"ข้อโต้แย้งองค์ประชุมของ สนช.กรณีการแถลงปิดคดีนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล เพื่อดำเนินการถอดถอนไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว 2557"
วันที่ 30 มีนาคม 2560 ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีมติถอดถอน นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ออกจากตำแหน่ง กรณีการออกหนังสือเดินทางชนิดธรรมดา ให้พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี (ยศในขณะนั้น) โดยมิชอบ ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิด ด้วยมติ 231 ต่อ 4 เสียง ซึ่งถือว่ามติเกิน 3 ใน 5 หรือ 150 เสียงจากสมาชิกทั้งหมด 250 คน ซึ่งในวันนี้ มีจำนวนสมาชิกร่วมลงมติด้วยทั้งสิ้น 238 คน ส่งผลให้นายสุรพงษ์ ถูกตัดสิทธิ์การดำรงตำแหน่งทางการเมือง เป็นระยะเวลา 5 ปี และถือเป็นการยุติกระบวนการการถอดถอนนักการเมือง โดยสภาสูงของรัฐสภาไทย หลังร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ได้บัญญัติให้อำนาจการถอดถอนหลังจากนี้ เป็นอำนาจของศาลพิจารณา
ทำให้มีการโต้แย้งว่า วันที่ 29 มีนาคม 2560 นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ได้แถลงปิดคดี ซึ่ง สุรงพษ์แถลงปิดคดีไม่ถึง 10 นาที ก็ได้ร้องขอให้ตรวจสอบองค์ประชุม โดยอ้างรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 มาตรา 13 ที่ระบุว่า การประชุมต้องมีสมาชิกมีไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง แต่เท่าที่ดูเห็นสมาชิกสนช.เข้ามาร่วมประชุมฟังการแถลงปิดคดีแค่ประมาณ 50 คน ทั้งๆ ที่จะทำหน้าที่เป็นเหมือนตัดสินลงมติตนในวันพรุ่งนี้ จน สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสนช.คนที่ 1 ทำหน้าที่ประธานต้องกดออดเพื่อนับองค์ประชุม ทำให้สมาชิกสนช.ต่างทยอยเข้ามาในห้องประชุม พร้อมทั้งได้ลุกขึ้นอภิปรายทักท้วงคัดค้านการทำหน้าที่ของประธาน ที่ปล่อยให้บุคคลภายนอกที่ไม่มีสิทธิเสนอนับองค์ประชุม อีกทั้งยังปล่อยให้พูดจากล่าวร้ายเสียดสี ทำให้รัฐสภาอันทรงเกียรติเสื่อมเสียเหมือนสภาในอดีต แถมผู้ถูกกล่าวหา รวมทั้งยังนำบุคคลภายนอก คือ เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ที่เป็นบุคคลที่เคยแถลงข่าวข่มขู่ ใส่ร้าย ตีปลาหน้าไซ และจะแจ้งความเอาผิดประธาน รองประธานและสมาชิก สนช. อย่างไรก็ตามสมาชิกอภิปรายคัดค้านพฤติกรรมของ สุรพงษ์อย่างดุเดือดเป็นเวลา 1 ชั่วโมง ในที่สุดที่ประชุมได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ 149 เสียง ไม่ให้ตรวจนับองค์ประชุม จากนั้นนายสุรชัยเชิญคู่กรณีกลับเข้ามาอีกครั้ง โดยให้นายสุรพงษ์ แถลงปิดคดีต่อจนจบในเวลา 16.35 น.
ซึ่งกรณีดังกล่าว นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทย ได้เดินทางมารัฐสภาเพื่อยื่นหนังสือด่วนที่สุด ถึงประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ให้พิจารณาว่า องค์ประชุม สนช. ในการพิจารณาวาระรับฟังแถลงปิดคดีถอดถอนนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อดีตรมว.ต่างประเทศ เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2560 ไม่ชอบ โดยยกคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 2/2551 , 3/2551 และ 4/2551 มาเป็นหลักฐานประกอบคำร้อง และสารบัญ สนช. ได้ออกเลขรับที่ 3296 ให้แล้ว ทั้งนี้คำวินิจฉัยได้ระบุชัดว่า องค์ประชุมจะต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญฯ โดยจะต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาสนช. เพราะองค์ประชุมมิได้มีความหมายแต่เพียงว่า เมื่อมีสมาชิกลงชื่อมาประชุมครบและเปิดการประชุมแล้ว หลังจากนั้นสมาชิกจะอยู่ร่วมประชุมหรือไม่ก็ได้ ดังนั้น ในกรณีองค์ประชุมที่พิจารณาเรื่องถอดถอนนายสุรพงษ์ จึงต้องเป็นไปตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญด้วย และเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงแล้วว่า องค์ประชุม สนช. เมื่อวันที่ 29 มี.ค. มีไม่ถึง 50 คน จึงไม่ถือเป็นองค์ประชุม เพราะไม่ถึงกึ่งหนึ่งของสมาชิกที่มีอยู่ทั้งหมด 250 คน "กระบวนการพิจารณาถอดถอนในวาระแถลงปิดคดีจึงไม่ชอบแล้ว"
แต่เมื่อพิจารณา ตามหลักการการนับองค์ประชุม ถ้าในที่ประชุม มี 149 คน ถือ ว่า ครบ องค์ประชุม ซึ่งองค์ประชุม เกินกึ่งหนึ่ง มีมติ ไม่นับ ถือ เป็นการประชุมที่ถูกต้อง
ซึ่ง ศ.ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี อธิบายถึงกรณีนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เสนอให้นับองค์ประชุมสนช. ระหว่างการแถลงปิดคดีคืนหนังสือเดินทางให้นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โดยมิชอบว่า ที่ว่าไม่ครบเป็นการดูด้วยสายตา แต่เมื่อใดต้องท้ากันให้โหวต ประธานที่ประชุมจะกดออดเรียกองค์ประชุมตามข้อบังคับ คนที่อยู่นอกห้องประชุมจะกลับเข้ามาในห้อง ดังนั้น องค์ประชุมครบหรือไม่ครบระหว่างการแถลงปิดคดีจึงไม่มีผล เพราะองค์ประชุมจะเป็นปัญหาเมื่อมีการนับ การที่นายสุรพงษ์ท้วงประเด็นนี้จึงไม่มีผลอะไรต่อกระบวนการถอดถอน
ข้อสังเกตของผมเกี่ยวกับองค์ประชุม ของสนช. ดูจากข่าวและข้อมูลเอกสารตามสื่อ มีคำถาม ดังนี้
1.สนช. 250 คน แต่อยู่ในห้อง 50 คน นั่งฟังนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ในการแถลงปิดคดี แต่พอโต้แย้ง มีการกดออด นับองค์ประชุม มีผู้เข้าห้องประชุม 149 คน ตามจำนวนที่คัดค้านการลงมตินับองค์ประชุม
2.สนช. 250 คน แต่ ตามเอกสาร และข่าว มี สนช. เพียง 149 คน สมาชิก สนช. ที่เหลืออยู่ไหนครับ เพราะ ตอนแก้ไข รธน. เพิ่ม สนช. จาก 220 คนมาเป็น 250 คน ด้วยเหตุผลว่า การดำเนินการของสนช.มีความสำคัญต่อประเทศในด้านนิติบัญญัติจึงเพิ่ม สนช. แต่เพิ่มมาแล้ว ก็เห็นสนช.มาประชุม ในครั้งนี้ 149 คน ที่เหลือ มีภารกิจหรือครับ ซึ่งในกรณีนี้เป็นเรื่องที่สำคัญ สนช.ควรจะให้ความสำคัญ ครับ
3.การถอดถอนเขาต้องวางตัวกลางฟังเหตุผลเขาชี้แจงว่าเขามีเจตนาอย่างไร เหตุผลอะไรที่ทำอย่างนั้น เขาโต้แย้งอะไร รับฟังได้ไหม แต่กลับมี สนช.นั่งฟังในห้อง 50 คน ที่เหลืออีก 99 คน นั่งฟังนอกห้องหรือร้านกาแฟ หรือ ในประชุมอนุอื่นๆ ในตึกรัฐสภาพอ เมื่อประประธานกดเสียงออดก็เข้าห้องประชุม
4. จาก สนช. 250 คน เห็นเข้าห้องเวลาขอให้นับองค์ประชุม 149 คน ที่เหลือ 101 คน ไม่ได้อยู่ฟังในสภา แล้วมีข้อมูลหรือไม่ในการให้ความเป็นธรรมกับเขา เพราะในวันรุ่งขึ้นต้องพิจารณาถอดถอนและตัดสิทธิ์ทางการเมืองเขา
5.ผลสรุป ไงถอดถอนเขาเพราะทำความผิดขัดเจนไม่ฟังเหตุผลแล้ว คำถามต่อแล้วมีกระบวนการแถลงปิดคดีไว้ทำไม
แต่สำหรับผม มีความเห็นว่า มติถอดถอนออกจากตำแหน่งและตัดสิทธิ์ทางการเมืองเห็นชอบด้วย และกระบวนการแถลงคดี ของ สนช. เกี่ยวกับมติที่ประชุม ถือว่า ครบถ้าปรากฏเอกสารตามข่าว แต่ไม่สง่างามในการทำงานของ สนช. ที่ได้ชื่อว่าผู้ทรงเกียรติ ที่มาจากรัฐบาลที่ได้สถาปนา "รัฐบาลคนดี"
องค์ประชุม คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
"อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ"
โดย ปัญญา อุดชาชน ที่ปรึกษสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ วันที่ 06 ธันวาคม พ.ศ. 2556 เวลา 22:15:41 น.Tweet. ( มติชนรายวัน 6 ธันวาคม 2556)
1.ความหมายอำนาจการสถาปนารัฐธรรมนูญ
อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ หมายถึง อำนาจก่อตั้งระบอบและองค์กรทางการเมือง กล่าวคือ เป็นอำนาจที่จัดให้มีรัฐธรรมนูญ จากนั้นรัฐธรรมนูญเป็นผู้ไปสถาปนาระบอบการเมืองและองค์กรทางการเมืองทุกองค์กรขึ้นอีกชั้นหนึ่งต่อมา
ดังนั้น อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ จึงเป็นอำนาจที่มีอยู่ก่อนและเป็นอำนาจอันเป็นที่มาของรัฐธรรมนูญและรัฐธรรมนูญเป็นผู้สร้างองค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตย คือ รัฐสภาใช้อำนาจ นิติบัญญัติ คณะรัฐมนตรีใช้อำนาจทางบริหาร และศาลใช้อำนาจตุลาการ ด้วยเหตุนี้ อำนาจในการตรารัฐธรรมนูญจึงเป็นอำนาจที่ไม่ใช่อำนาจนิติบัญญัติที่รัฐสภาใช้
2.ลักษณะของอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ
2.1 การก่อตั้งองค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตย กล่าวคือ องค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตยไม่ว่าประมุขของรัฐ รัฐสภาคณะรัฐมนตรี และศาล องค์กรดังกล่าวนี้ล้วนถูกจัดตั้งขึ้นและได้รับมอบอำนาจมาจากรัฐธรรมนูญ ดังนั้น การใช้อำนาจขององค์กรเหล่านี้จึงถูกจำกัดการใช้อำนาจทั้งในด้านรูปแบบและเนื้อหา จึงส่งผลให้การใช้อำนาจขององค์กรจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมิได้ เช่น ประมุขของรัฐและคณะรัฐมนตรีต้องใช้อำนาจที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายบัญญัติไว้ รัฐสภาต้องออกกฎหมายที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ และศาลต้องพิจารณาวินิจฉัยคดีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมาย
2.2 การตีความรัฐธรรมนูญ กล่าวคือ เมื่ออำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญเป็นอำนาจที่ก่อตั้งองค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตย และเป็นอำนาจที่มีอยู่ก่อนอำนาจอธิปไตย ดังนั้น การตีความรัฐธรรมนูญต้องดูเจตนารมณ์ของอำนาจก่อตั้งองค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตย
2.3 อำนาจการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ กล่าวคือ อำนาจการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไม่ใช่อำนาจนิติบัญญัติ เพราะถ้าอำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญคืออำนาจนิติบัญญัติแล้ว รูปแบบองค์กรและกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องเหมือนกับการแก้ไขพระราชบัญญัติหรือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ แต่ที่ไม่ใช่เพราะอำนาจในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจหน้าที่ถูกวิเคราะห์ว่าเป็นอำนาจเปลี่ยนแปลงองค์กรและกระบวนการทางการเมืองที่รับมอบมาจากอำนาจตรารัฐธรรมนูญ
ดังนั้น อำนาจเปลี่ยนแปลงองค์กรทางการเมืองที่รับมอบมาหรืออำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ จึงไม่ใช่อำนาจนิติบัญญัติในการออกพระราชบัญญัติหรือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ จึงต้องมีกระบวนการพิเศษหรือองค์กรพิเศษ ซึ่งไม่เหมือนกับการออกกฎหมายธรรมดา เช่น รัฐธรรมนูญบางประเทศแก้รัฐธรรมนูญกันในรัฐสภาด้วยคะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาดของทั้งสองสภาถ้าไม่ผ่านจะต้องส่งไปให้ประชาชนออกเสียงประชามติ เพราะรัฐธรรมนูญไม่ใช่กฎหมายธรรมดา แต่เป็นสัญญาประชาคม (Social contract)
3.ที่มาของอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ
อำนาจในการให้มีรัฐธรรมนูญ เป็นอำนาจสูงสุดดังตัวอย่างต่างประเทศ ดังนี้
3.1 กรณีประเทศสาธารณัฐฝรั่งเศส เช่น การปฏิวัติใหญ่ในฝรั่งเศส ปี ค.ศ.1789 ที่ประชาชนลุกฮือปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง ดังนั้น อำนาจสูงสุดก็เกิดขึ้นจากประชาชน โดยการเลิกระบบการปกครองเดิมแล้วสถาปนารัฐธรรมนูญใหม่ รัฐธรรมนูญใหม่ก็สถาปนาองค์กรการเมืองแบบใหม่ขึ้นมา
3.2 กรณีประเทศสหรัฐอเมริกา เช่น รัฐธรรมนูญอเมริกัน ปี ค.ศ.1787 เมื่อ 13 อาณานิคมต่อสู้อังกฤษประกาศเอกราชแล้วตรารัฐธรรมนูญด้วยอำนาจของ 13 อาณานิคมเอง และรบจนกระทั่งอังกฤษยอมแพ้ การตรารัฐธรรมนูญปี ค.ศ.1787 ไม่ได้อาศัยอำนาจจากเมืองแม่ ซึ่งเป็นเจ้าของอาณานิคมคืออังกฤษ
แต่ตราโดยอาศัยอำนาจของตนเอง
4.วิธีการตรารัฐธรรมนูญ
4.1 กรณีประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส กล่าวคือ ปี ค.ศ.1946 ประชาชนเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นโดยตรง สภาร่างรัฐธรรมนูญร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วให้นำร่างรัฐธรรมนูญนั้นไปลงประชามติ (Referendum) เพื่อขอความเห็นชอบจากประชาชนหากประชาชนเห็นชอบโดยเสียงข้างมากก็ให้ใช้เป็นรัฐธรรมนูญ หากประชาชนไม่เห็นด้วยก็ให้ยุบสภาร่างรัฐธรรมนูญแล้วประชาชนเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ ปรากฏว่ารัฐธรรมนูญฉบับแรกประชาชนไม่เห็นชอบด้วย จึงส่งผลให้ยุบสภาร่างรัฐธรรมนูญแล้วตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญใหม่แล้วร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่และประชาชนเห็นชอบในการออกเสียงประชามติต่อมา
4.2 กรณีประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวคือ ปี ค.ศ.1787 ประชาชนตั้งสภาคอนเวนชั่น (Convention
Council) ขึ้นมี George Washington เป็นแกนนำ โดยประชุมที่เมืองฟิลาเดลเฟีย มีตัวแทน 13 มลรัฐ จำนวน 95 คน สภาคอนเวนชั่นเขียนรัฐธรรมนูญขึ้นโดยสถาปนารูปแบบของรัฐเป็นสหรัฐ มีสภา Congress ทำหน้าที่นิติบัญญัติ มีประธานาธิบดีทำหน้าที่เป็นประมุขของรัฐและฝ่ายบริหาร มีศาลสูงสุดทำหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยคดี สภา Congress เป็นสภาที่ประชาชนเลือกตั้งเข้าไปทำหน้าที่ให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญที่สภาคอนเวนชั่นร่างขึ้น ด้วยคะแนน 2 ใน 3 แต่ยังใช้บังคับไม่ได้ โดยต้องนำร่างรัฐธรรมนูญที่สภา Congress เห็นชอบแล้วไปให้รัฐสภามลรัฐที่มาจากแต่ละมลรัฐเลือกขึ้นมาให้ความเห็นชอบเป็นครั้งที่ 2 ด้วยคะแนนเสียง 3 ใน 4 จึงจะมีผลเป็นรัฐธรรมนูญที่สมบูรณ์ กระบวนการนี้การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (Constitutional Amendment) ของประเทศสหรัฐอเมริกาก็มีลักษณะเดียวกัน
5.หลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 6 บัญญัติว่า ?รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้? จากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญดังกล่าว เป็นการย้ำให้เห็นถึงความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศที่รัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษร ดังนั้น จึงมีมาตรการสำคัญที่นำมาใช้เพื่อคุ้มครองความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ ดังนี้
5.1 การตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย กล่าวคือ ตามลำดับชั้นของกฎหมาย กล่าวคือ ตามลำดับขั้นของกฎหมาย (Hierarchy of Law) รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด กฎหมายลำดับรองลงมาทั้งหมด ได้แก่ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด ประกาศคณะปฏิวัติที่มีค่าบังคับเท่ากับพระราชบัญญัติพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมายของหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ ข้อบัญญัติจังหวัด เทศบัญญัติ ข้อบังคับตำบล ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร และข้อบัญญัติเมืองพัทยา จะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมิได้
5.2 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญยากกว่าการแก้ไขกฎหมายธรรมดา กล่าวคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 291 ได้บัญญัติเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมีวิธีการและรูปแบบที่พิเศษและยากกว่ากฎหมายธรรมดา
ดังนั้น เมื่อวิเคราะห์จากมาตรการทั้งสองดังกล่าวแล้ว คือ การตรวจสอบความ ชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายและการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญกระทำได้ยากกว่าการแก้ไขกฎหมายธรรมดา เป็นมาตรการที่แสดงให้เห็นว่ารัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด (The Supremacy of the Constitution)
6.การตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมโดยศาลรัฐธรรมนูญต่างประเทศ
ศาลรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐตุรกี เป็นตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นถึงอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญในการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม กล่าวคือ ศาลรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐตุรกี ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1961 ประกอบด้วย ประธานศาลรัฐธรรมนูญ รองประธานศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญ รวมทั้งสิ้น 17 คน มีวาระดำรงตำแหน่ง 12 ปี ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว และเกษียณอายุ 65 ปี
ประเด็นที่น่าสนใจคือ อำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐตุรกี (ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมในวันที่ 12 กันยายน 2553) มาตรา 148 คือ ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม (Constitutional Amendment) ได้ แต่อำนาจหน้าที่ดังกล่าวต้องตรวจสอบได้เฉพาะรูปแบบ (Form)เท่านั้น กระบวนการร้องขอให้ตรวจสอบดำเนินการได้โดยประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐ หรือสมาชิกรัฐสภา 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกรัฐสภาทั้งหมด (The Grand National Assembly) จำนวน 550 คน ภายใน 10 วันก่อนประกาศใช้บังคับ รูปแบบ (From) ดังกล่าวคือ กระบวนการพิจารณาของรัฐสภา เช่น องค์ประชุม วิธีการลงคะแนนเสียง และมติเสียงส่วนใหญ่ เป็นต้น
หากกระบวนการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญด้านรูปแบบแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมฉบับนั้นว่ามีกระบวนการตราชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ คำวินิจฉัยคือว่าเด็ดขาดจะอุทธรณ์ต่อไปอีกไม่ได้
หากจะพิจารณาอำนาจศาลรัฐธรรมนูญในการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม พบว่า อำนาจศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวมีทั้งถูกบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น ศาลรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐตุรกีตามรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐตุรกี ค.ศ.1982 (แก้ไขเพิ่มเติม ค.ศ.2010) มาตรา 148 ศาลรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐชิลีตามรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐชิลี ค.ศ.1980 มาตรา 82 (2) เป็นต้น และมีทั้ง โดยคำพิพากษาของศาล (Judge Made Law) เช่น ศาลรัฐธรรมนูญสาธารณรัฐออสเตรียตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ.2001 ศาลรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ.2004 เป็นต้น
ดังนั้น ด้วยเหตุจากการที่ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ โดยผ่านกลไกต่างๆ เช่น สภาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นต้น และจากหลักนิติรัฐ (The Legal State) ที่โลกสากลยอมรับอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญในการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม คงขจัดความสงสัยได้ว่าศาลรัฐธรรมนูญไทยซึ่งได้จัดตั้งขึ้นตามแนวคิดของ Hans Kensen บิดาแห่งศาลรัฐธรรมนูญโลกและส่งผลให้มีการจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญสาธารณรัฐออสเตรียและศาลรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีต่อมา โดยศาลรัฐธรรมนูญสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีก็เป็นแม่แบบในการจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญไทย ประกอบกับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของไทยก็เป็นผลผลิตของสภาร่างรัฐธรรมนูญและการออกเสียงประชามติ
เพราะฉะนั้น ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติมได้อย่างแน่นอน
องค์ประชุม คือ 在 POLITICS: "รองประธานสภาฯ" หนักใจ ฝ่ายค้านเล่นเกมประชุมล่ม ... 的推薦與評價
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่าปัญหาองค์ประชุมล่ม ... เพราะปกติจะมีการประชุมสภา 2 วัน คือ วันพุธและพฤหัสบดี ... แต่โดยหลักการหน้าที่ในการรักษาองค์ประชุมเป็นของ ส.ส. ... <看更多>