ข้อสังเกตเกี่ยวกับอำนาจของรัฐสภาที่ได้รับมอบจากรัฐธรรมนูญในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2560
เมื่อพิจารณาศึกษาอำนาจที่ได้รับมอบจากรัฐธรรมนูญในการมอบให้องค์กรของรัฐต่าง ๆ ในการใช้อำนาจอธิปไตยจะพบว่าไม่มีปัญหาเท่าใดนัก แต่อย่างไรก็ตามพบว่า ยังคงมีปัญหาในเรื่องอำนาจที่ได้รับมอบจากรัฐธรรมนูญ ก็คือ อำนาจที่รัฐธรรมนูญมอบให้รัฐสภาดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนั้นจะกระทำได้มากน้อยเพียงใดภายใต้ มาตรา 256 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 โดยผู้เขียนจะพิจารณาศึกษาคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ดังนี้
คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 18-22/2555 ได้วินิจฉัยถึงอำนาจจัดให้มีรัฐธรรมนูญ (อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ) เป็นอำนาจของประชาชนอันเป็นที่มาในการให้กำเนิดรัฐธรรมนูญโดยถือว่ามีอำนาจเหนือรัฐธรรมนูญที่ก่อตั้งระบบกฎหมายและองค์กรทั้งหลายในการใช้อำนาจทางการเมือง เมื่อองค์กรที่ถูกจัดตั้งมีเพียงอำนาจตามที่รัฐธรรมนูญให้ไว้ ซึ่งก็คือ อำนาจที่ได้รับมอบจากรัฐธรรมนูญอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะให้องค์กรใช้อำนาจที่ได้รับมอบจากรัฐธรรมนูญนั้นเองกลับไปแก้ไขรัฐธรรมนูญเหมือนการใช้อำนาจแก้ไขกฎหมายธรรมดา แม้การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจะเป็นอำนาจของรัฐสภาก็ตาม แต่การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโดยตรงโดยการยกร่างใหม่ทั้งฉบับไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์มาตรา 291 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เนื่องจากรัฐธรรมนูญได้มาโยการลงประชามติของประชาชนก็ควรจะให้ประชาชนได้ลงมติเสียก่อนว่าสมควรจะมีรัฐธรรมนูญใหม่หรือไม่ หรือรัฐสภาจะใช้อำนาจในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นรายเป็นรายมาตราก็เป็นความเหมาสมและเป็นอำนาจของรัฐสภาที่จะดำเนินดังกล่าวได้
คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564 กรณีการเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 (1) โดยระบุตอนหนึ่งว่า การที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 15 (15) บัญญัติให้การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญกระทำโดยที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภามุ่งประสงค์ให้การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นการใช้อำนาจของรัฐสภาโดยเฉพาะ อย่างไรก็ดี รัฐธรรมนูญได้กำหนดให้กระบวนการใช้อำนาจนิติบัญญัติของรัฐสภา ในกรณีดังกล่าวมีหลักเกณฑ์และวิธีการซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากการทำหน้าที่ในกระบวนนิติบัญญัติทั่วไป มีเป้าหมายเพื่อปกป้องความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญและรักษาความต่อเนื่องของรัฐธรรมนูญเป็นสำคัญ ดังนั้น แม้รัฐสภามีอำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ แต่ต้องทำตามที่ได้รับมอบอย่างเคร่งครัด ไม่อาจกระทำนอกขอบของหน้าที่และอำนาจที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ได้ ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจึงต้องอยู่ในเงื่อนไขที่มีความผูกพันกับรัฐธรรมนูญฉบับเดิม ยึดโยงกับหลักการพื้นฐานและให้เหมาะสมและสอดคล้องกับ “มติมหาชน” การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ด้วยวิธีการร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมให้มีหมวด 15/1 ให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ย่อมมีผลเป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2560 อันเป็นการแก้ไขหลักการสำคัญที่ผู้มีอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญดั้งเดิมต้องการปกป้องคุ้มครองไว้หากรัฐสภาต้องการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต้องจัดให้ประชาชนผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญออกเสียงประชามติเสียก่อนว่าสมควรมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ ถ้าผลการออกเสียงประชามติเห็นชอบด้วย จึงดำเนินการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต่อไป เมื่อเสร็จแล้วต้องจัดให้มีการออกเสียงประชามติว่าเห็นชอบหรือไม่กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อีกครั้งหนึ่ง
โดยสรุปศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า รัฐสภามีหน้าที่และอำนาจจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ โดยต้องให้ประชาชนผู้มีจัดให้มีรัฐธรรมนูญ (อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ) ได้ลงประชามติเสียก่อนว่าประชาชนประสงค์จะให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ และเมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จแล้ว ต้องให้ประชาชน ลงประชามติเห็นชอบหรือไม่กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อีกครั้งหนึ่ง
จากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 18-22/2555และ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564 ได้วางหลักสำคัญ คือ
1. รัฐธรรมนูญที่ผ่านประชามติถ้าจะแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้มีการจัดตั้งองค์กรขึ้นมายกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ต้องผ่านประชามติจากประชาชนเสียก่อน
2. ถ้ารัฐธรรมนูญที่ไม่ได้ผ่านประชามติจากประชาชนออกเสียงประชามติจะแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้มีการจัดตั้งองค์กรขึ้นมายกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ได้
3. การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญบางส่วน บางมาตรา นั้นสามารถกระทำได้โดยไม่ต้องผ่านประชามติเป็นไปตามกระบวนการขั้นตอนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
4. อำนาจจัดให้มีรัฐธรรมนูญ (อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ) เป็นของประชาชนผู้ลงประชามติเห็นชอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
รองศาสตราจารย์ สิทธิกร ศักดิ์แสง
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
「รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย」的推薦目錄:
- 關於รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
- 關於รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
- 關於รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
- 關於รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 在 รัฐธรรมนูญไทย ฉบับที่ 18 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ ... 的評價
- 關於รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 在 ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ .. ) พ.ศ ... 的評價
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
เกมส์การเมืองกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเพื่อฐานอำนาจตนเอง
พรุ่งนี้วันที่ 10 กันยายน 2564 จะมีการลงมติร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ …) พุทธศักราช …. ในวาระที่ 3 ผมขออธิบายถึงเงื่อนไขการลงมติและเนื้อหาสาระของร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม
เงื่อนไขกระบวนการลงมติในวาระที่ 3
กระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 256 ให้ดำเนินกระบวนการพิจารณาและลงมติยกเลิกรัฐธรรมนูญด้วยวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ดังนี้
1. การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่ 1 “ขั้นรับหลักการ” ให้ใช้วิธีการเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบในการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้ง 2 สภาซึ่งในจำนวนนี้ต้องมีสมาชิกวุฒิสภาเห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา
2. การพิจารณาในวาระที่ 2 “ขั้นพิจารณาเรียงลำดับมาตรา” ซึ่งการออกเสียงลงคะแนนในวาระที่ 2 ขั้นพิจารณาเรียงลำดับมาตรา ให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ แต่ในกรณีที่เป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่ประชาชนเป็นผู้เสนอ ต้องเปิดโอกาสให้ผู้แทนประชาชนที่เข้าชื่อกันได้แสดงความคิดเห็นด้วย
3. การพิจารณาวาระที่ 2 เสร็จสิ้นแล้ว ให้รอไว้ 15 วัน เมื่อพ้นกำหนดนี้แล้วให้รัฐสภาพิจารณาวาระที่ 3 ต่อไป
4. การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่ 3 “ขั้นลงมติ” ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการที่จะออกให้ใช้เป็นรัฐธรรมนูญมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้ง 2 สภา โดยในจำนวนนี้ต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคการเมืองที่สมาชิกมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือรองประธานสภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของทุกพรรคการเมืองดังกล่าวรวมกันและมีสมาชิกวุฒิสภาเห็นด้วยไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา
5. เมื่อลงมติในวาระที่ 3 ให้ผ่านไปแล้ว ให้นำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงพระปรมาภิไธยเป็นไปตามมาตรา 81 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ต่อไป
6. ในกรณีร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมในหมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 พระมหากษัตริย์ หรือหมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหรือเรื่องที่เกี่ยวกับคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆตามรัฐธรรมนูญ หรือเรื่องที่เกี่ยวกับหน้าที่หรืออำนาจของศาลหรือองค์กรอิสระหรือเรื่องที่ทำให้ศาลหรือองค์กรอิสระไม่อาจปฏิบัติตามหน้าที่หรืออำนาจได้ ก่อนดำเนินการตามทูลเกล้าฯ ให้จัดให้มีการออกเสียงประชามติตามกฎหมายว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ถ้าผลการออกเสียงประชามติเห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมก็ให้ดำเนินการทูลเกล้าฯ ต่อไป
7. ก่อนนายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยในการทูลเกล้าฯ เพื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาหรือสมาชิกทั้ง 2 สภารวมกัน มีจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา หรือสมาชิกทั้ง 2 สภารวมกัน แล้วแต่กรณีมีสิทธิเข้าชื่อเสนอความเห็นต่อประธานที่ตนเป็นสมาชิกหรือประธานรัฐสภา แล้วแต่กรณีว่าร่างรัฐธรรมนูญที่ส่งทูลเกล้าฯ ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 255 หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 256 (8) และให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับเรื่องดังกล่าวส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญและให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันแต่วันที่ได้รับเรื่อง ในระหว่างพิจารณาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนายกรัฐมนตรีจำนำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าทูลกระกระหม่อมถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยมิได้
ดังนั้นเงื่อนไขการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในการออกเสียงลงคะแนนในวาระที่ 3 “ขั้นลงมติ” คือ
1.ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย
2. ต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการที่จะออกให้ใช้เป็นรัฐธรรมนูญมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้ง 2 สภา โดย
1) ในจำนวนนี้ต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคการเมืองที่สมาชิกมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือรองประธานสภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของทุกพรรคการเมืองดังกล่าวรวมกัน และ
2) มีสมาชิกวุฒิสภาเห็นด้วยไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา
สาระสำคัญร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้เพิ่มเติม (ฉบับที่ …) พุทธศักราช …. ที่จะลงมติในวาระที่ 3
มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในมาตรา 83 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และให้ใช้ ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา 83 สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 500 คน โดยเป็นสมาชิกซึ่งมา จากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 400 คน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 100 คน
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้ใช้วิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ โดยให้ใช้ บัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบละ 1 ใบ
ในกรณีที่ตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรว่างลงไม่ว่าด้วยเหตุใด และยังไม่มีการเลือกตั้ง หรือประกาศชื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่าที่มีอยู่
ในกรณีมีเหตุใด ๆ ที่ทำให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อมีจำนวนไม่ถึง 100 คน ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อประกอบด้วยสมาชิกเท่าที่มีอยู่”
มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในมาตรา 86 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา 86 การกำหนดจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่แต่ละจังหวัดจะพึงมีและการแบ่งเขตเลือกตั้ง ให้ดำเนินการตามวิธีการ ดังต่อไปนี้
(1) ให้ใช้จำนวนราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง เฉลี่ยด้วยจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 400 คน จำนวนที่ได้รับให้ถือว่าเป็นจำนวนราษฎรต่อสมาชิกหนึ่งคน
(2) จังหวัดใดมีราษฎรไม่ถึงเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิก 1 คนตาม (๑) ให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดนั้นได้ 1 คน โดยให้ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง
(3) จังหวัดใดมีราษฎรเกินจำนวนราษฎรต่อสมาชิก 1 คน ให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดนั้นเพิ่มขึ้นอีก 1 คนทุกจำนวนราษฎรที่ถึงเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิก 1 คน
(4) เมื่อได้จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละจังหวัดตาม (2) และ (3) แล้ว ถ้าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยังไม่ครบ 400 คน จังหวัดใดมีเศษที่เหลือจากการคำนวณตาม (3) มากที่สุดให้จังหวัดนั้นมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพิ่มขึ้นอีก 1 คน และให้เพิ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามวิธีการดังกล่าวแก่จังหวัดที่มีเศษที่เหลือจากการคำนวณนั้นในลำดับรองลงมาตามลำดับจนครบจำนวน 400 คน
(5) จังหวัดใดมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เกิน 1 คน ให้แบ่งเขตจังหวัดออกเป็นเขตเลือกตั้งเท่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พึงมีโดยต้องแบ่งพื้นที่ของเขตเลือกตั้งแต่ละเขตให้ติดต่อกันและต้องจัดให้มีจำนวนราษฎรในแต่ละเขตใกล้เคียงกัน”
มาตรา 5 ให้ยกเลิกความในมาตรา 91 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา 91 การคำนวณสัดส่วนผู้สมัครรับเลือกตั้งตามบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมืองที่จะได้รับเลือกตั้ง ให้นำคะแนนที่แต่ละพรรคการเมืองได้รับการเลือกตั้งมารวมกันทั้งประเทศแล้วคำนวณเพื่อแบ่งจำนวนผู้ที่จะได้รับเลือกของแต่ละพรรคการเมือง เป็นสัดส่วนที่สัมพันธ์กันโดยตรงกับจำนวนคะแนนรวมข้างต้น โดยให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งซึ่งมีรายชื่อในบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมืองได้รับเลือกตามเกณฑ์คะแนนที่คำนวณได้เรียงตามลำดับหมายเลขในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองนั้น
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ การออกเสียงลงคะแนน การนับคะแนน การรวมคะแนน การประกาศผลการเลือกตั้ง และการอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร”
มาตรา 6 ในวาระเริ่มแรก มิให้นำบทบัญญัติมาตรา 83 มาตรา 86 และมาตรา 91 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้มาใช้บังคับจนกว่าจะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปครั้งแรกภายหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้
ในระหว่างที่ยังมิให้นำบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้มาใช้บังคับตามวรรค 1 ให้บทบัญญัติของมาตราดังกล่าวก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ตราขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัตินั้นยังคงนำมาใช้บังคับต่อไป
สรุปเนื้อหาสาระสำคัญที่แก้ไข คือ
1. จำนวน ส.ส. เดิม เขต 350 กับบัญชีรายชื่อ 150 แก้ไขเป็น เขต 400 กับบัญชีรายชื่อ 100
2.ใช้บัตรเลือกตั้งเดิม มี 1 ใบ แก้ไขเป็น 2 ใบ บัตรเลือกตั้งแบบแบ่งเขตกับบัตรเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ
3.จากเดิมเมื่อได้ ส.ส.เขตเกินโควต้าจะไม่ได้รับการจัดสรร ส.ส.ในบัญชีรายชื่อ แก้ไข ได้ ส.ส. เขตเท่าใด ก็ยังได้รับการจัดสรรบัญชีรายชื่อตามคะแนนเสียง
ดังนั้นสรุปได้ว่า ลงมติผ่านหรือไม่ผ่าน ขึ้นอยู่กับ 3 ป. คือ ป.ประยุทธ์ ป. ประวิตร และ ป.ป๊อก (อนุพงษ์) ที่สั่งให้ สว. 250 คน หันซ้าย หันขวาได้ ว่าจะลงมติหรือไม่
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
อำนาจที่ได้รับมอบจากรัฐธรรมนูญ
จากการที่ได้ทราบถึงการจัดทำรัฐธรรมนูญไทยนั้นจะต้องมาจากอำนาจจัดให้มีรัฐธรรมนูญ (อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ) พบว่า การจัดทำรัฐธรรมนูญของประเทศไทยนั้นมีหลายรูปแบบ มีทั้งการจัดทำรัฐธรรมนูญโดยคณะปฏิวัติ การจัดทำรัฐธรรมนูญโดยคณะรัฐประหาร การจัดทำรัฐธรรมนูญสภานิติบัญญัติ การจัดทำรัฐธรรมนูญโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญและการจัดทำรัฐธรรมนูญโดยคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ มีข้อพิจารณาดังนี้
1. อำนาจที่ได้รับมอบจากรัฐธรรมนูญรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
ภายใต้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 อำนาจที่ได้รับมอบรัฐธรรมนูญ มอบให้กับองค์กรของรัฐในการใช้อำนาจอธิปไตย กล่าวคือ มอบอาจให้ฝ่ายนิติบัญญัติทำหน้าที่ตรากฎหมาย ทำหน้าที่แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญและทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของฝ่ายบริหาร มอบอำนาจให้ฝ่ายบริหารนำกฎหมายที่ฝ่ายนิติบัญญัติไปบังคับใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน มอบให้องค์กรตุลาการตัดสินตามกฎหมายระงับข้อพิพาทของบุคคลในสังคม มอบอำนาจให้องค์อิสระในแต่ละองค์กรทำหน้าที่กึ่งบริหาร กึ่งนิติบัญญัติและกึ่งตุลาการ
2. ข้อสังเกตเกี่ยวกับอำนาจของรัฐสภาที่ได้รับมอบจากรัฐธรรมนูญในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
เมื่อพิจารณาศึกษาอำนาจที่ได้รับมอบจากรัฐธรรมนูญในการมอบให้องค์กรของรัฐต่าง ๆ ในการใช้อำนาจอธิปไตยจะพบว่าไม่มีปัญหาเท่าใดนัก เรื่องที่ยังคงมีปัญหาในเรื่องอำนาจที่ได้รับมอบจากรัฐธรรมนูญ ก็คือ อำนาจที่รัฐธรรมนูญมอบให้รัฐสภาดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนั้นจะกระทำได้มากน้อยเพียงใดนั้นภายใต้ มาตรา 256 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 จากการที่ได้ศึกษาถึงคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 18-22/2555 ได้วินิจฉัยถึงอำนาจจัดให้มีรัฐธรรมนูญ (อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ) เป็นอำนาจของประชาชนอันเป็นที่มาในการให้กำเนิดรัฐธรรมนูญโดยถือว่ามีอำนาจเหนือรัฐธรรมนูญที่ก่อตั้งระบบกฎหมายและองค์กรทั้งหลายในการใช้อำนาจทางการเมือง เมื่อองค์กรที่ถูกจัดตั้งมีเพียงอำนาจตามที่รัฐธรรมนูญให้ไว้ ซึ่งก็คือ อำนาจที่ได้รับมอบจากรัฐธรรมนูญอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะให้องค์กรใช้อำนาจที่ได้รับมอบจากรัฐธรรมนูญนั้นเองกลับไปแก้ไขรัฐธรรมนูญเหมือนการใช้อำนาจแก้ไขกฎหมายธรรมดา แม้การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจะเป็นอำนาจของรัฐสภาก็ตาม แต่การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโดยตรงโดยการยกร่างใหม่ทั้งฉบับไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์มาตรา 291 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เนื่องจากรัฐธรรมนูญได้มาโยการลงประชามติของประชาชนก็ควรจะให้ประชาชนได้ลงมติเสียก่อนว่าสมควรจะมีรัฐธรรมนูญใหม่หรือไม่ หรือรัฐสภาจะใช้อำนาจในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นรายเป็นรายมาตราก็เป็นความเหมาสมและเป็นอำนาจของรัฐสภาที่จะดำเนินดังกล่าวได้
จากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 18-22/2555 ได้วางหลักสำคัญ คือ
1.รัฐธรรมนูญที่ผ่านประชามติถ้าจะแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้มีการจัดตั้งองค์กรขึ้นมายกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ต้องผ่านประชามติจากประชาชนเสียก่อน
2.ถ้ารัฐธรรมนูญที่ไม่ได้ผ่านประชามติจากประชาชนออกเสียงประชามติจะแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้มีการจัดตั้งองค์กรขึ้นมายกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ได้
3. การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญบางส่วน บางมาตรา นั้นสามารถกระทำได้โดยไม่ต้องผ่านประชามติเป็นไปตามกระบวนการขั้นตอนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 在 ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ .. ) พ.ศ ... 的推薦與評價
การประชุมร่วมกันของรัฐสภา ซึ่งจะมีการพิจารณาวาระสำคัญ คือ "ร่าง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ .. ) พ.ศ. ... <看更多>
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 在 รัฐธรรมนูญไทย ฉบับที่ 18 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ ... 的推薦與評價
ผลิตโดย Thai PBSสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ม.1-6มาตราฐาน ส 2.2 ส 4.2 รัฐธรรมนูญไทย ฉบับที่ 18 เกิดขึ้นจากสภายกร่าง รัฐธรรมนูญ ... ... <看更多>