กรณีศึกษา เหตุผลที่ Disney+ Hotstar เลือกจับมือกับ AIS / โดย ลงทุนแมน
เมื่อสองวันก่อน ข่าวที่ทำให้หลายคนสนใจ
คงหนีไม่พ้นการที่ทาง Disney+ Hotstar ประกาศเปิดบริการในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ
ซึ่งจะเปิดบริการวันแรกคือ 30 มิถุนายน 2564
โดยจะมีภาพยนตร์กว่า 700 เรื่อง และซีรีส์กว่า 14,000 ตอนให้เรารับชม
คิดอัตราค่าบริการปีละ 799 บาทต่อปี หรือเฉลี่ยเดือนละ 66.58 บาท
แต่ที่ทำให้หลายคนตื่นเต้น กลับเป็นเรื่องของ AIS ที่ประกาศว่าสำหรับลูกค้า AIS
จ่ายค่าบริการ Disney+ Hotstar ถูกกว่าเกือบเท่าตัวคือเดือนละ 35 บาท
เดือนที่ 2 ฟรี จากนั้นเดือนที่ 3 จนถึงเดือนที่ 13 จ่าย 35 บาท เหมือนเดิม
รวมเป็นจ่าย 420 บาท ดูได้ทั้งหมด 13 เดือน
พอเป็นแบบนี้ก็น่าจะทำให้ AIS กลายเป็นผู้ให้บริการ Video Streaming ระดับ Premium
ที่มีราคาเข้าถึงง่ายหากเทียบกับ Video Streaming เจ้าอื่น ๆ
เบื้องหลังของเรื่องนี้ก็น่าจะมาจากการที่ AIS เป็น Operator
และบริษัทไทยเพียงรายเดียวที่ทาง Disney+ Hotstar เลือกเป็นพาร์ตเนอร์
แล้วทำไม AIS ถึงได้เข้าร่วมทำธุรกิจนี้ และสามารถตั้งราคาได้ถูกขนาดนี้
ลงทุนแมนจะวิเคราะห์ให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
รู้หรือไม่ว่า Disney+ เปิดบริการแค่ 1 ปีกับ 6 เดือนมีผู้ใช้บริการสูงถึง 103.6 ล้านคน ใน 65 ประเทศทั่วโลก
การเติบโตแบบก้าวกระโดดนี้ ก็น่าจะทำให้ Disney+ กลายเป็นผู้ท้าชิงที่สมน้ำสมเนื้อกับ Netflix เจ้าตลาด Video Streaming ของโลก
ส่วนเรื่องที่หลายคนสงสัยว่าทำไม Disney+ ต้องมีคำว่า Hotstar ต่อท้าย
เรื่องนี้คงต้องย้อนกลับไปในปี 1992 เมื่อบริษัท Star India ซึ่งก็มีธุรกิจ Video Streaming
ที่ใช้ชื่อว่า Hotstar ได้ทยอยขายหุ้นให้แก่บริษัท Fox จนหมด
และก็อย่างที่เรารู้กันก็คือ เมื่อ 2 ปีที่แล้ว Disney ได้ลงทุนซื้อกิจการ Fox ทั้งหมด
ด้วยมูลค่า 71,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ซึ่งนั่นก็แปลว่า Hotstar ที่ทำธุรกิจ Video Streaming ก็จะมาอยู่ในมือของ Disney ทันที
เมื่อ Disney+ เข้ามาทำธุรกิจ Video Streaming ในแถบเอเชีย ก็จะใช้ชื่อว่า Disney+ Hotstar อย่างเช่น ในประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์
ความน่าสนใจมันอยู่ตรงประเด็นที่ Disney+ จะทำอย่างไรให้มีสมาชิกได้รวดเร็วที่สุด
คำตอบก็คือ ในหลาย ๆ ประเทศที่ Disney+ เข้าไปทำธุรกิจนั้น Disney+ เลือกที่จะจับมือเป็นพาร์ตเนอร์กับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่
และในประเทศไทย Disney+ ก็ได้เลือก AIS เป็นพาร์ตเนอร์
ธรรมชาติของโมเดลธุรกิจที่เป็น Video Streaming คือไม่มีต้นทุนแปรผันตามจำนวนผู้ใช้งาน
หรือพูดง่าย ๆ ก็คือต่อให้มีผู้ใช้หลักแสนหรือหลักล้านคน
ต้นทุน Disney+ Hotstar ก็ยังเกือบ ๆ จะเท่าเดิม เช่น ค่าใช้จ่ายพัฒนาระบบ การซื้อคอนเทนต์ ค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์
สรุปก็คือต่อให้มีลูกค้าน้อยหรือจำนวนมาก ต้นทุนก็เกือบจะคงที่หรือที่เรียกว่า Fixed Cost นั่นเอง
พอเป็นแบบนี้เมื่อ Disney+ Hotstar เข้าไปทำธุรกิจในแต่ละประเทศ
ก็ย่อมต้องการจำนวนฐานสมาชิกให้มากที่สุด และเร็วที่สุด
และการจะทำอย่างนั้นได้ก็คือต้องมองหาบริษัทที่มีฐานลูกค้าจำนวนมหาศาล และมีโครงสร้างธุรกิจที่รองรับ Video Streaming
ซึ่งหากคิดจะทำธุรกิจในประเทศไทย ตัวเลือกที่น่าจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุดก็น่าจะเป็น AIS
ปัจจุบัน AIS มีลูกค้าเกือบ 43 ล้านเลขหมาย
และลูกค้าอินเทอร์เน็ตบ้านความเร็วสูง 1.43 ล้านราย
ด้วยฐานลูกค้าจำนวนมหาศาลขนาดนี้ Disney+ Hotstar น่าจะมองว่าหากเป็นพาร์ตเนอร์กับ AIS
พร้อมกับร่วมกันทำราคาที่จับต้องได้ง่าย ในช่วงวิกฤติโควิด 19 เช่นนี้
จำนวนสมาชิกในประเทศไทยก็น่าจะเติบโตรวดเร็วแบบก้าวกระโดด
แม้อีกขาหนึ่ง Disney+ Hotstar จะมีโมเดลธุรกิจเป็นของตัวเองที่ไม่ได้ผูกติดกับ AIS ก็ตาม
ส่วนเหตุผลอีกข้อก็น่าจะมาจากคุณภาพสัญญาณของ AIS
อย่าลืมว่าภาพยนตร์และซีรีส์ต่าง ๆ ของ Disney+ Hotstar คือ Full HD 1080p จนถึง 4K
หากคลื่นสัญญาณของ Device ไม่สามารถรองรับคอนเทนต์เหล่านี้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
ก็จะทำให้เสียอรรถรสในการรับชม เช่น ภาพค้าง ภาพกะพริบเป็นจังหวะ
ซึ่งปัจจุบัน AIS ถือเป็น Operator อันดับ 1 ของประเทศ
ที่มีคลื่นมากที่สุดและคุณภาพสัญญาณที่ดีที่สุด
อย่างในปี 2020 ที่ผ่านมา AIS ลงทุนในการพัฒนาเครือข่ายสัญญาณ 4G และ 5G รวมกัน 35,000-45,000 ล้านบาท
สุดท้ายก็น่าจะเป็นเรื่องของความสะดวกสบาย
เพราะการจับมือกับ AIS ทาง Disney+ Hotstar ไม่ต้องวุ่นวายกับการเก็บค่าบริการรายเดือน
ไม่ต้องใช้เงินทำโฆษณาและทำการตลาดเอง และอาจรวมไปถึงไม่ต้องดูแลลูกค้าเองอีกด้วย
พอเรื่องเป็นแบบนี้ก็น่าจะ Win-Win ทั้งสองฝ่าย
Disney+ Hotstar น่าจะมีจำนวนสมาชิกเติบโตแบบติดจรวดโดยที่ไม่ต้องเหนื่อยมากนัก
ส่วนลูกค้าของ AIS ที่ได้สิทธิประโยชน์นี้ ก็ทำให้มีลูกค้าที่จะเปลี่ยนค่ายออกไปน้อยลง ในขณะที่กลุ่มคนที่ต้องการดู Disney+ ก็จะย้ายเข้ามาหา AIS มากขึ้น ทั้งในกลุ่มโทรศัพท์เคลื่อนที่และอินเทอร์เน็ตบ้าน
เพราะด้วยอัตราค่าบริการ Disney+ Hotstar ที่ถูกกว่าปกติเกือบเท่าตัว
น่าจะทำให้คนจำนวนไม่น้อยที่ใช้บริการค่ายอื่น ๆ ย้ายมาเป็นลูกค้า AIS
ส่วนประเด็นที่ว่า AIS เองก็มีธุรกิจ Video Streaming อย่าง AIS PLAY
จะทับซ้อนหรือแย่งชิงลูกค้ากันเองหรือไม่
เท่าที่ดูคอนเทนต์ของ 2 แพลตฟอร์มนี้ AIS PLAY จะมีคอนเทนต์ที่บรรจุอยู่ข้างในเป็นคนละแบบกับ Disney+ Hotstar ซึ่งไม่น่าจะทับซ้อนกัน
เรื่องนี้เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ
ทำไม AIS ถึงหันมาทำธุรกิจอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ธุรกิจผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่และอินเทอร์เน็ตบ้าน
สาเหตุก็เพราะการมีฐานลูกค้าอยู่ในมือราว ๆ 60% ของจำนวนประชากรในประเทศ
มันเป็นข้อได้เปรียบที่ไม่มีใครมี และสามารถนำไปต่อยอดธุรกิจอื่น ๆ ได้อีก
และการจับมือกับ Disney+ Hotstar ในครั้งนี้ ด้วยราคาแบบนี้
ก็น่าจะเปิดธุรกิจใหม่กับ AIS ให้มีจำนวนสมาชิกแบบก้าวกระโดดตั้งแต่วันแรก..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://en.wikipedia.org/wiki/Disney%2B
-https://www.cnbc.com/2021/03/09/disney-tops-100-million-subscribers-just-16-months-after-launch.html?__source=newsletter%7Ceveningbrief
-https://brandinside.asia/disney-plus-thailand-why-hotstar/?fbclid=IwAR2vQDl_9WbEYmgiOJ4gFfX6AxHsAVuu7Z8BwlVH91IyJbbHzhP6WcwbpMg
-งานแถลงข่าวออนไลน์ของ AIS
- รายงานประจำปี บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน).
「เจ้าอื่น」的推薦目錄:
- 關於เจ้าอื่น 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
- 關於เจ้าอื่น 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
- 關於เจ้าอื่น 在 Eat with Pal Li - พี่แป๋วพากินเที่ยวสิงคโปร์ฮ่องกง Facebook 的最讚貼文
- 關於เจ้าอื่น 在 ชิ้นใหญ่ เข้มข้นกว่าเจ้าอื่น ไม่คาว ไม่หืน กรอบ เต็มคำ | อยากรู้ไหมข้าง ... 的評價
- 關於เจ้าอื่น 在 หนุ่มหนองมน อย่าแผ่ว - " รวยกับเจ้าอื่น ... แต่ ... 的評價
เจ้าอื่น 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
กรณีศึกษา เส้นทางการเติบโตของ LINE SHOPPING ที่น่าจับตามอง
LINE SHOPPING X ลงทุนแมน
47 ล้านคน คือจำนวนผู้ใช้ LINE ในประเทศไทย
ตัวเลขนี้ กำลังบอกกับเราว่า LINE ได้กลายเป็น App Chat แทรกซึมอยู่ในชีวิตประจำวันของคนไทย
ทุกเพศทุกวัย ทุกอาชีพ ทั้งในเมืองและต่างจังหวัด
และที่สำคัญคือ “ทุกเวลา”
แต่ในคำว่า “ทุกเวลา” หลายคนอาจยังไม่รู้
จริง ๆ แล้ว LINE ยังมีอีกหนึ่งแพลตฟอร์ม ที่กำลังเติบโตอย่างน่าสนใจ
นั่นคือ LINE SHOPPING โดยภายในเวลาแค่ 2 ปี มีจำนวนผู้ใช้เติบโตขึ้นถึง 2 เท่า
ความน่าสนใจของเรื่องนี้ก็คือหากเทียบกับ E-Commerce ยักษ์ใหญ่ต่าง ๆ ในบ้านเรา
LINE SHOPPING ไม่ค่อยโฆษณาและทำตลาดเชิงรุกมากนัก
แต่ก็ยังมีตัวเลขเติบโตได้อย่างน่าสนใจ
คำถามก็คือแล้ว LINE SHOPPING สร้างความต่างจาก E-Commerce เจ้าอื่น ๆ อย่างไร
ลงทุนแมนจะวิเคราะห์ให้ฟัง
เราเคยสังเกตบ้างไหม LINE เป็นเสมือนความคุ้นเคยบนโทรศัพท์มือถือของเรา
ตื่นเช้ามาก็ต้องดู Chat, หากหิวก็สั่ง LINE MAN, อยากนอนดูซีรีส์ละครก็ LINE TV
จะเห็นว่าวิธีคิดของ LINE คือทำให้คนไทยใช้เวลากับแพลตฟอร์ม LINE ให้มากที่สุด
ด้วยการสร้าง Life Infrastructure หรือโครงสร้างพื้นฐานชีวิตประจำวันบนโลกออนไลน์
แล้วหนึ่งในพฤติกรรมที่คนไทยต้องทำเกือบทุกวันก็คือ “ช็อปออนไลน์” นั่นเอง
ความน่าสนใจมันเลยมาอยู่ตรงนี้ โดยช่วงที่ผ่านมา LINE ได้ล่วงรู้พฤติกรรมอย่างหนึ่งที่น่าสนใจ
เพราะรู้หรือไม่ว่า ในโลกของธุรกิจ E-Commerce ที่เติบโตแบบก้าวกระโดด
กว่า 60% จะมาปิดการขายกันที่ Social Commerce
อธิบายสั้น ๆ ก็คือหาก 100 คนซื้อสินค้าในออนไลน์
จะมีถึง 60 คนเลยทีเดียว ที่จะมาสนทนา, ตกลงราคา, โอนเงิน, แจ้งสลิปส่งสินค้า
ผ่านทาง IG, Facebook และ LINE นั่นเอง
สรุปก็คือ LINE มองว่า Social Commerce เป็นส่วนหนึ่งของพฤติกรรมการช็อปปิงของคนไทยไปแล้ว
ทีนี้ LINE ก็มองว่าตัวเองถือเป็นส่วนสำคัญในโลกของ E-Commerce ที่เติบโต
แล้วทำไม LINE ไม่ทำให้ตัวเองกลายเป็นสังคมขนาดใหญ่ในการซื้อ-ขายสินค้า
ก็เลยเป็นที่มาของ LINE SHOPPING ที่เป็น Social Commerce อย่างเต็มรูปแบบเมื่อ 2 ปีที่แล้ว
โดยมีเป้าหมายช่วยขับเคลื่อนธุรกิจของคนขายออนไลน์มือสมัครเล่น, ธุรกิจขนาดเล็ก
ไปจนถึงแบรนด์ยักษ์ใหญ่ต่าง ๆ ซึ่งนั่นแปลว่า LINE SHOPPING ก็จะมีสินค้าให้เลือกช็อปสารพัดมากมาย จากการรวบรวมร้านค้าที่ใช้ LINE ในการขายอยู่แล้ว
ที่น่าสนใจคือ LINE SHOPPING ถือเป็นพื้นที่รวมดีลร้านค้าออนไลน์ต่าง ๆ
ให้คนสามารถค้นหาร้านค้าและช็อปได้ง่าย ๆ และทุก ๆ ครั้งในการช็อป
ก็จะมีการแจก LINE POINTS ที่ให้ลูกค้าสะสมโดย 1 POINT = 1 บาท
เพื่อใช้เป็นส่วนลดในการช็อปครั้งต่อ ๆ ไป
ฟังดูผิวเผินอาจไม่เห็นความแตกต่างหากเทียบกับ E-Commerce ยักษ์ใหญ่รายอื่น ๆ
เพียงแต่.. จุดตัดมันอยู่ตรงนี้ต่างหาก
อย่างแรกที่เห็นชัดเจนสุดคือในขณะที่ E-Commerce ยักษ์ใหญ่มีเว็บไซต์และ App เป็นของตัวเอง
เพื่อให้ผู้ใช้งานดาวน์โหลด แต่สำหรับ LINE SHOPPING เลือกจะตัดวงจรนี้ทิ้งออกไป
แล้วเลือกจะฝังตัวอยู่ในหน้า Wallet Tab ใน App ของ LINE
ที่ทุกคนก็น่าจะมีติดอยู่ในเครื่องโทรศัพท์มือถือกันอยู่แล้ว
และนี่ก็เป็นที่มาของความ “ต่าง” ที่สอง
ปฎิเสธไม่ได้ว่าคนไทยทุกคนที่โหลด App LINE ก็เพื่อแช็ตสนทนาเรื่องทั่ว ๆ ไปในชีวิตประจำวัน
หนึ่งในนั้นก็คือการเจรจาซื้อ - ขายสินค้า หรือที่เรียกว่า Chat Commerce
ก็เลยทำให้ตอนนั้น LINE พัฒนาฟีเจอร์การใช้งานเกี่ยวกับซื้อ - ขาย
ซึ่งที่ผ่านมาก็ได้รับความนิยมอย่างสูง
จากนั้นก็พัฒนา MyShop ที่มีฟีเจอร์มากมายเพื่อเป็นตัวช่วยร้านค้าให้สะดวกสบายในการทำธุรกิจ
เป้าหมายก็เพื่อให้ LINE SHOPPING กลายเป็นศูนย์รวมแหล่งร้านค้านั่นเอง
จะเห็นว่า LINE SHOPPING เลือกจะพัฒนาหลาย ๆ อย่าง
เพื่อไปเสริม “จุดแข็ง” ตัวเองคือ Chat Commerce ซึ่งก็ถือว่าเป็นอะไรที่มาถูกทาง
แล้วหากสรุปข้อดีโมเดลธุรกิจ LINE SHOPPING ก็น่าจะมี 3 ข้อหลัก ๆ
1.ไม่ได้จำกัดแค่อยู่ในแพลตฟอร์มตัวเองแต่เป็นเครื่องมือให้ผู้ที่ขายใน LINE, Facebook, IG อยู่แล้วสามารถขายสินค้าได้สะดวกและง่ายขึ้นผ่านทาง LINE SHOPPING ซึ่งก็อยู่ใน Wallet Tab ของ LINE
ทำให้ผู้ใช้งานไม่ต้องโหลด App ใหม่
2. แล้วการมี LINE SHOPPING อยู่ในหน้า Wallet Tab ก็ทำให้นักช็อปเจอร้านค้าต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น
3. การผสมผสานจุดแข็งของ Social Network เข้ากับจุดแข็งของ E-commerce
หากสังเกต LINE SHOPPING นำเรื่อง Points, Coupons,
จนถึงการนำระบบสั่งซื้อใน E-commerce มาใช้ในแพลตฟอร์มตัวเอง
ข้อดีคือร้านค้าไม่จำเป็นต้องส่งออเดอร์ลูกค้าไปที่ Marketplace อื่น ๆ
ซึ่งจะทำให้เสียค่าคอมมิชชันอีกต่อหนึ่ง
เพราะฉะนั้นเราสามารถใช้ Marketplace ทำหน้าที่ในการหาลูกค้าให้ร้านค้าได้อย่างเต็มตัวแทน
ส่วนอีกข้อที่เป็นเอกลักษณ์ของ LINE SHOPPING ที่ไม่มีใครเลียนแบบได้ก็คือ “ปฏิสัมพันธ์เชิงบวก”
เคยสังเกตกันบ้างไหม ทุกครั้งที่เราแช็ต LINE คุยกับใครสักคน
เราจะรู้สึกให้ความสนใจคนที่เราสนทนาด้วยเป็นพิเศษหากเทียบกับการแช็ตในช่องทางอื่น ๆ
ก็ไม่ต่างกันหากเราเป็นคนซื้อสินค้าใน LINE SHOPPING ก็จะรู้สึกเป็นกันเองกับร้านค้า
ผลดีก็คือร้านค้าปิดการขายได้ง่าย แถมลูกค้ายังรู้สึกเสมือนร้านค้าเป็นเพื่อนมากกว่าขายสินค้าให้กัน
สิ่งที่ร้านค้าได้ก็คือ มิตรภาพและความไว้ใจของลูกค้า
สังเกตุได้ว่าเราจะจำชื่อร้านค้าที่เราซื้อด้วยใน LINE ได้มากกว่าเวลาเราซื้อจากเว็บไซท์ E-commerce Marketplace เหมือนกับเราได้พูดคุยและซื้อจากร้านค้าโดยตรง มากกว่าซื้อผ่านห้าง
นั่นก็เพราะพื้นฐานของ Social ที่เป็นแพลตฟอร์มให้เราได้มีการพูดคุยสื่อสารกันผ่าน Content
จนทำให้เกิด Influencers ในยุคปัจจุบัน
ต่างจาก Marketplace ที่เป็นเหมือนห้างที่ต้องการให้เรารู้สึกว่าได้ซื้อจากห้างมากกว่า นั้นเอง
ผลที่ตามมาคือ ลูกค้าก็จะกลับมาซื้อสินค้าซ้ำเรื่อย ๆ เป็นการรักษาฐานลูกค้าเก่า
ที่ใช้ต้นทุนน้อยกว่ามาก หากเทียบกับการไปค้นหาลูกค้าใหม่ ที่ต้องใช้เงินเพื่อทำตลาดใหม่นั่นเอง
ทั้งหมดนี้คือเหตุผลที่ทำให้ LINE SHOPPING สร้างการเติบโตอย่างก้าวกระโดด
จนเวลานี้ครบรอบ 2 ปี มีจำนวนร้านค้ากว่า 1 แสนร้านค้า และมีผู้ใช้งาน 6 ล้านคนต่อเดือน
แต่จริง ๆ แล้วหากนับจำนวนคนไทยที่เคยใช้ LINE SHOPPING
ทั้งการกดจาก service icon หน้า Wallet จนถึงจากช่องทางอื่น ๆ ที่ร้านค้าเอาไปโปรโมตแล้วแนบลิงก์เพื่อมาจบการขายใน LINE SHOPPING มีจำนวนถึง 9 ล้านรายเลยทีเดียว
ในความสำเร็จของ LINE SHOPPING ณ วันนี้
ในมุมของ ลงทุนแมน ความน่าสนใจมันเพิ่งจะเริ่มต้นต่างหาก
ถ้าถามว่าหัวใจของธุรกิจบนโลกดิจิทัลไม่ว่าจะเป็นโมเดล Social Media, Subscription
หรือแม้แต่ Social Commerce คนที่ได้เปรียบที่สุด
ก็คือคนที่สามารถสร้างแพลตฟอร์มที่มีผู้คนจำนวนมากอาศัยอยู่
หรือพูดง่าย ๆ ใครที่สร้างสถานที่ที่เต็มไปด้วยผู้คน คนนั้นย่อมมีโอกาสที่ดีกว่า
แล้ว LINE ในประเทศไทย ก็มีตรงนี้อย่างสมบูรณ์แบบ
ไม่ว่าจะเป็นจำนวนผู้ใช้งาน 47 ล้านคน
จนถึง Ecosystem อื่น ๆ ของตัวเอง เช่น LINE TV และ LINE MAN ที่มีจำนวนผู้ใช้หลายล้านคนเช่นกัน
สิ่งที่น่าคิดต่อมาก็คือในอนาคต LINE SHOPPING จะทำอย่างไร
ให้ตัวเองสามารถเชื่อมโยงกับแพลตฟอร์มอื่น ๆ ได้
เพราะอย่าลืมว่า LINE SHOPPING นั้นฝังตัวเป็นส่วนหนึ่งของ App Chat
ต่างจาก LINE TV และ LINE MAN ที่เริ่มด้วยการเป็น Application ที่แยกออกมาต่างหาก
ขณะเดียวกัน LINE SHOPPING ก็จะพัฒนาให้การซื้อ - ขาย ง่ายขึ้น
ที่น่าสนใจอีกเรื่องคือ ณ วันนี้เราเห็น E-marketplace ออกเครื่องมือโฆษณาเพื่อทำเงินจากร้านค้า
โจทย์คือ LINE ที่มีธุรกิจเกี่ยวกับการโฆษณาและ Business Model นี้อยู่แล้ว
จะพัฒนาช่องทางหารายได้นี้อย่างไร
และถ้าทำสำเร็จเมื่อถึงวันนั้น LINE SHOPPING
ก็อาจกลายเป็น Social Commerce ที่ทรงอิทธิพลในเมืองไทย
เพราะฉะนั้นสิ่งที่น่าติดตามต่อไปนี้ก็คือ LINE SHOPPING จะใช้ประโยชน์ตรงนี้ได้ดีแค่ไหน
ในวันที่ E-Commerce ยักษ์ใหญ่รายอื่น ๆ ไม่มีเหมือนกับตัวเอง
ที่สำคัญหาก LINE SHOPPING ทำให้ Social Commerce ของตัวเอง
เป็นส่วนหนึ่งในการช็อปปิงประจำวันของคนไทยได้สำเร็จ
ก็จะช่วยให้เกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไทยมหาศาล
เมื่อถึงวันนั้น ระบบเศรษฐกิจไทย ก็จะถูกอัปเกรดความแข็งแรงขึ้นเรื่อย ๆ โดยอัตโนมัติ..
References:
-ข้อมูลจากบริษัท LINE ประเทศไทย จำกัด
-ฝ่ายธุรกิจ E-Commerce LINE ประเทศไทย
เจ้าอื่น 在 Eat with Pal Li - พี่แป๋วพากินเที่ยวสิงคโปร์ฮ่องกง Facebook 的最讚貼文
❤️ #คุยกันวันหยุด ... ว่าด้วยเรื่อง “ครัวซองท์ร้านโปรด”
.
เห็น #สงครามครัวซองท์ กำลังเดือดระอุในเมืองไทย 🇹🇭
ที่ฮ่องกงยังอยู่ในภาวะปกติ 😆🇭🇰
ร้านใหม่ๆ ไม่ค่อยมี เราก็ยังกินร้านเดิมๆ ของเราต่อ
.
ร้านโปรดของพี่แป๋ว คือ #GontranCherrier (กงทรอง เชอคีเย่) อยู่ที่ K11 MUSEA (Tsim Sha Tsui)
ซึ่งเค้ามีสาขาในไทยด้วย (เปิดก่อนฮ่องกงอีกต่างหาก) 😆
.
ครัวซองท์ของกงทรอง ฮิตติดลมบนในฮ่องกงไปแล้ว
ร้านน่าจะเปิดมาปีกว่าๆ ตอนนี้ ก็ยังเห็นคนมาต่อคิวซื้ออยู่บ้าง(ในบางครั้ง)
.
เท็กซ์เจอร์ของครัวซองท์กงทรอง(ที่ฮ่องกง) จะแปลกและมีเอกลักษณ์มาก
.
คือ แป้งด้านนอกจะบาง เบา กรอบ
แต่ตัวครัวซองท์โดยรวมจะค่อนข้างนิ่ม กัดแล้วยุบยวบๆ
เวลาถือ นิ้วมือแทบจะต้องเกร็ง เพราะเดี๋ยวมันจะบี้ 😆
.
เคยคุยกับเพื่อนที่เป็นเชฟทำครัวซองท์
เพื่อนบอกว่า อาการนี้ น่าจะให้สัดส่วนของเนยเยอะ(ไป) ครัวซองท์เลยนุ่ม(นิ่ม) และไม่ค่อยอยู่ทรง
แต่เราฟังแล้ว ก็ถึงบางอ้อว่า ทำไมถึงหอมเนยมาก
.
พี่แป๋วกินอย่างเดียว ไม่ค่อยสนใจทฤษฎี 😆
กลับกลายเป็นว่า ติดใจเท็กซ์เจอร์แปลกๆ นิ่มยวบๆ ของแบรนด์นี้ไปซะแล้ว
.
================
ในฮ่องกง ร้านครัวซองท์ดังๆ เจ้าอื่น ก็เช่น
- Bakehouse (อันนี้น่าจะดังสุดละตอนนี้)
- Big Grains (เจ้านี้เมื่อก่อนดังมากกกก อยู่ใกล้ๆ Australia Dairy ที่ Jordan บางวันเที่ยงๆ ขายหมดแล้ว ตอนนี้มีหลายสาขาแล้ว แต่วันก่อนไปลอง ความอร่อยดร็อปลงไปเยอะเลย)
- Eric Kayser (ตำนานความดังในอดีต ตอนนี้ไม่ค่อยมีกระแสแล้ว แต่ยังเห็นมีสาขาเยอะอยู่)
.
พี่แป๋วนึกไม่ออกละ ใครอยู่ฮ่องกง ชอบครัวซองท์ร้านไหนกันบ้าง ช่วยพี่แป๋วนึกหน่อย 😆
.
ส่วนคนที่เมืองไทย 🇹🇭 อยากเม้นร้านโปรดก็บอกได้นะคะ
พี่แป๋วกลับไทยแล้วจะตามไปชิม 😋❤️
.
#eatlike852
.
เจ้าอื่น 在 หนุ่มหนองมน อย่าแผ่ว - " รวยกับเจ้าอื่น ... แต่ ... 的推薦與評價
รวยกับเจ้าอื่น ... แต่มาจนกับเจ้านี้ " ท่านเจ้าภาพอยากได้เวที 12 เมตร ไปคุยกับเจ้าอื่น พร้อมจ่ายไม่ต่อราคา มาถึงของเราจะเอาเวที 16 เมตร แต่อยากจ่ายในราคา 12 เมตร ... <看更多>
เจ้าอื่น 在 ชิ้นใหญ่ เข้มข้นกว่าเจ้าอื่น ไม่คาว ไม่หืน กรอบ เต็มคำ | อยากรู้ไหมข้าง ... 的推薦與評價
ชิ้นใหญ่ เข้มข้นกว่า เจ้าอื่น ไม่คาว ไม่หืน กรอบ เต็มคำ “กินกับอะไรก็อร่อย” ไม่ลองไม่ได้แล้ว ... "โอยั๊วะสแน็ค" โปรโมชั่นเดลิเวอรี่ ซื้อครบ 200 บาท ส่งฟรี ‼️ ▪️ "หนังปลาแซลมอนทอดกรอบ" ▪️ "คางกุ้งทอด ... ... <看更多>