ชเวอินช็อล ได้เขียนในหนังสือ The Frame โดยอ้างถึง งานวิจัยของ สแตนลีย์ มิลแกรม แห่งมหาวิทยาลัยเยล ซึ่งได้ทำการวิจัยโดยการเปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมทดลองในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น โดยไม่จำกัดอาชีพ และให้ค่าจ้าง 4.5 ดอลลาร์ และ เขียนด้วยว่าวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ เพื่อตรวจสอบว่าการทำโทษส่งผลดีต่อการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หรือไม่
.
โดยอธิบายกับผู้เข้าร่วมการทดลองว่า ในการทดลองจะต้องใช้คนสองคน โดยให้จับฉลากเพื่อแบ่งบทบาทกันว่าใครจะได้รับบทบาทเป็นนักเรียน และ ใครจะได้รับบทบาทเป็นครูที่ ทำโทษตามผลการเรียนของนักเรียน
.
การทดลองครั้งนี้จะให้คนที่เป็นนักเรียนจับคู่คำศัพท์ที่กำหนดให้ หากนักเรียนตอบผิดคนที่เป็นครูจะต้องทำการช็อร์ตไฟฟ้าทำโทษหากเด็กทำผิด และ ให้เพิ่มปริมาณไฟฟ้าขึ้นเรื่อยๆ หากทำผิดครั้งต่อไป
.
ในการทดลองครั้งนี้ ผู้วิจัยได้เตี๊ยมกับหน้าม้าให้รับบทบาทเป็นนักเรียน จึงทำให้ผู้เข้าร่วมวิจัยตัวจริงจับฉลากได้เป็นครูผู้ทำโทษทุกครั้ง
.
ในการทดลองหน้าม้าจะถูกเตี๊ยมให้ตอบถูกในช่วงแรก และ ตั้งใจเลือกคำตอบที่ผิดในช่วงหลังๆ โดยปริมาณการช็อร์ตไฟฟ้าเพื่อทำโทษจะเริ่มต้นที่ 15V และทุกครั้งที่ตอบผิดจะถูกเพิ่มขึ้นครั้งละ 15V และไปสูงสุดที่ 450V
.
คนที่ได้รับบทบาทเป็นนักเรียนจะตะโกนร้องขอให้หยุดการทดลองบ้างเป็นครั้งคราว บางครั้งก็ส่งเสียงร้องครวญครางจากความเจ็บปวด เพื่อให้ดูสมจริงมากขึ้น
.
การทดลองนี้ถูกทำขึ้นเพื่อทดสอบว่า หากคนที่ได้รับบทบาทเป็นครู ต้องทำตามคำสั่งของ ผู้วิจัย ซึ่งการทำตามคำสั่งนั้นจะทำให้คนอื่นเดือดร้อน เขาจะเชื่อฟังคำสั่งของผู้วิจัยด้วยการเพิ่มกระแสไฟฟ้าต่อไป หรือ หยุดทำเพราะเชื่อในความคิดและศีลธรรมของตัวเอง
.
ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยให้จิตแพทย์คาดคะเนว่าจะมีคนสักกี่เปอร์เซ็นต์ที่จะทำตามคำสั่งจนถึงที่สุด คือ การเพิ่มกระแสไฟฟ้าไปจนถึง 450V
.
คำตอบคือ พวกเขาคาดคะเนไว้เพียง 0.1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
.
ทว่าพอทำการทดลองจริงๆ จำนวนคนที่เพิ่มกระแสไฟฟ้าไปจนถึงระดับสุดท้ายมีถึง 67 เปอร์เซ็นต์
.
การทดองครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า คนทั่วไปเมื่อได้รับคำสั่งจากผู้มีอำนาจก็จะมีพฤติกรรมสร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่นได้ แต่ถ้าเขาไม่มีใครสั่งมา และทำด้วยตัวเอง คนเราก็จะรู้สึกแย่ หากต้องทำให้คนอื่นเดือดร้อน
.
แต่หากเป็นการทำตามคำสั่งของผู้มีอำนาจพวกเขาจะไม่ได้รู้สึกยินดี ไม่ได้รู้สึกผิด และไม่ได้รู้สึกแย่ใดๆ หากสิ่งที่ทำนั้นมาจากคำสั่งของคนอื่น พวกเขาทำแค่ถามแก่ผู้คุมว่า “ไม่เป็นไรจริงๆ เหรอ” หรือ “เจ็บขนาดนั้นจะทดสอบต่อไปได้เหรอ” เป็นต้น
.
ซึ่งในตอนนั้นผู้คุมการทดลองจะตอบกลับด้วยน้ำเสียงนิ่งๆ อย่างมีอำนาจว่า “ทำต่อไป” “ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากทำต่อไป” หรือ “กระแสไฟฟ้าระดับนั้นไม่ทำให้เกิดผลร้ายมากเท่าไหร่หรอก”
.
ผู้คุมไม่ได้ใช้ปืนข่มขู่คนที่ได้รับบทบาทเป็นครู แต่พลังกดดันจากสถานการณ์ที่ย่ำแย่ ทำให้ประมาณ 2 ใน 3 ของผู้เข้าร่วมการทดลองทั้งหมดเพิ่มกระแสไฟฟ้าไปจนถึง 450V ซึ่งเป็นการทดลองที่ทำเอาผู้วิจัยถึงกับตกใจมาก
.
ในค่ายนาซีมีทหารจำนวนมากที่มีส่วนรวมกับผู้ทำร้ายชาวยิว หรือ แม้แต่นักบินที่ทิ้งระเบิดปรมาณูที่เกาะฮิโรชิม่า ก็ไม่ได้รู้สึกยินดี หรือ รู้สึกแย่ใดๆ เพราะพวกเขามองงานที่ตัวเองทำด้วยกรอบความคิดว่ามันคือ “หน้าที่ประจำวัน ที่ผู้มีอำนาจสั่งมา”
.
ซึ่งไม่ต่างอะไรกับเหตุการณ์ในบ้านเรา ที่เราเห็นตำรวจที่ไม่ยอมเปิดทางให้รถพยาบาลวิ่งผ่าน หรือ ปล่อยให้ทีมแพทย์ของฝ่ายเห็นต่างนอนบาดเจ็บอยู่บนพื้น โดยไม่ได้รู้สึกแย่ใดๆ เพราะเขาใช้กรอบความคิดที่ว่า “นายสั่งมา” ซึ่งเป็นความคิดที่อันตรายมาก
.
ผมขอให้บทความนี้เป็นข้อย้ำเตือน ให้พวกเราทุกคน รวมถึงเจ้าหน้าที่รัฐ ตระหนักถึง “ศีลธรรม” มากกว่า กรอบความคิดที่ว่า “นายสั่งมา” ให้มากๆ
.
ขอความกรุณาทุกคน แสดงความคิดเห็นอย่างสุภาพนะครับ เพราะเราคือ “มนุษย์” ผู้ซึ่งมี “ปัญญา”
.
#หยุดความรุนแรง #หยุดทำร้ายประชาชน
「ศีลธรรม คือ」的推薦目錄:
- 關於ศีลธรรม คือ 在 สมองไหล Facebook 的精選貼文
- 關於ศีลธรรม คือ 在 โหรฟันธง ลักษณ์ เรขานิเทศ Facebook 的最佳貼文
- 關於ศีลธรรม คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
- 關於ศีลธรรม คือ 在 ความมีศีลธรรมคือความมีสุขภาพจิตที่ดี - พระพรหมบัณฑิต - YouTube 的評價
- 關於ศีลธรรม คือ 在 พุทธทาส อินทปัญโญ - ศีลธรรมคืออะไรเมื่อกล่าวโดยค่านิยม - YouTube 的評價
- 關於ศีลธรรม คือ 在 ศีลธรรม คือ... - สามเณรปลูกปัญญาธรรม - Facebook 的評價
ศีลธรรม คือ 在 โหรฟันธง ลักษณ์ เรขานิเทศ Facebook 的最佳貼文
วัย45-48ปี คือเวลาแห่งความรุ่งโรจน์ มั่นคง ในชีวิต ตามสถิติ โหราศาสตร์
จากประสบการณ์ ชีวิตเห็นชีวิต หลากหลายมากมาย ชีวิตมนุษย์ผ่านวัยเด็ก วัยรุ่นวัยเรียน วัยหนุ่มสาว วัยเริ่มทำงาน อายุวัยไม่เกิน 25 ปี ทุกๆคนส่วนใหญ่ อยู่ในวังวนนี้
พอช่วง 25-40ปี คือ ช่วงเวลาแห่งการเริ่มต้น เรียนรู้ อบรมตน ในชีวิต เรื่องงาน ใครลงหลักปักฐาน ไม่ได้ จะได้ นิสัยสันดาน ความคุ้นชินติดตัวมา และจะส่งผล ยาววววว
อายุ 35-38 ปี ส่วนใหญ่ จะประสบพบเจอวิกฤติในชีวิต จะเป็นบทเรียนที่สำคัญ ที่ ใคร มีสติ ต่อสู้ อดทน ยึดมั่นในกฏหมาย ศีลธรรม บุญ วิถีจากนั้น ไม่น่ากังวน
วัยอายุ 45-48 ปี จะพบความรุ่งโรจน์ ของคนส่วนใหญ่ ที่เป็นของแท้ ความจริง ที่ จะเป็นรากฐาน ไปสู่วัย 53-55 55-58ปี ตรงนี้ จะเป็น จุดสุดท้าย ของความรุ่งโรจน์ ในชีวิต ฆราวาส ส่วนใหญ่ ที่จะมีงาน สร้างผลงาน ของชีวิต เลยจากนี้ไป กำลังกาย กำลังชีวิต จะลดน้อยถอยลง เป็นลำดับ
ทั้งมวลนี้ ไม่มีในตำราเล่มใด แต่เป็นการรวบรวมสะสม จาก คนที่มาดูดวง ตรวจชะตาชีวิต ในหลากหลายอาชีพ ฐานะ ในรอบ 30 ปี ชีวิตโหรฟันธง ครับ
แล้วคุณล่ะ??? อายุเท่าไหร่ กำลังเป็นอย่างไร บอกเล่า แลกเปลี่ยนก้นครับ
ลักษณ์ ราชสีห์
ศีลธรรม คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
“กฎหมายเป็นผลหรือผลสะท้อนของโครงสร้างเศรษฐกิจหรือเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ”
นักทฤษฎี มาร์กซิสต์ ได้สรุป ความเกี่ยวกับกฎหมายเป็นผลผลิตหรือผลสะท้อนของโครงการสร้างทางเศรษฐกิจหรือเงื่อนไข
ข้อสรุปนี้เป็นผลของการตีความทฤษฎี สสารธรรมประวัติศาสตร์ของ มาร์ก และ เองเกลส์
สสารธรรมประวัติศาสตร์ ( Historical Materialism ) หมายถึง การปรับใช้หลักสสารธรรมประติการเข้ากับการศึกษาพัฒนาการของสังคมหรือประวัติศาสตร์ของมนุษย์ โดยถือว่า ความคิดของมนุษย์และบรรดาสถาบันต่าง ๆ ในสังคม (รวมถึงกฎหมาย, ศีลธรรม, การเมือง, อุดมการณ์) เป็นเสมือนโครงสร้างส่วนบนของสังคม (Super Structure of Society) ที่เป็นผลผลิตหรือถูกกำหนดโดยส่วนใหญ่จากรากฐาน ทางวัตถุและเทคโนโลยีซึ่งแน่นอน กล่าวคือ เศรษฐกิจหรือความสัมพันธ์ทางการผลิตซึ่งเป็นเสมือนโครงสร้างส่วนฐานของสังคม (Infra Structure of Society) และพลังจูงใจให้มีการเปลี่ยนแปลงสังคม (สังคมที่ยังเป็นรัฐหรือมีการปรากฏตัวของรัฐบาล) คือ การต่อสู่ของชนชั้นที่เป็นปรปักษ์กันอันเนื่องจากความขัดแย้งทางวัตถุหรือเศรษฐกิจ
โดยถือว่า บรรดารูปการทั้งหลายซึ่งเป็นเรื่องจิตสำนึกของมนุษย์ในเรื่องการเมือง สังคม , ศาสนา, วัฒนธรรมหรือกฎเกณฑ์ทางสังคมต่าง ๆ ล้วนถูกกำหนดโดยระบบการผลิต หรือระบบเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ โดยที่รูปการของจิตสำนึกดังกล่าวเป็นเสมือน “โครงสร้างส่วนบนของสังคม” ซึ่งวางอยู่บนฐานของระบบเศรษฐกิจ หรือ “โครงสร้างส่วนล่างหรือส่วนฐานของสังคม” ขณะเดียวกันก็ถือว่า กฎหมายเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างส่วนบนของสังคม โดยที่รูปแบบเนื้อหาหรือแนวความคิดทางกฎหมายจะเป็นผลสะท้อนของระบบเศรษฐกิจหรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม ข้อสรุปดังกล่าว เป็นการสะท้อนให้เห็นความเชื่อในปรัชญา แบบนัยนิยมทางเศรษฐกิจ (Economic Determinism) หรือ “เศรษฐกิจกำหนด” อันเป็นปรัชญาความเชื่อว่าเงื่อนไขทางเศรษฐกิจหรือผลประโยชน์ของตัวเองในเชิงเศรษฐกิจ เป็นตัวกำหนดตัดสินการกระทำของปัจเจกชนในเรื่องการเมืองโดยตรง จากจุดนี้เองทำให้ข้อสรุปของแนวคิดที่มองลักษณะด้านเดียวว่า กฎหมาย (ในฐานะส่วนหนึ่งของโครงสร้างส่วนบน) เป็นสิ่งที่ถูกกำหนด (ฝ่ายเดียว) โดยเศรษฐกิจ ซึ่งนับว่าเป็นจุดเปราะบางหรือจุดอ่อนของกลุ่มแนวคิดมาร์กซิสต์
จากแนวคิดข้อสรุป ข้อที่ว่ากฎหมายเป็นผลผลิตหรือผลสะท้อนของโครงการสร้างทางเศรษฐกิจหรือเงื่อนไข ดังที่ได้อธิบายมาแล้ว ซึ่งอาจสรุปได้ว่า
เป็นการมองว่าเงื่อนไขทางเศรษฐกิจเป็นตัวเข้ามากำหนดความเป็นไปหรือตัวธรรมชาติที่เป็นจริงของกฎหมายในแต่ละยุคแต่ละสมัย กฎหมายในแง่นี้จึงไม่ใช่เป็นเรื่องของกฎธรรมชาติ ไม่ใช่เป็นเรื่องของเจตจำนงของรัฐาธิปัตย์ที่เป็นอิสระ แต่สิ่งที่เป็นเจตจำนงรัฐาธิปัตย์ที่ยังอยู่ภายใต้สิ่งที่เป็นเงื่อนไข
ทางเศรษฐกิจ หรือโครงสร้างทางเศรษฐกิจอีกชั้นหนึ่ง
1. ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับความคิดแบบกฎหมายธรรมชาติ กฎหมายธรรมชาตินั้นไม่ได้กล่าวถึง
เรื่องเกี่ยวกับโครงสร้างทางสังคมหรือรูปธรรมเกี่ยวกับความเป็นจริงของสังคมว่าสัมพันธ์กับธรรมชาติของกฎหมายอย่างไร
2. ส่วนปฏิฐานนิยมนั้นอาจจะมองกฎหมายในแง่ข้อเท็จจริง คือ รัฏฐาธิปัตย์ อำนาจรัฐ
ระบบกฎหมาย แต่ไม่ได้มองว่าเบื้องหลังของรัฏฐาธิปัตย์คืออะไร เบื้องหลังของระบบกฎหมายมีอะไรเป็นตัวอิทธิพล
ซึ่งข้าพเจ้าเห็นด้วยกับแนวคิดของ มาร์กซิสต์ ที่พยายามชี้ให้เห็นถึงอิทธิพลของเศรษฐกิจหรือโครงสร้างของเศรษฐกิจว่าเป็นตัวกำหนดที่สำคัญต่อกฎหมาย
ศีลธรรม คือ 在 พุทธทาส อินทปัญโญ - ศีลธรรมคืออะไรเมื่อกล่าวโดยค่านิยม - YouTube 的推薦與評價
![影片讀取中](/images/youtube.png)
ฟังธรรมะเทศนาของท่านพุทธทาส เรื่อง ศีลธรรมคือ อะไรเมื่อกล่าวโดยค่านิยม เพื่อคลายทุกข์พัฒนาจิตและศึกษาพุทธศาสนาสนใจฟังธรรมะเพิ่มเติมของท่าน ... ... <看更多>
ศีลธรรม คือ 在 ศีลธรรม คือ... - สามเณรปลูกปัญญาธรรม - Facebook 的推薦與評價
ศีลธรรม คือ เครื่องมือสำคัญในการยกระดับจิตใจของมนุษย์ และสังคมให้สูงขึ้น "ถ้าหัวใจของมนุษย์ มีความละอายและเกรงกลัวต่อบาป ปัญหาบนโลก... ... <看更多>
ศีลธรรม คือ 在 ความมีศีลธรรมคือความมีสุขภาพจิตที่ดี - พระพรหมบัณฑิต - YouTube 的推薦與評價
บรรยายพิเศษ เรื่อง “ความมี ศีลธรรมคือ ความมีสุขภาพจิตที่ดี” โดย..พระพรหมบัณฑิต ศ. ดร. กรรมการมหาเถรสมาคม, ... ... <看更多>