มาดูไลฟ์ความรู้เรื่องโรคพังผืดในปอดกันครับ
.
ในเดือนกันยายนของทุกๆปีเป็นเดือนแห่งการรณรงค์โรงพังผืดในปอด หรือ Pulmonary Fibrosis Awareness month
สมาคมอุรเวชช์ แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และคณะอนุกรรมการโรคปอดอินเตอร์สติเชียลและโรคปอดจากการทำงานและสิ่งแวดล้อม ได้จัดไลฟ์สดให้ความรู้โรคพังผืดในปอด ใครสนใจสามารถฟังได้ตั้งเวลา 11.00 – 12.00 น และสอบถามอาจารย์หมอทั้ง 4 ท่าน ได้ระหว่างเวลา 12.00-12.30 น. ได้เลยครับ
.
การแพร่ระบาดของโควิดทำให้เพิ่มความท้าทายให้แก่แพทย์ในการวินิจฉัยโรคพังผืดในปอด หรือ Fibrotic-ILD (Fibrotic-Interstitial Lung Disease) ซึ่งเป็นกลุ่มโรคหายากที่เกิดการอักเสบตรงเนื้อเยื่อในปอด
แต่เดิมก็มีความท้าทายในการคัดกรองวินิจฉัยโรคอยู่แล้ว เพราะอาการคล้ายโรคปอดและระบบหายใจอื่นๆที่แพทย์คุ้นเคย เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) ในเพศชาย ภาวะหัวใจล้มเหลวในเพศหญิง วัณโรค มะเร็งปอด โรคหัวใจ แต่การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ยิ่งเพิ่มความท้าทายให้กับแพทย์และผู้ป่วยเพราะมีอาการคล้ายโรคโควิด-19 ทั้งอาการหอบเหนื่อย ไอแห้ง และการอักเสบที่ปอด ผู้ป่วยจึงควรเข้าใจโรคเพื่อช่วยให้แพทย์วินิจฉัยได้แม่ยำยิ่งขึ้นครับ
.
สำหรับข้อสังเกตเบื้องต้นที่บ่งชี้ว่าอาจเข้าข่ายเป็นโรคพังผืดในปอด ได้แก่ มีอาการไอ หรือ หอบเหนื่อยมานานกว่า 2 เดือน โดยหาสาเหตุอื่นไม่พบ และไม่เคยสูบบุหรี่ ส่วนแพทย์หากสงสัยและส่งวินิจฉัยเพื่อเติมหากมีผลเอกเรย์ปอดที่ผิดปกติ ฟังเสียงหายใจผิดปกติที่ชายปอดทั้ง 2 ข้าง คล้ายๆเสียงลอกแถบตีนตุ๊กแก และออกซิเจนปลายนิ้วต่ำเมื่อออกกำลังครับ
同時也有5部Youtube影片,追蹤數超過18萬的網紅แกน โพเพทัส POPATAS,也在其Youtube影片中提到,ชื่อธนธัช ต่อบุญสิทธิกร มือถือ 0985860658 Line : POPATAS2020...
「วัณโรค」的推薦目錄:
- 關於วัณโรค 在 Facebook 的最讚貼文
- 關於วัณโรค 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的最佳解答
- 關於วัณโรค 在 Facebook 的最讚貼文
- 關於วัณโรค 在 แกน โพเพทัส POPATAS Youtube 的最讚貼文
- 關於วัณโรค 在 KIDDEE FAMILY Youtube 的最讚貼文
- 關於วัณโรค 在 Au Awesome Youtube 的最讚貼文
- 關於วัณโรค 在 'วัณโรค' อาการและการรักษา [หาหมอ by Mahidol Channel] 的評價
- 關於วัณโรค 在 กองวัณโรค | Bangkok - Facebook 的評價
วัณโรค 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的最佳解答
เป็นอีกข่าวดีหนึ่ง ที่ควรจะเป็นอย่างนี้ตั้งแต่แรกอยู่แล้วนะ ที่ไทยเราจะแก้ปัญหาการที่ไม่มีวัคซีน astrazeneca เพียงพอจะฉีด 2 เข็มได้ (ตามแผนที่ควรวางไว้ตั้งแต่ต้นปี) ด้วยการฉีดแอสตร้าเป็นเข็ม 1 แล้วใช้วัคซีน mRNA อย่างของ บ. ไฟเซอร์มาเป็นเข็ม 2
ซึ่งสูตรการฉีด heterologous prime-boost แบบนี้ เป็นแบบที่นิยมทำในประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศนะครับ (สาเหตุจริงๆ มักจะเป็นจากการที่เขาพยายามหยุดใช้วัคซีน astrazeneca) โดยผ่านการศึกษา วิจัย ตีพิมพ์ และทดลองในอาสาสมัครจำนวนมากแล้ว ก่อนจะนำมาใช้เป็นนโยบายของชาติ
รวมทั้ง สูตรวัคซีนไขว้ ไวรัลเวกเตอร์+mRNA นี้ ก็ได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลกแล้ว ว่าให้สามารถทำได้ เมื่อเกิดสภาวะวัคซีนขาดแคลน
ซึ่งคนละอย่างกับสูตรวัคซีนไขว้แบบไทยๆ ที่ทดลองทำกันเอง โดยไม่มีชาติอื่นเขาทำด้วย
-------
(รายงานข่าว)
#ทำไมต้องไขว้AstraZeneca_Pfizer
วัคซีนไขว้ (Heterologous prime-boost vaccination) หรือวัคซีน Mix & Match คือการฉีดวัคซีนต่างชนิดกันระหว่างวัคซีนเข็มที่ 1 (Primimg) และวัคซีนเข็มที่ 2 (Boosting) เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน โดยก่อนหน้านี้มีการวิจัยในโรคติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ไวรัสตับอักเสบ วัณโรค มาลาเรีย ถึงแม้ว่าจะวิจัยในระดับสัตว์ทดลอง ต่อมาในระยะหลังเริ่มมีการวิจัยวัคในโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี และอีโบลาในระดับมนุษย์
สำหรับโควิด ไม่ได้มีจุดเริ่มต้นมาจากเหตุผลด้านไวรัสหรือภูมิคุ้มกัน แต่มาจาก 2 สาเหตุคือ หลายประเทศในยุโรปมีความกังวลต่อภาวะเกล็ดเลือดต่ำและหลอดเลือดอุดตันภายหลังได้รับวัคซีน (VITT) ซึ่งผลข้างเคียงรุนแรงของวัคซีน AstraZeneca ถึงแม้จะพบยากก็ตาม และอีกสาเหตุคือ บางประเทศประสบปัญหาความล่าช้าในการส่งมอบวัคซีน จึงอนุมัติการฉีดวัคซีนไขว้และการวิจัยไปพร้อมกัน
ทั้งนี้ วัคซีนโควิดแบ่งตามเทคโนโลยีการผลิตเป็น 4 ชนิดหลัก ได้แก่ ชนิดสารพันธุกรรม (messenger RNA: mRNA) ชนิดใช้ไวรัสเป็นพาหะ (Recombinant viral vector vaccine) ชนิดที่ทำจากโปรตีนส่วนหนึ่งของเชื้อ (Protein subunit vaccine) และชนิดเชื้อตาย (Inactivated vaccine) ดังนั้น วัคซีนไขว้สูตรใหม่นี้เป็นการฉีดวัคซีนชนิดใช้ไวรัสเป็นพาหะ + ชนิดสารพันธุกรรม
#ผลการวิจัยสูตรไขว้ในต่างประเทศ
งานวิจัยหลักของวัคซีนไขว้ชื่อว่า Com-Cov (Comparing COVID-19 Vaccine Schedule Combination) ในสหราชอาณาจักร เป็นการศึกษาเชิงทดลองเปรียบเทียบการฉีดวัคซีน 4 สูตร ระหว่างการฉีดวัคซีน AstraZeneca หรือ Pfizer 2 เข็มตามปกติ และการฉีดวัคซีนสลับชนิด โดยฉีด AstraZeneca หรือ Pfizer ก่อน ในอาสาสมัครอายุ 50 ปีขึ้นไป เริ่มมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2564
ผลการวิจัยเบื้องต้นที่เผยแพร่ออกมาในขณะนี้เป็นการศึกษาด้านภูมิคุ้มกันและความปลอดภัย โดยการศึกษาด้านภูมิคุ้มกัน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1. ระดับภูมิคุ้มกันต่อโปรตีนหนาม (Anti-spike IgG) หลังฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ครบ 28 วัน ซึ่งคล้ายกับที่หลายคนไปเจาะเลือดตรวจระดับภูมิคุ้มกันที่โรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย และ 2. การตอบสนองของเม็ดเลือกขาวชนิด T (T cell response)
ค่าเฉลี่ยเรขาคณิตของระดับภูมิคุ้มกันต่อโปรตีนหนามของสูตร AstraZeneca + Pfizer เท่ากับ 12,906 ELU/mL เทียบกับสูตร AstraZeneca ปกติ 1,392 ELU/mL หรือคิดเป็น 9.2 เท่า ในขณะที่สูตร Pfizer + AstraZeneca กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้น้อยกว่าสูตร Pfizer ปกติ (ค่าเฉลี่ยเรขาคณิตของระดับภูมิคุ้มกันเท่ากับ 7,133 เทียบกับ 14,080 ELU/mL หรือคิดเป็น 0.51 เท่า)
ส่วนการตอบสนองของเม็ดเลือดขาวชนิด T ซึ่งมีบทบาทสำคัญในภูมิคุ้มกันระยะยาว สูตร AstraZeneca + Pfizer มีการตอบสนองสูงที่สุดเท่ากับ 185 SFC/106 PBMCs เปรีบเทียบกับ 50, 80 และ 99 SFC/106 PBMCs ของสูตร AstraZeneca ปกติ, Pfizer ปกติ และ Pfizer + AstraZeneca ตามลำดับ ผลการศึกษาทั้ง 2 ส่วนจึงแสดงให้เห็นว่าสูตร AstraZeneca + Pfizer สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี
การศึกษาด้านความปลอดภัย หลังจากฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ในสูตรไขว้ พบว่ามีผลข้างเคียงมากกว่า เมื่อเทียบกับสูตรปกติของแต่ละชนิด ได้แก่ ไข้ หนาวสั่น อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดข้อ ปวดเมื่อย และปวดกล้ามเนื้อ แต่ไม่มีอาการรุนแรงจนต้องรักษาในโรงพยาบาล และส่วนใหญ่เกิดขึ้นภายใน 48 ชั่วโมงหลังการฉีดวัคซีน และเมื่อติดตามผลข้างเคียงต่อจนถึง 1 เดือน ไม่พบความแตกต่างกันในแต่ละกลุ่ม
นอกจากนี้ยังมีอีกงานวิจัยชื่อ CombiVacS ในสเปน เป็นการศึกษาเชิงทดลอง แบ่งผู้ที่ได้รับวัคซีน AstraZeneca 1 เข็มเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกได้รับวัคซีน Pfizer เป็นเข็มที่ 2 ส่วนอีกกลุ่มไม่ได้รับวัคซีน เมื่อเดือนเมษายน 2564 พบว่าระดับภูมิคุ้มกันต่อโปรตีนหนามเพิ่มขึ้นจาก 71.5 เป็น 7,756.7 BAU/mL หลังฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 เป็นระยะเวลา 14 วัน แต่มีข้อจำกัดตรงที่ไม่มีสูตรปกติเปรียบเทียบ
อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาประสิทธิผลของวัคซีนสูตรไขว้นี้ยังมีน้อย ข้อมูลเบื้องต้นจากงานวิจัยในเดนมาร์ก เป็นการศึกษาเชิงสังเกตในประชากร 5,542,079 คน (97.6% ของประชากรในเดนมาร์ก) มีผู้ที่ได้รับวัคซีนสูตรไขว้ 136,551 คน พบว่าวัคซีนสูตรไขว้มีประสิทธิผลในการป้องกันการติดเชื้อ 88% และไม่พบอาการรุนแรงหรือเสียชีวิตจากโควิด แต่ในขณะนั้นสายพันธุ์อัลฟายังเป็นสายพันธุ์หลัก
ปัจจุบันมีหลายประเทศที่ยอมรับวัคซีนไขว้สูตรนี้ เช่น เวียดนาม เกาหลีใต้ แคนาดา และอย่างน้อย 15 ประเทศในสหภาพยุโรป เช่น ฝรั่งเศส เยอรมนี รวมถึงสหราชอาณาจักร
โดยสรุปวัคซีนไขว้สูตร AstraZeneca + Pfizer ที่จะเริ่มใช้ในประเทศไทยในเดือนตุลาคมนี้มีผลการวิจัยในต่างประเทศรองรับ และต่างประเทศให้การยอมรับ แต่ยังต้องมีการติดตามประสิทธิผลของวัคซีนต่อในอนาคต
วัณโรค 在 Facebook 的最讚貼文
เรื่องต้องรู้! ก่อนพาลูกฉีดวัคซีน ยุค COVID-19
.
.
เรื่องนี้สำคัญมากนะครับ พลาดอะไรก็พลาดได้
แต่ไม่ควรพลาดเรื่อง ‘วัคซีน’ เด็ดขาด
อย่างที่รู้กันดีว่าวัคซีนมีผลต่อสุขภาพของเด็กๆ
ฉะนั้น พ่อๆ แม่ๆ อย่างเราจะพลาดนัดใดๆ ก็พลาดได้
แต่ไม่ควรพลาดนัด ‘วัคซีน’ ลูกเด็ดขาด
.
.
ในสถานการณ์โควิดที่กำลังร้อนแรงในปัจจุบัน
ยอมรับว่าเป็นเรื่องน่ากังวลนะครับ
กับการพาเด็กๆ ไปโรงพยาบาล
วันนี้ผมขอเอาเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ
มาแชร์เผื่อจะมีประโยชน์
.
.
ระยะเวลาในการรับวัคซีน
ตามแนวทางของสมาคมโรคติดเชื้อ
ในเด็กแห่งประเทศไทย
ซึ่งสามารถนำมาพิจารณาการเลื่อนฉีดวัคซีนไปได้
หากมีสถานการณ์ฉุกเฉินที่จำเป็นจริงๆ
ขอย้ำว่า “จำเป็น!” เท่านั้นนะครับ
.
.
=======================
:: วัคซีนที่ต้องฉีดตรงตามกำหนด ::
=======================
1) วัคซีนสำหรับทารกแรกเกิด
วัณโรค (BCG)
ตับอักเสบบี (Hepatitis 😎
เซรุ่มตับอักเสบบี (HBIG)
.
.
2) กลุ่มวัคซีนหลังสัมผัสผู้ติดเชื้อ
พิษสุนัขบ้า (Rabies)
คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน (dT, Tdap)
ตับอักเสบบี (Hepatitis 😎
หัด หัดเยอรมัน คางทูม (MMR)
อีสุกอีใส (VZV)
.
.
=============================
:: วัคซีนที่เลื่อนออกไปได้ไม่เกิน 1-2 สัปดาห์ ::
=============================
1. วัคซีนในช่วงหนึ่งปีแรก
คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน (DTP)
ตับอักเสบบี (Hepatitis 😎
โปลิโอ (IPV, OPV)
ฮิบ (HIB)
โรต้า (Rota)
หัด หัดเยอรมัน คางทูม (MMR)
นิวโมคอคคัส (PCV/IPD)
.
.
2. วัคซีนไข่หวัดใหญ่ 2 ครั้งในเด็กที่อายุมากกว่า 6 เดือน
.
=============================
:: วัคซีนที่เลื่อนออกไปได้ไม่เกิน 2-4 สัปดาห์ ::
=============================
1. วัคซีนกระตุ้น (booster) ตั้งแต่อายุ 1 ปีขึ้นไป
คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน (DTP)
โปลิโอ (IPV, OPV)
ฮิบ (HIB)
นิวโมคอคคัส (PCV/IPD)
.
.
2. วัคซีนอีสุกอีใส (VZV) และตับอักเสบเอ (Hepatitis A)
.
. =============================
:: วัคซีนที่เลื่อนออกไปได้มากกว่า 1 เดือน ::
=============================
1. วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV)
2. วัคซีนคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน สำหรับเด็กอายุมากกว่า 11 ปี (Tdap).
.
.
xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
หมายเหตุ : ทั้งนี้การเลื่อนนัดหมายควรอยู่ในความดูแลของคุณหมอที่ดูแลลูกอีกครั้ง
เพราะการเลื่อนฉีดวัคซีนในอายุที่ควรได้รับ บางครั้งอาจเพิ่มโอกาสการติดเชื้อ
ในโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ซึ่งอาจทำให้มีอาการรุนแรงและเสียชีวิตได้
xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
.
.
ขอบคุณข้อมูล :
สมาคมโรคติดเชื้อเด็กแห่งประเทศไทย 2563
สถาบันกุมารเวช โรงพยาบาลศิครินทร์
.
.
#ผู้ชายเลี้ยงลูก #พ่อต่อ #น้องบอลลูน
วัณโรค 在 แกน โพเพทัส POPATAS Youtube 的最讚貼文
ชื่อธนธัช ต่อบุญสิทธิกร
มือถือ 0985860658
Line : POPATAS2020
วัณโรค 在 KIDDEE FAMILY Youtube 的最讚貼文
“มือที่ไม่สะอาดสามารถนำเชื้อโรคมากมายสู่ร่างกายผ่านการสัมผัส อาทิ โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ เช่น หวัด ไข้หวัดใหญ่ วัณโรค หัด หัดเยอรมัน โรคติดเชื้อทางเดินอาหาร เช่น อุจจาระร่วง โรคตับอักเสบชนิดเอ โรคบิด อหิวาตกโรค โรคพยาธิชนิดต่างๆ โรคติดต่อจากการสัมผัสโดยตรง เช่น โรคมือเท้าปาก โรคตาแดง แผลอักเสบที่ผิวหนัง หิด เหา โรคเริม รวมทั้งโรคที่ติดต่อได้หลายทาง เช่น โรคอีสุกอีใส อาจติดต่อได้จากการหายใจ และการสัมผัส
เพราะฉนั้นอย่าเป็นเหมือนสไปเดอร์แมนและฮัคในตอนนี้กันนะครับ อย่าลืมกดติดตามกันด้วยนะครับ ^_^
วัณโรค 在 Au Awesome Youtube 的最讚貼文
ซื้อเกมราคาถูกได้ที่ https://www.cdkeys.com/?mw_aref=supanut
****
เติมเกมได้ที่ https://www.ggkeystore.com/r/Q1AH
จิ้มและได้รับส่วนลดเลยครับ
Donate โดยการโอนสนับสนุนช่องได้ที่ธนาคารกสิกร (K-BANK)
040-1-97208-0 : SUPANUT SAETANG
-----
Patreon :https://www.patreon.com/auawesome
PayPal : https://tipme.in.th/auawesome
True Wallet : https://tipme.in.th/auawesome
----
TWITCH : https://www.twitch.tv/auawesome
FACEBOOK : https://www.facebook.com/AuAwesome/
วัณโรค 在 กองวัณโรค | Bangkok - Facebook 的推薦與評價
กองวัณโรค, กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย. ถูกใจ 15802 คน · 128 คนกำลังพูดถึงสิ่งนี้. กองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข update ข่าวสารกับเราที่นี่... ... <看更多>
วัณโรค 在 'วัณโรค' อาการและการรักษา [หาหมอ by Mahidol Channel] 的推薦與評價
วัณโรค - คนไข้มาพบกับ รศ.พญ.สุรีย์ สมประดีกุล อาจารย์ประจำสาขาวิชาโรคระบบการหายใจ และ วัณโรค คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม. ... <看更多>