#แล้วเมื่อไหร่ที่เราต้องพาลูกที่ป่วยไปหาหมอ
หมอจะแยกตามอาการสำคัญนะคะ
👉1.โรคทางเดินหายใจ
ร้อยละ 90 ของเด็กเล็กเกิดจากไวรัส
มักมีอาการหวัดก่อน ซึ่งไข้จะไม่สูงมาก มีน้ำมูก ไอเล็กน้อย
เพราะน้ำมูกกับเสมหะหยดลงคอ
Character ของเด็กคือ กลางวันเล่นได้ กินได้ ไข้ต่ำ
พอกลางคืน เริ่มซม ไข้สูงขึ้น ซึ่งอาการจะหนักในช่วงวันที่ 2-4 หลังจากนั้นอาการจะดีขึ้น
แต่ถ้ามีอาการดังนี้ ก็ควรพามาหาหมอ
-ไข้สูงตลอดเวลา กลางวันจากที่เคยเล่นได้กินได้ ก็ซมพอๆกับกลางคืน
- กินนม กินอาหาร กินน้ำได้ลดลง (กินได้น้อยกว่า 50%ของ baseline)
- หายใจแรง ตอนหลับหายใจอกกระเพื่อมแรง อกบุ๋ม --> แบบนี้ระวังว่าการติดเชื้อลามไปทางเดินหายใจส่วนล่าง
- เป็นหวัด โดยที่อาการไม่ดีขึ้นเลย นานเกิน 7 วัน
(ย้ำว่า ไม่มีอะไรดีขึ้นเลยมีแต่ทรงกับทรุดเกิน 7 วัน) -->มีภาวะแทรกซ้อนของหวัด เช่น หูอักเสบ ไซนัสอักเสบ หรือติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติมในร่างกาย -หายใจลำบาก
❤❤❤❤❤❤
👉2.ไข้สูงอย่างเดียว ไม่มีอาการอื่นร่วม
นิยามของไข้ในเด็ก คืออุณหภูมิมากกว่า 37.5 C
ถ้าไข้อยู่ในช่วง 37.6-38 C แต่ยังเล่นได้ ยังกินอาหารได้ปกติ
ให้เช็ดตัวลดไข้ กินยาลดไป และดูอาการไปก่อน
เด็กต่อไปนี้ควรมาพบแพทย์
- เด็กอายุน้อยกว่า 1 เดือน ที่แม่วัดว่ามีไข้ > 37.5C ติดต่อกัน 2 ครั้ง โดยที่ไม่ได้เกิดจากการห่อตัวที่หนาเกินไป หรือ ห้องอุณหภูมิร้อนเกินไป (ทารกยังปรับอุณภูมิกายไม่เก่ง สิ่งแวดล้อมสำคัญ) ต้องพามาพบกุมารแพทย์
- เด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี ที่ไข้สูงลอย แม้จะกินยาลดไข้ หรือเช็ดตัว
(อย่างเต็มที่) ก็ไม่สามารถทำให้อุณภูมิกาย < 38 C ได้เลย
- เด็กมีไข้ ร่วมกับ ซึมมาก จากที่เคยเล่นไม่เล่น เคยกิน ไม่กิน
- เด็กทุกอายุ เป็นไข้สูงอย่างเดียว นานเกิน 72 ชั่วโมง สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก (ด้วยเหตุใดๆก็ตาม)
❤❤❤❤❤❤ 👉3. ระบบทางเดินอาหาร - เด็กที่ถ่ายเหลว หรือ อาเจียน โดยที่ผู้ดูแล ไม่สามารถป้อนน้ำเกลือแร่ ได้ทันกับที่เด็กถ่ายเหลวหรืออาเจียน ทำให้มีภาวะขาดน้ำปานกลาง ถึงรุนแรง คือ ซึม ตาโหล ฉี่เข้มมาก ปากแห้ง น้ำลายเหนียว --> ต้องมาให้น้ำเกลือแร่ทดแทนเข้าทางเส้นเลือด - เด็กที่ปวดท้องด้านขวาล่าง ปวดมากขึ้นเรื่อยๆ ร่วมกับมีไข้ อาเจียน ท้องอืดขึ้น กินอาหารได้น้อยลง -->พามาตรวจเพื่อยืนยันว่ามีภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการผ่าตัดหรือไม่ เช่น ไส้ติ่งอักเสบ เป็นต้น - เด็กที่ปวดท้อง อาเจียน(กินอะไรก็อาเจียน บางครั้งอาเจียนออกมาเป็นน้ำดี คือ น้ำสีเหลืองๆ) ท้องอืดมากกกกกขึ้นเรื่อย -->พามาตรวจประเมินภาวะลำไส้อุดตัน ❤❤❤❤❤❤
👉4.ระบบประสาท
- เด็กที่มีภาวะชัก ครั้งแรก ไม่ว่าจะมีไข้หรือไม่มีไข้ (เด็กชักจากไข้สูง ที่พ่อแม่ “เก่งเรื่องการดูแล”แล้ว ไม่ต้องพามา ให้กินยาลดไข้ รักษาตามอาการ ยกเว้นมีอาการที่เข้าได้กับคำแนะนำที่หมอบอกว่าให้มาตรวจ)
- เด็กที่มีการชักนานเกิน 15 นาที หรือ ชักไม่นาน แต่ชักซ้ำๆหลายรอบใน 1 วัน
-มีการเปลี่ยนแปลงของระดับสติสัมปชัญญะ ที่เรารู้สึกว่า ไม่ได้มาจากแค่ไข้อย่างเดียว
❤❤❤❤❤❤
👉5.อื่นๆ เด็กที่มีโรคประจำตัว
กลุ่มนี้คุณพ่อคุณแม่มักมีความชำนาญ และสังเกตการเปลี่ยนแปลงของลูกได้ ถ้ารู้สึกว่าอาการลูกแย่ลง
อาการแย่มาก ไปพบแพทย์ที่ห้องฉุกเฉินได้ตลอดเวลา
อาการรอได้ ลองโทรหาคลินิกที่รักษาประจำก่อนเบื้องต้น พยาบาลจะปรึกษาหมอให้ว่าควรทำอะไร แต่โดยส่วนใหญ่เด็กกลุ่มนี้ติดตามการรักษาที่คลินิกเฉพาะทาง เพราะฉะนั้น ต้องถามข้อมูลว่าคุณหมอประจำออกตรวจมั้ย หรือ จะพบคุณหมอ ได้วันไหนบ้าง
❤❤❤❤❤❤ 6. เรื่องฉีดวัคซีน อ่านที่หมออร สรุปเลยละกันนะคะ https://www.facebook.com/113780158959315/posts/1106160919721229/
==================
หมอหวังว่าข้อมูลจะพอช่วยเหลือคุณพ่อคุณแม่ได้บ้างนะคะ หากมีคำถาม ถามใน comment ถ้าหมอตอบได้ (หมายถึงมีทั้งเวลาและความรู้เพียงพอ)จะตอบให้ค่ะ
👉👉👉👉👉👉👉👉
หมอแพม
(พญ.ปุษยบรรพ์ สุวรรณคีรี กุมารแพทย์โรคระบบทางเดินหายใจ และเวชบำบัดวิกฤติ)
「แล้วเมื่อไหร่ที่เราต้องพาลูกที่ป่วยไปหาหมอ」的推薦目錄:
- 關於แล้วเมื่อไหร่ที่เราต้องพาลูกที่ป่วยไปหาหมอ 在 หมอแพมชวนอ่าน Facebook 的最佳貼文
- 關於แล้วเมื่อไหร่ที่เราต้องพาลูกที่ป่วยไปหาหมอ 在 หมอแพมชวนอ่าน Facebook 的最佳貼文
- 關於แล้วเมื่อไหร่ที่เราต้องพาลูกที่ป่วยไปหาหมอ 在 สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ - #ข้อควรปฏิบัติเมื่อต้องพาลูกหาหมอ ในการ ... 的評價
- 關於แล้วเมื่อไหร่ที่เราต้องพาลูกที่ป่วยไปหาหมอ 在 พาลูกหมาไปหาหมอ น้องป่วยอีกแล้วหรอ? // โดนเจาะเลือด น้องกลัว ... 的評價
แล้วเมื่อไหร่ที่เราต้องพาลูกที่ป่วยไปหาหมอ 在 หมอแพมชวนอ่าน Facebook 的最佳貼文
#สรุปอาการที่ต้องพาลูกมารพ.
.
สัปดาห์ที่ผ่านมา
หมอได้ตรวจเคส ผู้ป่วยเด็ก ที่ต้องมาโรงพยาบาล
เพราะความกังวลของผู้เลี้ยงดู หลายเคสมากๆ
ในที่นี้หมายถึง ในภาวะปกติ เค้าคงไม่พาลูกมาตรวจ
พามาตรวจ เพราะอยากให้หมอบอกให้สบายใจว่า ไม่ใช่ COVID
แต่พามารพ. ในเพลานี้
คือ #สถานที่เสี่ยง กับการติด COVID-19
(มีข้อมูลจากจีน เคสปอดอักเสบ 138 ราย
พบว่า 41% ผู้ป่วยได้รับเชื้อจากมารพ.นะคะ)
.
เอาอย่างนี้นะคะ!
ถึงทางการแพทย์จะยังรู้จักเจ้า COVID-19 ไม่มาก
แต่ข้อมูลที่ตรงกันคือ
#คนไข้เด็กอายุน้อยกว่า_15ปี_มีอาการไม่รุนแรง
และอัตราการตายในเด็กแข็งแรงไม่มีโรคประจำตัว เป็น 0
#ความน่ากลัวของคนไข้เด็กอยู่ที่_เค้าจะเป็นตัวกลางแพร่เชื้อให้คนอื่นในครอบครัว
เพราะเด็กแสดงอาการน้อยมาก
และเด็กๆทุกบ้าน อยู่ไม่ได้โดยไม่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใหญ่
ถ้าเชื้อจากเด็กไปติดผู้สูงอายุ
จะทำให้เกิดเคสอาการรุนแรงเพิ่มขึ้นมา
เพราะฉะนั้น....ให้ลูกอยู่บ้าน ดีที่สุด
ถ้าจำเป็นต้องออกจากบ้านจริงๆ ตกลงกับลูกให้เข้าใจว่า
ต้องใส่หน้ากากอนามัยตลอด และต้องล้างมือ
อย่าเอามือไปจับสิ่งต่างๆ ห้ามจับใบหน้า
(ซึ่งยากมาก...สำหรับเด็ก)
.
ถ้าตอนนี้ลูกเจ็บป่วยเล็กน้อย
เป็นโอกาสดีแล้วค่ะ ที่เราจะได้ฝึกทักษะการดูแลรักษาพยาบาลเบื้องต้น
หมอมี link ที่เคยเขียนเอาไว้ให้
1.เด็กเป็นหวัด
https://www.facebook.com/drpambookclub/posts/382999938701372?__tn__=H-R
และ
https://www.facebook.com/drpambookclub/photos/a.334724846862215/620205558314141/?type=3&theater
2.ท้องเสียถ่ายเหลว
https://www.facebook.com/drpambookclub/posts/391226954545337
และเรื่องเกี่ยวกับเกลือแร่ ORS
https://www.facebook.com/search/posts/?q=ORS&epa=FILTERS&filters=eyJycF9hdXRob3IiOiJ7XCJuYW1lXCI6XCJhdXRob3JcIixcImFyZ3NcIjpcIjMzMjU1OTQ1Mzc0NTQyMVwifSJ9
3.ความเข้าใจเกี่ยวกับ “ไข้”
https://www.facebook.com/watch/?v=435122763489089
4.ไข้สูงแล้วชัก
https://www.facebook.com/drpambookclub/posts/383853181949381?__xts__[0]=68.ARDzqCDijN5X9mJZFVdrSZsdn51eJMMeBDEXeeLAY7NWxk5Ot0vCB6tgI4mVQxnQr_yRITgkIpf0J6Z7NLy_C51pcdrOVdJWTlMlMTE7xNutsLktVBJMbQLaW00ruIuH9546UWxj5bTlzKSUSVHwqznV6zBrZb8OmVAji72O6qPpN3lf3XgSGuV6dsjInaNcHMYIGCSSUNc8WM3ugYc2TUoJkmZUkCqTO_lJyevJYT4srQ2YQEahIuTHek7ufG8hRzV8lr1rK_o-10cUw1MRp8mkQNXaARVtgS13z45zcaSVFtdZ8yIcKPrwjDkM1dG1LZDnf7bjhs_2SzxbDahHGSs&__tn__=-R
5.การล้างจมูกในเด็ก
https://www.facebook.com/drpambookclub/photos/a.334724846862215/430430427291656/?type=3&theater
6.การไอในเด็ก
https://www.facebook.com/drpambookclub/posts/456134144721284
คุณพ่อคุณแม่ลองอ่าน และทำความเข้าใจดูนะคะ
❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤
ที่นี้ ถ้าเราสงสัยว่า
#แล้วเมื่อไหร่ที่เราต้องพาลูกที่ป่วยไปหาหมอ
หมอจะแยกตามอาการสำคัญนะคะ
👉1.โรคทางเดินหายใจ
ร้อยละ 90 ของเด็กเล็กเกิดจากไวรัส
มักมีอาการหวัดก่อน
ซึ่งไข้จะไม่สูงมาก มีน้ำมูก
ไอเล็กน้อยเพราะน้ำมูกกับเสมหะหยดลงคอ
Character ของเด็กคือ กลางวันเล่นได้ กินได้ ไข้ต่ำ
พอกลางคืน เริ่มซม ไข้สูงขึ้น
ซึ่งอาการจะหนักในช่วงวันที่ 2-4 หลังจากนั้นอาการจะดีขึ้นแต่ถ้ามีอาการดังนี้ ก็ควรพามาหาหมอ
-ไข้สูงตลอดเวลา กลางวันจากที่เคยเล่นได้กินได้ ก็ซมพอๆกับกลางคืน
- กินนม กินอาหาร กินน้ำได้ลดลง (กินได้น้อยกว่า 50%ของ baseline)
- หายใจแรง ตอนหลับหายใจอกกระเพื่อมแรง อกบุ๋ม --> แบบนี้ระวังว่าการติดเชื้อลามไปทางเดินหายใจส่วนล่าง
- เป็นหวัด โดยที่อาการไม่ดีขึ้นเลย นานเกิน 7 วัน (ย้ำว่า ไม่มีอะไรดีขึ้นเลยมีแต่ทรงกับทรุดเกิน 7 วัน) -->มีภาวะแทรกซ้อนของหวัด เช่น หูอักเสบ ไซนัสอักเสบ หรือติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติมในร่างกาย
-หายใจลำบาก
❤❤❤❤❤❤
👉2.ไข้สูงอย่างเดียว ไม่มีอาการอื่นร่วม
นิยามของไข้ในเด็ก คืออุณหภูมิมากกว่า 37.5 C
ถ้าไข้อยู่ในช่วง 37.6-38 C แต่ยังเล่นได้ ยังกินอาหารได้ปกติ
ให้เช็ดตัวลดไข้ กินยาลดไป และดูอาการไปก่อน
เด็กต่อไปนี้ควรมาพบแพทย์
- เด็กอายุน้อยกว่า 1 เดือน ที่แม่วัดว่ามีไข้ > 37.5C ติดต่อกัน 2 ครั้ง โดยที่ไม่ได้เกิดจากการห่อตัวที่หนาเกินไป
หรือ ห้องอุณหภูมิร้อนเกินไป (ทารกยังปรับอุณภูมิกายไม่เก่ง สิ่งแวดล้อมสำคัญ) ต้องพามาพบกุมารแพทย์
- เด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี ที่ไข้สูงลอย แม้จะกินยาลดไข้ หรือเช็ดตัว (อย่างเต็มที่) ก็ไม่สามารถทำให้อุณภูมิกาย < 38 C ได้เลย
- เด็กมีไข้ ร่วมกับ ซึมมาก จากที่เคยเล่นไม่เล่น เคยกิน ไม่กิน
- เด็กทุกอายุ เป็นไข้สูงอย่างเดียว นานเกิน 72 ชั่วโมง สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก (ด้วยเหตุใดๆก็ตาม)
❤❤❤❤❤❤
👉3. ระบบทางเดินอาหาร
- เด็กที่ถ่ายเหลว หรือ อาเจียน โดยที่ผู้ดูแล ไม่สามารถป้อนน้ำเกลือแร่ ได้ทันกับที่เด็กถ่ายเหลวหรืออาเจียน
ทำให้มีภาวะขาดน้ำปานกลาง ถึงรุนแรง คือ ซึม ตาโหล ฉี่เข้มมาก ปากแห้ง น้ำลายเหนียว --> ต้องมาให้น้ำเกลือแร่ทดแทนเข้าทางเส้นเลือด
- เด็กที่ปวดท้องด้านขวาล่าง ปวดมากขึ้นเรื่อยๆ ร่วมกับมีไข้ อาเจียน ท้องอืดขึ้น กินอาหารได้น้อยลง -->พามาตรวจเพื่อยืนยันว่ามีภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการผ่าตัดหรือไม่ เช่น ไส้ติ่งอักเสบ เป็นต้น
- เด็กที่ปวดท้อง อาเจียน(กินอะไรก็อาเจียน บางครั้งอาเจียนออกมาเป็นน้ำดี คือ น้ำสีเหลืองๆ) ท้องอืดมากกกกกขึ้นเรื่อย -->พามาตรวจประเมินภาวะลำไส้อุดตัน
❤❤❤❤❤❤
👉4.ระบบประสาท
- เด็กที่มีภาวะชัก ครั้งแรก ไม่ว่าจะมีไข้หรือไม่มีไข้
(เด็กชักจากไข้สูง ที่พ่อแม่ “เก่งเรื่องการดูแล”แล้ว ไม่ต้องพามา
ให้กินยาลดไข้ รักษาตามอาการ ยกเว้นมีอาการที่เข้าได้กับคำแนะนำที่หมอบอกว่าให้มาตรวจ)
- เด็กที่มีการชักนานเกิน 15 นาที หรือ ชักไม่นาน แต่ชักซ้ำๆหลายรอบใน 1 วัน
-มีการเปลี่ยนแปลงของระดับสติสัมปชัญญะ ที่เรารู้สึกว่า ไม่ได้มาจากแค่ไข้อย่างเดียว
❤❤❤❤❤❤
👉5.อื่นๆ
เด็กที่มีโรคประจำตัว กลุ่มนี้คุณพ่อคุณแม่มักมีความชำนาญ และสังเกตการเปลี่ยนแปลงของลูกได้
ถ้ารู้สึกว่าอาการลูกแย่ลง
อาการแย่มาก ไปพบแพทย์ที่ห้องฉุกเฉินได้ตลอดเวลา
อาการรอได้ ลองโทรหาคลินิกที่รักษาประจำก่อนเบื้องต้น พยาบาลจะปรึกษาหมอให้ว่าควรทำอะไร
แต่โดยส่วนใหญ่เด็กกลุ่มนี้ติดตามการรักษาที่คลินิกเฉพาะทาง เพราะฉะนั้น ต้องถามข้อมูลว่าคุณหมอประจำออกตรวจมั้ย หรือ จะพบคุณหมอ ได้วันไหนบ้าง
❤❤❤❤❤❤
6. เรื่องฉีดวัคซีน
อ่านที่หมออร สรุปเลยละกันนะคะ
https://www.facebook.com/113780158959315/posts/1106160919721229/
==================
หมอหวังว่าข้อมูลจะพอช่วยเหลือคุณพ่อคุณแม่ได้บ้างนะคะ
หากมีคำถาม ถามใน comment ถ้าหมอตอบได้ (หมายถึงมีทั้งเวลาและความรู้เพียงพอ)จะตอบให้ค่ะ
👉👉👉👉👉👉👉👉
หมอแพม
(พญ.ปุษยบรรพ์ สุวรรณคีรี
กุมารแพทย์โรคระบบทางเดินหายใจ
และเวชบำบัดวิกฤติ)
แล้วเมื่อไหร่ที่เราต้องพาลูกที่ป่วยไปหาหมอ 在 พาลูกหมาไปหาหมอ น้องป่วยอีกแล้วหรอ? // โดนเจาะเลือด น้องกลัว ... 的推薦與評價
luckytree วันนี้ เราต้องพาลูก หมา #โฟร์ สมาชิกใหม่ของครอบครัว # ไปหาหมอ น้อง ป่วย หรอ ต้อง เจาะเลือดด้วย จะเป็นยังไงบ้าง ไป ดูกันเลย! ... <看更多>
แล้วเมื่อไหร่ที่เราต้องพาลูกที่ป่วยไปหาหมอ 在 สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ - #ข้อควรปฏิบัติเมื่อต้องพาลูกหาหมอ ในการ ... 的推薦與評價
การได้รับความรู้และคำแนะนำจากคุณหมอ ไม่จำกัดแต่เฉพาะเวลาที่ได้พบคุณหมอเวลาที่ลูกป่วยเท่านั้น แต่เวลาที่พาลูกไปฉีดวัคซีนและตรวจสุขภาพ คุณแม่ก็จะได้รับคำแนะนำที่ ... ... <看更多>