ความท้าทายที่รออยู่ หลังวิกฤติ ในมุมมองของ dtac
dtac x ลงทุนแมน
คงปฏิเสธไม่ได้ว่าโรคระบาดโควิด 19 สร้างผลกระทบต่อธุรกิจทั่วโลก
โดยเฉพาะในประเทศไทย ที่กินระยะเวลานานกว่าที่ใครหลายคนคาดการณ์เอาไว้
ทั้งนี้ โควิด 19 ได้กลายมาเป็นตัวเร่งให้ผู้ประกอบการปรับตัวเพื่อเอาตัวรอดทั้งในระยะสั้น
รวมถึงในระยะยาวเพื่อให้บริษัทมีความพร้อมต่อการฟื้นตัวและการเติบโตต่อไปในอนาคต
สำหรับวันนี้ เรามาดูมุมมองของ dtac หนึ่งในผู้ให้บริการเครือข่ายรายใหญ่ในประเทศไทย
ที่มีฐานผู้ใช้งานราว 19 ล้านบัญชี ในเรื่องความท้าทายจากวิกฤติที่ผู้ประกอบการไทย
ต้องก้าวตามให้ทัน
dtac มองวิกฤติในปีที่ผ่านมาอย่างไร ?
จากผลกระทบและความเสียหายที่เกิดขึ้นตรงต่อธุรกิจในประเทศไทย
dtac เห็นถึง 3 แนวโน้มสำคัญ
ที่จะเข้ามาเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค
สภาพสังคมและโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ในระยะยาวต่อจากนี้
แนวโน้มแรก ก็คือ โครงสร้างธุรกิจประหยัดต่อขนาด หรือ “Economies of Scale”
ที่กำลังเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในโลกธุรกิจ ทั้งในไทยและต่างประเทศ
ตรงนี้สะท้อนให้เห็นจากบริษัทเทคโนโลยี ในระดับภูมิภาค เช่น Sea Limited เจ้าของ Shopee และ Garena ที่ได้ประโยชน์จากความประหยัดต่อขนาดในช่วงวิกฤติปีที่ผ่านมา
ในที่นี้ก็คือ การลงทุนในโครงสร้างธุรกิจให้พร้อมต่อความต้องการของผู้ใช้งาน
ทั้งสำหรับผู้ขายและผู้ซื้อ โดยเฉพาะ Shopee ที่สามารถรองรับความต้องการที่พุ่งสูงขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนทำให้ Sea Limited เป็นเพียงไม่กี่บริษัท ที่สามารถเติบโตได้ต่อเนื่องท่ามกลางสถานการณ์ที่ไม่เป็นปกติ
นอกจาก Sea Limited แล้ว อีกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนก็ยังมี Grab
แพลตฟอร์มผู้ให้บริการเรียกรถและส่งอาหาร ที่ได้รับประโยชน์ต่อความประหยัดต่อขนาด
โดยบริษัทก็ได้เติบโตแบบก้าวกระโดดและกำลังจะจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์เร็ว ๆ นี้
แนวโน้มดังกล่าว ถือเป็นกรณีศึกษาที่ผู้ประกอบการไทยสามารถนำไปปรับใช้ได้
แม้ว่าเราจะไม่ได้ทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีโดยตรง
แต่เราก็สามารถหาตัวช่วยทางธุรกิจ เช่น ซอฟต์แวร์ทางบัญชีหรือระบบบริหารคงคลัง
เพื่อมาสนับสนุนกิจกรรมที่ทำซ้ำ ๆ ในแต่ละวัน ให้มีความเป็นอัตโนมัติมากขึ้น
ทั้งหมดนี้ นอกจากจะทำให้ธุรกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้นแล้ว
ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากมนุษย์ก็ยังจะน้อยลงไปอีกด้วย
แนวโน้มถัดมา dtac มองว่าแม้วิกฤติจะทำให้เราหันเข้าหาดิจิทัลมากขึ้น ในทางตรงกันข้าม
มันก็ได้ทำให้ช่องว่างระหว่างผู้ที่เข้าถึงและผู้เข้าไม่ถึงอินเทอร์เน็ตกว้างขึ้น
ท้ายที่สุดแล้ว มันจะนำไปสู่ “ความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล”
ปัญหาดังกล่าว dtac ได้มองว่าเป็นความรับผิดชอบของทางบริษัท
และตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ทางบริษัทก็ได้ร่วมแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ
ตั้งแต่การสร้าง Digital Ecosystem สำหรับผู้ใช้งาน
การพัฒนาโครงข่ายบนคลื่นความถี่ 700 MHz เพื่อให้บริการกับชุมชนที่อยู่ในละแวกห่างไกล
รวมถึงโครงการส่งเสริมผู้ประกอบการรายเล็ก ให้ปรับธุรกิจเข้าสู่ความเป็นดิจิทัลมากขึ้น
นอกจากทั้ง 2 เรื่องนี้แล้ว
อีกหนึ่งปัญหาสำคัญที่คนไทยเผชิญกันมาอย่างต่อเนื่อง
ก็คือ “ภาวะโลกร้อน” ที่ปัจจุบันกำลังส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางการเกษตร
และในระยะยาว ก็มีแนวโน้มจะส่งผลกระทบต่อระบบซัปพลายเชนเชิงธุรกิจในประเทศได้
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2554 ที่ภาวะโลกร้อน
เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ในประเทศไทย
ที่ส่งผลกระทบรุนแรงตั้งแต่ภาคการผลิตไปจนถึงการส่งมอบในหลายอุตสาหกรรม
ในมุมที่กว้างกว่านั้น หลายธุรกิจทั่วโลกก็กำลังให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ที่เห็นได้ชัดก็คือ Tesla
ผู้พัฒนารถไฟฟ้าที่ก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก
รวมไปถึงธุรกิจการพัฒนาอาหารจากพืช เพื่อลดปริมาณการเลี้ยงสัตว์ สำหรับการนำไปประกอบอาหาร ซึ่งถือเป็นวิธีที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมมากกว่า
จากเรื่องราวดังกล่าว dtac จึงได้นำมาปรับเป็นแผนธุรกิจระยะยาวเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับความท้าทายที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต เริ่มตั้งแต่การลดการใช้พลังงานเพื่อรับผิดชอบต่อภาวะโลกร้อน
สำหรับการรับมือภาวะโลกร้อนในประเทศไทยในภาพใหญ่
รัฐบาลได้มีการกำหนดเป้าหมายในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็น 2 ระยะ
ภายในปี 2020 ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 7 ถึง 20%
ภายในปี 2030 ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 20 ถึง 25%
ทั้งนี้ dtac ขยายโครงข่ายสัญญาณตามการเติบโตของความต้องการเครือข่ายเป็น 3 เท่าตัว
เมื่อเทียบกับปี 2015
แต่ข้อมูลที่น่าสนใจก็คือ ในปี 2562 การใช้พลังงานไฟฟ้าจากเสาสัญญาณ สถานีฐาน เป็นกว่า 97% ของพลังงานทั้งหมดที่ dtac ใช้
พอเรื่องเป็นแบบนี้ dtac จึงทำการวิจัยและพบว่าทางบริษัทสามารถลด
การใช้งานสถานีฐานและลดการใช้พลังงานต่อสถานีได้ราว 32%
จากการปรับโครงสร้างระบบทำความเย็น เพื่อทำให้ใช้พลังงานลดลงได้สำเร็จ
นอกจากในมุมของโครงสร้างเครือข่ายแล้ว
dtac เป็นหนึ่งในบริษัทที่มีความเกี่ยวข้องกับขยะอิเล็กทรอนิกส์
ทั้งจากการให้บริการโครงข่าย ลูกค้า และสำนักงาน
ตรงนี้ ทางบริษัทจึงให้ความสำคัญกับคู่ค้าทางด้านการกำจัดขยะ
ที่ต้องนำไปผ่านกระบวนการรีไซเคิลตามมาตรฐานสากล เท่านั้น
ในปี 2563 ที่ผ่านมา สามารถนำขยะอิเล็กทรอนิกส์ราว 180 ตัน เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล
เทียบได้กับการลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 9.9 ล้านกิโลกรัมคาร์บอน
นอกจากนี้ dtac ยังอยู่ในระหว่างการพัฒนาแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาและอาคารเพื่อนำไปใช้จริง
หากทำได้สำเร็จ วิธีนี้จะช่วยให้ทางบริษัทลดปริมาณการใช้พลังงานลงได้อีก
โดยทางบริษัทก็ได้ประกาศว่า จะลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 50% ภายในปี 2573
อีกหนึ่งในเรื่องที่ผู้ประกอบการต้องปรับตัว
เพื่อรับมือกับความท้าทายในระยะยาว
ก็คือ “ซัปพลายเชนที่ต้องรับมือให้ได้กับทุกวิกฤติเศรษฐกิจ”
อย่างในกรณีของ dtac ที่เป็นบริษัทเครือข่าย
ก็มีสายป่านการทำธุรกิจตั้งแต่บริษัทผลิตซิม
ไปจนถึงพาร์ตเนอร์ร้านจัดจำหน่ายซิมและสมาร์ตโฟน
อีกเกินกว่า 80,000 แห่งทั่วประเทศไทย
บริษัทได้ตั้งจุดกระจายสินค้า 1 จังหวัดต่อ 1 จุดกระจายสินค้า
และได้หันมาพัฒนาแอปพลิเคชัน dtac One
ซึ่งนอกจากจะสามารถรองรับการลงทะเบียนของพาร์ตเนอร์ทุกรายให้มาอยู่
บนแพลตฟอร์มเดียวกันแล้ว ทางผู้บริโภคก็สามารถเข้าถึงบริการของทางบริษัทได้ เช่นกัน
ปัจจุบัน dtac ยังคงมีมาตรการคุมเข้มสำหรับการทำงานในสำนักงานและดำเนินการ Work From Home อยู่ ซึ่งบุคลากรกว่า 95% ของทั้งบริษัทยังคงทำงานนอกสถานที่ แต่ก็ยังให้บริการได้เหมือนเดิม
ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยควรนำ “Stakeholders” หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับซัปพลายเชนทั้งหมดของบริษัทตั้งแต่ผู้ผลิตของเรา ไปจนถึงลูกค้าที่ซื้อสินค้าของเราคลี่ออกมาเพื่อให้เห็นภาพรวมทั้งหมด
ในขณะเดียวกัน เราก็ต้องหาช่องโหว่ที่อาจกระทบต่อธุรกิจของเราได้
เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน และพยายามหาวิธีรับมือตั้งแต่ตอนนี้
นอกจากภาวะโลกร้อนและระบบซัปพลายเชนแล้ว ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลผู้ใช้งานก็ถือเป็นอีกความท้าทายต่อทุกธุรกิจในอนาคต
จากผลสำรวจของ Cisco พบว่ากว่า 48% ของผู้บริโภคกังวลว่าข้อมูลส่วนตัวบนอินเทอร์เน็ตมีความไม่ปลอดภัยและถูกนำไปใช้เพื่อผลประโยชน์บางอย่าง
ตรงนี้ก็ถือเป็นหนึ่งในความท้าทายที่ผู้ประกอบการต้องระมัดระวัง
เพราะปัจจุบัน เราจะเห็นได้ชัดว่าทางรัฐบาลในหลายประเทศเริ่มมีการออกมาตรการ
ควบคุมแพลตฟอร์มทางเทคโนโลยี เช่น เฟซบุ๊ก เพราะสังคมเริ่มให้ความใส่ใจกับการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจในยุคนี้จำเป็นที่จะต้องพึ่งพาข้อมูลมากขึ้น
เพื่อนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคมากที่สุด
หนึ่งในวิธีการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพก็คือ ภาครัฐจำเป็นที่จะต้องออกมาตรการควบคุมและแนวทางการบังคับใช้ข้อมูลของผู้บริโภคให้มีมาตรฐานเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ทั้งธุรกิจและประเทศ
จากทุกเรื่องที่กล่าวมาทั้งหมด
ก็ถือเป็นความท้าทายที่ผู้ประกอบการไม่ควรมองข้าม
นอกจากความท้าทายจะเกิดขึ้นในเชิงของธุรกิจแล้ว
มันก็ยังมาในรูปแบบปรากฏการณ์ธรรมชาติอย่างภาวะโลกร้อน
รวมไปถึงปัญหาทางสังคม เช่น ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลผู้ใช้งาน
ที่ล้วนแต่เป็นประเด็นที่คนทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญ
และเราต้องเตรียมพร้อมรับมือ เพื่อให้ธุรกิจสามารถเติบโตต่อไปได้ ในระยะยาว..
#dtacResponsibleBusiness
「แนวโน้มสำคัญ」的推薦目錄:
- 關於แนวโน้มสำคัญ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
- 關於แนวโน้มสำคัญ 在 อายุน้อยร้อยล้าน Facebook 的最佳貼文
- 關於แนวโน้มสำคัญ 在 EP.240 2/2 แนวโน้มสำคัญทางสุขภาพในปี 2565 - YouTube 的評價
- 關於แนวโน้มสำคัญ 在 Wealth Me Up - [ 8 แนวโน้มสำคัญ การลงทุนปี 2566 - Facebook 的評價
- 關於แนวโน้มสำคัญ 在 PTTEP แนวโน้มไตรมาส 4 เติบโตอย่างมีนัยสำคัญ Bualuang ... 的評價
- 關於แนวโน้มสำคัญ 在 กลยุทธ์ นโยบาย และการบริหารจัดการสู่ความยั่งยืน - ปตท. 的評價
แนวโน้มสำคัญ 在 อายุน้อยร้อยล้าน Facebook 的最佳貼文
โลกธุรกิจที่เต็มไปด้วยการแข่งขันอย่างดุเดือด! หากต้องการให้ตัวเองเป็นผู้อยู่รอด ต้องสร้างความได้เปรียบให้ตัวเองนั้นอยู่เหนือชั้นจากคู่แข่งแบบที่ไม่ว่าใครก็ขึ้นมาเทียบคุณไม่ได้ เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้โลกมากขนาดไหน คุณในฐานะผู้ประกอบการ คนทำธุรกิจ รวมถึงนักการตลาด ต้องเตรียมพร้อมรับมืออยู่เสมอ
.
โดยเฉพาะกับเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตลอดปี 2020 ที่ผ่านมา จนทำให้เกิดเป็น 10 แนวโน้มสำคัญที่กำลังจะก่อตัวขึ้นจนกลายเป็นพฤติกรรมของผู้บริโภค และจะเข้ามากำหนดทิศทางของโลกธุรกิจในปี 2021 จาก “เมล เอ็ดเวิร์ดส์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารระดับโกลบอลของ วันเดอร์แมน ธอมสัน ในรายงาน The Future 100
.
1. “Micropreneurs” การผันตัวจากทำงานพิเศษสู่การเป็นผู้ประกอบการรายเล็ก
ทำงานพิเศษหารายได้เสริม แม้ได้เงิน แต่ไม่ได้ความมั่นคง ยุคนี้ต้องสตาร์ทอัพหรือผู้ประกอบการรายเล็กเท่านั้น เพราะสิ่งเล็กๆ มักเป็นจุดเริ่มต้นของความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่เสมอ ซึ่งผู้คนมากมายต่างเปลี่ยนเส้นทางอาชีพ ผันตัวมาประกอบธุรกิจส่วนตัวแบบนี้กันมากขึ้น โดยส่วนหนึ่งมาจากสถานการณ์โควิด-19 และอัตราการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้นด้วย
.
2. “Immunity Wellness” สุขภาพดีได้ด้วยภูมิคุ้มกัน
“สุขภาพดีไม่มีขาย ถ้าอยากได้ต้องทำเอง” ผู้คนทั่วโลกไม่เคยให้ความใส่ใจเกี่ยวกับการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของตัวเองมากเท่ากับช่วงเวลานี้มาก่อน โดยเฉพาะในปีนี้ที่เราจะได้เห็นเหล่าผู้เชี่ยวชาญพากันออกมาบอกวิธีเหล่านี้แก่ผู้คนอย่างหลากหลาย ตั้งแต่การใช้ยาแผนโบราณไปจนถึงงานวิจัยสารพันธุกรรม
.
3. “Mobilizing Fandom” ระดมพลังแฟนคลับของเหล่าศิลปินไอดอล
แฟนคลับกลุ่มต่างๆ หรือที่เรียกว่า “แฟนด้อม” กำลังเติบโตอย่างเป็นอิสระในแบบของตัวเอง ขยับบทบาทจากเดิมที่แค่บริโภควัฒนธรรมป๊อป สู่การเป็นกระบอกเสียงและผู้สร้างคอนเทนต์ให้กับเหล่าไอดอลของพวกเขาทั้งในโลกออนไลน์และสังคมโดยรวมทั้งหมด อาทิ ป้ายโฆษณาขนรถสาธารณะต่าง ๆ นำรูปการ์ตูนน่ารักที่แฟนคลับวาดเองมาเผยแพร่ลงโซเชียล รวมถึงการจัดโปรเจคเนื่องในวันสำคัญของศิลปิน เป็นต้น ซึ่งผู้นำเทรนด์ก็คือ แฟน ๆ ทั่วโลกของศิลปินทั่วโลก
.
4. “Unbiased Banking” บริการการธนาคารที่ไร้อคติ เปิดกว้าง และหลากหลาย
ธนาคาร ถือเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมโดยสิ้นเชิง โดยเฉพาะเรื่องของบริการที่ “เปิดกว้าง” มากขึ้น ผู้บริโภคสามารถทำธุรกรรมการเงินได้จากหลากหลายช่องทาง ตามความสะดวกและความเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็น ทำผ่านธนาคาร ตู้ ATM และ Mobile Banking นอกจากนี้ยังมีธนาคารที่เปลี่ยนมาให้บริการเฉพาะในรูปแบบออนไลน์เพียงอย่างเดียว หรือที่เรียกว่า Neobanks อาทิ ซิมบา (Simba) และกรีนวู้ด (Greenwood) ที่เล็งเห็นปัญหาและออกบริการมาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ากลุ่มเล็กๆ ที่มักถูกมองข้ามไปอีกด้วย
.
5. “Cloud Gaming” การเล่นเกมบนคลาวด์กำลังมาแรง
แม้จะมีมาสักพักกับการเล่นเกมบนคลาวน์ ที่ผู้เล่นไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์แพง หรือต้องติดตั้ง Set-top box เหมือนเกมในรูปแบบเดิม มีเพียงแค่สัญญาณอินเทอร์เน็ตก็เล่นได้แล้ว เนื่องจากเกมจะถูกทำการ Streaming ผ่านอินเทอร์เน็ตและแสดงผลออกมาผ่านอุปกรณ์ที่ผู้เล่นใช้ ซึ่งต้องยอมรับว่าตอนนี้ การเล่นเกมบนคลาวด์ และวิดีโอเกมต่าง ๆ ได้กลายเป็นที่นิยมอย่างมาก ส่งผลให้นักลงทุนยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีทั้ง แอมะซอน กูเกิ้ล ไมโครซอฟท์ โซนี่ และ เฟซบุ๊ก ต่างก็ตั้งความคาดหวังอย่างสูงกับรายได้มหาศาลจากระบบการเล่นเกมบนคลาวด์นี้
.
6. “Touchless Travel” การเดินทางแบบไร้การสัมผัส
ตั้งแต่เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ทุกคนทั่วโลก ต้องลดและเลี่ยงการสัมผัสซึ่งกันและกัน ตั้งแต่การเดิน นั่ง การเดินทางด้วยยานพาหนะต่าง ๆ โดยเฉพาะรถโดยสารสาธารณะ รถเมล์ รถไฟฟ้า รวมถึงเครื่องบิน ที่ได้รับการปรับเปลี่ยนใหม่ทุกแง่มุม ตั้งแต่เช็คอิน ฝากกระเป๋า ไปจนถึงเรื่องห้องน้ำและความบันเทิงในเที่ยวบิน ซึ่งทุกบริการล้วนเกิดขึ้นเพื่อมุ่งให้มีการสัมผัสกันน้อยที่สุด และมีสุขลักษณะ เพื่อให้ผู้โดยสารมีความมั่นใจในการเดินทางมากขึ้น
.
7. “Big Brands Go Circular” แบรนด์ใหญ่เบนเข็มจับเทรนด์เศรษฐกิจหมุนเวียน
ยุคที่อะไรๆ ก็ดูจะแพงไปหมด เพื่อให้คุ้มค่ามากที่สุดและให้เงินในกระเป๋าลดลงน้อยที่สุด สิ่งใดที่ยังใช้งานได้อยู่หรือสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ต่อ ผู้บริโภคก็มักเก็บไว้ใช้งานต่อเพื่อให้ของสิ่งนั้นเกิดคุณค่ามากที่สุด ซึ่งเป็นเหตุทำให้แบรนด์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกุชชี่ ยูนิโคล่ พากันก้าวเข้าสู่ธุรกิจสินค้ามือสอง หรือแม้กระทั่งธุรกิจบรรจุภัณฑ์ ต่างก็กำลังคิดค้น บรรจุภัณฑ์ที่ไม่ใช่แค่ห่ออาหาร แต่ให้สามารถใช้ประโยชน์ได้มากกว่านั้น ซึ่งไม่แน่วันหนึ่งบรรจุภัณฑ์ต่างๆ อาจถูกพัฒนาให้สามารถกินได้ นอกจากจะคุ้มค่าแล้ว ยังเป็นการช่วยลดขยะในโลกได้ดีอีกด้วย
.
8. “Ghost Kitchens” ร้านอาหารที่มีแต่ครัว ไม่มีหน้าร้าน
การเติบโตในช่วงที่ผ่านมาของร้านอาหาร ที่เน้นบริการการส่งถึงที่เป็นอันดับแรก ทำให้เกิดร้านอาหารแบบใหม่ขึ้นมากมาย โดยเฉพาะ “ร้านอาหารที่มีแต่ครัว แต่ไม่มีโต๊ะนั่งหรือหน้าร้าน” แต่เป็นการรับออเดอร์ผ่านแอปพลิเคชันเดลิเวอรี่ต่างๆ พร้อมกับจัดส่งอาหารด้วยบริการเดลิเวอรี่ ซึ่งนับว่า อาชีพเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่มาแรงในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ไม่จำเป็นต้องมีทุนมากมาย ขอแค่ที่บ้านมีครัว และตัวเองมีเสน่ห์ปลายจวักสักนิด ก็สามารถเปิดร้านอาหารเป็นของตัวเองได้แล้ว
.
9. “Foraged Ingredients” ส่วนผสมที่เสาะแสวงหามาจากป่า
ไม่ใช่เทรนด์ใหม่เรื่องอาหารการกิน แต่เป็นเทรนด์ด้านความงามที่เกิดขึ้นพร้อมกับแบรนด์ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวพรรณ โดยเป็นการสร้างผลิตภัณฑ์จากพืช สมุนไพร ที่เสาะแสวงหามาได้จากป่าธรรมชาติ ซึ่งพืช สมุนไพรเหล่านั้นให้ผลลัพธ์ที่คาดหวังได้ ส่งผลให้ไม่ว่าจะเป็นอาหารจากพืชผักสมุนไพร หรือผลิตภัณฑ์ดูแลผิวพรรณ กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคให้ความสนใจ เนื่องจากพวกเขามองว่า ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากธรรมชาติ มีสรรพคุณที่ดี และปลอดภัยแน่นอน
.
10. “Live Commerce” ไลฟ์คอมเมิร์ซ ค้าปลีกที่สร้างความบันเทิงในโลกออนไลน์
เมื่อการโพสต์รูป บอกรายละเอียด ราคาสินค้า กลายเป็นสิ่งที่ไม่ได้ตอบโจทย์และไม่ได้สร้างการมีส่วนร่วมกับเหล่าผู้บริโภค ส่งผลให้ การค้าปลีกที่สร้างความบันเทิง (Retail-tainment) กำลังจะบุกโลกออนไลน์ด้วยการสร้างประสบการณ์การซื้อขายที่น่าสนใจและเหมาะสมกับผู้ชม โดยใช้วิดีโอสตรีมมิ่งเพื่อสาธิตและขายผลิตภัณฑ์ต่างๆ พร้อมกับการสร้างปฏิสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมกับลูกค้าในแบบเรียลไทม์
.
และทั้งหมดนี้ คือ 10 แนวโน้มสำคัญที่กำลังจะก่อตัวขึ้นและจะกลายมาเป็นตัวกำหนดทิศทางของธุรกิจในปีนี้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการธุรกิจต่าง ๆ รวมถึงนักการตลาด จำเป็นต้องศึกษา เรียนรู้ เพื่อเตรียมรับมือ พร้อมกับปรับตัวให้ทันอย่างรวดเร็วที่สุด และที่สำคัญจงจำไว้ว่า
.
“หากคุณต้องการรอด และเป็นผู้ชนะอย่างแท้จริง อย่ารีรอที่จะเปลี่ยนแปลง อย่าลังเลที่ก้าวออกไปสู่เส้นทางใหม่ๆ และจงกระโดดไปข้างหน้าให้ไกลกว่าคนอื่นไม่ว่าเส้นทางข้างหน้าจะขรุขระหรือเต็มไปด้วยขวากหนามก็ตาม หากคุณปรับตัวได้ก่อน และเชื่อมั่นว่าตัวเองทำได้ ขวากหนามข้างหน้าก็จะกลายเป็นแค่พรมนุ่มๆ ที่รองรับเท้าสวยๆ ของคุณอย่างแน่นอน”
.
ที่มา : https://www.businesstoday.co/business/25/01/2021/60041/
#อายุน้อยร้อยล้าน #ryounoi100lan
#อายุน้อยร้อยล้านNEWS
#เทรนด์ธุรกิจปี2021 #แนวโน้มสำคัญ #พฤติกรรมผู้บริโภค #ธุรกิจ
#ผู้ประกอบการ #นักการตลาด #วันเดอร์แมนธอมสัน #WundermanThompson #TheFuture100 #ทิศทางธุรกิจ
แนวโน้มสำคัญ 在 Wealth Me Up - [ 8 แนวโน้มสำคัญ การลงทุนปี 2566 - Facebook 的推薦與評價
8 แนวโน้มสำคัญ การลงทุนปี 2566 | Wealth Me Up ] ชวนมาดูโอกาสการ 'ลงทุน ปี 66' 8 แนวโน้มสำคัญในปีหน้า...มาดูกันเลย... ... <看更多>
แนวโน้มสำคัญ 在 PTTEP แนวโน้มไตรมาส 4 เติบโตอย่างมีนัยสำคัญ Bualuang ... 的推薦與評價
Stock DW เด่นประจำวันนี้ (ฺPTTE01C190A). คาดว่ากำไรหลัก Q4/61 จะเติบโตและแตะจุดสูงสุดของปี 61 อย่างไรก็ตามอัตราแลกเปลี่ยนและแนวโน้มราคาน้ำมันยัง ... ... <看更多>
แนวโน้มสำคัญ 在 EP.240 2/2 แนวโน้มสำคัญทางสุขภาพในปี 2565 - YouTube 的推薦與評價
EP.240 2/2 แนวโน้มสำคัญ ทางสุขภาพในปี 2565. 8.1K views · 1 year ago ...more. ปลดล็อกกับหมอเวช. 153K. Subscribe. 153K subscribers. 210. Share. ... <看更多>