#repost
Hero Athletes - Digital Nomad: อิสระในการใช้ชีวิต
——————————-——————————
เมื่อใดที่เรานึกถึงคำว่า ‘ทำงาน’ เป็นอะไรที่หลีกเลี่ยงยากที่จะไม่นึกถึงกลุ่มคำประเภท
ออฟฟิศ, เงินเดือน, เจ้านาย, คำสั่ง, ตอกบัตรเข้าทำงาน, เพื่อนร่วมงาน, นินทา, ทำงานล่วงเวลา
ซึ่งหลายๆคนไม่ต้องการที่จะใช้ชีวิตในกรอบนี้แต่ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ไม่ว่าด้วยเหตุปัจจัยอะไรหลายๆอย่าง แต่อะไรล่ะที่มาหยุดคุณ จำกัดกรอบของคุณ ?
สายงานจริงเหรอ ? เค้าก็ไม่ได้บังคับให้เราไปทำนี่
ที่ทำงานจริงเหรอ ? เค้าก็ไม่ได้บังคับให้เราไปเลือกนี่
สภาพสังคมเหรอ ? เค้าก็ไม่ได้บังคับให้เราต้องตามนี่
แต่กลับเป็นคุณต่างหากที่รับผิดชอบทุกการกระทำของชีวิตคุณ และใช่ ที่คุณไม่พอใจกับที่ยืนอยู่ทุกวันนี้ก็เพราะตัวคุณเองนั่นแหละที่ต้องรับผิดชอบมัน
ถามว่าการทำงานในที่ทำงานหนึ่งมีอะไรผิดไหม คำตอบคือไม่ผิดเลยถ้าเป็นสายงานคุณหรือสิ่งที่คุณต้องการทำอยู่แล้ว (ชินเคยทำงานโรงแรมมา 2 ปี และชอบมันมาก) แต่มันอาจจะมีส่วนผิดถ้ามันไม่ใช่สิ่งที่คุณต้องการและคุณต้องทำการกระทำสวนกับความคิดของตัวเอง (เมื่อเป้าหมายเราเปลี่ยน ความคิดเราก็เปลี่ยนตามเช่นกัน ซึ่งก็ไม่ได้อยากทำงานโรงแรมมากเหมือนแต่ก่อนแล้ว)
ชินจะมาเสนอคำหนึ่งซึ่งอาจจะทำให้ใครหลายๆคนตระหนักคิดถึงอะไรในชีวิตที่อยากทำจริงๆและเริ่มคิดถึงกรอบภายนอกและความเป็นไปได้ที่ไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งคำนั้นก็คิอคำว่า Digital Nomad (ดอจิตอล-โนแมด) หรือแปลตรงตัวว่านักพเนจรในยุคดิจิตอล
Digital Nomad เป็นศัพท์ที่บัญญัติใช้เรียกบุคคล หรือ กลุ่มบุคคล ที่ทำงานอย่างอิสระที่ไหนก็ได้บนโลก ไม่ได้จำกัดตัวเองอยู่ในที่ใดที่หนึ่งหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่ง โดยส่วนมาก กลุ่มคนพวกนี้จะเป็นกลุ่มคนที่ใช้ประโยชน์จากยุค Digital ได้อย่างมีประสิทธิภาพและหลุดกรอบออกจากการทำงานแบบเดิมๆ
ชินพบเห็นคนกลุ่มนี้บ่อยมากตั้งแต่สมัยเมื่อไปเรียนปริญญาตรีที่ออสเตรเลีย ทุกครั้งที่เดินออกจากหอไปขึ้นรถเมล์ ก็จะเห็นผู้คนนั่งกันอยู่ตามร้านกาแฟ ร้านอาหารเช้าต่างๆ อยู่กับคอมพิวเตอร์ คุยโทรศัพท์ นั่งอ่านหนังสือ บางคนนั่งเล่นเกม ซึ่งเราก็ไม่ได้คิดอะไรจนเราเห็นคนกลุ่มนี้บ่อยขึ้นๆ บางวันก็เห็นคนหน้าเดิมๆไปอยู่ในร้านอื่น สถานที่อื่น สวนสาธารณะบ้าง ล็อบบี้โรงแรมบ้าง ในเวลาต่างๆ เช้ากลางวันเย็น เลยเกิดความสงสัยว่าคนกลุ่มนี้เขาทำอะไรกัน
จนมาใช้ชีวิตอีกทีตอนอยู่ที่ยุโรปเมื่อเรียนปริญญาโทที่สวิสเซอแลนด์ ก็ยังเห็นพฤติกรรมประเภทนี้อยู่ค่อนข้างมากในประเทศแถบทวีปยุโรป ตามร้านกาแฟ นั่งคุยกันนั่งประชุมงานตามร้านอาหาร อยู่ทั้งวัน
เราอาจจะเห็นผิวเผินภายนอกว่าชาว Digital Nomad ไม่ได้ทำงานอะไรหรือเปล่า ซึ่งจริงๆแล้ว Digital Nomad เหล่านี้แหละ ที่เป็นเจ้าของแบรนด์ เจ้าของกิจการ เจ้าของบริษัท เจ้าของธุรกิจ SMEs ต่างๆ พวกเขาเหล่านี้ทำงานหนักกว่าหลายๆในเสียอีก เพราะเขาต้องรับผิดชอบชีวิตตัวเอง รับผิดชอบทุกกระบวนการในธุรกิจในแบรนด์ของเขา
ปัจจุบัน ตัวผมเองก็จัดอยู่ในประเภท Digital Nomad เช่นกันเนื่องจากเราเป็นคนจัดการทุกอย่างในแบรนด์ Hero Athletes ของเราทั้งหมด และธุรกิจอื่นๆที่เราเป็นเจ้าของอีกหลายๆแบรนด์ เราไปที่ไหนก็สามารถคิดผุดไอเดียที่จะมาทำงานได้อย่างอิสระ ไปที่ไหนก็ได้ขอแค่มีมือถือ คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เนต อย่างปีที่ผ่านมาไม่ว่าผมจะเดินทางต่างประเทศ ไปยุโรปหรือไปจีน ก็ยังสามารถทำงานทำคอนเท้นท์ได้ตลอดเวลาโดยไม่มีหยุด
อาจจะเหมือนว่าพักร้อนตลอดเวลา แต่ความเป็นจริงการทำงานแบบนี้คือหนักไม่แพ้ใคร เพราะจริงๆแล้วการจะหลุดกรอบออกมาเป็น Digital Nomad นั้นไม่ง่ายเลย กว่าจะมาถึงตรงนี้ได้ก็เป็นอะไรที่สาหัสมากเช่นกัน โดนทั้งดิสเครดิต โดนห้าม โดนสังคมหาว่าแปลกแยก โดนฉุดโดนรั้งไว้ตลอด แต่ผมไม่ฟัง และตั้งใจสร้างสรรค์สิ่งดีๆให้สงคมต่อ ต้องใช้ความกล้าค่อนข้างมากที่จะปฏิเสธงานประจำ และมั่นใจว่าเป้าหมายที่เรากำลังทำอยู่นั้นคืออะไร ไอเดียของเราคืออะไร ลงมือแก้ปัญหาทุกอย่างด้วยตนเอง เพราะความรับผิดชอบอยู่ที่เราทั้งหมด เดินหน้า อย่างแน่วแน่และไม่ถอยหลัง กล้าคิด กล้าลงมือ และไม่สนคำครหานินทาของใคร เพราะเราได้ก้าวมาสูงเกินที่จะมองลงไปฟังคนที่อยู่ข้างล่างเราที่ได้แต่พูดว่าเราทำไมได้ ในขณะที่พวกเค้าก็อิจฉาลึกๆอยู่ในใจและอยากหลุดกรอบให้ได้เหมือนกัน ผมบอกเลยว่ามันไม่เกี่ยวกับเงิน แต่มันอยู่ที่ใจและไอเดียล้วนๆ
คนส่วนใหญ่ยังเลือกที่จะทำงานที่ใดที่หนึ่งอยู่
อาจจะเป็นเพราะ
1.ความรู้สึกว่าเป็นส่วนใดส่วนหนึ่งขององค์กร
2.ความรู้สึกว่ามั่นคง
3.ความกลัวที่จะก้าวข้ามออกจาก Comfort Zone
4.การโดนหล่อหลอมทางความคิดจากสิ่งที่พบเห็นและประสบการณ์ที่สั่งสมมาตั้งแต่กำเนิด
บทความนี้มีเป้าประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจใหม่กับคำว่า ‘งาน’ ในทางภาษาศาสตร์ (Linguistic) และอยากเป็นแรงบันดาลใจให้เพื่อนๆที่มีความฝันของตัวเองและต้องการจะหลุดกรอบออกจากอะไรเดิมๆออกมากล้าคิดกล้าลงมือทำสิ่งที่ต้องการ และกระตุ้นให้เพื่อนๆที่มีความคิดความสามารถลงมือทำอย่างไม่ต้องกลัวเสียใจ แต่ถ้าใครที่เป้าหมายแน่วแน่ในการทำงานสายงานของตนเองอยู่แล้วผมก็เป็นกำลังใจให้และไม่ขัดเช่นกัน
ชีวิตเรามีชีวิตเดียวครับ ไม่มีเวลาให้คิดย้อนกลับไปเมื่อวานหรือวินาทีที่แล้ว ใช้ให้มีประโยชน์ที่สุด ลุยแล้วไม่ต้องหันหลังกลับ
Chin
CEO Hero Athletes
#heroathletes
#digitalnomad
#knowledgeispower
#kill
「เจ้าของธุรกิจ เงินเดือน」的推薦目錄:
เจ้าของธุรกิจ เงินเดือน 在 Hero Athletes Facebook 的最佳貼文
#repost
Hero Athletes - Digital Nomad: อิสระในการใช้ชีวิต
——————————-——————————
เมื่อใดที่เรานึกถึงคำว่า ‘ทำงาน’ เป็นอะไรที่หลีกเลี่ยงยากที่จะไม่นึกถึงกลุ่มคำประเภท
ออฟฟิศ, เงินเดือน, เจ้านาย, คำสั่ง, ตอกบัตรเข้าทำงาน, เพื่อนร่วมงาน, นินทา, ทำงานล่วงเวลา
ซึ่งหลายๆคนไม่ต้องการที่จะใช้ชีวิตในกรอบนี้แต่ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ไม่ว่าด้วยเหตุปัจจัยอะไรหลายๆอย่าง แต่อะไรล่ะที่มาหยุดคุณ จำกัดกรอบของคุณ ?
สายงานจริงเหรอ ? เค้าก็ไม่ได้บังคับให้เราไปทำนี่
ที่ทำงานจริงเหรอ ? เค้าก็ไม่ได้บังคับให้เราไปเลือกนี่
สภาพสังคมเหรอ ? เค้าก็ไม่ได้บังคับให้เราต้องตามนี่
แต่กลับเป็นคุณต่างหากที่รับผิดชอบทุกการกระทำของชีวิตคุณ และใช่ ที่คุณไม่พอใจกับที่ยืนอยู่ทุกวันนี้ก็เพราะตัวคุณเองนั่นแหละที่ต้องรับผิดชอบมัน
ถามว่าการทำงานในที่ทำงานหนึ่งมีอะไรผิดไหม คำตอบคือไม่ผิดเลยถ้าเป็นสายงานคุณหรือสิ่งที่คุณต้องการทำอยู่แล้ว (ชินเคยทำงานโรงแรมมา 2 ปี และชอบมันมาก) แต่มันอาจจะมีส่วนผิดถ้ามันไม่ใช่สิ่งที่คุณต้องการและคุณต้องทำการกระทำสวนกับความคิดของตัวเอง (เมื่อเป้าหมายเราเปลี่ยน ความคิดเราก็เปลี่ยนตามเช่นกัน ซึ่งก็ไม่ได้อยากทำงานโรงแรมมากเหมือนแต่ก่อนแล้ว)
ชินจะมาเสนอคำหนึ่งซึ่งอาจจะทำให้ใครหลายๆคนตระหนักคิดถึงอะไรในชีวิตที่อยากทำจริงๆและเริ่มคิดถึงกรอบภายนอกและความเป็นไปได้ที่ไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งคำนั้นก็คิอคำว่า Digital Nomad (ดิจิตอล-โนแมด) หรือแปลตรงตัวว่านักพเนจรในยุคดิจิตอล
Digital Nomad เป็นศัพท์ที่บัญญัติใช้เรียกบุคคล หรือ กลุ่มบุคคล ที่ทำงานอย่างอิสระที่ไหนก็ได้บนโลก ไม่ได้จำกัดตัวเองอยู่ในที่ใดที่หนึ่งหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่ง โดยส่วนมาก กลุ่มคนพวกนี้จะเป็นกลุ่มคนที่ใช้ประโยชน์จากยุค Digital ได้อย่างมีประสิทธิภาพและหลุดกรอบออกจากการทำงานแบบเดิมๆ
ชินพบเห็นคนกลุ่มนี้บ่อยมากตั้งแต่สมัยเมื่อไปเรียนปริญญาตรีที่ออสเตรเลีย ทุกครั้งที่เดินออกจากหอไปขึ้นรถเมล์ ก็จะเห็นผู้คนนั่งกันอยู่ตามร้านกาแฟ ร้านอาหารเช้าต่างๆ อยู่กับคอมพิวเตอร์ คุยโทรศัพท์ นั่งอ่านหนังสือ บางคนนั่งเล่นเกม ซึ่งเราก็ไม่ได้คิดอะไรจนเราเห็นคนกลุ่มนี้บ่อยขึ้นๆ บางวันก็เห็นคนหน้าเดิมๆไปอยู่ในร้านอื่น สถานที่อื่น สวนสาธารณะบ้าง ล็อบบี้โรงแรมบ้าง ในเวลาต่างๆ เช้ากลางวันเย็น เลยเกิดความสงสัยว่าคนกลุ่มนี้เขาทำอะไรกัน
จนมาใช้ชีวิตอีกทีตอนอยู่ที่ยุโรปเมื่อเรียนปริญญาโทที่สวิสเซอแลนด์ ก็ยังเห็นพฤติกรรมประเภทนี้อยู่ค่อนข้างมากในประเทศแถบทวีปยุโรป ตามร้านกาแฟ นั่งคุยกันนั่งประชุมงานตามร้านอาหาร อยู่ทั้งวัน
เราอาจจะเห็นผิวเผินภายนอกว่าชาว Digital Nomad ไม่ได้ทำงานอะไรหรือเปล่า ซึ่งจริงๆแล้ว Digital Nomad เหล่านี้แหละ ที่เป็นเจ้าของแบรนด์ เจ้าของกิจการ เจ้าของบริษัท เจ้าของธุรกิจ SMEs ต่างๆ พวกเขาเหล่านี้ทำงานหนักกว่าหลายๆในเสียอีก เพราะเขาต้องรับผิดชอบชีวิตตัวเอง รับผิดชอบทุกกระบวนการในธุรกิจในแบรนด์ของเขา
ปัจจุบัน ตัวผมเองก็จัดอยู่ในประเภท Digital Nomad เช่นกันเนื่องจากเราเป็นคนจัดการทุกอย่างในแบรนด์ Hero Athletes ของเราทั้งหมด และธุรกิจอื่นๆที่เราเป็นเจ้าของอีกหลายๆแบรนด์ เราไปที่ไหนก็สามารถคิดผุดไอเดียที่จะมาทำงานได้อย่างอิสระ ไปที่ไหนก็ได้ขอแค่มีมือถือ คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เนต อย่างปีที่ผ่านมาไม่ว่าผมจะเดินทางต่างประเทศ ไปยุโรปหรือไปจีน ก็ยังสามารถทำงานทำคอนเท้นท์ได้ตลอดเวลาโดยไม่มีหยุด
อาจจะเหมือนว่าพักร้อนตลอดเวลา แต่ความเป็นจริงการทำงานแบบนี้คือหนักไม่แพ้ใคร เพราะจริงๆแล้วการจะหลุดกรอบออกมาเป็น Digital Nomad นั้นไม่ง่ายเลย กว่าจะมาถึงตรงนี้ได้ก็เป็นอะไรที่สาหัสมากเช่นกัน โดนทั้งดิสเครดิต โดนห้าม โดนสังคมหาว่าแปลกแยก โดนฉุดโดนรั้งไว้ตลอด แต่ผมไม่ฟัง และตั้งใจสร้างสรรค์สิ่งดีๆให้สงคมต่อ ต้องใช้ความกล้าค่อนข้างมากที่จะปฏิเสธงานประจำ และมั่นใจว่าเป้าหมายที่เรากำลังทำอยู่นั้นคืออะไร ไอเดียของเราคืออะไร ลงมือแก้ปัญหาทุกอย่างด้วยตนเอง เพราะความรับผิดชอบอยู่ที่เราทั้งหมด เดินหน้า อย่างแน่วแน่และไม่ถอยหลัง กล้าคิด กล้าลงมือ และไม่สนคำครหานินทาของใคร เพราะเราได้ก้าวมาสูงเกินที่จะมองลงไปฟังคนที่อยู่ข้างล่างเราที่ได้แต่พูดว่าเราทำไมได้ ในขณะที่พวกเค้าก็อิจฉาลึกๆอยู่ในใจและอยากหลุดกรอบให้ได้เหมือนกัน ผมบอกเลยว่ามันไม่เกี่ยวกับเงิน แต่มันอยู่ที่ใจและไอเดียล้วนๆ
คนส่วนใหญ่ยังเลือกที่จะทำงานที่ใดที่หนึ่งอยู่
อาจจะเป็นเพราะ
1.ความรู้สึกว่าเป็นส่วนใดส่วนหนึ่งขององค์กร
2.ความรู้สึกว่ามั่นคง
3.ความกลัวที่จะก้าวข้ามออกจาก Comfort Zone
4.การโดนหล่อหลอมทางความคิดจากสิ่งที่พบเห็นและประสบการณ์ที่สั่งสมมาตั้งแต่กำเนิด
บทความนี้มีเป้าประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจใหม่กับคำว่า ‘งาน’ ในทางภาษาศาสตร์ (Linguistic) และอยากเป็นแรงบันดาลใจให้เพื่อนๆที่มีความฝันของตัวเองและต้องการจะหลุดกรอบออกจากอะไรเดิมๆออกมากล้าคิดกล้าลงมือทำสิ่งที่ต้องการ และกระตุ้นให้เพื่อนๆที่มีความคิดความสามารถลงมือทำอย่างไม่ต้องกลัวเสียใจ แต่ถ้าใครที่เป้าหมายแน่วแน่ในการทำงานสายงานของตนเองอยู่แล้วผมก็เป็นกำลังใจให้และไม่ขัดเช่นกัน
ชีวิตเรามีชีวิตเดียวครับ ไม่มีเวลาให้คิดย้อนกลับไปเมื่อวานหรือวินาทีที่แล้ว ใช้ให้มีประโยชน์ที่สุด ลุยแล้วไม่ต้องหันหลังกลับ
Chin
#heroathletes
#digitalnomad
#knowledgeispower
#kill
เจ้าของธุรกิจ เงินเดือน 在 Backpacker by Peter / น้าเตอร์ท่องโลก Facebook 的最佳貼文
Apply for VISA to Italy
Visa fees 2521 baht.
Service charge 500 baht.
SMS service fee 60 baht.
Total 3081 baht
ดูรายละเอียดการขอได้ที่ http://www.vfsglobal.com/italy/thailand/
1. แบบฟอร์มสามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://www.vfsglobal.com/italy/thailand/tourist.html
2. รูปถ่ายสี ณ ปัจจุบัน 2ใบ (พื้นหลังขาว)ต้องเป็นรูปถ่ายสีไม่เกิน 6 เดือน สามารถไปถ่ายที่ vfs ได้รูปทันที มี 6 รูป ค่าบริการ 250 บาท
3. หนังสือเดินทางที่มีอายุไม่น้อยกว่า 6เดือน ณ วันที่ยื่นคำร้องขอวีซ่าและต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 90วัน หลังจากสิ้นสุดวีซ่าตามที่ระบุในคำร้องขอ
4. เอกสารใบจองตั๋วเครื่องบิน ไป-กลับ เอกสารต้องออกโดยสารการบินเท่านั้น โดยมีหัวจดหมายและชื่อผู้สมัครอย่างครบถ้วน โดยมีวิธีการออกตั๋วโดยสารดังนี้
- จองผ่านสายการบินโดยตรง กรณีนี้ส่วนมากชำระค่าตั๋วเครื่องแล้ว
- จองผ่านเอเย่น กรณีนี้สามารถจองตั๋วเครื่องบินไว้ก่อน แล้วค่อยชำระทีหลังได้ ที่สำคัญต้องมีข้อมูลผู้ยื่นขอวีซ่า เช่น วันเวลาเดินทาง สายการบิน ชื่อสกุลผู้โดยสาร
5. เอกสารยืนยันการจองที่พัก ตลอดระยะการเดินทาง เอกสารจองทางออนไลน์ ต้องมีตราประทับจากโรงแรม และลายเซ็น กรณีเดินทางเป็นกลุ่มกรุณายื่นเอกสารจองพร้อมลายชื่อผู้สมัครทุกท่าน และต้องมีเลขที่การจองอย่างชัดเจน เช่น
- จองผ่านเว็บไซด์ของโรงแรมโดยตรง ต้องมีตราโรงแรมและลายเซ็น
- จองกับ booking.com, agoda ใช้เพียงอีเมล์ยืนยันการจองที่พักเท่านั้น และต้องมีชื่อ-สกุลของผู้เข้าพัก
6. แผนการเดินทาง ที่ระบุวันที่และเมืองที่จะพำนักอย่างครบถ้วน
7. เอกสารแสดงสถานะทางการเงิน ณ ประเทศที่พำนัก
- แสดงหลักฐานทางการเงินย้อนหลัง 3 เดือนซึ่งต้องมีความเคลื่อนไหวของบัญชีอย่างสม่ำเสมอของผู้สมัคร
- และหนังสือรับรองจากทางธนาคารตัวจริงเป็นภาษาอังกฤษซึ่งไม่เกิน 15 วันนับจากวันที่สมัคร
8. หนังสือรับรอง
- พนักงานบริษัท : หนังสือรับรองจากบริษัทที่ระบุตำแหน่ง เงินเดือน วันที่เข้าทำงาน และวันลา
- ข้าราชการ : หนังสือรับรองตำแหน่ง เงินเดือนจากต้นสังกัด
- เจ้าของธุรกิจ : หนังสือจดทะเบียนบริษัท/ห้างหุ้นส่วน
- ข้าราชการบำนาญ : สำเนาบัตรข้าราชการบำนาญ
- นักเรียน/นักศึกษา : หนังสือรับรองจากสถาบันที่ศึกษาอยู่
- อาชีพอิสระ : หนังสือแนะนำตนเอง
9. ทะเบียนบ้านตัวจริงพร้อมสำเนา พร้อมเอกสารแปลเป็นภาษาอังกฤษ
10. เอกสารการเปลี่ยน ชื่อ นามสกุลที่ออกโดยทางสำนักงานเขต ตัวจริงและสำเนา พร้อมแปลเป็นภาษาอังกฤษ
11. กรมธรรม์การเดินทางต่างประเทศ ต้องครอบคลุมวันที่เดินทางสำหรับการรักษาพยาบาลฉุกเฉิน และค่าใช้จ่ายการส่งกลับประเทศระบุวงเงินครอบคลุมไม่ต่ำกว่า 30,000 ยูโร หรือ 1.500,000 บาท พร้อมลายเซ้น ตราประทับ จากทางบริษัทประกัน พร้อมแสดงตัวจริงและสำเนา รวมถึงต้องเป็นประกันการเดินทางที่ใช้ได้ในกลุ่มประเทศสมาชิกเชงเกน
เอกสารที่ไม่ได้ในใบตรวจเอกสารแต่เจ้าหน้าที่ขอตรวจเอกสารเพิ่ม
12. สำเนาหน้าแรกของหนังสือเดินทาง 2 ชุด
13. สำเนาวีซ่าเชงเก้น, อเมริกา และอังกฤษ ( ถ้าวีซ่าอยู่ในหนังสือเดินทางเล่มเก่าให้ถ่ายสำเนาหน้าแรกหนังสือเดินทางเล่มเก่าด้วย)
ระยะเวลาพิจารณาวีซ่า 4-5 วัน หนังสือเดินทางเล่มเก่าไม่ต้องยื่น เจ้าหน้าที่ขอเอกสารแค่ตัวสำเนาเท่านั้น
กรณีของผมยืนเอกสารวันที่ 22 เมษายน 2014 ได้รับแจ้งให้มารับเล่มพาสปอร์ตวันที่ 24 เมษายน 2014 ใช้เวลา 2 วัน แต่ผู้ยื่นคำร้องขอวีซ่าจำเป็นต้องยื่นคำร้องขอวีซ่าอย่างน้อยที่สุด 15 วันทำการก่อนกำหนดการเดินทาง
เจ้าของธุรกิจ เงินเดือน 在 เงินเดือนเจ้าของกิจการ... - บัญชีอย่างง่าย เพื่อเจ้าของ ... - Facebook 的推薦與評價
การตั้งเงินเดือนให้เจ้าของกิจการถือเป็นการดึงเงินออกจากกิจการได้อย่างถูกต้อง และเงินเดือนส่วนนี้จะถือเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการได้อย่างครบถ้วน. จะดีแค่ไหนถ้า ... ... <看更多>