【#李艾真:🇺🇸 當書商也成巨怪,會有什麼影響?】
「想打倒巨獸,得先成為巨獸本身?」全美最大的出版集團企鵝藍燈書屋(Penguin Random House)在去年11月宣布將以超過20億美金的價碼,併購規模排名第三的西蒙與舒斯特(Simon & Schuster)。這樁強強聯手的大戲是否涉及市場壟斷,有違反「反托拉斯法」(antitrust law)之嫌,尚待美國司法部調查。
.
但出版業何以在近日科技巨頭備受抨擊的主流風向中逆勢操作,「逆風高飛」邁向寡頭獨大,其實正是業界多年來面對電商巨怪亞馬遜(Amazon)的強勢獨霸,採取「以其人之道還治其人之身」的「利維坦」戰術——成為巨人的出版集團,或將扭轉長期遭亞馬遜處處掣肘的局面,進而談判出更理想的分潤、廣告等合作條件。
不過出版作為發聲場域,在一定程度上甚至反應一國的民主狀態,大者愈大的巨獸化發展對作者收益、中小型出版社、連鎖和獨立書店,乃至多元意見的存續,皆有難以忽視的負面效應。連年來的併購趨勢究竟是必要之惡,還是飲鴆止渴?
.
(完整內容請點入收聽 #重磅一頁書 #podcast)
#美國 #出版 #企鵝藍燈書屋 #PenguinRandomHouse #Simon&Schuster #市場壟斷 #反托拉斯法 #Amazon #電子書 #獨立書店 #書市 #重磅廣播
antitrust law 在 GamingDose Facebook 的最讚貼文
หลังผ่านด่านการฟ้องร้องและยื่นเรื่องกันมายาวนานในที่สุด Epic ก็ลาก Apple ยักษ์ใหญ่วงการ IT ไปจนถึงศาลรัฐบาลกลางได้สำเร็จ ซึ่งหัวใจสำคัญในคดีความครั้งนี้ก็คือเรื่องของ “สิทธิอำนาจที่ Apple ถือครองอยู่ในมือบนตลาดมือถือ”
แม้ต้นกำเนิดคดีความจะเริ่มต้นจากปัญหาเรื่องส่วนแบ่งรายได้ของเกม Fortnite บน iOS แต่ผลของการตัดสินในคดีนี้ถือว่าน่าติดตามและจะส่งผลกระทบต่อวงการ IT โดยรวมอย่างแน่นอน
เพราะหาก Epic ชนะในคดีนี้ Apple จะต้องเปลี่ยนนโยบายการดำเนินงานของร้านค้าตนเองใหม่ ซึ่งที่ผ่านมาทาง Apple เองก็ถูกจับตามองเป็นพิเศษจากทั้งรัฐบาลสหรัฐอเมริกา รวมไปถึงสหภาพยุโรปในปัญหาการผูกขาดตลาด
คดีความครั้งนี้มันเกี่ยวกับอะไร มีข้อมูลอะไรที่ต้องรู้และน่าสนใจ อ่านสรุปจากเราได้เลย
.
🔹 เรื่องราวเริ่มจากตรงไหน ?
.
เมื่อกลางปี 2020 ทาง Epic ตัดสินใจเพิ่มช่องทางจ่ายเงินของตัวเองเข้าไปภายในเกม Fortnite เพื่อให้ผู้เล่นสามารถจ่ายเงินให้กับ Epic ได้โดยตรง ไม่ต้องผ่านคนกลางอย่าง Apple พร้อมลดราคา V-Buck ด้วยการจ่ายเงินรูปแบบนี้ถึง 20%
หลังจากนั้น Apple ก็ตอบโต้อย่างรวดเร็วด้วยการถอดเกม Fortnite ออกจาก App Store อย่างรวดเร็ว
Epic ตอบโต้ด้วยการปล่อยโครงการโฆษณาโจมตี Apple แบบต่อเนื่องผ่านแคมเปญ #FreeFortnite นำไปสู่การยื่นฟ้อง Apple ในที่สุด
.
🔹 คดีนี้เกี่ยวกับอะไร ? ทำไม Epic ฟ้อง Apple ?
.
Epic ยื่นฟ้อง Apple ในข้อกล่าวหาว่าทาง Apple นั้นมีนโยบายผูกขาดรายได้บน App Store เพราะ Apple นั้นอนุญาตให้การซื้อขายภายในเกมหรือ App ต่าง ๆ นั้นต้องทำผ่านระบบจ่ายเงินของ Apple เท่านั้น พร้อมกับหักค่าส่วนแบ่ง 30%
Epic ร้องว่าส่วนแบ่งดังกล่าวนั้นไม่เป็นธรรมและสร้างภาระหนักหน่วงให้ผู้พัฒนาขนาดเล็กที่จำเป็นจะต้องแข่งขันกับ App ของทาง Apple เองซึ่งไม่จำเป็นต้องมีภาระค่าใช้จ่ายดังกล่าว
ส่วนแบ่งรายได้ของร้านค้า App Store ถือเป็นรายได้สำคัญของ Apple ในปีที่แล้ว Apple ทำเงินจากร้านค้าและระบบ subscription ไปถึง 54 ล้านเหรียญ ซึ่งนักวิเคราะห์หลายคนเห็นตรงกันว่าความสำคัญของรายได้ส่วนนี้ของ Apple มีแต่จะเพิ่มสูงขึ้นเพราะรายได้จากการขาย iPhone ไม่ได้ยืนหนึ่งครองตลาดเท่ากับสมัยก่อน
ทาง Apple โต้ตอบว่าส่วนแบ่ง 30% ของร้านค้าถือเป็นสิ่งจำเป็น เพราะเงินดังกล่าวถูกนำไปใช้ในการรักษาความปลอดภัยของ App และ iDevice ภายในระบบ
ขณะที่ Epic โจมตีว่า Apple ได้ผลกำไรจากส่วนแบ่งตรงนี้สูงถึง 80% ซึ่งเป็นตัวเลขที่ Apple ปฎิเสธ
.
🔹 ความคิดเห็นของนักพัฒนาเป็นอย่างไร ?
.
ปลายปี 2020 ทาง Apple ตัดสินใจออกกฎใหม่ในการเก็บเงินส่วนแบ่ง โดยจะลดค่าส่วนแบ่งเหลือเพียงแค่ 15% จากนักพัฒนาระดับเล็กที่ทำรายได้จาก App Store ไม่ถึง 1 ล้านเหรียญ
จะเห็นได้ว่าแม้แต่ทาง Apple เองก็เล็งเห็นว่าตัวเลข 30% นั้นดูสูงเกินไปในบางกรณี
Phillip Shoemaker อดีตผู้บริหารอาวุโสของ App Store ผู้ลาออกจาก Apple ในปี 2016 แสดงความคิดเห็นไว้ว่า ตัวเลข 30% นั้นสูงเกินไป แม้แต่บริษัทบัตรเครดิดยังเรียกเก็บค่าบริการเพียงแค่ 3%
ฝั่งนักพัฒนาหลายคนก็เห็นตรงกันว่าตัวเลขส่วนแบ่ง 30% นั้นสูงเกินไปไม่ใช่เฉพาะกับบนระบบ App Store แต่เป็นร้านค้าอื่น ๆ ทุกร้าน
Andy Yen หัวหน้าฝ่ายบริหารของ ProtonMail ผู้ให้บริการ email ให้สัมภาษณ์ไว้ว่า “มีเพียงไม่กี่บริษัทที่สามารถทำกำไรรวมได้ถึง 30% วิธีเดียวที่เราจะอยู่ได้ด้วยค่าส่วนแบ่งที่แพงขนาดนี้คือการผลักภาระไปให้ลูกค้าของเรา” ProtonMail ลดค่าบริการ 30% ให้ลูกค้าที่สมัครตรงผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัท แต่เมื่อพวกเขาโฆษณาการลดราคานี้ผ่าน App ใน App Store ตัว App ของพวกเขาก็ถูก Apple จำกัดการเข้าถึง
นอกจากนั้นนักพัฒนารายอื่น ๆ หลายรายก็มีประสบการณ์ที่ไม่ค่อยดีเกี่ยวกับส่วนแบ่ง 30% รวมไปถึงนโยบายการจ่ายเงินใน App Store ซึ่งหลายคนมองว่ากลายเป็นกฎที่ Apple ใช้เอามา “รังแก” นักพัฒนาหลายเจ้า เช่นการบีบบังคับให้ใส่ระบบสมัครสมาชิกเข้าไปเพื่อให้ Apple เข้ามาขอส่วนแบ่งรายได้
.
🔹 มีที่ไหนอีกที่ Apple กำลังโดนฟ้อง ?
.
สมาชิกสภานิติบัญญัติในวอชิงตันได้เปิดประชุมพูดคุยกับผู้พัฒนา App นัดเดท Match ในหัวข้อว่า Apple ทำตัวเป็นยักษ์ใหญ่ที่ไล่รังแกนักพัฒนารายอื่นโดยใช้การข่มขู่เรื่องรายได้ โดยที่มีของปัญหานี้มีคือขึ้นหลัง Match พยายามส่งอัพเดทใหม่ให้ทาง Apple และไม่ได้รับการตอบรับโดยทนายความของ Apple มีท่าทีข่มขู่และตอบกลับว่ารายได้ทั้งหมดของ Match นั้นเป็นของ Apple ทั้งหมด
นอกจากนั้นกระทรวงยุติธรรมสหรัฐก็กำลังเข้ามาสอบสวนเรื่องของกฎภายในร้านค้า App Store ด้วยเช่นกัน
ขณะเดียวกันสัปดาห์ก่อนสหภาพยุโรปก็ยื่นฟ้อง Apple ในกฎหมายด้านการแข่งขัน โดยข้อกล่าวหาว่ากีดกันคู่แข่งในระบบ Streaming เพลงอย่าง Spotify ซึ่งหลังการสอบสวนหากพบว่า Apple ละเมิดกฎหมายด้านการแข่งขันของ EU Apple ก็จะถูกปรับเป็นเงินสูงถึง 10% ของรายได้รายปี และจะถูกบังคับให้ปรับแนวทางการปฏิบัติธุรกิจ
.
🔹 Epic มีโอกาสชนะคดีมากขนาดไหน ? และใครเป็นคนตัดสิน ?
.
ผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้ทั้งหมดเห็นตรงกันว่า Epic มีโอกาสน้อยมากในการชนะคดีความครั้งนี้ เพราะภายใต้กฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกานั้นบริษัทยักษ์ใหญ่ถือว่ามีความได้เปรียบ เพราะการตีความที่ผ่านมามักยกผลประโยชน์ให้บริษัทเจ้าของพื้นที่เป็นส่วนใหญ่
ขณะเดียวกันแม้แต่ผู้พิพากษาของคดีอย่าง Gonzalez Rogers ก็แย้มเอาไว้ว่า ในแง่ของกฎหมายเธอเองก็ไม่เชื่อมั่นแบบเต็มที่ว่า Apple ทำผิดพระราชบัญญัติต่อต้านการผูกขาดปี 1890
อย่างไรก็ตามการที่ Epic สามารถลากยาวคดีนี้มาได้นานถึงขนาดนี้ก็ถือว่าน่าสนใจและการต่อสู้คงไม่จบลงง่าย ๆ ทั้งในแง่ของการที่ฝั่ง Epic ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่านอกจาก Apple ผูกขาดตลาดเอาไว้ ยังมีการใช้อำนาจดังกล่าวขัดขวางคู่แข่งและควบคุมกลไกตลาดให้ตัวเองได้เปรียบ
สำหรับคนที่จะเป็นผู้ตัดสินคดีความนี้ก็จะเป็นตัวศาลเองหลังจากที่ทั้งสองบริษัทขอข้ามการตัดสินโดยขณะลูกขุนไป เท่ากับว่าผู้พิพากษา Gonzalez Rogers จะเป็นคนตัดสินคดีนี้ด้วยตัวเอง และแน่นอนว่าไม่ว่าผลจะออกมาในรูปแบบไหนการต่อสู้ในการยื่นอุทธรณ์จะดำเนินต่อไปอีกนานเช่นกัน
.
🔹 กฎหมายต่อต้านการผูกขาด คืออะไร ?
.
กฎหมายต่อต้านการผูกขาดหรือกฎหมายการแข่งขันทางการค้าหรือ Antitrust Law เป็นกฎหมายที่มีขึ้นในประเทศต่าง ๆ เป้าหมายสูงสุดเพื่อให้มีการแข่งขันที่เป็นธรรมในตลาด
คำว่าการผูกขาดหรือภาษาอังกฤษใช้คำว่า A monopoly นั้นหมายถึงบุคคลหรือกลุ่มผู้ลงทุนแต่ผู้เดียวขายสินค้าหรือบริการต่างๆโดยไม่มีคู่แข่ง สรุปว่าในทางกฎหมาย การผูกขาดหมายถึงธุรกิจที่มีอิทธิพลต่อตลาดและเป็นผู้กำหนดราคาสินค้าให้สูงขึ้นได้
ซึ่งการตีความและข้อกำหนดปลีกย่อยอื่น ๆ ก็แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศเสรีทางการค้า ดังนั้นรัฐบาลกลางสหรัฐจึงมีกฎหมายต่อต้านการผูกขาดหลายฉบับทั้งในรัฐบาลกลางและระดับรัฐ โดยแต่ละรัฐก็เป็นอิสระในการออกกฎหมายของรัฐตัวเองแยกย่อยไปอีก
.
🔹 ค่ายเกมและบริษัทอื่น ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องยังไง ?
.
ถ้าใครติดตามข่าวสารในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาจะเห็นว่าเอกสารข้อมูลภายในบริษัทหลายแห่งถูกนำมาเปิดเผย ซึ่งที่มาก็มาจากการฟ้องร้องในคดีความระหว่าง Epic และ Apple ซึ่งบริษัทในวงการเกมอย่าง Valve หรือแม้แต่ Microsoft และ Sony ก็ล้วนแล้วแต่ถูกคำสั่งศาลให้เปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาใช้ในการพิจารณาคดีครั้งนี้นั่นเอง
.
🔹 เกิดอะไรขึ้นในการไต่สวนที่ผ่านมา ?
.
ทนายฝั่ง Epic พยายามชี้ให้เห็นว่า Apple ออกแบบ App Store เพื่อขัดขวางผู้พัฒนารายอื่น ๆ เพราะไม่มีการเลือกให้จ่ายเงินในรูปแบบอื่นนอกจากผ่านทาง Apple
ฝั่ง Apple โต้ตอบว่าส่วนแบ่ง 30% ดังกล่าวมีขึ้นเพื่อใช้ในการดูแลตัว App และ Device ต่าง ๆ ในระบบของ Apple ดังนั้นนี่ไม่ใช่การใช้อำนาจรังแกผู้พัฒนาแต่เป็นการตรวจสอบว่า iOS จะมีคุณภาพที่ดีจริง ๆ ไปตลอด
CEO ของ Epic คุณ Tim Sweeney ขึ้นให้การและบอกว่าในตอนแรกที่ Apple เริ่มใช้งาน App Store เขาชื่นชอบระบบของมันมากก่อนที่มันจะถูกพัฒนามาเรื่อย ๆ และมีกฎบังคับมากมายถูกเพิ่มเข้ามาโดยตลอด และกลายเป็นว่ามันต้องใช้เงินมากขึ้นเรื่อย ๆ ในการพัฒนาและดูแล App ที่ลงให้กับ App Store
Tim Sweeney ระบุว่าการที่ Apple เก็บส่วนแบ่ง 30% นั้นเท่ากับว่าในบางกรณี Apple ได้กำไรเยอะกว่าผู้พัฒนาโดยตรงของ App เสียด้วยซ้ำ และเป้าหมายในคดีนี้ก็ไม่ใช่เรื่องของเงินที่ทางเขาสูญเสียไปแต่ Epic ต้องการให้ Apple เปลี่ยนแปลงกฎจากที่เป็นอยู่
.
🔹 หลังจากนี้จะเกิดอะไรขึ้นอีก ?
.
การไต่สวนจะดำเนินต่อไปเป็นเวลา 3 สัปดาห์ ซึ่งส่วนที่น่าจับตามองมากที่สุดคือการขึ้นให้การของ Tim Cook ผู้เป็น CEO ของบริษัท Apple อย่างไรก็ตามยังไม่มีกำหนดการถูกเปิดเผยออกมาว่า Tim Cook จะขึ้นให้การต่อศาลในวันไหน
ในช่วงเวลาหลังจากนี้ก็จะเป็นการต่อสู้ระหว่างทนายของทั้งสองบริษัทรวมไปถึงเหล่าผู้เชี่ยวชาญในวงการและนักเศรษฐศาสตร์จากทั้งสองมุม
.
#GamingDose #Epic #Apple #FreeFortnite
antitrust law 在 อ้ายจง Facebook 的最佳貼文
จีนปรับ Tencent และอีกหลายบริษัทในจีน เพื่อต่อต้านผูกขาดการค้า แต่ปรับเพียงบริษัทละ 5 แสนหยวน (ราว 2.5 ล้านบาท) น้อยกว่ากรณี Alibaba เพราะเห็นว่า "ไม่ได้กีดกันการแข่งขันและผูกขาดเท่า Alibaba"
.
หลังจากเมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา รัฐบาลจีนลงดาบ สั่งปรับ Alibaba ยักษ์ใหญ่ E-commerce จีน ในข้อหา “ผูกขาดทางการค้า” เป็นเงินสูงถึง 1.82 หมื่นล้านหยวน ซึ่งคิดเป็น ราว 4% ของยอดขายปี 2019 และในตอนนั้นก็มีเสียงบนโลกออนไลน์จีนจำนวนไม่น้อยตั้งคำถาม “บริษัทจีนรายใหญ่เจ้าอื่นๆ จะโดนลงดาบเหมือนกับ Alibaba หรือไม่?”
.
วันนี้เริ่มมีคำตอบจากทางการจีนแล้วครับ เมื่อสำนักงานบริหารจัดการกฎระเบียบตลาดแห่งรัฐ (State Administration for Market Regulation – SAMR) สั่งปรับ Tencent (บริษัทแม่ของ WeChat) , DiDi (แพลตฟอร์มเรียกรถรายใหญ่ในจีน) และ Suning บริษัทค้าปลีกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ รวมถึงอีกหลายบริษัท รวมๆก็ทั้งหมด 11 บริษัท เป็นเงินบริษัทละ 500,000 หยวน (ราว 2.5 ล้านบาท) เนื่องจากทำผิดกฎหมายผูกขาดทางการค้า
.
แต่สาเหตุที่ค่าปรับถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับที่ Alibaba โดนปรับเกือบ 2 หมื่นล้านหยวน ทางการจีนมองว่า บริษัทเหล่านี้ ทำผิดเกี่ยวกับการขออนุมัติจากทางการและการยื่นเอกสารเกี่ยวกับการลงทุน ซึ่งไม่ได้ส่งผลต่อการแข่งขันทางการค้าเหมือนกับกรณีของ Alibaba
.
อย่างเช่น Tencent โดนปรับเนื่องจากเข้าซื้อกิจการอื่น โดยไม่ได้รายงานและขออนุมัติจากทางหน่วยงานของทางการจีนที่มีอำนาจดูแลรับผิดชอบส่วนนี้ ขณะที่ DiDi โดนปรับเพราะไม่ได้ขออนุมัติจากทางการจีน เกี่ยวกับการร่วมทุน คล้ายกับกรณีของ Tencent
.
ทั้งนี้ อาจจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับการตัดสินกรณีผูกขาดทางการค้าของบริษัทเหล่านี้รวมถึงบริษัทอื่นๆในจีนออกมาอีก เพราะตอนนี้จีนกำลังลุยอย่างหนักในการแก้ปัญหาผูกขาดทางการค้า และเมื่อธันวาคม ปีที่แล้ว (2020) ทาง Alibaba และ Tencent ก็โดนปรับไปแล้ว 500,000 หยวนเช่นกัน ในกรณีเดียวกับครั้งนี้ คือ ไม่ได้ระบุและแจ้งทางการให้ชัดเจนในการเข้าซื้อกิจการ ก่อนที่ Alibaba จะโดนปรับหนักหลักหมื่นล้านหยวนเมื่อต้นเดือนเมษายนนี้ และ Tencent ก็โดนปรับอีกครั้งในกรณีเดิม เงินเท่าเดิม ตามที่เล่าไปข้างต้นครับ
.
อ้ายจงอ้างอิงจาก
https://www.globaltimes.cn/page/202104/1222529.shtml
https://www.scmp.com/tech/big-tech/article/3131818/tencent-didi-chuxing-other-internet-firms-slapped-fine-antitrust
https://www.straitstimes.com/asia/east-asia/big-chinese-firms-fined-over-anti-monopoly-law
https://www.cnbc.com/2020/12/14/alibaba-and-two-other-firms-fined-for-not-reporting-deals-to-chinese-regulators-.html
#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน
antitrust law 在 United States antitrust law - Wikipedia 的相關結果
In the United States, antitrust law is a collection of mostly federal laws that regulate the conduct and organization of business corporations and are ... ... <看更多>
antitrust law 在 Understanding Antitrust Laws - Investopedia 的相關結果
Antitrust laws also referred to as competition laws, are statutes developed by the U.S. government to protect consumers from predatory business practices. They ... ... <看更多>
antitrust law 在 The Antitrust Laws | Federal Trade Commission 的相關結果
The antitrust laws proscribe unlawful mergers and business practices in general terms, leaving courts to decide which ones are illegal based on the facts of ... ... <看更多>