"ความหมายและลักษณะของกฎหมายของความคิดของข้าพเจ้า"
สิทธิกร ศักดิ์แสง
กฎหมายมีความสำคัญสำหรับสังคมอย่างยิ่ง กฎหมายเป็นเรื่องคู่กับสังคมตลอดมา คือ มีสังคมที่ไหนมีกฎหมายที่นั่น เป็นเพราะมนุษย์ต้องอยู่ร่วมกันเป็นสังคมโดยรวมตัวแบบชุมชนและรวมตัวแบบสมาคมผูกพันอยู่ติดกับดินแดนส่วนใดส่วนหนึ่งของโลกและมนุษย์ปรารถนาที่จะสนองตอบความต้องการของตนและปกปักษ์รักษาตน การที่มนุษย์อยู่ร่วมกันและมีความปราถนาดังกล่าวนั้นเพื่อให้สังคมเกิดความสงบสุข จึงจำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์ หรือที่เรียกง่ายๆ ว่า “กติกา” ถ้าไม่มีกฎเกณฑ์หรือกติกา คนในสังคมก็จะทำอะไรตามอำเภอใจของตนเกิดความสับสนวุ่นวาย สังคมก็ไม่อาจอยู่เป็นสุขได้ จึงต้องมีการกำหนดกฎเกณฑ์หรือกติกาขึ้น มาเพื่อให้สังคมนั้นเป็นระเบียบเรียบร้อย ถ้าเรามองถึงสังคมใดสังคมหนึ่งจะเห็นได้ว่าคนในสังคมนั้นสามารถกำหนดกติกาเพื่อบังคับใช้คนในสังคมคนในสังคมแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มด้วยกัน คือ กลุ่มผู้ปกครองกับกลุ่มผู้อยู่ใต้ปกครอง กติกาของสังคมจะต้องออกมาจากบุคคล 2 กลุ่มนี้ แต่กติกาส่วนใหญ่จะมาจากกลุ่มผู้ปกครอง ซึ่งจะมีอำนาจเป็นผู้ดูแลสังคม กลุ่มนี้ก็จะออกกติกาส่วนใหญ่ เราเรียกว่า “กฎหมาย”(Law)
1.ความหมายของกฎหมาย
ความหมายคำว่า “กฎหมาย” มีนักปรัชญา นักกฎหมายทั้งในต่างประเทศและของไทยได้ให้ความหมาย กฎหมาย ไว้ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันหรือในทำนองเดียวกัน ดังนี้
1.1 การให้ความหมายกฎหมายของนักกฎหมายต่างประเทศ
การให้ความหมายของนักปรัชญากฎหมายของต่างประเทศได้ให้ความหมายของกฎหมายจะพบว่าจะให้ความหมายที่มีลักษณะคล้ายๆกันแต่จะมีความแตกแตกต่างกันไปตามสำนักคิด คือ สำนักคิดปฏิฐานนิยม (Positive Law) เช่น จอห์น ออสติน (John Austin) นักปราชญ์ชาวอังกฤษได้กล่าว กฎหมายคือคำสั่งทั่วไปที่ผู้มีอำนาจเหนือสั่งต่อผู้อยู่ใต้อำนาจของตน ให้กระทำการหรือละเว้น ไม่กระทำการอย่างใด อย่างหนึ่ง ถ้าผู้ใดไม่ปฏิบัติความผู้นั้นย่อมต้องได้รับโทษ เป็นต้น ส่วนสำนักคิดกฎหมายธรรมชาติ (Natural Law) เช่นฌองชาครุสโซ (Jean Jacque Rousseau) นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศส ได้ให้ความหมายของกฎหมาย คือ เจตจำนงของประชาชนในชาติ ซึ่งแสดงออกรวมกัน เซอร์พอล วิโนกราดอฟ (Sir Paul Vinogradoff) ได้ความหมายกฎหมาย คือ หลักข้อบังคับความประพฤติ ที่บัญญัติขึ้น และบังคับ โดยผู้ทรงอำนาจอธิปไตย เป็นต้น
1.2 การให้ความหมายกฎหมายของนักกฎหมายไทย
การให้ความหมายกฎหมายของนักกฎหมายของไทยต่างก็ให้ความหมายที่มีความหมายของกฎหมายไปแนวทางเดียวกันกับสำนักสำนักคิดปฏิฐานนิยม (Positive Law) เช่น กรมหลวงราชบุรี ดิเรกฤทธิ์ พระบิดาแห่งกฎหมายไทย ให้ความหมายของกฎหมาย คือ คำสั่งทั้งหลายของผู้ปกครองว่าการแผ่นดินต่อราษฎรทั้งหลาย เมื่อไม่ทำตามแล้วธรรมดาต้องรับโทษ หลวงจำรูญเนติศาสตร์ ได้อธิบายว่ากฎหมาย ได้แก่ข้อบังคับว่าด้วยการปฏิบัติ ซึ่งผู้มีอำนาจของประเทศ ได้บัญญัติขึ้นและบังคับว่าด้วยการปฏิบัติซึ่งผู้มีอำนาจของประเทศนั้นถือปฏิบัติตาม ประสิทธิ โฆวิไลกูล ได้อธิบายว่า กฎหมาย คือ ระเบียบ ข้อบังคับของสังคมซึ่งมนุษย์เป็นผู้กำหนดขึ้นจะเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร (Statute) หรือกฎหมายจารีตประเพณี (Customary Law) เพื่อให้ใช้บังคับสมาชิกในสังคม และในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 กฎหมายคือ กฎที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้นหรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือเพื่อใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตามหรือเพื่อกำหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ เป็นต้น
กล่าวโดยสรุป กฎหมาย คือ บรรดากฎเกณฑ์ที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในสังคมกำหนดแบบแผน ความประพฤติของบุคคลในความสัมพันธ์ระหว่างกันและกัน ทั้งนี้ โดยจุดมุ่งหมายให้คนในสังคมที่จะให้เกิดเป็นระเบียบเรียบร้อย และยุติธรรม โดยมีกระบวนการบังคับอย่างเป็นกิจจะลักษณะ จะเห็นได้ว่า กฎหมายเป็นเรื่องของกฎระเบียบแบบแผน เป็นเรื่องของเหตุผล เป็นเรื่องของคุณธรรม เป็นกติกาของสังคมมนุษย์ที่มีการจัดตั้ง เป็นเครื่องประสานประโยชน์ของมนุษย์ทุกคนที่อยู่รวมกัน กฎหมายต้องยุติธรรมเสมอไปหรือไม่ จะเห็นได้ว่าไม่เสมอไป แต่กฎหมายจะต้องเที่ยงธรรมและเมื่อมีปัญหาข้อขัดแย้งเกิดขึ้น กฎหมายต้องหาทางยุติโดยเที่ยงธรรม ที่ทำให้สังคมเกิดความสงบสุข
2. ลักษณะของกฎหมาย
เมื่อพิจารณาศึกษาถึง “ลักษณะของกฎหมาย” นั้น ศาสตราจารย์ ดร. หยุด แสงอุทัย ได้อธิบายว่าถึงลักษณะของกฎหมายนั้นแยกออกเป็น 2 ประเภท คือกฎหมายตามเนื้อความ กับกฎหมายตามแบบพิธี กล่าวคือ “กฎหมายตามแบบเนื้อความ” หมายถึง กฎหมายซึ่งบทบัญญัติมีลักษณะเป็นกฎหมายแท้คือ ได้แก่ข้อบังคับของรัฐ ซึ่งกำหนดความประพฤติของมนุษย์ถ้าฝ่าฝืนจะได้รับผลร้ายหรือถูกลงโทษ ส่วน “กฎหมายตามแบบพิธี” หมายถึง กฎหมายที่ออกมาโดยวิธีบัญญัติกฎหมาย ไม่ต้องคำนึงว่ากฎหมายนั้น เข้าลักษณะเป็นกฎหมายความเนื้อความหรือไม่ ตัวอย่างเช่น พระราชบัญญัติงบประมาณประจำปี, พระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม เป็นต้น ซึ่งกฎหมาย โดยปกติจะต้องมีทั้ง2 ลักษณะประกอบกัน กล่าวคือ เป็นทั้งกฎหมายความเนื้อความและกฎหมายความแบบพิธี เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายที่ดิน เป็นต้น แต่ก็มีกฎหมายบางฉบับที่เป็นเฉพาะกฎหมายแบบพิธีเท่านั้น เช่น พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พระราชบัญญัติงบประมาณประจำปี เป็นต้น
แต่อย่างไรก็ตามมีนักนิติศาสตร์ ให้ความเห็นว่า กฎหมายที่แท้จริง คือ กฎหมายเป็นข้อกำหนดทั้งสิทธิและหน้าที่ให้กับบุคคลกระทำหรืองดเว้นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งจะต้องมีลักษณะสำคัญ 4 ประการ ดังต่อไปนี้
2.1 กฎหมายเป็นข้อกำหนดแบบแผนความประพฤติของมนุษย์
กฎหมายเป็นข้อกำหนดแบบแผนความประพฤติของมนุษย์ ในความสัมพันธ์ระหว่างกันและกัน ซึ่งหมายความว่า กฎหมายเป็นข้อความที่กำหนดบังคับให้บุคคลกระทำการบางอย่างหรือห้ามบุคคลกระทำการบางอย่างหรืออนุญาตให้บุคคลกระทำการบางอย่าง ดังนี้
2.1.1 กฎหมายกำหนดให้บุคคลกระทำการบางอย่างหรือห้ามมิให้กระทำการบางอย่าง
กฎหมายกำหนดให้บุคคลกระทำการบางอย่างก็ดีหรือห้ามมิให้กระทำการบางอย่างก็ดี เรียกว่า “กฎหมายกำหนดหน้าที่ให้บุคคลปฏิบัติ”ซึ่งมีหน้าที่ 2 ประการ คือ หากบังคับให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งคือ“หน้าที่กระทำการ” หากกฎหมายห้ามมิให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ “หน้าที่งดเว้นกระทำการ” ซึ่งเป็น “ความผูกพัน” ที่ทำให้บุคคลตกอยู่ในสถานะที่ต้องกระทำการหรืองดเว้นกระทำการหรือยอมให้เขากระทำกิจการเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย การที่กฎหมายกำหนดให้บุคคลกระทำการหรืองดเว้นกระทำการซึ่งเป็นหน้าที่ เช่น การกำหนดให้บุคคลมีหน้าที่พิทักษ์รักษาชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีหน้าที่ป้องกันประเทศรักษาผลประโยชน์ของชาติและปฏิบัติตามกฎหมาย มีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง มีหน้าที่รับราชการทหาร มีหน้าที่เสียภาษี เป็นต้น
2.1.2 กฎหมายกำหนดอนุญาตให้บุคคลกระทำการบางอย่างหรืออนุญาตให้บุคคลงดเว้นกระทำการบางอย่าง
กฎหมายกำหนดอนุญาตให้บุคคลกระทำการบางอย่างหรืออนุญาตให้บุคคลงดเว้นกระทำการบางอย่าง เรียกว่า “กฎหมายให้สิทธิแก่บุคคล”ซึ่งเป็นการรับรองคุ้มครองสิทธิของประชาชนในการกระทำการต่างๆตามที่กฎหมายกำหนดอนุญาต คือ สิทธิในสภาพบุคคลและสิทธิในทรัพย์สิน ดังนี้
2.1.2.1 สิทธิในสภาพบุคคล
สิทธิในสภาพบุคคลเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ และตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญตลอดจนกฎหมายอื่นๆ ได้แก่
1.สิทธิในตัวบุคคล หมายถึง สิทธิซึ่งบุคคลย่อมจะต้องมีในฐานะเป็นเจ้าของตัวของตนเอง สิทธิในตัวบุคคลได้แก่ ในเรื่องที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสภาพร่างกาย อนามัย ชื่อเสียงความคิดเห็น และสติปัญญา สิทธิในเคหสถาน สิทธิในการประกอบอาชีพ สิทธิในการนับถือศาสนา เป็นต้น
2.สิทธิในครอบครัว หมายถึง ประโยชน์หรืออำนาจที่กฎหมายรับรองในเรื่องที่เกี่ยวด้วยครอบครัว ดังเช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้มีบทบัญญัติในการรับรองคุ้มครองสิทธิในครอบครัวไว้ในบรรพ 5 ได้แก่ สิทธิของบิดามารดากับบุตร บุตรชอบด้วยกฎหมาย มีสิทธิใช้นามสกุลของบิดา มีสิทธิในการรับรองการศึกษาตามสมควรและได้รับการอุปการะเลี้ยงดูจากบิดามารดาในระหว่างเป็นผู้เยาว์หรือแม้เมื่อบรรลุนิติภาวะแล้วแต่เป็นผู้ทุพพลภาพ และหาเลี้ยงตนเองมิได้สิทธิของสามีกับภรรยา เมื่อหญิงกับชายกระทำการสมรสโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ย่อมก่อให้เกิดสิทธิในครอบครัวขึ้นบางประการ สิทธิในการรับมรดก การเป็นสมาชิกในครอบครัว ก่อให้เกิดสิทธิแก่บุคคลอีกประการหนึ่ง คือสิทธิได้รับทรัพย์สินอันเป็นมรดก ในฐานะเป็นทายาทของผู้ตายซึ่งได้แก่การเป็นบิดามารดา พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา หรือเป็นคู่สมรสฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่ เป็นต้
3.สิทธิในทางการเมือง หมายถึง สิทธิที่ให้เฉพาะแก่บุคคลผู้มีสัญชาติของประเทศเมื่อมีอายุ และคุณสมบัติบางประการตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ได้มีโอกาสเข้าเกี่ยวข้อง หรือร่วมมือในการปกครองบ้านเมืองของตน ได้แก่ สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง และเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น เป็นต้น
2.1.2.2 สิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สิน
สิทธิในทรัพย์สินสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สิน หมายถึง ประโยชน์หรืออำนาจที่กฎหมายรับรองให้บุคคลมีอยู่เหนือทรัพย์สินต่างๆ ดังนี้
1.ทรัพย์สิทธิเป็นสิทธิที่กฎหมายรับรองให้บุคคลมีอำนาจเหนือทรัพย์สินของตนซึ่งมีวัตถุแห่งสิทธิเป็นทรัพย์ จัดว่าเป็นสิทธิที่จะบังคับเอากับทรัพย์สินโดยตรง ได้แก่ .
1) กรรมสิทธิ์คือ ทรัพย์สินแสดงความเป็นเจ้าของในทรัพย์สิน เป็นสิทธิอันสมบูรณ์ที่สุดที่บุคคลจะพึงมีในทรัพย์สิน กรรมสิทธิ์ได้รวมเอาสิทธิทั้งหลายเกี่ยวกับทรัพย์สินเข้าไว้ด้วยกัน คือ สิทธิในการใช้สอยทรัพย์สิน กรรมสิทธิ์ ในการจำหน่ายทรัพย์สิน สิทธิที่จะได้ดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนจากผู้ไม่มีสิทธิ สิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดข้องเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้น โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
2) สิทธิครอบครอง เป็นทรัพย์สิทธิประเภทเดียวกับกรรมสิทธิ์คือ เป็นทรัพย์สินที่แสดงความเป็นเจ้าของ ดังนั้นถ้าผู้ใดเป็นเจ้าของก็มักจะมีกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบอยู่ด้วย แต่บางครั้งเจ้าของกรรมสิทธิ์อาจจะมอบการครอบครองให้แก่บุคคลอื่นก็ได้ ดังนั้นสิทธิครอบครองจึงอยู่กับบุคคลอื่น เช่น เจ้าของกรรมสิทธิ์เอาทรัพย์สินนั้นให้ผู้อื่นเช่า
3)ภาระจำยอม เป็นทรัพย์สิทธิชนิดหนึ่งที่ตัดทอนอำนาจกรรมสิทธิ์โดยทำให้ เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ อันหนึ่งเรียกว่า “ภารยทรัพย์” ต้องรับกรรมบางอย่าง ซึ่งกระทบกระเทือนทรัพย์สินของตน หรือทำให้เจ้าของภารยทรัพย์ต้องงดเว้น การใช้สิทธิบางอย่างเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น เพื่อประโยชน์ของอสังหาริมทรัพย์อื่น เรียกว่า “สามยทรัพย์” เช่นการที่เจ้าของที่ดินแปลงหนึ่ง มีสิทธิเดินผ่านที่ดินอีกแปลงหนึ่ง
4) สิทธิอาศัย เป็นสิทธิที่จะอยู่ในโรงเรือนของผู้อื่น โดยไม่ต้องเสียค่าเช่าหรือผลประโยชน์อื่นตอบแทน ซึ่งจะมีขึ้นได้ก็โดยนิติกรรม และเป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่สามารถโอนหรือตกทอดไปยังทายาท
5) สิทธิเหนือพื้นดิน เป็นสิทธิที่บุคคลหนึ่งได้เป็นเจ้าของโรงเรือนสิ่งปลูกบนดินหรือใต้ดินของผู้อื่น สิทธิเหนือพื้นดินจึงเป็นทรัพย์สินที่ยกเว้นหลักส่วนควบ สามารถโอนและตกทอดไปยังทายาทได้
6) สิทธิเก็บกิน เป็นสิทธิที่จะเข้าครอบครองใช้และถือเอาประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น โดยจะเสียค่าตอบแทนหรือไม่ก็ได้ เป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่สามารถโอนหรือตกทอดไปยังทายาทได้และผู้ทรงสิทธิเก็บเกินผู้ดูแลรักษาทรัพย์นั้นด้วย
7)ภารติดพันธ์ในอสังหาริมทรัพย์ เป็นทรัพย์สิทธิชนิดหนึ่ง ซึ่งเจ้าของ อสังหาริมทรัพย์มีความผูกพันที่จะต้องชำระหนี้จากอสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นคราวๆ ให้แก่บุคคลอื่น ซึ่งเรียกว่า ผู้รับประโยชน์หรือต้องยอมให้ผู้อื่นได้ใช้หรือถือเอาประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์นั้น
8) ลิขสิทธิ์และสิทธิในเครื่องหมายการค้า ดังนี้
(1) ลิขสิทธิ์ เป็นสิทธิอันมีแต่ผู้เดียวที่จะทำขึ้นทำซ้ำซึ่งวรรณกรรมหรือศิลปกรรมหรือส่วนสำคัญแห่งวรรณกรรมหรือศิลปกรรมนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปร่างอย่างไรและรวมถึงสิทธิในการนำออกเล่นแสดงต่อประชาชนด้วย ถ้าเป็นปาฐกถา หมายถึงสิทธิการนำออกกล่าวหรือ ถ้าวรรณกรรมหรือศิลปกรรมนั้นยังมิได้โฆษณา ก็หมายถึงสิทธินำออกโฆษณาด้วยแต่เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิที่จะมอบหมายอำนาจให้ผู้อื่นทำซ้ำเปลี่ยนแปลง เล่น แสดงโฆษณา ฯลฯ ซึ่งวรรณกรรมและศิลปกรรมนั้นๆ
(2) สิทธิในเครื่องหมายการค้า เป็นเครื่องหมายซึ่งใช้หรืออาจจะใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้า เพื่อแสดงว่าสินค้านั้นๆ เป็นสินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้าบุคคลผู้ใดจดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าแล้ว ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นเจ้าของสิทธิแต่เพียงผู้เดียว เพื่อใช้เครื่องหมายสำหรับสินค้านั้นทั้งหมด ผู้ปลอมหรือเลียนแบบเครื่องหมายการค้าซึ่งจดทะเบียนแล้วย่อมมีความผิดทางอาญาและทางแพ่ง
2.สิทธิเรียกร้องในเรื่องหนี้ (บุคคลสิทธิ์)การที่บุคคลฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเรียกร้องบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งให้กระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งถ้าการกระทำหรือการงดเว้นนั้นเป็นความเกี่ยวพันระหว่างบุคคลด้วยกันในเรื่องหนี้ แม้เป็นเพียงบุคคลสิทธิมิใช่เป็นอำนาจที่ใช้ต่อทรัพย์สินโดยตรงอย่างทรัพย์สิทธิก็ตาม แต่ก็เป็นสิทธิเรียกร้องให้ผู้อื่นทำประโยชน์ ในทางทรัพย์สินให้แก่ตน จึงนับว่าสิทธิเรียกร้องในเรื่องหนี้เป็นสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สินด้วยอย่างหนึ่ง
เมื่อพิจารณาศึกษาถึง กฎหมายเป็นระเบียบแบบแผนควบคุมความประพฤติของมนุษย์ กล่าวคือ กฎหมายจึงเป็นข้อตกลงให้คนในสังคมปฏิบัติโดยอยู่ในรูปแบบของ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่งต่างๆนั้นมักจะมาจากวิธีปฏิบัติที่กระทำสืบเนื่องมาจากจารีตประเพณีนิยมที่เป็นบรรทัดฐานทางปฏิบัติทั้งหลายของสังคม (Practical Norms of Society)โดยคนส่วนใหญ่ให้การยอมรับและปฏิบัติตามมาเป็นเวลาช้านานโดยถือเป็นปรากฏการณ์ทางสังคม (Social Phenomenal)ในลักษณะเช่นเดียวกันกับศาสนาและศีลธรรม จนกระทั่งเรียบเรียงขึ้นเป็นบทบัญญัติลายลักษณ์อักษรเพื่อกำหนดสิทธิหน้าที่ของคนในสังคมให้กระทำหรืองดเว้นการกระทำ
2.2 กฎหมายต้องเป็นข้อบังคับออกจากรัฐ
กฎหมายเป็นข้อบังคับออกจากรัฐ ซึ่งข้อบังคับนั้นไม่ใช่มาจากบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ต้องมาจากรัฐ (State) มาจากองค์กรที่มีอำนาจสูงสุด คำว่า “รัฐ”หมายถึง สังคมมนุษย์ที่รวมกันแบบชุมชนและรวมตัวแบบสมาคมผูกพันกันกับดินแดนส่วนใดส่วนหนึ่งของโลกมีการปกครองภายใต้อำนาจอธิปไตยของตนเอง ไม่ตกอยู่ในอำนาจอธิปไตยของรัฐอื่นมีสภาพนิติบุคคลมหาชน จึงต้องมีการกระทำการแทนรัฐ คือ ผู้ปกครองในฐานะรัฏฐาธิปัตย์ออกข้อบังคับโดยความตกลงยินยอมจากผู้อยู่ใต้ปกครอง ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ในสังคม
เมื่อพิจารณาศึกษากฎหมายเป็นข้อบังคับที่ออกจากรัฐ โดยรัฏฐาธิปัตย์นี้จะพบว่า รัฏฐาธิปัตย์จะมีอยู่ 2 ลักษณะในการออกกฎระเบียบข้อคับต่างๆ ดังนี้
2.2.1 รัฏฐาธิปัตย์ที่ได้อำนาจตามวิถีทางรัฐธรรมนูญ
รัฏฐาธิปัตย์ที่ได้อำนาจตามวิถีทางรัฐธรรมนูญ มาจากความยินยอมพร้อมใจของคนส่วนใหญ่ส่งตัวแทนขึ้นไปปกครองโดยการเลือกตั้ง หรือการแต่งตั้งตามวิถีทางรัฐธรรมนูญ ออกกฎหมายใช้บังคับกับคนในสังคม
2.2.2 รัฏฐาธิปัตย์ที่ได้อำนาจนอกวิถีทางรัฐธรรมนูญ
รัฏฐาธิปัตย์ที่ได้อำนาจนอกวิถีทางรัฐธรรมนูญ มาจากการใช้กำลังเข้าอำนาจปกครองโดยการปฏิวัติ หรือรัฐประหาร นอกวิถีทางรัฐธรรมนูญ ออกกฎหมายใช้บังคับกับคนในสังคม
แต่อย่างไรก็ตามกฎหมายเป็นข้อบังคับที่ออกจากรัฐ ที่สมบูรณ์ได้นั้น จะต้องเป็น “รัฏฐาธิปัตย์”ที่คนส่วนใหญ่ยินยอมพร้อมใจส่งตัวแทนให้เป็นผู้ปกครอง ในฐานะรัฏฐาธิปัตย์ตามวิถีทางรัฐธรรมนูญออกกฎหมายมาใช้บังคับและเป็นกฎหมายที่คนส่วนใหญ่ยอมรับปฏิบัติตามโดยทั่วไป
2.3 กฎหมายเป็นข้อบังคับความประพฤติของมนุษย์ที่มีความแตกต่างไปจากกฎเกณฑ์อื่นทางสังคม
กฎหมายเป็นข้อบังคับต้องกำหนดความประพฤติความประพฤติของบุคคลระหว่างกันและกันที่มีลักษณะทั่วไปซึ่งมีลักษณะบังคับอย่างเป็นกิจจะลักษณะ คือ การแสดงออกโดยการเคลื่อนไหวร่างกายหรือการงดเว้น การเคลื่อนไหวร่างกายอย่างใดอย่างหนึ่ง ลำพังแต่จิตใจอย่างเดียวกฎหมายย่อมไม่มีผลบังคับและกรณีนี้เองทำให้กฎหมายแตกต่างกับกฎเกณฑ์ความประพฤติของสังคมในประเภทอื่น เช่น ข้อบังคับของศาสนาและข้อบังคับทางศีลธรรมและข้อบังคับจารีตประเพณีดังนี้
2.3.1 กฎหมายกับศาสนา
ศาสนา คือ กฎข้อบังคับที่ผู้นำของศาสนาต่างๆกำหนดขึ้นไว้ให้มนุษย์ประพฤติปฏิบัติแต่ความดีซึ่งกฎหมายกับข้อบังคับทางศาสนานั้นจะมีความคล้ายคลึงมีความแตกต่างและมีความสัมพันธ์กัน ดังนี้
2.3.1.1 ความคล้ายคลึงระหว่างกฎหมายกับศาสนา
กฎหมายกับศาสนานั้นมีความคล้ายคลึง คือ ทั้งศาสนาและกฎหมายต่างก็กำหนดความประพฤติของมนุษย์เหมือนกันถ้าผู้ใดฝ่าฝืนก็จะกลายเป็นคนชั่วหรือได้รับผลร้ายตามมา
2.3.1.2 ความแตกต่างระหว่างกฎหมายกับศาสนา
กฎหมายกับศาสนา คือ ในทางกฎหมายนั้นถ้าผู้ใดฝ่าฝืนก็จะมีสภาพบังคับ(Sanction)เกิดขึ้นทันที เช่นสภาพบังคับทางอาญา มีโทษ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ริบทรัพย์สิน และปรับ หรือสภาพบังคับทางแพ่ง ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ส่วนทางด้านศาสนาสภาพบังคับหรือผลที่ตามมานั้นอยู่ที่ชาติหน้าหรือภายภาคหน้าไม่ได้เกิดทันทีเหมือนกฎมาย
2.3.1.3 ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับศาสนา
กฎหมายและศาสนามีความสัมพันธ์ต่อกันในเรื่องต่างๆหลายประเด็นด้วยกัน ดังนี้
1. กฎหมายและศาสนาต่างมีอิทธิพลต่อกันและกัน กล่าวคือ ถ้ากฎหมายมีข้อบังคับที่ดีย่อมเป็นการส่งเสริมศาสนาไปด้วยในตัว ส่วนศาสนาที่ดีย่อมทำให้รัฐออกกฎหมายที่ดีได้คือ กฎหมายต้องมาจากธรรม ต้องชอบธรรมและเพื่อธรรม พลเมืองที่นับถือศาสนาอย่างเคร่งครัดย่อมจะเป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อยและยอมตนปฏิบัติตามกฎหมายของรัฐโดยไม่คิดหลีกเลี่ยง
2.กฎหมายและศาสนาย่อมคำนึงถึงซึ่งกันและกัน กล่าวคือ กฎหมายก็ต้องคุ้มครองศาสนา เช่น การให้หลักประกันเสรีภาพในการนับถือศาสนาและเสรีภาพในการปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อของตน ส่วนศาสนาก็ต้องคำนึงถึงกฎหมาย และสั่งสอนให้บุคคลปฏิบัติตามกฎหมายเช่นเดียวกัน ศาสนาย่อมกำหนดข้อห้ามจิตใจของมนุษย์ เช่น ห้ามไม่ให้มนุษย์คิดร้ายต่อผู้อื่น สอนให้คนทำความดีคือปฏิบัติตามกฎหมายเป็นต้น
2.3.2 กฎหมายกับศีลธรรม
ศีลธรรม คือ ความรู้สึกภายในจิตใจของมนุษย์ว่าการกระทำนั้นผิดหรือถูกอย่างไร ซึ่งกฎหมายกับศีลธรรมจะมีความคล้ายคลึง มีความแตกต่างและมีความสัมพันธ์กัน ดังนี้
2.3.2.1 ความคล้ายคลึงระหว่างกฎหมายกับศีลธรรม
กฎหมายกับศีลธรรมจึงมีความคล้ายคลึงกันในข้อที่ว่า ต่างกำหนดข้อบังคับแห่งความประพฤติด้วยกันคือมีจิตใจหรือความรู้สึกที่จะกระทำการหรือไม่กระทำการใดๆเหมือนๆกัน
2.3.2.2 ความแตกต่างระหว่างกฎหมายกับศีลธรรม
กฎหมายกับศีลธรรมจะมีความแตกต่างกันในหลายๆประเด็นด้วยกัน ดังนี้
1. กฎหมายเป็นข้อบังคับของรัฐ แต่ศีลธรรมเป็นความรู้สึกที่เกิดจากจิตใจของมนุษย์แต่ละคน
2. กฎหมายกำหนดความประพฤติภายนอกของมนุษย์ที่แสดงออกมาให้เห็น แต่ศีลธรรมเป็นเพียงแต่คิดในทางไม่ชอบก็ผิดศีลธรรมแล้ว
3. ข้อบังคับของกฎหมายกำหนดเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นส่วนใหญ่ ส่วนศีลธรรมนั้นไม่ได้มีการกำหนดเป็นลายลักษณ์อักษรแต่อย่างใด
4. กฎหมายนั้นถ้าผู้ใดฝ่าฝืนจะได้รับโทษ แต่ศีลธรรมนั้นผู้ที่มีความรู้สึกนึกคิดของคนๆนั้นไปโดยเฉพาะเป็นแต่เพียงกระทบจิตใจมากน้อยเพียงใดเท่านั้น
2.3.2.3 ความเกี่ยวพันระหว่างกฎหมายกับศีลธรรม
กฎหมายกับศีลธรรมมีความสัมพันธ์ระหว่างกันที่ใช้บังคับร่วมกันของคนในสังคมให้เกิดสำนึกปฏิบัติตามกฎหมาย ดังนี้
1. ศีลธรรมกับกฎหมายมีอิทธิพลต่อกันมากและเกี่ยวข้องกับศีลธรรมเสมอ เช่น การที่มีศีลธรรมสูงเป็นที่เชื่อได้ว่าไม่เคยฝ่าฝืนกฎหมายแต่อย่างใด ในทางกลับกันคนที่ไม่มีศีลธรรมกฎหมายก็จะช่วยยกฐานะให้คนๆนั้นมีศีลธรรมดีขึ้น เช่น การลักเล็กขโมยน้อยกฎหมายก็ให้ติดคุกเมื่อออกมาแล้วมีศีลธรรมสูงไม่กล้าลักขโมยอีกต่อไป
2.ศีลธรรมกับกฎหมายอาจเป็นศัตรูกันได้เช่นกฎหมายอาจบังคับให้มนุษย์งดเว้นกระทำการซึ่งศีลธรรมบังคับให้กระทำเช่น การเบิกความเท็จต่อศาลซึ่งกฎหมายลงโทษแต่ความจริงแล้วการกระทำนั้นกระทำลงไปเพื่อช่วยเหลือผู้มีอุปการะคุณต่อตน ดังนั้นกฎหมายจำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับศีลธรรมก็ได้
2.3.3 กฎหมายกับจารีตประเพณี
จารีตประเพณี หมายถึง สิ่งที่มนุษย์ปฏิบัติต่อเนื่องกันมาเวลาช้านานทำให้เป็นที่ยอมรับนับถือคนของคนในท้องถิ่น ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติที่ควบคุมความประพฤติภายนอกของมนุษย์เท่านั้นและเป็นการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ เช่น การพูด การแต่งตัว ตลอดถึงวัฒนธรรมต่างๆ ซึ่งอาจแตกต่างกันไปแต่ละท้องถิ่น ซึ่งกฎหมายกับจารีตประเพณีจะมีความคล้ายคลึง มีความแตกต่างและมีความสัมพันธ์กัน ดังนี้
2.3.3.1 ความคล้ายคลึงระหว่างกฎหมายกับจารีตประเพณี
กฎหมายและจารีตประเพณีต่างเป็นข้อบังคับกำหนดความประพฤติภายนอกของมนุษย์ให้เป็นแบบเดียวกันและอยู่ร่วมกันของคนในสังคม
2.3.3.2 ความแตกต่างระหว่างกฎหมายกับจารีตประเพณี
กฎหมายกับจารีตประเพณีจะมีความแตกต่างกัน ดังนี้
1.กฎหมายนั้น ผู้มีอำนาจในรัฐเป็นผู้บัญญัติและบังคับใช้แก่ทุกคนทั่วไปในรัฐ แต่จารีตประเพณีเป็นข้อบังคับเฉพาะของสังคมบางหมู่คณะหรือคนในสังคมหรือชุมชนที่เห็นดีเห็นชอบเท่านั้น
2.กฎหมายเป็นข้อบังคับสำหรับความประพฤติของมนุษย์เพียงบางอย่างเท่านั้น แต่จารีตประเพณีควบคุมการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งหมด
3.การกระทำความผิดกฎหมายย่อมได้รับผลร้ายหรือถูกลงโทษ ทั้งในทางอาญา ทางแพ่ง แต่จารีตประเพณีไม่มีผลบังคับอย่างกฎหมาย โดยปฏิบัติตามก็ได้ ไม่ปฏิบัติตามก็ได้ ไม่มีสภาพบังคับ ผู้ไม่ปฏิบัติตามจารีตประเพณีจะได้รับผลร้ายทางสังคม คือ ได้รับการตำหนิติเตียนจากสังคมเท่านั้น
2.3.3.3 ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับจารีตประเพณี
จารีตประเพณียังมีส่วนสัมพันธ์กับกฎหมายหลายประการทั้งในทางดีและไม่ดี ดังนี้
1.กฎหมายย่อมได้รับอิทธิพลจากจารีตประเพณี เพราะมีจารีตประเพณีกฎหมายจึงได้บัญญัติไว้เป็นกฎหมายได้อย่างเหมาะสมและเป็นไปตามความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆจารีตประเพณีจึงมีส่วนสำคัญในการเสริมการบังคับใช้กฎหมาย เพราะเป็นสิ่งที่ประชาชนปฏิบัติอยู่แล้ว
2. กฎหมายเกี่ยวพันกับจารีตประเพณีในบางเรื่องและจารีตประเพณีย่อมไม่ขัดต่อกฎหมายเพราะถ้าขัดแย้งแล้ว จารีตประเพณีอาจถูกขัดขวางและต้องยกเลิกไปในที่สุดแต่อย่างไรก็ตามกฎมายกับจารีตประเพณีต่างเป็นศัตรูกัน เช่น กฎหมายห้ามไม่ให้กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งจารีตประเพณีให้ทำได้ คือ ประเพณีผู้หญิงต้องล้างเท้าให้สามีก่อนขึ้นบ้านทางภาคเหนือของไทยซึ่งกฎหมายให้เลิกเสีย เป็นต้น
2.4 กฎหมายเป็นข้อบังคับที่มีสภาพบังคับ
กฎหมายเป็นข้อบังคับถ้าฝ่าฝืนจะต้องได้รับผลร้าย หรือถูกลงโทษซึ่งเรียกว่า สภาพบังคับของกฎหมาย (Sanction) การที่กฎหมายผู้ฝ่าฝืนต้องมีสภาพบังคับ ย่อมเป็นการทำให้มนุษย์ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ผู้ฝ่าฝืนอ้างว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้ สภาพบังคับที่เกิดขึ้นจากการฝ่าฝืนกฎหมายมี 4 ประเภท คือ สภาพบังคับทางอาญา สภาพบังคับทางแพ่ง สภาพบังคับทางปกครอง และสภาพบังคับทางรัฐธรรมนูญ ดังนี้
2.4.1 สภาพบังคับทางอาญา
สภาพบังคับทางอาญา การทำให้ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามต้องได้รับทุกข์ทรมาน หรือต้องสูญเสียสิทธิและเสรีภาพบางอย่างบางประการเช่น สูญเสียเสรีภาพเพราะถูกจำคุกหรือกักขัง สูญเสียทรัพย์เพราะถูกริบทรัพย์สิน สูญเสียชีวิตเพราะถูกประหารชีวิตซึ่งเหล่านั้น คือ โทษทางอาญา
2.4.2 สภาพบังคับทางแพ่ง
สภาพบังคับทางแพ่ง การบังคับให้บุคคลที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากการนั้น เพื่อให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากกฎหมายนั้น ได้กลับสู่ฐานะเดิมหรือมิฉะนั้นก็บังคับให้การกระทำบางอย่างบางประการที่ฝ่าฝืนกฎหมายเป็นการกระทำที่ไม่มีผลสมบูรณ์ตามความประสงค์ของผู้กระทำ เช่น ให้เป็นโมฆะหรือโมฆียะซึ่งเหล่าโทษเหล่านี้เป็นโทษทางแพ่ง
2.4.3 สภาพบังคับทางปกครอง
สภาพบังคับทางปกครอง การบังคับทางปกครองนั้นเป็นการบังคับกับหน่วยงานทางปกครองที่กระทำละเมิดต่อเอกชนผู้เสียหายไม่ว่าจะเป็นการบังคับชดใช้ค่าเสียหายหรือ การเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง อันเกิดจากการกระทำทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือชอบด้วยกฎหมาย ที่ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนหรืออาจได้รับความเดือดร้อนเสียหาย เป็นต้น
2.4.4 สภาพบังคับทางรัฐธรรมนูญ
สภาพบังคับทางรัฐธรรมนูญ การบังคับใช้รัฐธรรมนูญที่มีสภาพบังคับ เช่น กฎหมายอื่นใดจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญจะใช้บังคับไม่ได้ หรือในกรณีของไทย เช่น บุคคลที่มีสิทธิมีหน้าที่ไปเลือกตั้ง ถ้าไม่ไปเลือกตั้งจะเสียสิทธิ นั้นมีสภาพบังคับในการตัดสิทธิบางอย่าง คือ ในกรณีกำหนดให้การเลือกตั้งเป็นหน้าที่ ที่เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ กำหนดให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ถ้าไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งโดยไม่แจ้งเหตุอันควรที่ทำให้ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งย่อมเสียสิทธิที่กฎหมายบัญญัติ คือ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 กำหนดประชาชนที่มีหน้าที่ไปเลือกตั้งไม่ไปเลือกตั้งจะเสียสิทธิดังต่อไปนี้
1)ยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ส.ส. ส.ว. สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นที่ทุจริตเลือกตั้ง
2) สิทธิสมัครรับเลือกตั้งและสิทธิได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
3) สิทธิสมัครรับเลือกตั้งกำนันและผู้ใหญ่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
บรรณานุกรม
โกเมศ ขวัญเมือง และสิทธิกร ศักดิ์แสง “แนวการศึกษาใหม่ : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย
ทั่วไป”กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิญญูชน,2549
กำธร จิตคงไทย(ผู้แปล) “ความรู้ทางนิติศาสตร์ เล่มหนึ่ง”แปลและเรียบเรียงจาก Common Sense
in Law by Sir Paul Vinogradoff Oxford University Preess, สภาวิจัยแห่งชาติ, 2515
จรัญ โฆษณานันท์“นิติปรัชญา”กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหงม,2538
จรัญ โฆษณานันท์“นิติปรัชญา” กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, พิมพ์ครั้งที่ 16,2552
จุลกิจ รัตนมาศทิพย์ “ฎีกามหาชน เล่ม 1 วาทกรรมว่าด้วยสังคม, กฎหมายและความยุติธรรมใน
ประเทศไทย”กรุงเทพฯ: บริษัทหลอแอนด์เล้ง พับลิชชิ่ง จำกัด, 2551
ประสิทธิ โฆวิไลกูล“เหลียวหลังดูกฎหมายและความยุติธรรม”กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์นิติธรรม,2540
พจนานุกรมฉบับราชบัณทิตยสถาน พ.ศ. 2525 หน้า 3-4
โภคิน พลกุล “เอกสารประกอบการสอน วิชาหลักกฎหมายมหาชน”กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยคำแหง,
2528
สิทธิกร ศักดิ์แสง “หลักกฎหมายมหาชน” กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นิติธรรม,2557
หยุด แสงอุทัย “ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป” กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ประกายพรึก, 2545
โอสถ โกศิน“ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป”คำสอนชั้นปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์
สังคมศาสตร์และวารสารศาสตร์ พุทธศักราช 2503,พระนคร:แพร่การช่าง,2502.
John Austin “the Province of Jurisprudence determind”ed.H.L.A.Hart, London,1954.
「สิทธิครอบครอง หมายถึง」的推薦目錄:
- 關於สิทธิครอบครอง หมายถึง 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
- 關於สิทธิครอบครอง หมายถึง 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
- 關於สิทธิครอบครอง หมายถึง 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
- 關於สิทธิครอบครอง หมายถึง 在 กรรมสิทธิ์ และ สิทธิครอบครองต่างกันอย่างไร? โดย นายชัยชาญ สิทธิ ... 的評價
- 關於สิทธิครอบครอง หมายถึง 在 กรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครอง แตกต่างกันยังไง | Koy My Property Pro 的評價
สิทธิครอบครอง หมายถึง 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
หลักกฎหมายว่าด้วยทรัพย์สิน
ก่อนที่เราจะพูดถึงในเรื่องทรัพย์สินการได้มาซึ่งในทรัพย์ในบรรพ 4 นั้นเราจำเป็นต้องทราบถึงความหมายทรัพย์สิน ทรัพย์ ลักษณะของทรัพย์เสียก่อน
1.ความหมายทรัพย์สิน
ในทางกฎหมายได้ให้ความหมายของทรัพย์สิน คือ
1.1 ความหมายของทรัพย์และทรัพย์สิน
ทรัพย์ คือ วัตถุมีรูปร่าง เช่น รถยนต์ ปากกา เสื้อผ้า ธนบัตร สิ่งไม่เป็นรูปร่างไม่เป็นทรัพย์แต่อาจเป็นทรัพย์สิน
ทรัพย์สิน มีความหมายกว้างกว่า ทรัพย์ คือเป็นทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุมีรูปร่างหรือไม่มีรูปร่างก็ได้ แต่ต้องอาจมีราคาและอาจถือเอาได้ เช่น พลังงาน กระแสไฟฟ้า ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เป็นต้น
ข้อสังเกต ทรัพย์และทรัพย์สินมีลักษณะสำคัญอยู่ 2 ประการ คือ
1.ทรัพย์ คือ วัตถุที่มีรูปร่าง ส่วนทรัพย์สิน คือ วัตถุที่มีรูปร่างก็ได้หรือไม่มีรูปร่างก็ได้
2.วัตถุที่มีรูปร่างหรือไม่มีรูปร่างนั้นต้องอาจมีราคาได้และต้องอาจถือเอาได้
1.2 ความหมายของคำที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์และทรัพย์สิน
เมื่อทราบถึงความหมายและลักษณะของทรัพย์และทรัพย์สิน แล้วยังมีคำที่เกี่ยวข้องที่ขยายความหมายทรัพย์และทรัพย์สินที่ต้องอธิบาย คือ คำว่า “วัตถุมีรูปร่าง” “วัตถุไม่มีรูปร่าง” “อาจมีราคาได้” “อาจถือเอาได้”
1.2.1 วัตถุมีรูปร่าง
วัตถุมีรูปร่าง หมายถึงสิ่งเห็นได้ด้วยตา จับสัมผัสได้ เช่น หนังสือ โต๊ะ เก้าอี้ บ้านเรือน รถ เรือ ม้า ลา เป็นต้น
ข้อสังเกต กระแสไฟฟ้าซึ่งเป็นที่เข้าใจกันว่าเป็นสิ่งที่มีมีรูปร่าง จึงน่าเป็นทรัพย์สิน มิใช่ทรัพย์นั้น ได้มีคำพิพากษาของศาลฎีกาเลขที่ 877/2501 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ว่าการลักกระแสไฟฟ้าย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา 334หรือ 335 แล้วแต่กรณี
1.2.2 วัตถุไม่มีรูปร่าง
วัตถุไม่มีรูปร่าง นั้นหมายถึง สิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตา จับต้องสัมผัสไม่ได้ เช่น แก๊ส กำลังแรงธรรมชาติ พลังน้ำตก พลังปรมาณู เป็นต้น และยังได้แก่สิทธิต่างๆ อันเกี่ยวกับทรัพย์ เช่น กรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง ภารจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเก็บกิน สิทธิเหนือพื้นดิน ภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์ จำนำ ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร สิทธิในเครื่องหมายการค้า เป็นต้น
1.2.3 อาจมีราคาได้
ราคา หมายถึง คุณค่าในตัวของสิ่งนั้นเอง ซึ่งมีความหมายตรงกับ Value ในภาษาอังกฤษมิใช่ราคาที่ตรงกับ Price ในภาษาอังกฤษ สิ่งบางอย่างอาจซื้อขายด้วยราคามิได้ แต่อาจมีคุณค่าเพื่อประโยชน์ในการใช้สอยทางเศรษฐกิจ หรือประโยชน์ทางจิตใจอยู่ เช่น จดหมายติดต่อระหว่างคู่รัก ประกาศตั้งชื่อสกุล เป็นต้น
ข้อสังเกต สลากกินแบ่งรัฐบาลก็เป็นทรัพย์สินซึ่งซื้อขายเปลี่ยนมือกันได้ แม้สลากที่มีถูกรางวัลแล้วซื้อขายกันไม่ได้ต่อไป ก็อาจมีราคาได้ ถ้าเจ้าของยังหวงแหนเก็บรักษาไว้เป็นที่ระลึก
1.2.4 อาจถือเอาได้
คำว่าอาจถือเอาได้ หมายความว่า เพียงแต่อาจถือเอาได้นั้นก็เพียงพอแล้ว ฉะนั้นคำว่าถือเอาได้ จึงหมายถึงอาการเข้าหวงกันเพื่อตนเอง ไม่จำเป็นต้องเข้ายึดถือจับได้อย่างจริงจัง เช่น ปลาในโป๊ะ แม้เจ้าของโป๊ะจะยังไม่ทันจับปลาก็เรียกได้ว่าเจ้าของโป๊ะอาจถือเอาได้แล้ว เพราะมีการกั้นโป๊ะแสดงการหวงกันไว้เพื่อตนเอง
2.ประเภทของทรัพย์
ประเภทของทรัพย์ สามารถแบ่งประเภทได้ดังนี้ คือ
2.1 อสังหาริมทรัพย์
อสังหาริมทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เช่นที่ดินทรัพย์อันติดกับที่ดิน หรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน และสิทธิทั้งหลายอันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ได้แก่ ทรัพย์สิทธิต่างๆ คือ ภาระจำยอม สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิอาศัย สิทธิเก็บกิน และภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์
เมื่อวิเคราะห์ความหมายคำว่าอสังหาริมทรัพย์ จึงได้แก่
2.1.1 ที่ดิน
ที่ดิน คือ พื้นดินทั่วๆไป แต่ย่อมหมายถึงดินที่ขุดมาแล้ว เพราะที่ดินที่ขุดมาจากพื้นดินแล้วไม่เป็นที่ดินต่อไป จึงเป็นเพียงสังหาริมทรัพย์เท่านั้น นอกจากนี้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 1 ให้ความหมายของคำว่าที่ดินว่า หมายถึงพื้นดินทั่วไป และให้หมายความรวมถึง ภูเขา ห้วย หนอง คลอง บึง บาง ลำน้ำ ทะเลสาบ เกาะ และที่ชายทะเลด้วย แต่ความหมายตามประมวลที่ดินนี้เป็นเพียงความหมายที่ใช้ในประมวลกฎหมายที่ดินเท่านั้น จะนำความหมายทั้งหมดมาใช้กับคำว่าที่ดินในประมวลหมายแพ่งและพาณิชย์มิได้ เช่น ลำน้ำและทะเลสาบ เป็นต้น ย่อมไม่เป็นที่ดินตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
2.1.2 ทรัพย์อันติดกับที่ดิน
ทรัพย์อันติดกับที่ดิน ได้แก่
1.ทรัพย์ที่เกิดหรือติดกับที่ดินโดยธรรมชาติ เช่น ไม้ยืนต้น ซึ่งต้องเป็นไม้ยืนต้นมีอายุยืนกว่า 3 ปี รวมไปถึงต้นพลูด้วย ส่วนไม้ล้มลุก ไม่ถือว่าเป็นทรัพย์อันติดกับที่ดินที่อยู่ในความหมายในอสังหาริมทรัพย์
2.ทรัพย์ที่ติดกับที่โดยมีผู้นำมาติด เช่น บ้าน ตึกแถว สะพาน อนุสาวรีย์ เจดีย์ หอนาฬิกาและฮวงซุ้ย เป็นต้น แต่การนำมาติดกับที่ดินเช่นนี้ ต้องเป็นการติดในลักษณะตรึงตราแน่ถาวร แต่ไม่จำเป็นต้องติดอยู่กับที่ดินตลอดกาล อาจจะปลูกสร้างติดอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง เช่น อาคารที่ปลูกในงานมหกรรมสินค้า เสร็จแล้วก็รื้อถอนไป ก็ยังเป็นทรัพย์ที่ติดกับที่ดินชั่วระยะเวลาที่มีงานนั้น ตรงกันข้ามทรัพย์ที่เพียงวางอยู่บนที่ดิน แม้จะช้านานเท่าใด ก็มิใช่ทรัพย์ที่ติดกับที่ดิน จึงมิใช่อสังหาริมทรัพย์ เช่น ร้านแผงลอยถือว่าโดยสภาพมิใช่ทรัพย์ที่ติดกับที่ดินในลักษณะตรึงตราถาวรจึงเป็นสังหาริมทรัพย์
2.1.3 ทรัพย์ซึ่งประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน
ทรัพย์ซึ่งประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน คือ ทรัพย์ที่เป็นส่วนรวมหรือประกอบเป็นพื้นดิน เช่น แม่น้ำ ลำธาร แร่ธาตุ กรวดทราย ซึ่งอยู่ในธรรมชาติหรือซึ่งมนุษย์นำมารวมไว้กับที่ดินจนกลายเป็นส่วนของพื้นดินตามธรรมชาติ แต่ไม่หมายความรวมถึงสังหาริมทรัพย์ที่ซ่อนฝังหรือตกหล่นหมกดินทรายอยู่ เพราะทรัพย์เหล่านี้มิได้ปรกอบเป็นพื้นดินตามธรรมชาติ หากมนุษย์นำไปฝังหรือทิ้งไว้ และยังไม่กลายเป็นส่วนของพื้นดิน ผิดกับดินทรายที่บุคคลนำไปถมบ่อคู เมื่อถมแล้วก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของพื้นดินทันที จึงถือว่าเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือคอนกรีต ยางมะตอยนำมาทำถนน เมื่อเป็นถนนแล้วย่อมถือว่าเป็นทรัพย์ที่ประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน จึงเป็นอสังหาริมทรัพย์
2.1.4 สิทธิที่เกี่ยวกับทรัพย์สินในที่ดิน
สิทธิที่เกี่ยวกับทรัพย์สินในที่ดิน อาจแบ่งได้เป็นสิทธิที่เกี่ยวกับที่ดินโดยทางตรงและสิทธิที่เกี่ยวกับที่ดินโดยทางอ้อม
1.สิทธิที่เกี่ยวกับที่ดินโดยทางตรง ได้แก่ กรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง สิทธิใช้สอยและได้ซึ่งดอกผล สิทธิอาศัย ภารจำยอม สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน ภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น เหล่านี้จึงเป็นอสังหาริมทรัพย์
2.สิทธิเกี่ยวกับที่ดินโดยทางอ้อม คือ สิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น ซึ่งติดอยู่กับที่ดินอีกทอดหนึ่ง เช่น บ้านที่ปลูกบนที่ดินเป็นอสังหาริมทรัพย์ หากเจ้าของบ้านเอาไปจำนอง สิทธิจำนองนั้นก็เป็นสิทธิที่เกี่ยวกับที่ดินด้วย จัดเป็นสิทธิที่เกี่ยวกับที่ดินโดยทางอ้อม จึงเป็นอสังหาริมทรัพย์
2.2 สังหาริมทรัพย์
สังหาริมทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์อื่นนอกจากอสังหาริมทรัพย์และรวม ถึงสิทธิอันเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นด้วย สังหาริมทรัพย์จึงเป็นทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้ ซึ่งอาจจะเป็นทรัพย์ที่อาจเคลื่อนที่ด้วยตัวของมันเองตามธรรมชาติ อาจถือเอาได้
จากความหมายข้างต้นสามารถพิจารณาศัพท์ตามความหมายของสังหาริมทรัพย์ จึงได้แก่
2.2.1 ทรัพย์ที่อาจเคลื่อนจากที่แห่งหนึ่งไปอีกแห่งหนึ่งได้
ทรัพย์ที่อาจเคลื่อนจากที่แห่งหนึ่งไปอีกแห่งหนึ่งได้ ซึ่งหมายถึงทรัพย์ที่ขนเคลื่อนย้ายไปได้โดยไม่เสียรูปทรงหรือรูปลักษณ์ของตัวทรัพย์นั้น เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย รถยนต์ โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น แต่ที่ดิน บ้านเรือน แม้จะขุดรื้อไปได้ตามก็ตาม แต่สิ่งที่ขุดรื้อไปนั้น หาใช่ดินหรือบ้านเรือนไม่ เป็นเพียงดิน แผ่นไม้ แผ่นสังกะสี แผ่นกระเบื้องเท่านั้น ที่ดินและบ้านเรือนจึงจะอ้างว่าเป็นสังหาริมทรัพย์ เพราะอาจขนเคลื่อนได้ จึงไม่ถูกต้อง แต่ร้านแผงลอยอาจขนเคลื่อนย้ายได้โดยไม่เสียรูปทรงจึงเป็นสังหาริมทรัพย์ ตู้โทรศัพท์สาธารณะหรือป้อมยามตำรวจที่ยกเคลื่อนย้ายได้ ก็เป็นสังหาริมทรัพย์
2.2.2 กำลังแรงแห่งธรรมชาติ
กำลังแรงแห่งธรรมชาติที่จะถือว่าเป็นสังหาริมทรัพย์นี้จะต้องอาจถือเอาได้และอาจมีราคาได้ด้วย กำลังแรงแห่งธรรมชาติได้แก่ พลังน้ำตก พลังไอน้ำ แก๊ส เป็นต้น
2.2.3 สิทธิทั้งหลายอันเกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์
สิทธิทั้งหลายอันเกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์ สิทธิที่เกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์นี้ ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในสังหาริมทรัพย์ อย่างสิทธิที่เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ซึ่งไม่เป็นอสังหาริมทรัพย์สิทธิใดๆที่เกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์ย่อมเป็นสังหาริมทรัพย์ทั้งสิ้น เช่น กรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองในสังหาริมทรัพย์ บุริมสิทธิพิเศษชนิดที่เป็นบุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์ จำนำ สิทธิในหุ้นส่วน สิทธิยึดหน่วง ลิขสิทธิ์และสิทธิในเครื่องหมายการค้า เป็นต้น
2.3 ทรัพย์ที่แบ่งได้และทรัพย์แบ่งไม่ได้
2.3.1 ทรัพย์ที่แบ่งได้
ทรัพย์ที่แบ่งได้ หมายถึง ทรัพย์ที่อาจแยกออกจากกันเป็นส่วนได้ ส่วนที่แยกออกมายังคงมีรูปร่างมีสภาพสมบูรณ์เป็นทรัพย์เดิมอยู่ เช่น ข้าวสาร น้ำตาล น้ำเปล่า น้ำมันพืช ผงซักฟอก เงิน เป็นต้น
2.3.2 ทรัพย์แบ่งไม่ได้
ทรัพย์แบ่งไม่ได้ หมายถึง ทรัพย์ที่จะแยกออกจากันไม่ได้นอกจากเปลี่ยนแปลงภาวะของทรัพย์ ซึ่งถ้าแบ่งออกแล้วสิ่งเหล่านี้คงจะไม่คงสภาพเป็นตัวทรัพย์อยู่อย่างเดิม เช่น บ้าน ตึก อาคาร เสื้อผ้า นาฬิกา เป็นต้น และทรัพย์ที่ไม่อาจแบ่งสภาพได้โดยอำนาจตามกฎหมาย เช่น หุ้นของบริษัทจำกัด ทรัพย์ส่วนควบหรือสิทธิจำนอง เป็นต้น
2.3.3 ประโยชน์ในการแบ่งทรัพย์ที่แบ่งได้และทรัพย์แบ่งไม่ได้
ประโยชน์ในการแบ่งทรัพย์ที่แบ่งได้และทรัพย์แบ่งไม่ได้นั้น มีประโยชน์ก็เพื่อใช้ในการแบ่งทรัพย์ที่เป็นกรรมสิทธิ์รวม คือ ถ้าเป็นทรัพย์ที่แบ่งได้ก็ไปตามส่วนแห่งการเป็นเจ้าของรวมว่าจะตกลงกันอย่างไร ถ้าเป็นทรัพย์แบ่งไม่ได้ก็ต้องแบ่งไปโดยวิธีที่กฎหมายกำหนดไว้ คือ ใช้วิธีประมูลกันระหว่างเจ้าของรวมหรือวิธีขายทอดตลาด
2.5 ทรัพย์นอกพาณิชย์
ทรัพย์นอกพาณิชย์ หมายถึง ทรัพย์ที่ไม่สามารถถือเอาได้และทรัพย์ที่ไม่อาจโอนให้แก่กันได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ทรัพย์นอกพาณิชย์อาจเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ก็ได้ ทรัพย์นอกพาณิชย์ มี 2 ประการ
2.5.1 ทรัพย์ที่ไม่สามารถถือเอาได้
ทรัพย์ที่ไม่สามารถถือเอาได้ ความจริงสิ่งใดที่ไม่อาจมีราคาได้หรือไม่อาจถือเอาได้ย่อมมิใช่ทรัพย์สิน เช่น สายลม แสงแดด ก้อนเมฆ ดวงดาว ดวงอาทิตย์ เป็นต้น
2.5.2 ทรัพย์ที่ไม่สามารถโอนกันได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
ทรัพย์ที่ไม่สามารถโอนกันได้โดยชอบด้วยกฎหมาย หมายถึง ทรัพย์สินซึ่งจะนำมาจำหน่ายจ่ายโอน ดังเช่นทรัพย์สินทั่วๆไป เช่นนี้จึงถือว่าอยู่นอกพาณิชย์ คือ นอกการการหมุนเวียนเปลี่ยนมือ ทรัพย์นอกพาณิชย์ประเภทนี้อาจจะมีการห้ามโอนโดยกฎหมายพิเศษ เช่น ห้ามโอนพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่งในวัดใดวัดหนึ่งโดยเฉพาะพระพุทธรูปนั้นก็กลายเป็นทรัพย์นอกพาณิชย์ไปหรืออาจมีการห้ามโอนโดยกฎหมายที่กำหนดห้ามโอนไว้ทั่วๆไป ก็ได้ เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305 กำหนดว่า “ทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นห้ามโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา” เช่น ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 34 กำหนดว่า “ที่วัดและที่ธรณีสงฆ์จะโอนกรรมสิทธิ์ก็ได้แต่พระราชบัญญัติ และห้ามมิให้บุคคลใดยกอายุความขึ้นต่อสู้กับวัดในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นที่ของวัดและที่ธรณีสงฆ์ ฉะนั้นที่วัดและที่ธรณีสงฆ์จึงเป็นทรัพย์นอกพาณิชย์ เป็นต้น
3. ส่วนประกอบของทรัพย์
ส่วนประกอบของทรัพย์ ได้แก่
3.1 ส่วนควบ
3.1.1 ความหมายของส่วนควบ
ส่วนควบ หมายถึง ส่วนซึ่งโดยสภาพแห่งทรัพย์หรือโดยจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นถือได้ว่าเป็นอยู่ของทรัพย์นั้นและไม่อาจแยกจากกันได้นอกจะทำลาย ทำให้บุบสลายหรือทำให้ทรัพย์นั้นเปลี่ยนรูปทรงหรือสภาพไป เช่น ประตู หน้าต่าง ย่อมเป็นส่วนควบของบ้าน ล้อรถยนต์ย่อมเป็นส่วนควบของรถยนต์ เป็นต้น กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนควบ ใครเป็นเจ้าของทรัพย์ใดย่อมมีกรรมสิทธิ์ในส่วนควบเหล่านั้น รวมทั้งไม้ยืนต้นเป็นส่วนควบกับที่ดินที่ไม้นั้นขึ้นอยู่ด้วย
3.1.2 ลักษณะที่สำคัญของส่วนควบของทรัพย์
ลักษณะที่สำคัญของส่วนควบของทรัพย์มีดังต่อไปนี้ คือ
1.ส่วนควบต้องเป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่ของทรัพย์ใหม่นั้น เช่น เลนส์แว่นตาย่อมเป็นสาระสำคัญในความเป็นแว่นตาของแว่น ใบพัดและหางเสือเรือย่อมเป็นสาระสำคัญของเรือยนต์ เป็นต้น
2.ส่วนควบต้องมีสภาพไม่อาจแยกออกจากันได้ นอกจากทำลาย ทำให้บุบสลาย หรือทำให้ทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงรูปทรง เช่น บ้านย่อมประกอบด้วย เสา ฝา หลังคา ประตู หน้าต่าง เหล่านี้เราไม่อาจแยกจากตัวบ้านได้ เว้นแต่จะรื้อทำลาย หรือ โต๊ะ เก้าอี้ ไม่อาจแยกเอาขาโต๊ะ ขาเก้าอีออกมาได้ เว้นแต่จะทำให้บุบสลายไป เป็นต้น
3.การรวมสภาพที่เป็นส่วนควบของทรัพย์นั้นนั้นอาจเป็นการกระทำของบุคคลก็ได้ เช่น บ้านเรือน โต๊ะ เก้าอี้ รถยนต์ เป็นต้น หรืออาจเป็นการรวมสภาพที่เป็นส่วนควบของทรัพย์โดยธรรมชาติก็ได้ เช่นที่งอกริมตลิ่ง มูลแร่ที่ไหลไปตกกองอยู่พื้นดินจนกลายสภาพเป็นส่วนหนึ่งของพื้นดินตามธรรมชาติ เป็นต้น
ข้อสังเกต ทรัพย์ใดแม้จะเป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่แห่งทรัพย์ แต่ถ้าไม่มีการวมสภาพกันจนแยกไม่ได้แล้วก็หาใช่ส่วนควบไม่ เช่น ช้อนกับซ่อมไม่ถือว่าช้อนเป็นส่วนควบของซ่อม ฉิ่งกับฉาบไม่ถือว่าฉิ่งเป็นส่วนควบของฉาบ น้ำมันกับรถยนต์ไม่ถือว่าน้ำมันเป็นส่วนควบของรถยนต์ เป็นต้น ในทำนองกลับกันทรัพย์ใดแม้จะรวมสภาพจนไม่อาจแยกกันได้ แต่ถ้าทรัพย์นั้นไม่เป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่ของตัวทรัพย์ก็มิใช่ส่วนควบ เช่น ฝากั้นห้องแม้มีสภาพไม่อาจแยกออกจากตัวบ้านและหากรื้อจะทำให้บุบสลายไปก็ตาม แต่ตามปกติย่อมไม่ถือว่าเป็นสาระสำคัญของตัวบ้าน เว้นแต่จะนำสืบให้เห็นว่าจารีตประเพณีเช่นนั้น ฉะนั้นฝากั้นห้องมิใช่ส่วนควบของตัวบ้าน
3.1.3 ข้อยกเว้นไม่เป็นส่วนควบของทรัพย์
ทรัพย์ใดแม้เข้าลักษณะที่จะเป็นส่วนควบดังกล่าวมาแล้วข้างต้นก็ตาม แต่ก็ยังมี
ข้อยกเว้นไม่เป็นส่วนควบของทรัพย์มีดังนี้
1.ไม้ล้มลุกหรือธัญชาติอันจะเก็บเกี่ยวผลได้คราวหนึ่ง หรือหลายคราวต่อปี เช่น พืชผักสวนครัว ถั่วลิสง กล้วย อ้อย เป็นต้น
2.ทรัพย์อันติดกับที่ดินหรือโรงเรือนชั่วคราว เช่น อาคารที่ปลูกไว้ที่ท้องสนามหลวงใน ระหว่างงานพิธีต่างๆ เป็นต้น
ข้อสังเกต ข้อยกเว้นข้อนี้ใช้บังคับเฉพาะทรัพย์ซึ่งติดกับที่ดินหรือติดกับโรงเรือนเป็นการชั่วคราวเท่านั้น ถ้าเป็นทรัพย์ที่ติดกับสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ก็ไม่เข้าข้อยกเว้นนี้
3.โรงเรือนหรือการปลูกสร้างอย่างอื่น ซึ่งผู้มีสิทธิในที่ดินของผู้อื่นได้ใช้สิทธิปลูกสร้างทำไว้ เช่น ผู้ทรงสิทธิเหนือพื้นดินคนในที่ดินของผู้อื่นได้ปลูกสร้างบ้านเรือนหรือต้นไม้ลงไป บ้านและต้นไม้ย่อมมิใช่ส่วนควบของที่ดินและผู้ทรงติดเหนือพื้นดินมีสิทธิรื้อถอนไปได้
3.2 อุปกรณ์
3.2.1 ความหมายของอุปกรณ์
อุปกรณ์ หมายถึง สังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยปกตินิยมเฉพาะถิ่นหรือโดยเจตนาชัดแจ้งของเจ้าของทรัพย์ที่เป็นประธาน เป็นของใช้ประจำอยู่กับทรัพย์ที่เป็นประธานเป็นอาจิณ เพื่อประโยชน์แก่การจัดการดูแล ใช้สอยหรือรักษาทรัพย์ที่เป็นประธาน และเจ้าของทรัพย์ได้นำมาสู่ทรัพย์ที่เป็นประธาน โดยการนำมาติดต่อหรือปรับเข้าไว้ หรือทำโดยประการอื่นใดในฐานะเป็นของใช้ประกอบทรัพย์ที่เป็นประธานนั้น เช่น แม่แรงประจำรถ กลอนประตูหน้าต่างเป็นอุปกรณ์ของบ้าน เป็นต้น
3.2.2 ลักษณะสำคัญของเครื่องอุปกรณ์
ลักษณะสำคัญของเครื่องอุปกรณ์ คือ
1.ต้องมีสังหาริมทรัพย์ เฉพาะที่เป็นวัตถุมีรูปร่าง ไม่รวมถึงสิทธิต่างๆ เช่น ซื้อตู้เลี้ยงปลามาใส่ปลาเป็นทรัพย์ประธาน ตู้เลี้ยงปลาเป็นเครื่องอุปกรณ์ ส่วนคอกวัวที่สร้างติดกับที่ดินในลักษณะถาวร คอกวัวเป็นอสังหาริมทรัพย์ แม้จะมีลักษณะคล้ายตู้เลี้ยงปลา ซึ่งเป็นเครื่องอุปกรณ์ของปลาก็ตาม คอกวัวหาใช่เครื่องอุปกรณ์ของวัวไม่
2.ต้องมีทรัพย์เป็นประธานเสมอ เช่น แม่แรงยกรถย่อมเป็นเครื่องอุปกรณ์ของรถยนต์ ซึ่งเป็นทรัพย์ประธาน และทรัพย์ประธานนั้นจะเป็นอสังหาริมทรัพย์ เช่น มุ้งลวดเป็นเครื่องอุปกรณ์ของบ้าน ซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์และเป็นทรัพย์ประธานหรือทรัพย์ประธานนั้นจะเป็นสังหาริมทรัพย์ก็ได้ เช่น ล้ออะไหล่รถยนต์เป็นเครื่องอุปกรณ์ของรถยนต์ ซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์และเป็นทรัพย์ประธาน
3.ต้องเป็นของใช้ประจำอยู่กับกับทรัพย์เป็นประธานอาจิณ โดยปกตินิยมเฉพาะถิ่น เช่น เครื่องมือประจำรถ เป็นเครื่องอุปกรณ์ของรถยนต์หรือโดยเจตนาชัดแจ้งของผู้เป็นเจ้าของทรัพย์เป็นประธาน เช่น พายซึ่งเจ้าของใช้ประจำอยู่กับเรือ เป็นเครื่องอุปกรณ์ของเรือ
4.เพื่อประโยชน์ในการจัดการดูแลหรือใช้สอย หรือรักษาทรัพย์เป็นประธาน เช่น ผ้าคลุมเป็นเครื่องอุปกรณ์ของโต๊ะ เพราะเป็นของที่จัดไว้เพื่อรักษาโต๊ะ อันเป็นทรัพย์เป็นประธานมิให้เปรอะเปื้อนหรือกระจกแว่นตาเป็นส่วนควบของแว่นตา ส่วนประกอบแว่นหรือผ้าเช็ดแว่นตาเป็นเครื่องอุปกรณ์ ล้อรถยนต์เป็นส่วนควบของรกยนต์แต่ล้ออะไหล่เป็นเครื่องอุปกรณ์ เป็นต้น
5.ต้องเป็นสิ่งที่เจ้าของทรัพย์ได้นำมาเป็นเครื่องใช้ประกอบกับตัวทรัพย์เป็นประธาน เพราะถ้าเป็นของผู้อื่นฝากไว้หรือยืมจากผู้อื่นมาใช้ชั่วคราวไม่ถือว่าทรัพย์นั้นเป็นเครื่องอุปกรณ์
ข้อสังเกต ทรัพย์ใดเป็นเครื่องอุปกรณ์แล้ว แม้จะแยกจากทรัพย์เป็นประธานชั่วคราว ก็ยังไม่ขาดจากเป็นเครื่องอุปกรณ์ของทรัพย์เป็นประธานนั้น เช่น เครื่องมือซ่อมรถ แม้จะแยกไว้ต่างหากหรือให้เพื่อนยืมไปชั่วคราวก็ยังเป็นอุปกรณ์ของรถ เป็นต้น แต่ถ้าเป็นการแยกอย่างเด็ดขาดไปเลย ก็ขาดจากการเป็นเครื่องอุปกรณ์ของทรัพย์เป็นประธานไปทันที การแยกเด็ดขาดหรือไม่ต้องดูจากเจตนาและพฤติการณ์ต่างๆ ของเจ้าของทรัพย์เป็นประธาน เช่น นำเครื่องอุปกรณ์ไปขายหรือให้ผู้อื่นไปเลย ซึ่งตามธรรมดาเครื่องอุปกรณ์ย่อมตกติดไปกับทรัพย์เป็นประธาน กล่าวคือ เมื่อโอนทรัพย์เป็นประธานไปให้ผู้ใด ผู้รับโอนย่อมได้เครื่องอุปกรณ์ไปด้วย แม้ว่าขณะโอนทรัพย์เป็นประธานนั้นเครื่องอุปกรณ์จะแยกอยู่ต่างหากจากทรัพย์เป็นประธานก็ตาม
3.3 ดอกผล
ดอกผล หมายถึง ผลประโยชน์ที่ได้งอกเงยจากทรัพย์โดยสม่ำเสมอ แยกออก 2 ประเภทคือ
3.3.1 ดอกผลธรรมดา
ดอกผลธรรมดา คือ สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของทรัพย์ซึ่งได้มาจากตัวทรัพย์ โดยมีการใช้ทรัพย์นั้นตามปกตินิยม และสามารถถือเอาได้เมื่อขาดจากทรัพย์นั้น เช่น ผลไม้ นมสัตว์ ลูกสัตว์ เป็นต้น
3.3.2 ดอกผลนิตินัย
ดอกผลนิตินัย คือ ทรัพย์หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้มา เป็นครั้งคราว แก่เจ้าของทรัพย์ จากผู้อื่นเพื่อการที่ได้ใช้ทรัพย์นั้นและสามารถคำนวณและถือเอาได้เป็นรายวัน หรือตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ เช่น ดอกเบี้ย เป็นต้น
3.3.3 ผู้มีสิทธิในดอกผล
หลักทั่วไป คือ เจ้าของทรัพย์มีสิทธิในดอกผลของทรัพย์นั้น หรือเจ้าของรวมมีสิทธิได้ดอกผลตามส่วนของตนในทรัพย์สิน หรือดอกผลเกิดแก่ทรัพย์สินที่ฝาก ผู้รับฝากต้องคืนดอกผลให้แก่ผู้ฝากหรือทายาทของผู้ฝาก หรือเงินและทรัพย์สินอื่นที่ตัวแทนรับไว้ในฐานะตัวแทนต้องส่งให้ตัวการทั้งสิ้น เป็นต้น
ตัวอย่าง คำพิพากษาของศาลฎีกา ที่ 187/2490 เมื่อศาลสั่งยึดทรัพย์แล้ว ย่อมครอบคลุมถึงดอกผลนิตินัย เช่าค่าเช่าทรัพย์
คำพิพากษาของศาลฎีกาที่ 67/2506 เงินค่าประมูลกรีดยาง ซึ่งกรณีพิพาทกันในชั้นบังคับคดีและได้นำมาวางศาล ถือเป็นดอกผลนิตินัยของสวนยางที่ถูกนำยึด
คำพิพากษาของศาลฎีกาที่ 967/2506 สัญญาเช่าที่ดินย่อมครอบคลุมไปถึงต้นไม้ที่อยู่ในที่ดินที่เช่าด้วย ถ้าผู้ให้เช่ามีความประสงค์จะสงวนไว้ใช้สอยเก็บสินส่วนตัว ก็ชอบที่จะระบุไว้สัญญาเช่าให้ชัดแจ้งมิฉะนั้นผู้เช่าย่อมมีสิทธิเก็บผลไม้อันเป็นดอกผลตามธรรมชาติของต้นไม้ เป็นต้น
4.การได้มาซึ่งทรัพย์สิน
การได้มาซึ่งทรัพย์สิน ในเรื่องของทรัพย์หรือทรัพย์สินนั้น มีหลักกฎหมายที่สำคัญที่ควรทราบในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4คือ การได้มาและการสิ้นไปซึ่งทรัพย์สิทธิอัน หมายถึง สิทธิเหนือทรัพย์สิทธิโดยไม่คำนึงถึงตัวบุคคลว่าเข้ามาเกี่ยวข้องหรือไม่อย่างไร เพราะเมื่อบุคคลหนึ่งมีทรัพย์สิทธิ คือ สิทธิเหนือทรัพย์แล้ว บุคคลอื่นต้องยอมรับนับถือในสิทธินั้นคือมีหน้าที่ในสิทธิของผู้เป็นเจ้าของ การได้มาซึ่งทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดไว้ดังต่อไปนี้
4.1 กรรมสิทธิ์
กรรมสิทธิ์ คือ สิทธิของบุคคลที่มีอยู่ในทรัพย์สิน เป็นสิทธิที่แสดงถึงความเป็นเจ้าของทรัพย์สิน เมื่อบุคคลมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินแล้วจะมีสิทธิ ดังต่อไปนี้
1)สิทธิครอบครองและยึดถือ
2)สิทธิใช้สอย
3)สิทธิจำหน่ายจ่ายโอน
4)สิทธิได้ดอกผล
5)สิทธิติดตามเอาทรัพย์สินคืนจากผู้อื่น
6)สิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
4.2 การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์
การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ แยกได้เป็นกรณี คือ
4.2.1 การได้มาซึ่งนิติกรรม
การได้มาซึ่งนิติกรรม เช่น การซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้ เป็นต้น
4.2.2 การได้มาซึ่งทางอื่นนอกจากนิติกรรม
การได้มาซึ่งทางอื่นนอกจากนิติกรรม เช่น ได้มาในเรื่องของส่วนควบ การได้มาโดยเข้าถือเอา สังหาริมทรัพย์อันไม่มีเจ้าของ การได้มาทางมรดก หรือการได้มาโดยคำพิพากษาของศาล เป็นต้น
4.3 กรรมสิทธิ์รวมหรือเจ้าของรวม
กรรมสิทธิ์รวมหรือเจ้าของรวม คือการที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมีกรรมสิทธิ์รวมกันในทรัพย์สินสิ่งใด ผู้เป็นของรวมคนหนึ่งมีสิทธิ เรียกให้แบ่งทรัพย์ได้เพื่อแต่ละคนจะได้มีกรรมสิทธิ์เป็นสัดส่วนตามส่วนแบ่งของตน
4.4 สิทธิครอบครอง
สิทธิครอบครอง คือการที่บุคคลใดยึดถือทรัพย์สินโดยเจตนายึดถือเพื่อตนบุคคลนั้น ได้สิทธิครอบครองแต่บุคคลจะให้ผู้อื่นยึดถือทรัพย์สินแทนตนก็ได้ การมีสิทธิครอบครองเป็นทางทำให้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินได้
4.5 การครอบครองปรปักษ์
การครอบครองปรปักษ์ คือ การที่บุคคลได้ครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นโดยสงบโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเมื่อครบกำหนด 10 ปี สำหรับอสังหาริมทรัพย์และ 5 ปีสำหรับสังหาริมทรัพย์แล้วผู้ครอบครองย่อมได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น เจ้าของทรัพย์สินสิ้นสิทธิในทรัพย์สินนั้น เพราะถือว่านอนหลับทับสิทธิ เป็นการทำให้ผู้ครอบครองได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโดย “อายุความ”
4.6 ทางจำเป็น
ทางจำเป็น คือ ทางที่เกิดขึ้นเนื่องจากความจำเป็นที่ที่ดินแปลงใดมีที่ดินแปลงอื่นล้อมรอบอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้เจ้าของที่ดินแปลงนั้นมีสิทธิผ่านที่ดินที่ล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้ โดยทางที่ผ่านนั้นจะต้องทำทางที่จำเป็นเท่านั้น โดยอาจต้องเสียค่าทดแทนจากการใช้ทางผ่านได้
4.7 ทรัพย์สิทธิ
ทรัพย์สิทธิ คือสิทธิที่บุคคลมีอยู่ในทรัพย์สินที่เรียกสิทธิเหนือทรัพย์สิน ได้แก่
4.7.1 ภาระจำยอม
ภาระจำยอม คือ ที่อสังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่งเรียกว่า “ภารยทรัพย์” ทำให้เจ้าของทรัพย์ต้องยอมรับกรรมหรือรับภาระหรืองดเว้น การให้สิทธิบางอย่าง เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่นเรียกว่า สามยทรัพย์
4.7.2 สิทธิอาศัย
สิทธิอาศัย คือ สิทธิที่บุคคลได้อยู่ในโรงเรือนของผู้อื่นโดยไม่ต้องเสียค่าเช่าหรือค่าใช้จ่าย การให้สิทธิอาศัยจะกำหนดเวลาหรือตลอดชีวิตของผู้อาศัยก็ได้ ซึ่งถ้ามีกำหนดเวลาต้องไม่เกิน 30 ปี แต่ต่ออายุได้ สิทธิอาศัยเป็นสิทธิเฉพาะตัวโอนไปยังผู้อื่นไม่ได้
4.7.3 สิทธิเหนือพื้นดิน
สิทธิเหนือพื้นดิน คือการที่เจ้าของที่ดินให้ผู้อื่นมีสิทธิ เป็นเจ้าของโรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งเพาะปลูกบนดินหรือใต้ดินนั้น การใช้สิทธิต้องจดทะเบียนมีกำหนดเวลาหรือตลอดชีวิตของเจ้าของที่ดินหรือตลอดชีวิตของผู้ทรงสิทธิก็ได้
4.7.4 สิทธิเก็บกิน
สิทธิเก็บกิน คือการที่ผู้ทรงสิทธิมีสิทธิครอบครอง ถือเอาประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น
4.7.5 ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์
ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ คือการที่อสังหาริมทรัพย์ต้องตกอยู่ในภาวะที่ผู้รับประโยชน์มีสิทธิได้รับชำระหนี้เป็นคราวๆ หรือได้ใช้แล้วถือเอาประโยชน์จากทรัพย์สินตามที่ระบุไว้
สิทธิครอบครอง หมายถึง 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
สิทธิตามกฎหมาย
ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนย่อมเกี่ยวกับสิทธินานาประการที่เป็นคดีกันขึ้นก็เพราะมี การล่วงละเมิดสิทธิต่างๆ นั่นเอง แม้แต่ในสมัยโบราณ บรรดานักปรัชญาทั้งหลายก็ให้ความสำคัญกับเรื่องของสิทธินี้เป็นอันมาก แนวความคิดของสำนักกฎหมายธรรมชาติ มีอิทธิพลต่อแนวคิดในเรื่องสิทธิมนุษยชน จากการมองสภาพของมนุษย์ว่าเมื่อเกิดขึ้นมาแล้วควรมีคุณค่าที่ติดตัวมาแต่เกิด ไม่ขึ้นอยู่กับสภาพทางสังคมและจะล่วงละเมิดมิได้ คุณค่าตามเงื่อนไขนี้เรียกว่า “สิทธิธรรมชาติ” (Natural Rights) สิทธิดังกล่าวมีพื้นฐานมาจากความต้องการของมนุษย์ชาติ เพื่อที่จะให้ทุกคนได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีเยี่ยงอารยชน แต่สิทธิที่จะได้กล่าวถึงต่อไปในบทนี้เป็นเรื่องสิทธิตามที่กฎหมายบัญญัติรับรองและคุ้มครองไว้เท่านั้น
1. ความหมายของสิทธิ
สิทธิ หมายถึง อำนาจตามกฎหมายที่บุคคลได้รับจากกฎหมายใดกฎหมายหนึ่ง เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง โดยสามารถเรียกร้องให้บุคคลอื่นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งหรืองดกระทำการ หรือใช้ยันให้บุคคลอื่นต้องยอมรับ สภาพสิทธินี้อาจเป็นไปตามกฎหมายเอกชนหรือกฎหมายมหาชนก็ได้ ดังเช่น รัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติรับรองสิทธิและเสรีภาพ บุคคลหนึ่งบุคคลใดจะล่วงละเมิดในสิทธิของอีกบุคคลหนึ่งไม่ได้ มิฉะนั้นจะถูกลงโทษตามกฎหมาย ประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติการกระทำอันเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้เพื่อรับรองคุ้มครองป้องกันการล่วงละเมิดสิทธิในทางอาญา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์รับรองประโยชน์และอำนาจในสภาพบุคคล ในทรัพย์สิน ในครอบครัว หากผู้ใดล่วงละเมิดก็จะต้องชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทน อันเป็นการคุ้มครองสิทธิในทางแพ่ง เป็นต้น
2. ประเภทของสิทธิ
สิทธิของบุคคลตามกฎหมายมิได้มีเพียงเท่าที่บัญญัติไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ
ประมวลกฎหมายอาญา หรือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่านั้น แต่มีบัญญัติไว้ในบทกฎหมายอื่นๆ เป็นอันมาก สิทธิต่างๆ ทั้งหลายอาจแยกประเภทได้ 2 ประเภท คือ
1. สิทธิเกี่ยวกับสภาพบุคคล
2. สิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สิน
2.1 สิทธิเกี่ยวกับสภาพบุคคล ได้แก่สิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ และตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ตลอดจนกฎหมายอื่นๆ สิทธิเกี่ยวกับสภาพบุคคล ประกอบด้วยสิทธิในตัวบุคคล สิทธิในครอบครัว สิทธิในทางการเมือง
2.1.1 สิทธิในตัวบุคคล
สิทธิในตัวบุคคล หมายถึง สิทธิซึ่งบุคคลย่อมจะต้องมีในฐานะเป็นเจ้าของตัวของตนเอง ในเรื่องที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสภาพร่างกาย อนามัย ชื่อเสียงความคิดเห็น และสติปัญญาดังเช่น สิทธิต่างๆต่อไปนี้
1. สิทธิในชีวิตร่างกายและอนามัย ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย บุคคลย่อมมีเสรี
ภาพบริบูรณ์ในร่างกายของตนในวันที่จะกระทำการใดๆ ไปมาในที่ใด หรือ เลือกถิ่นทีอยู่ ณ ที่แห่งใด ได้ตามความพอใจผู้ละเมิดสิทธิ เช่น ประทุษร้ายร่างกาย ชีวิตอนามัย ของผู้อื่น หรือข่มขืนใจให้ผู้อื่นกระทำการใดๆ หรือให้งดเว้นกระทำการใดๆ หรือจับกุม กักขัง เป็นต้น
2. สิทธิในชื่อเสียง นอกจากร่างกายอนามัย กฎหมายยังให้
ความคุ้มครองตลอดจนชื่อเสียงของบุคคล ในอันที่จะใช้นามอันชอบที่จะใช้ได้โดยมิให้บุคคลอื่นโต้แย้ง หรือทำให้เสื่อมเสียประโยชน์เพราะ การใช้นามเดียวกันกฎหมายจึงให้ความคุ้มครองแก่ชื่อเสียงเกียรติคุณ เป็นต้น
3. สิทธิในเคหสถาน บุคคลย่อมได้รับความคุ้มครองในการอยู่อาศัยและครอบ
ครองเคหสถานโดยปกติสุขภาระที่บุคคลอื่นจะเข้าไปในเคหสถานหรือตรวจค้น เคหสถานของผู้ใดโดยปราศจากความยินยอมของผู้ครอบครองและโดยไม่มีอำนาจตามกฎหมาย ผู้นั้นอาจมีความผิดฐานบุกรุก เป็นต้น
4. สิทธิในความคิดเห็น กฎหมายรับรองให้บุคคลมีสิทธิในอิสรภาพแห่งความ
คิดเห็นและการแสดงออก มีเสรีภาพในการพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา แต่จะต้องมีขอบเขตจำกัดเพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น หรือเป็นภัยแก่ประเทศชาติ
5. สิทธิในการประชุมและการตั้งสมาคม การร่วมประชุม และการตั้งสมาคมเป็นสิทธิในตัวบุคคล กฎหมายรับรองเพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสช่วยกันบำรุงส่งเสริมกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ร่วมกัน เช่น การกีฬา การบันเทิง วรรณคดี ศิลปศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการเมือง แต่ถ้าเป็นการประชุมหรือสมคบกันในคณะบุคคลที่มีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย ก็จะไม่ได้รับความคุ้มครอง เพราะเป็นการทำลายความสงบสุขของประชาชน อาจเป็นความผิด ต้องได้รับโทษฐานเป็นอั้งยี่ หรือซองโจรได้
6. สิทธิในการศึกษา บุคคลย่อมมีสิทธิในการศึกษา โดยได้รับการรับอรองและคุ้มครองสิทธิตามกฎหมายทั้งการศึกษาในระดับภาคบังคับและการศึกษาที่สูงกว่าระดับภาคบังคับ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาในโรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัยของรัฐ หรือเอกชนก็ตาม
7. สิทธิในการประกอบอาชีพเพื่อการดำรงชีวิตและเพื่อความมั่นคงแห่งตนเองหรือครอบครัว บุคคลย่อมมีสิทธิในการประกอบการงานและความรู้ความสามารถ กฎหมายให้ความคุ้มครองต่อการประกอบอาชีพโดยสุจริตของทุกคน นอกจากอาชีพบางประเภท ซึ่งจำเป็นต้องใช้คุณวุฒิพิเศษ เช่นการประกอบโรคศิลป์ ทนายความ เป็นต้น
8. สิทธิในการเลือกนับถือศาสนา กฎหมายให้เสรีภาพแก่ทุกคนที่จะเลือกนับถือศาสนา นิกายของศาสนา หรือ ลัทธินิยมในทางศาสนาใดๆได้รับความสมัครใจ ตลอดทั้งยินยอมให้มีการปฏิบัติสักการะบูชาและประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อถือของตนได้ ในเมื่อไม่เป็นปรปักษ์ต่อบุคคลอื่นและไม่เป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
2.1.2 สิทธิในครอบครัว
สิทธิในครอบครัว หมายถึง ประโยชน์หรืออำนาจที่กฎหมายรับรองในเรื่องที่เกี่ยวด้วยครอบครัว ดังเช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้มีบทบัญญัติในการรับรองคุ้มครองสิทธิในครอบครัวไว้ในบรรพ 5 สิทธิในครอบครัวประกอบสิทธิที่สำคัญดังต่อไปนี้เช่น
1. สิทธิของบิดามารดากับบุตร บุตรชอบด้วยกฎหมาย มีสิทธิใช้นามสกุลของ
บิดา มีสิทธิในการรับรองการศึกษาตามสมควรและได้รับการอุปการะเลี้ยงดูจากบิดามารดาในระหว่างเป็นผู้เยาว์หรือแม้เมื่อบรรลุนิติภาวะแล้วแต่เป็นผู้ทุพพลภาพ และหาเลี้ยงตนเองมิได้
2. สิทธิของสามีกับภรรยา เมื่อหญิงกับชายกระทำการสมรสโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ย่อมก่อให้เกิดสิทธิในครอบครัวขึ้นบางประการ เช่นสิทธิที่จะอยู่กินด้วยกันฉันสามีภรรยาสิทธิที่จะได้รับการช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกันตามความสามารถและฐานะ สิทธิที่จะจัดการสินสมรสร่วมกันหญิงมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของสามี เป็นต้น
3. สิทธิในการรับมรดก การเป็นสมาชิกในครอบครัว ก่อให้เกิดสิทธิแก่บุคคลอีกประการหนึ่ง คือสิทธิได้รับทรัพย์สินอันเป็นมรดก ในฐานะเป็นทายาทของผู้ตายซึ่งได้แก่การเป็นบิดามารดา พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา หรือเป็นคู่สมรสฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่ เป็นต้น
2.1.3 สิทธิในทางการเมือง
สิทธิในทางการเมือง หมายถึง สิทธิที่ให้เฉพาะแก่บุคคลผู้มีสัญชาติของประเทศเมื่อมีอายุ และคุณสมบัติบางประการตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ได้มีโอกาสเข้าเกี่ยวข้อง หรือร่วมมือในการปกครองบ้านเมืองของตน เช่น สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง และเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งในหน้าที่ต่างๆ เป็นต้น
2.2 สิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สิน
สิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สิน หมายถึง ประโยชน์หรืออำนาจที่กฎหมายรับรองให้บุคคลมีอยู่เหนือทรัพย์สินต่างๆ ซึ่งแบ่งเป็น ทรัพย์สิทธิ และสิทธิเรียกร้องในเรื่องหนี้ (บุคคลสิทธิ์)
2.2.1 ทรัพย์สิน
ทรัพย์สิทธิ เป็นสิทธิที่กฎหมายรับรองให้บุคคลมีอำนาจเหนือทรัพย์สินของตนซึ่ง
มีวัตถุแห่งสิทธิเป็นทรัพย์ จัดว่าเป็นสิทธิที่จะบังคับเอากับทรัพย์สินโดยตรงได้แก่
1. กรรมสิทธิ์ คือ ทรัพย์สินแสดงความเป็นเจ้าของในทรัพย์สิน เป็นสิทธิอัน
สมบูรณ์ที่สุดที่บุคคลจะพึงมีในทรัพย์สิน กรรมสิทธิ์ได้รวมเอาสิทธิทั้งหลายเกี่ยวกับทรัพย์สินเข้าไว้ด้วยกัน คือ สิทธิในการใช้สอยทรัพย์สิน กรรมสิทธิ์ ในการจำหน่ายทรัพย์สิน สิทธิที่จะได้ดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนจากผู้ไม่มีสิทธิ สิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดข้องเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้น โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
2. สิทธิครอบครอง เป็นทรัพย์สิทธิประเภทเดียวกับกรรมสิทธิ์คือ เป็นทรัพย์สินที่แสดงความเป็นเจ้าของ ดังนั้นถ้าผู้ใดเป็นเจ้าของก็มักจะมีกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบอยู่ด้วย แต่บางครั้งเจ้าของกรรมสิทธิ์อาจจะมอบการครอบครองให้แก่บุคคลอื่นก็ได้ ดังนั้นสิทธิครอบครองจึงอยู่กับบุคคลอื่น เช่น เจ้าของกรรมสิทธิ์เอาทรัพย์สินนั้นให้ผู้อื่นเช่า
3. ภาระจำยอม คือทรัพย์สิทธิชนิดหนึ่งที่ตัดทอนอำนาจกรรมสิทธิ์โดยทำให้ เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ อันหนึ่งเรียกว่า “ภารยทรัพย์” ต้องรับกรรมบางอย่าง ซึ่งกระทบกระเทือนทรัพย์สินของตน หรือทำให้เจ้าของภารยทรัพย์ต้องงดเว้น การใช้สิทธิบางอย่างเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น เพื่อประโยชน์ของอสังหาริมทรัพย์อื่น เรียกว่า “สามยทรัพย์” เช่นการที่เจ้าของที่ดินแปลงหนึ่ง มีสิทธิเดินผ่านที่ดินอีกแปลงหนึ่ง
4. สิทธิอาศัย หมายถึง สิทธิที่จะอยู่ในโรงเรือนของผู้อื่น โดยไม่ต้องเสียค่าเช่าหรือผลประโยชน์อื่นตอบแทน ซึ่งจะมีขึ้นได้ก็โดยนิติกรรม และเป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่สามารถโอนหรือตกทอดไปยังทายาท
5. สิทธิเหนือพื้นดิน หมายถึง สิทธิที่บุคคลหนึ่งได้เป็นเจ้าของโรงเรือนสิ่งปลูก
บนดินหรือใต้ดินของผู้อื่น สิทธิเหนือพื้นดินจึงเป็นทรัพย์สินที่ยกเว้นหลักส่วนควบ สามารถโอน และตกทอดไปยังทายาทได้
6. สิทธิเก็บกิน หมายถึง สิทธิที่จะเข้าครอบครองใช้และถือเอาประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น โดยจะเสียค่าตอบแทนหรือไม่ก็ได้ เป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่สามารถโอนหรือตกทอดไปยังทายาทได้ และผู้ทรงสิทธิเก็บเกินผู้ดูแลรักษาทรัพย์นั้นด้วย
7. ภารติดพันธ์ในอสังหาริมทรัพย์ เป็นทรัพย์สิทธิชนิดหนึ่ง ซึ่งเจ้าของ อสังหาริมทรัพย์มีความผูกพันที่จะต้องชำระหนี้จากอสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นคราวๆ ให้แก่บุคคลอื่น ซึ่งเรียกว่า ผู้รับประโยชน์หรือต้องยอมให้ผู้อื่นได้ใช้หรือถือเอาประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์นั้น
8. ลิขสิทธิ์และสิทธิในเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิอันมีแต่ผู้
เดียวที่จะทำขึ้นทำซ้ำซึ่งวรรณกรรมหรือศิลปกรรมหรือส่วนสำคัญแห่งวรรณกรรมหรือศิลปกรรมนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปร่างอย่างไรและรวมถึงสิทธิในการนำออกเล่นแสดงต่อประชาชนด้วย ถ้าเป็นปาฐกถา หมายถึงสิทธิการนำออกกล่าวหรือ ถ้าวรรณกรรมหรือศิลปกรรมนั้นยังมิได้โฆษณา ก็หมายถึงสิทธินำออกโฆษณาด้วย
แต่เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิที่จะมอบหมายอำนาจให้ผู้อื่นทำซ้ำเปลี่ยนแปลง เล่น แสดงโฆษณา ฯลฯ ซึ่งวรรณกรรมและศิลปกรรมนั้นๆ
สิทธิในเครื่องหมายการค้า หมายความว่า เครื่องหมายซึ่งใช้หรืออาจจะใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้า เพื่อแสดงว่าสินค้านั้นๆ เป็นสินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้า บุคคลผู้ใดจดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าแล้ว ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นเจ้าของสิทธิแต่เพียงผู้เดียว เพื่อใช้เครื่องหมายสำหรับสินค้านั้นทั้งหมด ผู้ปลอมหรือเลียนแบบเครื่องหมายการค้าซึ่งจดทะเบียนแล้วย่อมมีความผิดทางอาญาและทางแพ่ง
2.2.2 สิทธิเรียกร้องในเรื่องหนี้ (บุคคลสิทธิ)
สิทธิเรียกร้องหนี้ หมายถึงการที่บุคคลฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเรียกร้องบุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง
ให้กระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งถ้าการกระทำหรือการงดเว้นนั้นเป็นความเกี่ยวพันระหว่างบุคคลด้วยกันในเรื่องหนี้ แม้เป็นเพียงบุคคลสิทธิมิใช่เป็นอำนาจที่ใช้ต่อทรัพย์สินโดยตรงอย่างทรัพย์สิทธิก็ตาม แต่ก็เป็นสิทธิเรียกร้องให้ผู้อื่นทำประโยชน์ ในทางทรัพย์สินให้แก่ตน จึงนับว่าสิทธิเรียกร้องในเรื่องหนี้ เป็นสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สินด้วยอย่างหนึ่ง
3. องค์ประกอบสิทธิ
สิทธิย่อมมีต่อบุคคลเดียว บางคนหรือทุกคนที่จะกระทำหรืองดเว้นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งสิทธิจึงมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
1. เจ้าของสิทธิหรือผู้ถือสิทธิจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้
2. บุคคลซึ่งมีหน้าที่ ได้แก่ บุคคลซึ่งจะต้องรับผิดต่อสภาพบังคับ (Sanction) เว้น
แต่จะกระทำการบางประการ ทั้งนี้เพราะสิทธิและหน้าที่ย่อมเป็นของคู่กัน เมื่อมีเจ้าของสิทธิก็ต้องมีบุคคลผู้มีหน้าที่และจะเรียกว่าเป็นผู้ถือ “หน้าที่” ก็ได้ผู้ที่จะมีหน้าที่ย่อมจะต้องเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลเช่นเดียวกัน
3. เนื้อหาแห่งสิทธิ (Content of Right) ได้แก่ การกระทำหรืองดเว้นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเจ้าของสิทธิจะเรียกร้องเอาจากบุคคลผู้มี “หน้าที่” เนื้อหาแห่งสิทธินี้จะมีมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับประเภทของสิทธิ
4. วัตถุแห่งสิทธิ (Objcet of Right) หมายถึง สิ่งที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของสิทธิซึ่งอาจจะเป็นทรัพย์สิทธิ หรือ บุคคลสิทธิก็ได้
4. การได้มาซึ่งสิทธิ การใช้สิทธิ การสงวนและคุ้มครอง การโอนสิทธิ และการระงับแห่งสิทธิ
4.1 การได้มาซึ่งสิทธิ
บุคคลย่อมจะได้สิทธิหรือประโยชน์ที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองตั้งแต่เริ่มสภาพ
บุคคล ซึ่งเป็นสิทธิเรื่องแรกที่ทุกคนจะได้พร้อมกับการเกิด
บุคคลอาจได้สิทธิโดยวิธีการต่างๆ คือ จากนิติกรรมและการได้มาทางอื่นนอกจากนิติกรรม ซึ่งได้แก่ การได้โดยนิติเหตุและได้มาโดยผลแห่งกฎหมาย
4.1.1 การได้สิทธิจากนิติกรรม
นิติกรรมเป็นการกระทำให้เกิดสิทธิโดยตั้งใจและชอบด้วยกฎหมาย มุ่งโดยตรงต่อการผูก
นิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลเพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ ดังนั้นนิติกรรม จึงก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวในสิทธิต่างๆขึ้น เช่น ก่อสิทธิ เปลี่ยนแปลงสิทธิ โอนสิทธิ สงวนสิทธิ และระงับสิทธิ
นิติกรรมซึ่งก่อให้เกิดสิทธิ อาจแบ่งออก 2 ประเภท
1. นิติกรรมซึ่งกำให้เกิดสิทธิเกี่ยวกับสภาพบุคคล ตัวอย่างเช่น การแสดงเจตนา ทำการสมรส รับรองบุตรหรือรับบุตรบุญธรรม ยอมทำให้บุคคลมีสิทธิในครอบครัว
2. นิติกรรมซึ่งก่อให้เกิดสิทธิเกี่ยวกับ ทรัพย์ ส่วนใหญ่ ได้แก่ สัญญาอันเป็นนิติกรรมสองฝ่าย โดยบุคคลฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาทำคำเสนอ และอีกบุคคลฝ่ายหนึ่งทำคำสนองรับตกลงยินยอมร่วมกันอันที่จะก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น การซื้อขาย การเช่าทรัพย์ เป็นต้น
4.1.2 การได้สิทธิจากทางอื่นนอกจากนิติกรรม
การได้รับสิทธิโดยทางอื่นๆ นี้จะเป็นการได้มาโดยผลของกฎหมายทั้งสิน คือเป็นกรณีที่
กฎหมาย บัญญัติว่าเมื่อมีข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งอย่างใดเกิดขึ้น ให้มีการเคลื่อนไหวแห่งสิทธิมิใช่เรื่องที่คู่กรณีจะตกลงกันได้ล่วงหน้าเหมือนนิติกรรม เป็นต้นว่า
1. การได้สิทธิจากนิติเหตุ คือเหตุการณ์หรือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจะเกิดขึ้นเอง
หรือโดยบุคคลเป็นผู้กระทำก็ตามแล้วทำ ให้เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่งตามกฎหมายการมีสิทธิจากนิติเหตุ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1)นิติเหตุที่เกิดจากเหตุการณ์ธรรมชาติ ได้แก่การเกิด การตาย และการบรรลุนิติภาวะ
การเกิดทำให้บุคคลได้สิทธิฐานะเป็นบุคคลและการตายของบุคคลหนึ่งทำให้ทายาทของบุคคลนั้นได้สิทธิ เช่นการรับมรดก ส่วนการบรรลุนิติภาวะทำให้บุคคลพ้นจากภาวะผู้เยาว์สามารถใช้สิทธิได้ด้วยตนเอง
2)นิติเหตุที่เกิดจากการกระทำของบุคคล เป็นการกระทำที่บุคคลกระทำไป โดยปราศจากเจตนามุ่งผลในทางกฎหมายแต่ผลของการกระทำก่อให้เกิดสิทธิขึ้น ได้แก่ จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้ และละเมิด
2. การได้มาซึ่งสิทธิในผลแห่งกฎหมาย อาจจะได้สิทธิโดยกฎหมายเอกชนหรือการได้สิทธิโดยกฎหมายมหาชน ดังนี้
1)การได้สิทธิตามกำหมายเอกชน เช่น
(1)การได้กรรมสิทธิ์โดยหลักส่วนควบ ได้แก่ ส่วนควบโดยธรรมชาติ และส่วนควบโดยการปลูกสร้าง
(2)การได้สิทธิโดยอาศัยหลักการถือเอาสังหาริมทรัพย์ไม่มีเจ้า
ของ
(3)การได้สิทธิโดยหลักเรื่องการได้ทรัพย์สินปราศจาก ผู้ครอบครอง
(4)การได้สิทธิโดยสุจริตในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้เป็นพิเศษ
ได้แก่ การได้สิทธิมาโดยนิติกรรมอันเป็นโมฆียะ การได้สิทธิมาเพราะซื้อทรัพย์สินโดยสุจริตและการได้โดยสิทธิโดยอายุความ เป็นต้น
2) การได้สิทธิตามกฎหมายมหาชน เช่น การได้สิทธิในการเลือกตั้ง การได้สิทธิรับสมัครเลือกในทางการเมืองทั้งในระดับท้องถิ่นไปถึงระดับชาติ เป็นต้น
4.2 การใช้สิทธิ
ผู้ทรงสิทธิย่อมจะใช้สิทธิที่กฎหมายรับรองได้โดยอิสระตามความพอใจของตนเองแต่ต้องอยู่ภายในขอบเขตจำกัดของกฎหมายบางประการคือ
1. ต้องเคารพต่อกฎหมายและหลักแห่งความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีอัน
ดีของประชาชน หมายความว่าการใช้สิทธิของตนนั้นต้องไม่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีงามของประชาชน เช่น เราจะใช้สิทธิในการซื้อขายอาวุธสงครามหรือยาเสพติด ไม่ได้เพราะผิดกฎหมาย เป็นต้น
2. ต้องใช้สิทธิในทางที่ไม่ก่อความเสียหายแก่บุคคลอื่น หมายความว่า การใช้
สิทธิใดๆ นั้นจะต้องเคารพต่อสิทธิของบุคคลอื่นด้วย ถ้าได้ใช้สิทธิในทางที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นก็เป็นเรื่องละเมิดได้ เช่น โรงงานมีเสียงดังและส่งกลิ่นเหม็นก่อความเดือดร้อนรำคาญแก่ เพื่อนบ้านโดยทั่วไปหรือตอกเสาเข็มก่อสร้างทำให้ตึงข้างเคียงร้าว เป็นต้น
3. ต้องใช้สิทธิโดยสุจริต ดังที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าในการใช้สิทธิแห่งตนก็ดีใน
การชำระหนี้ก็ดี ท่านว่าบุคคลทุกคนต้องกระทำโดยสุจริต เช่น ไม่ปลูกตึกแถวปิดทางเข้าออก หรือบังแสงสว่าง ปิดทางลมของคนอื่น
แต่อย่างไรก็ตามการใช้สิทธิของบุคคลนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้กำหนดเงื่อนไขของการใช้สิทธิ ของผู้เยาว์ คนไร้ความสารถ และคนเสมือนไร้ความสารถ ถึงแม้จะเป็นผู้ทรงสิทธิก็ตาม แต่ไม่สามารถใช้สิทธิได้อย่างเต็มที่ เพราะกฎหมายถือว่าบุคคลเหล่านี้เป็นผู้หย่อน ความสามารถ ต้องให้บุคคลตามที่กฎหมายกำหนดทำการแทนบุคคลดังกล่าว
4.3 การสงวนและคุ้มครองสิทธิ
สิทธิต่างๆ เมื่อมีกฎหมายมารับรองไว้ กฎหมายก็จะบัญญัติการสงวนและการคุ้มครอง สามารถแยกพิจารณา เป็นกรณี คือ การสงวนสิทธิ และการคุ้มครองสิทธิ
1. การสงวนสิทธิ หมายถึง การป้องกันขัดขวางมิให้สิทธินั้นต้องระงับไปหรือ
เสื่อมสลายไป ดังเช่น การทำให้อายุความสะดุดลง การจดทะเบียนทรัพยสิทธิ เป็นต้น
2. การคุ้มครองสิทธิ คือการป้องกันมิให้บุคคลภายนอก เข้ามารบกวนสิทธิของ
ตนซึ่งอาจทำได้โดย
1)การคุ้มครองสิทธิด้วยตนเอง ถึงแม้จะมีกฎหมายที่รับรองและ
คุ้มครองสิทธิให้ แต่ในบางครั้งการที่จะปล่อยให้กฎหมายคุ้มครองสิทธิแต่ประการเดียวก็อาจจะไม่ทันการบุคคลจึงควรที่จะมีอำนาจที่จะป้องกันสิทธิของเขาด้วยตนเอง โดยไม่มีความผิดทั้งทางแพ่งและอาญา เป็นต้นว่าการป้องกันการกระทำโดยจะเป็น การกระทำที่รอบด้วยกฎหมาย การทำลายทรัพย์สินสิ่งหนึ่งสิ่งใด หรือทำให้บุบสลาย เพื่อป้องกันภยันตรายซึ่งมีมาเป็นสาธารณะฉุกเฉิน ตามประมวลกฎหมายอาญา
2)การคุ้มครองสิทธิโดยรัฐ นอกจากการคุ้มครองป้องกันสิทธิโดย
ตนเองดังกล่าวแล้ว สิทธิบางประการเราอาจไม่สามารถคุ้มครองสิทธิได้ด้วยตนเองได้ รัฐจึงเข้ามาเป็นผู้คุ้มครองสิทธิให้ไม่ว่าจะเป็นรัฐฝ่ายนิติบัญญัติ(รัฐสภา) ฝ่ายบริหาร(รัฐบาล)และฝ่ายตุลาการ(ศาล)และองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งศาลจะเป็นองค์กรของรัฐฝ่ายตุลาการที่คุ้มครองสิทธิเป็นที่สุดและเด็ดขาด คือ ถ้าผู้เสียหายถูกละเมิดสิทธิก็สามารถที่จะนำคดีมาฟ้องร้องเพื่อขอความยุติธรรม หรือเป็นทำต่อศาลได้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็คือขอให้ศาลชี้ขาดเพื่อสงวนและคุ้มครองสิทธิของเรา ซึ่งสามารถกระทำได้โดย
(1)การฟ้องคดีอาญา
(2)การฟ้องคดีแพ่ง
(3)การฟ้องคดีปกครอง เป็นต้น
4.4 การโอนสิทธิ
การโอนสิทธิ หมายถึง การเปลี่ยนการทรงสิทธิอย่างใดๆ อันมีอยู่จากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง แต่เนื่องด้วยสิทธิเกี่ยวกับสภาพบุคคลอยู่ในเกณฑ์ยกเว้นที่มิอายโอนกันได้จึงคงมีการโอนแต่เฉพาะสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สิน การโอนสิทธินั้นกระทำได้โดยนิติกรรมรูปแบบต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เช่นการจดทะเบียนซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ การจดทะเบียนยกทรัพย์สินให้บุคคลอื่น การทำพินัยกรรม ฯลฯ เป็นต้น
4.5 การระงับแห่งสิทธิ
การระงับแห่งสิทธิ หมายถึง การสูญสิ้นไปของตัวสิทธิโดยที่สิทธินั้นไม่มีประโยชน์หรืออำนาจเหลืออยู่ อันบุคคลใดจะสามารถนำมาใช้ต่อไปได้อีก ต่างกับการสูญเสียสิทธิ โดยการโอนสิทธิ หรือการรับช่วงสิทธิ เพราะในกรณีเช่นนั้น สิทธิยังคงอยู่ เป็นแต่เพียงเปลี่ยนตัวผู้ทรงสิทธิเท่านั้น
การระงับแห่งสิทธิ ได้แก่ การขาดตัวผู้ทรงสิทธิ หมายความว่าผู้ทรงสิทธิตายไปสิทธิอันเป็นสิทธิเฉพาะตัวก็ระงับไป หน้าที่และความผูกพันที่มีอยู่ก็ระงับลง สิทธิซึ่งมีโดยตรงเฉพาะเหนือหน้าที่นั้นก็ระงับไป หรือวัตถุแห่งสิทธิสิ้นไปสิทธินั้นก็ระงับไปด้วยหรือโดยมีบทบัญญัติของกฎหมายกำหนดให้สิทธินั้นระงับโดยอายุความ เช่นการเสียสิทธิเรียกร้องโดยอายุความ การเสียสิทธิในการรับมรดกโดยอายุความ เป็นต้น
5. สิทธิตามกฎหมาย
สิทธิตามกฎหมายนั้นแยกออกมาได้ 2 ลักษณะ คือ สิทธิตามกฎหมายมหาชนกับสิทธิตามกฎหมายเอกชน สามารถอธิบายได้ดังต่อไปนี้
5.1 สิทธิตามกฎหมายมหาชน
“สิทธิ” นั้นมีข้อที่ควรสังเกตว่า “สิทธิ” นั้นไม่จำเป็นต้องเกิดจากฎหมายเอกชนเสมอไป แม้กฎหมายมหาชนก็เป็นที่มาแห่ง “สิทธิ” ได้ ในประเทศเยอรมันในชั้นเดิมก็มีการถกเถียงกันว่า “สิทธิ” จะเกิดจากกฎหมายได้หรือไม่ แต่ในศตวรรษที่ 19 ก็ได้เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า “สิทธิ” อาจเกิดจากกฎหมายมหาชนได้ ทั้งนี้นับว่าเป็นชัยชนะของเอกชนที่มีต่อรัฐซึ่งเป็นฝ่ายปกครอง และเพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิที่เกิดจากกฎหมายมหาชนดังกล่าวนี้ จึงได้มีการจัดตั้ง “ศาลปกครอง” ขึ้นเป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากศาลยุติธรรมธรรมดา เพื่อวินิจฉัยคดีปกครอง กล่าวคือ เพื่อวินิจฉัยการกระทำเจ้าพนักงานในทางปกครองว่า ได้กระทำไปเกินขอบเขตของกฎหมาย หรือโดยใช้อำนาจในทางที่ผิดหรือใช้ดุลพินิจผิดพลาด ฯลฯ ศาลปกครองนี้เป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร
การรับรองสิทธิที่เกิดจากกฎหมายมหาชนหมายความว่า รัฐโดยกฎหมายก็ดี ย่อมผูกพันตนเอง เป็นการยอมผูกมัดของอำนาจสาธารณะเพื่อประโยชน์ของเอกชน ตามที่กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ว่า สิทธิตามกฎหมายมหาชนเป็นสิทธิของราษฎรที่มีต่อรัฐและอำนาจสาธารณะอื่น ๆ เช่น เทศบาล สิทธิดังกล่าวนี้รัฐและผู้ทรงอำนาจสาธารณะอื่นได้รับรองหรือให้แก่ราษฎร และพอจะแยกสิทธิตามกฎหมายมหาชนออกได้ ดังนี้
5.1.1 สิทธิที่เกี่ยวกับสถานะของบุคคลในทางปฏิเสธ
สิทธิที่เกี่ยวกับสถานะของบุคคลในทางปฏิเสธซึ่งได้แก่สิทธิที่จะป้องปัดและสิทธิในเสรีภาพที่มีต่อรัฐ ซึ่งโดยสิทธินี้ ราษฎรย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้รัฐและเจ้าพนักงานของรัฐละเว้นที่จะไม่กล้ำกรายสิทธินี้ สิทธิดังกล่าวนี้ได้แก่สิทธิตามรัฐธรรมนูญและสิทธิมนุษยชน (Human Rights)
5.1.2 สิทธิที่เกี่ยวกับสถานะบุคคลในทางที่จะดำเนินการ
สิทธิที่เกี่ยวกับสถานะของบุคคลในทางที่จะดำเนินการ ซึ่งเป็นสิทธิที่ประชาชนที่จะมีต่อรัฐ ดังเช่น สิทธิในการเลือกตั้ง สิทธิในการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภาเมื่อมีคุณสมบัติครบถ้วนและไม่ต้องห้ามตามที่รัฐธรรมนูญ และกฎหมายประกอบรัฐธรรมว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภากำหนด ซึ่งเป็นสิทธิในทางการเมืองของรัฐ เป็นต้น
5.1.3 สิทธิที่จะเรียกร้องการปฏิบัติการบางประการจากรัฐ
สิทธิที่จะเรียกร้องการปฏิบัติการบางประการจากรัฐ ดังเช่น
1.สิทธิที่จะเรียกร้องให้รัฐคุ้มครองสิทธิของบุคคลที่จะขอให้คุ้มครองตนจากการ
กระทำของรัฐต่างประเทศ และจากการกระทำทางการปกครองของหน่วยงานทางปกครองเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มิชอบด้วยกฎหมายในการกระทำทางปกครอง
2. สิทธิที่จะเรียกร้องให้รัฐชดใช้ค่าทดแทนจากการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
3.สิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย โดย
1)กำหนดให้การจับกุม คุมขัง การค้นตัวบุคคล หรือกระทำที่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพดังกล่าว จะกระทำได้เฉพาะตามที่กฎหมาบัญญัติ
2)ห้ามทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม
3)ห้ามจับโดยไม่มีหมายศาล เว้นแต่เป็นการกระทำความผิดซึ่งหน้าที่หรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นให้จับได้โดยไม่มีหมาย ซึ่งต้องเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ
4. สิทธิจะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชน ในการบำรุงรักษาและการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ
5. สิทธิที่ได้รับทราบข้อมูลหรือข่าวสารที่อยู่ในความครอบครองของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น แต่มีข้อยกเว้น ว่าสิทธินี้อาจถูกจำกัดได้ตามกฎหมาย ถ้าปรากฏว่าการเปิดเผยข้อมูลนั้นจะกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ
6. สิทธิได้รับการคุ้มครองหรือชดใช้ค่าเสียหายจากการทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ให้ได้ปฏิบัติหน้าที่ เป็นต้น
5.1.4 สิทธิของประชาชนที่มีต่อรัฐ
สิทธิของประชาชนที่มีต่อรัฐในทางกลับกันรัฐก็มีสิทธิตามกฎหมายมหาชนต่อประชาชนภายในรัฐ ซึ่งรัฐมีสิทธิที่จะได้รับการเชื่อฟังถ้อยคำและความซื่อสัตย์จากประชาชน ซึ่งรัฐต้องออกเป็นกฎหมายก่อตั้งสิทธิ อาทิเช่น
1. รัฐมีสิทธิที่จะให้ประชาชนเชื่อฟังและปฏิบัติตามกฎหมาย
2. สิทธิที่จะเรียกร้องให้ประชาชนรับราชการ
3. สิทธิจะเรียกร้องให้ประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งมีหน้าที่ไปเลือก
ตั้ง เป็นต้น
5.1.5 สิทธิในความสัมพันธ์ระหว่างมีอำนาจในการจัดทำการบริการ
สาธารณะต่อกันและกัน
สิทธิในความสัมพันธ์ระหว่างมีอำนาจในการจัดทำบริการสาธารณะต่อกัน เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐกับรัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกัน อาทิเช่น เทศบาลกับเทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบลกับเทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัดกับองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นต้น
ข้อสังเกต สิทธิในความสัมพันธ์ระหว่างมีอำนาจในการจัดทำบริการสาธารณะต่อกันและกัน ได้แก่
1. ในเรื่อง สิทธิที่เกิดจากกฎหมายมหาชนนี้จะต้องพิจารณาให้ดีว่าเป็นกรณีที่
กฎหมายให้สิทธิไว้หรือไม่ เพราะมีกรณีที่กฎหมายเป็นแต่กำหนดหน้าที่ให้แก่รัฐ โดยมิได้กำหนดให้เป็นสิทธิแก่ประชาชนให้รัฐ ดังเช่นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 กำหนดให้เป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ เท่าที่จะทำได้ ซึ่งถ้ารัฐจะปฏิบัติตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ย่อมเกิดประโยชน์แก่ประชาชนในรัฐให้ปฏิบัติตามนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐได้ ในปัจจุบันนี้ได้มีความเห็น ซึ่งเป็นที่นิยมกันทั่วไปว่า ในกรณีเป็นที่สงสัย คือ กฎหมายไม่ได้ระบุไว้โดยแจ้งชัดไม่ให้ใช้สิทธิฟ้องร้อง ให้ถือเป็นสิทธิตามกฎหมายมหาชน และเป็นเหตุให้ฟ้องร้องรัฐได้
2. สิทธิตามกฎหมายมหาชนก็เป็นเช่นเดียวกับสิทธิตามกฎหมายเอกชน กล่าวคือจะต้องมีวิถีทางบังคับให้เป็นไปตามสิทธินั้นๆ ได้ ในปัจจุบัน ถ้าเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ ได้มีการจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญขึ้นมา เช่นศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยว่า การที่หญิงที่ทำการสมรสกับชายต้องใช้นามสกุลของชายนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญ ในเรื่องชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกันในทางกฎหมาย ดังนั้นกฎหมายที่กำหนดให้หญิงใช้นามสกุลชายจึงใช้บังคับไม่ได้ถ้าเป็นสิทธิตามกฎหมายปกครอง ก็ได้มีการจัดตั้งศาลปกครองขึ้นเพื่อวินิจฉัยคดีปกครองเป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากศาลยุติธรรม จากศาลทหาร
5.2 สิทธิตามกฎหมายเอกชน
กฎหมายเอกชน คือ กฎหมายที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกันมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันในการมุ่งแสวงหาประโยชน์ส่วนตัวในการที่เราจะเข้าใจสิทธิตามกฎหมายเอกชนได้ดี เราจำต้องแยกสิทธิออกไป สิทธิอาจแบ่งได้หลายวิธี ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงสิทธิตามผู้เป็นเจ้าของวัตถุแห่งสิทธิ ผู้เป็นเจ้าของวัตถุแห่งสิทธิ
การแบ่งประเภทของสิทธินี้เป็นการแยกออกไปตามวัตถุซึ่งสิทธินี้มุ่งถึง โดยอาจแยกอกเป็นสิทธิเกี่ยวกับบุคคล สิทธิเกี่ยวกับครอบครัว และสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สินดังจะได้อธิบายตามลำดับ
5.2.1 สิทธิเกี่ยวกับบุคคลหรือสิทธิเกี่ยวกับเอกชน
สิทธินี้เกี่ยวกับตัวบุคคลของเจ้าของสิทธิเอง สิทธินี้ยังอาจแบ่งออกได้เป็นสองประเภทกล่าวคือ
1. สิทธิแห่งบุคลิกภาพทั่วไป สิทธินี้เกิดจากความคิดเห็นที่ว่า จะต้องยอมรับว่าศักดิ์ศรีของมนุษย์เป็นสิ่งที่แตะต้องไม่ได้ บุคคลย่อมมีสิทธิที่จะพัฒนาบุคลิกภาพของเขาโดยไม่มีการกีดกั้น สิทธิดังกล่าวนี้คำพิพากษาของศาลต่างประเทศได้ยอมรับ นอกจากนี้ ยังมีบทบัญญัติไว้ชัดเจนในประมวลกฎหมายแพ่งสวิส มาตรา 28 ซึ่งบัญญัติว่า “ผู้ใดได้รับประทุษร้ายต่อความสัมพันธ์ในทางส่วนตัว ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ขจัดการรบกวนนั้นได้
2. สิทธิแห่งบุคลิกภาพพิเศษ คือเจาะจงสิทธิเป็นรายสิทธิไป เช่น สิทธิของบุคคลที่จะใช้ชื่อของเขา สิทธิที่บุคคลมีเหนือชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ สิทธิในชื่อเสียงหรือเกียรติคุณ สิทธิที่จะขัดขวางมิให้บุคคลมาดักฟังหรือบันทึกเสียงการสนทนาทางโทรศัพท์
5.2.2 สิทธิเกี่ยวกับครอบครัว
สิทธิเกี่ยวกับครอบครัว ซึ่งได้แก่ สิทธิเหนือความสัมพันธ์แห่งชีวิตที่กฎหมายกำหนดให้
เจ้าของสิทธิมีสิทธิเหนือบุคคลอื่นโดยคำนึงหน้าที่ทางศีลธรรมของเขา เช่น สิทธิระหว่างสามีภริยา สามีภริยาจำต้องอยู่กินร่วมกัน ฯลฯ ฉะนั้น ผู้ใดจะพาภริยาไปจากการอยู่กินร่วมกันไม่ได้ หรือสิทธิระหว่างบิดากับบุตรได้แก่ อำนาจปกครองบุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ “บุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดาอำนาจปกครองนั้นอยู่แก่บิดา” สิทธินี้เป็นสิทธิเด็ดขาด(Absolute Right)
5.2.3 สิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สิน
สิทธินี้มุ่งถึงสิทธิที่เป็นทรัพย์สินให้ไว้เพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจของเจ้าของสิทธิ สิทธินี้ยังอาจแยกออกได้เป็น 4 ประเภท คือ ทรัพยสิทธิ สิทธิเหนือสิ่งที่ไม่มีรูปร่างสิทธิเรียกร้อง และสิทธิเหนือกองมรดก
1. ทรัพยสิทธิ ได้แก่สิทธิเหนือทรัพย์ซึ่งอาจแยกออกเป็น
1) สิทธิของการเป็นเจ้าของ เช่น กรรมสิทธิ์ หรือสิทธิที่คล้ายคลึง
กรรมสิทธิ์ เช่น สิทธิเหนือพื้นดิน
2) สิทธิที่จะได้รับมา เช่น สิทธิของผู้ครอบครองสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น
โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ที่จะได้กรรมสิทธิ์ภายหลังที่ได้ครองมาเป็นระยะเวลาห้าปี หรือสิทธิของผู้เก็บได้ซึ่งทรัพย์สินหายที่จะได้รับกรรมสิทธิ์ในเมื่อได้ส่งมอบทรัพย์สินนั้นแก่ตำรวจนครบาล หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ และผู้มีสิทธิที่จะรับทรัพย์สินมิได้เรียกเอาภายในหนึ่งปี หรือสิทธิของเจ้าของที่ดินที่จะตัดกิ่งไม้ของเพื่อนบ้านที่ยื่นออกมา และเมื่อได้แจ้งให้เพื่อนบ้านตัดแล้วไม่ย่อมตัด
2. สิทธิเหนือสิ่งที่ไม่มีรูปร่าง เช่น ลิขสิทธิ์ ซึ่งได้แก่ของผู้ประพันธ์ที่จะพิมพ์บทประพันธ์ออกจำหน่าย หรือสิทธิของผู้แต่งบทละครที่จะนำละครออกแสดงหรือสิทธิในเครื่องหมายการค้า ฯลฯ
3. สิทธิเรียกร้อง ซึ่งได้แก่สิทธิของบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าเจ้าหนี้มีอยู่เหนือบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าลูกหนี้ ที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้กระทำหรืองดเว้นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้แก่ตน “ด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิจะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ อนึ่ง การชำระหนี้ด้วยงดเว้นการอันใดอันหนึ่งก็ย่อมมิได้” จะเห็นได้ว่า ในระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ย่อมมี “หนี้” (Obligation) และเจ้าหนี้ย่อมเรียกร้องให้ลูกหนี้เท่านั้นที่จะชำระหนี้ให้แก่ตน จะเรียกร้องจากบุคคลอื่นไม่ได้ ตามที่กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ว่า เจ้าหนี้มีฐานะอ่อนแอกว่าเจ้าของกรรมสิทธิ์เหนือทรัพย์ เพราะเจ้าของกรรมสิทธิ์เรียกทรัพย์จากบุคคลทุกคนที่เอาทรัพย์ของเขาไป
4. สิทธิเหนือกองมรดก ซึ่งได้แก่สิทธิที่จะเข้าครอบครองกองมรดกตามกฎหมาย สิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สินทั้งหมดของบุคคลรวมกันเรียกว่า “กองทรัพย์สิน”
หนังสือและเอกสารอ่านประกอบเพิ่มเติม
หยุด แสงอุทัย “ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป” กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ประกายพรึก,
พิมพ์ครั้งที่ 11,2535
สถาบันพระปกเกล้า “สารานุกรมการเมืองไทย” กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภา
ผู้แทนราษฎร,2547
สิทธิครอบครอง หมายถึง 在 กรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครอง แตกต่างกันยังไง | Koy My Property Pro 的推薦與評價
กรรมสิทธิ์และ สิทธิครอบครอง แตกต่างกันยังไง | Koy My Property Pro #สิทธิในที่ดิน #เอกสารสิทธิ์ที่ดิน #ประเภทเอกสารสิทธิ์. ... <看更多>
สิทธิครอบครอง หมายถึง 在 กรรมสิทธิ์ และ สิทธิครอบครองต่างกันอย่างไร? โดย นายชัยชาญ สิทธิ ... 的推薦與評價
“สิทธิครอบครอง” เป็นสิทธิครอบครองการทําประโยชน์ในที่ดินเท่านั้น ไม่ได้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว โดยทางราชการจะออกหนังสือแสดงสิทธิครอบครองและ ... ... <看更多>