“กฎหมายเป็นผลหรือผลสะท้อนของโครงสร้างเศรษฐกิจหรือเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ”
นักทฤษฎี มาร์กซิสต์ ได้สรุป ความเกี่ยวกับกฎหมายเป็นผลผลิตหรือผลสะท้อนของโครงการสร้างทางเศรษฐกิจหรือเงื่อนไข
ข้อสรุปนี้เป็นผลของการตีความทฤษฎี สสารธรรมประวัติศาสตร์ของ มาร์ก และ เองเกลส์
สสารธรรมประวัติศาสตร์ ( Historical Materialism ) หมายถึง การปรับใช้หลักสสารธรรมประติการเข้ากับการศึกษาพัฒนาการของสังคมหรือประวัติศาสตร์ของมนุษย์ โดยถือว่า ความคิดของมนุษย์และบรรดาสถาบันต่าง ๆ ในสังคม (รวมถึงกฎหมาย, ศีลธรรม, การเมือง, อุดมการณ์) เป็นเสมือนโครงสร้างส่วนบนของสังคม (Super Structure of Society) ที่เป็นผลผลิตหรือถูกกำหนดโดยส่วนใหญ่จากรากฐาน ทางวัตถุและเทคโนโลยีซึ่งแน่นอน กล่าวคือ เศรษฐกิจหรือความสัมพันธ์ทางการผลิตซึ่งเป็นเสมือนโครงสร้างส่วนฐานของสังคม (Infra Structure of Society) และพลังจูงใจให้มีการเปลี่ยนแปลงสังคม (สังคมที่ยังเป็นรัฐหรือมีการปรากฏตัวของรัฐบาล) คือ การต่อสู่ของชนชั้นที่เป็นปรปักษ์กันอันเนื่องจากความขัดแย้งทางวัตถุหรือเศรษฐกิจ
โดยถือว่า บรรดารูปการทั้งหลายซึ่งเป็นเรื่องจิตสำนึกของมนุษย์ในเรื่องการเมือง สังคม , ศาสนา, วัฒนธรรมหรือกฎเกณฑ์ทางสังคมต่าง ๆ ล้วนถูกกำหนดโดยระบบการผลิต หรือระบบเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ โดยที่รูปการของจิตสำนึกดังกล่าวเป็นเสมือน “โครงสร้างส่วนบนของสังคม” ซึ่งวางอยู่บนฐานของระบบเศรษฐกิจ หรือ “โครงสร้างส่วนล่างหรือส่วนฐานของสังคม” ขณะเดียวกันก็ถือว่า กฎหมายเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างส่วนบนของสังคม โดยที่รูปแบบเนื้อหาหรือแนวความคิดทางกฎหมายจะเป็นผลสะท้อนของระบบเศรษฐกิจหรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม ข้อสรุปดังกล่าว เป็นการสะท้อนให้เห็นความเชื่อในปรัชญา แบบนัยนิยมทางเศรษฐกิจ (Economic Determinism) หรือ “เศรษฐกิจกำหนด” อันเป็นปรัชญาความเชื่อว่าเงื่อนไขทางเศรษฐกิจหรือผลประโยชน์ของตัวเองในเชิงเศรษฐกิจ เป็นตัวกำหนดตัดสินการกระทำของปัจเจกชนในเรื่องการเมืองโดยตรง จากจุดนี้เองทำให้ข้อสรุปของแนวคิดที่มองลักษณะด้านเดียวว่า กฎหมาย (ในฐานะส่วนหนึ่งของโครงสร้างส่วนบน) เป็นสิ่งที่ถูกกำหนด (ฝ่ายเดียว) โดยเศรษฐกิจ ซึ่งนับว่าเป็นจุดเปราะบางหรือจุดอ่อนของกลุ่มแนวคิดมาร์กซิสต์
จากแนวคิดข้อสรุป ข้อที่ว่ากฎหมายเป็นผลผลิตหรือผลสะท้อนของโครงการสร้างทางเศรษฐกิจหรือเงื่อนไข ดังที่ได้อธิบายมาแล้ว ซึ่งอาจสรุปได้ว่า
เป็นการมองว่าเงื่อนไขทางเศรษฐกิจเป็นตัวเข้ามากำหนดความเป็นไปหรือตัวธรรมชาติที่เป็นจริงของกฎหมายในแต่ละยุคแต่ละสมัย กฎหมายในแง่นี้จึงไม่ใช่เป็นเรื่องของกฎธรรมชาติ ไม่ใช่เป็นเรื่องของเจตจำนงของรัฐาธิปัตย์ที่เป็นอิสระ แต่สิ่งที่เป็นเจตจำนงรัฐาธิปัตย์ที่ยังอยู่ภายใต้สิ่งที่เป็นเงื่อนไข
ทางเศรษฐกิจ หรือโครงสร้างทางเศรษฐกิจอีกชั้นหนึ่ง
1. ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับความคิดแบบกฎหมายธรรมชาติ กฎหมายธรรมชาตินั้นไม่ได้กล่าวถึง
เรื่องเกี่ยวกับโครงสร้างทางสังคมหรือรูปธรรมเกี่ยวกับความเป็นจริงของสังคมว่าสัมพันธ์กับธรรมชาติของกฎหมายอย่างไร
2. ส่วนปฏิฐานนิยมนั้นอาจจะมองกฎหมายในแง่ข้อเท็จจริง คือ รัฏฐาธิปัตย์ อำนาจรัฐ
ระบบกฎหมาย แต่ไม่ได้มองว่าเบื้องหลังของรัฏฐาธิปัตย์คืออะไร เบื้องหลังของระบบกฎหมายมีอะไรเป็นตัวอิทธิพล
ซึ่งข้าพเจ้าเห็นด้วยกับแนวคิดของ มาร์กซิสต์ ที่พยายามชี้ให้เห็นถึงอิทธิพลของเศรษฐกิจหรือโครงสร้างของเศรษฐกิจว่าเป็นตัวกำหนดที่สำคัญต่อกฎหมาย
「มาร์กซิสต์ คือ」的推薦目錄:
- 關於มาร์กซิสต์ คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
- 關於มาร์กซิสต์ คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
- 關於มาร์กซิสต์ คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
- 關於มาร์กซิสต์ คือ 在 การเผยแพร่แนวคิดมาร์กซิสต์สู่ประเทศอื่นๆ เพื่อคืนความเท่าเทียมให้ ... 的評價
- 關於มาร์กซิสต์ คือ 在 sittikorn saksang - แนวคิดมาร์ก ซิสต์ : กฎหมายเป็นเสมือนหนึ่ง ... 的評價
มาร์กซิสต์ คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
“บทสนทนาระหว่างศิษย์ (สิทธิกร) กับอาจารย์ (ศาสตราจารย์ จรัญ โฆษณานันท์) : ว่าด้วยนิติปรัชญา”
ศิษย์ : สวัสดีครับ ผมขอเรียนสายกับท่านอาจารย์จรัญ ครับ
อาจารย์ : ผมจรัญ พูดครับ
ศิษย์ : อาจารย์ผมสิทธิกร ครับ
อาจารย์ : นักมวยนักกีฬามหาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ตอนนี้คุณเป็นอาจารย์อยู่นี่ ยังอยู่ที่ตาปีใช่ไหม
ศิษย์ : ตอนนี้ผมสอนอยู่ราชภัฎสุราษฎร์ธานี ครับอาจารย์ อาจารย์สุขภาพแข็งแรงดีนะครับ
อาจารย์ : ก็สบายดีนะ
ศิษย์ : อาจารย์ครับ ผมกำลังเขียนวิชานิติปรัชญาอยู่ครับ โดยนำเลคเชอร์ที่ผมเรียนกับอาจารย์ ป.ตรีและ ป.โท และอีกส่วนหนึ่งมาจากถอดเทปคำบรรยายที่ขออนุญาตอาจารย์อัดเทปไว้ในชั่วโมงเรียน เพื่อนำมาไปถอดเทปแจกเพื่อนๆพี่ๆในห้องเรียน ป.โท มาสรุปรวบรวม เป็นหนังสือ “คู่มือศึกษา วิชานิติปรัชญาตามแนวคำสอนศาสตราจารย์ จรัญ โฆษณานันท์” ครับ
อาจารย์ : ไม่ดีหรอก คุณอย่ายึดติดอิทธิพลหรืออยู่ภายใต้ร่มเงาผมเลย คุณควรเปิดกว้างโลกทรรศน์ความคิดของตนเอง นะ
ศิษย์ : อาจารย์ครับ หนังสือ หรือตำราอื่นที่ผมเขียนมาเป็นเอกลักษณ์ของผม แต่นิติปรัชญา นี้ผมเขียนตามเอกลักษณ์ตัวตนของผมไม่ได้ครับ เพราะ
1. เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นของอาจารย์ 90% เปอร์เซนต์ครับ
2.เนื้อหามาจากคำบรรยายอาจารย์ ผมเพียงแต่นำมาเขียนวิเคราะห์สังเคราะห์ ตามแบบเข้าใจของผมเท่านั้น
3.หนังสือเล่มนี้ผมเขียนขึ้นมาเพื่อระลึกคุณของอาจารย์ที่เปิดโลกทรรน์ทางด้านนิติปรัชญาให้ผม
อาจารย์ : ผมว่าไม่ดีหรอกคุณอย่ายกย่องผมเกินเหตุเลย ผมไม่เป็นปรมาจารย์เหมือนกับอาจารย์ปรีดี เกษมทรัพย์ ผมแค่อาจารย์ผู้ค้นคว้าคนหนึ่ง แต่ก็ดีใจนะมีลูกศิษย์หันมาสนใจงานด้านนิติปรัชญา เพราะต่อไปพวกรุ่นคุณก็ต้องสานต่อ ไม่ว่าจากผมหรือคนอื่นก็ตาม เพราะอีกไม่นานความคิดผมก็โรยราแล้ว
ศิษย์ : ไม่หรอกครับอาจารย์ อาจารย์ยังเป็นผู้ถ่ายทอดนิติปรัชญาไปอีกนานครับ ผมก็เป็นลูกศิษย์ของอาจารย์ต้องเรียนรู้ด้านนิติปรัชญาจากอาจารย์อีกครับ ผมยังได้ความรู้จากอาจารย์แค่หางอึ่งครับ
อาจารย์ : คงไม่ขนาดนั้นสิทธิกร
ศิษย์ : ครับอาจารย์ อาจารย์ผมเขียนนิติปรัชญา ที่เอาความคิดของอาจารย์มาจัดระบบใหม่ ดังนี้ครับ
จุดมุ่งหมายของการวิชานิติปรัชญา คือ ต้องการให้ผู้เรียนสามารถใช้เหตุผลทางกฎหมายได้ถูกต้อง ตามแนวคิดทฤษฎีกฎหมายที่รองรับ ในคำถามเชิงนิติปรัชญา ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ในส่วนของปรัชญากฎหมายตะวันตก กับในส่วนของปรัชญากฎหมายไทยดังเดิมและการรับเอาปรัชญากฎหมายตะวันตก ดังนี้
ส่วนที่ 1 การศึกษาปรัชญาตะวันตก ที่มีอิทธิพลต่อทั่วโลกในปัจจุบัน
1.กฎหมายเกิดขึ้นอย่างไร มีสำนักคิดที่มารองรับสนับสนุน ได้แก่
1.1 สำนักกฎหมายธรรมชาติ กฎหมายเกิดขึ้นเองธรรมชาติ มนุษย์ค้นพบด้วยการถึงปัญญา ด้วยเหตุผลใช้บังคับไปทั่วไปอันเป็นสากลแผ่ซ่านไปทุกแห่งหน กฎหมายต้องสอดคล้องกับศีลธรรมเสมอ
1.1 สำนักกฎหมายปฏิฐานนิยมทางกฎหมาย กฎหมายนั้นมาตากมนุษย์เป็นผู้สร้างกฎหมาย กฎหมายไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับศีลธรรมกฎหมายมีสภาพบังคับถ้าไม่ปฏิบัคิตาม
1.3 สำนักกฎหมายประวัติศาสตร์ เกิดขึ้นจากวิญญาณของมนุษย์และมีจิตสำนึกร่วมในการปฏิบัติร่วมกันในแต่ละสังคมบริบท ก็คือ ลักษณะเดียวกับจารีตประเพณี
1.4 และอรรถประโยชน์ เกิดจากกฎกติกาที่มีความสุขความพอใจ ความปราถนาของคนส่วนรวม
2. กฎหมายเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการควบคุมสังคม มีแนวคิดที่มารองรับ คือ
2.1 มาร์กซิสต์ บอกว่ากฎหมายคือเงื่อนไขที่ออกมาบนโครงสร้างทางเศรษฐกิจของชนชั้นผู้ปกครอง ในการควบคุมสังคมทำให้เกิดปัญหา การแก้ปัญหาคือ ควรให้มีสังคมคอมมิวนิสต์ เป็นสังคมที่ทำทุกอย่างเพื่อส่วนรวม และถ้าเป็นสังคมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบกฎหมายจะเหือดหายไป
2.1 กับนิติศาสตร์เชิงสังคมวิทยา ถือว่านักกฎหมายมีหน้าที่สำคัญคือ ออกแบบกฎหมายเพื่อคุมสังคม บนพื้นฐานของประโยชน์ของรัฐ คือ ดูแลความมั่นปกป้องรัฐ ดูแลความมั่นคงในรัฐให้ประชาชนในความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เป็นต้น ประโยชน์ของสังคม ในครอบครัว การประกอบอาชีพ เป็นต้น ประส่วนตัวหรือประโยชน์ของปัจเจกชน ความเป็นส่วนตัว การมีชื่อเสียง การมีทรัพย์สิน เป็นต้น
3. กฎหมายกับศีลธรรม กฎหมายจำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับศีลธรรมหรือไม่ เราควรหรือไม่ที่นำหลักศีลธรรมมาบัญญัติกฎหมายในการควบคุมสังคม ภายใต้หลักภยันตรายต่อตนเองกับหลักภยันตรายต่อผู้อื่น ซึ่งมีแนวคิด รองรับ 2 กลุ่ม คือ
3.1 กลุ่มเสรีนิยม กล่าวถึงการกระทำที่ผิดศีลธรรมที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อผู้อื่นตามหลักภยันตรายต่อผู้อื่นเท่านั้นที่ควรมีกฎหมายมาควบคุม
3.2 กลุ่มศีลธรรมนิยม กล่าวการกระทำที่ผิดศีลไม่ว่าเป็นการกระทำที่เดือดร้อนตนเองหรือเดือดร้อนผู้อื่นก็ต้องมีกฎหมายมาตวบคุมเพราะเป็นการกระทำที่ผิดศีลธรรม
4. เนื้อหาของกฎหมายควรจะเป็นอย่างไร เป็นไปตามหลักการปกครองแบบนิติรัฐ แบบนิติธรรมและยุติธรรมตามกฎหมายหรือไม่
4.1 เนื้อหาของกฎหมายภายใต้หลักนิติรัฐ ซึ่งต้องเป็นิติรัฐเชิงรูปแบบและเชิงเนื้อที่สำคัญต้องมีการแบ่งแยกอำนาจ เพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน และกระทำของรัฐต้องกระทำภายในขอบเขตของกฎหมายให้อำนาจ
4.2 เนื้อหาของหลักฝ่ายปกครองครับกระทำตามอำเภอใจไม่ได้ ไม่มีบุคคลใดอยู่เหนือกฎหมาย อยู่ภายใต้หลักเสมอภาคโดยมีศาลยุติธรรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน
4.3 เนื้อหาของกฎหมายต้องมีความยุติธรรม มีอยู่ 2 ประเภท คือ ความยุติธรรมแลกเปลี่ยนตอบแทน (กฎหมายเอกชน) กับความยุติธรรมแบบแบ่งสรรปันส่วน (กฎหมายมหาชน)
5.เราควรเคารพเชื่อฟังกฎหมายหรือไม่ ถ้าเราไม่เคารพเชื่อฟังเหตุผลว่ากฎหมายไม่ดี มีกระบวนวิธีการดื้อแพ่งต่อกฎหมายอย่างไร
5.1 การเคารพเชื่อฟังกฎหมาย ด้วยเหตุผล ในแง่สิทธิเสรีภาพที่ต้องเคารพซึ่งกันและกัน ในแง่หลักสัญญาประชาคมร่วมกันและในแง่ความเที่ยงธรรม
ส่วนที่ 2 การศึกษากฎหมายไทย ดังนี้
1.เป็นการศึกษาปรัชญากฎหมายไทยแบบดังเดิมเริ่มตั้งแต่
1.1 ปรัชญากฎมายสุโขทัยใช้คำภีร์พระรรมศาสตร์ปกครอง อัคคัญสูตรการกำเนิดรัฐ กำเนิดกฎหมาย กำเนิดผู้ปกครอง ปรัชญากฎหมายแบบบพ่อปกครองลูก ในการสั่นกระดิ่งร้องทุกข์ให้กษัตริย์ช่วยเหลือ (ฎีการ้องทุกข์) และการปกครองแบบพุทธรรมนิยมของพระยาลิไทย ในพระธรรมปิฎก และหลักทศพิชราชธรรม
1.2.การปกครองสมัยอยุธยาแบบสมุติเทพ กษัตริย์ออกกฎหมาย บังคับใช้เอง ภายใต้การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราช อยุธยา ธนบุรีรัตนโกสินทร์ตอนต้น แต่ยังมีการปกครองที่ใช้หลักทศพิชราชธรรม
2. การศึกษาปรัชญากฎหมายแบบนำเข้าทั้งถูกบังคับให้ใช้กฎหมายตะวันตกหรือแบบเต็มใจใช้กฎหมายตะวันตก เริ่มตั้งแต่สนธิสัญญาเบาริ่ง จุดเริ่มต้นของการสูญเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตทางศาล และเป็นการวางหลักการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่สมบูรณ์แบบ ในสมัย รัชกาลที่ 5 ทำให้มีการปรับปรุงเปลี่ยนการปกครองประเทศภายใต้หลักเสรีนิยม สมัย ร. 5 ถึงปัจจุบัน
2.1 เพื่อต้องให้กฎหมายของประเทศไทยพัฒนาให้เป็นสากล ยอมรับศักดิ์แห่งความเป็นมนุษย์ ด้วยการเลิกทาส การให้สิทธิเสรีภาพของบุคคล การมีชื่อเสียง ชื่อนามสกุล สมัย ร.6
2.2 เพื่อที่ต้องการสิทธิสภาพนอกอาณาเขตทางศาล คืนมาโดยเร็ว จำต้องใช้กฎหมายตะวันตก โดยเฉพาะกฎหมายที่เราอยู่สิทธิสภาพนอกอาณาเขตทางศาล เช่นกฎหมายอังกฤษ กฎหมายอเมริกา เป็นต้น (ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์) กฎหมายฝรั่ง กฎหมายเยอรมัน กฎหมายฮอลันดา กฎหมายโปรตุเกส กฎหมายของญี่ปุ่น เป็นต้น (ระบบกฎหมายซิวิลลอว์)
2.3 การนำหลักฎหมายตะวันตกภายสิทธิเสรีภายใต้รัฐธรรมนูญในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญโดยการปฏิวัติ และหลังจากนั้นก็มีการรัฐประหารบ่อยครั้ง จนเป็นเหตุให้ประเทศปกครองแบบประชาธิปไตยค่อนข้างจะเต็มใบบ้างผสมผสานการปกครองแบบประขาธิปไตยครึ่งใบภายใต้อำนาจนิยม ที่เกิดอยู่ในปัจจุบันนี้
แต่อย่างไรก็ตามยังมีปรัชญากฎหมายไทยแบบดังเดิมที่ยังอยู่ในปรัชญากฎหมายไทยในปัจจุบัน นอกจากปรัชญากฎหมายตะวันตกที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ และมีปรัชญากฎหมายที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ดังนี้
1.ปรัชญากฎหมายไทยที่เกี่ยวกับปรัชญากฎหมายพุทธรรมนิยม เป็นต้น
2. ปรัชญาเศรษกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9
อาจารย์ : ก็โอเค คุณสอนค้นคว้าที่เป็นแก่นแท้ของนิติปรัชญา ไม่ได้ค้นคว้าไปสอนแต่เปลือกของนิติปรัชญา ถ้าได้เปลือกก็ไม่ได้หลักคิดที่แน่นอน เป็นการฉาบฉวยในความเป็นนิติปรัชญาเท่านั้น ผมดีใจนะที่มีคนสนใจจะสืบทอดต่อจากคนรุ่นผม
ศิษย์ : ขอบพระคุณครับอาจารย์ อาจารย์ครับ ผมจะขอความเมตตาปราณีจากอาจารย์ ครับ
1. ถ้าผมนำหนังสือเล่มนึ้ไปเขียนชื่อ คู่มือศึกษาวิชานิติปรัชญา ตามแนวคำสอนศาสตราจารย์ จรัญ โฆษณานันท์ นะครับ ผมอยากอยู่ใต้ร่มเงาทางความคิดด้านนิติปรัชญาครับ
2. ผมจะนำหนังสือที่ผมเขียนเสร็จให้อ่านนะครับ เพื่อความอนุเคราะห์ตรวจทานความถูกต้องในเนื้อหาวิชานิติปรัชญา
อาจารย์ : ผมว่าเอามาดูก่อนดีกว่านะ
ศิษย์ : งั้นไปผมพบอาจารย์ ได้ที่ไหนครับ
อาจารย์ : ที่รามคำแหง ผมสอน วันพุธ วันพฤหัส
ศิษย์ : ครับอาจารย์ อีกเรื่องหนึ่งครับ ผมขอความเมตตาจากอาจารย์ครับ คือ ปมทำวิจัย เรื่อง ปัญหาที่มาและสถาทางกฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐควบคุมคนในสังคมภายใต้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ผมขอสัมภาษณ์ได้ไหมครับ
อาจารย์ : ประเด็นหัวข้อมาดูครับ ครับ
ศิษย์ : กราบพระคุณอาจารย์ครับ งั้นวันพฤหัสผมจะทำหนังสือจากมหาลัยเพื่อไปสัมภาษณ์เชิงเจาะลึกงานวิจัยและคุยเรื่องหนังสือด้วยครับ
อาจารย์ : ยินดีครับ
มาร์กซิสต์ คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
ทฤษฎีกฎหมายของมาร์กซิสต์
ทฤษฎีกฎหมายของมาร์กซิสต์ (The Marxist Theory of Law) นับว่าเป็นทฤษฎีที่แสดงออกถึงแนวคิดของคนที่ออกกฎหมายมาเพื่อผลประโยชน์และปกป้องผลประโยชน์ของพวกที่มีอำนาจปกครอง หรือ เป็นแนวคิดที่ว่า “กฎหมายเป็นเครื่องมือที่ออกกฎหมายมาเพื่อชนชั้นสูงที่มีอำนาจออกกฎหมาย” ดังนั้น เพื่อให้เข้าใจแนวคิดนี้มากขึ้น จำต้องเข้าใจถึงพื้นฐานชีวิตของผู้ก่อตั้งสำนักนี้และแนวคิดนี้พัฒนาขยายความต่อมาอย่างไร ดังนี้
1.1 แนวคิดผู้ก่อตั้งทฤษฎีกฎหมายของมาร์กซิสต์ (คาร์ลมาร์ก (Karl Marx): 1818 – 1883)
คาร์ล มาร์ก เกิดเมื่อ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1818 ที่ปรัสเซีย พ่อเป็นทนายความเชื้อสายยิวที่มีฐานะดี มาร์ก จบปริญญาเอกด้านปรัชญาจากมหาวิทยาลัยเจนาในช่วงวัยหนุ่มนั้น มาร์ก จะมีแนวความคิดอิทธิพลของกฎหมายธรรมชาติในตัว มาร์ก แต่เมื่องานหนังสือพิมพ์ของ มาร์ก โดนเซ็นเซอร์ทำให้แนวความคิดของเขาต่อต้านการกระทำของรัฐบาลปรัสเซีย
งานเขียนของมาร์ก ในช่วงวัยหนุ่มสัมผัสกับความเชื่อถือศรัทธาใน “แนวคิดมนุษย์นิยม” (Humanism) และ “ธรรมชาตินิยม” (Naturalism) อันทำให้เรามีท่าทีต่อต้านความคิดแบบกฎหมายบ้านเมืองหรือปฏิฐานนิยมทางกฎหมาย (Legal Positivism) และสำนักกฎหมายประวัติศาสตร์ของ ซาวิญยี่ (Savingy) ซึ่งเขาเห็นว่ากรณี ปฏิฐานนิยมทางกฎหมายเป็นความคิดที่มุ่งเน้นแต่เรื่องประสิทธิภาพการทำงานของกฎหมาย โดยมาร์กให้ความสำคัญของกฎหมายในแง่เป็น “บรรทัดฐานเชิงคุณค่า” (Normative Approach to law) ซึ่งเป็นลักษณะของการยอมรับความสำคัญของกฎหมายธรรมชาติ โดยถือว่า “กฎหมายอันแท้จริง” (True Law) จะต้องมีลักษณะสากลที่สะท้อนถึงกฎเกณฑ์ภายใน “ชีวิตทางสังคมของมนุษย์” (Man’s social being) และความต้องการภายในของกิจกรรมแห่ง “ความเป็นมนุษย์อย่างแท้จริง” (Truly human activities)
อย่างไรก็ตาม จากประสบการณ์ชีวิตและพัฒนาการทางปัญญาที่เพิ่มมากขึ้นตามวัยของ มาร์ก ประกอบกับการหันมาทุ่มเทความสนใจศึกษาเรื่องเศรษฐกิจ ตลอดจนได้เข้าร่วมในปฏิบัติการที่เป็นจริงต่างๆ ในการเปลี่ยนแปลงสังคม แนวคิดทางปรัชญาและการเมืองของมาร์กในระยะหลังเปลี่ยนแปลงไปเข้าสู่ลักษณะความคิดแบบ “สสารธรรม” (Materialism) โดยเน้นการเข้าสู่ปัญหาในแง่ “รูปธรรมทางเศรษฐกิจ” มากกว่า “การวิจารณ์หรือเข้าสู่ปัญหาในเชิงปรัชญา” แบบเดิม
1.2 วิเคราะห์แนวคิดทฤษฎีกฎหมายของมาร์กซิสต์
จากข้อเขียนงานเขียนต่าง ๆ ของมาร์กซิสต์ ต่อมาได้ทำให้นักทฤษฎีมาร์กซิสต์รุ่นหลังจำนวนหนึ่งได้วิเคราะห์สรุปความคิดเกี่ยวกับธรรมชาติหรือบทบาทของกฎหมายออกอยู่ 3 ประการ คือ กฎหมายเป็นผลผลิตหรือผลสะท้อนของโครงการสร้างทางเศรษฐกิจหรือเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ กฎหมายเป็นเสมือนหนึ่งเครื่องมือหรืออาวุธที่ชนชั้นปกครองสร้างขึ้น เพื่อปกป้องอำนาจของตนและในสังคมคอมมิวนิสต์ที่สมบูรณ์ กฎหมายในฐานะที่เป็นเครื่องมือของการควบคุมสังคมจะเหือดหายและสูญสิ้นไปในที่สุด ดังนี้
1.2.1 กฎหมายเป็นผลผลิตหรือผลสะท้อนของโครงสร้างทางเศรษฐกิจหรือเงื่อนไข
ข้อสรุปนี้เป็นผลของการตีความ “ทฤษฎีสสารธรรมประวัติศาสตร์” ของ มาร์ก ซึ่ง สสารธรรมประวัติศาสตร์ (Historical Materialism) หมายถึง การปรับใช้หลักสสารธรรมประติการเข้ากับการศึกษาพัฒนาการของสังคมหรือประวัติศาสตร์ของมนุษย์ โดยถือว่า ความคิดของมนุษย์และบรรดาสถาบันต่าง ๆ ในสังคม (รวมถึงกฎหมาย,ศีลธรรม,การเมือง,อุดมการณ์) เป็นเสมือน “โครงสร้างส่วนบนของสังคม” (Super Structure of Society) ที่เป็นผลผลิตหรือถูกกำหนดโดยส่วนใหญ่จากรากฐาน ทางวัตถุและเทคโนโลยีซึ่งแน่นอน กล่าวคือ เศรษฐกิจหรือความสัมพันธ์ทางการผลิตเป็นเสมือน “โครงสร้างส่วนฐาน (ส่วนล่าง) ของสังคม” (Infrastructure of Society) และพลังจูงใจให้มีการเปลี่ยนแปลงสังคม (สังคมที่ยังเป็นรัฐหรือมีการปรากฏตัวของรัฐบาล) คือ การต่อสู้ของชนชั้นที่เป็นปรปักษ์กันอันเนื่องจากความขัดแย้งทางวัตถุหรือเศรษฐกิจ โดยถือว่า บรรดารูปการทั้งหลายซึ่งเป็นเรื่องจิตสำนึกของมนุษย์ในเรื่องการเมือง สังคม ศาสนา วัฒนธรรม หรือกฎเกณฑ์ทางสังคมต่าง ๆ ล้วนถูกกำหนดโดยระบบการผลิตหรือระบบเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ โดยที่รูปการของจิตสำนึกดังกล่าว เป็นเสมือน “โครงสร้างส่วนบนของสังคม” ซึ่งวางอยู่บนฐานของระบบเศรษฐกิจหรือ “โครงสร้างส่วนล่างหรือส่วนฐานของสังคม” ขณะเดียวกันก็ถือว่า กฎหมายเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างส่วนบนของสังคม โดยที่รูปแบบเนื้อหาหรือแนวความคิดทางกฎหมายจะเป็นผลสะท้อนของระบบเศรษฐกิจหรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
จากแนวคิดที่ว่ากฎหมายเป็นผลผลิตหรือผลสะท้อนของโครงการสร้างทางเศรษฐกิจหรือเงื่อนไข ดังที่ได้อธิบายมาแล้ว ผู้เขียนมองว่า “เงื่อนไขทางเศรษฐกิจเป็นตัวเข้ามากำหนดความเป็นไปหรือตัวธรรมชาติที่เป็นจริงของกฎหมายในแต่ละยุคแต่ละสมัย” กฎหมายในแง่นี้จึง “ไม่ใช่เป็นเรื่องของกฎธรรมชาติ” ซึ่งโต้แย้งกฎหมายธรรมชาติ “ไม่ใช่เป็นเรื่องของเจตจำนงของรัฐาธิปัตย์ที่เป็นอิสระ” โต้แย้งแนวคิดปฏิฐานนิยมของ จอห์น ออสติน ในฐานะผู้มีอำนาจออกกฎหมาย แต่ “เป็นเจตจำนงรัฐาธิปัตย์ที่ยังอยู่ภายใต้สิ่งที่เป็นเงื่อนไขทางเศรษฐกิจหรือโครงสร้างทางเศรษฐกิจ” อีกชั้นหนึ่ง ซึ่งมีข้อพิจารณาศึกษาเปรียบเทียบกับความคิดแบบกฎหมายธรรมชาติ กฎหมายธรรมชาตินั้นไม่ได้กล่าวถึงเรื่องเกี่ยวกับโครงสร้างทางสังคมหรือรูปธรรมเกี่ยวกับความเป็นจริงของสังคมว่าสัมพันธ์กับธรรมชาติของกฎหมายอย่างไร ส่วนความคิดปฏิฐานนิยม นั้นอาจจะมองกฎหมายในแง่ข้อเท็จจริง คือ รัฐาธิปัตย์, อำนาจรัฐ, ระบบกฎหมาย แต่ไม่ได้มองว่าเบื้องหลังของรัฐาธิปัตย์ คืออะไร เบื้องหลังของระบบกฎหมายมีอะไรเป็นตัวอิทธิพล แต่ของ มาร์กซิสต์ นั้นจะพยายามชี้ให้เห็นถึงอิทธิพลของเศรษฐกิจหรือโครงสร้างของเศรษฐกิจว่าเป็นตัวกำหนดที่สำคัญต่อกฎหมาย
อย่างไรก็ตาม ข้อสรุปดังกล่าว เป็นการสะท้อนให้เห็นความเชื่อในปรัชญา “แบบนิยัตินิยมทางเศรษฐกิจ” (Economic Determinism) หรือ “เศรษฐกิจกำหนด” อันเป็นปรัชญาความเชื่อว่า “เงื่อนไขทางเศรษฐกิจหรือผลประโยชน์ของตัวเองในเชิงเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดตัดสินการกระทำของปัจเจกชนในเรื่องการเมืองโดยตรง” จากจุดนี้เองทำให้ข้อสรุปของแนวคิดที่มองลักษณะด้านเดียวว่า “กฎหมาย (ในฐานะส่วนหนึ่งของโครงสร้างส่วนบน) เป็นสิ่งที่ถูกกำหนด (ฝ่ายเดียว) โดยเศรษฐกิจ” ซึ่งนับว่าเป็นจุดเปราะบางหรือจุดอ่อนของกลุ่มแนวคิดมาร์กซิสต์
1.2.2 กฎหมายเป็นเสมือนหนึ่งเครื่องมือหรืออาวุธที่ชนชั้นปกครองสร้างขึ้น เพื่อปกป้องอำนาจของตนหรือกฎหมายเป็นเครื่องมือกดขี่ของชนชั้นปกครอง
ความคิดนี้เป็นที่เชื่อยอมรับในหมู่ของพวกที่มีความคิดแบบสังคมนิยม (ซึ่งเป็นข้อสรุปค่อนข้างแข็งกร้าว) บทกวีสำคัญของนาย “ภูติ” ที่ว่า “…ชั้นใดเขียนกฎหมาย ก็แน่ไซร้เพื่อประโยชน์ของชนชั้นนั้น…” ซึ่งเป็นบทกวีที่คุ้นหูต่อบุคคลหรือนักกฎหมายที่สนใจแนวคิดแบบสังคมนิยม และน่าเชื่อถือว่ามีบุคคลจำนวนไม่น้อยที่ยึดมั่นอย่างจริงจัง ในข้อสรุปหรือบทกวีดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตามมิได้มีการสืบค้นหาความหมาย หรือพิสูจน์ความชอบธรรมของข้อสรุปนี้อย่างจริงจัง
การที่กลุ่มมาร์กซิสต์ ได้สรุปจากถ้อยคำของ มาร์ก ที่กล่าวสั้นๆ ในเชิงข้อสังเกตหรือวิจารณ์กฎหมายของฝ่ายนายทุน ทำให้เกิดข้อสรุปทางทฤษฎีกฎหมายจากนักทฤษฎีมาร์กซิสต์ทั่วไปว่า “กฎหมาย คือ เครื่องมือกดขี่ทางชนชั้นหรือกฎหมายเป็นเพียงการแสดงออกซึ่งเจตจำนงของชนชั้นปกครองมิใช่เป็นการแสดงออกซึ่งเจตจำนงร่วม หรือเจตจำนงทั่วไปของประชาชน” กฎหมายในลักษณะเช่นนี้ คือ ผลผลิตหรือเครื่องมือของฝ่ายปกครอง ซึ่งล้วนถูกประทับตราแห่งชนชั้นผู้ปกครองสังคมทั้งสิ้น อุดมการณ์เช่นนี้จึงมีปัญหาว่ากฎหมายจะมีบทบาทรับใช้ใครหรือมีเนื้อหาอย่างไร ในทรรศนะคติของ มาร์ก จึงหลีกเลี่ยงไม่พ้นที่จะต้องพิจารณาประเด็นสำคัญ 2 ประเด็น คือ
1. ชนชั้นใดเป็นผู้ออกกฎหมายก็ออกกฎหมายเพื่อชนชั้นนั้น
2. เงื่อนไขทางเศรษฐกิจนั้นเป็นเช่นใดหรืออีกนัยหนึ่งระบบเศรษฐกิจในขณะนั้นเป็นระบบอะไร
อย่างไรก็ตาม มีข้อน่าสังเกตนักทฤษฎีกฎหมายของรัสเซีย อาทิ P.I. Stucka, Eugene Pashukanis กล่าวยืนยันบทบาทของกฎหมายในฐานะเป็นเครื่องมือปกป้องผลประโยชน์ทางชนชั้นหรือเป็นกลไกเพื่อการข่มขู่บังคับและสร้างความแปลกแยกต่อชีวิตในสังคม ท่าทีและข้อสรุปเช่นนี้ต่อมาถูกเปลี่ยนแปลงพลิกผันไปในยุคสตาลิน (Stalin) ที่หันมาเน้นบทบาทของกฎหมายอย่างเข้มข้นอีกครั้งในทางการเมือง “ในฐานะเป็นเครื่องมือเพื่อการลงโทษหรือถอนรากถอนโคนผู้เป็นปรปักษ์ต่อการปฏิวัติกฎหมาย”
แนวคิดของ มาร์ก ในช่วงแรก ๆ ของการก่อตัว (ค.ศ.1956) กลับถูกต่อต้านคัดค้านอย่างมากจากรัฐสังคมนิยมอีกแห่งหนึ่ง คือ ประเทศจีน ซึ่งยืนยันว่านโยบายของพรรค (มิใช่เจตจำนงของคนทั่วไป) คือ “วิญญาณของกฎหมาย” (Policy is the soul of Law) แนวคิดเกี่ยวกับกฎหมายของจีนยังคงยึดติดกับข้อสรุปเดิม ๆ ของนักทฤษฎีมาร์กซิสต์ที่มองกฎหมายเป็นเพียงเครื่องมือชิ้นหนึ่งที่ไร้คุณค่าศักดิ์ศรีใด ๆ โดยมีการสรรเสริญแซ่ซ้องภาวะการไม่มีกฎหมาย (Law lessness) กันอย่างมาก หลังจาก เหมา เจ๋อ ตุง (ค.ศ.1893 – 1976) ได้เสียชีวิตและการหมดอำนาจของกลุ่มผู้นำ บทบาทของกฎหมายได้รื้อฟื้นขึ้นพิจารณาใหม่ในประเทศจีน ในยุคสมัย เติ้ง เสี่ยวผิง ซึ่งหันมาตระหนักถึงความจำเป็นในการสร้าง “ระบบกฎหมายสังคมนิยมที่มีลักษณะแบบจีน” โดยเริ่มมีความเชื่อว่าระบบกฎหมายเป็นสิ่งหนึ่งซึ่งอาจช่วยปกป้องมิให้เกิดเหตุอันสะพรึงกลัวที่เกิดขึ้นระหว่างการปฏิวัติวัฒนธรรมได้ ตามแนวคิดของมาร์กซิสต์
พัฒนาการทางกฎหมายหรือความผันผวนของการตีความบทบาทของกฎหมายในค่ายสังคมนิยม ที่เริ่มจากภาพลักษณ์ของกฎหมายในเชิงลบและเปลี่ยนมาในเชิงบวกมากขึ้น คือ การยอมรับคุณค่าทางกฎหมายหรือเน้นการรักษาความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามแม้ในทางทฤษฎีจะได้มีการเปลี่ยนแปลงความคิดเกี่ยวกับคุณค่าหรือบทบาทของกฎหมาย แต่ในทางปฏิบัติกลไกบริหารของรัฐสังคมนิยมจะผูกมัดตัวเองกับแนวคิดใน “เชิงหลักนิติธรรมแบบสังคมนิยม” (Socialist Legality) เพียงใด เนื่องจากปัญหาเรื่องความเป็นเผด็จการหรือการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศสังคมนิยม เช่น ประเทศจีน พม่า เป็นต้น ดังมีรายงานละเมิดสิทธิมนุษยชนในรัฐสังคมนิยม จากองค์การนิรโทษกรรมสากล ที่มีการเรียกร้องให้ใช้หลัก “การปกครองแบบนิติรัฐ” (Legal State) กับ “การปกครองแบบนิติธรรม” (The Rule of Law) อยู่ทุกปี
1.2.3 ในสังคมคอมมิวนิสต์ที่สมบูรณ์ กฎหมายในฐานะที่เป็นเครื่องมือของการควบคุมสังคมจะเหือดหาย (Withering away) และสูญสิ้นไป
ประเด็นข้อสรุปนี้ ความจริงเป็นเรื่องของการคาดการณ์ในอนาคตที่มี “แนวความคิดแบบอภิปรัชญาในเชิงศาสนา” อยู่มาก ในแง่ที่คล้ายกับการให้คำมั่นสัญญาหรือการยืนยันต่อภาวะที่คล้ายสมบูรณภาพของสังคมอุดมคติของ มาร์ก ในอนาคต ที่โลกจะอยู่กันอย่างสันติสุข มีแต่ความเป็นภารดรภาพระหว่างมนุษย์ด้วยกันเอง มีแต่ความเสมอภาคกันอย่างแท้จริง จนไม่ต้องมีการปกครองแบ่งแยกระหว่างการเป็นผู้ปกครองและผู้อยู่ใต้ปกครอง ไม่ต้องมีรัฐในลักษณะกลไกของการข่มขู่บังคับให้คนต้องอยู่ในระเบียบและไม่มีกฎหมายที่ออกมาควบคุมสังคม จะทำให้สังคมคอมมิวนิสต์มีความสมบูรณ์ กฎหมายในฐานะที่เป็นเครื่องมือของการควบคุมสังคมจะเหือดหาย (Withering away) และสูญสิ้นไป
มาร์กซิสต์ คือ 在 sittikorn saksang - แนวคิดมาร์ก ซิสต์ : กฎหมายเป็นเสมือนหนึ่ง ... 的推薦與評價
sittikorn saksang. แนวคิดมาร์ก ซิสต์ : กฎหมายเป็นเสมือนหนึ่งเครื่องมือหรืออาวุธ ... ... <看更多>
มาร์กซิสต์ คือ 在 การเผยแพร่แนวคิดมาร์กซิสต์สู่ประเทศอื่นๆ เพื่อคืนความเท่าเทียมให้ ... 的推薦與評價
แนวคิดความเท่าเทียมในทุกชนชั้นของสังคมเป็นอิทธิพลของลัทธิ มาร์กซิสต์ ที่ทรงอิทธิพลผ่านกระบวนการคอมมิวนิสต์ไปยังประเทศเยอรมนีและประเทศอิตาลี ... ... <看更多>