บทวิจารณ์หนังสือ เรื่อง “ความยุติธรรม” (JUSTICE)
สิทธิกร ศักดิ์แสง
หนังสือ เรื่อง “ความยุติธรรม” (JUSTICE) ที่เขียนโดย ไมเคิล เจ แซนเดล (Michael J. Sandel) แปลโดย สฤณี อาชวานันทกุล หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นมาเพื่อค้นหาความหมาย ปรัชญาและวิวาทะ ว่าด้วยความยุติธรรมในทุกมิติ ผ่านตัวอย่างร่วมสมัยในชีวิติจริงของตัวผู้เขียนเองและตัวผู้แปล
ตัวผู้เขียน ไมเคล เจ แซนเดล (Michael J. Sandel) เป็นนักปรัชญาการเมือง เป็นผู้บรรยายและผู้สอน ปรัชญาการเมือง วิชา “ความยุติธรรม” ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ตัวเขาเองเชื่อว่า ความเชื่อทางศีลธรรมและศาสนาเป็นเรื่อง “ส่วนตัว” ไม่ใช่เป็นเรื่อง “สาธารณะ” วิชา “ความยุติธรรม” ที่สอนโดย ไมเคิล เจ แซนเดล ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากของผู้เรียนในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ที่มีการถกเถียงของชีวิตการเมืองสมัยใหม่ อาทิ เรื่องจริยธรรม เรื่องอรรถประโยชน์ เสรีนิยม ศีลธรรมนิยม สิทธิและหน้าที่รับผิดชอบของคนในสังคม เป็นต้น
ตัวผู้แปล สฤณี อาชวานันทกุล จบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและปริญญาโทด้านการบริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ซึ่งปัจจุบันเป็นอาจารย์สอนพิเศษในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท คณะพาริชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ติดตามและการถ่ายทอดพัฒนาการใหม่ ณ พรมแดนความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ และที่สำคัญผู้แปลได้มีโอกาสลงเรียนในวิชา “ความยุติธรรม” กับผู้เขียนในฐานะเป็นลูกศิษย์อาจารย์ทำให้ผู้แปลเข้าใจบริบทงานเขียนของผู้เขียนเป็นอย่างดี
หนังสือ เรื่อง “ความยุติธรรม” (JUSTICE) ได้กล่าวถึงการค้นหา ความหมาย ปรัชญา วิวาทะว่าด้วย “ความยุติธรรม” ในทุกมิติผ่านตัวอย่างร่วมสมัยในชีวิตจริงโดยการนำหลักแนวคิด เช่น แนวเกี่ยวกับการควบคุมศีลธรรม หลักอิสระนิยม หลักอรรถประโยชน์นิยม หลักความยุติธรรมแลกเปลี่ยนตอบแทน เป็นต้นมา
วิเคราะห์วิจารณ์ ประกอบด้วย 10 บท ดังนี้
บทที่ 1 การทำสิ่งที่ถูกต้อง ไมเคล เจ แซนเดล (Michael J. Sandel) ได้อธิบายปัญหาสภาพของสังคม เช่น การโก่งราคาในภาวะที่เกิดภัยพิบัติพายุเฮอร์ริเคน ในอ่าวเม็กซิโก พัดผ่านรัฐฟลอริดาไปยังมหาสมุทรแอตแลนติก ทำให้ปัญหาเครื่องใช้ เครื่องอุปโภคขาดแคลน ร้านค้าต่างๆต่างโก่งราคา (ขึ้นราคา) ทำให้ประชาชนเดือดร้อนยิ่งขึ้น ประชาชนเกิดความโกรธแค้นต่อการขึ้นราคาสินค้า ในคำถามนี้การขึ้นราคาในเวลาภาวะคับขันเช่นนี้เป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ เราควรจะมีกฎหมายขึ้นมาควบคุมการค้ากำไรเกินควรหรือไม่ ทำให้มีการโต้แย้งแนวคิดนี้ อยู่ 2 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่ 1 มองว่า การมีกฎหมายการค้ากำไรเกินควร รวมถึงความโกรธแค้นของประชาชนต่อการขึ้นราคาสิ้นค้า เป็นเรื่องที่เข้าใจผิด นักปรัชญาและนักเทววิทยาในยุคกลางเชื่อว่า การแลกเปลี่ยนควรเกิดขึ้นใน “ราคาที่เป็นธรรม” ซึ่งกำหนดโดยประเพณีหรือมูลค่าในตัวเองของข้าวของ แต่ในสังคมตลาดนักเศรษฐศาสตร์สังเกตว่า ราคาถูกกำหนดด้วยอุปสงค์และอุปทาน ฉะนั้น “ราคาที่เป็นธรรม” ไม่มีอยู่จริง
กลุ่มที่ 2 มองว่าการออกกฎหมายค้ากำไรเกินควร คือ ข้อเสนอว่าด้วยคุณธรรม เพราะในภาวะฉุกเฉินรัฐบาลไม่อาจยืนดูอยู่ขอบสนาม เมื่อประชาชนต้องจ่ายราคาอันไร้ซึ่งมโนธรรม ขณะที่พวกเขาวิ่งหนีเอาชีวิตรอดหรือเสาะหาปัจจัยพื้นฐานสำหรับ ครอบครัวหลังจากพายุเฮอร์ริเคน ที่ไม่ใช้สถานการณ์ปกติในตลาดเสรี ซึ่งผู้ซื้อและผู้ขายต่างสมัครใจซื้อขายกันในตลาดโดยตกลงราคากันบนพื้นฐานของอุปสงค์และอุปทาน ในภาวะฉุกเฉินผู้ซื้ออยู่ภายใต้แรงกดดันและปราศจากอิสระภาพ พวกเขาถูกบังคับให้ต้องซื้อปัจจัยพื้นฐานอย่างเช่น ที่พักที่ปลอดภัย เป็นต้น
ผู้วิจารณ์มองว่าข้อโต้แย้งในเรื่องที่ว่าแม้จะเกิดภัยพิบัติอะไรก็ตามการขึ้นราคาสินค้าเกินควรนั้นเป็นไปตามอุปสงค์และอุปทานเป็นไปตามกลไกลตลาดเสรีไม่ถือว่าเป็นเรื่องที่ผิดศีลธรรมแต่อย่างไร ผู้วิจารณ์เห็นว่าการมองเช่นนี้เป็นเรื่องที่อันตรายต่อสังคมที่ได้รับเจ็บปวดจากภัยพิบัติแล้วต้องมารับการขึ้นราคาสิ้นค้าเกินควรของพวกพ่อค้าเห็นว่าเป็นการกระทำที่ผิดศีลธรรม ดังควรแล้วที่จะนำกฎหมายมาควบคุมการการค้ากำไรเกินควร
บทที่ 2 หลักความสุขสูงสุด/อรรถประโยชน์นิยม ไมเคล เจ แซนเดล (Michael J. Sandel) ได้อธิบายถึงเรื่อง ความสุขสูงสุดของอรรถประโยชน์นิยมตามหลักแนวคิดของ เจรีมี เบนแธม (Jeremy Bentham) มาศึกษาวิเคราะห์กับการฆ่าคน คือ การฆ่าเด็กรับใช้เพื่อความอยู่รอดในสถานการณ์คับขัน ถ้าหากไม่มีใครถูกฆ่าและถูกิกนทั้ง 4 คนอาจจะต้องตาย จากเหตุการณ์ในฤดูร้อน ปี ค.ศ. 1884 กรณีเรื่อล่มโดยมีชาวอังกฤษ 4 คน ประกอบด้วย ธอมัส ดัดลีย์ (กัปตัน) เอ็ดวิน สตีเฟนต์ (ผู้ช่วยกัปตัน) เอ็ดมุนด์ บรูคส์ (กะลาสีเรือ) และริชาร์ด ปาร์กเกอร์ (คนรับใช้) ทั้งสี่คนลอยเท้งเต้งในเรือชูชีพ เป็นเวลาหลายวันโดยไม่มีอาหารจำเป็นต้องฆ่าคนที่อ่อนแอที่สุดมาเป็นอาหารเพื่อประทังชีวิต จากประเด็นดังกล่าว ไมเคล เจ แซนเดล ได้ตั้งข้อสมติฐานของอรรถประโยชน์นิยมว่า ศีลธรรมเป็นเรื่องของการชั่งน้ำหนักระหว่างโทษและประโยชน์เพียงแต่ต้องคิดบัญชีผลพวงทางสังคมอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ เกิดข้อถกเถียง 2 ข้อ ดังนี้
ข้อที่ 1 เราตั้งคำถามได้ว่าการฆ่าคนเพื่อความอยู่รอดเป็นประโยชน์สูงกว่าต้นทุนจริงหรือไม่ ต่อให้นับชีวิตที่ช่วยได้และความสุขของผู้รอดตายและครอบครัวแล้ว การยอมให้ฆ่าคนแบบนี้มีผลทางแง่ลบต่อสังคมส่วนรวม เช่น ทำให้ค่านิยมที่ต่อต้านการฆาตกรรมอ่อนแอลงหรือเพิ่มแนวโน้มที่คนจะทำตัวเป็นศาลเตี้ยหรือทำให้กัปตันหาเด็กรับใช้บนเรือยากกว่าเดิม
ข้อที่ 2 ต่อให้ประโยชน์ทั้งหมดอาจมีมากกว่าโทษจริงๆเราจะไม่รู้สึกเลยหรือว่า การฆ่าและกินเนื้อเด็กรับใช้ที่ไม่มีทางสู้นั้นเป็นสิ่งผิด ด้วยเหตุผลที่อยู่นอกเหนือการคำนวณประโยชน์และโทษต่อสังคม? การใช้ชีวิตมนุษย์แบบนี้ผิดหรือไม่? การฉวยโอกาสจากความเปราะบางของเขา ฆ่าคนโดยที่เขาไม่ยินยอม? ถึงแม้ว่าการฆาตกรรมนั้นจะทำให้คนอื่นได้รับประโยชน์?
ผู้วิจารณ์มองว่าถ้านำแนวคิดแบบอรรถประโยชน์สูงสุด ตามแนวคิด เจเรมี เบนแธม ว่าการกระทำเช่นนี้ถือเป็นการกระทำเพื่อความอยู่รอดของอรรถประโยชน์ส่วนรวมแล้วถือเป็นการที่กระทำได้ แต่ถ้าพิจารณาถึงแนวคิดเรื่องของศีลธรรมนิยมการกระทำดังกล่าวถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อศีลธรรมเป็นอย่างมาก จุดนี้เองแนวคิดขัดแย้งระหว่างสำนักกฎหมายธรรมชาติที่เน้นเรื่องศีลธรรมกับสำนักกฎหมายปฏิฐานนิยมที่อยู่บนพื้นฐานประโยชน์สูงสุดของส่วนรวมและสำนักอรรถประโยชน์ที่วางหลักความสุขสูงสุด
บทที่ 3 เราเป็นเจ้าของตัวเองหรือ?/สิทธิอิสระนิยม ไมเคล เจ แซนเดล (Michael J. Sandel) ได้อธิบายถึงการเก็บภาษีคนรวยมาเลี่ยงคนจนนั้นเป็นเรื่องที่ถูกต้องหรือไม่ ในสังคมประเทศสหรัฐอเมริกา กรณีการเก็บภาษีคนรวย เช่น การเก็บภาษี บิลเกตส์และโอปราห์ วินฟรีย์ หนักเกินไป โดยที่เขาและเธอไม่ยินยอมเท่ากับเป็นการบังคับ ถึงแม้กระทำด้วยเจตนาดีก็ตามมันจะละเมิดอิสรภาพที่คนจะทำอะไรก็ได้กับเงินตามที่พวกเขาต้องการ ผู้คัดค้านการกระจายรายได้เหตุผลในทำนองนี้มักจะถูกเรียกว่า “พวกอิสระนิยม” (libertarian) ซึ่งนักอิสระนิยมชอบตลาดเสรีที่ได้การกำกับและต่อต้านการกำกับดูแลของรัฐ “ไม่ใช่ในนามของประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ” แต่ “ในนามของเสรีภาพของมนุษย์” ข้ออ้างแก่นแท้ของพวกอิสระนิยม คือ มนุษย์แต่ละคนมีสิทธิขั้นพื้นฐานต้องการอิสรภาพ สิทธิที่จะทำอะไรก็ตามกับของเราที่เราเป็นเจ้าของตราบที่เราเคารพสิทธิของผู้อื่นที่จะทำอย่างเดียวกัน
ดังนั้นนักคิดอิสระนิยมได้เสนอแนวคิดการดำเนินการของรัฐเพียงดำเนินการของรัฐเพียงดำเนินการในลักษณะ “รัฐขั้นต่ำ” คือ รัฐควรบังคับใช้สัญญาพิทักษ์รักษาชีวิตและทรัพย์สินส่วนบุคคลและรักษาสันติภาพเพียงเท่านั้น นักคิดอิสระนิยมได้ปฏิเสธนโยบายของรับสมัยใหม่ที่ดำเนินการอยู่ 3 ประการดังนี้
ประการที่ 1 ปฏิเสธลัทธิพ่อปกครองลูก (paternalism) การต่อต้านกฎหมายที่ออกจากรัฐเพื่อป้องกันไม่ให้ทำร้ายตนเอง เช่น กฎหมายบังคับให้คาดเข็มขัดนิรภัยและการสวมหมวกกันน๊อค เพราะพวกนี้ไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อน รัฐไม่มีสิทธิมากำหนดว่าพวกเขาจะนำร่างกายและชีวิตไปเกี่ยวกับไรได้หรือไม่ก็ได้
ประการที่ 2 ปฏิเสธการบัญญัติศีลธรรม นักอิสระนิยมต่อต้านการใช้อำนาจบังคับของกฎหมายในการส่งเสริมว่าด้วยคุณธรรมหรือการแสดงความเชื่อทางศีลธรรม
ประการที่ 3 ปฏิเสธการกระจายรายได้หรือความมั่งคั่ง นักอิสระนิยมมองว่า ภาษีเพื่อกระจายรายได้ คือ การบีบบังคับรูปแบบหนึ่งเป็นการขโมยด้วยซ้ำไป รัฐไม่มีสิทธิบังคับให้คนรวยผู้เสียภาษีสนับสนุนโครงการทางสังคมเพื่อคนจน เช่น เดียวกับที่ขโมยเงินจากคนรวยไปมอบให้คนจน
ผู้วิจารณ์มองว่ารัฐควรกำหนดเก็บภาษีคนรวยตามที่รายได้ที่พึงต้องหักภาษี คนมีรายได้เยอะเก็บภาษีมาก คนมีรายได้ก็ก็เก็บภาษีน้อย การเก็บภาษีในลักษณะนี้ถือว่าเป็นการกระจายรายได้มาบริการสาธารณะเพื่อคนส่วนรวม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำของสังคมระหว่างคนจนกับคนรวยเป็นเรื่องที่มีความเหมาะสม ถ้าปล่อยตามแนวคิดของพวกอิสระนิยมมันจะก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคมมากยิ่งขึ้น ดังนั้นจะรัฐจะประสบปัญหาในการบริการสาธารณะในด้านต่างๆที่ไม่รายได้จากการเก็บภาษีที่เพียงพอในการจัดทำดังกล่าว ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางทางคมมากยึ่งขึ้น
บทที่ 4 ลูกจ้าง/ตลาดและศีลธรรม ผู้เขียนได้อธิบายในเรื่องที่เกี่ยวกับความยุติธรรมในตลาดเสรี ว่าตลาดเสรีเป็นธรรมหรือไม่ มีสินค้าอะไรที่เงินซื้อไม่ได้ หรือไม่ควรซื้อหรือไม่ ถ้ามีสินค้าเหล่านี้คืออะไร แล้วทำการซื้อขายมันถึงเป็นสิ่งผิด โดยนำหลักศีลธรรมมาวิเคราะห์อยู่ 2 เรื่อง คือ
เรื่องที่ 1 ความยุติธรรมระหว่างการเกณฑ์ทหารกับการจ้างคนเป็นทหาร คือ การเกณฑ์ทหารขัดแย้งกับจารีตปัจเจกนิยมในสังคมอเมริกา และกฎหมายเกณฑ์ทหารของยูเนียนก็ก้มหัวใจให้กับจารีตนี้ คือ “ใครก็ตามที่ถูกเกณฑ์แต่ไม่อยากเป็นทหารสามารถจ้างคนอื่นมาเป็นทหารแทนได้” กลับกลายเป็นว่า “สงครามของคนรวยสนามรบของคนจน” การกระทำเช่นนี้ขัดต่อหลักศีลธรรมหรือไม่ มันเป็นการติดป้ายราคาให้กับชีวิตมนุษย์ (ความเสี่ยงที่จะตาย) และรัฐก็มอบความชอบธรรมให้กับราคานั้น (ค่าจ้างให้เป็นทหารแทน) สังคมอเมริกาจึงได้มีทหารเกณฑ์อยู่ 3 แบบ คือ ทหารที่ถูกเกณฑ์ ทหารที่รับจ้างที่ถูกเกณฑ์ ทหารอาสา (ระบบตลาดกองทัพอาสา) และส่วนในสังคมอเมริกาจะมีทหารที่เป็นกองทัพอาสามากกว่าทหารเกณฑ์ โดยการหากองทัพอาสาจะเสาะหาผ่านตลาดแรงงาน ไม่ต่างจากร้านอาหาร ธนาคาร ร้านค้าปลีกและธุรกิจอื่น ซึ่งการเป็นทหารอาสานี้กลุ่มนักคิดอิสระนิยมได้มองว่าการมีระบบทหารอาสาถือเป็นความยุติธรรมเสรีในระบบตลาด การปล่อยให้คนเลือกเป็นทหารเองโดยคำนึงถึงค่าตอบแทนที่ได้รับทำให้พวกเขาจะมาเป็นทหารก็ต่อเมื่อการทำอย่างนั้นสร้างอรรถประโยชน์สูงสุดให้กับตัวเอง ใครที่ไม่อยากเป็นทหารก็ไม่ต้องสูญเสียอรรถประโยชน์จากการถูกบังคับให้เป็นทหารโดยไม่สมัครใจ แต่อย่างไรก็ตามได้มีกลุ่มนักคิดอีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มศีลธรรมนิยมได้มีความเห็นแย้งกับการมีกองทัพอาสา ควรจะเป็นทหารเกณฑ์เท่านั้น ด้วยเหตุผลว่าการใช้กลไกตลาดกับกองทัพอาสาเป็นเรื่องของความไม่เป็นธรรมและการบีบบังคับ ความไม่เป็นธรรมของการเลือกปฏิบัติทางชนชั้นและการบีบบังคับที่เกิดขึ้นได้ถ้าหากความเสียเปรียบทางเศรษฐกิจผลักดันคนหนุ่มสาวให้เสี่ยงความตายแลกกับการได้เรียนมหาวิทยาลัยและสิทธิประโยชน์อื่นๆ จึงเป็นคำถามว่า “บริการทางหาร” (และการรับใช้ชาติโดยรวม) เป็นหน้าที่ของพลเมืองทุกคนหรือเป็นแต่งานหนักและเสี่ยงตายเหมือนงานอื่นๆ (เช่น งานเหมืองถ่านหิน) ซึ่งถูกกำกับอย่างเหมาะสมแล้วโดยตลาดแรงงาน แล้วมีคำถามต่อมาว่า พลเมืองในสังคมประชาธิปไตยมีพันธะอะไรต่อกันบ้างและพันธะเหล่านี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร เมื่อพิเคราะห์ดูว่าควรจะมีการเกณฑ์ทหารหรือให้มีทหารรับจ้าง อะไรคือความยุติธรรม
เรื่องที่ 2 รับจ้างอุ้มบุญ การรับจ้างอุ้มบุญหรือการรับจ้างอุ้มท้องแทนก็เป็นเรื่องหนึ่งของแนวคิดกลุ่มอิสระนิยมกับกลุ่มศีลธรรมนิยมได้มีความคิดที่โต้แย้งกันทางความคิด คือ กลุ่มที่สนับสนุนในเสรีภาพในการทำสัญญาการอุ้มทองแทนกันนั้นเป็นข้อตกลงบนพื้นฐานด้วยความสมัครใจในแดนแห่งเสรีภาพในการทำสัญญา ในข้อตกลงที่ได้ประโยชน์ด้วยกันทั้งสองฝ่าย ผู้ว่าจ้างจะได้ทารกที่ดองกับเขาทางพันธุกรรม ส่วนผู้รับจ้างอุ้มท้องแทน (รับจ้างอุ้มบุญ) ก็จะได้เงินสำหรับการทำงาน 9 เดือน (การอุ้มท้อง) กลุ่มที่ไม่เห็นด้วย คือ กลุ่มศีลธรรมนิยม ได้ให้เหตุผลว่า สัญญาการอุ้มท้องแทนกันนั้นไม่ใช่สัญญาทางพาณิชย์ทั่วไป มีข้อพิจารณาอยู่ 2 ข้อ ข้อที่ 1 ผู้รับจ้างอุ้มท้องแทนได้รับข้อมูลเพียงหรือไม่ ตอนที่ตกลงตั้งท้องแทนและยกลูกให้คนอื่น ข้อที่ 2 การซื้อขายทารกหรือการเช่าความสามารถในการเจริญพันธุ์ของผู้หญิงเป็นสิ่งน่ารังเกียจ (ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองและศีลธรรมอันดีของประชาชน) แม้ว่าทั้งสองฝ่ายจะตกลงกันก็ตาม เราอาจถกเถียงได้ว่าการทำแบบนี้เท่ากับแปลงเด็กให้เป็นสินค้าและเอาเปรียบผู้หญิงด้วยการมองว่าการตั้งท้องและการอุ้มท้องเป็นธุรกิจทำเงิน
ซึ่งจากสถานการณ์ทั้ง 2 เรื่องที่กล่าวมาข้างต้นผู้วิจารณ์มองว่าเป็นการยากที่จะตอบคำถามที่แบ่งแนวคิดเรื่อง “ความยุติธรรม” การตัดสินใจของเราในตลาดเสรีนั้นเป็นอิสระเพียงใดและมีคุณธรรมหรือสินค้าสูงส่งชนิดใดหรือไม่ที่ตลาดไม่ควรตีค่าและเงินซื้อไม่ได้ทั้งสองกรณีเพราะผิดศีลธรรมเป็นอย่างมาก
บทที่ 5 สิ่งสำคัญคือเจตนา/เอมมานูเอล คานท์ ในบทนี้ผู้เขียนอธิบายถึงแนวคิดเรื่อง “สิทธิมนุษยชนกับแนวคิดอรรถประโยชน์นิยม” ที่มองมนุษย์ทุกคนควรแก่นับถือ ไม่ว่าพวกเขาจะเป็นใครหรืออยู่ที่ไหน มันก็ผิดที่เราจะปฏิบัติต่อพวกเขาราวกับเครื่องมือสร้างความสุขส่วนรวมเท่านั้น ข้อสนับสนุนสิทธิของ คานท์ ได้เสนอทางเลือกในการมองหน้าที่และสิทธิไม่ได้ตั้งอยู่บนความคิดที่ว่าเราเป็นเจ้าของตัวเองหรือข้ออ้างที่ว่า “ชีวิตและอิสรภาพของเราคือ ของขวัญจากรพระผู้เป็นเจ้า” แต่ตั้งอยู่บนความคิดที่ว่า “เราเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเหตุผลซึ่งคู่ควรแก่เกียรติยศและความเคารพ”
เอมมานูเอล คานท์ ได้วิพากษ์วิจารณ์อรรถประโยชน์นิยมโดยเสนอว่า ศีลธรรมไม่ใช่เรื่องของการสร้างความสุขสูงสุดหรือเป้าหมายอื่นใด แต่เป็นเรื่องของความเคารพในมนุษย์และความเคารพดังกล่าวก็เป็นเป้าหมายในตัวเอง ศีลธรรมไม่อาจตั้งอยู่บนปัจจัยเชิงปฏิบัติเท่านั้นไม่ว่าจะเป็นผลประโยชน์ ความจำเป็น ความปรารถนาหรือรสนิยมของผู้คน ณ จุดใดจุดหนึ่ง คานท์ ชี้ว่าปัจจัยเหล่านี้เปลี่ยนแปลงได้และไม่แน่นอน ทำให้ไม่อาจใช้เป็นรากฐานของหลักศีลธรรมใดๆ อย่างเช่น “สิทธิมนุษยชนสากล” คานท์ มองว่าคุณค่าทางศีลธรรมของการกระทำไม่ได้อยู่ที่ผลพวงของการกระทำแต่อยู่ที่เจตนาแห่งหน้าที่ คือ “การทำสิ่งที่ถูกต้องด้วยเหตุผลที่ถูก”
ผู้วิจารณ์มองว่าแนวคิดของ เอมมานูเอล คานท์ ก็มีความแตกต่างไปจากออรถประโยชน์นิยม ตามหลักคิดของ เจเรมี่ เบนแธม แตกต่างไปจากเสรีนิยมของ จอห์น สจ๊วตมิลส์ แตกต่างไปจาก อริสโตเติล ในเรื่องของเหตุผล โดยเฉพาะในเรื่องของ “พันธะทางสังคมหรือสัญญาประชาคม” (Social contract) พันธะทางสังคมในที่นี้ คานท์ อธิบายว่าเป็นความคิดอย่างมีเหตุผลเป็นความคิดทางจินตนาการมีหน้าที่อย่างไรและไม่ได้บอกว่ามันจะผลิตหลักความยุติธรรมอะไร
บทที่ 6. ข้อสนับสนุนความเท่าเทียม/จอห์น รอลส์ จาก“พันธะทางสังคมหรือสัญญาประชาคม” (Social contract) ของ เอมานูเอล คานท์ ในทางจินตนาการแบบสมมติ กฎหมายจะยุติธรรมถ้าหากมันได้รับความเห็นพ้องจากประชาชนส่วนใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามก็ยังคงมีคำถามว่า แล้วพันธะทางสังคมในทางความเป็นจริง การตกลงแบบสมมติหรือในทางจินตนาการนั้นจะใช้เท่ากับของจริงได้อย่างไรในแง่ศีลธรรม
จอห์น รอลส์ ได้เสนอว่าวิธีที่เราคิดถึงความยุติธรรม คือ การถามว่าเราจะเห็นชอบกับหลักการชุดใดในจุดเริ่มต้นที่เท่าเทียมมาเขียนพันธะทางสังคมร่วมกัน เราเลือกหลักการอะไร คงยากที่จะเห็นพ้องทั้งหมด ต่างคนต่างหลักการคนละชุด ซึ่งสะท้อนผลประโยชน์ความเชื่อทางศีลธรรม ความเชื่อทางศาสนาและฐานะทางสังคมที่แตกต่างหลากหลาย บางคนร่ำรวย บางคนยากจน บางคนมีอำนาจและรู้จักคนมาก บางคนไม่รู้จักใคร บางคนเป็นสมาชิกกลุ่มน้อยทางสีผิว ชาติพันธุ์หรือศาสนา บางคนไม่อาจประนีประนอมกันได้ แต่หลักการที่ประนีประนอมกันนั้นน่าจะสะท้อนอำนาจการต่อรองของคนบางกลุ่มเหนือกลุ่มอื่น ไม่มีเหตุผลใดๆที่ทำให้เราเชื่อว่า พันธะทางสังคมซึ่งเกิดจากวิธีนี้เป็นสัญญาที่ยุติธรรม หลักการที่ รอลส์ เลือก คือ ไม่เลือกอรรถประโยชน์นิยมและไม่เลือกอิสระนิยมแบบสุดโต่ง เพราะรอลส์เชื่อว่า หลักการแห่งความยุติธรรมจะปรากฏอยู่ในพันธะทางสังคม มีอยู่ 2 ข้อ
ข้อที่ 1 คุ้มครองอิสรภาพพื้นฐานที่เท่าเทียมกันของพลเมือง
ข้อที่ 2 เป็นเรื่องของความเท่าเทียมกันแต่ก็ยอมรับเฉพาะความเหลื่อมล้ำทางสังคมและเศรษฐกิจที่เป็นประโยชน์ต่อคนด้อยโอกาสที่สุดในสังคม
ผู้วิจารณ์มองว่าพันธะทางสังคม ของ จอห์น รอลส์ ก็ยังมีข้อบกพร่องในเรื่องเรื่องของความยินยอมที่เข้าร่วมพันธะทางสังคม (การเข้าร่วมพันธะสัญญาทางสังคม) อาจไม่ได้เต็มใจเข้าร่วมนักหรือในครั้งนั้นไม่ได้มีโอกาสเข้าร่วมในพันธะสัญญาที่ตกลงกันนั้น อยู่ภายใต้สภาวะที่มีความกดดันที่ไม่สามารถปฏิเสธที่จะเข้าร่วมได้ แล้วพันธะทางสัญญาทางสังคมในลักษณะนี้มันเป็นธรรมหรือไม่หรือมีความยุติธรรมหรือไม่ ข้อนี้คงเป็นข้อบกพร่องของพันธะทางสังคมของ รอลส์
บทที่ 7. ถกเถียงเรื่องระบบโควตา ในบทนี้ผู้เขียนได้เสนอแนวคิดข้อถกเถียงระบบโควตา เช่นในกรณีเกี่ยวกับการเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย มีชาวสีผิว นามเชอชิล ฮ๊อฟวู๊ด ได้ฟ้องต่อศาลว่าเขาไม่ได้รับความเป็นในการถูกตัดสิทธิ์ในการเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยเท็กซัส ด้วยเหตุผลที่มาจากการที่มหาวิทยาลัยได้กำหนดโควตาของนักศึกษาในการเข้าเรียน คือ กำหนดให้สิทธิ์กับคนกลุ่มน้อย 15 % จากการกำหนดให้สิทธิ์คนกลุ่มน้อยดังกล่าวทำให้เขาไม่สามารถสมัครเข้าเรียนได้ การฟ้องร้องของเขาได้อ้างว่า เขาเป็นเหยื่อของการเลือกปฏิบัติของการกำหนดระบบโควตา และการฟ้องร้องในระบบโควตานี้ได้สู่การพิจารณาคดีของศาลมาหลายคดีมาแล้ว บางคดีศาลยังให้ใช้ระบบโควตาได้ จึงมีคำถามที่เกิดขึ้นนโยบายใช้ระบบโควตากับการรับสมัครนักศึกษานั้นขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญซึ่งรับประกันความเสมอภาคภายใต้กฎหมายหรือไม่ (การละเมิดรัฐธรรมนูญของความเท่าเทียมกัน) เราควรใช้ระบบโควตาหรือไม่ ได้มีแนวคิดสนับสนุนว่าควรใช้และแนวคิดที่ว่าไม่ควรใช้ระบบโควตาในมหาวิทยาลัยเพราะขัดหลักความเสมอภาคภายใต้รัฐธรรมนูญ
ฝ่ายที่สนับสนุนควรมีระบบโควตา ให้เหตุผลว่า ด้วยความหลากหลายในนามของผลประโยชน์สาธารณะทั้งประโยชน์สาธารณะของมหาวิทยาลัยและของสังคมในวงกว้างและเหตุผลว่าด้วยความหลากหลาย การเตรียมให้ชนกลุ่มน้อยผู้เสียเปรียบได้มีโอกาสเป็นผู้นำในภาครัฐและเอกชนจะช่วยบรรลุเป้าหมายทางสังคมของมหาวิทยาลัยและมีส่วนร่วมสร้างประโยชน์สาธารณะ
ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการใช้ระบบโควตา ให้เหตุผลว่าด้วยความหลากหลายได้มีข้อโต้แย้งทางปฏิบัติในทางหลักการซึ่งข้อโต้แย้งในทางปฏิบัติตั้งคำถามว่า นโยบายระบบโควตานั้นมีประสิทธิภาพจริงหรือไม่ การใช้เกณฑ์สีผิวเป็นเกณฑ์การคัดเลือกนั้นจะไม่ช่วยสร้างสังคมที่เป็น “พหุนิยม” มากกว่าเดิมหรือลดทอน “อคติ” และความเหลื่อมล้ำ แต่จะบั่นทอนความเชื่อมั่นในตัวเองของนักศึกษากลุ่มน้อย อาจจะก่อให้เกิดโทษมากว่าประโยชน์และข้อคิดเชิงหลักการ อ้างว่าไม่ทราบเป้าหมายของการให้ชั้นเรียนหลากหลายมากขึ้นหรือสร้างสังคมที่เท่าเทียมกันมากกว่าเดิมจะน่ายกย่องในการใช้สีผิวหรือชาติพันธุ์เป็นเกณฑ์คัดเลือกนักศึกษาก็ไม่เป็นธรรม เพราะการละเมิดสิทธิของผู้สมัครอย่าง เชอชิล ฮ๊อพวู๊ด ซึ่งไม่ได้ทำอะไรผิดแต่กลับตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบในการแข่งขัน
ในเรื่องนี้ผู้วิจารณ์มองว่าการใช้ระบบโควตาไม่ควรจะมีขึ้นเพราะถ้าเรามองถึงสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคเท่าเทียมในทางกฎหมายตามหลักคิดของพวกอิสระนิยม ควรจะเปิดให้มีการแข่งขันในการเข้าเรียนอย่างเสรีภาพภายใต้กรอบและคุณสมบัติที่กำหนด
บทที่ 8. ใครคู่ควรกับอะไร/อริสโตเติล ในบทนี้ผู้เขียนได้อธิบายถึงเรื่องของสิทธิและคุณสมบัติของการเป็นเชียร์ลีดเดอร์ ควรมีคุณสมบัติแบบใดที่เหมาะสมกับการเป็นเชียร์ลีดเดอร์ จากการที่ที่คนพิการที่นั่งรถเข็นได้กระตือรือร้นที่จะสร้างสีสันขอบสนามเวลาแข่งขันกีฬาระหว่างโรงเรียน สร้างแรงบันดาลใจให้กับนักฟุตบอลและแฟนๆ แต่พอจบฤดูกาล เธอก็ถูกกีดกันให้ออกจาการเป็นเชียร์ลีดเดอร์ โดยได้กำหนดคุณสมบัติใหม่ของการเป็นเชียร์ลีดเดอร์ต้องทำท่ายิมนาสติกรวมทั้งการถ่างขาและม้วนตัวได้ ทำให้เธอที่พิการไม่สามารถที่จะเป็นเชียร์ลีดเดอร์ได้อีกต่อไป จึงได้เกิดคำถามขึ้นว่า ด้วยความเป็นธรรมกับเธอหรือไม่ เป็นธรรมกับคนพิการอย่างเธอหรือไม่ และการเป็นเชียร์ลีดเดอร์ที่ดีมีความหมายอย่างไร เมื่อพิจารณาศึกษาความขัดแย้งเรื่องเชียร์ลีดเดอร์กับทฤษฎีความยุติธรรมของอริสโตเติล ประกอบด้วนหลักคิด 2 ประการ คือ
1.ความยุติธรรมเป็นเรื่องของเป้าประสงค์ การระบุสิทธิต่างๆแปลว่าเราต้องค้นหาเป้าประสงค์ของกิจกรรมทางสังคมที่กำลังพิจารณาก่อน
2.ความยุติธรรมเป็นเรื่องการใช้เหตุผลเกี่ยวเป้าประสงค์ของกิจกรรมหรือถกเถียงเรื่องนี้อย่างน้อยส่วนหนึ่ง คือ การให้เหตุผลเถียงกันว่า กิจกรรมนี้ควรยกย่องและให้รางวัลความดีข้อใด
ผู้วิจารณ์มองว่าความยุติธรรมของอริสโตเติล คือ การมอบสิ่งที่ผู้คนคู่ควรให้กับพวกเขา ให้ในสิ่งที่แต่ละคนควรได้โดยชอบธรรมเป็นการใช้เหตุผลแบบยึดเป้าประสงค์ กล่าวอีกนัยหนึ่งความยุติธรรมของอริสโตเติล คือ ความยุติธรรมแลกเปลี่ยนตอบแทน เป็นความยุติธรรมตามความสามารถโดยไม่ใช้เกณฑ์อื่น เช่น ความมั่งคั่ง ชาติตระกูล ความงดงามหรือโชค (เช่นการจับฉลาก) ดังนั้นเป้าประสงค์ของโรงเรียนให้มีเชียร์ลีดเดอร์นั้นเพื่ออะไร นั่นคือคำตอบของความยุติธรรมของอริสโตเติล
บทที่ 9. เราเป็นหนี้บุญคุณกันเรื่องอะไร?/ความย้อนแย้งเรื่องความจงรักภักดี ในบทนี้ผู้เขียนได้อธิบายถึงการขอโทษในการกระทำของบรรพบุรุษรุ่นก่อนที่กระทำต่อบุคคลต่างๆ เช่น การกระทำของนาซี โดย ฮิตเลอร์ ต่อชาวยิวภายหลังที่รัฐบาลเยอรมัน นำโดยนายกรัฐมนตรี คอนราด อเดนาวเออร์ ได้ขอโทษต่อหน้าสภาผู้แทนราษฎร การขอโทษของนายกรัฐมนตรีของออสเตรีเลียที่คนรุ่นก่อนหรือรัฐบาลรุ่นก่อนที่ทำลายวัฒนธรรมเผ่าอะบอริจิ้น ด้วยการเข้าไปมีครอบครัวกับชาวเผ่าอะบอริจิ้นโดยคนผิวขาวเพื่อให้กลืนเป็นชาวออสเตรเลียหรือแม้กระทั่งมีนโยบายขโมยเด็กชาวอะบอริจิ้นมาดูแลเพื่อให้กลืนเป็นชาวออสเตรเลีย เป็นต้น
การขอโทษในสิ่งเหล่านี้ซึ่งเป็นการไถ่บาปของบรรพบุรุษนั้นเป็นกระทำที่ควรหรือไม่? เป็นคำถามในเชิงปรัชญาการขอโทษและการไถ่บาปให้บรรพบุรุษเป็นวาทะกรรมทางการเมือง เป็นการอภิปรายสาธารณะ โดยแสร้งทำตัวเป็นกลางทั้งที่เป็นกลางไม่ได้ คือ สูตรสร้างปฏิกิริยาโต้กลับและความไม่พอใจของผู้คนที่ได้รับจากการกระทำของบรรพบุรุษ รัฐหรือรัฐบาลในปัจจุบันจึงจำเป็นต้องขอโทษหรือไถ่บาปให้กับบรรพบุรุษ เพื่อลดความเกลียดชังหรือลดการต่อต้านภายใต้ความสำนึก ความเจ็บปวดในอดีต หรือต้องการให้อภัยแก่บรรพบุรุษที่ได้กระทำลงไป แต่มองอีกมุมหนึ่งการขอโทษหรือการไถ่บาปของรัฐบาลปัจจุบันให้กับบรรพบุรุษนี้เป็นการสร้างภาพเพื่อการบริหารประเทศหรือไม่ เพราะดำเนินการขอโทษหรือไถ่บาปของรัฐหรือรัฐบาลมักจะกระทำไปในช่วงเวลาที่ชนะการเลือกตั้งเข้ามาบริหารประเทศเกือบทั้งนั้น
บทที่ 10. ความยุติธรรมและความดีสาธารณะ ในบทสุดท้ายนี้ผู้เขียนได้อธิบายถึงนักการเมือง นักปรัชญา โดยเฉพาะในฐานะผู้นำของประเทศกับการกล่าวถึงการวางตัวเป้นกลางในการบริหารประเทศ เช่น ในกรณีของ 2 พรรคการเมืองใหญ่ขิงสหรัฐอเมริกา พรรครีพับลิกันใช้ความคิดเรื่องรัฐที่เป็นกลาง กำหนดนโยบายเศรษฐกิจในปัจเจกชนควรมีอิสระภาพในการตัดสินใจทางเศรษฐกิจของพวกเขาได้ตามอำเภอใจ การที่รัฐเอาเงินภาษีประชาชนไปใช้จ่ายหรือกำกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อเป้าหมายสาธารณะนั้นเป็นการยัดเยียดวิสัยทัศน์ของรัฐเกี่ยวกับความดีสาธารณะซึ่งไม่ใช่ทุกคนที่เห็นด้วย นี่คือแนวคิดที่จอห์น เคนเนดี ได้อ้างถึง แต่ในขณะที่พรรคเดโมแครตใช้รัฐแทรกแซงในตลาดเสรีเพื่อสังคมและวัฒนธรรมในการบริหารประเทศ โดย บารัค โอบามา ได้ปฏิเสธว่ารัฐวางตัวเป็นกลางไม่ได้ ควรที่ให้รัฐเข้ามาแทรกแซงเพื่อประโยชน์ของคนส่วนรวม
จากหนังสือเรื่อง “ความยุติธรรม” ที่ผู้เขียน ไมเคิล เจ แซนเดล เขียนขึ้นทั้ง 10 บทนี้ ซึ่งมาจากการถ่ายทอดบทสนทนาและการโต้วาทีในชั้นเรียนระหว่างนักศึกษาด้วยกันและระหว่างอาจารย์กับนักศึกษาเกี่ยวกับความรู้เกี่ยวประวัติศาสตร์ ความคิดทางปรัชญาการเมืองในโลกตะวันตก ในมุมมองการให้เหตุผลใน เรื่องศีลธรรม เรื่องอิสระนิยม เรื่องอรรถประโยชน์นิยม เรื่องความยุติธรรมแลกเปลี่ยนตอบแทน เป็นต้น ไมเคิล เจ แซนเดล พยายามบอกว่า “ความยุติธรรม”นั้นถึงที่สุดแล้วเป็นเรื่องของการ “ให้คุณค่า” กับสิ่งต่างๆและด้วยเหตุนี้ ทั้ง “เหตุผล” และ “ศีลธรรม” จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นการให้เหตุผลทางศีลธรรมจึงไม่ใช่เป็นสิ่งที่เป็นไปไปไม่ได้หรือไม่ควรนำมาคิดวิเคราะห์ในการกระทำ แต่เป็นสิ่งที่เราทำอยู่แล้วในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่ ผู้วิจารณ์หวังว่าหนังสือเล่มนี้เป็นตัวอย่างของปัญญาปฏิบัติเป็นการให้เหตุผลสาธารณะเพื่อถกมิติทางศีลธรรมในประเด็นสาธารณะ เพื่อชีวิตและประโยชน์สาธารณะในสังคมไทยให้พ้นไปจากมนุษย์อันคับแคบ ไม่ว่าจะเป็นแบบเข้าข้างตัวเอง แบบยึดติดกับตัวบทกฎหมายหรือแบบ “ลัทธิคลั่งศีลธรรม” ก็ตามที
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過11萬的網紅PRAEW,也在其Youtube影片中提到,คลิปใหม่ คลิก http://bit.ly/PRAEW การเลี้ยงเด็กคนนึงให้เติบโตขึ้นมาเป็นเรื่องที่ละเอียด แม่มือใหม่เลี้ยงลูกมีหลายๆอย่างที่บางทีเราไม่ทราบ พอได้มีประส...
รับจ้างอุ้มบุญ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
บทวิจารณ์หนังสือ เรื่อง “ความยุติธรรม” (JUSTICE)
สิทธิกร ศักดิ์แสง
หนังสือ เรื่อง “ความยุติธรรม” (JUSTICE) ที่เขียนโดย ไมเคิล เจ แซนเดล (Michael J. Sandel) แปลโดย สฤณี อาชวานันทกุล หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นมาเพื่อค้นหาความหมาย ปรัชญาและวิวาทะ ว่าด้วยความยุติธรรมในทุกมิติ ผ่านตัวอย่างร่วมสมัยในชีวิติจริงของตัวผู้เขียนเองและตัวผู้แปล
ตัวผู้เขียน ไมเคล เจ แซนเดล (Michael J. Sandel) เป็นนักปรัชญาการเมือง เป็นผู้บรรยายและผู้สอน ปรัชญาการเมือง วิชา “ความยุติธรรม” ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ตัวเขาเองเชื่อว่า ความเชื่อทางศีลธรรมและศาสนาเป็นเรื่อง “ส่วนตัว” ไม่ใช่เป็นเรื่อง “สาธารณะ” วิชา “ความยุติธรรม” ที่สอนโดย ไมเคิล เจ แซนเดล ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากของผู้เรียนในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ที่มีการถกเถียงของชีวิตการเมืองสมัยใหม่ อาทิ เรื่องจริยธรรม เรื่องอรรถประโยชน์ เสรีนิยม ศีลธรรมนิยม สิทธิและหน้าที่รับผิดชอบของคนในสังคม เป็นต้น
ตัวผู้แปล สฤณี อาชวานันทกุล จบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและปริญญาโทด้านการบริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ซึ่งปัจจุบันเป็นอาจารย์สอนพิเศษในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท คณะพาริชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ติดตามและการถ่ายทอดพัฒนาการใหม่ ณ พรมแดนความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ และที่สำคัญผู้แปลได้มีโอกาสลงเรียนในวิชา “ความยุติธรรม” กับผู้เขียนในฐานะเป็นลูกศิษย์อาจารย์ทำให้ผู้แปลเข้าใจบริบทงานเขียนของผู้เขียนเป็นอย่างดี
หนังสือ เรื่อง “ความยุติธรรม” (JUSTICE) ได้กล่าวถึงการค้นหา ความหมาย ปรัชญา วิวาทะว่าด้วย “ความยุติธรรม” ในทุกมิติผ่านตัวอย่างร่วมสมัยในชีวิตจริงโดยการนำหลักแนวคิด เช่น แนวเกี่ยวกับการควบคุมศีลธรรม หลักอิสระนิยม หลักอรรถประโยชน์นิยม หลักความยุติธรรมแลกเปลี่ยนตอบแทน เป็นต้น มาวิเคราะห์วิจารณ์ ประกอบด้วย 10 บท ดังนี้
บทที่ 1 การทำสิ่งที่ถูกต้อง ไมเคล เจ แซนเดล (Michael J. Sandel) ได้อธิบายปัญหาสภาพของสังคม เช่น การโก่งราคาในภาวะที่เกิดภัยพิบัติพายุเฮอร์ริเคน ในอ่าวเม็กซิโก พัดผ่านรัฐฟลอริดาไปยังมหาสมุทรแอตแลนติก ทำให้ปัญหาเครื่องใช้ เครื่องอุปโภคขาดแคลน ร้านค้าต่างๆต่างโก่งราคา (ขึ้นราคา) ทำให้ประชาชนเดือดร้อนยิ่งขึ้น ประชาชนเกิดความโกรธแค้นต่อการขึ้นราคาสินค้า ในคำถามนี้การขึ้นราคาในเวลาภาวะคับขันเช่นนี้เป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ เราควรจะมีกฎหมายขึ้นมาควบคุมการค้ากำไรเกินควรหรือไม่ ทำให้มีการโต้แย้งแนวคิดนี้ อยู่ 2 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่ 1 มองว่า การมีกฎหมายการค้ากำไรเกินควร รวมถึงความโกรธแค้นของประชาชนต่อการขึ้นราคาสิ้นค้า เป็นเรื่องที่เข้าใจผิด นักปรัชญาและนักเทววิทยาในยุคกลางเชื่อว่า การแลกเปลี่ยนควรเกิดขึ้นใน “ราคาที่เป็นธรรม” ซึ่งกำหนดโดยประเพณีหรือมูลค่าในตัวเองของข้าวของ แต่ในสังคมตลาดนักเศรษฐศาสตร์สังเกตว่า ราคาถูกกำหนดด้วยอุปสงค์และอุปทาน ฉะนั้น “ราคาที่เป็นธรรม” ไม่มีอยู่จริง
กลุ่มที่ 2 มองว่าการออกกฎหมายค้ากำไรเกินควร คือ ข้อเสนอว่าด้วยคุณธรรม เพราะในภาวะฉุกเฉินรัฐบาลไม่อาจยืนดูอยู่ขอบสนาม เมื่อประชาชนต้องจ่ายราคาอันไร้ซึ่งมโนธรรม ขณะที่พวกเขาวิ่งหนีเอาชีวิตรอดหรือเสาะหาปัจจัยพื้นฐานสำหรับ ครอบครัวหลังจากพายุเฮอร์ริเคน ที่ไม่ใช้สถานการณ์ปกติในตลาดเสรี ซึ่งผู้ซื้อและผู้ขายต่างสมัครใจซื้อขายกันในตลาดโดยตกลงราคากันบนพื้นฐานของอุปสงค์และอุปทาน ในภาวะฉุกเฉินผู้ซื้ออยู่ภายใต้แรงกดดันและปราศจากอิสระภาพ พวกเขาถูกบังคับให้ต้องซื้อปัจจัยพื้นฐานอย่างเช่น ที่พักที่ปลอดภัย เป็นต้น
ผู้วิจารณ์มองว่าข้อโต้แย้งในเรื่องที่ว่าแม้จะเกิดภัยพิบัติอะไรก็ตามการขึ้นราคาสินค้าเกินควรนั้นเป็นไปตามอุปสงค์และอุปทานเป็นไปตามกลไกลตลาดเสรีไม่ถือว่าเป็นเรื่องที่ผิดศีลธรรมแต่อย่างไร ผู้วิจารณ์เห็นว่าการมองเช่นนี้เป็นเรื่องที่อันตรายต่อสังคมที่ได้รับเจ็บปวดจากภัยพิบัติแล้วต้องมารับการขึ้นราคาสิ้นค้าเกินควรของพวกพ่อค้าเห็นว่าเป็นการกระทำที่ผิดศีลธรรม ดังควรแล้วที่จะนำกฎหมายมาควบคุมการการค้ากำไรเกินควร
บทที่ 2 หลักความสุขสูงสุด/อรรถประโยชน์นิยม ไมเคล เจ แซนเดล (Michael J. Sandel) ได้อธิบายถึงเรื่อง ความสุขสูงสุดของอรรถประโยชน์นิยมตามหลักแนวคิดของ เจรีมี เบนแธม (Jeremy Bentham) มาศึกษาวิเคราะห์กับการฆ่าคน คือ การฆ่าเด็กรับใช้เพื่อความอยู่รอดในสถานการณ์คับขัน ถ้าหากไม่มีใครถูกฆ่าและถูกิกนทั้ง 4 คนอาจจะต้องตาย จากเหตุการณ์ในฤดูร้อน ปี ค.ศ. 1884 กรณีเรื่อล่มโดยมีชาวอังกฤษ 4 คน ประกอบด้วย ธอมัส ดัดลีย์ (กัปตัน) เอ็ดวิน สตีเฟนต์ (ผู้ช่วยกัปตัน) เอ็ดมุนด์ บรูคส์ (กะลาสีเรือ) และริชาร์ด ปาร์กเกอร์ (คนรับใช้) ทั้งสี่คนลอยเท้งเต้งในเรือชูชีพ เป็นเวลาหลายวันโดยไม่มีอาหารจำเป็นต้องฆ่าคนที่อ่อนแอที่สุดมาเป็นอาหารเพื่อประทังชีวิต จากประเด็นดังกล่าว ไมเคล เจ แซนเดล ได้ตั้งข้อสมติฐานของอรรถประโยชน์นิยมว่า ศีลธรรมเป็นเรื่องของการชั่งน้ำหนักระหว่างโทษและประโยชน์เพียงแต่ต้องคิดบัญชีผลพวงทางสังคมอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ เกิดข้อถกเถียง 2 ข้อ ดังนี้
ข้อที่ 1 เราตั้งคำถามได้ว่าการฆ่าคนเพื่อความอยู่รอดเป็นประโยชน์สูงกว่าต้นทุนจริงหรือไม่ ต่อให้นับชีวิตที่ช่วยได้และความสุขของผู้รอดตายและครอบครัวแล้ว การยอมให้ฆ่าคนแบบนี้มีผลทางแง่ลบต่อสังคมส่วนรวม เช่น ทำให้ค่านิยมที่ต่อต้านการฆาตกรรมอ่อนแอลงหรือเพิ่มแนวโน้มที่คนจะทำตัวเป็นศาลเตี้ยหรือทำให้กัปตันหาเด็กรับใช้บนเรือยากกว่าเดิม
ข้อที่ 2 ต่อให้ประโยชน์ทั้งหมดอาจมีมากกว่าโทษจริงๆเราจะไม่รู้สึกเลยหรือว่า การฆ่าและกินเนื้อเด็กรับใช้ที่ไม่มีทางสู้นั้นเป็นสิ่งผิด ด้วยเหตุผลที่อยู่นอกเหนือการคำนวณประโยชน์และโทษต่อสังคม? การใช้ชีวิตมนุษย์แบบนี้ผิดหรือไม่? การฉวยโอกาสจากความเปราะบางของเขา ฆ่าคนโดยที่เขาไม่ยินยอม? ถึงแม้ว่าการฆาตกรรมนั้นจะทำให้คนอื่นได้รับประโยชน์?
ผู้วิจารณ์มองว่าถ้านำแนวคิดแบบอรรถประโยชน์สูงสุด ตามแนวคิด เจเรมี เบนแธม ว่าการกระทำเช่นนี้ถือเป็นการกระทำเพื่อความอยู่รอดของอรรถประโยชน์ส่วนรวมแล้วถือเป็นการที่กระทำได้ แต่ถ้าพิจารณาถึงแนวคิดเรื่องของศีลธรรมนิยมการกระทำดังกล่าวถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อศีลธรรมเป็นอย่างมาก จุดนี้เองแนวคิดขัดแย้งระหว่างสำนักกฎหมายธรรมชาติที่เน้นเรื่องศีลธรรมกับสำนักกฎหมายปฏิฐานนิยมที่อยู่บนพื้นฐานประโยชน์สูงสุดของส่วนรวมและสำนักอรรถประโยชน์ที่วางหลักความสุขสูงสุด
บทที่ 3 เราเป็นเจ้าของตัวเองหรือ?/สิทธิอิสระนิยม ไมเคล เจ แซนเดล (Michael J. Sandel) ได้อธิบายถึงการเก็บภาษีคนรวยมาเลี่ยงคนจนนั้นเป็นเรื่องที่ถูกต้องหรือไม่ ในสังคมประเทศสหรัฐอเมริกา กรณีการเก็บภาษีคนรวย เช่น การเก็บภาษี บิลเกตส์และโอปราห์ วินฟรีย์ หนักเกินไป โดยที่เขาและเธอไม่ยินยอมเท่ากับเป็นการบังคับ ถึงแม้กระทำด้วยเจตนาดีก็ตามมันจะละเมิดอิสรภาพที่คนจะทำอะไรก็ได้กับเงินตามที่พวกเขาต้องการ ผู้คัดค้านการกระจายรายได้เหตุผลในทำนองนี้มักจะถูกเรียกว่า “พวกอิสระนิยม” (libertarian) ซึ่งนักอิสระนิยมชอบตลาดเสรีที่ได้การกำกับและต่อต้านการกำกับดูแลของรัฐ “ไม่ใช่ในนามของประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ” แต่ “ในนามของเสรีภาพของมนุษย์” ข้ออ้างแก่นแท้ของพวกอิสระนิยม คือ มนุษย์แต่ละคนมีสิทธิขั้นพื้นฐานต้องการอิสรภาพ สิทธิที่จะทำอะไรก็ตามกับของเราที่เราเป็นเจ้าของตราบที่เราเคารพสิทธิของผู้อื่นที่จะทำอย่างเดียวกัน
ดังนั้นนักคิดอิสระนิยมได้เสนอแนวคิดการดำเนินการของรัฐเพียงดำเนินการของรัฐเพียงดำเนินการในลักษณะ “รัฐขั้นต่ำ” คือ รัฐควรบังคับใช้สัญญาพิทักษ์รักษาชีวิตและทรัพย์สินส่วนบุคคลและรักษาสันติภาพเพียงเท่านั้น นักคิดอิสระนิยมได้ปฏิเสธนโยบายของรับสมัยใหม่ที่ดำเนินการอยู่ 3 ประการดังนี้
ประการที่ 1 ปฏิเสธลัทธิพ่อปกครองลูก (paternalism) การต่อต้านกฎหมายที่ออกจากรัฐเพื่อป้องกันไม่ให้ทำร้ายตนเอง เช่น กฎหมายบังคับให้คาดเข็มขัดนิรภัยและการสวมหมวกกันน๊อค เพราะพวกนี้ไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อน รัฐไม่มีสิทธิมากำหนดว่าพวกเขาจะนำร่างกายและชีวิตไปเกี่ยวกับไรได้หรือไม่ก็ได้
ประการที่ 2 ปฏิเสธการบัญญัติศีลธรรม นักอิสระนิยมต่อต้านการใช้อำนาจบังคับของกฎหมายในการส่งเสริมว่าด้วยคุณธรรมหรือการแสดงความเชื่อทางศีลธรรม
ประการที่ 3 ปฏิเสธการกระจายรายได้หรือความมั่งคั่ง นักอิสระนิยมมองว่า ภาษีเพื่อกระจายรายได้ คือ การบีบบังคับรูปแบบหนึ่งเป็นการขโมยด้วยซ้ำไป รัฐไม่มีสิทธิบังคับให้คนรวยผู้เสียภาษีสนับสนุนโครงการทางสังคมเพื่อคนจน เช่น เดียวกับที่ขโมยเงินจากคนรวยไปมอบให้คนจน
ผู้วิจารณ์มองว่ารัฐควรกำหนดเก็บภาษีคนรวยตามที่รายได้ที่พึงต้องหักภาษี คนมีรายได้เยอะเก็บภาษีมาก คนมีรายได้ก็ก็เก็บภาษีน้อย การเก็บภาษีในลักษณะนี้ถือว่าเป็นการกระจายรายได้มาบริการสาธารณะเพื่อคนส่วนรวม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำของสังคมระหว่างคนจนกับคนรวยเป็นเรื่องที่มีความเหมาะสม ถ้าปล่อยตามแนวคิดของพวกอิสระนิยมมันจะก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคมมากยิ่งขึ้น ดังนั้นจะรัฐจะประสบปัญหาในการบริการสาธารณะในด้านต่างๆที่ไม่รายได้จากการเก็บภาษีที่เพียงพอในการจัดทำดังกล่าว ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางทางคมมากยึ่งขึ้น
บทที่ 4 ลูกจ้าง/ตลาดและศีลธรรม ผู้เขียนได้อธิบายในเรื่องที่เกี่ยวกับความยุติธรรมในตลาดเสรี ว่าตลาดเสรีเป็นธรรมหรือไม่ มีสินค้าอะไรที่เงินซื้อไม่ได้ หรือไม่ควรซื้อหรือไม่ ถ้ามีสินค้าเหล่านี้คืออะไร แล้วทำการซื้อขายมันถึงเป็นสิ่งผิด โดยนำหลักศีลธรรมมาวิเคราะห์อยู่ 2 เรื่อง คือ
เรื่องที่ 1 ความยุติธรรมระหว่างการเกณฑ์ทหารกับการจ้างคนเป็นทหาร คือ การเกณฑ์ทหารขัดแย้งกับจารีตปัจเจกนิยมในสังคมอเมริกา และกฎหมายเกณฑ์ทหารของยูเนียนก็ก้มหัวใจให้กับจารีตนี้ คือ “ใครก็ตามที่ถูกเกณฑ์แต่ไม่อยากเป็นทหารสามารถจ้างคนอื่นมาเป็นทหารแทนได้” กลับกลายเป็นว่า “สงครามของคนรวยสนามรบของคนจน” การกระทำเช่นนี้ขัดต่อหลักศีลธรรมหรือไม่ มันเป็นการติดป้ายราคาให้กับชีวิตมนุษย์ (ความเสี่ยงที่จะตาย) และรัฐก็มอบความชอบธรรมให้กับราคานั้น (ค่าจ้างให้เป็นทหารแทน) สังคมอเมริกาจึงได้มีทหารเกณฑ์อยู่ 3 แบบ คือ ทหารที่ถูกเกณฑ์ ทหารที่รับจ้างที่ถูกเกณฑ์ ทหารอาสา (ระบบตลาดกองทัพอาสา) และส่วนในสังคมอเมริกาจะมีทหารที่เป็นกองทัพอาสามากกว่าทหารเกณฑ์ โดยการหากองทัพอาสาจะเสาะหาผ่านตลาดแรงงาน ไม่ต่างจากร้านอาหาร ธนาคาร ร้านค้าปลีกและธุรกิจอื่น ซึ่งการเป็นทหารอาสานี้กลุ่มนักคิดอิสระนิยมได้มองว่าการมีระบบทหารอาสาถือเป็นความยุติธรรมเสรีในระบบตลาด การปล่อยให้คนเลือกเป็นทหารเองโดยคำนึงถึงค่าตอบแทนที่ได้รับทำให้พวกเขาจะมาเป็นทหารก็ต่อเมื่อการทำอย่างนั้นสร้างอรรถประโยชน์สูงสุดให้กับตัวเอง ใครที่ไม่อยากเป็นทหารก็ไม่ต้องสูญเสียอรรถประโยชน์จากการถูกบังคับให้เป็นทหารโดยไม่สมัครใจ แต่อย่างไรก็ตามได้มีกลุ่มนักคิดอีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มศีลธรรมนิยมได้มีความเห็นแย้งกับการมีกองทัพอาสา ควรจะเป็นทหารเกณฑ์เท่านั้น ด้วยเหตุผลว่าการใช้กลไกตลาดกับกองทัพอาสาเป็นเรื่องของความไม่เป็นธรรมและการบีบบังคับ ความไม่เป็นธรรมของการเลือกปฏิบัติทางชนชั้นและการบีบบังคับที่เกิดขึ้นได้ถ้าหากความเสียเปรียบทางเศรษฐกิจผลักดันคนหนุ่มสาวให้เสี่ยงความตายแลกกับการได้เรียนมหาวิทยาลัยและสิทธิประโยชน์อื่นๆ จึงเป็นคำถามว่า “บริการทางหาร” (และการรับใช้ชาติโดยรวม) เป็นหน้าที่ของพลเมืองทุกคนหรือเป็นแต่งานหนักและเสี่ยงตายเหมือนงานอื่นๆ (เช่น งานเหมืองถ่านหิน) ซึ่งถูกกำกับอย่างเหมาะสมแล้วโดยตลาดแรงงาน แล้วมีคำถามต่อมาว่า พลเมืองในสังคมประชาธิปไตยมีพันธะอะไรต่อกันบ้างและพันธะเหล่านี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร เมื่อพิเคราะห์ดูว่าควรจะมีการเกณฑ์ทหารหรือให้มีทหารรับจ้าง อะไรคือความยุติธรรม
เรื่องที่ 2 รับจ้างอุ้มบุญ การรับจ้างอุ้มบุญหรือการรับจ้างอุ้มท้องแทนก็เป็นเรื่องหนึ่งของแนวคิดกลุ่มอิสระนิยมกับกลุ่มศีลธรรมนิยมได้มีความคิดที่โต้แย้งกันทางความคิด คือ กลุ่มที่สนับสนุนในเสรีภาพในการทำสัญญาการอุ้มทองแทนกันนั้นเป็นข้อตกลงบนพื้นฐานด้วยความสมัครใจในแดนแห่งเสรีภาพในการทำสัญญา ในข้อตกลงที่ได้ประโยชน์ด้วยกันทั้งสองฝ่าย ผู้ว่าจ้างจะได้ทารกที่ดองกับเขาทางพันธุกรรม ส่วนผู้รับจ้างอุ้มท้องแทน (รับจ้างอุ้มบุญ) ก็จะได้เงินสำหรับการทำงาน 9 เดือน (การอุ้มท้อง) กลุ่มที่ไม่เห็นด้วย คือ กลุ่มศีลธรรมนิยม ได้ให้เหตุผลว่า สัญญาการอุ้มท้องแทนกันนั้นไม่ใช่สัญญาทางพาณิชย์ทั่วไป มีข้อพิจารณาอยู่ 2 ข้อ ข้อที่ 1 ผู้รับจ้างอุ้มท้องแทนได้รับข้อมูลเพียงหรือไม่ ตอนที่ตกลงตั้งท้องแทนและยกลูกให้คนอื่น ข้อที่ 2 การซื้อขายทารกหรือการเช่าความสามารถในการเจริญพันธุ์ของผู้หญิงเป็นสิ่งน่ารังเกียจ (ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองและศีลธรรมอันดีของประชาชน) แม้ว่าทั้งสองฝ่ายจะตกลงกันก็ตาม เราอาจถกเถียงได้ว่าการทำแบบนี้เท่ากับแปลงเด็กให้เป็นสินค้าและเอาเปรียบผู้หญิงด้วยการมองว่าการตั้งท้องและการอุ้มท้องเป็นธุรกิจทำเงิน
ซึ่งจากสถานการณ์ทั้ง 2 เรื่องที่กล่าวมาข้างต้นผู้วิจารณ์มองว่าเป็นการยากที่จะตอบคำถามที่แบ่งแนวคิดเรื่อง “ความยุติธรรม” การตัดสินใจของเราในตลาดเสรีนั้นเป็นอิสระเพียงใดและมีคุณธรรมหรือสินค้าสูงส่งชนิดใดหรือไม่ที่ตลาดไม่ควรตีค่าและเงินซื้อไม่ได้ทั้งสองกรณีเพราะผิดศีลธรรมเป็นอย่างมาก
บทที่ 5 สิ่งสำคัญคือเจตนา/เอมมานูเอล คานท์ ในบทนี้ผู้เขียนอธิบายถึงแนวคิดเรื่อง “สิทธิมนุษยชนกับแนวคิดอรรถประโยชน์นิยม” ที่มองมนุษย์ทุกคนควรแก่นับถือ ไม่ว่าพวกเขาจะเป็นใครหรืออยู่ที่ไหน มันก็ผิดที่เราจะปฏิบัติต่อพวกเขาราวกับเครื่องมือสร้างความสุขส่วนรวมเท่านั้น ข้อสนับสนุนสิทธิของ คานท์ ได้เสนอทางเลือกในการมองหน้าที่และสิทธิไม่ได้ตั้งอยู่บนความคิดที่ว่าเราเป็นเจ้าของตัวเองหรือข้ออ้างที่ว่า “ชีวิตและอิสรภาพของเราคือ ของขวัญจากรพระผู้เป็นเจ้า” แต่ตั้งอยู่บนความคิดที่ว่า “เราเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเหตุผลซึ่งคู่ควรแก่เกียรติยศและความเคารพ”
เอมมานูเอล คานท์ ได้วิพากษ์วิจารณ์อรรถประโยชน์นิยมโดยเสนอว่า ศีลธรรมไม่ใช่เรื่องของการสร้างความสุขสูงสุดหรือเป้าหมายอื่นใด แต่เป็นเรื่องของความเคารพในมนุษย์และความเคารพดังกล่าวก็เป็นเป้าหมายในตัวเอง ศีลธรรมไม่อาจตั้งอยู่บนปัจจัยเชิงปฏิบัติเท่านั้นไม่ว่าจะเป็นผลประโยชน์ ความจำเป็น ความปรารถนาหรือรสนิยมของผู้คน ณ จุดใดจุดหนึ่ง คานท์ ชี้ว่าปัจจัยเหล่านี้เปลี่ยนแปลงได้และไม่แน่นอน ทำให้ไม่อาจใช้เป็นรากฐานของหลักศีลธรรมใดๆ อย่างเช่น “สิทธิมนุษยชนสากล” คานท์ มองว่าคุณค่าทางศีลธรรมของการกระทำไม่ได้อยู่ที่ผลพวงของการกระทำแต่อยู่ที่เจตนาแห่งหน้าที่ คือ “การทำสิ่งที่ถูกต้องด้วยเหตุผลที่ถูก”
ผู้วิจารณ์มองว่าแนวคิดของ เอมมานูเอล คานท์ ก็มีความแตกต่างไปจากออรถประโยชน์นิยม ตามหลักคิดของ เจเรมี่ เบนแธม แตกต่างไปจากเสรีนิยมของ จอห์น สจ๊วตมิลส์ แตกต่างไปจาก อริสโตเติล ในเรื่องของเหตุผล โดยเฉพาะในเรื่องของ “พันธะทางสังคมหรือสัญญาประชาคม” (Social contract) พันธะทางสังคมในที่นี้ คานท์ อธิบายว่าเป็นความคิดอย่างมีเหตุผลเป็นความคิดทางจินตนาการมีหน้าที่อย่างไรและไม่ได้บอกว่ามันจะผลิตหลักความยุติธรรมอะไร
บทที่ 6. ข้อสนับสนุนความเท่าเทียม/จอห์น รอลส์ จาก“พันธะทางสังคมหรือสัญญาประชาคม” (Social contract) ของ เอมานูเอล คานท์ ในทางจินตนาการแบบสมมติ กฎหมายจะยุติธรรมถ้าหากมันได้รับความเห็นพ้องจากประชาชนส่วนใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามก็ยังคงมีคำถามว่า แล้วพันธะทางสังคมในทางความเป็นจริง การตกลงแบบสมมติหรือในทางจินตนาการนั้นจะใช้เท่ากับของจริงได้อย่างไรในแง่ศีลธรรม
จอห์น รอลส์ ได้เสนอว่าวิธีที่เราคิดถึงความยุติธรรม คือ การถามว่าเราจะเห็นชอบกับหลักการชุดใดในจุดเริ่มต้นที่เท่าเทียมมาเขียนพันธะทางสังคมร่วมกัน เราเลือกหลักการอะไร คงยากที่จะเห็นพ้องทั้งหมด ต่างคนต่างหลักการคนละชุด ซึ่งสะท้อนผลประโยชน์ความเชื่อทางศีลธรรม ความเชื่อทางศาสนาและฐานะทางสังคมที่แตกต่างหลากหลาย บางคนร่ำรวย บางคนยากจน บางคนมีอำนาจและรู้จักคนมาก บางคนไม่รู้จักใคร บางคนเป็นสมาชิกกลุ่มน้อยทางสีผิว ชาติพันธุ์หรือศาสนา บางคนไม่อาจประนีประนอมกันได้ แต่หลักการที่ประนีประนอมกันนั้นน่าจะสะท้อนอำนาจการต่อรองของคนบางกลุ่มเหนือกลุ่มอื่น ไม่มีเหตุผลใดๆที่ทำให้เราเชื่อว่า พันธะทางสังคมซึ่งเกิดจากวิธีนี้เป็นสัญญาที่ยุติธรรม หลักการที่ รอลส์ เลือก คือ ไม่เลือกอรรถประโยชน์นิยมและไม่เลือกอิสระนิยมแบบสุดโต่ง เพราะรอลส์เชื่อว่า หลักการแห่งความยุติธรรมจะปรากฏอยู่ในพันธะทางสังคม มีอยู่ 2 ข้อ
ข้อที่ 1 คุ้มครองอิสรภาพพื้นฐานที่เท่าเทียมกันของพลเมือง
ข้อที่ 2 เป็นเรื่องของความเท่าเทียมกันแต่ก็ยอมรับเฉพาะความเหลื่อมล้ำทางสังคมและเศรษฐกิจที่เป็นประโยชน์ต่อคนด้อยโอกาสที่สุดในสังคม
ผู้วิจารณ์มองว่าพันธะทางสังคม ของ จอห์น รอลส์ ก็ยังมีข้อบกพร่องในเรื่องเรื่องของความยินยอมที่เข้าร่วมพันธะทางสังคม (การเข้าร่วมพันธะสัญญาทางสังคม) อาจไม่ได้เต็มใจเข้าร่วมนักหรือในครั้งนั้นไม่ได้มีโอกาสเข้าร่วมในพันธะสัญญาที่ตกลงกันนั้น อยู่ภายใต้สภาวะที่มีความกดดันที่ไม่สามารถปฏิเสธที่จะเข้าร่วมได้ แล้วพันธะทางสัญญาทางสังคมในลักษณะนี้มันเป็นธรรมหรือไม่หรือมีความยุติธรรมหรือไม่ ข้อนี้คงเป็นข้อบกพร่องของพันธะทางสังคมของ รอลส์
บทที่ 7. ถกเถียงเรื่องระบบโควตา ในบทนี้ผู้เขียนได้เสนอแนวคิดข้อถกเถียงระบบโควตา เช่นในกรณีเกี่ยวกับการเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย มีชาวสีผิว นามเชอชิล ฮ๊อฟวู๊ด ได้ฟ้องต่อศาลว่าเขาไม่ได้รับความเป็นในการถูกตัดสิทธิ์ในการเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยเท็กซัส ด้วยเหตุผลที่มาจากการที่มหาวิทยาลัยได้กำหนดโควตาของนักศึกษาในการเข้าเรียน คือ กำหนดให้สิทธิ์กับคนกลุ่มน้อย 15 % จากการกำหนดให้สิทธิ์คนกลุ่มน้อยดังกล่าวทำให้เขาไม่สามารถสมัครเข้าเรียนได้ การฟ้องร้องของเขาได้อ้างว่า เขาเป็นเหยื่อของการเลือกปฏิบัติของการกำหนดระบบโควตา และการฟ้องร้องในระบบโควตานี้ได้สู่การพิจารณาคดีของศาลมาหลายคดีมาแล้ว บางคดีศาลยังให้ใช้ระบบโควตาได้ จึงมีคำถามที่เกิดขึ้นนโยบายใช้ระบบโควตากับการรับสมัครนักศึกษานั้นขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญซึ่งรับประกันความเสมอภาคภายใต้กฎหมายหรือไม่ (การละเมิดรัฐธรรมนูญของความเท่าเทียมกัน) เราควรใช้ระบบโควตาหรือไม่ ได้มีแนวคิดสนับสนุนว่าควรใช้และแนวคิดที่ว่าไม่ควรใช้ระบบโควตาในมหาวิทยาลัยเพราะขัดหลักความเสมอภาคภายใต้รัฐธรรมนูญ
ฝ่ายที่สนับสนุนควรมีระบบโควตา ให้เหตุผลว่า ด้วยความหลากหลายในนามของผลประโยชน์สาธารณะทั้งประโยชน์สาธารณะของมหาวิทยาลัยและของสังคมในวงกว้างและเหตุผลว่าด้วยความหลากหลาย การเตรียมให้ชนกลุ่มน้อยผู้เสียเปรียบได้มีโอกาสเป็นผู้นำในภาครัฐและเอกชนจะช่วยบรรลุเป้าหมายทางสังคมของมหาวิทยาลัยและมีส่วนร่วมสร้างประโยชน์สาธารณะ
ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการใช้ระบบโควตา ให้เหตุผลว่าด้วยความหลากหลายได้มีข้อโต้แย้งทางปฏิบัติในทางหลักการซึ่งข้อโต้แย้งในทางปฏิบัติตั้งคำถามว่า นโยบายระบบโควตานั้นมีประสิทธิภาพจริงหรือไม่ การใช้เกณฑ์สีผิวเป็นเกณฑ์การคัดเลือกนั้นจะไม่ช่วยสร้างสังคมที่เป็น “พหุนิยม” มากกว่าเดิมหรือลดทอน “อคติ” และความเหลื่อมล้ำ แต่จะบั่นทอนความเชื่อมั่นในตัวเองของนักศึกษากลุ่มน้อย อาจจะก่อให้เกิดโทษมากว่าประโยชน์และข้อคิดเชิงหลักการ อ้างว่าไม่ทราบเป้าหมายของการให้ชั้นเรียนหลากหลายมากขึ้นหรือสร้างสังคมที่เท่าเทียมกันมากกว่าเดิมจะน่ายกย่องในการใช้สีผิวหรือชาติพันธุ์เป็นเกณฑ์คัดเลือกนักศึกษาก็ไม่เป็นธรรม เพราะการละเมิดสิทธิของผู้สมัครอย่าง เชอชิล ฮ๊อพวู๊ด ซึ่งไม่ได้ทำอะไรผิดแต่กลับตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบในการแข่งขัน
ในเรื่องนี้ผู้วิจารณ์มองว่าการใช้ระบบโควตาไม่ควรจะมีขึ้นเพราะถ้าเรามองถึงสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคเท่าเทียมในทางกฎหมายตามหลักคิดของพวกอิสระนิยม ควรจะเปิดให้มีการแข่งขันในการเข้าเรียนอย่างเสรีภาพภายใต้กรอบและคุณสมบัติที่กำหนด
บทที่ 8. ใครคู่ควรกับอะไร/อริสโตเติล ในบทนี้ผู้เขียนได้อธิบายถึงเรื่องของสิทธิและคุณสมบัติของการเป็นเชียร์ลีดเดอร์ ควรมีคุณสมบัติแบบใดที่เหมาะสมกับการเป็นเชียร์ลีดเดอร์ จากการที่ที่คนพิการที่นั่งรถเข็นได้กระตือรือร้นที่จะสร้างสีสันขอบสนามเวลาแข่งขันกีฬาระหว่างโรงเรียน สร้างแรงบันดาลใจให้กับนักฟุตบอลและแฟนๆ แต่พอจบฤดูกาล เธอก็ถูกกีดกันให้ออกจาการเป็นเชียร์ลีดเดอร์ โดยได้กำหนดคุณสมบัติใหม่ของการเป็นเชียร์ลีดเดอร์ต้องทำท่ายิมนาสติกรวมทั้งการถ่างขาและม้วนตัวได้ ทำให้เธอที่พิการไม่สามารถที่จะเป็นเชียร์ลีดเดอร์ได้อีกต่อไป จึงได้เกิดคำถามขึ้นว่า ด้วยความเป็นธรรมกับเธอหรือไม่ เป็นธรรมกับคนพิการอย่างเธอหรือไม่ และการเป็นเชียร์ลีดเดอร์ที่ดีมีความหมายอย่างไร เมื่อพิจารณาศึกษาความขัดแย้งเรื่องเชียร์ลีดเดอร์กับทฤษฎีความยุติธรรมของอริสโตเติล ประกอบด้วนหลักคิด 2 ประการ คือ
1.ความยุติธรรมเป็นเรื่องของเป้าประสงค์ การระบุสิทธิต่างๆแปลว่าเราต้องค้นหาเป้าประสงค์ของกิจกรรมทางสังคมที่กำลังพิจารณาก่อน
2.ความยุติธรรมเป็นเรื่องการใช้เหตุผลเกี่ยวเป้าประสงค์ของกิจกรรมหรือถกเถียงเรื่องนี้อย่างน้อยส่วนหนึ่ง คือ การให้เหตุผลเถียงกันว่า กิจกรรมนี้ควรยกย่องและให้รางวัลความดีข้อใด
ผู้วิจารณ์มองว่าความยุติธรรมของอริสโตเติล คือ การมอบสิ่งที่ผู้คนคู่ควรให้กับพวกเขา ให้ในสิ่งที่แต่ละคนควรได้โดยชอบธรรมเป็นการใช้เหตุผลแบบยึดเป้าประสงค์ กล่าวอีกนัยหนึ่งความยุติธรรมของอริสโตเติล คือ ความยุติธรรมแลกเปลี่ยนตอบแทน เป็นความยุติธรรมตามความสามารถโดยไม่ใช้เกณฑ์อื่น เช่น ความมั่งคั่ง ชาติตระกูล ความงดงามหรือโชค (เช่นการจับฉลาก) ดังนั้นเป้าประสงค์ของโรงเรียนให้มีเชียร์ลีดเดอร์นั้นเพื่ออะไร นั่นคือคำตอบของความยุติธรรมของอริสโตเติล
บทที่ 9. เราเป็นหนี้บุญคุณกันเรื่องอะไร?/ความย้อนแย้งเรื่องความจงรักภักดี ในบทนี้ผู้เขียนได้อธิบายถึงการขอโทษในการกระทำของบรรพบุรุษรุ่นก่อนที่กระทำต่อบุคคลต่างๆ เช่น การกระทำของนาซี โดย ฮิตเลอร์ ต่อชาวยิวภายหลังที่รัฐบาลเยอรมัน นำโดยนายกรัฐมนตรี คอนราด อเดนาวเออร์ ได้ขอโทษต่อหน้าสภาผู้แทนราษฎร การขอโทษของนายกรัฐมนตรีของออสเตรีเลียที่คนรุ่นก่อนหรือรัฐบาลรุ่นก่อนที่ทำลายวัฒนธรรมเผ่าอะบอริจิ้น ด้วยการเข้าไปมีครอบครัวกับชาวเผ่าอะบอริจิ้นโดยคนผิวขาวเพื่อให้กลืนเป็นชาวออสเตรเลียหรือแม้กระทั่งมีนโยบายขโมยเด็กชาวอะบอริจิ้นมาดูแลเพื่อให้กลืนเป็นชาวออสเตรเลีย เป็นต้น
การขอโทษในสิ่งเหล่านี้ซึ่งเป็นการไถ่บาปของบรรพบุรุษนั้นเป็นกระทำที่ควรหรือไม่? เป็นคำถามในเชิงปรัชญาการขอโทษและการไถ่บาปให้บรรพบุรุษเป็นวาทะกรรมทางการเมือง เป็นการอภิปรายสาธารณะ โดยแสร้งทำตัวเป็นกลางทั้งที่เป็นกลางไม่ได้ คือ สูตรสร้างปฏิกิริยาโต้กลับและความไม่พอใจของผู้คนที่ได้รับจากการกระทำของบรรพบุรุษ รัฐหรือรัฐบาลในปัจจุบันจึงจำเป็นต้องขอโทษหรือไถ่บาปให้กับบรรพบุรุษ เพื่อลดความเกลียดชังหรือลดการต่อต้านภายใต้ความสำนึก ความเจ็บปวดในอดีต หรือต้องการให้อภัยแก่บรรพบุรุษที่ได้กระทำลงไป แต่มองอีกมุมหนึ่งการขอโทษหรือการไถ่บาปของรัฐบาลปัจจุบันให้กับบรรพบุรุษนี้เป็นการสร้างภาพเพื่อการบริหารประเทศหรือไม่ เพราะดำเนินการขอโทษหรือไถ่บาปของรัฐหรือรัฐบาลมักจะกระทำไปในช่วงเวลาที่ชนะการเลือกตั้งเข้ามาบริหารประเทศเกือบทั้งนั้น
บทที่ 10. ความยุติธรรมและความดีสาธารณะ ในบทสุดท้ายนี้ผู้เขียนได้อธิบายถึงนักการเมือง นักปรัชญา โดยเฉพาะในฐานะผู้นำของประเทศกับการกล่าวถึงการวางตัวเป้นกลางในการบริหารประเทศ เช่น ในกรณีของ 2 พรรคการเมืองใหญ่ขิงสหรัฐอเมริกา พรรครีพับลิกันใช้ความคิดเรื่องรัฐที่เป็นกลาง กำหนดนโยบายเศรษฐกิจในปัจเจกชนควรมีอิสระภาพในการตัดสินใจทางเศรษฐกิจของพวกเขาได้ตามอำเภอใจ การที่รัฐเอาเงินภาษีประชาชนไปใช้จ่ายหรือกำกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อเป้าหมายสาธารณะนั้นเป็นการยัดเยียดวิสัยทัศน์ของรัฐเกี่ยวกับความดีสาธารณะซึ่งไม่ใช่ทุกคนที่เห็นด้วย นี่คือแนวคิดที่จอห์น เคนเนดี ได้อ้างถึง แต่ในขณะที่พรรคเดโมแครตใช้รัฐแทรกแซงในตลาดเสรีเพื่อสังคมและวัฒนธรรมในการบริหารประเทศ โดย บารัค โอบามา ได้ปฏิเสธว่ารัฐวางตัวเป็นกลางไม่ได้ ควรที่ให้รัฐเข้ามาแทรกแซงเพื่อประโยชน์ของคนส่วนรวม
จากหนังสือเรื่อง “ความยุติธรรม” ที่ผู้เขียน ไมเคิล เจ แซนเดล เขียนขึ้นทั้ง 10 บทนี้ ซึ่งมาจากการถ่ายทอดบทสนทนาและการโต้วาทีในชั้นเรียนระหว่างนักศึกษาด้วยกันและระหว่างอาจารย์กับนักศึกษาเกี่ยวกับความรู้เกี่ยวประวัติศาสตร์ ความคิดทางปรัชญาการเมืองในโลกตะวันตก ในมุมมองการให้เหตุผลใน เรื่องศีลธรรม เรื่องอิสระนิยม เรื่องอรรถประโยชน์นิยม เรื่องความยุติธรรมแลกเปลี่ยนตอบแทน เป็นต้น ไมเคิล เจ แซนเดล พยายามบอกว่า “ความยุติธรรม”นั้นถึงที่สุดแล้วเป็นเรื่องของการ “ให้คุณค่า” กับสิ่งต่างๆและด้วยเหตุนี้ ทั้ง “เหตุผล” และ “ศีลธรรม” จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นการให้เหตุผลทางศีลธรรมจึงไม่ใช่เป็นสิ่งที่เป็นไปไปไม่ได้หรือไม่ควรนำมาคิดวิเคราะห์ในการกระทำ แต่เป็นสิ่งที่เราทำอยู่แล้วในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่ ผู้วิจารณ์หวังว่าหนังสือเล่มนี้เป็นตัวอย่างของปัญญาปฏิบัติเป็นการให้เหตุผลสาธารณะเพื่อถกมิติทางศีลธรรมในประเด็นสาธารณะ เพื่อชีวิตและประโยชน์สาธารณะในสังคมไทยให้พ้นไปจากมนุษย์อันคับแคบ ไม่ว่าจะเป็นแบบเข้าข้างตัวเอง แบบยึดติดกับตัวบทกฎหมายหรือแบบ “ลัทธิคลั่งศีลธรรม” ก็ตามที
รับจ้างอุ้มบุญ 在 PRAEW Youtube 的最讚貼文
คลิปใหม่ คลิก http://bit.ly/PRAEW
การเลี้ยงเด็กคนนึงให้เติบโตขึ้นมาเป็นเรื่องที่ละเอียด แม่มือใหม่เลี้ยงลูกมีหลายๆอย่างที่บางทีเราไม่ทราบ พอได้มีประสบการณ์ได้ศึกษา ก็อยากแชร์ เพจนี้เลยตั้งขึ้นเพื่ออยากบอกเล่าการเลี้ยงลูกในแบบของแพรว และข้อมูลต่างๆที่เป็นความรู้สำหรับแม่มือใหม่ทุกคนนะคะ
Facebook : https://www.facebook.com/sherlynsmomme
Line : https://line.me/R/ti/p/%40praew
IG : https://www.instagram.com/praew.official
Youtube : http://bit.ly/ติดตามPRAEW
แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดเหนือสิ่งอื่นใดเลยคือ “เวลา ความรัก และความใส่ใจ” ที่ใครก็ไม่สามารถทำหน้าทีนี้ได้ดีกว่าคนเป็นแม่แน่นอน และไม่ว่าจะเลี้ยงลูกในแบบไหน ก็ขอให้เลี้ยงลูกอย่างมีความสุข เพราะเมื่อเราHappy ลูกก็ Happy ไปด้วยค่ะ
#กฎหมายอุ้มบุญ #อุ้มบุญคืออะไร #วิธีการอุ้มบุญ