🙏🏻❤️กราบหัวใจพี่ๆกู้ชีพ และทีมอาสา
บุคคลกรทางการแพทย์ทุกคนที่ทุ่มเท
ทำงานหนักแบบไม่ได้หยุดเพื่อพวกเรามาปีกว่าแล้ว…
ได้คุยกับพี่ๆเค้าที่บางวันต้องควงกะเพราะเคสเยอะมาก บางคนต้องทำงานเสี่ยงติดโควิดทั้งๆที่ตัวเองมีลูกแค่ 4 เดือน หนูเลยขอสนับสนุนให้ด่านหน้าของเราได้รับวัคซีนที่พี่ๆเค้าควรได้รับกันทุกคนนะคะ
💉
#700,000โดส #ด่านหน้าต้องได้ @ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
「สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์」的推薦目錄:
- 關於สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ 在 BuNNy AiRe" Facebook 的最佳解答
- 關於สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ 在 Drama-addict Facebook 的最佳解答
- 關於สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ 在 Facebook 的精選貼文
- 關於สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ 在 สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาล ... 的評價
- 關於สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ 在 Campus ทางการแพทย์แห่งใหม่ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ ... 的評價
สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ 在 Drama-addict Facebook 的最佳解答
นพ.ศุภโชค เกิดลาภ อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว พร้อมเล่าว่า ยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งไม่ควรถูกลืมสำหรับพิจารณาฉีดวัคซีน Pfizer นั่นก็คือ บุคลากรแพทย์หญิงที่ไม่ได้รับวัคซีน Sinovac เพราะอยู่ระหว่างตั้งครรภ์ และกลุ่มบุคลากรด่านหน้าที่เคยติดเชื้อแล้ว
.
สำหรับกลุ่มแรก นพ.ศุภโชคบอกว่า แม้ที่ผ่านมาจะมีนโยบายฉีดวัคซีนให้หญิงตั้งครรภ์ แต่ต้องยอมรับว่าการศึกษาวัคซีน Sinovac กับหญิงตั้งครรภ์นั้นมีน้อยมาก (ซึ่งอาจทำให้หลายคนไม่กล้าเสี่ยง) แต่ในขณะเดียวกันกลุ่มเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่กำลังตั้งครรภ์ก็จำเป็นต้องได้รับวัคซีนที่ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ
.
ซึ่งขณะนี้ มีเพียงวัคซีนชนิด mRNA อย่าง Pfizer และ Moderna เท่านั้นที่มีข้อมูลและหลักฐานทางการแพทย์ยืนยันว่าปลอดภัย และสามารถฉีดให้กับหญิงตั้งครรภ์ได้
.
โดย นพ.ศุภโชคอ้างอิงงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ ที่รวบรวมข้อมูลหญิงตั้งครรภ์จำนวน 827 คนที่ฉีดวัคซีน mRNA ในสหรัฐฯ มาศึกษาผลหลังฉีดวัคซีน พบว่า
.
อัตราการให้กำเนิดโดยที่เด็กรอดชีวิตอยู่ที่ 86.1% และแท้งเอง 12.6% โดยที่ 96.2% ของคนที่แท้งเอง เกิดขึ้นในช่วงอายุครรภ์ 3 เดือนแรก และมี 0.1% ที่สูญเสียเด็กหลังตั้งครรภ์ 20 ส่วนอัตราการสูญเสียลูกด้วยสาเหตุอื่นๆ เช่น การทำแท้ง การตั้งครรภ์นอกมดลูก อยู่ที่ 1.2%
.
ในส่วนของทารกที่เกิดมานั้น มีอัตราการคลอดก่อนกำหนด 9.4%, เด็กน้ำหนักตัวน้อย 3.2% และความผิดปกติของทารกโดยกำเนิด 2.2% ซึ่งตัวเลขต่างๆ เหล่านี้ ไม่ได้ผิดปกติ หรือมีอัตราสูงไปกว่าการตั้งครรภ์ของประชากรปกติ หรือพูดง่ายๆ ว่า วัคซีน mRNA ไม่ได้ทำให้เกิดความผิดปกติ หรืออันตรายใดๆ ต่อแม่และเด็กในครรภ์
.
สำหรับกลุ่มที่ 2 ที่ นพ.ศุภโชคมองว่าไม่ควรตกขบวน Pfizer ล็อตนี้คือ บุคลากรแพทย์ที่เคยติดเชื้อแล้ว แม้ว่าคนที่เคยติดเชื้อ COVID-19 จะมีภูมิต้านทานตามธรรมชาติ แต่เมื่อนานวันเข้า ภูมิเหล่านั้นก็จะลดลงและไม่เพียงพอต่อการป้องกันเชื้อสายพันธุ์ใหม่ๆ และอาจเกิดการติดเชื้อซ้ำได้
.
นพ.ศุภโชคได้ยกเอาการศึกษาหนึ่งขึ้นมาเปรียบเทียบให้ดู ซึ่งจะเห็นว่า คนที่เคยเป็น COVID-19 แล้วมาฉีดวัคซีน Pfizer 2 เข็ม (ระยะห่างกัน 21 วัน) พบว่า หลังฉีดเข็มแรก ภูมิต้านทานเพิ่มขึ้นมาก สูงกว่าคนที่ไม่เคยติดเชื้อ แต่เมื่อฉีดเข็มที่ 2 ภูมิก็ไม่เพิ่มขึ้นจากเข็มแรกเท่าไหร่นัก
.
ส่วนคนที่ไม่เคยติดเชื้อ COVID-19 มาก่อน ฉีดวัคซีน Pfizer เพียง 1 เข็มภูมิคุ้มต้านทานขึ้นไม่ดีเท่าไหร่นัก แต่จะเริ่มดีขึ้นหลังฉีดเข็มที่ 2
.
นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยอีกชิ้นที่ตีพิมพ์ในวารสารเจเอเอ็มเอ ได้นำบุคลากรแพทย์ที่เคยได้รับวัคซีน Pfizer และ Moderna 1 เข็มมาวัดภูมิต้านทาน พบว่า ถ้าไม่เคยติด COVID-19 มาก่อน แล้วฉีดวัคซีน 1 เข็ม ระดับภูมิคุ้มกันจะเพิ่มขึ้นในระดับหนึ่ง
.
แต่ถ้าเคยติด COVID-19 มาแล้ว (แบบไม่มีอาการ) การฉีดวัคซีนเพียง 1 เข็มสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้สูงถึงระดับหมื่นเลยทีเดียว (วัดหลังฉีด 2 สัปดาห์)
.
จากผลการศึกษาเหล่านี้ สามารถสรุปได้ว่าการฉีดวัคซีน Pfizer ให้บุคลากรที่เคยติดเชื้อ COVID-19 น่าจะกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี โดย นพ.ศุภโชคบอกว่า อยากให้ผู้เกี่ยวข้องทุกท่านช่วยพิจารณาเปิดโอกาสให้ฉีดกระตุ้น Pfizer 1 เข็ม ในบุคลากรที่เคยติดเชื้อแล้ว เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อซ้ำกับกลุ่มบุคลากรแพทย์อีก
https://www.facebook.com/thematterco/posts/2954421958106520
สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ 在 Facebook 的精選貼文
น่าสนใจมากครับ 🙏
ยอดผู้ติดเชื้อจริง อาจจะสูงกว่าที่รายงาน 8-9 เท่า
นพ.ศุภโชค เกิดลาภ อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์เฟซบุ๊ก Suppachok NeungPeu Kirdlarp ครับ
#ร่วมแรงร่วมใจฝ่ามหันตภัยโควิด
“ยอด 16000 วันนี้ เอาจริงแปลกใจเล็กน้อย
ไม่ใช่อะไรนะครับ
แปลกใจว่า ไม่น่าจะใช่ยอดที่แท้จริง
เพราะตอนนี้ประเทศเรารายงานเคส เฉพาะเคสที่ยืนยันจาก PCR testing เท่านั้นซึ่งมีปริมาณ test ที่ทำต่อวันจำกัด
ถ้าเรานับเคสที่ positive จาก Antigen test kit ที่เรา active finding case ด้วย (ซึ่งเป็น probable covid-19 cases) ผมคิดว่ายอดจะขึ้นสูงไปมากกว่านี้
มีคนทำ simulation model ไว้ว่ายอดจริงๆอาจจะมากกว่านี้ 8-9 เท่าเลย
แปลว่าที่ positive ต่อวัน ถ้าเราตรวจได้มากแบบไม่จำกัด ยอดอาจจะสูงถึง 100000 คน/วันได้
ปล ผมคิดว่าถ้าจะรายงานเคสก็รายงาน definite case/ probable case แยกกันก็ได้ครับ จะได้ทราบ magnitude ของปัญหาที่แท้จริงครับ”
*เอกสารบันทึกข้อความ ส่วนราชการ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข
เรื่อง “สรุปการประชุมทางไกล (Web Conference) และข้อสั่งการ” ที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน ชี้แจงนโยบายการบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโควิด-19 เมื่อวันที่ 15 ก.ค.
“5.ให้ยกเลิกการ Active Case Finding (ACF) โดยการทำ RT-PCR แต่ให้ใช้ Antigen test self-test kits (ATK) แทนในการคัดกรองเบื้องต้น โดยกรณีที่ผู้ป่วยที่พบผล positive จะเป็นกลุ่ม probable case ซึ่งยังไม่นับเป็นกลุ่มป่วย ไม่ต้องรายงานในระบบการรายงานโรคติดเชื้อ Covid-19 ”
สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ 在 Campus ทางการแพทย์แห่งใหม่ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ ... 的推薦與評價
![影片讀取中](/images/youtube.png)
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดตัว Campus ทางการแพทย์แห่งใหม่ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ หรือ ... ... <看更多>
สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ 在 สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาล ... 的推薦與評價
สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 111 หมู่ 14 ต.บางปลา อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ, Ban Bang Phli Yai, Samut... ... <看更多>