เหรียญยังมี 2 ด้าน ภายนอกที่ดูน่าชื่นชมในการเป็นเจ้าของธุรกิจ แต่ใครจะรู้ว่าเบื้องหลังของผู้ประกอบการหรือนักธุรกิจเหล่านี้ต้องแลกมาด้วยความกดดัน ปัญหารอบด้านที่ต้องเผชิญและภาระที่ต้องดูแลอีกมากแค่ไหน ประกอบกับพิษเศรษฐกิจที่หนักขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้คนกลุ่มนี้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้าสูง แล้วคุณหรือคนรอบข้างกำลังเป็นหนึ่งคนที่เสี่ยงเผชิญภาวะเช่นนี้หรือเปล่า? อย่าพึ่งกังวลไปเพราะเราได้นำวิธีการรับมือกับปัญหานี้เพื่อให้สุขภาพจิตของคุณนั้นแข็งแรงไปพร้อมกับการเติบโตของธุรกิจคุณมาฝากกัน
.
สถิติที่น่าสนใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้ามีดังนี้
• 72% ของผู้ประกอบการกำลังเผชิญปัญหาสุขภาพจิต
• 49% ของผู้ประกอบการมีอาการทางด้านจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า โรคไบโพลาร์ และอื่น ๆ
• 78% ของผู้ป่วยซึมเศร้ากว่า 300 ล้านคนทั่วโลก เกิดในประเทศที่มีรายได้ต่ำถึงปานกลาง
• 3.3 ล้านคน คือจำนวนของผู้ป่วยด้านจิตเวชในไทย
นิตยสาร Forbes ยังได้พูดถึงตัวเลขเกี่ยวกับความเสี่ยงในอาชีพผู้ประกอบการอีกว่ามีแนวโน้มที่จะ...
• เป็นโรคซึมเศร้ามากขึ้น 2 เท่า
• เป็นโรคสมาธิสั้นมากขึ้น 6 เท่า
• ติดสารเสพติดมากขึ้น 3 เท่า
• เผชิญกับไบโพลาร์(โรคสองขั้ว)มากขึ้น 11 เท่า
.
โดยสาเหตุความเสี่ยงการเป็นโรคซึมเศร้าของผู้ประกอบการนั้นอาจจะมาจากหลายปัจจัยเช่น
• การมองไม่เห็นความสำเร็จ
• ความวิตกกังวลสูงเกี่ยวกับธุรกิจ
• การถูกปฏิเสธจากนักลงทุนหรือลูกค้า
• Burn out หรือเครียดสะสมจากการทำงานติดต่อกันเป็นเวลานาน
• ถูกหักหลังจากเพื่อนร่วมงาน ลูกค้า หรือนักลงทุน
• ถูกไล่ออกจากบริษัทของตัวเอง
• การต่อสู้เพื่อพยุงธุรกิจเอาไว้
• การตัดสินใจในสถานการณ์ที่กดดัน และบีบคั้น
.
ซึ่งภาวะซึมเศร้าสามารถเกิดได้จากอีกหลายสาเหตุ หลายครั้งที่เกิดจากความเครียดเล็กๆ น้อยๆ จนสะสมแล้วกลายมาเป็นโรคซึมเศร้าที่ในบางครั้งก็ไม่อาจทราบสาเหตุหลักที่แท้จริงได้ แต่สิ่งสำคัญคือต้องตระหนักถึงและรับมือกับมันให้ได้ ผู้ประกอบการหลายท่านอาจจะสนใจแต่จะให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ โดยที่มองข้ามความรู้สึกของตัวเองว่ากำลังแสดงออกหรือปกปิดความเครียดไว้มากเกินไปหรือไม่ ซึ่งนั่นอาจทำให้ทุกอย่างแย่ลงก็เป็นได้ โดยการป้องกันและรับมือกับปัญหาความเครียดสามารถทำได้ดังนี้
.
1. หมั่นสังเกตพฤติกรรม อารมณ์ และการใช้ชีวิตของตัวเองว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ เช่นโกรธ หงุดหงิด เศร้ามากขึ้น เครียดนานเกินไป คิดแต่ผลเสียและทุกอย่างด้านลบ และเรียนรู้ที่จะจัดการกับอารมณ์และปัญหาของตนเองอย่างเหมาะสม เช่นเมื่อรู้สึกเครียด เหนื่อยล้ากับการทำงานก็ต้องหาเวลาพักผ่อน และมอบความสุขให้กับตัวเองบ้าง งดคิดและสื่อสารเรื่องงานเพื่อให้สมองและร่างกายได้พักเพื่อกลับมาต่อสู้กับการทำงานต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ
.
2. หันมาใส่ใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น ดูแลตัวเองโดยเริ่มต้นจากการนอนพักผ่อนให้เพียงพอ รับทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำให้เพียงพอ ทำสมาธิหรือจัดตารางการออกำลังกายทุกสัปดาห์ แม้งานจะสำคัญแค่ไหนแต่สุขภาพก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน จัดตารางและสร้างนิสัยการใช้ชีวิตให้ดี เพื่อการป้องกันปัญหาสุขภาพในระยะยาว
.
3. ปรับความคิด แน่นอนว่าคนทำธุรกิจทุกท่านล้วนแล้วแต่มีความคาดหวังที่สูงในการเติบโตของธุรกิจที่มีอยู่มาก แต่ยิ่งคาดหวังมากเท่าไหร่หากผิดหวังก็จะเกิดความรู้สึกสิ้นหวังมากขึ้นตามมา ดังนั้นไม่ได้จะบอกให้เลิกตั้งความหวัง แต่เมื่อคาดหวังแล้วก็ควรวางแผนรับมือต่อความผิดหวังที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ใจดีกับตัวเองจากการผิดหวังในสิ่งที่ตั้งเอาไว้บ้างก็ไม่เสียหาย หากล้มแล้วก็แค่ลุกขึ้นยืนใหม่ ความผิดพลาดเนี่ยแหละเป็นครูชั้นดีของความสำเร็จในอนาคต
.
4. คนรอบข้างนั้นก็มีส่วนสำคัญเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว หรือมองหาคนที่อยู่ในวงการเดียวกันหรือคนที่สนใจเรื่องเดียวกันเพื่อการรับฟังปัญหาและแลกเปลี่ยนปัญหากันอย่างเข้าใจและช่วยกันปรับตัวและหาทางแก้ไขนั้นจะช่วยแก้ไขปัญหาความวิตกกังวล เครียด หรือรู้สึกโดดเดี่ยวได้ดีมากขึ้นทีเดียว
.
5. หากไม่สามารถจัดการกับตัวเองได้ และเริ่มรู้สึกว่าเกินความสามารถในการควบคุมตัวเองแล้วนั้น การเข้าพบกับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางอย่าง นักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์ เพื่อพูดคุย ระบายถึงปัญหา และสะท้อนมุมปัญหาอีกมุมที่คุณอาจจะไม่เคยมองเห็น ก็จะช่วยเยียวยาจิตใจของคุณได้ นอกจากนี้ความเครียดนั้นอาจจะเกิดขึ้นจากสารเคมีในสมองที่ไม่สามารถควบคุมได้ การบำบัดด้วยยาโดยการดูแลของแพทย์ก็จะสามารถช่วยได้ดีเลยทีเดียว
.
อย่างไรก็ตามด้วยสภาวะเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดโควิด-19 อาจทำให้ผู้ประกอบการหลายท่านกำลังเผชิญปัญหาความเครียดอย่างเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นอย่าลืมที่จะตรวจสอบตัวเองอยู่เสมอ เพื่อที่จะสามารถหาทางป้องกันและรับมือได้อย่างทันท่วงที ยิ่งทุ่มเทให้กับธุรกิจมากแค่ไหน ก็ต้องหาเวลาผ่อนคลายความเครียดจากการทำงานบ้างเพื่อที่จะได้มีแรงในการบริหารธุรกิจให้เติบโตมากขึ้นกว่าเดิม
.
ที่มา : https://www.forbes.com/sites/alejandrocremades/2019/03/23/why-entrepreneurship-involves-depression-and-how-to-overcome-it/?sh=4d59fdd1270e
https://www.istrong.co/single-post/depression-entrepreneur
https://cheechongruay.smartsme.co.th/content/27325
.
#อายุน้อยร้อยล้าน #ryounoi100lan
#อายุน้อยร้อยล้านNEWS
#ผู้ประกอบการ #นักธุรกิจ #ธุรกิจ #Business #รับมือความเครียด #โรคซึมเศร้า #วางแผนธุรกิจ
「โรคสองขั้ว」的推薦目錄:
- 關於โรคสองขั้ว 在 อายุน้อยร้อยล้าน Facebook 的精選貼文
- 關於โรคสองขั้ว 在 โรคไบโพลาร์ (โรคอารมณ์สองขั้ว) | Re-Mind - YouTube 的評價
- 關於โรคสองขั้ว 在 ไบโพลาร์ คนอารมณ์สองขั้ว เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย | Highlight Rama Variety 的評價
- 關於โรคสองขั้ว 在 "Bipolar disorder" บ้างก็เรียกโรคอารมณ์แปรปรวน บ้าง ... - Facebook 的評價
- 關於โรคสองขั้ว 在 "ไบโพลาร์" โรคอารมณ์สองขั้ว ทำความเข้าใจ รู้ก่อนรักษาได้ - YouTube 的評價
- 關於โรคสองขั้ว 在 ไบโพลาร์ คนอารมณ์สองขั้ว เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย - Facebook 的評價
โรคสองขั้ว 在 ไบโพลาร์ คนอารมณ์สองขั้ว เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย | Highlight Rama Variety 的推薦與評價
![影片讀取中](/images/youtube.png)
โรค ไบโพลาร์เป็น โรค ที่มีความผิดปกติทางอารมณ์ สอง แบบเปลี่ยนแปลงไปมาสลับกัน คือ อารมณ์ดีหรือก้าวร้าวผิดปกติ (mania) และอารมณ์ซึมเศร้าผิดปกติ ... ... <看更多>
โรคสองขั้ว 在 "Bipolar disorder" บ้างก็เรียกโรคอารมณ์แปรปรวน บ้าง ... - Facebook 的推薦與評價
"Bipolar disorder" บ้างก็เรียก โรค อารมณ์แปรปรวน บ้างก็เรียก โรค อารมณ์ สองขั้ว เป็นปัญหาด้านสุขภาพจิตที่คนไทยหลายคนอาจยังไม่รู้จักแล ะไม่เข้าใจ เรา ... ... <看更多>
โรคสองขั้ว 在 โรคไบโพลาร์ (โรคอารมณ์สองขั้ว) | Re-Mind - YouTube 的推薦與評價
มหิดล จะมาให้ความเข้าใจเกี่ยวกับ โรค อารมณ์ สองขั้ว หรือไบโพลาร์ โรค ที่สามารถรักษาและควบคุมอาการได้หากได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ... ... <看更多>