สิ่งแวดล้อมคือเรื่อง"ความอยู่รอด"
-------------------------------------
วันนี้เป็นวันเริ่มต้นของ #ClimateStrike การเคลื่อนไหวประท้วงเรื่องสิ่งแวดล้อมที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ!! ที่จะเกิดขึ้น
ใน 150 ประเทศทั่วโลก ในกว่า 3,000 กว่าevent ที่จะเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 20-27 กันยายนนี้
ความน่าทึ่งอย่างหนึ่งของเหตุการณ์นี้ คือแทบทั้งหมดถูกประสานงานและจัดการด้วยเด็กๆและเยาวชนจากทั่วทุกมุมโลก เป็นการแสดงให้เห็นชัดเจนว่าเด็กๆและคนหนุ่มสาวกำลังลุกขึ้นมา เพราะว่าพวกเขาไม่ยินดีจะนั่งอยู่เฉยๆและล่มสลายไปพร้อมๆดาวเคราะห์พังๆที่เป็นผลลัพธ์จากการกระทำของคนรุ่นก่อนๆอีกต่อไป
ซึ่งแรงบันดาลใจอันแสนสำคัญของทั้งหมดนี้ เริ่มต้นมาจากเด็กผู้หญิงชาวสวีเดนตัวเล็กๆอายุ 16 ปี น้อง Greta Thunberg ที่เริ่มประกาศหยุดเรียนประท้วงทุกวันศุกร์เมื่อราว 1 ปีก่อน เพราะเธอรู้สึกว่าจะเรียนไปทำไมถ้าโลกเราไม่มีอนาคต เธอจึงตัดสินใจเริ่มนั่งประท้วงด้วยตัวคนเดียวเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลสวีเดนเอาจริงเอาจังเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น กลายมาเป็นการเคลื่อนไหว #FridayForFuture ที่ปัจจุบันกระจายขยายไปทั่วโลก
"ไม่มีใครตัวเล็กเกินไปที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลง" (No one is too small to make a difference) คือชื่อหนังสือของน้อง Greta ซึ่งเธอใช้เวลาเพียงแค่ปีเดียวของชีวิต 16 ปีของเธอ แสดงให้ทั้งโลกเห็นว่าคำพูดนี้เป็นจริงได้ ถ้าหากว่าคนคนหนึ่งมีใจที่ตั้งมั่นพอ
เมื่อเช้านี้ ในออสเตรเลีย ในหัวเมืองอย่างSydeneyและPerth การเคลื่อนไหว #ClimateStrike ได้กลายเป็นหนึ่งในการเดินขบวนที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศ และขณะนี้การเดินขบวนก็กำลังดำเนินไปใน อังกฤษ อินเดีย แอฟริกาใต้ และอีกหลายๆพื้นที่ทั่วโลก
ในประเทศไทย มีการเดินขบวน #ClimateStrikeTH ไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งจากภาพที่เห็นส่วนใหญ่เป็นน้องๆเด็กๆและเยาวชน
ทั้งหมดนี้คือการประกาศก้องให้โลกรู้ว่าคนจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆกำลังตื่นตัวในเรื่องภาวะโลกร้อน และเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาล ธุรกิจ และผู้นำประเทศ หันมาเอาจริงเอาจังเรื่อง Climate change และสิ่งแวดล้อมเสียที หลังจากทั้งโลกร่วมกันผลัดวันประกันพรุ่งกันมานานหลายทศวรรษ
ในประเทศไทย เรามักมองว่าเรื่องนี้ยังเป็นเรื่องไกลตัว หรือไม่ก็เป็นก็เป็นเรื่องจริยธรรมแบบ "รักษ์โลก" = "เป็นคนดี" เราก็เลยแสดงออกส่วนใหญ่กันในรูปแบบของการเปลี่ยนพฤติกรรมเชิงบุคคลมากกว่าเปลี่ยนแปลงเชิงระบบโครงสร้าง และธุรกิจต่างๆก็สามารถอยู่รอดในตลาดได้โดยการทำMarketingเรื่องสิ่งแวดล้อมโดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตและการปฏิบัติการจริงๆก็ได้ ส่วนในภาครัฐนั้นไม่ต้องพูด แทบจะไม่มีใครพูดถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมเลยในวาระการประชุมสภาที่ผ่านๆมา
"ขอให้ร่ำรวย อิ่มท้องก่อน เศรษฐกิจดีก่อน แล้วค่อยมาแคร์โลก.."
เราไม่สามารถมองแบบนี้อีกต่อไปแล้ว เพราะผลกระทบของการทำลายสิ่งแวดล้อม กำลังวกกลับมาหาเราตรงๆ และสิ่งที่เกินขึ้นทั่วโลก กำลังมีผลโดยตรงกับชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย
วันนี้ฝุ่น pm2.5 เริ่มเข้ามาหนักอีกครั้งในกรุงเทพ และมีหนักมากในภาคใต้บริเวณชายแดนมาเลเซีย นี่ก็มาจากการเผาป่าในอินโดนีเซีย โดยเฉพาะในเกาะบอร์เนียว หลักๆก็เพื่อถางป่าทำน้ำมันปาล์ม ส่งผลให้ทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีฝุ่นเต็มไปหมด และบางพื้นที่ในอินโดฯเองหนักเข้าขั้นเกินวิกฤติไปแล้ว บางเมืองในบอร์เนียววัดค่า AQI ได้เกิน 300!!! ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพคนทุกคนในพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กๆ แล้วพอป่าน้อยลง อากาศก็แห้งขึ้น ส่งผลให้เกิดไฟป่ามากยิ่งขึ้นอีกในหน้าแล้งปีหน้า แปลว่าวิกฤติเหล่านี้มันสามารถเพิ่มพูนได้ด้วยตัวเองถ้าหาดว่าเลยจุดๆหนึ่งไปแล้ว!!
อากาศที่ร้อนขึ้นกำลังทำลายผืนป่าทั่วโลก ป่าน้อยลงก็กักเก็บคาร์บอนในชั้นบรรยากาศได้น้อยลง ต้นไม้ที่ไหม้ไปก็ปล่อยคาร์บอนที่เก็บไว้ในลำต้นออกมา ส่งผลให้โลกยิ่งร้อนขึ้นไปอีก
พอโลกยิ่งร้อน น้ำแข็งขั้วโลกก็ยิ่งละลาย
ถ้าน้ำแข็งกรีนแลนด์ละลายหมด น้ำทะเลจะสูงขึ้น 7 เมตร และถ้าน้ำแข็งขั้วโลกใต้ฝั่งตะวันออก (East Antarctica Ice sheet) ละลายหมดน้ำทะเลจะสูงขึ้น 60 เมตร!!
นั่นก็คือ บ๊ายบาย กรุงเทพฯ และอีกไม่รู้กี่จังหวัดในประเทศไทย
แต่นั่นอาจจะเป็นเรื่องในระยะยาว บางทีอาจจะเกือบร้อยปี ผมกับคุณอาจจะไม่อยู่แล้ว งั้นเอาเรื่องระยะสั้นก่อน
ผลลัพธ์อย่างหนึ่งที่ชัดเจนของ Climate Change คือการเกิดภาวะภัยธรรมชาติที่มีระดับความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ เหตุการณ์อย่างพายุเฮอริเคนที่เพิ่งพัดผ่านหมู่เกาะ Bahamas เข้าไปอเมริกาเหนือ ทำลายแทบทุกอย่างที่ขวางทางมัน / สภาวะ Polar Vortex ที่อากาศเย็นจากขั้วโลกถูก "เท" เข้ามาในพื้นที่อื่น อย่างเช่นที่เกิดขึ้นในอเมริกาเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ชิคาโกอยู่ดีๆอุณหภูมิร่วงไปถึงลบหกสิบองศาเซลเซียส / สภาวะภัยแล้งที่เกิดขึ้นบ่อยขึ้นเรื่อยๆในออสเตรเลีย แอฟริกาตะวันออก แคลิฟอร์เนีย
และแน่นอน ภัยน้ำท่วมรุนแรง อย่างที่กำลังเกิดกับเหล่าพี่น้องที่อุบลฯในตอนนี้ ก็จะเกิดขึ้นบ่อยขึ้น และรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในไทยและอีกหลายๆพื้นที่ทั่วโลก
และวิกฤติทางธรรมชาติเหล่านี้ ก็จะนำไปสู่วิกฤติทางสังคมตามมา เมื่อพื้นที่เพาะปลูกถูกทำลายและราคาอาหารพุ่งสูงขึ้น ปัญหาธรรมชาติก็จะกลายเป็นปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม เมื่อภัยธรรมชาติก่อให้เกิดผู้ลี้ภัยทางภูมิอากาศ ประเทศไหนบ้างที่จะยินดีจะเปิดประตูรับเพื่อนบ้านที่หนีตายจากพายุมาเป็นล้านๆคน และเมื่อทรัพยากรมีจำกัดขึ้นในขณะที่จำนวนคนมีแต่จะเพิ่มขึ้นทุกๆวัน ความขัดแย้งและสงครามก็เป็นสิ่งที่จะตามมาอย่างเหลียกเลี่ยงไม่ได้ และในระยะยาวสมมุติระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นจริงๆหลายเมตร คนจำนวนมากในโลกก็จะต้องอพยพออกจากถิ่นที่อยู่บริเวณชายฝั่ง และที่ดินที่อยู่ระดับสูงก็จะราคาแพงขึ้น คนรวยก็จะมีโอกาสรอดสูง ในขณะที่พื้นที่ต่ำๆก็จะกลายเป็นที่แออัดยิ่งขึ้น ทำให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำยิ่งวิกฤติขึ้นไปอีก
นี่คือความเป็นจริงที่กำลังจะเกิดขึ้นในอีกไม่นานนี้ ถ้าหากว่าเรายังคงปล่อยให้โลกดำเนินไปอย่างที่เป็นทุกวันนี้
ประเด็นสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่ประเด็นเรื่องการเป็น"คนดี"อีกต่อไปแล้ว มันคือประเด็นเรื่อง "ความอยู่รอด" ของทั้งคนไทย มนุษย์โลก และทุกชีวิตที่แชร์ดาวเคราะห์กับพวกเราอยู่
เราอยู่ในภาวะวิกฤติแล้ว นับตั้งแต่ปี 1850 คือยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม อุณหภูมิโลกได้เพิ่มมาเกือบๆ 1 องศาเซลเซียสแล้ว และเป้าหมายปัจจุบันของมนุษยชาติคือการจำกัดไม่ให้มันสูงไปกว่า 2 องศา ซึ่งถ้าเรายังปล่อยคาร์บอนเท่ากับเรทที่ทำอยู่ในปัจจุบัน 2 องศานั้นจะมาถึงภายในปี 2050
ซึ่งหลังจากนั้น อาจจะไม่เหลืออะไรที่มนุษย์ทำได้อีกต่อไปแล้ว
อีก 30 ปีเท่านั้น...
เวลาที่ควรจะเริ่มทำอะไรที่ดีที่สุดผ่านไปหลายปีแล้ว แต่เวลาที่ดีรองลงมาก็คือวินาทีนี้เลย นอกจากลดการใช้ทรัพยากรและพลังงานในชีวิตประจำวันแล้ว นี่คือสิ่งที่คุณทำได้
พูดเรื่อง #ClimateStrike ให้ทุกคนรอบตัวฟัง
ศึกษาหาความรู้ และอธิบายให้ทุกคนที่คุณรู้จักฟังว่ากำลังเกิดอะไรขึ้นกับโลก เปลี่ยนใจคนให้มากที่สุดว่าที่มันไม่ใช่เรื่องเล่นๆอีกต่อไปแล้วนะ
ศึกษาสินค้าทุกชนิดที่คุณซื้อ เลิกซื้อทุกสิ่งที่ทำลายสิ่งแวดล้อม เลิกลงทุนในโปรเจคที่ทำลายสิ่งแวดล้อม บางอย่างที่คุณเคยชินในชีวิตอาจจะใช้ทรัพยากรมากอย่างคาดไม่ถึงก็เป็นได้
เดินทางด้วยเท้า จักรยาน และขนส่งมวลชนมากขึ้น ขับรถให้น้อยลง
เรียกร้ององค์กรที่คุณอยู่ ไม่ว่าจะโรงเรียน มหาวิทยาลัย ออฟฟิศ เปลี่ยนแปลงเรื่องการใช้ทรัพยากรอย่างจริงจัง
และแน่นอนที่สุด เราต้องการการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างและนวัตกรรมใหม่ๆอย่างจริงจัง การเพิ่มพื้นที่ป่าสงวน การฟื้นฟูผืนป่าที่เสียไปแล้ว การสร้างระบบจัดการขยะที่ดีกว่านี้ การลงทุนในพลังงานทางเลือกและลดการใช้พลังงานฟอสซิล การค้นหาวัสดุแทนพลาสติกในการทำผลิตภัณฑ์ การสร้างตลาดการลงทุนที่สามารถช่วยพัฒนาธุกิจที่รักษาสิ่งแวดล้อมและสามารถสร้างงานได้อย่างยั่งยืน ฯลฯ
ซึ่งทั้งหมดนี้อาจจะดูเป็นเรื่องยาก ถ้าหากว่าเราต้องไปผลักดันภาครัฐฯให้เปลี่ยนนโยบาย หรือว่าต้องเปลี่ยนระบบทั้งระบบ
แต่มันจะดูง่ายกว่าเดิมมาก ถ้าหากเราเริ่มต้นที่ธุรกิจเอกชน ซึ่งสิ่งที่เอกชนแคร์ที่สุดก็คือตลาด
และตลาด ก็คือพวกเราทุกคน
คุณมีพลังมากกว่าที่คุณคิด
ผมเชื่ออย่างหมดใจว่าถ้าเราช่วยกันแปล่งเสียงทุกๆวันอย่างไม่หยุดหย่อน อีกไม่นานการเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆจะต้อมาถึง เริ่มจากตัวเรา ครอบครัวเรา องค์กรที่เราอยู่ เมืองที่เราอยู่ ไปจนถึงระดับประเทศให้ได้
เด็กอายุ 16 คนหนึ่ง ยังสามารถเริ่มจากการนั่งคนเดียวพร้อมป้ายกระดาษ ไปสู่การเดินขบวนใน 150 ประเทศได้เลย แล้วทำไมพวกเราคนไทยจะหันมาช่วยกันเรื่องนี้อย่างจริงจังไม่ได้
สุดท้ายไม่มีทางเลือกอื่น ยกเว้นพยายามกันให้มากที่สุด เพราะถ้าหากเราแก้ไขเรื่องนี้ไม่ได้ เรื่องอื่นๆแทบจะไม่ต้องมาพูดกันอีกแล้ว
สุขสันต์สัปดาห์ #ClimateStrike ครับ
นี่คือโจทย์ยิ่งใหญ่ที่ตกอยู่ในมือคนรุ่นเราทุกๆคน
#ClimateStrike
#ClimateStrikeTH
#FridayForFuture
Search
แอฟริกาตะวันออก 在 จะงอยแห่งแอฟริกาเผชิญภัยแล้งรุนแรงที่สุดในรอบ 40 ปี - YouTube 的推薦與評價
"จะงอยแห่งแอฟริกา” พื้นที่ในแถบ แอฟริกาตะวันออก เฉียงเหนือ กำลังประสบปัญหาภัยแล้งอย่างหนัก ... ... <看更多>