การทำ Intermittent Fasting ให้ผลไม่ต่างจากการคุมอาหารแบบที่กินเช้า-เที่ยง-เย็นตามปกติ คือให้ผลเหมือนๆกัน แต่จะมีข้อควรระวังนิดหน่อย หากตารางเวลาชีวิตประจำวันค่อยข้างยุ่ง ไม่สะดวกกินเช้า-เที่ยง-เย็น สะดวกแบบ Intermittent Fasting มากกว่า ถ้าไม่ใช่ผู้ป่วยเบาหวานก็เลือกทำได้ตามสะดวกเลยครับ อย่าลืมศึกษาข้อควรระวังด้วยนะครับ^^
-------------------------------------------
ความเชื่อ VS ความจริง
เกี่ยวกับ Intermittent Fasting
.
ช่วงไม่กี่ปีมานี้มีแนวทางการกินที่กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ชื่อว่า Intermittent Fasting โดยมีเสียงลือเสียงเล่าอ้างว่า มนุษย์เราต้องอดบ้างกินบ้าง ให้ท้องร้องจ๊อกๆ จะได้ผอม จะได้อายุยืน
แล้วคำกล่าวอ้างเหล่านี้เป็นความจริงหรือไม่?
.
ก็จะไปถึงเรื่องนั้น คงต้องมาทำความรู้จัก Intermittent Fasting กันก่อน
.
คำว่า Intermittent Fasting นั้น แยกตามศัพท์จะได้ว่า
Intermittent = ไม่ต่อเนื่อง, ไม่สม่ำเสมอ
Fasting = การอดอาหาร
รวมกันแล้วคำว่า Intermittent Fasting = การอดอาหารแบบไม่ต่อเนื่อง
หรือเรียกกันอย่างบ้านๆว่า "อดมื้อกินมื้อ" นั่นเอง
.
โดย Intermittent Fasting นั้นจะแบ่งการกินออกเป็น 2 ช่วงเวลา
1. ช่วงเวลาที่อนุญาตให้กินได้
มีแยกเป็น2แนวทางย่อยคือ แนวทางแรกคือกินตามความรู้สึก อิ่มเมื่อไหร่ก็หยุด ส่วนอีกแนวทางหนึ่งคือกินตามเป้าหมายแคลอรี่ที่ตั้งไว้
2. ช่วงเวลาที่ห้ามกิน คือสิ่งใดที่มีแคลอรี่ ห้ามเอาสิ่งนั้นเข้าปาก
.
Intermittent Fasting นั้นจำแนกได้เป็น 2 กลุ่มหลักๆ คือ
1. Alternate-day fasting มีทั้งแบบอดวันเว้นวัน และแบบอด1วันกิน2วัน
2. Time-restricted feeding มีทั้งแบบอด20ชม.กิน4ชม., แบบอด16ชม.กิน8ชม. หรือ แบบอดกลางวันกินกลางคืน (อด12ชม.กิน12ชม..) อย่างช่วงรอมฎอน ก็ถือว่าเป็น Intermittent Fasting กลุ่ม Time-restricted feeding เหมือนกัน
.
แล้วการกินแบบ Intermittent Fasting นี่มันดีอย่างที่เขาล่ำลือกัน จริงไหม?
เรามาร่ายดูกันทีละประเด็นกันเลยครับ
.
ความเชื่อ: การกินแบบ Intermittent Fasting ดีต่อสุขภาพมากกว่าการกินเช้า-เที่ยง-เย็นตามปกติ?
ความจริง: #มีข้อดีพอๆกัน ครับ
งานวิจัยทั้งในสัตว์ทั้งในมนุษย์ที่มีอยู่ในปัจจุบันล้วนยืนยันตรงกันว่า ไม่ว่าจะกินเช้า-เที่ยง-เย็นตามปกติ หรือ กินแบบ Intermittent Fasting ถ้ามีการควบคุมปริมาณอาหารที่กินให้"พอดี"ก็จะมีสุขภาพที่ดี มีความเสี่ยงต่อโรคต่างๆน้อย แต่ถ้ากินตามใจอยาก ไม่มีการควบคุมใดๆ ก็จะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคต่างๆได้มากพอๆกันทั้ง 2 แบบ
.
ความเชื่อ: การกินแบบ Intermittent Fasting ทำให้อายุยืนยาวกว่าการกินเช้า-เที่ยง-เย็นตามปกติ?
ความจริง: #ไม่ได้ทำให้อายุยืนยาวขึ้น ครับ
เพราะทฤษฎีต่างๆที่ยกมากล่าวอ้างกันนั้นล้วนเป็นการตีความงานวิจัยเกินขอบเขต และอวดอ้างสรรพคุณเกินจริงครับ
ไม่ว่าจะเป็น..
1.ทฤษฎี การ Recycle ชิ้นส่วนที่เสื่อมสภาพของเซลล์โดยกระบวนการกลืนกินตัวเอง (Autophagy) และการซ่อมแซมเซลล์โดยยีน Sirtuin
- ซึ่งจริงๆแล้ว ในเซลล์นั้นมีบางชิ้นส่วนที่ไม่สามารถ Recycle ได้ คือไม่สามารถทำลายไปก่อน แล้วค่อยสร้างขึ้นมาใหม่ได้
เช่น Nucleus เพราะถ้าเกิดNucleus ถูกทำลายไปแล้ว ช่วงที่ Nucleus ถูกทำลายหายไปนั้นจะไม่เหลือใครคอยสั่งการการทำงานใดๆ กลไกลต่างๆภายในเซลล์ก็จะหยุดทำงาน รวมถึงกระบวนการ Autophagy ก็จะหยุดทำงานไปด้วยเช่นกัน
ดังนั้น อายุขัยของเซลล์จึงถูก Limit โดยอายุขัยของ Nucleus
กระบวนการ Autophagy นี้จึงทำได้แค่ maintain เซลล์ไม่ให้ตายไปก่อนครบอายุขัยเท่านั้น
อีกทั้ง การศึกษาวิจัยเรื่อง Autophagy นี้ไม่ได้มีการวิจัยในมนุษย์แต่อย่างใด มีเพียงการศึกษาวิจัยในเซลล์ยีสต์เท่านั้น แล้วเอามา"ตีความงานวิจัยเกินขอบเขต และอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง"ต่อกันไปเองว่าในมนุษย์ก็คงจะเหมือนกับในยีสต์
2.ทฤษฎี การทำให้กลับไปเป็นหนุ่มสาวโดย Growth Hormone ที่หลั่งออกมามากในระหว่างอดอาหาร
- ซึ่งเป็นการ"พูดความจริงแค่บางส่วน" สืบเนื่องจากงานวิจัยของ University of Cambridge ที่ศึกษาระดับ Growth Hormone ในขณะที่อดอาหารข้ามคืน 10 ชั่วโมง(4ทุ่ม - 8โมงเช้า)(ก็คือเป็นกลุ่มที่กินเช้า-เที่ยง-เย็นตามปกติ) เปรียบเทียบกับการอดอาหารต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง รายงานว่า
ระดับGrowth Hormoneต่ำสุด (Basal level) ในกลุ่มที่อดอาหารต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง นั้นมีระดับสูงกว่ากลุ่มที่กินเช้า-เที่ยง-เย็นตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญ
แต่ ระดับGrowth Hormoneโดยเฉลี่ย(Mean level) ระดับสูงสุด(Maximal level) และอัตราการหลั่งต่อนาที(Secretion rate) นั้นไม่มีความแตกต่างกันแต่อย่างใด
แถมยังเป็นการตีความออกทะเลไปไกลมากๆ จากงานวิจัยในปีค.ศ. 1990 ที่ได้เอาคนแก่อายุ 60 ปีขึ้นไปจำนวน 12 คนมาฉีดโกรทฮอร์โมน แล้วรายงานว่าคนแก่เหล่านั้นมีมวลกล้ามเนื้อและมวลกระดูกเพิ่มขึ้น
คนก็เลยเอาไป"ตีความงานวิจัยเกินขอบเขต และอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง"ต่อกันไปเองว่า โดยปกติแล้วคนแก่จะต้องมีมวลกล้ามเนื้อและมวลกระดูกลดลงทุกวันๆ แต่การฉีดโกรทฮอร์โมนกลับทำให้มวลกล้ามเนื้อและกระดูกเพิ่มขึ้น ก็แสดงว่าโกรทฮอร์โมนต่อต้านความแก่ได้ ทำให้อายุยืนยาวได้
ซึ่งจริงๆแล้วไม่ได้มีความสัมพันธ์ใดๆกับการชะลอวัยเลยแม้แต่นิดเดียว
.
ความเชื่อ: การกินแบบ Intermittent Fasting ช่วยแก้ปัญหาการดื้ออินซูลิน(Insulin Resistance)
ความจริง: #ไม่ได้ทำให้การดื้ออินซูลินลดลง ครับ
การกินแบบ Intermittent Fasting โดนเฉพาะแบบ ช่วงเวลากินสั้นๆ ช่วงเวลาอดยาวๆ ทำให้ร่างกายได้รับน้ำตาลกลูโคสน้อยลง ทำให้การหลั่งอินซูลินลดลงด้วย
ร่างกายไม่ได้ตอบสนองภาวะน้ำตาลกลูโคสและอินซูลินในเลือดต่ำเป็นเวลานานนี้ ด้วยการเพิ่มความไวต่อการรับสัญญาณของอินซูลินให้มากขึ้น
แต่ร่างกายตอบสนองภาวะนี้ด้วยการไปหาเชื้อเพลิงตัวอื่นมาการสร้างพลังงาน ซึ่งก็คือกรดไขมันจากการสลายเซลล์ไขมันและกรดอะมิโนจากการสลายเซลล์กล้ามเนื้อนั่นเอง
การสลายเซลล์ไขมันนั้นทำให้ฮอร์โมนรีซิสติน (resistin) ถูกหลั่งออกมาน้อยลง ตามทฤษฎีแล้วอาจทำให้ปัญหาการดื้ออินซูลินทุเลาลงได้
แต่เนื่องจากในความเป็นจริงนั้นไม่ได้มีแต่เซลล์ไขมันเท่านั้นที่สลายไป แต่ยังมีการสลายเซลล์กล้ามเนื้อด้วย
ซึ่งเซลล์กล้ามเนื้อนั้นมีบทบาทสำคัญในแก้ปัญหาการดื้ออินซูลิน ผ่านการเพิ่มกิจกรรมทางกาย(physical activity) เนื่องจากการเพิ่มกิจกรรมทางกาย จะทำให้เซลล์กล้ามเนื้อต้องการเชื้อเพลิงเพื่อเอาไปสร้างเป็นพลังงานให้มากขึ้นและเร็วขึ้นเพื่อดำเนินกิจกรรมดังกล่าว
เซลล์กล้ามเนื้อจึงทำการเพิ่มช่องทางการขนส่งเชื้อเพลิงขึ้นมา ด้วยการกระตุ้นตัวขนส่งน้ำตาลกลูโคส(Glucose Transporter 4; GLUT4)ให้ออกไปอยู่ที่บริเวณผิวเซลล์มากขึ้น ทำให้เซลล์สามารถรับเอาน้ำตาลที่ลอยอยู่ในกระแสเลือด เข้ามาสู่เซลล์ได้รวดเร็วมากขึ้น ปัญหาการดื้ออินซูลินจึงทุเลาลง
แต่เมื่อมีการสลายเซลล์กล้ามเนื้อ cellที่เป็นผู้ใช้น้ำตาลจึงมีน้อยลง การเอาน้ำตาลที่ลอยอยู่ในกระเลือดเข้าสู่เซลล์ก็เกิดขึ้นน้อยลงด้วย ปัญหาการดื้ออินซูลินจึงไม่ดีขึ้น
.
ความเชื่อ: การกินแบบ Intermittent Fasting ทำให้ผอมลง?
ความจริง: #สามารถทำให้ผอมลงได้ ครับ
เนื่องจากการที่เราตัดการกินในบางช่วงเวลาออกไป โดยอนุญาตตัวเองให้กินได้ในช่วงเวลาที่กำหนดเท่านั้น
หากเลือกแนวทางที่กินตามความรู้สึก อิ่มเมื่อไหร่ก็หยุด ในช่วงแรกที่เรายังมีขนาดกระเพาะเท่าปกติอยู่ ขนาดกระเพาะจะเป็นตัวจำกัดปริมาณอาหารที่กินเข้าไป ทำให้ไม่สามารถกินให้ได้รับแคลอรี่เท่ากับการกินแบบเช้า-เที่ยง-เย็นได้ เมื่อคิดรวมทั้งวันแล้วเราจะได้รับแคลอรี่ลดลง ส่งผลให้น้ำหนักตัวลดลง หรือ ผอมลงนั่นเอง
แต่หากเลือกแนวทางกินตามเป้าหมายแคลอรี่ ในช่วงแรกนี้จำเป็นจะต้องมีการฝืนกินอาหารให้ได้แคลอรี่ตามเป้าหมาย แม้จะอิ่มแล้วก็ตาม แนวทางนี้จะน้ำหนักจะลดลงมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับเป้าหมายแคลอรี่ที่ตั้งไว้
.
ความเชื่อ: ถ้าจะลดความอ้วน ต้องเลิกใช้วิธีคุมอาหารแบบกินเช้า-เที่ยง-เย็นตามปกติ แล้วเปลี่ยนมากินแบบ Intermittent Fasting?
ความจริง: #แล้วแต่ความเหมาะสมของแต่ละบุคคล ครับ ไม่จำเป็นว่าทุกคนจะต้องเปลี่ยนมากินแบบนี้
เนื่องจากกินแบบ Intermittent Fasting นั้นมีประสิทธิ์ภาพในการลดความอ้วนพอๆกับการคุมอาหารแบบกินเช้า-เที่ยง-เย็นตามปกติ ไม่ได้มีประสิทธิ์ภาพเหนือกว่าแต่อย่างใด
.
ถ้ากินแบบ Intermittent Fasting แล้วจะโยโย่ไหม?
- #ก็มีโอกาสโยโย่ได้ ครับ
เนื่องจากกระเพาะนั้นเป็นอวัยวะที่สามารถขยายตัวได้ หากกินแบบ Intermittent Fasting ที่ช่วงเวลากินสั้นๆ ช่วงเวลาอดยาวๆ ไปนานๆ ก็จะมีอาการ คล้าย #กระเพาะคราก หากกินตามเป้าหมายแคลอรี่ กระเพาะจะขยายตัวได้เร็วกว่า เพราะมีการฝืนกิน แต่ถ้ารักษาความมานะพยายามในการคุมแคลอรี่ไว้ได้ตลอดเป็นระยะเวลานาน อาการโยโย่ก็ไม่เกิด
แต่ถ้ากินแบบตามความรู้สึก อิ่มเมื่อไหร่ก็หยุด กระเพาะจะขยายตัวได้ช้ากว่า เพราะไม่มีการฝืนกิน แต่เมื่อทำแบบนี้ไปนานๆ การขยายตัวของกระเพาะย่อมมี่แน่นอน แล้วแม้จะกินเท่าๆกับช่วงแรกๆ แต่ก็จะรู้สึกไม่อิ่มเหมือนแต่ก่อน ต้องกินมากขึ้นไปอีกถึงจะเริ่มอิ่ม แต่ยิ่งนานวัน ปริมาณอาการที่ต้องกินเพื่อให้รู้สิ่กอิ่มก็จะยิ่งต้องเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จึงทำให้น้ำหนักตัวอาจโยโย่กลับขึ้นมาได้
แล้วถ้าถึงขั้นนั้นแล้วคิดจะเลิก คิดจะกลับไปกินเช้า-เที่ยง-เย็นเหมือนเดิม แน่นอนว่าจะไม่สามารถกินน้อยๆแล้วรู้สึกอิ่มได้ กลายเป็นว่าก็ต้องกินเยอะเท่าๆกับตอนกินแบบ Intermittent Fasting เพื่อจะได้รู้สึกอิ่ม แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องกินปริมาณเยอะแบบนั้น ทั้งเช้า-เที่ยง-เย็นเลย น้ำหนักจะโยโย่ขึ้นไปมากกว่าตอนก่อนเริ่มกินแบบ Intermittent Fasting เสียอีก
.
ถ้าอยากลองกินแบบ Intermittent Fasting แต่กลัวโยโย่ จะทำยังไงดี?
- ควรเริ่มต้นด้วยการกินตามความรู้สึก อิ่มเมื่อไหร่ก็หยุด แต่มีจำกัดปริมาณโปรตีน-แคลอรี่ร่วมด้วย คือ มีเป้าหมายแคลอรี่ตั้งไว้ แต่ถ้ารู้สึกอิ่มก่อนที่จะกินได้ตามเป้า ก็หยุดแค่นั้น ไม่ต้องฝืนกินเพิ่มโดยเฉพาะในผู้ที่กำหนดช่าวงเวลากินสั้นๆ ช่วงเวลาอดยาวๆ เช่น ช่วงเวลากินน้อยกว่า4ชม. ช่วงเวลาอดยาวกว่า20ชม. ยิ่งไม่ควรฝืนกินให้ถึงเป้า กระเพาะจะได้ไม่ขยายมาก จะได้ไม่โยโย่ครับ
(ฉะนั้น ใครที่กำลังคิดอยากลองทำดูเพราะขี้เกียจชั่ง-ตวงอาหาร นับโปรตีน-แคลอรี่ ขอให้เลิกล้มความคิดนั้นไปได้เลย ยังไงก็ต้องคุมอาหารอยู่ดีครับ)
.
ข้อควรระวัง
- Intermittent Fasting ไม่เหมาะกับผู้ป่วยเบาหวาน เพราะการอดอาหารเป็นเวลาหลายชั่วโมง จะทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycaemia) ได้ครับ
.
สรุป
- การทำ Intermittent Fasting ให้ผลไม่ต่างจากการคุมอาหารแบบที่กินเช้า-เที่ยง-เย็นตามปกติ แต่จะมีข้อควรระวังนิดหน่อย หากตารางเวลาชีวิตประจำวันค่อยข้างยุ่ง ไม่สะดวกกินเช้า-เที่ยง-เย็น สะดวกแบบ Intermittent Fasting มากกว่า ถ้าไม่ใช่ผู้ป่วยเบาหวานก็เลือกทำได้ตามสะดวกเลยครับ
.
Reference
1. Trepanowski JF, et al. Effect of Alternate-Day Fasting on Weight Loss, Weight Maintenance, and Cardioprotection Among Metabolically Healthy Obese Adults: A Randomized Clinical Trial. JAMA Intern Med. 2017
2. Seimon RV, et al. Do intermittent diets provide physiological benefits over continuous diets for weight loss? A systematic review of clinical trials. Mol Cell Endocrinol. 2015
3. Rona Antoni, et al. The Effects of Intermittent Energy Restriction on Indices of Cardiometabolic Health. Research in Endocrinology. Vol. 2014
4. Julie A. Mattison, et al. Impact of caloric restriction on health and survival in rhesus monkeys from the NIA study. Nature 2012
5. Valter D. Longo, et al. Linking sirtuins, IGF-I signaling, and starvation. Experimental Gerontology. 2009
6. Leonie K. Heilbronn, et al. Effect of 6-Month Calorie Restriction on Biomarkers of Longevity, Metabolic Adaptation, and Oxidative Stress in Overweight IndividualsA Randomized Controlled Trial. JAMA. 2006
7. Rudman D. Effects of growth hormone in men over 60 years old. New England Journal of Medicine 1990
「แล้วแต่ความเหมาะสมของแต่ละบุคคล」的推薦目錄:
แล้วแต่ความเหมาะสมของแต่ละบุคคล 在 Vocabulary: ความเหมาะสมที่แตกต่างของ Suitable และ Appropriate 的相關結果
Suitable. ใช้ต่อเมื่อสิ่งที่ทำมันเหมาะสมทั่ว ๆ ไป ที่คิดว่ามันเหมาะ เหมือนเป็นความเหมาะสมตามความคิดของแต่ละบุคคลนั่นเอง หรือ ... ... <看更多>
แล้วแต่ความเหมาะสมของแต่ละบุคคล 在 คุณลักษณะเด่นของผู้ประสบความสำเร็จ 10 ประการ - Entraining.net 的相關結果
1. กล้าที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองตลอดเวลา การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องที่ดี ทุกคนก็รู้ แต่ก็มีน้อยคนที่จะยอมเปลี่ยนแปลงด้วยตัวเอง ... ... <看更多>
แล้วแต่ความเหมาะสมของแต่ละบุคคล 在 ความต้องการของมนุษย์ Human Needs - NovaBizz 的相關結果
4. ตอบสนองความต้องการของมนุษย์นั้นโดยยึดหลักที่ว่า "มนุษย์แตกต่างกัน" ซึ่งอยู่บนฐานรากของความถูกต้องและเหมาะสม ดังนั้นมนุษย์แต่ละคนจึงมีความสามารถในการรับรู้ ... ... <看更多>