สรุปประเด็นจากกองทุนบัวหลวง
สรุป 4 สัญญาณ เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ตามหาจังหวะลงทุนหุ้น US
ลงทุนแมน x BBLAM
ถ้าพูดถึงตลาดการลงทุน ที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ก็แน่นอนว่าต้องเป็น “สหรัฐอเมริกา”
ยิ่งในภาวะเศรษฐกิจเต็มไปด้วยความไม่แน่นอนแบบนี้
คนที่สนใจลงทุนในตลาดสหรัฐอเมริกา ก็ยิ่งต้องติดตามหลายประเด็นในโลกการลงทุน ทั้งภาพรวมเศรษฐกิจที่ผ่านมา รวมไปถึงสัญญาณเศรษฐกิจต่าง ๆ
อังคารที่ 10 สิงหาคม ที่ผ่านมา ลงทุนแมนได้ชวนผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist จากกองทุนบัวหลวง
มาพูดคุยกันเกี่ยวกับสถานการณ์ของเศรษฐกิจและสถานการณ์ของตลาดการลงทุนในสหรัฐอเมริกา ในหัวข้อเรื่อง “สรุป 4 สัญญาณ เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ตามหาจังหวะลงทุนหุ้น US”
เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ตอนนี้เป็นอย่างไร
แล้วลงทุนในตลาดสหรัฐอเมริกา เราต้องดูอะไรบ้าง ?
ลงทุนแมนจะสรุปให้ฟัง
มาเริ่มกันที่ สรุปภาพรวมเศรษฐกิจโลกช่วงที่ผ่านมา
บรรดาประเทศพัฒนาแล้ว โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและยุโรป ดูจะรับมือกับโควิด 19 ได้ดี ด้วยความพร้อมเรื่องวัคซีน และความพร้อมทางการแพทย์และเครื่องมือแพทย์ที่ดี
สำหรับสหรัฐอเมริกา เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวดี เนื่องมาจากมีการอัดฉีดทั้งในนโยบายการคลัง และนโยบายการเงินแบบจัดหนัก
ในไตรมาส 2 การบริโภคภาคเอกชนขยายตัว 7.7% ส่วนการนำเข้า-ส่งออกสุทธินั้นติดลบ ซึ่งหักลบกันแล้ว GDP ไตรมาส 2 สหรัฐอเมริกา เติบโต 6.5% ดีต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 1
อย่างไรก็ตาม GDP ในไตรมาส 3 ของสหรัฐอเมริกา อาจจะชะลอความร้อนแรงในการเติบโตลง
โดยมี 3 ปัจจัยที่กดดัน ได้แก่
1. โควิด 19 สายพันธุ์ Delta ทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น
2. ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (FED) น่าจะเริ่มส่งสัญญาณเข้มงวดทางการเงินมากขึ้น
3. ราคาสินค้าโภคภัณฑ์รวมถึงทองคำมีแนวโน้มปรับตัวลดลง กดดันตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจ
คำถามสำคัญก็คือ จบปีนี้ เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา จะเป็นอย่างไร ?
ถ้าอ้างอิงจากการประมาณการล่าสุดของ IMF เมื่อ 7 กรกฎาคม ที่ผ่านมา IMF คงประมาณการว่าเศรษฐกิจโลกในปี 2021 จะเติบโต 6% เช่นเดียวกับการประเมินครั้งก่อนหน้า
แต่ที่น่าสนใจก็คือ IMF ปรับประมาณการ GDP สหรัฐอเมริกา จะเติบโตในอัตราสูงขึ้น จากเดิมที่ 6-6.5% มาเป็น 7% ขณะที่ฝั่งเอเชียหลาย ๆ ประเทศรวมถึงจีน โดนปรับลดประมาณการการเติบโตลง
สาเหตุเพราะ IMF มองว่าสหรัฐอเมริกาควบคุมโควิด 19 ได้ดีขึ้น และสภาคองเกรสสามารถอนุมัตินโยบายสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน และนโยบายสนับสนุนต่าง ๆ ได้ ซึ่งเป็นปัจจัยผลักดันให้เศรษฐกิจฟื้นได้เร็ว
เราเห็นภาพรวมเศรษฐกิจโลก และตัวเลข GDP ของสหรัฐอเมริกาช่วงที่ผ่านมากันแล้ว
คำถามสำคัญสำหรับผู้สนใจลงทุนในตลาดสหรัฐอเมริกาก็คือ
ในมุมของการลงทุน เรามองแค่ GDP ได้หรือไม่ ?
เพื่อตอบคำถามนี้ เราต้องลองมาดูความสัมพันธ์ระหว่าง GDP สหรัฐอเมริกา กับดัชนี S&P 500 ที่ถือเป็นตัวแทนตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา
เราจะเห็นว่า ตั้งแต่ปี 2008 เป็นต้นมา GDP สหรัฐอเมริกา กับดัชนี S&P 500 เริ่มมีการเคลื่อนไหวต่างทิศทางกัน ไม่เหมือนช่วงก่อนหน้านั้น
ตัวแปรสำคัญที่ส่งผลให้เป็นแบบนี้ ก็มาจากปัจจุบันหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีครองสัดส่วนใน S&P 500 เกือบ 30% แต่เทียบกับ GDP กลุ่มเทคโนโลยีมีสัดส่วนใน GDP ประมาณ 6% เท่านั้น
นอกจากนั้นกลุ่มการแพทย์ กลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย ที่มีน้ำหนักมากรองลงจากกลุ่มเทคโนโลยี ในดัชนี S&P 500 ก็ไม่ได้มีสัดส่วนมูลค่าที่สูงนักใน GDP ของสหรัฐอเมริกา เพราะ GDP ของสหรัฐอเมริกาถูกขับเคลื่อนด้วยน้ำหนักของกลุ่มการเงิน
เพราะฉะนั้น สรุปคือ GDP อาจไม่สามารถอธิบายตลาดหุ้นได้เสียทีเดียว หรืออธิบายไม่ได้ทั้งหมด เพราะน้ำหนักหรือสัดส่วนของเซกเตอร์ใน GDP กับตลาดหุ้น มีความแตกต่างกัน
คำถามต่อมาก็คือ เมื่อดูเพียง GDP ไม่ได้ แล้วต้องดูอะไรบ้าง ?
ก็จะมี สัญญาณสะท้อนเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา “4 ตัว” ซึ่งเราสรุปเป็นประเด็นต่าง ๆ ได้ก็คือ
1. นโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา หรือ FED
หลังเกิดวิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ในสหรัฐอเมริกา ปี 2008 ก็มีการเปลี่ยนประธานธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาหรือ FED บ่อยขึ้น ทำให้เริ่มเห็นว่าท่าทีของนโยบายการเงิน มีเรื่องของปัจจัยทางการเมืองมาเกี่ยวข้อง
จุดเปลี่ยนสำคัญหลังจากวิกฤติปี 2008 คือนโยบายการเงินสหรัฐอเมริกา มีความสุดโต่งขึ้นมาก มีการทำ QE อัดฉีดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจผ่านการซื้อสินทรัพย์ต่าง ๆ อย่างหนัก จนสภาพคล่องล้นเข้ามาอยู่ในตลาดทุน
จึงเป็นที่มาว่า ทำไมนักลงทุนควรติดตามนโยบายของ FED ว่าจะปรับขึ้นหรือลดดอกเบี้ยตอนไหน และจะเพิ่มหรือชะลอการอัดฉีดเงินเข้าสู่สินทรัพย์ต่าง ๆ ช่วงไหนบ้าง
2. อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐอเมริกา
ปกติแล้ว FED จะพยายามคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในกรอบ 2%
แต่ตอนนี้ เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกากำลังมีความต้องการจับจ่ายใช้สอยที่เพิ่มสูงมาก จากการที่คนกลับมาจับจ่ายใช้สอยกันหลังเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น
ซึ่งประธาน FED ก็ชี้แจงว่า เงินเฟ้อที่ดีดสูงในช่วงนี้ เป็นเพียงปรากฏการณ์ระยะสั้น และเป็น “เรื่องชั่วคราว” ที่ต้องปล่อยให้เกิดไป เพราะเป็นอัตราเงินเฟ้อที่มาจากความอัดอั้นของการบริโภคช่วงก่อนหน้านี้
3. ตัวเลขอัตราการว่างงาน และการจ้างงาน
ตัวเลขการจ้างงานและอัตราการว่างงาน ถือเป็น Lagging Indicator หรือก็คือ “ตัวชี้วัดตาม” ที่จะสะท้อนว่าเศรษฐกิจฟื้นตัว ขยายตัวได้ดีจริง ๆ แล้วหรือยัง
โดย FED ต้องการให้ตัวชี้วัดนี้ ฟื้นตัวให้เต็มที่ก่อน แล้วค่อยคิดเรื่องปรับดอกเบี้ยขึ้น
ตัวเลขที่น่าสนใจติดตามคือ U.S. Nonfarm Payrolls หรือตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐอเมริกา ที่จะประกาศทุกวันศุกร์แรกของเดือน
สำหรับตัวเลขที่ประกาศเมื่อวันศุกร์ที่ 8 สิงหาคม ที่ผ่านมา U.S. Nonfarm Payrolls เพิ่มขึ้นมา 9 แสนกว่าตำแหน่ง ซึ่งสูงกว่าคาดการณ์
ถ้าฟื้นตัวในอัตราเท่านี้ต่อไป ก็คาดว่าในอีก 8-10 เดือน การจ้างงานของสหรัฐอเมริกาจะกลับไปอยู่ในระดับก่อนเกิดวิกฤติโควิด 19
เมื่อการจ้างงานกลับไปที่เดิม เราจะเริ่มเห็นอะไร ? เราก็อาจจะเริ่มเห็นการปรับนโยบายการเงินให้เข้มงวดขึ้น เช่น ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้น ชะลอการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าระบบ
ดังนั้นหลังจากนี้ ก็ต้องจับตาว่า FED จะเริ่มให้ความชัดเจนเรื่องปรับนโยบายการเงินในช่วงไหน ซึ่งคาดว่าปลายปีนี้ FED อาจต้องเริ่มพูดแล้ว
อย่างไรก็ตาม การทำ QE Tapering หรือที่แปลว่าการชะลอหรือดูดสภาพคล่องออกจากระบบเศรษฐกิจนั้น ไม่ได้แปลว่าต้องลดการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบในทันที
เพราะคำว่า Tapering หมายความถึงการ “คงระดับ” การอัดฉีดไว้ ไม่ให้เพิ่มสูงขึ้น ก็ได้เช่นกัน
และถ้าเราลองเปิดดูข้อมูลย้อนหลังในช่วงที่ผ่านมา กว่าที่ FED จะเริ่ม “ลด” การอัดฉีดสภาพคล่องลง ก็จะต้องรอให้อัตราดอกเบี้ยค่อย ๆ ไต่ระดับขึ้นไประยะหนึ่งก่อน
สรุปคือ กว่าที่ FED จะทำการ “ลดการอัดฉีด” เงินเข้าสู่ระบบนั้น มันก็มีขั้นมีตอนในการทำ และต้องอาศัยเวลาพอสมควร ไม่ใช่ทำได้ในทันทีที่ประกาศ
ตลาดหุ้นก็อาจจะตอบสนองไปก่อนแน่นอน หลังจากรู้สัญญาณการปรับนโยบายของ FED
อีกประเด็นที่น่าสนใจเรื่องการจ้างงานก็คือ
ถ้า Supply ของแรงงานปรับตัวไม่ทันความต้องการของตลาด เช่น ทักษะแรงงานไม่เหมาะสมกับความต้องการของนายจ้าง แรงงานอาจเติมเต็มในระบบได้ช้าลง ตัวเลขการว่างงานอาจจะสูงต่อไปอีกระยะ
เพราะฉะนั้นถ้าเกิดมีประเด็นนี้ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หรือทำ QE Tapering ก็อาจขยับเวลาออกไปก่อน เพราะนโยบายการเงินที่ดี ควรรอให้ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ ขยายตัวให้ครบก่อน
4. ความคืบหน้าของการผ่านร่างนโยบายการคลัง
ในแต่ละนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา นำโดยประธานาธิบดีโจ ไบเดน นั้น ต้องได้รับความเห็นชอบจากทั้งสองสภาคือ สภาผู้แทนราษฎร (House) และ วุฒิสภา (Senate)
ซึ่งนโยบายล่าสุดที่ได้รับการอนุมัติไปก็คือ The American Rescue Plan Act นโยบายต่อสู้กับวิกฤติโควิด 19 ที่มีงบประมาณกว่า 63 ล้านล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีนโยบายอีกหลายตัวของฝั่งรัฐบาลไบเดนที่น่าจับตามอง
ก็คือ United States Innovation and Competition Act ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการแข่งขันของประเทศโดยจะเน้นไปที่ กลุ่มของเซมิคอนดักเตอร์
และอีก 2 นโยบาย ที่กำลังผลักดันก็คือ Infrastructure Investment and Jobs Act ที่สนับสนุนในด้านโครงสร้างพื้นฐาน โดยล่าสุดได้ผ่านการอนุมัติจากทางฝั่งวุฒิสภาเรียบร้อยแล้ว และ American Family Act ที่สนับสนุนด้านการศึกษา ที่กำลังรอการพิจารณาต่อไป
ซึ่งหากนโยบายทั้ง 3 นี้ผ่านหมด จะมีกลุ่มอุตสาหกรรมที่จะได้ประโยชน์ เช่น กลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ กลุ่มยานยนต์ กลุ่มก่อสร้าง
และยังมีอีกหลายอุตสาหกรรมย่อย ที่จะได้รับผลประโยชน์ และจะสามารถช่วยกระตุ้นการจ้างงานได้อีกมาก จากนโยบายต่าง ๆ เหล่านี้
ทั้งหมดนี้ จึงกลายเป็นการสรุปภาพรวม 4 สัญญาณเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ที่เราควรต้องติดตามกันก็คือ
- นโยบายการเงินของ FED
- อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกา
- ตัวเลขอัตราการว่างงานและตัวเลขการจ้างงาน
- ความคืบหน้าของการผ่านร่างนโยบายการคลัง
ท่ามกลางวิกฤติทั่วโลก หนึ่งในประเทศที่มีการฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วก็คือ สหรัฐอเมริกา
ซึ่งก็ต้องติดตามกันต่อไปว่า 4 สัญญาณสำคัญนี้ของสหรัฐอเมริกา จะเป็นไปในทิศทางไหนต่อไป..
「โควิดdelta」的推薦目錄:
- 關於โควิดdelta 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
- 關於โควิดdelta 在 อ้ายจง Facebook 的最讚貼文
- 關於โควิดdelta 在 อ้ายจง Facebook 的最讚貼文
- 關於โควิดdelta 在 โควิดสายพันธุ์เดลต้า หายแล้วมีโอกาสติดซ้ำได้ง่าย l SPRiNGสรุปให้ 的評價
- 關於โควิดdelta 在 ไทยพบโควิดสายพันธุ์ใหม่ สายพันธุ์เดลตาพลัส - YouTube 的評價
- 關於โควิดdelta 在 Sriphat Medical Center, Chiang Mai is on ... - Facebook 的評價
โควิดdelta 在 อ้ายจง Facebook 的最讚貼文
ประธานสมาคมอุตสาหกรรมวัคซีนจีน แสดงทรรศนะสวนกระแสสื่อต่างชาติ “มั่นใจ Sinovac ต้านโควิด DELTA ได้” ย้ำ "ถ้าต้านไม่ได้ วัคซีนอื่นก็เหมือนกัน เพราะวัคซีนทุกตัวพัฒนาขึ้นเพื่อสายพันธุ์ที่ระบาดปี2020" ด้าน SInovac เตรียมเผยผลวิจัยประสิทธิภาพต้าน DELTA เร็วๆนี้
.
Feng Duojia ประธานสมาคมอุตสาหกรรมวัคซีนจีน (China Vaccine Industry Association) เปิดเผยผ่าน GlobalTimes สื่อกระบอกเสียงทางการจีนสำหรับกรณีสิงคโปร์ไม่นับผู้ฉีดวัคซีน Sinovac เข้าไประบบนับสถิติจำนวนผู้ฉีดวัคซีน จะนับเฉพาะผู้ฉีดวัคซีน Pfizer และ Moderna เท่านั้น โดย Feng Duojia ระบุว่า
.
"แต่ละประเทศมีระเบียบและมาตรฐานของตนเองในการอนุมัติวัคซีนต่างประเทศ สำหรับประเทศจีน ผู้ผลิตวัคซีนทุกรายจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่ระบุในโปรแกรมสร้างภูมิคุ้มกันแห่งชาติจีน เพื่อให้ได้รับการอนุมัติก่อนนำไปใช้จริง"
.
Feng ยังแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการป้องกันสายพันธุ์ Delta ของวัคซีน Sinovac โดยกล่าว
"วัคซีนโควิดทั้งหมดที่มีอยู่ในปัจจุบันต่างพัฒนาโดยมีจุดมุ่งหมายที่สายพันธุ์ที่มีการระบาดในปี 2020 ดังนั้นประสิทธิภาพในการต่อต้านสายพันธุ์ Delta ก็เหมือนกันหมด ถ้าประสิทธิภาพ Sinovac ในการป้องกัน Delta ไม่ดี หรือลดลง วัคซีนตัวอื่นก็คงเหมือนกัน
(ในต้นฉบับข่าวภาษาอังกฤษบนสื่อ GlobalTimes เขียนว่า “If Sinovac's efficacy declines, so will that of others”)
.
การแสดงทรรศนะของประธานสมาคมอุตสาหกรรมวัคซีนจีนในครั้งนี้ สื่อให้เห็นถึงความมั่นใจในตัววัคซีนจีน โดยเฉพาะวัคซีน Sinovac ที่กำลังโดนตั้งข้อสงสัยในหลายประเทศถึงประสิทธิภาพที่วัคซีนนี้มีให้
.
นอกจากตัวประธานท่านนี้แล้ว หมอจงหนานซาน ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาดและถือเป็นคนดังในศึกต่อสู้โควิด เสมือนเป็นฮีโร่ของคนจีนก็ว่าได้ ก็ออกมาสร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชน เชิญชวนชาวจีนให้ไปฉีดวัคซีนเยอะๆเช่นกัน โดยกล่าวเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ว่า “วัคซีนจีน อาทิ Sinovac และ Sinopharm สามารถป้องกันสายพันธุ์ Delta ได้”
.
ถ้ามองเทียบกันระหว่างข่าวที่ออกมาจากสื่อจีน และกระแสข่าวของต่างประเทศรวมถึงเมืองไทยบ้านเรา เห็นได้ค่อนข้างชัดถึงความแตกต่างในความเชื่อมั่นวัคซีน Sinovac คือจะเห็นได้ว่าข่าวความเชื่อมั่นในวัคซีน Sinovac ต่อการป้องกัน DELTA โดยส่วนใหญ่แทบทั้งหมดจะออกมาจากทางจีนเอง
.
อย่างไรก็ตาม Liu Peicheng โฆษกของ Sinovac ได้เผยต่อ GlobalTimes เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมาว่า ทาง Sinovac กำลังศึกษาประสิทธิภาพการต่อต้านเชื้อโควิดสายพันธุ์ Delta ในห้องปฏิบัติการ และคาดว่าสามารถตีพิมพ์ผลงานวิจัยได้ในเร็ววันนี้ ซึ่งก็ต้องติดตามต่อไปครับ
โดยที่ผ่านมา การออกมาเคลมว่ามีประสิทธิภาพป้องกัน Delta ของผู้เชี่ยวชาญจีน ไม่ได้มีการเผยแพร่ผลวิจัย เป็นเพียงการแสดงความคิดเห็นออกแนวสร้างความมั่นใจและเชิญชวนให้คนจีนเชื่อมั่นในวัคซีนและออกมาฉีด ซึ่งอีกจุดที่น่าสังเกตคือ ทางจีนได้ใช้สื่อหลักของจีน เช่น GlobalTimes ในการนำเสนอข่าวในมุมสร้างความเชื่อมั่นในภาคภาษาอังกฤษเช่นกัน
.
อ้ายจงเล่าเรื่องจาก GlobalTimes
https://www.globaltimes.cn/page/202107/1228213.shtml
#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน #โควิด
โควิดdelta 在 อ้ายจง Facebook 的最讚貼文
#เรื่องเล่ายามดึก ผู้เชี่ยวชาญคนดังของจีน เผย "โควิดพันธุ์ Delta" ติดง่ายขึ้น แสดงอาการป่วย 2-3 วัน หลังติดเชื้อ
ยืนยันวัคซีนจีนป้องกันได้ เช่น Sinovac และ Sinopharm
.
หมอจงหนานซาน ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาดและผู้ที่ถือเป็นกำลังสำคัญในการต่อสู้กับการระบาดโควิดในจีน ได้เผยข้อมูลเกี่ยวกับโควิดสายพันธุ์ Delta ที่หลายประเทศรวมถึงไทยกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ว่า "มีระยะฟักตัวสั้นกว่าปกติ โดยผู้ได้รับเชื้อโควิดสายพันธุ์ Delta จะแสดงอาการป่วย ภายใน 2-3 วัน" ตามการรายงานของสื่อจีน Xinhua (新华网)
.
People's Daily อีกหนึ่งสื่อหลักของจีน ยังรายงานคำกล่าวของหมอจงหนานซานเกี่ยวกับโควิดสายพันธ์ุ Delta อีกว่า
"การพิจารณาว่าใครเป็น Close contact ผู้ใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ ต้องเปลี่ยนไป"
จากเดิม Close contact ผู้มกล้ชิดที่มีความเสี่ยงติดโควิด พิจารณาจากการใกล้ชิดในระยะไม่เกิน 1 เมตร เช่น คนในครอบครัวเดียวกัน หรือเพื่อนร่วมงาน กินข้าวด้วยกัน ประชุมด้วยกัน ในช่วงระยะเวลา 2 วัน ก่อนแสดงอาการป่วย
.
แต่ตอนนี้สายพันธ์ุ Delta รุนแรงกว่าเดิม ดังนั้น ผู้ที่อยู่บริเวณเดียวกัน ห้องเดียวกัน ตึกเดียวกัน ในช่วงก่อนผู้ป่วยรายนั้นแสดงอาการ ภายใน 4 วัน ถือเป็นผู้มีความเสี่ยง
.
ทั้งนี้ สื่อท้องถิ่นเมืองกว่างโจว อย่าง 广州日报 ได้ลงข้อมูลและคลิปการให้สัมภาษณ์ของหมอจงหนานซาน ซึ่งยืนยันว่า วัคซีนโควิดของจีนสามารถป้องกันโควิดสายพันธุ์ Delta ได้ โดยภายในคลิปได้ยกตัวอย่างวัคซีนจีนที่มีการใช้หลักๆในจีน ได้แก่ Sinovac (科兴) และ Sinopharm (国药)ดูคลิปได้ที่ https://m.weibo.cn/1887790981/4652081212034477
อย่างไรก็ตามนี่ก็เป็นเพียงความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญจีน คุณหมอจงหนานซาน เท่านั้นครับ ต้องยอมรับว่า การให้สัมภาษณ์ของคุณหมอช่วงนี้ เป็นไปในแนวทางเชิญชวนชาวจีนออกมาฉีดวัคซีนให้เยอะที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโควิด โดย ณ ขณะนี้ จีนฉีดวัคซีนทั่วประเทศเกิน 1พันล้านโดสแล้ว
.
อ้ายจงเล่าเรื่องจาก
Weibo: 新华网 https://m.weibo.cn/status/4652242336220319
Weibo: 人民日报 https://m.weibo.cn/status/4652439674559723
#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน #โควิดDelta
โควิดdelta 在 ไทยพบโควิดสายพันธุ์ใหม่ สายพันธุ์เดลตาพลัส - YouTube 的推薦與評價
โควิด สายพันธุ์เดลตาพลัส – Delta Plus พบครั้งแรกในแถบยุโรปช่วงเดือนมีนาคม และพบในประเทศอินเดีย ช่วงเดือนเมษายน ... ... <看更多>
โควิดdelta 在 Sriphat Medical Center, Chiang Mai is on ... - Facebook 的推薦與評價
" โควิดสายพันธุ์เดลต้า (Delta) " หรือที่คุ้นกันในชื่อ " โควิดสายพันธุ์อินเดีย " คืออะไร มีอาการอย่างไรบ้าง ศูนย์ศรีพัฒน์ ฯ... ... <看更多>
โควิดdelta 在 โควิดสายพันธุ์เดลต้า หายแล้วมีโอกาสติดซ้ำได้ง่าย l SPRiNGสรุปให้ 的推薦與評價
ผลการศึกษาในประเทศอังกฤษพบว่า สายพันธุ์เดลต้าจะทำให้มีโอกาสเกิดการติดเชื้อซ้ำสูงกว่าสายพันธุ์อัลฟ่า มากถึง 46%อ่านต่อ ... ... <看更多>