เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เป็นพรหมวิหารสี่
ก่อนไปถึง 'อุเบกขา' อยากชวนคุยถึงคำที่องค์ทะไลลามะพูดบ่อยที่สุดคำหนึ่งนั่นคือ compassion (กรุณา)
ท่านเขียนไว้ในหนังสือ 'Beyond Religion' / 'ข้ามพ้นศาสนา' ในหัวข้อเกี่ยวกับความยุติธรรมอย่างน่าสนใจ ที่นึกถึงองค์ทะไลลามะเพราะท่านคือนักบวชที่ใช้ธรรมะมาคลุกเคล้าเข้ากับสังคมการเมืองและความทุกข์ในชีวิตอยู่เสมอ ในแง่หนึ่งท่านคือผู้ถูกกระทำจากรัฐบาลจีนกระทั่งต้องเดินทางออกจากบ้านตนเอง
ท่านกล่าวว่า ความกรุณาเป็นฐานให้ระบบโลกวิสัยได้ หลายคนมองกรุณาว่าคือให้อภัย อาจขัดแย้งกับหลักความยุติธรรมซึ่งต้องลงโทษผู้กระทำผิด กรุณามากเข้าอาจทำให้ผู้กระทำผิดไม่ได้รับการลงโทษ
องค์ทะไลลามะชี้ว่าอาจเป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อน เพราะ 'ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์' ไม่ได้บอกให้เรายอมจำนนต่อการกระทำผิดของผู้อื่น หรือก้มหน้ารับความอยุติธรรม ความกรุณาไม่สนับสนุนให้เราอ่อนแอหรือยอมตกเป็นเหยื่อ ตรงกันข้าม, มันต้องอาศัยความแข็งแกร่งและกล้าหาญอย่างสูง
ความกรุณาในมุมท่านทะไลลามะจึงสามารถลุกขึ้นต่อต้านความอยุติธรรมอย่างกล้าหาญโดยไม่รุนแรง
เช่นนี้แล้ว เมื่อเกิดความอยุติธรรมขึ้น เช่น คอร์รัปชั่น การบริหารจัดการที่ผิดพลาด การใช้อำนาจในทางที่ผิด การลัดคิวให้ผู้มีอภิสิทธิ์ หรือการกระทำรุนแรงเกินกว่าเหตุโดยไม่ปฏิบัติตามหลักสากล เราสามารถต่อสู้กับความอยุติธรรมนั้นได้ด้วยหัวใจที่มีกรุณา มิใช่ให้อภัยหรือลืมๆ ไป
ในนิยามขององค์ทะไลลามะ การต่อสู้ด้วยกรุณาคือเน้นไปที่ 'การกระทำ' พยายามเปลี่ยนการกระทำชั่วของผู้กระทำให้กลายเป็นสิ่งถูกต้อง
ธรรมะจึงคลุกเคล้าอยู่กับชีวิต
เปื้อนดิน เปื้อนฝุ่น เจ็บปวด รู้สึกรู้สากับบาดแผล สะเทือนใจกับน้ำตา สั่นสะเทือนกับความตายและการสูญเสีย
...
เช่นนี้แล้ว อุเบกขาคืออะไร
หนังสือเล่มนี้ไม่ได้เขียนไว้
แต่ถ้าคนมีธรรมะจะลุกขึ้นสู้กับความอยุติธรรมอย่างมีกรุณา ก็น่าจะสู้อย่างมีอุเบกขาได้เหมือนกัน อาจคล้ายกับคำพระที่บอกว่า 'รู้-แต่ไม่รู้สึก' ซึ่งปุถุชนไม่ใช่จะเป็นแบบนั้นได้ง่ายๆ (ผมนี่รู้สึกอยู่ตลอด)
นั่นคือต่อสู้กับความอยุติธรรมโดยไม่ให้กระทบใจตัวเอง แน่นอนว่าไม่ใช่การวางเฉย หรือไม่เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้ง ส่วนตัวแล้วคิดว่าสามารถเข้าไปร่วมขัดแย้งได้ ในเมื่อขัดแย้งกับความไม่ถูกต้อง แต่ไม่ปล่อยให้ความรู้สึกนั้นก่อให้เกิดเจตนาร้ายต่ออีกฝ่าย เช่น ทำร้ายร่างกายหรือฆ่าฟัน (อันนี้ใช่ว่าทุกคนจะทำได้)
ดังที่องค์ทะไลลามะและผู้ติดตามท่านไม่เคยยอมรับการยึดครองอธิปไตยทิเบตของจีน เห็นเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง กระนั้นก็ต่อสู้ด้วยหัวใจของนักปฏิบัติภาวนา
...
ที่พูดมามิใช่ว่าทำได้ ตรงกันข้าม, ทำไม่ได้เลยต่างหาก ยังโกรธเกรี้ยว หงุดหงิด บางทีก็ไม่มีกรุณา และบางคราก็ประสงค์ร้าย (ไม่สิ ไม่ควร) แต่แค่อยากหารือกับมิตรสหายว่า ธรรมะอย่างพรหมวิหารสี่นั้นสามารถนำมาปรับใช้เพื่อต่อสู้กับความอยุติธรรมและการใช้อำนาจในทางที่ผิดได้โดยไม่ลอยอยู่เหนือโลก
หากเราตีความว่า 'เมตตา' คือปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข 'กรุณา' คือปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ธรรมสองข้อนี้น่าจะทำให้หัวใจของเราสั่นไหวเมื่อเห็นคนถูกเอารัดเอาเปรียบ ถูกกระทำ ถูกกระสุนยาง แก๊สน้ำตา ถูกแย่งวัคซีน หรือสูญเสียญาติมิตรในชีวิต
หัวใจที่สั่นไหวต่อความทุกข์ของเพื่อนร่วมสังคม น่าจะเป็นหัวใจที่มีเมตตากรุณา ใช้หัวใจนั้นต่อสู้เพื่อความถูกต้องอย่างมีอุเบกขา (ไม่ให้ความรู้สึกมาสร้างอารมณ์รุนแรงในใจ--แน่นอนว่าโคตรยาก) เพื่อสังคมที่เราอยากเห็น
สังคมที่เท่าเทียมน่าจะมีฐานของ 'มุทิตา' อยู่ในนั้น คือยินดีเมื่อเห็นผู้อื่นมีชีวิตที่ดี อาจปรับมาใช้กับแนวคิดของการอยากเห็นผู้คนในสังคมมีสวัสดิการชีวิตที่ดี เกิดรัฐสวัสดิการขึ้น เพราะรู้สึกดีที่คนจนคนด้อยโอกาสมีมาตรฐานในการเรียนการรักษาพยายาลและโอกาสต่างๆ ดีขึ้น--เช่นนี้คือมุทิตาจิตใช่หรือไม่
...
พรหมวิหารสี่ คือ ที่อยู่ของพรหม
นั่นคือที่ที่ได้ดำรงชีวิตอย่างประเสริฐต่อตัวเองและผู้อื่น
จะว่าไปมันอาจหมายถึงสังคมที่ดี มีความเป็นธรรม มีความเท่าเทียม ไม่กระทำรุนแรงต่อประชาชน ไม่ใช้อำนาจในทางที่ผิด ไม่เขียนกฎหมายเข้าข้างตัวเอง ไม่เอาเปรียบเสียงจากประชาชนโดยมีอีก 250 เสียงตุนไว้ ก่อให้เกิดบ้านเมืองที่อยู่กันได้อย่างสันติ ยุติธรรม เคารพและให้เกียรติให้ความแตกต่างหลากหลาย เกื้อกูลให้คนด้อยโอกาสมีโอกาสเสมอหน้ากัน
ไม่แน่ใจว่า ที่กล่าวมาทั้งหมดตีความถูกต้องหรือไม่ แต่อยากโยนความคิดลงไปเพื่อหารือกัน และคิดว่าถ้าเราสามารถนำธรรมะมาปรับใช้กับสังคมได้โดยไม่ละเลยความทุกข์ยากของผู้คนและสิ่งบิดเบี้ยวที่เกิดขึ้นในสังคม ธรรมะนั้นก็น่าจะใกล้ชิดกับชีวิตจริง
จึงแอบหวังให้ 'อุเบกขา' มาพร้อม 'เมตตา กรุณา และมุทิตา' ด้วย
「ยุติธรรม คือ」的推薦目錄:
- 關於ยุติธรรม คือ 在 Roundfinger Facebook 的最佳解答
- 關於ยุติธรรม คือ 在 Facebook 的最佳解答
- 關於ยุติธรรม คือ 在 Facebook 的最讚貼文
- 關於ยุติธรรม คือ 在 อริสโตเติล กล่าวไว้ว่า “ความยุติธรรมเกิดขึ้น” เมื่อคนที่เท่าเทียมกันได้ ... 的評價
- 關於ยุติธรรม คือ 在 ความยุติธรรมคืออะไร สมภาร พรมทา - YouTube 的評價
- 關於ยุติธรรม คือ 在 ความยุติธรรมไม่มีอยู่จริง ? | ป๋าเต็ดทอล์ก 的評價
- 關於ยุติธรรม คือ 在 ความยุติธรรมที่ไม่เท่ากัน ? | Big Story เรื่องใหญ่ Thai PBS - YouTube 的評價
ยุติธรรม คือ 在 Facebook 的最佳解答
ทางออกที่ยังพอมีแสง คือ ละอัตตา แล้วเปลี่ยนแปลง ด้วยธรรม เพราะ ยุติธรรม และคุณธรรมเท่านั้น จะคุ้มครอง พิทักษ์รักษา เป็นหลักในความถูกต้องดีงาม และที่สุด คือ กฏแห่งกรรม ที่จะไม่ละเว้น แก่ใครผู้ใด ใครทำกรรมใดๆไว้ ทั้งเปิดเผยและซ่อนเร้น ในไม่ช้าไม่นานนี้ ผลแห่งกรรม จะส่งผลชัดเจนที่สุด
"ระยะทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์คน" เป็นจริงเสมอ
ลักษณ์ ราชสีห์
ติดตามเรื่องดวงเมืองกับการระบาดของโควิด 19 ในโพสต์ต่อไป ตอนนี้เลยครับ
ยุติธรรม คือ 在 Facebook 的最讚貼文
รวยกว่า สุขกว่า จริงหรือ
GDP ถอยไป SPI มาแล้ว
อ่านบทความเต็ม
https://bit.ly/35HcrJh
ฟังคลิป #Human_Talk #ThinkingRadio
https://youtu.be/7TyTzstKXQo
กว่า 80 ปีที่โลกทั้งใบ ถูกชี้ชะตาด้วยตัวเลขมหัศจรรย์ GDP ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ มูลค่าตลาดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตในประเทศในแต่ละปี โดยไม่คำนึงว่าผลผลิตนั้นจะผลิตขึ้นมาด้วยทรัพยากรของชาติใด GDP ถูกคิดค้นโดย Simon Kuznets นักเศรษฐศาสตร์ชาวรัสเซีย เพื่อเป็นตัวชี้วัดการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ไม่สามารถชี้วัดคุณภาพชีวิตที่แท้จริงได้
โดยเฉพาะเศรษฐกิจไทยในปี 2020 ที่ผ่านมาถดถอยอย่างแรง -6.1% ต่ำที่สุดในรอบ 22 ปี ในขณะที่ปี 2021 นี้ สภาพัฒน์ประเมินว่าจีดีพีจะโตสูงสุดแค่ 3.5% แต่ผ่านไปไม่กี่เดือน หลายองค์กรก็มีการปรับลดลงมาเรียบร้อยจากผลกระทบของโควิดละลอกสาม ทำให้มีกระแสความไม่พอใจพอสมควร แต่สิ่งสำคัญที่คนไม่เข้าใจก็คือ จีดีพีต้องนำมาเทียบกับมาตรฐานค่าครองชีพของคนในประเทศนั้นจึงจะทำให้เห็นภาพของอำนาจการซื้ออย่างแท้จริง อย่างเช่นประเทศไทย แม้จีดีพีจะติดลบหรือเติบโตน้อยมาก แต่เมื่อเทียบกับมาตรฐานค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ ก็ถือว่าเป็นประเทศที่น่าอยู่มากที่สุดประเทศหนึ่งอันดับต้นๆ ของโลกทีเดียว
เพื่อแก้ไขปัญหาการเติบโตทางเศรษฐกิจแต่ละเลยมิติอื่นของสังคม เช่น การสูญเสียและทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ภาวะโลกร้อน ฝุ่นพิษ คุณภาพชีวิตของประชาชน องค์การสหประชาชาติจึงได้ประกาศดัชนีชี้วัดความก้าวหน้าทางสังคมแบบใหม่ออกมา ตั้งแต่ปี 2015 หรือ พ.ศ. 2558 โดยได้ขอมติจากประเทศสมาชิกทั่วโลกร่วมมือกัน มีระยะเวลาเหลืออีกแค่ 10 ปี จนถึงปี 2030
ดัชนีความก้าวหน้าทางสังคม (Social Progress Index – SPI) เป็นมาตรวัดที่สะท้อนความก้าวหน้าทางสังคมที่แยกเด็ดขาดจากความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ผลคะแนนมาจากตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อมและด้านสังคม ซึ่งครอบคลุมความก้าวหน้าทางสังคมครบทั้ง 3 มิติ ได้แก่ 1) ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ (Basic Human Needs) 2) พื้นฐานของการอยู่ดีมีสุข (Foundations of Wellbeing) และ 3) โอกาส (Opportunity) ดำเนินการโดย Social Progress Imperative ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรตั้งอยู่ในสหรัฐอเมริกา โดยได้รับการสนับสนุนจากดีลอยท์ มูลนิธิ Skoll และได้รับความร่วมมือจาก ไมเคิล อี. พอร์เตอร์ แห่งโรงเรียนธุรกิจ มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด
ดัชนีดังกล่าวนี้เป็นการสำรวจทุกประเทศทั่วโลกใน 3 มิติ
1. ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ (Basic Human Needs) เช่น อาหาร น้ำ ที่อยู่อาศัย ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
2. โครงสร้างพื้นฐานเพื่อความเป็นอยู่ที่ดี (Foundations of Well-Beings) เช่น การเข้าถึงการศึกษา ข้อมูลข่าวสาร สุขภาพและสิ่งแวดล้อม
3. โอกาสทางสังคม(Opportunities) สิทธิทางการเมืองและการแสดงออก สิทธิในการนับถือศาสนาและเลือกทางเดินชีวิต การยอมรับความแตกต่างทางเพศ เชื้อชาติ ศาสนา ระบบความคุ้มครองทางสังคม และความก้าวหน้าทางการศึกษาในระดับอุดมศึกษาขึ้นไป
UN SDG Goal 2030 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ข้อ ได้แก่
1: ขจัดความยากจน
2: ขจัดความหิวโหย
3: การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
4: การศึกษาที่เท่าเทียม
5: ความเท่าเทียมทางเพศ
6: การจัดการน้ำและสุขาภิบาล
7: พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้
8: การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
9: อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน
10: ลดความเหลื่อมล้ำ
11: เมืองและถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน
12: แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน
13: การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
14: การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล
15: การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก
16: สังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก
17: ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ทั้งนี้ การจัดอันดับ SPI (Social Progress Index) ในปี 2563 ที่ผ่านมา ประเทศไทยจัดอยู่ในลำดับที่ 79 ของโลกจากที่สำรวจทั้งหมด 163 ประเทศ ได้คะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 70.72 ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นจาก 67.47 ในปีที่ผ่านมา เมื่อเปรียบเทียบกับเพื่อนบ้านในอาเซียน เราตามหลังสิงคโปร์ (ลำดับที่ 29) และมาเลเซีย (ลำดับที่ 48) แต่นำหน้าอินโดนีเซีย (ลำดับที่ 84) เวียดนาม (ลำดับที่ 88) ฟิลิปปินส์ (ลำดับที่ 98) กัมพูชา (ลำดับที่ 118) เมียนมาร์ (ลำดับที่ 120) และ ลาว (ลำดับที่ 133) ส่วนประเทศที่มีความก้าวหน้าทางสังคมในระดับสูงสุดของโลก 5 ประเทศแรกเรียงตามลำดับ ได้แก่ นอร์เวย์ เดนมาร์ก ฟินแลนด์ นิวซีแลนด์ และสวีเดน
เมื่อวิคราะห์องค์ประกอบด้านต่างๆ ที่ประเทศไทยทำคะแนนได้ดี 5 ลำดับแรกตามลำดับ ได้แก่ ด้านที่อยู่อาศัย (Shelter) โภชนาการและการแพทย์ขั้นพื้นฐาน (Nutrition and Basic Medical Care) น้ำและสุขาภิบาล (Water and Sanitation) การเข้าถึงความรู้ขั้นพื้นฐาน (Access to Basic Knowledge) และคุณภาพสิ่งแวดล้อม (Environmental Quality) อย่างไรก็ตาม องค์ประกอบที่ได้คะแนนน้อยและอาจจะต้องพิจารณาปรับปรุงต่อไป ได้แก่ ความครอบคลุมและการมีส่วนร่วม (Inclusiveness) สิทธิส่วนบุคคล (Personal Rights) ความปลอดภัยของบุคคล (Personal Safety) ทางเลือกและเสรีภาพส่วนบุคคล (Personal Freedom and Choice) และ การเข้าถึงการศึกษาขั้นสูง (Access to Advanced Education)
สิ่งที่น่าภาคภูมิใจ คือ ประเทศไทยเรามีความได้เปรียบในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก เพราะเราได้น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พระราชทานตั้งแต่พ.ศ.2542 โดยนำหลักการ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน บนพื้นฐานความรู้คู่คุณธรรม มาประยุกต์ใช้ ซึ่งไม่เพียงเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย แต่เป็นประโยชน์ต่อสังคมโลกด้วย
รางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ (อังกฤษ: UNDP Human Development Lifetime Achievement Award) เป็นรางวัลเกียรติยศด้านการพัฒนาของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ โดยจะมอบแก่ National Human Development Report ที่มีผลงานดีเด่นทุก 2 ปี ซึ่งแบ่งไว้เป็น 6 ประเภท โดยรางวัลเกียรติยศที่ได้ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เป็นความคิดริเริ่มของสำนักเลขาธิการสหประชาชาติ ซึ่งเป็นกรณีพิเศษที่มอบแก่บุคคลอันเป็นรางวัลประเภท Life-long achievement ที่ริเริ่มขึ้นใหม่ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เป็นพระองค์แรกที่ได้รับรางวัลดังกล่าว[1][2]
ตัวรางวัลเป็นรูปพานทรงกลมทำด้วยเงินบริสุทธิ์ ด้านในของพานขัดมันผิวเรียบ ส่วนด้านนอกผิวมีลักษณะเป็นคลื่นคล้ายสายน้ำ ตั้งอยู่บนฐานที่ทำจากไม้สัก มีแผ่นป้ายคำจารึกที่ฐานไม้มีข้อความว่า 'To His Majesty King Bhumibol Adulyadej in Recognition of Lifetime Achievement in Human Development May 2006' เพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสที่ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี โดยผู้คัดเลือกรูปแบบของรางวัลตั้งใจให้รางวัลเป็นรูปพานทรงกลม เพื่อสื่อความหมายถึงภาชนะที่สามารถใช้รองรับน้ำได้ เช่นเดียวกับผิวนอกของพาน ทำให้มองคล้ายสายน้ำ เนื่องจากเล็งเห็นว่าพระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ส่วนมากเกี่ยวข้องกับน้ำและการจัดการทรัพยากรน้ำ เป็นประเด็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดประเด็นหนึ่งในการพัฒนา จึงสมควรแก่การยกย่องเฉลิมพระเกียรติในพระปรีชาสามารถในด้านนี้เป็นกรณีพิเศษ
ดังนั้น แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือที่มาและกระบวนการที่จะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้ง 17 ข้อ SEP = SDG (Sufficiency Economy Philosophy = Sustainable Development Goal)
หวังว่า ทุกท่านคงเห็นด้วยว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจ GDP อย่างเดียวนั้นไม่พอ ต้องมองความสมดุลในภาพรวมอย่างที่ในหลวงรัชกาล ที่ 9 ได้ทรงมองครอบคลุมทุกมิติเสมอมา ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ชุมชนและวัฒนธรรม
รวยกว่า จึงไม่ได้หมายความว่า สุขกว่าเสมอไป
ยุติธรรม คือ 在 ความยุติธรรมคืออะไร สมภาร พรมทา - YouTube 的推薦與評價
เจ้าของ : ศูนย์ศึกษาพุทธปรัชญา มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ผู้บรรยาย : ศาสตราจารย์ ดร. สมภาร พรมทา บรรยายแก่ : นิสิตปริญญาโทและเอก สาขาปรัชญา ... ... <看更多>
ยุติธรรม คือ 在 ความยุติธรรมไม่มีอยู่จริง ? | ป๋าเต็ดทอล์ก 的推薦與評價
สำหรับคุณ ความยุติธรรมมีอยู่จริงรึเปล่า ? คุณ OHM Cocktail เคยพูดถึงเรื่องนี้ ... ความยุติธรรม Justice ... ความ ยุติธรรมคือ อะไร? สิ่งใดถูกต้องและควรทำ? ... <看更多>
ยุติธรรม คือ 在 อริสโตเติล กล่าวไว้ว่า “ความยุติธรรมเกิดขึ้น” เมื่อคนที่เท่าเทียมกันได้ ... 的推薦與評價
ย์ตามหลักเกณฑ์ซึ่งสังคมยอมรับนับถือโดยปราศจากความ ลำเอียงคือความยุติธรรม หรืออีกนัยหนึ่งความยุติธรรมคือการใช้กฎเกณฑ์โดยปราศจา กความลำเอียง มิใช่กระทำตามอำเภอใจ ทั้งนี้โดยมี ซิ ... ... <看更多>