#เน้นมาตรการเฝ้าระวังไม่ควรปิดเรียน
ทีมข่าว 1/4 Special Report ได้ติดต่อพูดคุยกับ รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงมุมมองเกี่ยวกับการเรียนการสอนในช่วงที่โควิดกลับมาระบาดใหม่อีกครั้ง ให้สัมภาษณ์ว่า การอนุญาตให้มีการเรียนการสอนในโรงเรียนถือเป็นเรื่องดี เพราะที่ผ่านมา การเรียนออนไลน์ เด็กแต่ละคนมีความพร้อมในอุปกรณ์ไม่เท่ากัน โดยเฉพาะครอบครัวที่ผู้ปกครองหาเช้ากินคํ่า พอลูกต้องเรียนออนไลน์ก็ต้องมานั่งดูแลลูกตอนเรียนอีก ดังนั้นระบบการเรียนแบบนี้ยังไม่รองรับกับคนทั้งประเทศ
ยิ่งการเรียนสมัยนี้ไม่ใช่แค่การเอาความรู้มาพูดหน้าชั้นเรียน แต่ต้องมีการปฏิบัติทำงานร่วมกันเป็นทีม ซึ่งกระบวนการนี้การเรียนแบบออนไลน์ยังไม่ตอบโจทย์ และจะส่งผลต่อทักษะของเด็กในการทำงานร่วมกับเพื่อนในอนาคต
“จริง ๆ โรงเรียนไม่ควรจะปิดตั้งแต่แรก การเปิดการเรียนการสอนในภาวะที่มีการแพร่ระบาดมีรายงานจากต่างประเทศถึงการป้องกันว่า ต้องให้นักเรียนสวมใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันอยู่ตลอดเวลา ที่สำคัญสุดต้องเว้นระยะห่างในการทำกิจกรรม เช่นที่เรียกกันว่า นิวนอร์มัล ในการใช้ชีวิตเวลาทำงาน หรือไปเดินห้างสรรพสินค้าทั่วไป”
ขณะเดียวกันครูต้องมีหน้าที่เพิ่มเติม นอกจากดูแลด้านวิชาการแล้วยังต้องดูแลในเรื่องสุขอนามัยของเด็ก ซึ่งข้อมูลจากต่างประเทศพบว่า เด็กมีการติดเชื้อค่อนข้างยาก แต่ในการป้องกันครูต้องป้องกันเด็กในส่วนของการทำกิจกรรมที่มีการพูดคุย หรือในเวลาพักเที่ยงตอนทานอาหาร และสนามเด็กเล่นต่าง ๆ นอกจากนี้ครูต้องมีส่วนในการเฝ้าระวังเด็กที่จะมาเรียน ที่มีพฤติกรรมเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง โดยต้องดูว่าเด็กมีอาการป่วยหรือไม่ หรือป้องกันไม่ให้เข้าไปปะปนกับเพื่อน ๆ หากมีเด็กที่มีอาการป่วย โรงเรียนจะต้องปิดแค่ห้องเรียนห้องนั้น ซึ่งไม่จำเป็นว่าจะต้องปิดทั้งโรงเรียน และทำการตรวจเชื้อคนที่ใกล้ชิดกับเด็กคนนั้น แต่ถ้าเรามัวไปหลงทางว่าต้องปิดโรงเรียนทั้งจังหวัดเหมือนที่ผ่านมา จะเป็นเรื่องที่ไม่ดีต่อการเรียนรู้ของเด็ก
#สร้างความเข้าใจผู้ปกครองมีส่วนร่วม
รศ.ดร.เจษฎา กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาหน่วยงานรัฐมักจะสื่อสารว่า โรคนี้อันตรายอย่างไร และจะประพฤติตัวเองอย่างไร แต่ในมุมกลับกันเราก็สามารถอยู่ร่วมกับเชื้อโรคนี้ได้ ดังนั้นถ้าครูหรือผู้บริหารในโรงเรียนให้ความเข้าใจกับเด็กมากขึ้นจะทำให้ใช้ชีวิตได้ดีขึ้น แต่ก็ควรจะเน้นยํ้าไม่ให้เด็กประมาทด้วย ตอนนี้เหมือนผู้บริหารของกระทรวงศึกษาธิการกำลังหลงทาง โดยเฉพาะการประเมินผลในรูปแบบออนไลน์ ทั้งที่จริงถ้าเราให้ความรู้เด็ก ๆ เราสามารถประเมินผลในรูปแบบการสอบเดิมได้ เพราะการปล่อยให้เด็กเรียนโดยไม่ประเมินผลค่อนข้างจะไม่เห็นด้วย
สำหรับผู้ปกครอง ก็ต้องมีส่วนที่จะให้ความรู้กับเด็กในการป้องกันตัวเอง และไม่พาเด็กไปในพื้นที่เสี่ยง เพราะลูกของเราอาจเป็นพาหะนำโรคได้ ทั้งหมดนี้ไม่อยากให้เกิดความกังวลทั้งผู้ปกครองและตัวเด็ก เนื่องจากเราต้องยอมรับว่า จะต้องอยู่กับโรคนี้อีกนาน ดังนั้นเราต้องเรียนรู้ว่า จะต้องอยู่ร่วมกับมัน และป้องกันตัวเองให้ปลอดภัยจากโรคนี้ได้อย่างไร
“การแพร่ระบาดรอบนี้ทำให้เห็นถึงความเหลื่อมลํ้าในเชิงการศึกษาของเด็กไทย ซึ่งกระทรวงการศึกษาเองควรจะต้องหันมาพัฒนาเด็กเหล่านี้ให้มากขึ้น ดังนั้นเมื่อมีมาตรการป้องกันอะไรก็ต้องระดมทำ แต่เมื่อเกิดข้อผิดพลาดขึ้น ไม่ควรไปโทษกัน เช่น โทษว่าผู้อำนวยการโรงเรียนต้องรับผิดชอบ หากมีการระบาดในโรงเรียน ถือเป็นเรื่องที่ไม่ควร แต่เราจะต้องช่วยเขาในการพัฒนาและป้องกันให้ดีขึ้น”
Search
สร้างความเข้าใจผู้ปกครองมีส่วนร่วม 在 โรงเรียนลูกรักเชียงของ Lougrug Chiangkhong - ความร่วมมือ บ้าน ... 的推薦與評價
การที่ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กนั้น เรียกได้ว่าผู้ปกครองเป็น "หุ้นส่วน"ของโรงเรียนในการเสริมสร้างศักยภาพของเด็กสู่คุณภาพสูงสุด มีงานวิจัยมากมายที่บ่งบอก ... ... <看更多>