Meal Kit ชุดอาหารพร้อมปรุงกำลังมาแรง! ตอบโจทย์มากสำหรับคนในปัจจุบันทั้งการใช้ชีวิตที่เร่งรีบในเวลาที่จำกัด ประกอบกับการระบาดของโรคโควิด-19 ที่ทำให้การเดินออกนอกบ้านไม่ได้สะดวกเท่าที่เคยเป็น นั่นยิ่งทำให้ บริษัท Gousto ที่เป็นหนึ่งในผู้ผลิต Meal Kit ชุดอาหารพร้อมปรุงขึ้นทะยานสู่ธุรกิจมูลค่ากว่า “พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ”! กลายเป็นยูนิคอร์นตัวใหม่ประดับวงการ วันนี้จะพามาดูว่าอะไรคือสิ่งที่ทำให้พวกเขาประสบความสำเร็จได้เช่นนี้
.
Meal Kit หรือ ชุดอาหารพร้อมปรุง คือเซตเตรียมประกอบอาหารที่ได้รวบรวมเอาวัตถุดิบในการปรุงอาหารแต่ละชนิด เช่น ผัก เนื้อสัตว์ เครื่องปรุง น้ำซอส มารวมไว้ให้ครบภายในกล่องเดียวพร้อมสำหรับนำไปทำอาหารได้เลยแม้จะไม่มีทักษะการทำอาหารก็ตาม ไม่ต้องเสียเวลาออกไปจ่ายตลาดเลือกซื้อวัตถุดิบเอง ที่ในบางครั้งอาจจะได้แบบที่ไม่ถูกใจหรือไม่ครบตามต้องการ รวมไปถึงการหั่นผักหรือการจัดการกับวัตถุดิบต่างๆ ที่อาจจะเป็นเรื่องที่ยุ่งยากสำหรับใครหลายๆ คน Meal Kit หรือ ชุดอาหารพร้อมปรุง จึงถูกออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาตรงนี้เป็นการช่วยประหยัดเวลา สะดวกสบาย แถมยังสามารถเลือก เมนูอาหาร ราคา และวิธีการส่งสินค้า ได้อย่างหลากหลาย
.
Timo Boldt ผู้ก่อตั้ง Gousto กล่าวว่าพวกเขาได้ส่งชุดอาหารกว่า 5 ล้านชุดให้กับผู้คนทั่วสหราชอาณาจักร โดยที่ช่วง 6 เดือนแรกของปีสามารถทำรายได้ถึง 3.3 พันล้านบาท และสามารถทำกำไรมาได้แล้วกว่า 1 ปีเต็ม กลายเป็นหนึ่งใน สตาร์ทอัพยูนิคอร์น ที่คุ้มค่าที่สุดในสหราชอาณาจักรเพราะเป็นหนึ่งในไม่กี่สตาร์ทอัพที่สามารถทำกำไรได้จริง
.
“เน้นตัวเลขและลูกค้าเป็นสำคัญ” หนึ่งในกลยุทธ์ของพวกเขาคือให้ความสำคัญกับตัวเลขและลูกค้า ซึ่งก็คือ NPS หรือความพึงพอใจของลูกค้า ขณะที่ บริษัทซูเปอร์มาร์เก็ตเจ้าใหญ่อย่าง Tesco อยู่ที่ -8 และ Sainsbury อยู่ที่ 24 แต่ของของพวกเขานั้นอยู่ที่ 70-80 นั่นเป็นเพราะพวกเขาให้ความสำคัญกับลูกค้าในกลุ่มแรกก่อน โดยไม่ทำการขยายฐานไปยัง สหรัฐฯ ฝรั่งเศส หรือเยอรมนี ก่อนเวลาอันควรเพื่อให้สินค้าและบริการของพวกเขานั้นสามารถพัฒนาเพื่อให้ตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่มเดิมได้อย่างดีที่สุดและมีลูกค้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
.
สำหรับราคาที่เริ่มต้นที่ประมาณ 120 บาทนั้น อาจจะแพงไปสำหรับกลุ่มนักเรียน แต่กลับเข้าถึงกลุ่มคนทั่วไปได้เป็นจำนวนมากด้วยสูตรอาหารที่มีให้เลือกถึง 55 อย่างต่ออาทิตย์ ตรงกันข้ามกับคู่แข่งอย่าง HelloFresh ที่มีราคาเริ่มต้นที่สูงกว่ากับเมนูอาหารไม่กี่ชนิด เป็นกลยุทธ์ที่พวกเขาเห็นว่าหากสูตรอาหารของพวกเขาดีกว่า ราคาไม่แพง แถมคุณภาพสูงกว่า นั่นจะทำให้ลูกค้าซื้อของกับเราตลอดไป เพราะหากมีข้อเสนอที่ดีกว่าลูกค้าก็มักจะไปที่นั่น นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมพวกเขาจึงเน้นไปที่ความพึงพอใจของลูกค้า ทางเลือกที่หลากหลาย และราคา เพราะถือเป็นข้อสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของพวกเขาแข็งแกร่งที่สุดในตลาด
.
“จากสิ่งที่ดีกลายเป็นสิ่งที่ต้องมี” จากสถานการณ์ล็อกดาวน์ประเทศในแถบสหราชอาณาจักรนั้นทำให้ Meal Kit “สิ่งที่ดี”ที่ช่วยอำนวยความสะดวกกลายเป็น“สิ่งที่ต้องมี”สำหรับผู้คนทั่วไป ประกอบกับอีคอมเมิร์ซที่กำลังมาแรงทำให้ธุรกิจของพวกเขานั้นยังสามารถเติบโตได้อีกมาก จากประชากรกว่า 68 ล้านคนในสหราชอาณาจักรที่รับประทานอาหารกลางวันและเย็น นับรวมแล้วกว่าพันล้านมื้อ Gousto สามารถขายไปได้แล้วมากกว่า 5 ล้านมื้อต่อเดือน!
.
นอกจากความก้าวหน้าทางธุรกิจแล้วพวกเขายังคำนึงถึงความก้าวหน้าของโลกด้วยเช่นกัน Gousto ตอบกลับเสียงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับธุรกิจของพวกเขาได้อย่างมั่นใจว่า Gousto จะสามารถเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างแน่นอน จากการที่พวกเขาลดการใช้พลาสติกลงกว่า 50% และมีเศษอาหารเกือบจะเป็น 0% ในปีที่ผ่านมา อีกทั้งยังเสริมอีกว่า Gousto ตั้งเป้าที่จะทำให้บรรจุภัณฑ์ของสินค้าทั้งหมดนั้นสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้อีกครั้ง หรือสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติโดยการดำเนินการจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ
.
เรียกได้ว่าเป็นสินค้าที่สามารถตอบโจทย์ในช่วงเวลานี้ได้เป็นอย่างดีสำหรับ Meal Kit ชุดอาหารพร้อมปรุง ที่จะทำให้การทำอาหารของคนรุ่นใหม่นั้นเปลี่ยนไป ทั้งสะดวกสบายยิ่งขึ้น แถมยังสามารถสนุกไปกับการทำอาหารโดยที่ต้องเสียเวลาออกไปจ่ายตลาดเองอีกด้วยเพราะนอกจากจะมีวัตถุดิบ เครื่องปรุง เตรียมพร้อมให้แล้วก็ยังมีวิธีการทำ รวมถึงขั้นตอนการวัตถุดิบต่างๆ ไว้ให้อย่างชัดเจน และสำหรับต่างประเทศที่การระบาดของโควิดนั้นยังไม่ซาลงแถมยังมีการล็อกดาวน์ปิดประเทศกันอยู่ทำให้การเดินทางออกไปจ่ายตลาดเองนั้นไม่สะดวกก็ทำให้เจ้า Meal Kit ชุดอาหารพร้อมปรุงนั้นได้รับการตอบรับที่ดีอย่างมาก
.
ถือเป็นอีกหนึ่งไอเดียธุรกิจที่น่าสนใจอย่างมากสำหรับผู้ประกอบการไทย เพราะอย่างประเทศของเราก็มีหลากหลายเมนูที่ยอดนิยมและขึ้นชื่อ แถมยังรสชาติอร่อยถูกปากคนหลากหลายชาติ ดังนั้นใครที่กำลังสนใจธุรกิจนี้อยู่ก็สามารถนำเอาแนวคิดและกลยุทธ์ของ Gousto ไปลองปรับใช้ให้เข้ากับธุรกิจของคุณ เชื่อเลยว่าหากสามารถทำออกมาและวางแผนส่งออกไปยังต่างประเทศได้ ต้องจะได้รับเสียงตอบรับที่ดีอย่างแน่นอน
.
ที่มา : https://sifted.eu/articles/gousto-uk-unicorn/
.
#อายุน้อยร้อยล้าน #ryounoi100lan
#อายุน้อยร้อยล้านNEWS
#MealKit #ชุดอาหารพร้อมปรุง #Business #Startup #Unicorn #StartupUnicorn #สตาร์ทอัพ #สตาร์ทอัพยูนิคอร์น #ไอเดียธุรกิจ #ธุรกิจ
「สตาร์ทอัพยูนิคอร์น」的推薦目錄:
- 關於สตาร์ทอัพยูนิคอร์น 在 อายุน้อยร้อยล้าน Facebook 的最佳貼文
- 關於สตาร์ทอัพยูนิคอร์น 在 อายุน้อยร้อยล้าน Facebook 的精選貼文
- 關於สตาร์ทอัพยูนิคอร์น 在 Startup Thailand - 1. Unicorn “ยูนิคอร์น” (Unicorn) เป็นคำที่เราพบ ... 的評價
- 關於สตาร์ทอัพยูนิคอร์น 在 พาไปรู้จักกับบริษัท Unicorn ระดับโลก : เรื่องเงิน เรื่องง่าย - YouTube 的評價
สตาร์ทอัพยูนิคอร์น 在 อายุน้อยร้อยล้าน Facebook 的精選貼文
“ยูนิคอร์น”ความสำเร็จอีกขั้นของธุรกิจสตาร์ทอัพ! หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า Startup หรือธุรกิจสตาร์ทอัพ มากันจนคุ้นหูแล้ว แต่สำหรับ Unicorn (ยูนิคอร์น) อาจจะเป็นอะไรที่ค่อนข้างแปลกไปบ้าง อธิบายให้เข้าใจง่าย ยูนิคอร์น ก็คือ ธุรกิจสตาร์ทอัพที่มีมูลค่าบริษัทมากกว่า 1,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 31,000 ล้านบาท ยกตัวอย่าง ยูนิคอร์น ที่ประสบความสำเร็จในสหรัฐอเมริกา ก็จะมี Uber, Airbnb, Snapchat หรือในด้านฝั่งเอเชียก็จะมี Xiaomi จากประเทศจีนแผ่นดินใหญ่นั่นเอง
.
และสำหรับประเทศในกลุ่มอาเซียน (ASEAN) ก็ไม่ได้น้อยหน้าแต่อย่างใดเพราะวงการสตาร์ทอัพก็กำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ จนมีหลายบริษัทสามารถเติบโตจนถึงระดับยูนิคอร์นได้สำเร็จ มาดูกันว่าเหล่ายูนิคอร์นตัวแทนจากภูมิภาคอาเซียนที่เป็นที่รู้จักและให้บริการในไทยจะมีใครกันบ้าง
.
1. Grab (2555)
ธุรกิจ : บริการโลจิสติกส์
มูลค่าบริษัท : 6,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
สตาร์ทอัพที่เป็นที่คุ้นเคยของคนไทยกันอย่างดี ก่อตั้งขึ้นโดยอดีตนักศึกษาจากประเทศมาเลเซีย เพราะต้องการแก้ไขปัญหาการเรียกแท็กซี่ที่ไม่สะดวกสบายในประเทศของตน ถือเป็นสตาร์ทอัพที่เติบโตไปไวอย่างมากเพราะใช้เวลาเพียงแค่ 2 ปี ก็สามารถขยายฐานการใช้งานไปยังเพื่อนบ้านอย่างฟิลิปินส์ สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม และ อินโดนีเซียในเวลาอันรวดเร็ว อีกทั้งได้รับเสริมความแข็งแกร่งจากการลงทุนจากบริษัทจีนและญี่ปุ่นอีก 2 พันล้านดอลลาร์ จนทำให้ Uber ถึงกับต้องถอยทัพขายกิจการในภูมิภาคยุบรวมกับ Grab ส่งผลทำให้คว้าตำแหน่งผู้ให้บริการที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคได้สำเร็จ ในปัจจุบันนี้ Grab ได้ให้บริการไปแล้วกว่า 168 เมือง ใน 8 ประเทศ
.
2. SEA (2552)
ธุรกิจ : เกมออนไลน์และอีคอมเมิร์ซ
มูลค่าบริษัท : 4,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
หรือชื่อเดิม Garena บริษัทสัญชาติสิงคโปร์ ผู้ให้บริการที่มีชื่อเสียงโดเด่นด้านเกมออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น Heroes of Newearth (HON), League of Legends (LOL) หรือเกมออนไลน์บนมือถือที่ฮิตที่สุดในไทยอย่าง Realm of Valor (ROV) ก่อนที่จะขยายธุรกิจไปในด้าน e-wallet อย่าง AirPay เพื่อรองรับการเติมเงินเข้าในเกมให้สะดวกมากยิ่งขึ้น และพัฒนาสู่การชำระเงินสินค้าอื่นๆ และกับอีกหนึ่งความสำเร็จในการก้าวเข้ามาสู่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ในชื่อที่เรารู้จักกันดีอย่าง “Shopee” นั่นเอง โดยที่ SEA รีแบรนด์จาก Garena เมื่อปี 2560 ที่ผ่านมานี้ หลังจากระดมทุนได้กว่า 550 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมี Tencent เป็นผู้ถือหุ้นหลัก (ณ ปัจจุบันนี้ได้เข้าตลาดหุ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว)
.
3. Gojek (2553)
ธุรกิจ : บริการโลจิสติกส์
มูลค่าบริษัท : 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
เป็นธุรกิจสัญชาติอินโดนีเซียในรูปแบบเดียวกันกับ Grab และผู้ก่อตั้งก็ยังเป็นเพื่อนร่วมรุ่น MBA เดียวกันกับสองผู้ก่อตั้งของ Grab อีกด้วย จุดเริ่มต้นอาจจะต่างกันไปเล็กน้อยเพราะเกิดจากการต้องการยกระดับมาตรฐานของมอเตอร์ไซค์รับจ้างในประเทศอินโดนีเซีย และพัฒนาต่อยอดไปเป็นบริการอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น การส่งอาหาร สินค้า ล้างรถ เป็นต้น โดยหลังจากที่เปิดบริการแค่ในประเทศ ก็ได้ทำการขยายไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่าง ฟิลิปินส์, เวียดนาม, สิงคโปร์ และไทย หลังจากที่ได้รับเงินสนับสนุนจากเหล่าบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Google, Tencent, JD.com และ Temasek เป็นต้น จุดมุ่งหมายนอกจากการอุดช่องว่างของ Uber ก็คือการเข้ามาชิงพื้นที่ทางการตลาด และโค่น Grab ลงจากบัลลังก์อันดับ 1 นั่นเอง
.
4. Traveloka (2555)
ธุรกิจ : บริการจองที่พักและตั๋วเครื่องบิน
มูลค่าบริษัท : 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
บริการสัญชาติอินโดนีเซียอีกเจ้าที่พบกับปัญหาจากจองเครื่องบินจากสหรัฐกลับบ้านเกิดที่แสนจะยากลำบาก ต้องมานั่งหาข้อมูลเอาเองโดยที่ไม่มีใครรวบรวมข้อมูลเหล่านั้นมาไว้ด้วยกัน จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการทำ Traveloka ออกมาในรูปแบบ Search engine ก่อนจะพัฒนาให้สามารถของตั๋วเครื่องบิน โรงแรม ที่พักต่างๆ รวมถึงบริการเกี่ยวกับการเดินทางท่องเที่ยวทั้งหมด นอกจากนี้ก็ยังได้ระดมทุนก้อนใหญ่กว่า 350 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จนเลื่อนขั้นเป็นสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นอีกราย
.
5. VNG (2546)
ธุรกิจ : เกมออนไลน์และโซเชียลมีเดีย
มูลค่าบริษัท : 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
สตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นรุ่นบุกเบิกของดินแดนแถบอาเซียนจากเวียดนาม (พร้อมกับ Garena) ดำเนินธุรกิจมามากกว่า 17 ปี ในชื่อ VinaGame มาก่อน โดยดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับเกมซึ่งนั่นก็คือ MMORPG (Massively Multiplayer Online Game) หลังจากนั้นทำการขยายมาทำธุรกิจในด้านโซเชียลมีเดียโดยการผลิตแอปฯแชทอย่าง Zalo แอปฯ แชทอันดับ 1 ของประเทศเวียดนาม ที่มียอดดาวน์โหลดกว่า 15 ล้านครั้ง ความน่าสนใจคือ VNG คือบริษัทสตาร์ทอัพที่สามารถก้าวขึ้นระดับยูนิคอร์นได้อย่างรวดเร็วในขณะที่เน้นการทำธุรกิจภายในประเทศเป็นหลักไม่เหมือนกับเจ้าอื่นๆ ที่มีการขยายฐานไปยังประเทศอื่นๆ
.
นอกจาก 5 สตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นที่ได้กล่าวไปข้างต้น ในประเทศกลุ่มอาเซียนก็ยังมีสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นอยู่อีกเพียงแต่ไม่ได้เป็นที่รู้จักและให้บริการในพื้นที่ประเทศไทย นั่นก็คือ คือ Tokopedia ธุรกิจอีคอมเมิร์ซจากประเทศอินโดนีเซีย, Bukalapak ธุรกิจอีคอมเมิร์ซจากประเทศอินโดนีเซีย และ Revolution precrafted ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จากประเทศฟิลิปปินส์
.
โดยที่ประเทศอินโดนีเซียถือว่าเป็นประเทศที่มีสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นเยอะที่สุดในภูมิภาคอาเซียนถึง 4 เจ้า นั่นก็คือ Gojek, Traveloka, Tokopedia และ Bukalapak นั่นอาจเป็นเพราะรัฐบาลของอินโดนีเซียมีการสนับสนุนธุรกิจสตาร์ทอัพเพราะปัญหาทางเศรษฐกิจเลยต้องฉีกกฎหนีการทำธุรกิจรูปแบบเดิมเพื่อสร้างเศรษฐกิจในเชิงสร้างสรรค์ ลดการพึ่งพาตลาดสหรัฐฯและจีนที่อาจะเป็นสาเหตุทำให้ประเทศอินโดนีเซียขาดเสถียรภาพ รวมถึงประเทศอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม มีสตาร์ทอัพที่ถึงระดับยูนิคอร์นแล้วเช่นเดียวกัน
.
สำหรับสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จเหล่านี้ล้วนแล้วแต่สามารถตอบโจทย์ปัญหาของผู้คนได้อย่างตรงจุด ทั้งสร้างสรรค์และแปลกใหม่ ซึ่งนั่นเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของธุรกิจสตาร์ทอัพอยู่แล้ว นอกจากนี้ธุรกิจสตาร์ทอัพนั้นถูกสร้างขึ้นมาเพื่ออุดช่องว่างของธุรกิจแบบดั้งเดิมส่งผลให้เศรษฐกิจมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยการที่อาเซียนของเรามีสตาร์ทอัพในระดับยูนิคอร์นเป็นสัญญาณที่ดีว่าเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคอาเซียนนั้นสามารถที่จะแข่งขันกับตลาดโลกได้
.
อย่างไรก็ดีการที่จะสามารถก้าวขึ้นสู่ระดับยูนิคอร์นได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะนอกจากจะต้องอาศัยไอเดียที่สามารถตอบโจทย์ได้ดี ใหม่ และสร้างสรรค์แล้ว ก็ยังต้องมีเงินทุนจำนวนมากในการสนับสนุนไอเดียเหล่านี้ให้เกิดขึ้นได้จริงอีกด้วย สำหรับวงการสตาร์ทอัพประเทศไทยที่กำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และมีสตาร์ทอัพที่มีไอเดียและเทคโนโลยีที่น่าจับตามองอยู่ไม่น้อย ไม่แน่ว่าในอนาคตอาจจะมียูนิคอร์นตัวใหม่ของอาเซียนที่ติดธงชาติไทยวิ่งไปสู่ระดับโลกก็เป็นได้
.
ที่มา : https://www.bangkokbanksme.com/en/unicorn-startup-indonesia
https://techsauce.co/tech-and-biz/what-is-unicorn
https://techcrunch.com/2016/01/02/the-unicorns-of-southeast-asia/
https://ahead.asia/2018/05/31/8-unicorns-of-sea/
https://www.thairath.co.th/news/tech/startup/1694640
.
#อายุน้อยร้อยล้าน #ryounoi100lan #อายุน้อยร้อยล้านNEWS #Startup #Unicorn #ASEAN #สตาร์ทอัพยูนิคอร์น #Business
สตาร์ทอัพยูนิคอร์น 在 พาไปรู้จักกับบริษัท Unicorn ระดับโลก : เรื่องเงิน เรื่องง่าย - YouTube 的推薦與評價
ไฮไลต์บางส่วนจากเสวนาหัวข้อ DeFi — Future of Decentralized Governance ที่งาน WEF 2022 · สตาร์ทอัพ ไทย ทำไมยังไม่มี ยูนิคอร์น (unicorn) | BIZCUIT Ep ... ... <看更多>
สตาร์ทอัพยูนิคอร์น 在 Startup Thailand - 1. Unicorn “ยูนิคอร์น” (Unicorn) เป็นคำที่เราพบ ... 的推薦與評價
1. Unicorn “ยูนิคอร์น” (Unicorn) เป็นคำที่เราพบบ่อยตามข่าวสตาร์ทอัพชื่อดัง หมายถึง ธุรกิจสตาร์ทอัพที่มีมูลค่าเกิน 1 พันล้านเหรียญ (1 billion) เช่น Uber... ... <看更多>