรสราม กรุงเทพฯ
๑๑.) พระมหาวาส วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ
๑๒.) พระอาจารย์ผ่อง จินดา วัดจักรวรรดิ (สามปลื้ม) กรุงเทพฯ
พระสวดพุทธาภิเษก
ระหว่างเวลา ๑๖.๓๐-๒๑.๐๐น. จำนวน ๔ รูป จากวัดสุทัศนเทพวราราม, ระหว่าง เวลา ๒๑.๐๐-๒๔.๐๐ น. จำนวน ๔ รูป จากวัดบวรนิเวศวิหาร
๒. วันเสาร์ที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๔ เวลา ๑๘.๐๐-๒๐.๐๐ น.
๑.) พระธรรมวราลังการ วัดบุปผาราม ธนบุรี กรุงเทพฯ,
๒.) พระโพธิวรคุณ (ไพฑูรย์) วัดโพธิ์นิมิต กรุงเทพฯ,
๓.) พระครูสีลวิสุทธาจารย์ วัดสง่างาม จ.ปราจีนบุรี
๔.) พระครูประภัศระธรรมาภรณ์ (หลวงพ่อแต้ม) วัดพระลอย จ.สุพรรณบุรี
๕.) พระครูประสิทธิสารคุณ (พ้น) วัดอุบลวรรณาราม จ.ราชบุรี
๖.) พระครูสังฆวฒาจารย์ (หลวงปู่เย่อ) วัดอาฬาสงคราม จ.สมุทรปราการ
๗.) พระอาจารย์หนู วัดบางกะดี่ กรุงเทพฯ
๘.) พระอาจารย์มงคล (กิมไซ) วัดป่าเกตุ จ.สมุทรปราการ
๙.) พระครูสมุห์ทองคำ วัดเสาธงทอง จ.ลพบุรี
๑๐.) พระอาจารย์สมภพ เตชบุญโญ วัดสาลีโขภิรตาราม จ.นนทบุรี
๑๑.) พระอาจารย์ยาน วัดถ้ำเขาหลักไก่ จ.ราชบุรี,
๑๒.) พระอาจารย์บุญกู้ วัดอโศกตาราม จ.สมุทรปราการ
เวลา ๒๐.๐๐-๒๒.๐๐ น.
๑.) พระสุนทรธรรมภาณ วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
๒.) พระครูโสภณกัลป์นาณวัตร (เส่ง) วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพฯ
๓.) พระครูวรพรตศีลขันธ์ (แฟ้ม) วัดป่าอรัญศิกาวาส จ.ชลบุรี
๔.) พระครูปสาธน์วิทยาคม (หลวงพ่อนอ) วัดกลางท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา
๕.) พระอาจารย์บุญเพ็ง วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
๖.) พระอาจารย์สุวัจน์ วัดป่าภูธรพิทักษ์ จ.สกลนคร
๗.) พระอาจารย์วัน วัดป่าอภัยวัน (ภูเหล็ก) จ.สกลนคร
๘.) พระอาจารย์สุพัฒน์ วัดบ้านใต้ จ.สกลนคร
๙.) พระอาจารย์ทองสุข วัดถ้ำเจ้าภูเขา จ.สกลนคร
๑๐.) พระอาจารย์ฟัก สันติธัมโม วัดเขาน้อยสามผา จ.จันทบุรี
๑๑.) พระอาจารย์ดวน วัดมเหยงค์ จ.นครศรีธรรมราช
๑๒.) พระอาจารย์สอาด วัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ
เเละเวลา ๒๒.๐๐-๒๔.๐๐ น.
๑.)พระเทพเมธากร วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพฯ
๒.) พระราชวรญาณมุนี นุภพศิริมาตราม กรุงเทพฯ
๓.) พระปัญญาพิศาลเถระ วัดราชประดิษฐ์ กรุงเทพฯ
๔.) พระครูโสภณสมาธิวัตร วัดเจ้ามูล ธนบุรี กรุงเทพฯ
๕.) พระครูวิริยะกิตติ (หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี) ธนบุรี กรุงเทพฯ
๖.) พระครูพิชัย ณรงค์ฤทธิ์ วัดสิตาราม กรุงเทพฯ
๗.) พระครูปลัดถวิล วัดยางระหงษ์ จ.จันทบุรี
๘.) พระอธิการพัตน์ วัดเเสนเกษม กรุงเทพฯ
๙.) พระอาจารย์เชื้อ หนูเพชร วัดสะพานสูง กรุงเทพฯ
๑๐.) พระอาจารย์รัตน์ วัดปทุมคงคา กรุเทพฯ
๑๑.) พระครูสังฆรักษ์ (กาวงค์) วัดป่าดาราภิรมย์ จ.เชียงใหม่
๑๒.) พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา จ.พัทลุง
โดยมีพระสวดพุทธาภิเษก เวลา ๑๘.๐๐-๒๑.๐๐ น. พระภิกษุ ๔ รูป จากวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามเเละจากวัดราชประดิษฐ์ เวลา ๒๑.๐๐-๒๔.๐๐น.
๓. ส่วนวันอาทิตย์ที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๔ ก็ล้วนเเต่เป็น “พระคณาจารย์” ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิทยาคมแห่งยุคซึ่งส่วนใหญ่ได้ “มรณภาพ” แล้ว
รวม ๓ วัน “ครบถ้วน ๑๐๘ รูป”
ขอบคุณข้อมูลจากคุณเจี๊ยบ ร้านต.สุวรรณรัตน์
พระกริ่งจปร วัดราชบพิธ เนื้อทองคำ องค์นี้ ผมลักษณ์ ราชสีห์ ได้ขอเเบ่งบูชามาจาก คุณเจี๊ยบ ร้าน ต.สุวรรณรัตน์ บางลำภู เมื่อหลายปีที่ผ่านมา