ขอย้ำแบบนี้นะครับ “ผู้นำโง่ เราจะตายกันหมดจริงๆ”
ไม่ว่าคุณจะเป็นสลิ่ม จะเกลียดเผด็จการ รักประชาธิปไตย
เป็นลูกชุบ เป็นคนที่ไม่ตามการเมืองเพราะยังคิดอยู่ว่า
ไม่เกี่ยวอะไรกับฉัน เป็นคนที่เกลียดรัฐบาลแต่ต้องแสดง
ออกว่ายังสนับสนุน เพราะยังได้รับผลประโยชน์จะระบอบ
ประยุทธ์อยู่ทุกเช้าค่ำ …เรากำลังจะตายกันหมดครับ
#ตาย1 คือ เดินหน้าสู่ทุกหายนะที่ประเทศนึงจะเผชิญ
#คนจน กำลังอดตาย และบดขยี้ให้แหลกละเอียดจากบรรดา
มาตรการรัฐที่มองไม่เห็นคนเล็กคนน้อยในสังคม
#ชนชั้นกลาง กำลังตกงาน เงินเก็บหาย และกำลังสูญเสียทุก
อย่างที่กำลังสร้าง เพราะคิดมาตลอดว่าความขยันและ
ศักยภาพ จะพาเราไปสู่ความปัง ความสำเร็จในชีวิต
มันหมดไปแล้ว ความฝัน ความหวัง อนาคต
#คนรวย กำลังรวยน้อยลง สูญเสียโอกาสมหาศาล จากการ
บริหารงานในภาพใหญ่ของนโยบาย ที่มันเอื้อให้กับบาง
ธุรกิจยักษ์เท่านั้น และนโยบายรัฐที่ #ไม่เห็นหัวประชาชน ซึ่ง
มันทำให้คนจนเพิ่ม เพิ่มหนักมากกกกกก จนการบริโภคใน
ประเทศมันไม่มี เศรษฐกิจไม่ฟูจากคนชั้นล่าง สุดท้ายเงินที่จะ
ไหลเข้ากระเป๋าคนรวยมันก็หดหายไปตามกัน
ยังไม่นับเรื่องสติปัญญาของรัฐบาลในการพัฒนาคุณภาพ
#การศึกษา ที่มันเลวร้ายลงเรื่อยๆ การศึกษาที่ควรจะทำให้
คนในประเทศมีคุณภาพ กลายเป็นเครื่องมือที่ผุพัง ด้อย
พัฒนา และทำอะไรไม่ได้เลย
ไหนจะการผลักดันเทคโนโลยีนวัตกรรม ความสามารถของ
ท้องถิ่น เสรีภาพของประชาชนและสื่อ คุณภาพของสิ่งแวด
ล้อม พลังงานทางเลือก การใช้งบประมาณ ที่ไปของเงิน
ภาษี ระบบคมนาคมขนส่งสาธารณะ …และอื่นๆอีกนับไม่ถ้วน
ส่วน #ตาย2 คือการตายจากโลกนี้ไปจริงๆ
ตายเพราะได้เตียงไม่ทัน
ตายเพราะได้วัคซีนไม่ทัน
ตายเพราะเส้นไม่ใหญ่พอ
#บุคลากรทางการแพทย์ รุ่นใหม่และคนหน้างานถูกกดขี่
จากระบบอุปถัมภ์ ไม่มีปากมีเสียง ทำงานหนักแต่ผลตอบ
แทนไม่สมกับความเสี่ยง ขณะที่แพทย์มากมาย ได้ดิบได้ดี
จากการเลียนายที่มีอำนาจ และ #ทิ้งคนไข้มาไล่อีปู
ทั้งๆที่ในวันที่คนในสังกัดของคุณลำบาก ไม่มีหรอก
ออกมาไล่รัฐบาล
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่อาศัยอยู่ในประเทศนี้ จ่ายภาษีให้กับ
ประเทศนี้ คุณคือคนที่ได้รับผลกระทบจากการบริหารห่วยๆ
ของรัฐบาลประยุทธ์ #ไม่ว่าคุณจะยอมรับหรือไม่ก็ตาม
เราจะหยุดพยายามโน้มน้าวให้ใครก็ตาม #ตาสว่าง เพราะ
มันไม่จำเป็น เรากำลังอยู่ในหายนะที่เกินเยียวยา หากใคร
จะเลือกบูชาการปกครองและการบริหารแบบนี้ต่อไป ขอให้
รู้ไว้ว่า คุณคือหนึ่งฟันเฟืองที่กำลังผลักประเทศไทยลงเหว
ใครจะบอกว่าทำไมด่าแต่รัฐบาลทหาร จงกลับไปอ่านทั้ง
หมดใหม่ เพราะการไม่ต่อต้าน รบ.ที่มีที่มาไม่ชอบธรรม
คือสิ่งที่ ‘ผิดเต็มๆ’ ผิดแบบไม่ต้อง คิด วิเคราะห์ แยกแยะ
#คนชังชาติ คือคนที่ยืนอยู่เฉยๆ ไม่ก็สนับสนุนความวิปริต
แบบนี้ที่กำลังเกิดขึ้น ขณะที่คนที่ถูกชี้หน้าว่า #พวกชังชาติ
พวกเขากำลังทำทุกอย่างให้ชาติ ไม่ลงสู่หายนะไปมากกว่านี้
ทุกนาทีที่เราปล่อยให้รัฐบาลนี้บริหารต่อไป #นิวโลว์
หรือ #ความต่ำตมใหม่ #ต่ำตมกว่าเดิม ก็จะมีให้เห็นทุกวัน
ทุกครั้งที่ #มีคนตาย เราก็จะได้ยินได้เห็น #ชูสองนิ้ว และการ
#หัวเราะคิกคัก ของผู้นำประเทศแบบไร้สามัญสำนึกต่อไป
ธุรกิจจะต้องอดตาย และปิดตาย จนระบบเศรษฐกิจมันย่อยยับ และคนที่ #เชิญประยุทธ์เข้ามา จงจำใส่สมองไว้
เลยว่า คุณคือสาเหตุของความฉิบหายนี้
ซึ่ง ‘เรา’ จะลงนรกไปด้วยกัน
“เพราะพวกคุณ”
สุดท้าย…
หยุดเรียกร้องให้สื่อ #เป็นกลาง เพราะในสถานการณ์ของ
ความ #อยุติธรรม และ #ไร้ความชอบธรรม การบอกว่าตัว
เองเป็นกลาง แปลว่าคุณเลือกแล้วที่จะไม่อยู่อยู่ข้าง #ประชาธิปไตย สื่อไม่เลือกข้างไม่มี สื่อต้องเลือกข้าง
และต้องเลือก #ข้างประชาชน เท่านั้น
และเลิกอ้างเรื่อง #ความเห็นต่าง เพราะมันคือฟังก์ชันที่มี
อยู่ใน #ระบอบประชาธิปไตย เท่านั้น อย่ามโนเอาไปใช้
ถ้าจิตใจไม่ได้อยู่ในระบอบประชาธิปไตย จำไว้
“เราจะตายกันหมด ถ้าทนอยู่แบบนี้ แต่เราจะรอดกันหมด
ถ้ารัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง ยึดโยงกับประชาชน ทำเพื่อ
ประชาชนผู้เสียภาษีเป็นเงินเดือน ‘ทุกบาท’ ให้มาทำงาน
ให้เรา”
#ผนงรจตกม
#ล็อกดาวน์กรุงเทพ
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過157萬的網紅Carabao Official,也在其Youtube影片中提到,ประชาธิปไตย ที่แท้มีหน้าตาเป็นอย่างไรสามารถช่วยเหลือประชาชนจากความยากจน หรือปัญหาได้รึเปล่า? เนื้อเพลง ประชาธิปไตย ธิปไตย เอ๋ย หน้าตาเจ้าเป็นยังไง ยั...
「ระบอบประชาธิปไตย」的推薦目錄:
- 關於ระบอบประชาธิปไตย 在 Facebook 的最佳貼文
- 關於ระบอบประชาธิปไตย 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
- 關於ระบอบประชาธิปไตย 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
- 關於ระบอบประชาธิปไตย 在 Carabao Official Youtube 的最佳貼文
- 關於ระบอบประชาธิปไตย 在 ความรู้ทางการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา ... 的評價
- 關於ระบอบประชาธิปไตย 在 Prd-Phetchaburi Province - หน้าที่ของประชาชนในระบอบ ... 的評價
ระบอบประชาธิปไตย 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
“รูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตย"
ระบอบประชาธิปไตย (Democracy) หมายถึง การปกครองของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน ดังนั้นอำนาจในการปกครองของรัฐบาล (ผู้ปกครองที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ) ที่มาจากการเลือกตั้งหรือการแต่งตั้งทางตรงหรือทางอ้อมจากประชาชนและมีอำนาจจำกัดเพียงเท่าที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
รูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตย
อาจแบ่งได้ 3 รูปแบบ คือ ประชาธิปไตยทางตรง ประชาธิปไตยทางผู้แทน และประชาธิปไตยทางตรงกับทางผู้แทนผสมผสานกัน ซึ่งเรียกว่า "ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมของประชาชนหรือประชาธิปไตยแบบกึ่งทางตรง” ดังนี้
1.การปกครองระบอบประชาธิปไตยทางตรง
การปกครองระบอบประชาธิปไตยทางตรง (Direct Democracy) เป็นระบอบการปกครองที่ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจในปัญหาต่างๆของตนทุกเรื่อง ขอบเขตของการมีส่วนร่วมของประชาชน ในกรณีนี้จึงมีอำนาจอธิปไตยของแต่คนครบ 100 เปอร์เซ็นต์ เป็นระบอบการปกครองที่เหมาะสมสำหรับชุมชนเล็กๆที่มีประชาชนไม่มากและปัญหาหรือเรื่องที่จะตัดสินใจไม่ยุ่งยาก จะเห็นได้ว่าการใช้อำนาจอธิปไตยรูปแบบนี้เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยกรีกโบราณ เมื่อประมาณ 500 ปีก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งในสมัยดังกล่าวประชาชนมีจำนวนน้อย สามารถที่จะเรียกประชุมหรือนัดหมายกันได้ง่าย เพื่อออกความเห็นหรือตัดสินปัญหาต่างๆ เช่น ปัญหาเกี่ยวกับการปกครองประเทศหรือรัฐ ปัญหาเกี่ยวกับการออกกฎหมายสำคัญๆ หรือแม้แต่การเลือกตั้งบุคคลสำคัญของรัฐ
ดังนั้นการเรียกประชุมนัดหมายประชาชนจึงกระทำได้ง่าย แต่ในปัจจุบันประชาชนพลเมืองมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และการปกครองการบริหารราชการแผ่นดินมีความสลับซับซ้อนมากขึ้นยากแก่การให้ประชาชนทั้งหลายมาประชุมรวมกันได้เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ
ในปัจจุบันการใช้อำนาจอธิปไตยโดยตรงนี้ยังใช้อยู่ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ สำหรับบางมลรัฐ ที่เรียกว่า “Canton”มีอยู่ 3 มลรัฐ กล่าวคือ 1 ปี ประชาชนก็มาประชุมกันพิจารณาออกกฎหมายหรือจัดระเบียบภาษีอากร เสร็จแล้วก็เป็นหน้าที่กรรมการของมลรัฐที่จะทำงานต่อไปตามนั้นหรือในประเทศลิกเตนสไตล์เป็นรัฐเล็กๆ ในยุโรปที่มีประชากรประมาณ 36,000 คน เป็นต้น
ข้อสังเกต การใช้อำนาจอธิปไตยโดยตรงนี้จะใช้ได้ผลดีเฉพาะในท้องที่ที่มีพลเมืองน้อยและมีความเจริญในทางจิตใจใกล้เคียงกัน แต่ถ้าท้องที่ใดมีพลเมืองมากก็ย่อมเป็นการยากที่จะใช้วิธีนี้มาประชุมออกเสียงจัดทำกฎหมายไjด้ ด้วยเหตุนี้ประเทศต่างๆจึงไม่นิยมใช้การอำนาจอธิปไตยทางตรงและหันมาใช้อำนาจอธิปไตยทางผู้แทนมาใช้ในการปกครองประเทศ
2.การปกครองระบอบประชาธิปไตยทางผู้แทน
การปกครองระบอบประชาธิปไตยทางผู้แทน (Representative Democracy) เป็นระบอบการปกครองที่เปิดโอกาสให้ประชาชนเลือกผู้แทนหรือตัวแทนเป็นผู้ตัดสินใจและแก้ปัญหาแทนตน การปกครองในระบอบประชาธิปไตยโดยอ้อมเหมาะสมสำหรับชุมชนขนาดใหญ่มีประชากรมาก ปัญหาที่จะแก้ไขหรือเรื่องที่จะตัดสินใจก็มีความยุ่งยากสลับซับซ้อนมาก จึงจำเป็นต้องเลือกตัวแทนเพื่อทำหน้าที่แทนตน โดยประชาชนไม่มีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจที่จะส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของตน ประชาชนมีสิทธิเลือกตัวแทนเท่านั้น
จุดอ่อนสำคัญของประชาธิปไตยโดยอ้อม ก็คือ ไม่มีหลักประกันว่าการตัดสินใจของตัวแทนจะสนองตอบต่อปัญหาและความต้องการของประชาชน เนื่องจากเห็นว่ามีผู้แทนซึ่งจะทำหน้าที่แทนตนอยู่แล้ว เมื่อขาดการติดตามและตรวจสอบจากประชาชน ผลที่ตามมาก็คือ ผู้ปกครองและผู้บริหารซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนมีแนวโน้มที่จะปกครองและบริหาร โดยคำนึงถึงประโยชน์ของตนเองและพวกพ้องมากกว่าผลประโยชน์ของประชาชน
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า สาระสำคัญของการใช้อำนาจอธิปไตยโดยอ้อมหรือโดยทางผู้แทน คือ อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน (Popular Sovereignty) แต่ประชาชนไม่สามารถใช้สิทธิทางการเมืองได้โดยตรง จึงมีการมอบอำนาจให้กับตัวแทนประชาชน ซึ่งลักษณะสำคัญของการปกครองโดยทางผู้แทน คือ
1) ประชาชนมอบอำนาจอธิปไตยของตนให้ตัวแทนไปใช้แทนตน
2) การมอบอำนาจอธิปไตยต้องผ่านกระบวนการเลือกตั้ง (Election) ภายใต้ระบบการแข่งขัน (Competition)
3) ตัวแทนของประชาชนมีอำนาจจำกัดตามที่กฎหมาย (รัฐธรรมนูญ) กำหนดไว้เท่านั้น
4) เป็นการมอบอำนาจให้กับผู้แทนอย่างมีเงื่อนไข หากผู้แทนใช้อำนาจนอกขอบเขตของกฎหมาย ใช้อำนาจโดยพลการหรือโดยบิดเบือนเพื่อประโยชน์ส่วนตัว ประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตยย่อมเรียกคืนได้
แต่อย่างไรก็ตามการใช้อำนาจอธิปไตยโดยอ้อมหรือผ่านทางผู้แทนกลับพบข้อบกพร่องและจุดอ่อนอยู่หลายประการ ทำให้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลขาดความเชื่อมั่นศรัทธาจากประชาชน ทำให้ประชาชนเกิดความเบื่อหน่ายกับการเมือง จึงได้มีแนวคิดการใช้อำนาจอธิปไตยกึ่งทางตรงหรือประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมขึ้นมา กล่าวคือ ผสมผสานระหว่างประชาธิปไตยทางตรงกับประชาธิปไตยทางผู้แทนขึ้นมาเพื่อแก้ไขความบกพร่องระบอบประชาธิปไตยทางผู้แทน
3. การปกครองระบอบประชาธิปไตยกึ่งโดยตรง
การปกครองระบอบประชาธิปไตยกึ่งโดยตรงของประชาชน (semi-Direct Democracy) หรือเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยของประชาชนแบบมีส่วนร่วม (Participatory Democracy) ซึ่งเป็นการใช้อำนาจอธิปไตยในรูปแบบผสม รูปแบบนี้มีหลักการใช้อำนาจอธิปไตยของประชาชนโดยอ้อมหรือทางผู้แทนและอำนาจอธิปไตยของประชาชนโดยตรง เข้ามาใช้รวมกัน โดยประชาชนยังสงวนสิทธิที่จะใช้ อำนาจอธิปไตยทางตรงในบางเรื่อง แต่ส่วนใหญ่แล้วประชาชนได้มอบหมายให้ตัวแทนเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยแทนตน กล่าวคือ การใช้อำนาจอธิปไตยรูปแบบนี้เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ดังนั้นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งนั้นจะเป็นผู้ใช้สิทธิอำนาจอธิปไตยแทนประชาชนในการบริหารปกครองประเทศโดยการจัดตั้งรัฐบาล หรือแม้แต่การตรากฎหมาย แต่ในขณะเดียวกัน นอกจากจะให้ประชาชนใช้อำนาจอธิปไตยทางอ้อม โดยเลือกผู้แทนเข้าไปทำหน้าที่แทนตนแล้ว ยังเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางการเมือง และเรื่องสำคัญอื่นๆโดยการใช้อำนาจอธิปไตยได้โดยตรง เช่น การให้ประชาชนใช้สิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมายเข้าสู่สภา สิทธิในการออกเสียงประชามติหรือแม้แต่การให้สิทธิประชาชนเข้าชื่อถอดถอนตำแหน่งสำคัญของผู้บริหารหรือผู้ปกครองประเทศ เป็นต้น
ดังนั้นเห็นได้ว่าการใช้อำนาจอธิปไตยของประชาชนแบบมีส่วนร่วมหรือแบบผสมระหว่างประชาธิปไตยทางตรงกับประชาธิปไตยทางอ้อมเข้าด้วยกันหรืออาจเรียกว่า “การใช้อำนาจอธิปไตยกึ่งทางตรง” เพื่อรักษาส่วนแบ่งพื้นที่ทางการเมืองให้ประชาชนได้เข้ามีส่วนร่วมในกรอบที่สามารถรักษาดุลยภาพระหว่างประชาธิปไตยทางตรงกับประชาธิปไตยทางอ้อม และยึดโยงเข้ากันได้กับความเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยของประชาชนด้วย ซึ่งต้องคำนึงถึงความสามารถในการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองและความสามารถในการสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเมืองของประชาชน (Political efficacy) ได้แก่ องค์ประกอบของหลักการในการกระจายอำนาจและการร่วมตัดสินใจทางการเมืองของประชาชนหรือการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าร่วมในกิจกรรมสำคัญในทางการเมือง เป็นต้น
ดังนั้นการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนจึงเป็นรูปแบบที่เหมาะสมในการปกครองประเทศในปัจจุบัน ส่วนประชาธิปไตยทางตรงนั้นเป็นตัวเสริมหรือสนับสนุนการมีประชาธิปไตยทางอ้อมหรือทางผู้แทน ซึ่งเรียกว่า “ประชาธิปไตยแบบกึ่งทางตรงหรือประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม” อันเป็นการผสมผสานแนวความคิดของทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนกับอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติเข้าด้วยกัน ซึ่งสามารถอธิบายได้ดังนี้
1. “แนวคิดทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน” เกี่ยวกับการเลือกตั้งของประชาชนในเลือกตั้งผู้แทน เป็นเรื่องของ “สิทธิ” ที่จะไปเลือกตั้งหรือไม่ไปเลือกตั้งผู้แทน แต่ “แนวคิดตามทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ” เกี่ยวกับการเลือกตั้งของประชาชนในการเลือกตั้งผู้แทนเป็นเรื่องของ “หน้าที่” ที่ต้องไปเลือกตั้งผู้แทน
2. แนวความคิดของทั้ง 2 ทฤษฎีดังกล่าวข้างต้นนั้น เมื่อมองในแง่ปรัชญาทางกฎหมายมหาชนแล้วเห็นได้ว่า ทั้ง 2 ทฤษฎีมีมุมมองที่แตกต่างกันในเรื่องของอำนาจอธิปไตยที่ไปด้วยกันได้ เพราะแนวคิดที่กล่าวว่า ชาตินั้นมีความเป็นหนึ่งเดียวแบ่งแยกไม่ได้ แตกต่างกับแนวคิดที่ว่าประชาชนแต่ละคนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยคนละหนึ่งส่วนโดยสิ้นเชิง รัฐสมัยใหม่ในปัจจุบันจึงให้การยอมรับแนวความคิดผสมผสานทั้ง 2 ทฤษฎีดังกล่าว
ปัจจุบันได้มีการนำแนวความคิดของทั้ง 2 ทฤษฎีมาใช้ร่วมกัน และพยายามที่จะทำให้แนวคิดทั้ง 2 ไปด้วยกันได้อย่างราบรื่น ในหลายๆประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ประชาชน คือ หัวใจในการพยายามที่จะดึงจุดเด่นจุดด้อยของทั้ง 2 ทฤษฎีออกมาเพื่อนำมาปรับปรุงให้มีความสอดคล้องกันของการปกครองในระบอบดังกล่าว ประชาชนซึ่งมีสิทธิและมีเสียงในการปกครองประเทศ เสียงของประชาชนเป็นเสียงสวรรค์ที่ฝ่ายตัวแทนของประชาชน ผู้ปกครองบ้านเมืองต้องฟังเสียงของประชาชน นอกจากนี้ยังรวมถึงกระบวนการเสริมต่างๆที่จะให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองบ้านเมืองโดยตรงด้วย
ดังนั้นจึงนิยามความหมายของประชาธิปไตยแบบกึ่งทางตรงหรือประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมของประชาชน ได้แก่ ระบบการปกครองที่สมาชิกรัฐสภาที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้ตรากฎหมายและลงมติในการบังคับใช้กฎหมาย แต่ในขณะเดียวกันก็มีมาตรการ การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน ในการบริหารกิจการบ้านเมืองในบางเรื่อง เช่น การแสดงประชามติ (Referendum) การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย (Initiative Process) การถอดถอน (Recall) ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและการประชาพิจารณ์ (Public Hearing) เป็นต้น
ระบอบประชาธิปไตย 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
การใช้กฎหมายกฎหมายมหาชน
กฎหมายเป็นข้อบังคับหรือกฎเกณฑ์ควบคุมความประพฤติของมนุษย์ เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยภายในสังคม กฎหมายนั้นไม่ว่าจะมีหลักประกันในการให้ความเป็นธรรมดีเพียงใด การรับรองสิทธิเสรีภาพ และจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนแค่ไหน มีถ้อยคำรัดกุมสวยงามเพียงใดก็ตาม ถ้าไม่มีการใช้บังคับหรือใช้อย่างไม่ถูกต้อง การปรับใช้กฎหมายก็ไม่มีความหมายใด ๆ ในสังคม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องพิจารณาศึกษาถึงการใช้กฎหมายมหาชนให้ถูกต้อง เราสามารถพิจารณาได้ 2 กรณี คือ การปรับใช้กฎหมายในทางทฤษฎี กับ การปรับใช้กฎหมายในทางปฏิบัติ ดังนี้
1.1 การใช้กฎหมายในทางทฤษฎี
การใช้กฎหมายในทางทฤษฎี (Theoretical Application of Law) หมายถึง การที่จะนำกฎหมายมหาชน ไปใช้แก่บุคคล ในเวลา สถานที่ หรือตามเหตุการณ์หรือเงื่อนไข เงื่อนเวลาหนึ่งๆ การใช้กฎหมายในทางทฤษฎีนี้สัมพันธ์กับการจัดทำกฎหมายเป็นส่วนใหญ่ เพราะเมื่อมีการ จัดทำกฎหมายลายลักษณ์อักษรขึ้น ผู้จัดทำกฎหมายมหาชน ()จะต้องถามผู้ประสงค์จะจัดให้มีกฎหมายนั้นขึ้นก่อนเสมอว่ากฎหมายนี้จะใช้กับใคร ที่ไหนเมื่อไรนั้น มีข้อจำกัดในทางทฤษฎีนั้นเองอยู่ ด้วยข้อจำกัดการใช้กฎหมายมหาชนดังกล่าวนี้ เกิดจากหลักการใน “ระบอบประชาธิปไตย” (Democracy) หรือ “หลักสิทธิมนุษยชน” (Human Rights) หรือ “หลักกฎหมายระหว่างประเทศ” (International Law) หรือตาม “หลักนิติรัฐ” (Legal State) และ “หลักนิติธรรม” (The Rule of Law) เป็นต้น ดังนี้
1.1.1 การใช้กฎหมายมหาชนในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคล
หลักในการใช้กฎหมายมหาชนในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคล คือ หลักที่ว่าจะใช้บังคับกับใครบ้าง มีข้อพิจารณา ดังนี้
1.1.1.1 หลักทั่วไปการใช้กฎหมายมหาชนในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคล
โดยหลักทั่วไปกฎหมายใช้ได้กับบุคคลทุกคนที่อยู่ในอาณาจักรของประเทศนั้น ๆ ดังนั้น กฎหมายมหาชนจึงใช้บังคับกับทุกคนโดยไม่มีการยกเว้นไม่ว่าเป็นผู้มีสัญชาติของประเทศนั้นหรือไม่ก็ตาม ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกันการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล เพราะเหตุแห่งความแตกต่าง ในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกายภาพหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมือง อันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญจะกระทำมิได้ มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรค หรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่นย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติ
1.1.1.2 ข้อยกเว้นการใช้กฎหมายมหาชนในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคล
เมื่อพิจารณาศึกษาจะพบว่าประเทศไทยได้วางหลักการบังคับใช้กฎกฎหมายมหาชน (Public law) ที่เกี่ยวกับบุคคลทุกคนที่อยู่ในราชอาณาจักรไทย แต่มีข้อยกเว้นอยู่บ้างในกรณีที่เกิดขึ้นตามกฎหมายภายในหรือยกเว้นตามกฎหมายภายนอก ซึ่งจะได้กล่าวรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ข้อยกเว้นการใช้กฎหมายมหาชนในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลตามกฎหมายมหาชนภายในจะพบว่า อยู่ในกฎหมายที่สำคัญ คือ ยกเว้นตามรัฐธรรมนูญกับข้อยกเว้นตามกฎหมายอื่น ๆ ที่ไม่ใช้บังคับกับบุคคลบางคนดังต่อไปนี้
1) ข้อยกเว้นตามรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายมหาชน เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้ยกเว้นการบังคับใช้กับบุคคลดังต่อไปนี้
(1) พระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้และผู้ใดจะฟ้องร้องหรือกล่าวหาพระมหากษัตริย์ในทางหนึ่งทางใดมิได้เพราะฉะนั้นจึงเกิดหลักสำคัญในประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข คือ หลักที่ว่า “The King can do no wrong” ซึ่งหมายความว่า การกระทำของพระมหากษัตริย์ ไม่เป็นความผิดไม่มีผู้ใดสามารถฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางแพ่งหรือทางอาญา ไม่มีผู้ใดจะวิพากษ์วิจารณ์พระมหากษัตริย์ในทางการเมืองได้
(2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสมาชิกในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรก็ดี ในที่ประชุมวุฒิสภาก็ดี ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาก็ดี สมาชิกผู้ใดกล่าวถ้อยคำใดๆ ในทางแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็น หรือออกเสียงลงคะแนน ย่อมเป็น “เอกสิทธิ์คุ้มครอง” ผู้ใดจะนำไปเป็นเหตุฟ้องร้องว่ากล่าวผู้นั้นในทางใดมิได้เอกสิทธิ์นี้ย่อมคุ้มครองไปถึงผู้พิมพ์และผู้โฆษณารายงานการประชุมตามข้อบังคับของวุฒิสภาหรือสภาผู้แทนราษฎร แล้วแต่กรณีและคุ้มครองไปถึงบุคคลซึ่งประธานในที่ประชุมอนุญาตให้แถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมตลอดจนผู้ดำเนินการถ่ายทอดการประชุมสภาทางวิทยุกระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน์ที่ได้รับอนุญาตจากประธาน แห่งสภานั้นด้วยโดยอนุโลม หากถ้อยคำที่กล่าวในประชุมไปปรากฏนอกบริเวณรัฐสภาและการกล่าวถ้อยคำนั้นมีลักษณะเป็นความผิดทางอาญาหรือละเมิดสิทธิในทางแพ่งต่อบุคคลอื่นซึ่งมิใช่รัฐมนตรีหรือสมาชิกสภาแห่งนั้นย่อมไม่ได้คุ้มครอง
เอกสิทธิ์ดังกล่าวนี้คุ้มครองไปถึงการปฏิบัติงานของคณะกรรมาธิการสามัญและกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อกระทำกิจการพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใดๆเช่น ออกคำสั่งเรียกเอกสารจากบุคคลใดหรือเรียกบุคคลใดมาและลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทำหรือในเรื่องที่พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาอยู่นั้นได้ เป็นต้น เหตุผลที่ให้เอกสิทธิ์ดังกล่าว ก็เพื่อเป็นหลักประกันคุ้มครองแก่บรรดาบุคคลเหล่านั้น ให้สามารถทำหน้าที่ ได้เต็มความสามารถด้วยความสุจริตใจ โดยไม่ต้องเกรงกลัวว่าอาจจะได้รับผลร้ายแก่ตน
2) ข้อยกเว้นตามกฎหมายอื่น ๆ ที่ยกเว้นไม่ใช้บังคับแก่บุคคลบางคน ได้แก่
(1) พระราชกฤษฎีกา ที่ออกตามความแห่งประมวลรัษฎากรซึ่งเป็นหลักกฎหมายมหาชน ยกเว้นภาษีให้องค์การต่าง ๆ เช่น สถานเอกอัคราชฑูต สถานกงศุล องค์การสหประชาชาติ และองค์การผู้จัดหารายได้ อันเป็นสาธารณะประโยชน์ เป็นต้น
(2) กฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 เช่น กฎกระทรวงกำหนดบุคคลซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2548 ยกเว้นการมีบัตรประจำตัวประชาชน ได้แก่ พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้า และพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ผู้มีกานพิการเดินไม่ได้หรือเป็นใบ้หรือตาบอดทั้ง 2 ข้างหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ผู้อยู่ในที่คุมขังโดยชอบด้วยกฎหมาย บุคคลซึ่งกำลังศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศและไม่สามารถยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนได้ เป็นต้น
2. ข้อยกเว้นการใช้กฎหมายมหาชนในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลตามกฎหมายมหาชนภายนอก ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศหรือ เรียกว่า “กฎหมายมหาชนภายนอก” มีการยกเว้นการปรับใช้กฎหมายกับบุคคล ได้แก่ ประมุขของรัฐต่างประเทศ บุคคลในคณะทูตและบริวารที่ติดตามและเจ้าหน้าที่องค์การระหว่างประเทศเป็นไปตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ
1.1.2 การใช้กฎหมายมหาชนในส่วนที่เกี่ยวกับสถานที่
การใช้กฎหมายมหาชนในส่วนที่เกี่ยวกับสถานที่ มีข้อพิจารณา คือ หลักทั่วไปการใช้กฎหมายมหาชนในส่วนที่เกี่ยวกับสถานที่ กับ ข้อยกเว้นการใช้กฎหมายมหาชนในส่วนที่เกี่ยวกับสถานที่ ดังนี้
1.1.2.1 หลักทั่วไปการใช้กฎหมายมหาชนในส่วนที่เกี่ยวกับสถานที่
หลักทั่วไปการใช้กฎหมายมหาชนในส่วนที่เกี่ยวกับสถานที่ต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งอำนาจของรัฐนั่นก็คือ “ดินแดนแห่งรัฐ” หรือ “อาณาจักร” เราเรียกอำนาจนี้ว่า “อำนาจบังคับเหนือดินแดน” หมายถึง อำนาจบังคับเหนือบริเวณหรือสิ่ง ต่าง ๆ ดังนี้
1. อำนาจเหนือแผ่นดินและเกาะต่าง ๆ
2. อำนาจเหนือดินแดนพื้นน้ำภายในเส้นเขตแดนของรัฐ คือ บรรดาน่านน้ำทั้งหมด เช่น อ่าว แม่น้ำ ลำคลอง ห้วยหนอง คลอง บึง เป็นต้น
3. อำนาจเหนือพื้นน้ำ “ทะเลอาณาเขต” (Territorial sea) ของรัฐชายฝั่ง ถือเกณฑ์ความกว้าง 12 ไมล์ทะเลนับจากจุดที่น้ำทะเลลดลงต่ำสุด แต่อีกหลายประเทศมีเกณฑ์ความกว้างของทะเลต่างไปจากนี้ และยังไม่สามารถตกลงกันได้ในเกณฑ์กลางที่จะใช้ร่วมกันทุกประเทศ
อนึ่ง ประเทศต่าง ๆ สามารถออกกฎหมายมาบังคับใช้เหนือน่านน้ำทะเลอาณาเขต แต่มีข้อแตกต่างจากน่านน้ำภายในประเทศอยู่ประการหนึ่ง คือ ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศรัฐต้องยอมให้ผู้อื่นใช้ทะเลอาณาเขตได้อย่างเสรี โดยยึดถือหลักสุจริต แต่สำหรับน่านน้ำภายในนั้นรัฐจะปิดกั้นอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละประเทศ
4. อำนาจในห้วงอากาศ ได้แก่ บริเวณท้องฟ้าที่ยังมีบรรยากาศเหนือดินแดนตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น กล่าวคือ อยู่ในชั้นบรรยากาศที่สูงเกินกว่ารัฐจะใช้อำนาจอธิปไตยของตนตามปกติไปถึงแล้ว ต้องถือเป็นแดนเสรีที่ทุกชาติเป็นเจ้าของหรือมีสิทธิ์ใช้ร่วมกัน
1.1.2.2 ข้อยกเว้นการใช้กฎหมายมหาชนในส่วนที่เกี่ยวกับสถานที่
เมื่อพิจารณาศึกษาถึงการใช้กฎหมายเกี่ยวกับสถานที่ หลัก คือ ต้องใช้บังคับทั่วอาณาจักร แต่ในบางกรณีกรณีได้ยกเว้นการบังคับใช้ ด้งนี้
1.ข้อยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายมหาชนในบางพื้นที่เพื่อความมั่นคงของประเทศ เช่น ในกรณีของประเทศไทย การประกาศใช้บังคับพระราชกำหนดพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 กล่าวคือ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร โดยระบุว่า โดยที่ปรากฏว่ามีบุคคลหลายกลุ่มได้เชิญชวน ปลุกระดม และดำเนินการให้มีการชุมนุม สาธารณะโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะ ขึ้นในกรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการและช่องทางต่าง ๆ ก่อให้เกิดความปั่นป่วนวุ่นวายและความไม่สงบเรียบร้อยของประชาชน มีการกระทำที่กระทบต่อขบวนเสด็จพระราชดำเนิน มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำที่มีความรุนแรงกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตหรือทรัพย์สินของรัฐหรือบุคคล อันมิใช่การชุมนุมโดยสงบที่ได้รับการรับรองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ทั้งยังกระทบโดยตรงต่อสัมฤทธิผลของมาตรการควบคุมการะบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อันส่งผลกระทบโดยตรงต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศที่อยู่ในภาวะเปราะบาง กรณีจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีมาตรการเร่งด่วน เพื่อแก้ไขกรณีดังกล่าวให้ยุติได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงทีเพื่อให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายและรักษาความสงบเรียบร้อยและประโยชน์ส่วนรวมอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 11 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 นายกรัฐมนตรีจึงให้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร เป็นต้น
2. ข้อยกเว้นการใช้อำนาจอธิปไตยเหนือดินแดน ยังมีอีก 2 กรณี ที่ถือเสมือนว่ารัฐมีอำนาจเหนือดินแดน เหนือสิ่งต่อไปนี้ ทั้งที่ไม่เป็นดินแดนของรัฐแต่เป็นเรื่องที่ถือเอาเพื่อใช้กฎหมายอาญา (Criminal Law) ซึ่งเป็นกฎหมายมหาชนของรัฐขยายไปถึง แต่ไม่รวมถึงการขยายอำนาจหรือการใช้กฎหมายเอกชน (Private Law) ดั้งนั้นเรือหรืออากาศยานไทยที่ถือสัญชาติไทย คือ เรือไม่ว่าจะเป็นของทางราชการหรือของเอกชนและอากาศยาน ไม่ว่าจะเป็นของทางราชการหรือของเอกชน ซึ่งไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใดในโลก ก็ถือว่าอยู่ในราชอาณาจักรไทยตามหลักกฎหมายอาญา
1.1.3 การใช้กฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับเวลา
การใช้กฎหมายมหาชน (Public law) ในส่วนที่เกี่ยวกับเวลา หมายถึง กำหนดวันเวลาประกาศใช้กฎหมายมหาชน เมื่อได้ประกาศโฆษณาหรือเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปทราบแล้วมิใช่ว่าจะปรับใช้กฎหมายนั้นได้ทันที จึงต้องดูข้อความในตัวบทกฎหมายนั้นเองว่าจะประสงค์จะให้ใช้บังคับได้เมื่อใด
สำหรับกฎหมายของประเทศไทยนั้น เมื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยและได้ประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ก็ต้องดูว่ากฎหมายมหาชนนั้นจะบังคับได้เมื่อใด ซึ่งปกติแล้วหลักเกณฑ์ในการปรับใช้บังคับกฎหมายมหาชนเริ่มมีผลทางกฎหมายหลายรูปแบบ ดังนี้
1. ให้ใช้ย้อนหลังขึ้นไปก่อนวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา การใช้กฎหมายที่มีผลย้อนหลังไปบังคับการกระทำที่เกิดขึ้น ก่อนวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาซึ่งเรียกโดยทั่วไปว่ากฎหมายย้อนหลัง ในทางปฏิบัติไม่ค่อยใช้วิธีนี้ เพราะโดยปกติกฎหมายย่อมจะบัญญัติขึ้นเพื่อใช้บังคับในอนาคต กล่าวคือ กฎหมายจะใช้บังคับ แก่กรณีที่เกิดขึ้นในอนาคต นับตั้งแต่วันที่ประกาศใช้กฎหมาย เป็นต้นไป กฎหมายจะไม่บังคับแก่การกระทำที่เกิดขึ้นก่อนวันใช้บังคับแก่กฎหมาย ทั้งนี้เพราะมีหลักกฎหมายทั่วไปว่า “กฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง” ตามหลักการถือว่าการออกกฎหมายให้มีผลบังคับย้อนหลังไม่อาจทำได้เนื่องจากไม่เป็นธรรมกับผู้กระทำ ซึ่งในขณะที่กระทำนั้นยังไม่ทราบว่าการกระทำของตนเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เพราะขณะนั้นยังไม่มีกฎหมายกำหนดว่าเป็นการกระทำความผิด ขณะนั้นผู้กระทำจึงมีสิทธิที่จะกระทำได้อยู่ การลงโทษ หรือตัดสิทธิบุคคลหนึ่งบุคคลใดสำหรับการกระทำ ซึ่งขณะที่กระทำนั้นชอบด้วยกฎหมายเป็นการสั่นสะเทือนความเป็นธรรมของสังคม
ข้อสังเกต ในกรณีของประเทศไทยยังมีปัญหาในเรื่องการการตรากฎหมายมหาชนย้อนหลังได้หรือไม่โดยมีคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ที่ 3 – 5 /2550 เรื่องอัยการสูงสุดขอให้มีคำสั่งยุบพรรคพัฒนาชาติไทย พรรคแผ่นดินไทย และพรรคไทยรักไทย ลงวันที่ 30 พฤษภาค 2550 ว่า ในทางกฎหมายมหาชนที่ไม่ใช่กฎหมายอาญานั้นสามารถออกกฎหมายมาบังคับย้อนหลังได้ ซึ่งมีมุมมองทางกฎหมายออกไป 2 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 เห็นว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวเพราะเห็นว่าการลงโทษเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งนั้นสามารถทำได้ เนื่องจากไม่ได้เป็นโทษทางอาญา การใช้กฎหมายย้อนหลังในคดีนี้โดยใช้อำนาจประกาศ คปค.ฉบับที่ 27 จึงไม่ขัดต่อหลักกฎหมายอาญาทั่วไป
กลุ่มที่ 2 เห็นว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าว ถือว่าขัดต่อหลักกฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง ถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อหลักนิติรัฐ (Legal State) และหลักนิติธรรม (The Rule of Law)
อย่างไรก็ตามเป็นที่เข้าใจว่าการใช้กฎหมายไม่มีผลย้อนหลังนั้น เพราะเหตุว่า ไม่เป็นธรรมแก่บุคคลผู้ถูกกฎหมายนั้นบังคับใช้ แต่ถ้าเป็นเรื่องการออกกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายปกครอง กฎหมายงบประมาณ หรือแม้แต่กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณ เช่น ยกเลิกความผิด หรือยกโทษแล้ว แม้จะเป็นการย้อนหลังก็ทำได้ไม่ขัดต่อหลักใด ๆ เช่น ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 10 พฤศจิกายน 2514 กำหนดให้งบประมาณรายจ่ายตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ ย้อนหลังไปมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2514 เป็นต้น
2. กฎหมายที่มีผลใช้บังคับในวันที่ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อไม่ต้องการให้มีการเตรียมตัวหาทางเลี่ยงกฎหมายเป็นกรณีกะทันหันรีบด่วน ไม่ต้องการให้ประชาชนรู้ล่วงหน้าเพื่อหาแนวทางหลีกหนีการบังคับใช้กฎหมายฉบับดังกล่าว เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็นต้น
3. กฎหมายที่มีผลบังคับใช้ในวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา กฎหมายส่วนใหญ่มีผลบังคับใช้ในวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยใช้คำว่า “พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป” การใช้บังคับเช่นนี้มีผลดี คือ ให้ประชาชนทราบล่วงหน้าหนึ่งวัน เช่น พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจานุเบกษาเป็นต้นไป เป็นต้น
4. กฎหมายที่กำหนดเวลาให้ใช้บังคับในอนาคต คือ กรณีที่กฎหมายประกาศในราชกิจานุเบกษาแล้ว แต่ระบุให้เริ่มใช้เป็นเวลาในอนาคตโดยกำหนดวันใช้บังคับเป็นเวลาล่วงหน้าหลายๆ วัน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนเตรียมพร้อมที่จะปฏิบัติตามกฎหมายนั้น หรือเพื่อให้ทางราชการเองมีโอกาสตระเตรียมเครื่องมือ เครื่องใช้ แบบพิมพ์ ฝึกหัดอบรมเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายนั้น กำหนดเวลาให้ใช้กฎหมายในอนาคตนี้ อาจแยกได้เป็น 4 กรณี ดังนี้
1) กฎหมายที่กำหนดเป็นวัน เดือน ปี ให้ใช้กฎหมายที่แน่นอนมาให้ เช่นพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2484 เป็นต้นไป
2) กฎหมายที่กำหนดให้ใช้ในอนาคตโดยไม่ระบุเป็นวันเดือนปี แต่กำหนดเป็นระยะเวลากี่วัน กี่เดือน หลังจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาก็ได้ เช่น พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน พ.ศ. 2543 ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 90 วัน นับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หรือพระราชบัญญัติว่าด้วยสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 180 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
3) กฎหมายที่กำหนดให้ใช้ในอนาคตโดยไม่ระบุวัน เดือน ปี หรือ ระยะเวลาที่แน่นอน แต่กำหนดไว้กว้าง ๆ ว่าจะให้ใช้กฎหมายบังคับเมื่อไร จะประกาศออกมาเป็น “กฎหมายลำดับรอง” (Subordinate Legislation) หรือ เรียกว่า “กฎ” เช่น พระราชกฤษฎีกาหรือกฎกระทรวงหรือประกาศกระทรวงจะกำหนดสถานที่และวันใช้บังคับให้เหมาะสมแก่สภาพท้องที่ และให้เวลาแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่จะเตรียมการไว้ให้เรียบร้อยก่อนที่กฎหมายจะใช้บังคับ เช่น พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 กำหนดว่าการดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา เป็นต้น
4) กฎหมายที่กำหนดให้แต่บางมาตรา ให้ใช้ต่างเวลาออกไป โดยออกเป็นบทเฉพาะกาลไว้ท้ายกฎหมายนั้น เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 ให้มีผลใช้บังคับได้ในวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่บางมาตรามีบทเฉพาะกาลให้งดใช้จนกว่าต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญ เป็นต้น
1.2 การใช้กฎหมายมหาชนในทางปฏิบัติ
การใช้กฎหมายในทางปฏิบัติ (Practical Application of Civil law) หมายถึง การนำบทบัญญัติแห่ง “กฎหมายมหาชน” (Public Law) ไปใช้ปรับแก่คดีหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะเจาะจงเพื่อหาคำตอบหรือเพื่อวินิจฉัยพฤติกรรมบุคคลในเหตุการณ์หนึ่ง ดังที่เราเรียกกันว่า “การปรับบทกฎหมาย” ผู้ใช้กฎหมายนั้นจึงมิใช่ผู้จัดทำกฎหมาย หรือผู้ปฏิบัติงานทางฝ่ายนิติบัญญัติ หากแต่อาจเป็นใครก็ตามที่จะต้องเปิดดูตัวบทบัญญัติแห่งกฎหมายเอกชนหรือกฎหมายมหาชนแล้วแต่กรณี เพื่อปรับบทกฎหมายนั้นให้เข้ากับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น อนึ่งการปรับใช้กฎหมายเอกชนกับกฎหมายมหาชนนี้จะอธิบายถึงการปรับใช้ในระบบกฎหมายวิวิลลอว์ (Civil Law System) ที่มีการแบ่งแยกประเภทของกฎหมายและระบบวิธีพิจารณาคดี เพราะระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law System) ไม่มีการแบ่งแยกประเภทของกฎหมายที่ชัดเจน
ดังนั้น ในที่นี้จะกล่าวถึงซึ่งมีขั้นตอนการใช้กฎหมายมหาชนในระบบกฎหมาย ซิวิลลอว์ (Civil Law) เป็นหลัก ดังนี้
1.2.1 การค้นหาข้อเท็จจริง
การค้นหาข้อเท็จจริง เป็นการตรวจสอบว่าข้อเท็จจริงในคดีเกิดขึ้นจริงดังข้อกล่าวอ้างหรือไม่ ซึ่งจะต้องพิสูจน์ด้วยพยานหลักฐานต่าง ๆ ตามระบบวิธีพิจารณาของแต่ละศาล กล่าวคือ การปรับใช้กฎหมายมหาชนใช้ “ระบบวิธีพิจารณาแบบไต่สวน” (Inquisitorial System) ซึ่งศาลเป็นผู้มีอำนาจในการแสวงหาพยานหลักฐานในการปรับใช้แก่คดี แต่อย่างไรก็ตามมีข้อยกเว้นในกรณีของกฎหมายอาญาซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายมหาชนแต่จะใช้ “ระบบวิธีพิจารณาแบบกล่าวหา”
1.2.2 การค้นหาบทกฎหมาย
เมื่อได้ข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติแล้ว จะต้องค้นหาบทบัญญัติแห่งกฎหมายมหาชนที่ตรงกับข้อเท็จจริงมาปรับบทกฎหมายมหาชนแล้วแต่กรณี
1.2.3 การปรับบทกฎหมายให้เข้ากับข้อเท็จจริง
การปรับบทกฎหมายให้เข้ากับข้อเท็จจริงเป็นการวินิจฉัยว่าข้อเท็จจริงในคดีนั้นปรับได้กับข้อเท็จจริงที่เป็นองค์ประกอบในบทบัญญัติของกฎหมายมหาชนหรือไม่แล้วแต่กรณี
1.2.4 ผลในทางกฎหมาย
การปรับใช้แก่คดีในกฎหมายมหาชนได้ให้ชี้ว่ามีผลทางกฎหมายอย่างไร หากกฎหมายกำหนดผลทางกฎหมายไว้หลายอย่างให้เลือก ผู้ใช้กฎหมายมหาชนจะต้องใช้ดุลพินิจเลือกผลทางกฎหมายอย่างใดอย่างหนึ่งให้เหมาะสมกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น คือ การใช้อำนาจผูกพันกับอำนาจดุลพินิจ
ระบอบประชาธิปไตย 在 Carabao Official Youtube 的最佳貼文
ประชาธิปไตย ที่แท้มีหน้าตาเป็นอย่างไรสามารถช่วยเหลือประชาชนจากความยากจน หรือปัญหาได้รึเปล่า?
เนื้อเพลง
ประชาธิปไตย ธิปไตย
เอ๋ย หน้าตาเจ้าเป็นยังไง
ยังไงหนอ
ขอดูหน่อย ขอดูหน่อย
เปิด ให้ดูหน่อย
เปิด ให้ดูหน่อยซิ
ประชาธิปไตย ธิปไตย อ๋อ
หน้าตาเจ้าเป็นอย่างนี้นี่เอง
โอ้โฮเห็นแล้ว
โอ้โฮนั่นไง
เบ้อเร่อเลย เบ้อเร่อเลย
รู เบ้อเร่อเลย
รู เบ้อเร่อเลย [รูรั่ว]
ประชาชนชาวไทย
ชนชาวไทยเอ๋ย
ชีวิตท่านเป็นอย่างไร
อย่างไรหนอ
ขอฟังหน่อย ขอฟังหน่อย
พูด ให้ฟังหน่อย
เล่า ให้ฟังหน่อยซิ
ประชาชนชาวไทย
ชนชาวไทยเอ๋ย
ชีวิตท่านเป็นอย่างงี้นี่เอง
โอ้โฮตกงาน
โอ้โฮยากจน
ย่ำแย่เลย ย่ำแย่เลย
จน ย่ำแย่เลย
จน ย่ำแย่เลย.
รูรั่วเราต้องอุดรูรั่วไหล
ถ้าอยากเห็นเมืองไทย
พัฒนาขึ้น
อย่างผู้นำ
ต้องมาจากการเลือกตั้ง
ใครอยากเป็นบ้าง ยกมือขึ้น
ให้ประชา ชนมีสิทธิ์ออกเสียง
ผู้มากุมบังเหียน
ชีวิต ประชาชน
จะปกครอง
ระบอบประชาธิปไตย
จะเล่นแบบไทยๆ
หรือระบบสากล
ก็เลือกเอา
ประชาธิปไตย ธิปไตย
เอ๋ย หน้าตาเจ้าเป็นยังไง
ยังไงหนอ
ขอดูหน่อย ขอดูหน่อย
เปิด ให้ดูหน่อย
เปิด ให้ดูหน่อยซิ
ประชาธิปไตย ธิปไตย อ๋อ
หน้าตาเจ้าเป็นอย่างนี้นี่เอง
โอ้โฮเห็นแล้ว
โอ้โฮนั่นไง
เบ้อเร่อเลย เบ้อเร่อเลย
รู เบ้อเร่อเลย
รู เบ้อเร่อเลย [รูรั่ว]
ประชาชนชาวไทย
ชนชาวไทยเอ๋ย
ชีวิตท่านเป็นอย่างไร
อย่างไรหนอ
ขอฟังหน่อย ขอฟังหน่อย
พูด ให้ฟังหน่อย
เล่า ให้ฟังหน่อยซิ
ประชาชนชาวไทย
ชนชาวไทยเอ๋ย
ชีวิตท่านเป็นอย่างงี้นี่เอง
โอ้โฮตกงาน
โอ้โฮยากจน
ย่ำแย่เลย ย่ำแย่เลย
จน ย่ำแย่เลย
จน ย่ำแย่เลย.
รูรั่วเราต้องอุดรูรั่วไหล
ถ้าอยากเห็นเมืองไทย
พัฒนาขึ้น
อย่างผู้นำ
ต้องมาจากการเลือกตั้ง
ใครอยากเป็นบ้าง ยกมือขึ้น
ให้ประชา ชนมีสิทธิ์ออกเสียง
ผู้มากุมบังเหียน
ชีวิต ประชาชน
จะปกครอง
ระบอบประชาธิปไตย
จะเล่นแบบไทยๆ
หรือระบบสากล
ก็มั่วไป
【 ช่องทางติดตามข่าวสาร วงคาราบาว 】
#Line ► @CarabaoOfficial หรือคลิก http://line.me/ti/p/%40carabaoofficial
#Facebook ► http://www.facebook.com/carabaoofficial/
Apple Music & iTunes :
Carabao Essentials Playlist ► https://music.apple.com/th/playlist/carabao-essentials/pl.f9b46f601f53442385224df14d9ca9ef
Carabao Artist Profile ► https://music.apple.com/th/artist/carabao/250982691
ระบอบประชาธิปไตย 在 Prd-Phetchaburi Province - หน้าที่ของประชาชนในระบอบ ... 的推薦與評價
หน้าที่ของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย 1.หน้าที่ หมายถึง ภาวะที่บุคคลต้องกระทำหรืองดเว้นกระทำตามที่กฎหมายกำหนดไว้ 2.หน้าที่มีความสัมพันธ์กับสิทธิโดยตรง... ... <看更多>
ระบอบประชาธิปไตย 在 ความรู้ทางการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา ... 的推薦與評價
วิดีทัศน์เผยแพร่ความรู้ทางการเมืองการปกครองใน ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอ่านหนังสือ / Download หนังสือ ... ... <看更多>