เหรียญโอลิมปิก สัมพันธ์กับ ขนาด GDP จริงหรือไม่ /โดย ลงทุนแมน
ถ้าจะให้เราพล็อตเป็นโมเดลแบบง่าย ๆ ว่าจำนวนเหรียญโอลิมปิกที่ได้ของแต่ละประเทศ จะสัมพันธ์กับอะไร ?
- บางคนเลือกขนาดของประชากร ประเทศไหนมีคนมาก ย่อมมีโอกาสที่จะมีนักกีฬาเก่งมาก
แต่ทำไมประเทศที่มีประชากรใกล้เคียงกับไทย คือ สหราชอาณาจักร และ ฝรั่งเศส ได้เหรียญทองเป็นจำนวนมาก เมื่อเทียบกับไทย
แปลว่า "จำนวนเหรียญโอลิมปิก" ไม่ได้สัมพันธ์ กับ "จำนวนประชากร"
แล้วถ้าไม่ใช่ประชากร แต่เป็น "GDP ของประเทศ" หล่ะ ? มันจะสัมพันธ์กันแค่ไหน
เมื่อไปดูอันดับเหรียญโอลิมปิก เทียบกับ อันดับ GDP ประเทศ เราจะเห็นว่ามีหลายอย่างที่สัมพันธ์กันอย่างเหลือเชื่อ
- อันดับหนึ่งคือ สหรัฐอเมริกา อันดับสองคือ จีน อันดับสาม คือ ญี่ปุ่น สามอันดับนี้เหมือนกันทั้งอันดับโอลิมปิก และอันดับ GDP
- และเมื่อดูอันดับโอลิมปิกที่เหลือ เราจะพบว่ามีทั้ง สหราชอาณาจักร รัสเซีย ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เยอรมนี มีขนาด GDP มากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก เช่นกัน
สำหรับคนที่เคยเรียน Econometrics หรือ เศรษฐมิติมา ถ้าให้ไปหาความสัมพันธ์ ก็น่าจะพบว่าขนาด GDP มี correlation ที่สูงเมื่อเทียบกับ อันดับเหรียญโอลิมปิก ซึ่งอย่างน้อยก็พิสูจน์แล้วในโอลิมปิก 2020 ที่โตเกียว และ โอลิมปิก 2016 ที่ริโอ มีคนคำนวณมาแล้วในแหล่งอ้างอิงด้านล่างมีค่า correlation ถึง 0.8 เลยทีเดียว
แล้วทำไมถึงเป็น เช่นนี้ ?
สาเหตุของเรื่องนี้ คงไม่ได้เป็นเพราะ GDP โดยตรงที่ทำให้เหรียญโอลิมปิกมาก แต่เป็นเพราะ ตัวเลข GDP เป็นตัวชี้วัดแบบง่ายที่เอื้อให้ประเทศนั้นมีความสามารถในการมีนักกีฬาที่เก่งกว่าชาติอื่น
- ไม่ว่าจะเป็น ประชากรมีโอกาสได้รับโภชนาการที่ดีในการพัฒนาร่างกายให้แข็งแรง
- รัฐบาลสนับสนุน เครื่องมือ ผู้ฝึกสอน เงินตอบแทน แก่นักกีฬาที่สูง
นอกจากนั้น การที่แต่ละประเทศจะมี GDP สูงได้ประเทศนั้นต้อง มีจำนวนประชากรมาก และประชากรมี GDP ต่อหัวที่มากพอ
- ยกตัวอย่างอินโดนีเซีย ที่ถึงมีประชากรมาก แต่คนอินโดมี GDP ต่อหัวน้อย ก็จะทำให้มี GDP ที่น้อยกว่า คนฝรั่งเศสที่ถึงแม้มีประชากรน้อยกว่า แต่มี GDP ต่อหัวที่มากกว่าคนอินโดหลายเท่า
- หรือคนสิงคโปร์ มี GDP ต่อหัวที่สูงกว่าคนฝรั่งเศสมาก แต่มีจำนวนประชากรน้อย ก็ส่งผลให้โอกาสที่ประชากรจะเป็นนักกีฬาได้น้อยลง
- ถ้าประเทศที่มี 2 มิตินี้พร้อมคือ มี GDP ต่อหัวมาก และ ประชากรมาก ก็จะได้เหรียญมาก เช่น สหรัฐอเมริกา ที่ได้อันดับหนึ่งของโอลิมปิกครั้งนี้
- และถึงแม้ประเทศจีนที่มี GDP ต่อหัวน้อยกว่าหลายประเทศในยุโรป แต่มีจำนวนประชากรมาก ก็จะมีโอกาสได้เหรียญมากเช่นกัน เพราะจีนจะมีประชากรมาเป็นนักกีฬามาก
- ส่วนประเทศไทย ที่มี GDP ต่อหัวระดับ กลาง ๆ และจำนวนประชากรอยู่ในระดับกลาง ๆ ก็เลยทำให้ประเทศไทยอยู่ กลาง ๆ ของตารางนั่นเอง
นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ตอกย้ำคำครหาของหลายคนว่า ไม่ควรใช้ GDP มาเป็นเครื่องมือชี้วัดในการพัฒนาของประเทศ
จากเรื่องนี้ก็แสดงให้เห็นว่า ถึง GDP อาจจะมีข้อบกพร่องอยู่บางอย่าง แต่อย่างน้อย GDP ก็สามารถบ่งชี้ความสามารถในการได้เหรียญโอลิมปิกได้ และก็น่าจะบ่งชี้คุณภาพชีวิตในด้านอื่น ๆ ได้เช่นกัน
สำหรับคำถามว่า คนไทยจะทำอย่างไร ถึงจะได้เหรียญโอลิมปิกเยอะ ๆ ในอนาคต
คำตอบแบบง่าย ๆ ก็คือ ทำให้ GDP ของประเทศไทย เพิ่มเยอะ ๆ แล้วเดี๋ยวเหรียญก็น่าจะตามมาเอง
แต่ปัญหามันอยู่ตรงที่
จะทำให้ GDP ของประเทศไทยเพิ่มเยอะ ๆ ได้อย่างไร..
References
-http://re-design.dimiter.eu/?p=868
-https://olympics.com/tokyo-2020
-https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_GDP_(nominal)
เช่นกัน แปลว่า 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
ภาษา เป็นตัวกำหนดความคิด ของคนประเทศนั้น /โดย ลงทุนแมน
หลายศตวรรษที่ผ่านมา หลายคนมักคิดว่าภาษาเป็นเพียงแค่การใช้คำศัพท์
หรือการเรียงประโยคที่ไม่เหมือนกันเท่านั้น
แต่รู้หรือไม่ว่า จริง ๆ แล้ว กรอบความคิดและทักษะส่วนหนึ่งของเราเอง
อาจจะถูกครอบงำจากภาษา โดยที่เราก็ไม่ทันรู้ตัว
ทำไม คนจีนถึงมีความชำนาญด้านตัวเลข
ทำไม คนอังกฤษกับสเปนอาจมีมุมมองต่อเรื่องเดียวกัน ไม่เหมือนกัน
รวมถึงว่าทำไม ประเทศไทยถึงมีการปลูกฝังเรื่องความอาวุโสตั้งแต่ยังเล็ก
ทุกอย่างนี้สามารถอธิบายได้ โดยสิ่งที่เรียกว่า “ภาษา”
แล้วภาษา มีอิทธิพลต่อเราขนาดไหน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
บนโลกนี้มีภาษาที่ใช้สื่อสารถึงกว่า 7,000 ภาษาด้วยกัน
ซึ่งแต่ละภาษามีความแตกต่างในหลายแง่มุม
ทั้งจากการออกเสียง คำศัพท์ และโครงสร้างที่ไม่เหมือนกัน
นอกจากนี้ สังเกตได้ว่าคนในแต่ละประเทศ
มีทั้งวัฒนธรรมและความคิดแตกต่างกันไป
นั่นจึงเป็นที่มาให้บรรดานักภาษาศาสตร์ศึกษาว่า
ภาษานั้นส่งผลต่อความคิดและการกระทำหรือไม่
เหล่าผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาศาสตร์
จึงได้ทำการวิจัยและทดลองคนแต่ละประเทศ
แล้วพบว่าภาษาไม่ได้เพียงแค่ส่งผลต่อความคิดและทักษะเท่านั้น
แต่มันอาจจะเป็น “ตัวกำหนดความคิดของเรา” เลยด้วยซ้ำ
จึงเกิดเป็นทฤษฎี Linguistic Relativity หรือ ทฤษฎีสัมพันธภาพทางภาษา
ถูกคิดโดยเอ็ดเวิร์ด ซาเพียร์ และเบนจามิน วอร์ฟ
ซึ่งแบ่งย่อยได้อีก 2 แนวคิดคือ
1. Linguistic Determinism ภาษาเป็นตัวกำหนดความคิดของเรา
2. Linguistic Relativity คนที่ใช้ภาษาต่างกัน จะมีมุมมองและวิธีคิดที่ไม่เหมือนกัน
แล้วทฤษฎีนี้ มีเหตุผลสนับสนุนอะไรบ้าง ?
เรามาดูตัวอย่างงานวิจัยและทดลองที่ผ่านมา
เบนจามิน วอร์ฟ ได้ยกตัวอย่างโดยการเทียบ
ระหว่างภาษายุโรปกับภาษาอเมริกันอินเดียนหรือ Hopi
ทั้งนี้ เพื่อให้เห็นภาพว่า ภาษาที่มีไวยากรณ์ที่แตกต่างกันนั้นส่งผลต่อความคิดของเรา
โดยภาษายุโรป จะมองว่าเวลานั้นมีตัวตนเหมือนสิ่งของทั่วไป
สามารถนับเป็นหน่วยได้ เช่นเดียวกับสิ่งของที่นับเป็นชิ้น
แต่เวลาจะนับเป็นหน่วยวินาทีหรือชั่วโมงแทน
ซึ่งการมองว่าเวลาเป็นสิ่งที่มีตัวตนนี้เอง ส่งผลให้เกิดสิ่งที่ตามมา
เช่น การให้ความสำคัญกับเวลา ซึ่งนำมาสู่สิ่งประดิษฐ์อย่าง ปฏิทินและนาฬิกา
หรือกระทั่งความสนใจในอดีต อย่างการบันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์
หรือแม้กระทั่งหลักไวยากรณ์ในหลายภาษา เช่น ภาษาอังกฤษก็จะมีรูปประโยคที่แสดงถึง อดีต ปัจจุบัน อนาคต
ในขณะที่ Hopi เองนั้นมองเวลาเป็นเพียงแค่สิ่งที่ไม่มีตัวตน เป็นเพียงแค่สิ่งที่วนเวียนเหมือนเดิม
จึงไม่แปลกที่จะไม่มีการจดบันทึกเหตุการณ์ด้วยภาษา Hopi และก็สะท้อนมายังสังคมของชาว Hopi ที่ให้ความสำคัญกับการกระทำปัจจุบันให้ดีที่สุด
ตรงนี้แสดงให้เห็นว่า แม้จะพูดถึงสิ่งเดียวกัน
แต่ความคิดและมุมมองจะแตกต่างกันไปตามแต่ละภาษา
นอกจากความคิดแล้ว
ภาษายังส่งผลต่อทักษะอีกด้วย
สะท้อนมาจากงานวิจัยของเลรา โบโรดิตสกี
ศาสตราจารย์ด้านภาษาศาสตร์
ที่ได้ไปเจอกับชุมชนชาวอะบอริจินในออสเตรเลีย
ซึ่งผู้คนในชุมชนนี้ไม่รู้จักคำว่าซ้ายหรือขวาเลย
แต่จะบอกทิศทางโดยการใช้ศัพท์ตามเข็มทิศ
ตัวอย่างรูปประโยคแปลเป็นภาษาไทย
เช่น “มีมดเกาะอยู่บนขาข้างตะวันตกเฉียงใต้”
นอกจากนี้ พวกเขามักจะทักทายด้วยคำว่าสวัสดี
แล้วต่อด้วยการถามเส้นทางของคู่สนทนา
เช่น “สวัสดี คุณกำลังไปทางไหน”
ซึ่งจากการใช้ภาษาแบบนี้ ทำให้ชาวอะบอริจินมีความเชี่ยวชาญในการระบุทิศทางได้ดี
นี่ถือเป็นตัวอย่างแรกที่ชี้ให้เห็นว่าภาษาส่งผลต่อทักษะเช่นกัน
ตัวอย่างถัดไปก็คือ การแยกเฉดสีของชาวรัสเซีย
ปกติแล้ว ผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษมักจะเรียกสีฟ้าเข้มและอ่อนว่า Blue ทั้งหมด
แต่ชาวรัสเซียกลับต้องจำแนกเฉดสี
ระหว่างสีฟ้าอ่อน ที่เรียกว่า “โกลูบอย” กับสีฟ้าเข้ม ที่เรียกว่า “ซีนีย์”
นั่นจึงทำให้พวกเขามีความสามารถในการแยกแยะสีได้เร็วกว่าชาติอื่น
และตัวอย่างสุดท้ายคือ ทักษะด้านตัวเลขของชาวจีน
ชาวจีนเก่งการนับเลขมากกว่าผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษ
นั่นก็เพราะว่าตัวเลขมีการสื่อสารที่เรียบง่าย
ในขณะที่เลข 11 ภาษาอังกฤษ คือ Eleven
หรือ 12 คือ Twelve ซึ่งจะเป็นการสร้างคำพูดใหม่ขึ้นมา
แต่สำหรับเลขจีน กลับเป็นคำพูดที่เรียบง่าย เช่น เลข 11 หรือ 十一
อ่านว่า สืออี ซึ่งเป็นการนำคำศัพท์เลข 10 กับเลข 1 มาผสมกัน เท่านั้น
ทีนี้ เรามาดูอีกผลวิจัยที่พิสูจน์ว่าแต่ละภาษาส่งผลต่อการเล่าเรื่องที่แตกต่างกันด้วย
ซึ่งเป็นการทดลองโดยการฉายภาพเหตุการณ์หนึ่งขึ้นมา
ในรูปแบบคลิปวิดีโอเกี่ยวกับแจกันแตก
เพราะมีคนบังเอิญเดินมาชนอย่างไม่ตั้งใจ
และมีผู้เข้าร่วมทดสอบ 2 ประเภท คือผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษ และผู้ที่ใช้ภาษาสเปน
ผลทดลองพบว่า สิ่งที่คนอังกฤษสรุปออกมาได้ก็คือ แจกันแตกเพราะมีคนชนมันตกลง
ในขณะที่คนสเปนจะจดจำได้เพียงแค่ว่า มีแจกันแตกเท่านั้น
หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมคนสเปนถึงจำได้แค่นั้น
นั่นก็เพราะว่าภาษาสเปนจะคำนึงถึงเจตนาด้วย
หากเป็นอุบัติเหตุ ชาวสเปนจะตัดเรื่องราวส่วนผู้กระทำออกไป
โดยไม่ให้ความสำคัญกับส่วนนั้นและมองว่าไม่มีความจำเป็นที่ต้องจดจำ
ซึ่งเรื่องนี้มีความสำคัญอย่างมาก เพราะมันสะท้อนให้เห็นว่า
แม้เราจะเผชิญเหตุการณ์เดียวกัน แต่เรากลับมีมุมมองที่แตกต่างกันออกไป
ซึ่งมันก็จะนำไปสู่วิธีคิดและแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ต่างกัน
เรื่องดังกล่าวยังส่งผลกระทบไปถึงการพิพากษาคดี หรือแม้แต่การตัดสินใจร่วมกันของคนต่างชาติ ต่างภาษา อีกด้วย
นอกจากนี้ ภาษาก็ส่งผลต่อความเชื่อและค่านิยมอีกเช่นกัน
เช่น ประเทศไทย เป็นหนึ่งประเทศที่ให้ความสำคัญกับเรื่องลำดับขั้นหรือความอาวุโส
ซึ่งก็สะท้อนมาจากการใช้คำว่า ครับ หรือ ค่ะ ท้ายประโยคแทนความเคารพ
แตกต่างจากประเทศฝั่งตะวันตก
ในขณะเดียวกัน เราก็มีคำสรรพนามที่ใช้เรียกผู้อื่นหรือตัวเองที่มีอยู่มากมาย
ตั้งแต่ เรา ผม หนู ฉัน ดิฉัน กระผม ข้า ข้าพเจ้า หม่อมฉัน
ซึ่งแต่ละสรรพนามก็ใช้แตกต่างกันตามสถานะของอีกฝ่าย
เกาหลีใต้และญี่ปุ่นเอง ก็เป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับความอาวุโสเช่นกัน
จึงเห็นได้ว่าทั้ง 2 ประเทศมีคำที่ใช้สื่อสารต่อผู้คนที่แตกต่างกัน
เช่น เกาหลีใต้ คำว่า 요 หรือ -습니다
จะถูกใช้ท้ายประโยคเหมือนคำว่า ครับ หรือ ค่ะ ของคนไทย
และเหล่าคำกริยาก็สามารถผันเป็นรูปอื่น
เพื่อแสดงความเคารพต่อคนที่อาวุโสกว่า
ภาษาญี่ปุ่น はい แปลว่า ครับ หรือ ค่ะ เป็นการตอบแบบสุภาพ ใช้ได้กับทุกสถานการณ์
ในขณะที่ ええ แปลว่า ครับ หรือ ค่ะ เช่นกัน แต่ใช้ได้แค่คนระดับเดียวกันหรือรองลงมา
ในทางกลับกัน ชาวเกาหลีใต้และญี่ปุ่น เป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับเรื่องเวลาอย่างมาก
แต่ประเทศไทยกลับไม่เป็นเช่นนั้น ก็เพราะว่าคำศัพท์ของไทยไม่มีการผันตามเวลา
ซึ่งต่างจาก 2 ประเทศข้างต้น ที่มีการผันคำศัพท์ที่แตกต่างตามช่วงเวลา
จากตัวอย่างทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่าภาษาคือสิ่งที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมและความคิดของผู้คนแต่ละพื้นที่ จึงไม่แปลกใจที่คนพูดได้หลายภาษาจะสามารถมองโลกได้กว้างกว่า
และนี่จึงอาจจะเป็นเหตุผลที่ว่า
ทำไมบางธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในประเทศหนึ่ง
อาจจะไม่ได้เป็นที่นิยมมากนักในบางประเทศ
จากเรื่องนี้ก็ทำให้เห็นความสำคัญว่า ทำไมเราจึงควรเรียนรู้ภาษาของประเทศอื่น
เพราะสิ่งที่เราได้รับ นอกจากจะได้ภาษาใหม่แล้ว ยังเป็นการสร้างมุมมองใหม่อีกด้วย
ซึ่งการมีมุมมองที่รอบด้าน ก็จะกลายเป็นโอกาสทางธุรกิจที่มากขึ้นตามไปด้วย
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.psychologytoday.com/us/blog/the-biolinguistic-turn/201702/how-the-language-we-speak-affects-the-way-we-think
-https://www.ted.com/talks/lera_boroditsky_how_language_shapes_the_way_we_think?language=th
-https://so04.tci-thaijo.org/index.php/abc/article/view/60825/50088
-https://itdev.win/14215/13.pdf
เช่นกัน แปลว่า 在 Drama-addict Facebook 的精選貼文
สำหรับประเด็นดราม่าระดับโลก อย่าง GameStop
จ่าฝากเพื่อนที่อยู่ในแวดวงตลาดหุ้นเขียนอธิบายปรากฏการณ์ที่ว่ามา ใครสนใจลองอ่านกันดูวจ้าาาา
*ใครไม่อยากอ่านยาวๆ อ่านย่อหน้าสุดท้ายได้เลย
*************
เรามาสมมุติกันว่า โลกนี้มี ส้มวิเศษอยู่ร้อยลูก ไม่มีมากกว่านี้ และไม่หายไปจากนี้ (คือจำนวนหุ้นของบริษัทหนึ่งๆ 100%)
ไอ้ส้มบ้านี่ แต่ละลูก จะผลิตน้ำส้มมาให้กินทุกปี (กำไรหรือปันผล) บางปีเยอะ บางปีน้อย แล้วแต่ฝนฟ้าอากาศปีนั้นๆ (สมมติเอาว่าเกี่ยวกันละกันนะ จริงๆแม่งเป็นส้มวิเศษไม่ต้องเอาไปวางรับน้ำฝนก็ได้ แต่เอาว่าปีไหนฝนเยอะน้ำส้มจะเยอะ)
ไอ้คนอยากกินน้ำส้ม ใครอยากกินก็ไปซื้อส้มมาถือครองไว้ สิ้นปีก็มีน้ำส้มไหลออกมาให้กิน
ราคาส้มก็ย่อมขึ้นกับปริมาณน้ำส้มที่คิดว่าจะผลิตได้ในปีนั้นๆ ซึ่งก็ไม่รู้หรอกได้แต่ประมาณการจากน้ำส้มที่ผลิตได้ในปีก่อนๆ รวมกับพยากรณ์อากาศปีนั้น แล้วเดาๆเอาว่าจะได้น้ำส้มกี่แก้ว
ทีนี้ เรามาสมมติก่อนว่า ราคาส้มตอนนี้ คือลูกละ 100 บาท บางคนก็คิดว่าปีนี้น่าจะแล้ง ส้มน่าจะเหี่ยวผลิตน้ำส้มน้อย บางคนคิดว่าปีนี้ฝนน่าจะตกจนน้ำท่วมแม่งต้องมีน้ำส้มไหลออกมาเยอะกว่าเดิมแหละน่า
ความคิดเห็นไม่ตรงกัน การพนันจึงบังเกิด ไอ้คนที่คิดว่าฝนจะตกเยอะ ก็อยากซื้อส้มเพิ่ม ไอ้คนคิดว่าฝนจะแล้งก็อยากขาย
ทีนี้ ปัญหามันอยู่ที่ ไอ้คนที่อยากขายเพราะมั่นใจว่าฝนจะแล้ง แม่งไม่มีส้ม แต่มั่นใจแน่ๆว่าฝนจะแล้ง ส้มจะราคาตกก็อยากทำกำไรจากการที่ส้มราคาตก
จะทำยังไง ?
ก็ไปยืมส้มจากคนที่มีมาขายก่อน แล้วค่อยเอามาคืน โดยวางหลักทรัพย์ค้ำประกันไว้ว่าถ้าไม่มีมาคืนจะโดนยึดเงินนะ
สมมติคนที่อยากขายส้มคืออีจ่า แล้วผมเป็นเจ้าของส้ม
อีจ่ามายืมส้มไปขายลูกนึง เอาบ้านมาค้ำประกันไว้
มันเอาไปขายเลยในตลาด ขายให้ไอ้คนที่อยากซื้อนั่นแหละ สมมติว่าเป็นอีควีน(นามสมมติ)
เรื่องนี้จึงมีคนสามคน ผม เจ้าของส้ม อีจ่า ผู้อยากขายส้ม และอีควีนผู้อยากซื้อส้ม
ผมให้จ่ายืมส้ม ตอนจบ ผมต้องการส้มคืนจากจ่า ผมไม่ได้ไม่เสียอะไรกับราคาส้ม แต่อาจจะคิดค่ายืมจากจ่าสัก 3.5-28 บาท ต่อปี ขึ้นกับผมอยู่ประเทศไหน
จ่ายืมส้มไปจากผม เอาไปขายอีควีน ถ้าตอนจบส้มแม่งน้ำน้อย ราคาส้มร่วงลงมันก็กำไร ถ้าราคาส้มเสือกขึ้น ตอนมันต้องไปซื้อส้มมาคืนผมมันก็ขาดทุน
อีควีนในทางตรงข้าม มันซื้อส้มจากจ่าไป 100 บาท ถ้าสิ้นปีส้มน้ำเยอะ ราคาขึ้น มันก็ขายส้มได้กำไร ถ้าน้ำน้อยราคาตก ก็ขาดทุน
ทุกอย่างมันก็ simple เช่นนี้ ถ้าส้มมันมีเยอะเต็มไปหมด
ปัญหาคือ ทั้งโลกมันมีส้มบ้านี่แค่ 100 ลูก อีจ่ามันไม่ได้ไปซื้อส้มบางมดมาคืนแทนลูกที่ซื้อไปจากผมได้ จะคืนก็ต้องหา 1 ใน 100 ลูกนี้มาคืน
ทีนี้ ระหว่างปี ที่น้ำส้มยังไม่ออกเนี่ย สมมติอีควีนนอกจากซื้อจากจ่าแล้ว ที่ 100 บาท อีควีนผู้มั่นใจว่าฝนฟ้าจะดีราคาส้มจะขึ้น ก็ไปขอซื้อจากเบลมาอีกลูกที่ราคา 120
จากนั้นไปซื้อจากหมอแลปมาอีกที่ 140 บาท แล้วจบที่ไปซื้อจากโหลกมาอีกลูกที่ 200 บาท
เอาล่ะ มาดูสถานการณ์กัน ตอนนี้
1. ผมเป็นเจ้าของส้ม ส้มหายไป 1 ลูก เพราะอีจ่ายืมไป มีบ้านค้ำประกันอยู่ ผมไม่ต้องการเงินค่าส้ม ผมต้องการส้ม กับ ดอกเบี้ย (สมมติว่า) 15 บาทละกัน
2. อีจ่า ผู้ยืมส้มไปขาย 1 ลูก หวังว่าส้มราคาตกจะไปซื้อคืน แล้วเก็บส่วนต่างไว้เป็นกำไร ตอนนี้ติดส้มผมหนึ่งลูก เอาส้มผมไปขายได้เงินมา 100 บาท ดังนั้น จ่ามีเงิน 100 มีส้ม -1 ลูก
3. อีควีน ผู้กว้านซื้อส้มไปทั้งหมด 4 ลูก เป็นเงินทั้งหมด 560 บาท หรือทุนเฉลี่ยลูกละ 140 บาท
เอาล่ะมาดูกันว่าปัญหามันอยู่ตรงไหน
ปัญหาคือ ชีวิตผม ความเสี่ยงคือ อีจ่าไม่คืนส้ม ดังนั้น ผมถึงให้วางบ้านค้ำประกันไว้ ถ้าไม่มีส้มมาคืน ผมยึดบ้านจ่ามาจ่ายส่วนที่ขาด ทีนี้ตอนนี้ราคาในตลาดส้มล่าสุด คือที่ควีนซื้อจากโหลก 200 บาท แปลว่า ณ ราคาปัจจุบันอีจ่าถ้าต้องซื้อส้มคืนผม จ่าต้องจ่าย 200 เช่นกัน แต่ในมือจ่า มีเงิน 100 กับ ส้ม -1 ลูก การจะไปซื้อส้มคืนที่ 200 จ่าต้องควักเนื้อขาดทุนอีก 100 ถึงจะได้ส้มมาคืนผม ถึงตรงนี้จ่าจะเริ่มสั่นกลัวแล้ว ว่าราคาส้มแม่งจะขึ้นไปอีกถึงเท่าไหร่ ตัวเองจะมีเงินพอจ่ายส่วนที่ขาดทุนไหม หรือบางที ราคาส้มอาจจะตามขึ้นไปทันราคาบิทคอยน์ ซึ่งบ้านก็อาจจะหายไปเลยทั้งหลัง ก็เลยจำใจไปหาซื้อในตลาด หรือซื้อคืนจากอีควีน ที่ 200 บาท มาคืนผม ปิดสถานะระหว่างกัน คือส้มหนึ่งลูก (ขาดทุนไป 100 บาท) กับดอกเบี้ยอีก 15 บาท รวมแล้วอีจ่าขาดทุน 115 บาท จากการยืมส้มราคา 100 บาทไปขาย
ส่วนอีควีนถ้าขายออกทั้งหมดที่ 200 บาท ก็จะได้มา 800 หักทุน 560 รวมกำไร 240 บาทถ้วน ทำกำไรไปถึง 45.86%
ข้างบนนี่เป็นตัวอย่างเพื่อความเข้าใจว่าการ short คืออะไร
สิ่งที่อีจ่าทำ คือการ short ซึ่งคือการเชื่อว่าราคาของอะไรสักอย่างจะร่วงลง
แต่ตัวเองไม่มีสิ่งนั้น เลยไปยืมคนที่มีมาขายก่อน แล้วพอราคาลงค่อยซื้อคืน เพื่อเอาไปคืน หวังกำไรจากส่วนต่างราคาที่ร่วงลง
สิ่งที่เกิดขึ้นกับ GameStonk (ชื่อสมมติ) จะโหดกว่าในแง่ที่ว่า
อีควีนรู้ว่า นอกจาก 4 ลูกในมือตัวเองแล้ว ยังมีอีก 70 ลูกในมือของตาลือ(นามสมมติ) ซึ่งตาลือให้คนอื่นยืมไปขายตอน 100 บาทแล้วเช่นกัน รวมถึง อีก 26 ลูก อยู่ในมือลุงพล(นามสมมติ) ซึ่งลุงพลไปเที่ยวต่างประเทศอยู่ ปิดมือถือ และไม่คิดจะขายไม่คิดจะมาดู
แปลว่าในโลกนี้ ส้ม 100 ลูก 26 ลูกไม่ขาย และอีก 74 ลูก มีอยู่ 71 ต้องซื้อคืน (1 ลูกที่ซื้อมาจากอีจ่า รู้ว่าอีจ่าต้องซื้อคืน และอีก 70 ลูกที่ตาลือให้คนยืม คนพวกนั้นต้องซื้อคืนไปคืนเช่นกัน)
อีควีนเลยชักชวนเหล่าชาวเนทไปโถมซื้อส้มในตลาดโดยแสดงการคำนวนข้างต้นนี้ให้ดู
ชาวเนทก็เชื่อแล้วช่วยกันซื้อ ซื้อจนได้ไปทั้งหมดรวมกัน 60 ลูก ซื้อจนราคาขึ้นลูกละไป 10,000 บาท
เพราะอีควีนรู้ว่ายังไงก็ต้องมีคนมาซื้อไป เพราะคนที่ติดหนี้ต้องเอาส้มไปคืนมีรวมกันถึง 71 ลูก
ยังไงก็ไปหาซื้อที่อื่นไม่ได้ต้องมารับส้มจากพวกควีนไปเท่านั้นจะขายลูกละแสน ยังต้องซื้อเลยเพราะของในตลาดไม่มีแล้วอยู่ในมือแกงค์ควีนหมด
บีบจนพวกที่ที่ขาดทุนเยอะๆ เพราะยืมส้มมาตอน 100 บาทแบบอีจ่าตอนนี้คือ ขาดทุนลูกละ 9900 บาท บางคนก็บ้านบินไปเลยทีเดียว
ก็จำใจต้องปิดสถานะ short หรือก็คือมอบตัว หาเงินมาซื้อส้มคืนเอาไปคืนเจ้าของ
--------------------------------------------------------------------
การกว้านซื้อหุ้นที่ถูกคนอื่นช้อต(ยืมมาขาย)อยู่จนราคาขึ้นไป และทำให้คนที่ช้อตต้องมาซื้อคืนในราคาสูงด้วยความจำใจ เรียกว่า Short Squeeze
เบ็ดเสร็จ ส้ม 71 ลูกที่มีการยืมกัน สร้างผลกำไรให้ชาวเนทและคนอื่นๆที่ถือครองรวมกัน 702900 บาท และเป็นตัวเลขขาดทุนของคนที่ไปยืมมาช้อตเช่นกัน ซึ่งยังไม่รวมดอกเบี้ยค่ายืมส้ม
ในอดีตก็มีเรื่องราวแบบนี้มากมาย แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการต่อสู้ของรายใหญ่ หรือ Hedge Fund เช่นตอนที่ Ackman กับ Carl Icahn คนนึงช้อต คนนึงซื้อ Herbalife สู้กันอยู่เป็นปีๆแถมมี โซรอสมาแจมด้วย ไปลองหาอ่านดูกันได้
แต่กรณี GameStonk นี่อาจจะเป็นครั้งแรกที่รายย่อยร่วมมือกัน ทำ short squeeze กองทุนใหญ่ๆจนขาดทุนไปหลายหมื่นล้านบาท สร้างประวัติศาสตร์อีกหนึ่งหน้าไว้ให้ศึกษา