อัปเดตธุรกิจเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ หลังยุคโควิด 19
SMD x ลงทุนแมน
รู้หรือไม่ว่า ประเทศไทยมีมูลค่าการส่งออกและนำเข้าเครื่องมือแพทย์รวมกันสูงสุดอันดับหนึ่งในอาเซียน
ถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมของบ้านเราที่มีชื่อเสียงและความเชี่ยวชาญที่ได้รับการยอมรับระดับโลก
จนเป็นที่มาของการที่รัฐมีแนวคิดผลักดันให้อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub Industry) เป็น 1 ใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) ภายใต้นโยบาย Thailand 4.0
ประกอบกับวิกฤตโรคระบาดที่ผ่านมา ปฏิเสธไม่ได้ว่า โควิด 19 เป็นตัวเร่งที่ทำให้ผู้คนต่างหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้นอย่างชัดเจน
โดยมีคาดการณ์ว่าปี 2564 - 2565 มูลค่าการจำหน่ายเครื่องมือแพทย์ในประเทศไทย
จะเติบโตเฉลี่ยปีละกว่า 6.5% ตามจำนวนผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น
แม้สภาวะเศรษฐกิจจะไม่เอื้ออำนวย
สิ่งเหล่านี้กลายเป็นโอกาสของธุรกิจเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ในประเทศไทย
ที่จะเติบโตไปกับเทรนด์การดูแลสุขภาพ รวมถึงอัตราการเข้าใช้บริการในสถานพยาบาลต่าง ๆ ซึ่งมีความต้องการเครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัยและใช้นวัตกรรมใหม่ ๆ มากขึ้น
เร็ว ๆ นี้ กำลังจะมีธุรกิจนำเข้าและจำหน่ายเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์เข้า IPO ในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) คือ บมจ.เซนต์เมด (SAINTMED)
เซนต์เมดเป็นบริษัทนำเข้า จำหน่าย และบริการเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์
ที่ดำเนินงานมากว่า 20 ปี โดยเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์จากผู้ผลิตชั้นนำของโลกกว่า 30 ราย
ปัจจุบันสินค้าที่เซนต์เมดจำหน่ายแบ่งออกเป็น 6 กลุ่มคือ
1. กลุ่มสินค้าด้านเวชบำบัดวิกฤต เป็นเครื่องมือแพทย์ที่ใช้สำหรับผู้ป่วยในหอฉุกเฉิน
2. กลุ่มสินค้าด้านการช่วยหายใจและเวชศาสตร์การนอนหลับ
3. กลุ่มสินค้าด้านหทัยวิทยา ใช้ตรวจวินิจฉัยและรักษาความผิดปกติการทำงานของหัวใจ
4. กลุ่มเครื่องมือแพทย์ทั่วไป เช่น โคมไฟผ่าตัด เตียงผ่าตัด
5. กลุ่มสินค้าสมาร์ทฮอสพิทอล ใช้อำนวยความสะดวกให้เจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงาน
6. กลุ่มอุปกรณ์ประกอบการใช้งาน เป็นอุปกรณ์ประกอบของ 5 กลุ่มสินค้าข้างต้น อย่างเช่น แบตเตอรี่ และเจล
โดยรายได้ส่วนใหญ่ของเซนต์เมด 40.19% มาจากกลุ่มสินค้าด้านเวชบำบัดวิกฤต
ซึ่งเป็นเครื่องมือแพทย์ที่ใช้สำหรับดูแล รักษา และวินิจฉัยผู้ป่วยอาการหนักหรือเข้าขั้นวิกฤต
เช่น เครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้า เครื่องติดตามการทำงานของหัวใจและสัญญาณชีพ และเครื่องตรวจอวัยวะภายในด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
ประเด็นที่น่าสนใจคือ เมื่อผู้สูงอายุมากขึ้นและเข้าสู่สังคมผู้อายุอย่างเต็มตัว
ภาวะการเจ็บป่วยก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
เช่น โรคยอดฮิตอย่างความดันโลหิตสูง ตามมาด้วยโรคเบาหวาน หัวใจ หลอดเลือดในสมองตีบ และมะเร็ง ส่งผลให้ความต้องการอุปกรณ์การตรวจวินิจฉัยโรคที่เป็นเครื่องมือแพทย์
ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงขยายตัวต่อเนื่อง
แล้วผลประกอบการของเซนต์เมดในช่วงที่ผ่านมาเป็นอย่างไร ?
ปี 2561 รายได้จากการขายและบริการ 506.03 ล้านบาท กำไรสุทธิ 30.52 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้จากการขายและบริการ 618.63 ล้านบาท กำไรสุทธิ 60.44 ล้านบาท
ปี 2563 รายได้จากการขายและบริการ 660.94 ล้านบาท กำไรสุทธิ 77.75 ล้านบาท
โดยในปี 2562 เซนต์เมดมีรายได้เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า
จากการเพิ่มขึ้นของรายได้ในกลุ่มสินค้าด้านการช่วยหายใจและเวชศาสตร์การนอนหลับ (Respiration)
ซึ่งเป็นผลจากเทรนด์การดูแลสุขภาพ ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของศูนย์ตรวจการนอนหลับในประเทศไทยโดยเฉพาะในโรงเรียนแพทย์ ทำให้มีการเพิ่มจำนวนเตียงตรวจการนอนหลับ
และมีการสั่งซื้อเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องมากขึ้น
ส่วนในปี 2563 การเพิ่มขึ้นของรายได้มีสาเหตุหลักมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ซึ่งส่งผลให้การจัดสรรงบประมาณในการเลือกซื้อสินค้าของลูกค้าเปลี่ยนไป
โดยสินค้าที่เกี่ยวกับการรักษาและป้องกันโควิด 19 อย่างสินค้ากลุ่มการช่วยหายใจและเวชศาสตร์การนอนหลับ เช่น เครื่องฟอกและฆ่าเชื้อโรคในอากาศ และสินค้ากลุ่มเครื่องมือแพทย์ทั่วไป เช่น เครื่องวัดอุณหภูมิหน้าผาก มียอดขายเพิ่มขึ้น ซึ่งมาจากลูกค้าในกลุ่มภาครัฐบาลเป็นหลัก
และเพื่อให้บริษัทฯ มีความพร้อมที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง
เซนต์เมดได้มีโปรเจ็กต์พัฒนาธุรกิจสินค้าเครื่องอัดอากาศแรงดันบวก หรือซีแพพ (CPAP)
ที่ใช้รักษาโรคนอนกรนและการหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น
โดยจะเป็นรูปแบบการเข้าไปร่วมทุนกับโรงพยาบาลรัฐ จัดตั้งศูนย์ตรวจการนอนหลับ จำหน่าย และให้คำแนะนำปรึกษาการใช้งานเครื่อง CPAP
และมีแนวคิดในการขยายรูปแบบการให้บริการ เช่น การให้บริการเช่าใช้เครื่องมือแพทย์ในระยะยาว เพื่อรองรับการขยายตัวทางธุรกิจจากการให้เช่าเครื่องมือแพทย์ และช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรม
เรียกได้ว่าจากเดิมที่รายได้เกือบทั้งหมดของเซนต์เมดมาจากการขาย
ต่อไปบริษัทฯ ก็จะมีรายได้จากส่วนอื่น ๆ เพิ่มเข้ามา
เป็นการลดการพึ่งพิงธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง และทำให้บริษัทฯ มีการกระจายความเสี่ยงที่ดีขึ้นด้วย
จากเรื่องราวที่เกิดขึ้นนี้ จะเห็นว่าธุรกิจเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ยังมีศักยภาพเป็นหนึ่งในกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
รวมทั้งเป็นเส้นทางที่สดใสของบริษัทอย่างเซนต์เมดที่จะเติบโตไปพร้อมกับการก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุและศูนย์กลางสุขภาพระดับนานาชาติของประเทศไทยในอนาคต
คำเตือน : การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน
References
- ร่างแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และหนังสือชี้ชวนฉบับเต็มของ บมจ.เซนต์เมด ซึ่งได้ยื่นต่อสำนักงาน ก.ล.ต. ที่ www.sec.or.th
-Krungsri Research แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2563-65
-https://www.medicalfair-thailand.com
「แนวโน้มธุรกิจ 2565」的推薦目錄:
- 關於แนวโน้มธุรกิจ 2565 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
- 關於แนวโน้มธุรกิจ 2565 在 แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2563-2565... - Krungsri Research 的評價
- 關於แนวโน้มธุรกิจ 2565 在 SET Opportunity Day Q&A - PTT Oil and Retail Business (OR) 的評價
- 關於แนวโน้มธุรกิจ 2565 在 นาทีลงทุน | ปี 65 แนวโน้มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เริ่มฟื้นตัว - YouTube 的評價
แนวโน้มธุรกิจ 2565 在 SET Opportunity Day Q&A - PTT Oil and Retail Business (OR) 的推薦與評價
1. แนวโน้มผลประกอบการในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2565 เป็นอย่างไร · 2. M&A Deal มีอีกกี่ Deal และเป็นธุรกิจประเภทใด จะได้ข้อสรุปภายในปี 2565 กี่ Deal · 3. แนวโน้มราคา ... ... <看更多>
แนวโน้มธุรกิจ 2565 在 นาทีลงทุน | ปี 65 แนวโน้มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เริ่มฟื้นตัว - YouTube 的推薦與評價
KS PODCAST EP.678 : เปิดอนาคตหุ้นอสังหาฯ 2565 จะเป็นปีที่ดีหรือไม่?..ปรับราคา BANPU. KSecurities. ... <看更多>
แนวโน้มธุรกิจ 2565 在 แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2563-2565... - Krungsri Research 的推薦與評價
ธุรกิจ เช่าซื้อยานยนต์มีแนวโน้มเติบโตชะลอลงในช่วงระหว่างปี 2563-2565 จากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ชะลอลงตามภาวะเศรษฐกิจที่คาดว่าจะเติบโตในระดับต่ำ ... ... <看更多>