วันนี้ เราจะมาเล่าเนื้อเรื่องของเพลง naLIE กันครับ
เพลง naLIE เล่าถึงช่วงที่ นนทก ถูกนารายณ์ที่แปลงกายเป็นนางอัปสร มาหลอกให้หลงรัก
นนทก หลงรักและทำตามทุกอย่างที่นางอัปสรสั่ง ให้รำตามก็รำ จนถึงท่านาคาม้วนหาง ที่เป็นท่าที่ใช้นิ้ว ชี้ลงที่ตรงขา นนทกก็รำตาม แต่ไม่ทันคิดว่าตัวเองมีนิ้วเพชรอยู่ นิ้วเพชร ชี้ไปที่ขาของนนทก ทำให้นนทกล้มลง
จังหวะนั้นเองที่นารายณ์ได้เผยตัวจริงออกมา และจัดการสังหารนนทกทิ้ง ไปพร้อมกับความรู้สึกรักของนนทก ที่สุดท้ายกลายเป็นสิ่งลวงตา
ปล. สีดา ในเนื้อเพลง คือ "สีดา ที่ Refer ถึง หญิงสาว" ไม่ใช่ตัวละครที่ชื่อ สีดา ครับ
อาจจะทำให้เข้าใจผิดไปหน่อย แต่ก็คิดว่าน่าจะ Clear เรื่อง เนื้อเรื่องได้บ้างนะครับ
https://www.youtube.com/watch?v=thOiBq-uTSQ
สีดา คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
"มาร์คอสกับความชอบธรรมทางการเมือง" เกี่ยวกับการประกาศกฎอัยการศึกของมาร์คอส ของประเทศฟิลิปินส์ ที่มีอายุยืนยาว ถึง 13 ปีจึงจะยกเลิกและทำให้มาร์คอส หมดอำนาจลง
โดยอาจารย์สีดา สอนศรี (มติชน ออนไลส์ 18 มีนาคม 2558)
อาจารย์ สีดา สอนศรีได้เขียนบทความกล่าวถึงบทความของอาจารย์พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ ในมติชนรายวันฉบับวันอังคาร ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2558 หน้า 20 เรื่อง "น้าอายังจำได้ไหม การเมืองกับกฎอัยการศึกของมาร์คอส" แล้ว
ผู้เขียนจะขอเพิ่มเติมข้อเท็จจริงบางประการ เนื่องจากได้อยู่ในเหตุการณ์ช่วงปี 1972 พอดี และเป็น Primary source ที่ได้เจอกับความเจริญและความตกต่ำของมาร์คอสในช่วงต่อมา ถ้าเทียบระหว่างไทยกับฟิลิปปินส์แล้ว บริบทภายในประเทศก็ต่างกัน ทั้งค่านิยม วัฒนธรรม และระบบการเมืองการปกครอง การประกาศกฎอัยการศึกจึงแตกต่างกันด้วย
ฟิลิปปินส์ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่เป็นประชาธิปไตยประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากการตกเป็นเมืองขึ้นของสหรัฐอเมริกา สหรัฐได้ฝึกให้ชาวฟิลิปปินส์เรียนรู้ความเป็นประชาธิปไตยในระบบประธานาธิบดี โดยใช้แบบเรียนและการสื่อสารให้ประชาชนได้เรียนรู้ ถือสิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ อีกทั้งให้อาสาสมัครไปอบรมแก่ท้องถิ่นทั่วประเทศ จากล่างสู่บนตั้งแต่ปี 1901 และถูกสั่งสอนให้ตระหนักว่า รัฐธรรมนูญคือแม่ของกฎหมายทั้งปวง และเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนจะละเมิดมิได้
จนกระทั่งรัฐธรรมนูญฉบับสมบูรณ์ที่คณะกรรมาธิการร่วมสหรัฐและฟิลิปปินส์ได้เสร็จสมบูรณ์ และนำมาใช้ในปี 1935 นั้น เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่นำมาใช้ หลังจากฟิลิปปินส์ได้รับเอกราชจากสหรัฐ 1946-1972
รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นการถ่วงดุลระหว่าง 3 อำนาจ คือ อำนาจบริหาร อำนาจนิติบัญญัติ และอำนาจตุลาการ ประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ และผู้บัญชาการทหารสูงสุด รวมทั้งกองทหารอาสาสมัครทุกหน่วย (1935, มาตราที่ 7 ตอนที่ 10 วรรค 2) เช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญของสหรัฐ (มาตราที่ 2 ตอนที่ 2) ทหารเป็นเพียงกลุ่มประชาสังคมกลุ่มเล็กกลุ่มหนึ่งในบรรดาประชาสังคมกลุ่มอื่นๆ เป็นจำนวนมากในฟิลิปปินส์ และเป็นที่ยอมรับกันในสังคมฟิลิปปินส์ว่าทหารอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของประธานาธิบดี
นี่คือบริบทของฟิลิปปินส์ มาร์คอสเป็นประธานาธิบดีคนที่ 6 ของฟิลิปปินส์ นับจากวันได้รับเอกราช ครอบครัวมีฐานะดีของกลุ่มอิโลกาโน บิดาเป็นนักการเมือง มารดาเป็นครู เขาสอบได้เข้าเรียนโรงเรียนสาธิตของ University of the Philippines (UP) ที่สำคัญหลังจากสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมแล้ว เขาได้ศึกษาวิชากฎหมายที่ UP และสอบได้เป็นเนติบัณฑิตด้วยคะแนน 98.01 ในขณะที่ศึกษาวิชากฎหมายเขาได้ทำวิทยานิพนธ์ (ปริญญาตรี) เรื่อง Today′s Revolution Democracy โดยให้วิเคราะห์ว่า การปฏิวัติเป็นสิ่งจำเป็นในบางครั้ง เนื่องจากเป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น การปฏิวัติมิใช่การขู่ แต่เป็นเรื่องที่ต้องทำ เพื่อความอยู่รอดของสังคม
เขายังกล่าวอีกว่า แม้ระบบสังคมและเศรษฐกิจในสังคมจะไม่ยุติธรรม แต่ภาคประชาชนสามารถแก้ไขได้ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม เพราะระบอบประชาธิปไตยมีกลไกในการแก้ไขในตัวเองอยู่แล้ว ยกเว้นแต่สังคมนั้นจะมีวิกฤตที่แก้โดยประชาธิปไตยไม่ได้ผล และแนวคิดของเขานี่เอง เขาได้นำมาใช้ในการประกาศกฎอัยการศึก (Martial Law) ในขณะที่บ้านเมืองเกิดวิกฤต
ประเด็นที่สำคัญเกี่ยวกับมาร์คอส มี 4 ประเด็นคือ ทำไมมาร์คอสได้รับความนิยมสูงสุดในช่วงได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีสมัยแรก (1965-1969) ทำไมเขาจึงประกาศกฎอัยการศึก และได้รับความนิยมหลังจากประกาศกฎอัยการศึก (1972-1975) ทำไมการประกาศกฎอัยการศึกของเขาอยู่ได้นานถึง 13 ปี และทำไมเขาจึงถูกพลังประชาชน (People Power) ขับออกจากตำแหน่งในปี 1986
ประเด็นแรก ทำไมมาร์คอสจึงได้รับความนิยมสูงสุดจนได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนให้เป็นประธานาธิบดีในปี 1965 ประเด็นนี้ไม่ต้องสงสัยถ้าดูจากประวัติของเขาที่มีความเฉลียวฉลาด อีกทั้งชาวฟิลิปปินส์นิยมผู้จบการศึกษาทางกฎหมาย (การเรียนกฎหมายเป็นปริญญาตรีใบที่ 2) นักการเมืองส่วนใหญ่จะจบกฎหมาย นอกจากเรียนในสาขาอื่นมาแล้ว โดยเฉพาะสมาชิกสภาล่างและสภาสูงที่มีหน้าที่เสนอร่างกฎหมายจะต้องมีความรู้กว้างขวาง มาร์คอสได้วางแผนการเป็นนักการเมืองตั้งแต่เรียนกฎหมายมาแล้ว ช่วงแรกๆ ของการเป็นประธานาธิบดี เขาได้สร้างโครงการใหญ่ๆ หลายโครงการ ตั้งแต่การสร้างรถไฟฟ้า สร้างเมืองธุรกิจ สร้างศูนย์วัฒนธรรม โรงพยาบาลหัวใจ เจรจาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เจรจากับกลุ่มแบ่งแยกดินแดน (MNLF) โดยมีกาดาฟี เป็นตัวกลาง เจรจาขอลดการเช่าฐานทัพสหรัฐในฟิลิปปินส์จาก 99 ปี เหลือ 20 ปี โดยแลกเปลี่ยนกับการได้รับเงินช่วยเหลือด้านพัฒนาเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังเป็นเจ้าภาพการจัดประชุมนานาชาติหลายครั้ง นับได้ว่าฟิลิปปินส์เป็นศูนย์กลางของอาเซียนในขณะนั้น
ประเด็นที่สอง ทำไมเขาประกาศกฎอัยการศึก ในช่วงนี้มีการประท้วงการซื้อเสียงมาร์คอสของนักศึกษา ช่วงที่เขาได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีวาระที่ 2 (1969-1973) ประกอบกับมีการก่อกวนจากฝ่ายคอมมิวนิสต์ New People′s Army และมุสลิมภาคใต้ ที่มาร์คอสมิได้ดำเนินการพัฒนาภาคใต้ตามที่ได้ตกลงไว้ นอกจากนี้ยังมีการวางระเบิดทั่วประเทศ การต่อต้านสินค้าญี่ปุ่น และต่อต้านฐานทัพอเมริกา ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นภัยคุกคามต่อสหรัฐด้วย มาร์คอสอ้างประเด็นดังกล่าวประกาศกฎอัยการศึก ซึ่งเป็นความชอบธรรมตามรัฐธรรมนูญ โดยอ้างว่าไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ ประกอบกับสหรัฐให้การสนับสนุนทางเศรษฐกิจ โดยแลกเปลี่ยนกับการต่อสัญญาการเช่าฐานทัพต่อไป แม้การเช่าฐานทัพจะลดจำนวนปีลงก็ตาม การประกาศกฎอัยการศึกครั้งนี้มีนัยสำคัญอยู่ 2 ประการ คือ มาร์คอสกำลังจะหมดวาระที่ 2 ในปี 1973 สหรัฐหวั่นเกรงสถานภาพของตนเองในสถานการณ์สงครามเย็นที่มีการเรียกร้องเดินขบวนต่อต้านจักรวรรดินิยมของสหรัฐ ของนักศึกษา มาร์คอสจึงต้องการให้สภาวะทางการเมืองในฟิลิปปินส์มีความมั่นคงเพื่อรักษาสถานภาพเดิมไว้
ประเด็นที่สาม ทำไมเขาจึงอยู่ได้นานถึง 13 ปี (1972-1986) เขาใช้กลยุทธ์ของช่องโหว่รัฐธรรมนูญในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อสร้างอำนาจให้ตนเองในฐานะนักกฎหมายที่เก่งกล้า ซึ่งระบุอำนาจของประธานาธิบดีตามมาตราที่ 7 ตอนที่ 10 มาตราที่ 2 ของรัฐธรรมนูญ ปี 1935 ให้เขาสามารถออกคำสั่งได้ตามที่ต้องการ เช่น General Order สั่งจับผู้ประท้วง ห้ามเดินขบวน ควบคุมสื่อ ตั้งศาลทหาร ยุบพรรคการเมืองเหลือเพียงพรรคเดียว คือ Kilusang Bagong Lipunan (New Society Movement) และสร้างสังคมใหม่ (New Society) ที่ไม่เหมือนเดิม
ประเด็นที่ 4 ประธิปไตยคราบเผด็จการ ยอมรับว่าช่วง 4-5 ปีแรกฟิลิปปินส์พัฒนามาก มีการประชุมมากมาย ที่สำคัญเขาหยั่งเสียงมติประชาชนจากระดับหมู่บ้าน (Barangay) จนถึงระดับชาติ ในนโยบายทุกนโยบายที่เขาดำเนินการเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับตัวเอง และนี่คือประชาธิปไตยในคราบเผด็จการของฟิลิปปินส์ สุดท้ายปี 1981 เขาได้ผ่อนคลายกฎอัยการศึกและสัญญากับประชาชนว่าจะให้มีการเลือกตั้งระดับชาติในปี 1986 จากการแสวงหาอำนาจในช่องโหว่ของรัฐธรรมนูญ ทำให้เขาสร้างเครือญาติบริวาร (Cronies) กลายเป็นทุนนิยมพวกพ้อง (Crony Capitalism) เอาพรรคพวกบริวารเข้ามารับสัมปทาน ทำธุรกิจร่วมกับรัฐบาล ซึ่งเมืองไทยก็มีบทเรียนมาแล้ว สิ่งนี้เองเป็นเหตุให้พลังประชาชนหลายหมื่นกลุ่มรวมตัวกันเพื่อโค่นอำนาจของมาร์คอส โดยไม่ใช้ความรุนแรง ด้วยการเสริมสร้างอำนาจพลังประชาชน หรือ Empowerment อย่างเป็นระบบ โดยมีผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change agent) แต่ละกลุ่มเป็นผู้ประสานงาน นับได้ว่าเป็นพลังของชนชั้นกลาง และทุกกลุ่มในสังคม รวมทั้งทหารซึ่งเป็นกลุ่มหนึ่งของประชาสังคมด้วยในการดำเนินการครั้งนี้
ที่เขาถูกโค่นโดยพลังประชาชน จากเอาพรรคพวกบริวารเข้ามาทำธุรกิจในการเมืองจนเกิดการคอร์รัปชั่นประเทศล่มสลาย
กว่าจะฟื้นตัวเป็นปกติได้ก็ในปี 1998 และปัจจุบันนับเป็นประเทศที่มีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอันดับ 2 รองลงมาจากจีน
ประสบการณ์ของฟิลิปปินส์ทั้งความเจริญและความตกต่ำ จึงเป็นบทเรียนให้ประเทศต่างๆ ในอาเซียนได้พิจารณาตนเอง โดยเฉพาะทำไมช่วงหนึ่งเจริญสูง-สู่ตกต่ำที่สุด และสู่ความเจริญในปัจจุบัน แม้ปัญหาต่างๆ ในปัจจุบัน เช่น ความยากจนจะยังคงมีอยู่ เพราะประชากรมีเป็นจำนวนมาก แต่กฎหมายคุมกำเนิดก็จะมีส่วนช่วย อีกทั้งปัญหาภาคใต้อยู่ในช่วง Post-conflict และธุรกิจด้านการบริการ เช่น Call Center และแรงงานมีฝีมือที่ออกไปทำงานต่างประเทศและส่งเงินเข้าประเทศก็สามารถแก้ปัญหาที่เหลืออยู่ได้ไม่มากก็น้อย
สีดา คือ 在 ประวัติตัวละคร นางสีดา พระชายาผู้จงรักภักดี l Ramakian Mini ... 的推薦與評價
สีดา #ประวัติตัวละคร #รามเกียรติ์ นาง สีดา เป็นร่างอวตารของพระนางลักษมีชายาของพระนารายณ์ นาง สีดา เป็นพระธิดาของทศกัณฐ์และนาง มณโฑ เมื่อประสูติ ... ... <看更多>
สีดา คือ 在 Nang Sida. ประวัติ: นางสีดา คือ พระลักษมีเป็นมเหสีเอกของ ... 的推薦與評價
Nang Sida. ประวัติ: นางสีดา คือ พระลักษมีเป็นมเหสีเอกของพระนารายณ์ อวตาร ลงมาเกิด เพื่อเป็นคู่ครองของพระราม ... <看更多>