วิวัฒนาการ NBA จากลีกบาสเกตบอลไม่มีคนดู สู่ธุรกิจ 2 ล้านล้าน /โดย ลงทุนแมน
หากพูดถึงลีกการแข่งขันบาสเกตบอลที่ใหญ่ที่สุดในโลก
คงหนีไม่พ้น “NBA” ลีกบาสเกตบอลของสหรัฐอเมริกา
ที่ก่อตั้งมายาวนานกว่า 72 ปี
รู้หรือไม่ว่าฤดูกาลแข่งขันปี 2019/2020 NBA มีรายได้ 2.4 แสนล้านบาท
เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว เมื่อเทียบกับเมื่อ 9 ปีที่แล้ว แสดงให้เห็นถึงการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ Forbes ยังได้ประเมินว่าทีมบาสเกตบอล
ที่อยู่ในการแข่งขัน NBA ทั้ง 30 ทีม มีมูลค่าตลาดรวมกันเกือบ 2 ล้านล้านบาท
แล้ว NBA มีกลยุทธ์อย่างไร
และปัจจัยใดที่ทำให้ความนิยมของ NBA
เพิ่มขึ้นตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
NBA ย่อมาจาก National Basketball Association ก่อตั้งขึ้นในปี 1949
โดยเป็นการรวมตัวกัน ระหว่างลีกบาสเกตบอลของสหรัฐอเมริกา 2 ลีก
คือ Basketball Association of America (BAA) ก่อตั้งในปี 1946
และ National Basketball League (NBL) ก่อตั้งในปี 1937
แม้ในปัจจุบัน NBA จะมีทีมบาสเกตบอลถึง 30 ทีม
แต่ในช่วงเริ่มแรกนั้น NBA มีทีมบาสเกตบอลทั้งหมดเพียง 17 ทีม
แถมในช่วงเริ่มต้น NBA ก็ไม่ได้รับความนิยมมากนัก
เพราะในปี 1955 มีทีมบาสเกตบอลแข่งขันกันเพียง 8 ทีมเท่านั้น
แต่สิ่งที่ทำให้ NBA กลับมาเป็นที่นิยม และกลับมาเติบโตได้
มาจากการปรับโครงสร้างการแข่งขันขึ้นใหม่
เริ่มต้นจากการเปลี่ยนแปลงกฎกติกาการแข่งขัน
ยกตัวอย่างเช่น การเพิ่มเขตทำคะแนน 3 แต้ม
จากเดิมที่มีการทำคะแนนได้เพียง 2 แต้มต่อการชูตลง 1 ลูกเท่านั้น
ซึ่งลูก 3 แต้มนี้ทำให้เกิดความหลากหลายและรูปแบบการเล่นใหม่เข้ามาในเกม
หรืออีกกฎที่เพิ่มเข้ามาคือ การเพิ่มระบบ “Shot Clock”
ที่กำหนดเวลาในการครอบครองบอลของแต่ละฝั่ง
ทำให้แต่ละทีมต้องรีบทำคะแนนภายในเวลาที่กำหนด
การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ทำให้เกมการแข่งขันมีความรวดเร็ว
มีรูปแบบที่กระตุ้นให้นักกีฬาต้องแข่งกันทำแต้มตลอดเวลา
ส่งผลให้เกมดูสนุกและตื่นเต้นมากขึ้น และผู้ชมก็เริ่มให้ความสนใจเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
นอกจากนี้ อีกหนึ่งในโครงสร้างของ NBA ที่แตกต่างจากลีกกีฬาอื่น
คือรูปแบบโมเดลธุรกิจของ NBA ที่สร้างความมั่นคงให้กับทุกทีมที่มีส่วนร่วม
และลดความได้เปรียบหรือเสียเปรียบระหว่างกัน
เช่น การเลือกตัวนักกีฬาหน้าใหม่เข้าทีมหรือการดราฟต์
ด้วยระบบที่เน้นให้โอกาสกับทีมที่ทำผลงานได้ไม่ดี
มีโอกาสในการคว้าตัวนักกีฬาอันดับต้น ๆ ในระบบดราฟต์ มากกว่าทีมที่มีผลงานดี
โดยปัจจุบัน 3 ทีมที่มีผลงานแย่สุด จะมีโอกาสเท่ากันที่ 14% ที่จะคว้าสิทธิ์ดราฟต์อันดับ 1
ซึ่งสิทธิ์ดราฟต์ที่แต่ละทีมได้มา สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการเจรจาแลกเปลี่ยน
ตัวนักกีฬาระหว่างทีมได้อีกด้วย
นอกจากการรักษาสมดุลระหว่างผู้เล่นในแต่ละทีม
NBA ก็ยังได้กำหนดเพดานค่าจ้างนักกีฬาของแต่ละทีม
โดยมีระบบการคำนวณมาจากรายได้รวมของลีก
ทำให้แต่ละทีมมีเพดานสำหรับการจ่ายค่าจ้างเท่ากัน และหากทีมใดจ้างนักกีฬาเกินเพดานที่กำหนด
จะต้องเสียภาษีเพดานค่าจ้างในอัตราที่สูงมาก ระบบนี้จึงกลายมาเป็นการป้องกันการซื้อตัวนักกีฬาดังไม่ให้ไปอยู่รวมกันภายในทีมเดียวมากเกินไป
อีกระบบที่สำคัญไม่แพ้กันคือ ระบบการคำนวณรายได้มวลรวมของลีก
เป็นระบบที่ช่วยการกระจายรายได้ของแต่ละทีม
โดยทุกทีมจะต้องนำรายได้ส่วนหนึ่งมารวมกันและเฉลี่ยไปยังทีมอื่นเท่า ๆ กัน
เพื่อเป็นการปรับช่องว่างรายได้ ระหว่างทีมที่อยู่ในตลาดขนาดเล็กและใหญ่
เช่น LA Lakers ที่อยู่ในเมืองลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งมีประชากรเกือบ 4.0 ล้านคน
กับทีม Phoenix Suns ที่อยู่ในเมืองฟีนิกซ์ รัฐแอริโซนา ซึ่งมีประชากรเพียง 1.6 ล้านคน
จะเห็นได้ว่าทั้ง 2 ทีม อยู่ในเมืองที่มีฐานประชากรห่างกันมาก และส่งผลต่อรายได้ของทีม
แต่ระบบของ NBA จะทำให้ทีมที่มีรายได้น้อยกว่าเกณฑ์ ได้รับเงินอุดหนุนจำนวนหนึ่ง
จากทีมที่มีรายได้มากกว่าเกณฑ์
ทั้งนี้ทีมขนาดเล็กก็ต้องมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 70% ของรายได้เฉลี่ยที่แบ่งกันในแต่ละทีม จึงจะสามารถรับส่วนแบ่งได้เต็มอัตรา เพื่อเป็นการจูงใจและผลักดันให้ทีมขนาดเล็กปรับปรุงและพัฒนาทีมอยู่ตลอดเวลา
เมื่อองค์ประกอบทุกอย่างถูกสร้างสรรค์และออกแบบมาอย่างดีแล้ว
ก็ส่งผลให้ความนิยมและรายได้ของ NBA เพิ่มขึ้นตลอดหลายปีที่ผ่านมา
ทีนี้เรามาดูกันว่าการหารายได้ของ NBA เป็นอย่างไร ?
NBA เป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องของความหลากหลายของช่องทางการหารายได้
ซึ่งก็คือการกระจายความเสี่ยงจากการพึ่งพารายได้เพียงไม่กี่ช่องทาง
โดยรายได้หลักของ NBA มาจาก 4 ช่องทางด้วยกันคือ
1. ค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสด
รายได้ส่วนนี้ ถือเป็นรายได้หลักของ NBA ซึ่งในปี 2016 NBA ได้มีการเซ็นสัญญากับสื่อกีฬายักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกาอย่าง ESPN และ Turner Sports ด้วยสัญญา 9 ปี มูลค่าราว 720,000 ล้านบาท
หรือเฉลี่ยปีละ 80,000 ล้านบาท สำหรับการถ่ายทอดสดการแข่งขันของ NBA
โดยสัญญานี้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 180% จากสัญญาเดิมที่ได้ 29,000 ล้านบาทต่อปี
และแต่ละทีมสามารถเซ็นสัญญาถ่ายทอดสดกับสื่อท้องถิ่นได้อีกด้วย
นอกจากนี้ NBA ยังมีระบบสตรีมมิง ชื่อว่า NBA League Pass ที่ให้ผู้ชมสามารถเลือกซื้อได้ทั้งแบบ รายสัปดาห์ รายเดือน และรายปี ทำให้ผู้ชมทั่วโลกสามารถรับชมการแข่งขันได้แบบถูกลิขสิทธิ์
2. ลิขสิทธิ์ทางด้านสินค้าและการสนับสนุนจากสปอนเซอร์
ถึงแม้จะไม่ใช่รายได้ที่มีสัดส่วนที่มาก แต่ก็มีสินค้าหลากหลายแบรนด์ที่พร้อมจะร่วมสนับสนุนกับ NBA
อย่างเช่น การซื้อป้ายโฆษณาบนเสื้อนักกีฬา ซึ่งป้ายดังกล่าวมีขนาดประมาณบัตรประชาชนเท่านั้น แต่กลับมีมูลค่าที่สูงมาก
ในปี 2019 ป้ายแบรนด์เหล่านี้ทำรายได้ให้กับ NBA กว่า 4,500 ล้านบาท
อย่างเช่น Rakuten แบรนด์ E-commerce จากญี่ปุ่น ที่ยอมจ่ายถึง 600 ล้านบาทต่อปี
ให้กับทีม Golden State Warriors เพื่อซื้อโฆษณาบนเสื้อดังกล่าว
หรือจะเป็นสัญญากับ Nike แบรนด์เสื้อผ้ากีฬาอันดับหนึ่งของโลก
ที่ยอมจ่าย 30,000 ล้านบาทให้กับ NBA เพื่อแลกกับสิทธิ์ในการผลิตและจัดจำหน่ายชุดบาสเกตบอลของ NBA ทั้ง 30 ทีมเป็นระยะเวลา 8 ปี ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 2.5 เท่าของสัญญาเดิมที่เคยทำร่วมกับ Adidas
และ Nike จะต้องจ่ายค่าเครื่องแต่งกายของนักกีฬาใน NBA เป็นมูลค่ากว่า 3,750 ล้านบาทต่อปี ซึ่งคาดว่ามากกว่าที่ Adidas เคยจ่ายให้ถึงเท่าตัว เช่นกัน
3. รายได้จากการจำหน่ายตั๋วเข้าชมในสนาม
น่าแปลกใจที่รายได้ส่วนนี้กลับไม่ใช่รายได้หลักของแต่ละทีม เนื่องจากปัจจุบัน ผู้ชมสามารถรับชมผ่าน ระบบออนไลน์ได้ทุกที่ แต่มีรายงานว่าในฤดูกาล 2019/2020 ค่าใช้จ่ายในการเข้าชมการแข่งขัน 1 เกมสำหรับครอบครัว 4 คน ซึ่งรวมค่าใช้จ่ายหลัก ๆ เช่น ค่าตั๋ว ค่าที่จอดรถ และบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตกเฉลี่ยเกมละ 13,000 บาท ซึ่งเพิ่มขึ้น 2.5% จากฤดูกาลก่อนหน้า
4. รายได้จากต่างประเทศ
NBA ได้มีการขยายตลาดไปยังต่างประเทศมาหลายปีแล้ว และได้กลายมาเป็นรายได้สำคัญของลีก โดยเฉพาะประเทศจีน ซึ่งมีการประเมินว่า NBA มีรายได้จากประเทศจีนปีละกว่า 15,000 ล้านบาท ตัวเลขนี้รวมถึงดีลระหว่าง NBA กับ Tencent บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของจีนด้วยสัญญา 5 ปี 45,000 ล้านบาท
ในการเป็นพาร์ตเนอร์ที่ได้รับสิทธิ์ในการถ่ายทอดสดการแข่งขันจาก NBA เพียงรายเดียวในจีน
และกลยุทธ์สำคัญที่ผลักดันให้ NBA สามารถขยายไปยังต่างประเทศได้
ก็คือการเปิดรับนักกีฬาต่างชาติเข้ามาในลีกมากขึ้น โดยในฤดูกาล 2019/2020 มีจำนวนนักกีฬาที่ไม่ได้ถือสัญชาติอเมริกันกว่า 108 คน จาก 38 ประเทศ ซึ่งคิดเป็น 4 เท่าของฤดูกาล 1994/1995
กลยุทธ์นี้ได้ช่วยเพิ่มฐานคนดูของ NBA ในต่างแดน เพราะสำหรับบางประเทศที่กีฬาบาสเกตบอลยังไม่เป็นที่นิยม และไม่มีทีมที่คุ้นเคยไว้ตามเชียร์ คนดูก็สามารถเริ่มต้นได้ด้วยการเชียร์นักกีฬาของประเทศตัวเอง
ถึงตรงนี้ก็คงบอกได้ว่า NBA คือองค์กรที่มีโมเดลธุรกิจที่หลากหลาย
เป็นตัวอย่างขององค์กรที่พร้อมเปลี่ยนแปลงเพื่อสิ่งที่ดีกว่า
และกระตุ้นให้มีการแข่งขันกันเองภายในลีกอยู่ตลอดเวลา
นำมาซึ่งผลงานที่น่าประทับใจแก่คนดูและเจ้าของทีมเอง
ก็เป็นที่น่าติดตาม ว่าถ้าหาก NBA เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
จะมีมูลค่าเท่าไร และในอนาคตจะมีอะไรใหม่ ๆ มาให้เราได้ศึกษา
แต่ดูเหมือนว่าทุกการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
นอกจากจะทำให้ผู้ชื่นชอบบาสเกตบอลสนุกขึ้นแล้ว
มันก็ยังได้กลายมาเป็นโครงสร้างที่แข็งแกร่ง จน NBA สามารถเติบโต
จากวันที่เหลือเพียง 8 ทีมในปี 1955 จนกลายมาเป็นธุรกิจ
ที่มีมูลค่าตลาด 2 ล้านล้านบาทไปแล้ว นั่นเอง..
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
Joseph Tsai ผู้ร่วมก่อตั้งและรองประธานบริหารของ Alibaba Group
ได้เข้าซื้อทีม Brooklyn Nets ในปี 2019 ด้วยจำนวนเงิน 70,500 ล้านบาท
ซึ่งถือว่าเป็นมูลค่าที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์การซื้อทีมกีฬาของสหรัฐอเมริกา..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.investopedia.com/articles/investing/070715/nbas-business-model.asp
-https://www.investopedia.com/articles/personal-finance/071415/how-nba-makes-money.asp#citation-9
-https://www.forbes.com/sites/kurtbadenhausen/2021/02/10/nba-team-values-2021-knicks-keep-top-spot-at-5-billion-warriors-bump-lakers-for-second-place/?sh=2ea4a89645b7
-https://www.statista.com/statistics/193467/total-league-revenue-of-the-nba-since-2005/
-https://www.nba.com/news/nba-rosters-feature-108-international-players-2019-20
-https://bleacherreport.com/articles/1039092-nba-revenue-sharing-small-market-teams-to-benefit-from-new-sharing-structure
-https://nba.nbcsports.com/2015/06/10/nike-to-replace-adidas-as-official-maker-of-nba-uniforms-apparel/related/
-https://www.netsdaily.com/2019/8/15/20806783/with-joe-tsai-purchase-confirmed-nets-incredible-summer-continues
-https://www.history.com/this-day-in-history/nba-is-born
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過1萬的網紅GDJYB雞蛋蒸肉餅,也在其Youtube影片中提到,Please purchase our music at: https://itunes.apple.com/hk/album/gdjyb/id947267727 ________________________________________________________ Music com...
「apple purchase history」的推薦目錄:
- 關於apple purchase history 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
- 關於apple purchase history 在 偉大航道-李勁華 Facebook 的最佳解答
- 關於apple purchase history 在 GDJYB雞蛋蒸肉餅 Youtube 的最讚貼文
- 關於apple purchase history 在 See your purchase history for the App Store, iTunes ... - Pinterest 的評價
- 關於apple purchase history 在 Download entire iTunes purchase history as CSV file - Ask ... 的評價
apple purchase history 在 偉大航道-李勁華 Facebook 的最佳解答
大家得閒就試下啦
Gmail竟然自動掃你嘅電郵⠀
然後根據你啲receipt⠀
整咗個”Purchase”頁面⠀
有晒你經年嘅消費紀錄
但唔淨止Google嗰啲
例如Apple買過咩型號iPhone⋯
iTunes買過咩歌/戲/App⋯
Amazon或博客來買過咩書⋯
更有”追溯期”
10年之內紀錄一目了然
仲要用戶好難去delete返⠀
成件事諗落 都幾bad mirror式恐怖⠀
以下條link... 大家自己試吓...
https://myaccount.google.com/purchases
⠀
不過同樣事情⠀
早有香港Startup做緊⠀
例如黃何嘅MailTime同MDT⠀
早兩年已經開始咗⠀
講到明係賣intelligence俾企業⠀
但會用crypto分翻錢俾用戶⠀
但當然Gmail嗰規模絕對係最大⠀
影響勁多人呀真係😨⠀
⠀
// Google uses Gmail to track a history of things you buy — and it’s hard to delete buff.ly/2LO8MlS //
apple purchase history 在 GDJYB雞蛋蒸肉餅 Youtube 的最讚貼文
Please purchase our music at:
https://itunes.apple.com/hk/album/gdjyb/id947267727
________________________________________________________
Music composed by | GDJYB
Lyrics writen by | Soft@GDJYB
Track mixed by | Wilmer Ongsitco Chan
Track mastered by | Jay Tse
Drum recording engineer | Him@Group Studio
Recording engineer | Tat, Soni@GDJYB
Video production | Heihei@GDJYB
Camera man | Apple Ng
|| DOUBLE NONO ||
tick tick tock tock
the minute goes
the history flows
nothing's gonna change
the town we know
so beautiful
the streets we go by
the bus we go ride
we know that language
and a story inside
I so love my home
the place we grow up
the grasses so green
the grasses so green
tick tick tock tock
the minute goes
the history flows
nothing's gonna change
the lies u told
the scam we know
the streets are gone
the faces are wrong
familiar language
and the strangers around
I so love my home
the place we grow up
what it becomes now
what it becomes now
swallow its just like a wormhole
grow like a cancer
we have no where to go oh-oh
double nono nono nono
the friso is mine
the yakult is mine
the friso is mine
the yakult is mine
double nono nono nono
the noodle is mine
the milkshake is mine
the noodle is mine
the milkshake is mine
apple purchase history 在 Download entire iTunes purchase history as CSV file - Ask ... 的推薦與評價
In iTunes Navigate to Account Info (currently at upper right of iTunes next to search button). Scroll down to Purchase History, click "See All". Use Greenshot ... ... <看更多>
apple purchase history 在 See your purchase history for the App Store, iTunes ... - Pinterest 的推薦與評價
Jun 20, 2020 - To see which apps, music, and other content you bought, look at your purchase history. ... <看更多>