ฉันคือผู้โชคดี ที่ไม่เคยดีพอ 💖
พรุ่งนี้วันเสาร์แล้ว อย่าลืมพักผ่อนกันด้วยน้า
ปล.ส่วนคุณหมูนั้น ซ้อมทั้งวัน ฮึ้บ ✌🏻✨
ปลล.ฝันดีนะคะ 😊
#sweat16
#mahnmooksweat16
「อย่าลืมพักผ่อนกันด้วยน้า」的推薦目錄:
อย่าลืมพักผ่อนกันด้วยน้า 在 BorntoDev Facebook 的精選貼文
เรารู้นะ ! ว่าสายไอทีกับการนอนดึกเป็นเรื่องคู่กัน วันนี้เรามาดูสาระเกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่า "นาฬิกาชีวิต" กันดีกว่า ว่าจริง ๆ แล้ว ร่างกายพวกเราก็มีตัวทำสัญญานนาฬิกาตัวเล็ก ๆ เอาไว้กำหนดการทำงานแบบเดียวกับ CPU ในคอมพิวเตอร์เลยนะ 😉 #อย่าลืมพักผ่อนกันด้วยน้า
⏰ติ๊กตอก.. ติ๊กตอก พูดถึงนาฬิกา เฟืองเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้กลไกของนาฬิกายังคงเดินไปข้างหน้า ถ่านหมดก็เปลี่ยนใหม่ แต่ถ้านาฬิกาชีวิต… คุณคิดว่ามันทำงานได้อย่างไร ? 💫
ผ่านมายาวนานกับการค้นหาคำตอบที่ลึกลับนี้ แต่แล้วข่าวดีก็มาเยือน เพราะชาวอเมริกันสามคนนี้ Jeffrey C. Hall, Michael Rosbash และ Michael W. Young พวกเขาพึ่งได้รับรางวัลโนเบลในด้านวิทยาสาสตร์และการแพทย์ กับการค้นพบ กลไกระดับโมเลกุลที่ควบคุมนาฬิกาชีวิต หรือ ชีวภาพรอบวัน (Circadian Rhythm) ที่พวกเขาได้เริ่มศึกษาตั้งแต่ปี 1984 จนประสบผลสำเร็จในปลายปี 2017
Hall กับ Rosbash พบว่า 🐝แมลงหวี่ฮัมเบอร์ (Humble fruit fly) ที่เขาใช้ทดลอง มีgene มหัศจรรย์ตัวหนึ่งค่ะ ยีนส์ที่ว่าคือ “Period gene” พวกเขาพบว่าตอนกลางคืนมันจะแอบสร้างโปรตีน PER ขึ้นโดยตัวเองเป็นแม่แบบและเมื่อถึงเวลาเช้าปริมาณโปรตีนที่เพียงพอทำให้มันหยุดสร้างตัวมันเองโดยพวกเขาเชื่อว่ามันส่งโปรตีนตัวหนึ่งเข้าไปในนิวเคลียสเพื่อยับยั้งการสร้างจากแม่แบบ แล้วมันก็รอเวลาที่โปรตีนถูกใช้จนหมดและต้องกลับวงจรเดิมอีกครั้ง แต่ในเมื่อพวกเขายังหากลไกการยับยั้ง Peroid gene ในนิวเคลียสไม่ได้คงต้องก้มหน้าก้มตากันต่อไป
🎉 โชคดีค่ะที่ทาง คุณ Young เขาค้นพบยีนส์อีกสองตัวเข้า คือ Timeless gene และ Doubletime gene ยีนส์ตัวแรกก็คือตัวที่คอยสร้างโปรตีน TIM แต่ใครจะรู้ มันนี้แหละตัวการค่ะ มันจะเข้าจับPER แล้ววิ่งแจ้นเข้าไปนิวเคลียสจนเกิดการยับยั้ง Peroid gene นั้นเอง! ช่วงเวลานั้น Hall กับ Rosbash คงกำลังควักกระเป๋าเงินเลี้ยงข้าวคุณ Young แน่ๆเพราะเขาได้ให้คำตอบปัญหาของพวกเขาในช่วงแรกได้
และยีนส์ตัวที่สองเป็นตัวที่คอยสร้างโปรตีน DBT มันเป็นตัวกำลังเสริมค่ะ คอยดูแลการสะสมของโปรตีนให้สัมพันธ์กับรอบวัน เป็นไปตามที่ควรจะเป็น
🗝️ นี่ละค่ะกุญแจเลยที่ควบคุมช่วงเวลาในการหลั่งฮอร์โมนหรือการทำงานอื่นๆ ที่ตอบโจทย์เราได้ลงตัวเป๊ะๆ ว่าทำไมเวลาเรานอนไม่พอ สะสมกันนานๆถึงทำให้เราเป็นโรคนั้นโรคนี้ได้ง่ายเพราะมันส่งผลต่อการทำงานของยีนส์ในแต่ละรอบวัน จนเกิดการทำงานผิดปกติ พอบ่อยๆซ้ำๆเข้าก็เกิดผลเสียกับร่างกายเราขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นอาการ 🛫 Jet lag (ปรับเวลานอนใหม่ไม่ได้เมื่อไปยังต่างประเทศ) สมองเสื่อมจากการไม่ได้พักผ่อนเป็นเวลานาน เบาหวาน ความดัน ล้วนเป็นผลจากการที่เราทำตัวฝืนธรรมชาติทั้งสิ้น (พูดแล้วกระทบตัวเองเบาๆ 😰😱)
🧐 การค้นพบของเขาทั้งสามจึงทำให้ทราบถึงการทำงานที่แท้จริงของกลไกของนาฬิกาชีวิต สามารถพัฒนาในเรื่องของการรักษาในอนาคตได้ตรงจุด นับเป็นการสร้างประโยชน์นับไม่ถ้วนแก่วงการ พวกเขาสมควรแล้วที่ได้รับเลือกเป็นบุคคลที่ได้รับโนเบล ว่าไหมล่ะคะ
----------
แหล่งอ้างอิง
“Three Americans won the Nobel Prize for biological 'clocks' find”. [n.d.]. [Online]. Available: https://www.popsci.com/2017-nobel-prize-physiology-medicine. Retrieved October 18, 2017.
“The Nobel Prize in Physiology or Medicine 2017
Jeffrey C. Hall, Michael Rosbash, Michael W. Young”. [n.d.]. [Online]. Available:https://www.nobelprize.org/…/medi…/laureates/2017/press.html. Retrieved October 18, 2017.
“รู้จักนาฬิกาชีวภาพระดับโมเลกุล งานวิจัยที่คว้าโนเบล สาขาการแพทย์ 2017.” [ม.ป.ป.]. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://thestandard.co/sciencefind-biologicalclock-nobelpr…/. สืบค้น 17 ตุลาคม 2560