這聲明好清晰
香港大學學生會法律學會回應政府譴責戴耀廷副教授的聲明
(Please scroll down for the English version)
特區政府於二零一八年三月三十日發新聞稿,點名譴責香港大學法律系戴耀廷副教授「在台灣發表有關香港可以考慮成立獨立國家的言論」,指其不符「一國兩制」、《基本法》及香港社會的整體利益。翌日,國務院港澳辦及中聯辦(下稱「中央機構」)亦發稿譴責戴副教授「鼓吹」港獨,並要求港府「依法規管」提倡港獨人士與外國勢力的「勾連活動」。香港大學學生會法律學會(下稱「本會」)對此斷章取義、試圖打壓學術及言論自由的行為深表失望及遺憾。
戴副教授於三月二十四日出席台灣一個自由人權論壇中,指反專制成功後,現時中國大陸各族群應有自決之權利,可考慮獨立成國、建立聯邦或成為邦聯。戴副教授發言內容之重點,在於探討將來反專制運動後香港以至中國各族群的想像,而其中「獨立成國」亦只是在闡述自決權的概念。政府及中央機構指其「鼓吹港獨」是曲解了戴副教授的發言;而所謂「強烈讉責」,亦僅為基於斷章取義的指控。本會對此深感失望。
就關於香港未來政制的想像,以及探討「人民自決」或「港獨」的對錯或可行性而言,討論本身並不違法,理應受言論自由的保障。《基本法》第二十七及三十四條分別保障本港居民之言論自由及進行學術研究的自由,當中亦必然包括討論與現有政制框架不同的事情的自由,如「自決」及「港獨」。
政府及中央機構點名譴責戴副教授「勾連外國勢力」,甚至乎不符合《基本法》實為無稽之談,令人擔憂有收窄自由社會下應有的言論自由、以政治手段打壓異見者之嫌。再者,討論香港政治及法律制度的前途是戴副教授身為憲法及行政法學者的應有之義。政府點名針對此等討論,是對院校學術自由不可容忍的干預。本會極為憂慮言論及學術自由將在政府高調針對並大肆讉責所謂「港獨言論」的風氣下受損。
言論自由及學術自由是本港作為法治社會賴以成功的基石。本會重申,一切有關本港未來的討論都應被這些自由所保障。就香港長遠發展而言,本會憂慮此等點名針對個人的攻擊會演化成進一步收窄言論及學術自由,並強調政府應維護市民基本權利,而非逆行倒施打壓表達自由。
香港大學學生會法律學會
二零一八年四月一日
Statement of the Law Association, HKUSU in response to the government’s condemnation of Associate Professor Mr Benny Tai
The government named and condemned Mr Benny Tai, Associate Professor of the Faculty of Law of the University of Hong Kong for allegedly having remarked ‘in Taiwan that Hong Kong could consider becoming an independent state’ in a press release issued on 30th March 2018. The government claimed that such ‘advocacy of “Hong Kong independence” is against “One Country, Two Systems”, the Basic Law and the overall and long-term interest of the Hong Kong society’. The Hong Kong and Macao Affairs Office of the State Council and the Liaison Office of the Central People’s Government in the Hong Kong Special Administrative Region (hereinafter ‘Central Authorities’) also issued press releases on the next day, condemning Mr Tai’s alleged advocacy of Hong Kong independence and ‘firmly suggest’ that the Hong Kong government ‘regulate affiliation between “independence advocates” and foreign subversive influence according to law’. The Law Association, HKUSU (hereinafter ‘the Association’) regrets with great disappointment such quotations out of context as an attempt to suppress freedom of speech and academic freedom.
Mr Tai, at a forum on liberty and human rights in Taiwan on 24th March, made a remark that after anti-despotism movements succeed, different Chinese communities will have a right to self-determination: they may consider becoming an independent state, or establishing a federal state or confederation. The emphasis of Mr Tai’s speech was the post-anti-despotism imagination of the future of Hong Kong and other Chinese communities. The assertion on ‘becoming an independent state’ was only a description on the concept of self-determination. The claims by the government and the Central Authorities that Mr Tai’s speech ‘advocates Hong Kong independence’ was a disappointing misinterpretation of his speech; and such ‘strong condemnation’ was a reckless accusation out of context.
In the context of imagining the future Hong Kong political system and discussing whether ‘self-determination’ and ‘independence’ are legitimate and feasible in Hong Kong, the discussion itself does not attract any legal consequences and should be protected by the freedom of speech. Articles 27 and 34 of the Basic Law protect the freedoms of speech and of academic research of Hong Kong citizens respectively; these freedoms surely include that to discuss issues deviating from the current political framework such as ‘self-determination’ and ‘Hong Kong independence’.
Accusing Mr Tai’s position as ‘affiliating with subversive influence’, let alone running against the Basic Law was plainly groundless, causing the worry that it suppresses dissidents with political acts and limits the scope of the freedom of speech, which should be readily protected in a liberal society. Moreover, to pick on Mr Tai, a scholar who specialises in constitutional law and administrative law for duly participating in discussions relating to the legal and political future is an intolerable interference with the academic freedom of institutions and their teaching and research staffs. The Association is gravely concerned with the potential erosion of the freedom of speech and academic freedom under the high-profile witch-hunting on the discussion on Hong Kong independence by the government.
Freedom of speech and academic freedom are the cornerstones of Hong Kong as a society upholding the rule of law. The Association reiterates that all kinds of discussion on the future of Hong Kong should be protected under these rights. With regard to the long-term development of Hong Kong, the Association is concerned that such specifically named attacks against individuals will escalate into further erosion of the freedom of speech and academic freedom, and emphasises the role of the government to protect basic rights of its people, rather than to perversely suppress freedom of expression.
Law Association, HKUSU
1st April 2018
「articles of confederation」的推薦目錄:
articles of confederation 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
"พัฒนาการของรัฐธรรมนูญของต่างประเทศ"
สิทธิกร ศักดิ์แสง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
การพัฒนาการของรัฐธรรมนูญของต่างประเทศที่น่าสนใจแบ่งออกตามสมัยหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นของการมีรัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศในการปกครอง ผู้เขียนขออธิบายพัฒนาการของรัฐธรรมนูญตามความเหมาะสมและตามสถานการณ์ได้ 5 สมัยด้วยกัน ดังนี้
1.1 พัฒนาการรัฐธรรมนูญในสมัยแรก
พัฒนาการของรัฐธรรมนูญนิยมในสมัยแรกเริ่มตั้งแต่สมัยกรีก โรมันถึงยุโรป ก่อน ค.ศ. 1215 ในสมัยก่อนการประกาศใช้มหาบัตรย้อนขึ้นไป รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การปกครองประเทศจะมีลักษณะเลื่อนลอยกำหนดแน่ชัดไม่ได้ มีบัญญัติที่เป็นลายลักษณ์อักษรไว้บ้าง เป็นจารีตประเพณีบ้าง เป็นโองการของกษัตริย์เป็นครั้งคราวตามพระราชอัธยาศัยบ้าง อาจรวมอยู่ในที่เดียวหรือกระจัดกระจายหลายที่บ้าง ที่สำคัญ คือ หาหลักฐานแน่ชัดไม่ได้ อริสโตเติล (Aristotle) รวบรวมรัฐธรรมนูญนครรัฐต่างๆของกรีก 158 แห่ง ก็ไม่ได้ชี้ให้เห็นลักษณะเด่นชัดร่วมกันของรัฐธรรมนูญ 158 ฉบับนั้น นอกจากอธิบายว่าเป็นกฎหมายกำหนดวิธีปฏิบัติทางการเมืองและการจัดองค์กรปกครองอย่างหยาบๆในแต่ละนครรัฐเพราะแต่ละนครรัฐจะมีความแตกต่างกันในการใช้อำนาจปกครอง เช่น นครรัฐเอเธนมีต้นรากเง่าของการปกครองระบอบประชาธิปไตย นครรัฐสปาตาร์มีต้นรากเง่าของการปกครองระบอบเผด็จการ เป็นต้น
สมัยโรมันได้มีแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ เช่น อัลเปียน (Ulpian) กล่าวกล่าวถึงแนวคิดเรื่องกฎหมายมหาชน (jus publicum) กับกฎหมายเอกชน (jus privatum) แต่ผู้ปกครองและนักกฎหมายโรมันให้ความสำคัญกับกฎหมายเอกชนมากกว่า เพราะถือว่ากฎหมายเอกชนเป็นกฎหมายสำคัญของในชีวิตประจำวัน ส่วนกฎหมายมหาชนเป็นเครื่องมือในการปกครองแผ่นดินจึงควรปกปิดเป็นความลับ ให้รู้กันในหมู่ผู้ปกครองและผู้มีหน้าที่เกี่ยวด้วยการปกครองแผ่นดิน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นทำนองข้อบังคับการประชุมสภาโคมิเทีย (Comitia) กับสภาซีเนท (Senate) ซิเซโร (Cicero) นักปรัชญากฎหมายในสมัยนั้นกล่าวถึงแนวคิดเรื่อง "กฎหมายเหนือกฎหมาย" ได้อธิบายว่ากฎหมายมี 2 ประเภท ดังนี้
ประเภทแรก คือ กฎหมายธรรมดา (กฎหมายบ้านเมือง หรือ Positive Law) เป็นกฎหมายที่ไม่เที่ยงแท้
ประเภทที่สอง คือ กฎหมายที่สูงกว่ากฎหมายธรรมชาติ (Natural Law) เป็นกฎหมายที่แท้จริง
ต่อมาได้นำแนวคิดนี้มาอธิบายในหลายสาขาด้วยกัน เช่น เรื่องของคริสต์ศาสนาชี้ว่ากฎหมายที่แท้จริงหรือกฎหมายที่อยู่สูงกว่ากฎหมายบ้านเมือง (กฎหมายธรรมดา) ส่วนเรื่องทางกฎหมายรัฐธรรมนูญก็อธิบายว่าภายในแต่ละรัฐ กฎหมายก็แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่อยู่ในระดับสูงกับบรรดาพระราชบัญญัติทั้งหลายเป็นเพียงกฎหมายธรรมดาหรือกฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ กฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่าจะขัดหรือแย้งกับกฎหมายที่มีฐานะสูงกว่ารัฐธรรมนูญไม่ได้
เมื่ออาณาจักรโรมันสิ้นสุดลงอารยธรรมทางการปกครองเริ่มปรากฏขึ้นในประเทศอังกฤษ ประมาณ ค.ศ. 1164 ได้มีการประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยการปกครองในระบบศักดินาสวามิภักดิ์และความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรกับศาสนจักร ซึ่งเรียกว่า “ธรรมนูญแห่งคาเรนดอล” (Constitutions of Clarendon) เป็นธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร แต่ก็ไม่ใช่รัฐธรรมนูญอย่างที่เข้าใจกันต่อมา แนวคิดเรื่องรัฐธรรมนูญในสมัยนี้จึงยังไม่ชัดเจนนักนอกจากเป็นพื้นฐานทางความคิดเท่านั้น
สรุปกฎหมายรัฐธรรมนูญในสมัยนี้มีลักษณะราชาธิปไตยโดยแท้และถือว่ายังไม่มีรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นแต่หากจะมีข้อกำหนดใดที่ทำให้ราษฎรมั่นคงปลอดภัยและพระมหากษัตริย์ทรงไว้คุณธรรม เป็นเรื่องการยับยั้งชั่งใจของพระองค์เองหาเป็นเพราะกฎหมายในการจำกัดอำนาจไม่
1.2 พัฒนาการรัฐธรรมนูญในสมัยที่สอง
พัฒนาการรัฐธรรมนูญในสมัยที่สองเริ่มนับตั้งแต่มีการประกาศใช้มหาบัตร (Magna Carta) ของประเทศอังกฤษ ปี ค.ศ. 1215 เป็นต้นมา จนถึงสมัยประกาศอิสรภาพของประเทศสหรัฐอเมริกาใน ปี ค.ศ.1776 ในระยะนี้ขอบเขตของกฎหมายรัฐธรรมนูญเริ่มชัดมากขึ้น เพราะจะเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญได้นั้นต้องเป็นกฎหมายที่จำกัดอำนาจของผู้ปกครองประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นกฎเกณฑ์การปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่สำคัญ ดังนี้
1.2.1 การประกาศใช้มหาบัตร
ตามประวัติศาสตร์ของประเทศอังกฤษกล่าวว่า พระเจ้าจอห์นเป็นกษัตริย์ที่โหดร้ายทารุณมาก นอกจากนั้นยังโปรดทำสงครามและการขยายดินแดน เมื่อกรีธาทัพไปถึงที่ใดก็ออกพระบรมราชโองการเกณฑ์ให้ราษฎรในละแวกนั้นมาต้อนรับและดูแลกองทัพ เป็นเหตุให้เดือดร้อนไปทั่วและที่สำคัญยังได้ขัดแย้งกับศาสนจักรอย่างรุนแรง เรียกได้ว่าทรงเปิดศึกกับฝ่ายตรงกันข้ามทุกทางพร้อมกัน ในที่สุดปี ค.ศ. 1215 บรรดาขุนนางชั้นบารอน จำนวน 25 คนและพระราชาคณะอีก 33 รูป เกิดความไม่พอใจจับอาวุธขึ้นสู้กับพระเจ้าจอห์น ได้บังคับให้พระเจ้าจอห์นลงนามในเอกสารสำคัญฉบับหนึ่งซึ่งบางส่วนดัดแปลงมาจากธรรมนูญแห่งคาเรนดอล (Constitutions of Clarendon) และบางส่วนร่างขึ้นใหม่ให้เหมาะสมกับกาลสมัย เอกสารนี้มีชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า “มหาบัตร” (The Great Charter) ซึ่งเอกสารฉบับนี้มีชื่อเรียกเป็นทางการในภายหลังเป็นภาษาลาตินว่า “แมกนา คาร์ตา” (Magna Carta) แมกนา คาร์ตา (Magna Carta) มีทั้งสิน 63 มาตรา มีหลักการที่สำคัญอยู่สองส่วน คือ ส่วนแรกกำหนดว่ากษัตริย์จะเรียกเก็บภาษีอากรจากราษฎรได้เท่าที่ประเพณีดั้งเดิมกำหนดไว้เท่านั้น ถ้าต้องการเก็บภาษีเพิ่มต้องขอความเป็นธรรมของสภาทั่วไปแห่งราชอาณาจักรที่เรียกว่า The Great Council เสียก่อน ส่วนที่สอง ห้ามมิให้มีการจับกุม จำคุก หรือเนรเทศบุคคลโดยไม่มีการพิจารณาพิพากษาคดี โดยผู้มีสถานภาพหรือศักดิ์เท่าเทียมกันตามกฎหมายบ้านเมือง ซึ่งแปลความได้ว่า ผู้ปกครองจะกดขี่ข่มเหงราษฎรตามอำเภอใจมิได้ ซึ่งต่อมาเรียกหลักการนี้ว่าการปกครองแบบนิติรัฐที่ยึดหลักนิติธรรม
แมกนา คาร์ตา (Magna Carta) กลายเป็นเอกสารประวัติศาสตร์ในฐานะรากฐานสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และรากฐานการปกครองในระบอบรัฐธรรมนูญหรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง แมกนา คาร์ตา(Magna Carta) เป็นเอกสารลายลักษณ์อักษรฉบับแรกในโลกที่ให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนอย่างกว้างขวาง ในขณะเดียวกันก็มีการจำกัดตัดทอนอำนาจของรัฐ ทำให้ประเทศอังกฤษเป็นระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญเป็นประเทศแรก ด้วยเหตุนี้เองจึงมีผู้กล่าวว่า แมกนา คาร์ตา (Magna Carta) เป็นรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยต้นแบบฉบับแรกของโลก แมกนา คาร์ตา (Magna Carta) มีอิทธิพลอย่างยิ่งในยุโรปในเวลาต่อมาและเป็นแบบอย่างให้มีการจัดทำเอกสารทำนองนี้ขึ้นในหลายประเทศ
1.2.2 ลักษณะเด่นของการประกาศใช้มหาบัตร
ลักษณะเด่นหรือความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญในสมัยที่สองนี้ คือ รัฐธรรมนูญเป็นเอกสารซึ่งมุ่งจะจำกัดอำนาจอันล้นพ้นของรัฐบาล (ของกษัตริย์) ให้อยู่ในกรอบและมุ่งที่จะชี้แจงสิทธิของราษฎรให้เห็นชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร การจำกัดอำนาจรัฐในขณะที่ขยายสิทธิของราษฎรเป็นการวางกฎเกณฑ์การปกครองประเทศในสมัยดังกล่าวยังไม่ชัดเจนนัก โดยเฉพาะในส่วนของรัฐเองว่าเป็นใคร มาจากไหน แบ่งสันปันส่วนอำนาจกันเองในบรรดาผู้ปกครองรัฐอย่างไร ใครมีอำนาจหน้าที่อะไรมากน้อยเพียงใดกฎเกณฑ์เหล่านี้มาปรากฏชัดขึ้นในสมัยที่สามในเวลาต่อมา
ข้อสังเกต ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างสมัยที่สองกับสมัยที่สามนี้ความคิดเรื่องรัฐธรรมนูญเริ่มปรากฏเป็นรูปร่างมากขึ้น ทั้งนี้เป็นผลมาจาก แมกนา คาร์ตา (Magna Carta) และกฎหมายอื่นๆของประเทศอังกฤษซึ่งเป็นหลักในการปกครองประเทศเช่นเดียวกับแมกนา คาร์ตา (Magna Carta) เช่น การที่ขุนนางให้พระเจ้าชาร์ลลงนามในคำขอสิทธิ (Petition of Rights) พระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิ (Bill Of Rights) เป็นต้น เอกสารสามฉบับดังกล่าวสะท้อนให้เห็นหลักการที่สำคัญ 2 ประการ ดังนี้
ประการแรก มีความพยายามที่จะนำกฎหมายลายลักษณ์อักษรเข้ามาแทนจารีตประเพณีที่มีความไม่แน่นอน เพื่อจำกัดอำนาจผู้ปกครองและรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนผู้อยู่ภายใต้การปกครอง
ประการที่สอง การพัฒนาช่วงแรกนี้ยืนอยู่บนข้อตกลงที่เรียกว่า “สัญญาสังคม” การที่ขุนนางขอให้พระเจ้าจอห์นลงนามในแมกนา คาร์ตา (Magna Carta) หรือมหาบัตรรัฐธรรมนูญก็ดี การที่ขุนนางให้พระเจ้าชาร์ลลงนามในคำขอสิทธิ (Petition of Rights) ก็ดี อยู่บนความคิดพื้นฐานที่ว่าผู้ปกครองคือ กษัตริย์ต้องปกครองประชาชนตามจารีตประเพณีที่เป็นเสมือนสัญญาสังคมที่ได้รับการยอมรับมาในอดีต เมื่อผู้ปกครองไม่ทำตามคำมั่นสัญญานั้น ผู้อยู่ใต้การปกครอง คือ ขุนนางและประชาชนย่อมมีสิทธิที่จะเรียกทวงให้ผู้ปกครองปฏิบัติตามสัญญาที่เคยมีมา
ประเทศอังกฤษได้สร้างและพัฒนาวัฒนธรรมทางการเมือง ตลอดจนจารีตประเพณีทางการปกครองขึ้นหลายๆเรื่อง ความคิดเหล่านี้มีส่วนสำคัญทำให้ประวัติศาสตร์กฎหมายรัฐธรรมนูญเข้าสู่สมัยที่สามและพัฒนาต่อไปอีกรูปแบบหนึ่ง ในแนวทางที่ผิดแผกแตกต่างจากสมัยที่สองแต่ชัดเจนขึ้นจนใกล้กับความเข้าใจในปัจจุบัน
1.3 พัฒนาการรัฐธรรมนูญในสมัยที่สาม
พัฒนาการรัฐธรรมนูญในสมัยที่สามเริ่มนับตั้งแต่การประกาศอิสรภาพของประเทศสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ.1776 เป็นต้นมาจนถึงสมัยสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ.1945 ในช่วงเวลานี้มีเหตุการณ์สำคัญเกี่ยวด้วยรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นหลายหน คือ มีการจัดทำรัฐธรรมนูญในลักษณะรัฐธรรมนูญนิยม ดังนี้
1.3.1 การเกิดขึ้นของรัฐธรรมนูญนิยม
สมัยที่สามเริ่มด้วยการประกาศอิสรภาพของประเทศสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1776 ได้กำหนดกฎเกณฑ์การปกครองลายลักษณ์อักษรอย่างเป็นระเบียบเป็นครั้งแรก ชื่อ “บทบัญญัติแห่งสมาพันธรัฐ” (Articles of Confederation) รวมเอาดินแดนที่เคยเป็นอาณานิคมของประเทศอังกฤษ 13 แห่งเข้าไว้ด้วยกัน เป็นประเทศ “สหรัฐอเมริกา” (The United States of America) แต่การจัดรูปแบบของประเทศเป็นแบบสมาพันธรัฐ คือการนำรัฐมารวมอย่างหลวมๆ แต่ละรัฐยังคงมีอำนาจอิสระเหมือนเดิมทุกประการ ไม่มีอะไรที่เป็นของกลางใช้ร่วมกันหรือเป็นศูนย์กลางของการปกครองร่วมกัน นอกจากนี้บทบัญญัตินี้ยังไม่เรียกตัวเองว่า “รัฐธรรมนูญ” (Constitution) หากแต่เรียกว่า “บทบัญญัติ” (Articles) เป็นการจัดทำกฎหมายลายลักษณ์อักษรกำหนดกฎเกณฑ์การปกครองอย่างเป็นระเบียบและกำหนดอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองต่างๆไว้ ต่อมามีการยกเลิกบทบัญญัติแห่งสมาพันธรัฐและประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 ใน ค.ศ.1789 เรียกว่า “รัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา” (The Constitution of the United States) ซึ่งเป็นการใช้คำว่า “รัฐธรรมนูญ” (Constitution) เป็นครั้งแรก
การจัดทำรัฐธรรมนูญของประเทศสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ.1789 (รัฐธรรมนูญฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน) ในสมัยนั้นถือกันว่าเริ่มมีรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก แต่จะมีความหมายแค่การจำกัดอำนาจของรัฐบาลอย่างเดียวยังไม่พอ หากถือว่ารัฐธรรมนูญเป็นเอกสารสำคัญเกี่ยวกฎเกณฑ์การปกครองประเทศซึ่งจะมีขึ้นด้วยความสมัครใจของราษฎรและจำต้องว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองประเทศอย่างเป็นสัดส่วน มีการแบ่งแยกอำนาจและมีบทบัญญัติคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของราษฎร มีการวางกฎเกณฑ์การปกครองอย่างเป็นระเบียบอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน เช่น มีการแยกองค์กรปกครองออกเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการ ตามหลัก “การแบ่งแยกอำนาจ”(Separation of powers) มีการระบุให้รัฐธรรมนูญนี้เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศกฎหมายอื่นใดจะขัดหรือแย้งมิได้ มีการยอมรับอำนาจสูงสุดของประชาชนชาวสหรัฐอเมริกา โดยเรียกว่า “อำนาจอธิปไตย”(Sovereignty) เป็นต้น เหตุการณ์นี้ทำให้ความคิดที่จะจัดทำกฎหมายลายลักษณ์อักษร การกำหนดรูปแบบการปกครองประเทศให้เป็นเรื่องเป็นราว เป็นการย้ำหลักที่ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ริเริ่มเอาไว้ และเป็นการแยกตัวออกจากสมัยที่สองที่ถูกครอบงำด้วยอิทธิพลทางความคิดของประเทศอังกฤษอย่างชัดแจ้ง
การจัดทำรัฐธรรมนูญของประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นการพลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์กฎหมายรัฐธรรมนูญใหม่ที่ทำให้เกิดแนวคิดที่ว่ารัฐธรรมนูญมิได้เป็นเพียงเอกสารจำกัดสิทธิของผู้ปกครองเท่านั้น แต่ต้องสมบูรณ์ด้วยเนื้อหาและหลักเรื่องรัฐจากความเห็นชอบของราษฎร (Government by consent the people) การแบ่งแยกอำนาจ (Separation of powers) และการคุ้มครองสิทธิของราษฎร (Guarantee of rights) ซึ่งกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือความคิดเรื่องรัฐธรรมนูญกับความคิดเรื่องประชาธิปไตยเป็นความคิดที่ใกล้เคียงกันจนถึงขนาดกล่าวกันว่า “กฎหมายการเมืองการปกครองที่ไม่สอดคล้องกับแนวคิดดังกล่าวไม่ใช่รัฐธรรมนูญ” ซึ่งเรียกกันในเวลาต่อมาว่า “ทฤษฎีรัฐธรรมนูญนิยม”(Constitutionalism)และเป็นแบบอย่างในการปฏิวัติครั้งใหญ่ของประเทศฝรั่งเศส เมื่อ ค.ศ.1789 ได้มีการประกาศใช้ปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และพลเมือง ซึ่งภายหลังได้นำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1791 และได้แพร่หลายในยุโรปหลายประเทศด้วยกัน เช่น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ประเทศสวีเดน ประเทศสเปน ประเทศนอร์เวย์ ประเทศเบลเยี่ยม ประเทศเดนมาร์ก เป็นต้น
1.3.2 กระแสแนวคิดที่เกิดรัฐธรรมนูญนิยม
กระแสแนวคิดที่มีอิทธิพลก่อให้เกิดรัฐธรรมนูญนิยมสมัยที่สามนี้มีอยู่ 2 กระแสแนวคิดด้วยกัน คือ
1.3.2.1 กระแสแนวคิดปรัชญากฎหมายธรรมชาติ
กระแสแนวคิดปรัชญากฎหมายธรรมชาติ (Natural Law) มีลักษณะเป็นกฎหมายศักดิ์สิทธิ์เป็นนิจนิรันดร์ เพราะพระผู้เป็นเจ้าเป็นผู้กำหนด มีความจำเป็นนิจนิรันดร์หรือถาวรตลอดไป มีลักษณะสากลไม่ว่าชาติใดต่างอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์เดียวกันและมีความเป็นกฎหมายสูงสุด ดังนั้นกฎหมายธรรมชาติเป็นกระแสที่มีความสำคัญต่อรัฐธรรมนูญนิยมเป็นอย่างยิ่งเพราะได้ยืนยันว่าเหนืออำนาจของผู้ปกครองยังมีอำนาจเหนือกว่า สิ่งนั้น คือ กฎหมายธรรมชาติอันเป็นกฎของเหตุและผล แนวคิดกระแสนี้นำไปสู่การจำกัดอำนาจผู้ปกครองและการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนในเวลาต่อมา
1.3.2.2 กระแสแนวคิดทฤษฎีเสรีนิยมประชาธปไตย
แนวคิดทฤษฎีเสรีนิยมประชาธิปไตย ซึ่งมีกระแสความคิดปรัชญาแนวคิดที่อยู่เบื้องหลังของทฤษฎีเสรีนิยมประชาธิปไตย คือ แนวคิดสัญญาประชาคมกับและแนวคิดการแบ่งแยกอำนาจ ดังนี้
1. แนวคิด “สัญญาประชาคม”(Social Contract) ที่นักปรัชญาการเมืองที่มีชื่อเสียง คือ โทมัส ฮ็อบส์ (Thomas Hobbes) จอห์น ลอค (John Locke) และฌอง ชาค รุสโซ (Jean Jaque Rousseau) มีแนวคิดที่ว่ามนุษย์โดยสภาพธรรมชาติมีอิสระ เสรีภาพเต็มที่และมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน แต่ต่อมามนุษย์เห็นว่าการเข้ามาเป็นสังคมจะทำให้ได้รับประโยชน์มากกว่า เช่น ไม่ต้องเผชิญกับภัยจากธรรมชาติ ภัยจากสัตว์ร้ายหรือการข่มเหงจากคนที่แข็งแรงกว่าโดยลำพัง เป็นต้น ทั้งยังไม่ต้องทำอะไรเองทุกอย่าง ใครมีอะไรก็นำมาแลกเปลี่ยนกัน เมื่อเข้ามารวมกันเป็นสังคมแล้ว ก็มีการทำข้อตกลงว่าจะยอมสละสิทธิและเสรีภาพที่ตนเคยมีอยู่ตามสภาพธรรมชาติอย่างเต็มที่ให้เป็นของสังคมส่วนหนึ่ง สังคมจะจัดการให้เกิดระบบที่ทำให้เกิดความผาสุกร่วมกันโดยมีผู้ปกครองทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการสังคม และมีระบบการจัดการข้อพิพาท จึงต้องมีการมีการทำให้สัญญาประชาคมมีความชัดเจนขึ้นโดยการเขียนรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร
2. แนวคิด “หลักการบ่งแยกอำนาจ" (Separation of Powers) ในการใช้อำนาจอธิปไตย มีนักปรัชญาการเมืองที่สำคัญคือ มองเตสกิเออ (Montesquieu) ที่อธิบายว่าถ้าอำนาจสูงสุดทั้งหมดรวมอยู่ในคนเดียว คนคนนั้นมีอำนาจทั้งออกกฎหมาย บังคับใช้กฎหมายและตีความกฎหมาย (ตัดสินตามกฎหมาย) สิทธิ เสรีภาพของประชาชนที่อยู่ภายใต้ปกครองก็จะถูกริดรอนหรือละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้ง่าย ดังนั้นเพื่อที่จะให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพอย่างสมบูรณ์ จึงจำเป็นที่จะต้องแยกผู้ใช้อำนาจในการออกกฎหมายกับอำนาจในการใช้กฎหมายออกจากกัน
ในปลายสมัยนี้ คือ ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองจะเกิดขึ้น ได้มีการต่อสู้ทางความคิด ในเรื่องลัทธิการเมืองเกิดขึ้นในยุโรป คือ การต่อสู้ระหว่างฝ่ายนิยมลัทธิประชาธิปไตยและฝ่ายนิยมลัทธิเผด็จการในรูปแบบต่างๆ ทั้งนี้รวมไปถึงระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ซึ่งกำลังค่อยๆแปรสภาพไปเป็นระบอบอื่น เช่น ระบอบประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดีเป็นประมุขบ้าง ประชาธิปไตยแบบพระมหากษัตริย์เป็นประมุขบ้าง เพราะในเวลาต่อมารัฐที่เคยเป็นเมืองขึ้นหรืออยู่ในอารักขาของรัฐอื่นพยายามดิ้นรนจะยกตัวเองเป็นประเทศอิสระ รัฐใหญ่ที่มีราษฎรต่างเชื้อชาติ สัญชาติหรือศาสนา ก็พยายามดิ้นรนจะแยกตัวเองออกเป็นรัฐอิสระหลายรัฐ ซึ่งความพยามยามดังกล่าวจะสำเร็จได้ก็โดยอ้างวิถีทางประชาธิปไตย เช่น เรื่องสิทธิในการตัดสินใจตนเอง (Right of Self Determination) ระบอบประชาธิปไตยจึงเป็นสิ่งใฝ่หากันอย่างหนักในขณะนั้น แม้ว่าอาจจะเป็นประชาธิปไตยเพียงในนามหรือเพียงเพื่อช่วงชิงอำนาจจากคนหมู่หนึ่งไปสู่คนอีกหมู่หนึ่งก็ตาม แต่การดังนี้จะทำได้สำเร็จก็ต่อเมื่อได้รับความสนับสนุนจากมหาชน ซึ่งจำเป็นต้องอ้างคำว่าประชาธิปไตยขึ้นบังหน้าอยู่นั่นเอง
1.4 พัฒนาการรัฐธรรมนูญในสมัยที่สี่
พัฒนาการรัฐธรรมนูญในสมัยที่สี่ เริ่มตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองในศตวรรษที่ 19 ต่อเนื่องถึงศตวรรษที่ 20 ในสมัยนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งใหญ่ ทั้งในระดับภายในประเทศและระดับระหว่างประเทศ อาทิ เช่น เกิดองค์การสหประชาชาติ องค์การร่วมระหว่างภูมิภาคขึ้น เป็นต้น
คำว่า “รัฐ” (State) นั้นเป็นคำใหม่เพิ่มขึ้นในศตวรรษที่ 19 ซึ่งแต่ก่อนมีแต่คำว่า “ชาติ” (Nation) ที่มาจากกลุ่มคนที่มีชาติพันธ์เดียวกัน สืบเชื้อสายโดยสายเลือดเดียวกัน หรือเกิดความรู้สึกร่วมกัน ซึ่งในยุโรปมีพื้นดินใกล้เคียง ความสัมพันธ์ก็มีมากขึ้นทั้งด้านสันติภาพและสงคราม ดังนั้นการเคลื่อนย้ายผู้คนมาอีกชาติหนึ่งไปยังอีกชาติหนึ่งก็เกิดขึ้น เกิดลักษณะผสมผสานระหว่าเชื้อชาติ คำว่า “รัฐ” ก็เกิดขึ้นมา ซึ่งมีองค์ประกอบ 4 อย่างรวมกันเป็น รัฐ คือ
-มีดินแดน ที่แน่นอนว่าตั้งอยู่ในส่วนไหนของโลก
-มีประชากรที่อยู่ประจำไม่ใช่พวกเร่ร่อน
-มีอำนาจอธิปไตยในการปกครองรัฐ
-มีรัฐบาล(ผู้ปกครองรัฐ)
ในยุโรปเรียกชื่อว่า "รัฐ" กับ "ชาติ" ปะปนกันแต่ใช้คู่ขนานกันว่า “ชาติรัฐหรือรัฐชาติ”ดังนั้น รัฐชาติ (Nation State) คือ ความคิดความเป็นชาตินิยมและเน้นในเรื่องความสำคัญในการปกครอง จุดนี้เองเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญอีกอันหนึ่งของกฎหมายธรรมชาติที่มีปรัชญากฎหมายบ้านเมืองเข้ามามีอิทธิพลต่อการการสร้างรัฐชาติและการมีรัฐธรรมนูญของประเทศต่างๆในเวลาต่อมา ดังนี้
1. มีการแตกแยกรัฐออกเป็นหลายรัฐ เช่น ประเทศเยอรมันตะวันตกและประเทศเยอรมันตะวันออก ประเทศเวียดนามเหนือและประเทศเวียดนามใต้ ประเทศเกาหลีเหนือและประเทศเกาหลีใต้
2. มีการประกาศอิสระภาพของบรรดารัฐทั้งหลายที่เคยเป็นอาณานิคมของประเทศมหาอำนาจต่างๆก็ได้เอกราช เช่น ประเทศอินเดีย ประเทศลาว ประเทศกัมพูชา ประเทศมาเลย์เซีย ประเทศสิงคโปร์ เป็นต้น
ซึ่งประเทศต่างๆเหล่านี้ข้างต้นได้นำแนวคิดในทางกฎหมายฝ่ายบ้านเมือง (Positive Law) และนำแนวคิดกฎหมายธรรมชาติ (Natural Law) มาผสมผสานเข้าด้วยกัน ด้วยเหตุนี้แนวคิดเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญจึงกว้างขวางมากขึ้นจนในที่สุดเป็นที่ยอมรับกันว่าแท้จริงแล้วรัฐธรรมนูญเป็นคำกลางๆสำหรับใช้เรียกกฎหมายเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ในการปกครองประเทศของแต่ละประเทศเท่านั้น ส่วนที่ว่าจะยอมใช้หลักการแบ่งแยกอำนาจหรือไม่ ก็สุดแท้แต่รูปแบบการปกครองของแต่ละประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกาอาจนิยมแบ่งแยกอำนาจแบบเคร่งครัดตามหลักการระบบรัฐบาลแบบประธานาธิบดี (Presidential system) ประเทศอังกฤษอาจนิยมการแบ่งแยกอำนาจแบบไม่เคร่งครัดตามหลักการระบบรัฐบาลแบบรัฐสภา (Parliamentary system) เป็นต้น
1.5 พัฒนาการของรัฐธรรมนูญในสมัยปัจจุบัน
พัฒนาการของรัฐธรรมนูญในสมัยปัจจุบันนี้ รัฐธรรมนูญต้องทำหน้าที่สร้างระบบการเมืองที่มีเสถียรภาพและมีประสิทธิภาพ ประเทศต่างๆ ในปัจจุบันจึงลอกเลียนแบบรัฐธรรมนูญที่กำหนดรูปแบบการปกครองในแต่ละระบบรัฐบาล พิจารณาได้ดังนี้
1.5.1 ประเทศที่ลอกเลียนแบบรัฐธรรมนูญที่มีรูปแบบการปกครองระบบรัฐบาลแบบรัฐสภาของประเทศอังกฤษ
ประเทศลอกเลียนแบบรัฐธรรมนูญที่มีรูปแบบการปกครองระบบรัฐบาลแบบรัฐสภาของประเทศอังกฤษ คือ ประชาชนเลือกผู้แทนราษฎร แล้วผู้แทนราษฎรไปจัดตั้งรัฐบาล แต่รัฐบาลที่อยู่ได้ด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร
แต่อย่างไรก็ตามประเทศที่ลอกเลียนแบบการปกครองระบบรัฐบาลแบบรัฐสภาของประเทศอังกฤษมาใช้นั้น บางประเทศที่ไม่ได้มีพรรคการเมืองใหญ่เพียงสองพรรคไม่ว่าจะเป็นประเทศฝรั่งเศส ประเทศเยอรมนีหรือประเทศไทย ล้วนมีปัญหาทั้งสิ้น ประเทศเหล่านี้พรรคการเมืองที่ประชาชนเลือกมีหลายพรรค ไม่มีพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวได้เสียงข้างมากเกินกึ่งหนึ่ง รัฐบาลจึงต้องเป็นรัฐบาลผสมทั้งนั้น เมื่อเป็นรัฐบาลผสมรัฐบาลย่อมไม่มีเสถียรภาพที่แน่นอนขึ้นอยู่กับผลประโยชน์ของพรรคร่วมรัฐบาลขัดกันหรือไม่ จึงจำเป็นต้องแก้ปัญหานี้เพื่อสร้างระบบการเมืองที่มีเสถียรภาพและมีประสิทธิภาพ
1.5.2 ประเทศที่ไปลอกรูปแบบการปกครองในระบบรัฐบาลแบบประธานาธิบดีของประเทศสหรัฐอเมริกา
ประเทศที่ไปลอกรูปแบบการปกครองจากประเทศสหรัฐอเมริกา ในระบบประธานาธิบดีที่ใช้ระบบการเมือง 2 พรรคการเมืองและใช้หลักการแบ่งแยกอำนาจค่อนข้างเคร่งครัด ประธานาธิบดีเป็นทั้งประมุขของรัฐและหัวหน้าฝ่ายบริหาร เป็นต้น แล้วนำมาสร้างปรับปรุงหรือดัดแปลงระบบการปกครองที่ให้สอดและเหมาะสมของแต่ละประเทศเช่นกัน
1.5.3 ประเทศที่นำข้อดีรูปแบบการปกครองในระบบรัฐบาลแบบรัฐสภากับข้อดีในระบบรัฐบาลแบบประธานาธิบดีมาผสมผสานกัน
ประเทศที่นำข้อดีรูปแบบการปกครองในระบบรัฐบาลแบบรัฐสภากับข้อดีในระบบรัฐบาลแบบประธานาธิบดีมาผสมผสานกันดังนี้
1. หลักการปกครองในระบบรัฐบาลแบบกึ่งประธานาธิบดี-กึ่งรัฐสภา เช่น ประเทศฝรั่งเศส เป็นต้น
2. หลักการปกครองในระบบรัฐบาลภายใต้รัฐสภาหรือระบอบสมัชชา เช่น ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เป็นต้น
ในปัจจุบันแนวคิดที่ว่าการแบ่งแยกอำนาจ (Separation of powers) ที่ปรากฏอยู่ในตามรัฐธรรมนูญนั้น อาจเป็นเรื่องล้าสมัย หากแต่ควรยึดหลักการแบ่งหน้าที่ (Function of powers) มากกว่า ซึ่งเป็นการจำกัดอำนาจรัฐ เป็นการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามหลักการปกครองแบบนิติรัฐ (Legal States) ที่ยึดหลักนิติธรรม (The Rule of Law)คือ รัฐจะกระทำการใดๆได้ต้องมีกฎหมายให้อำนาจและรัฐต้องกระทำภายในขอบเขตของกฎหมายที่ให้อำนาจ (หลักนิติรัฐ) โดยรัฐต้องกระทำอย่างเสมอภาคเท่าเทียมในทางกฎหมาย (หลักนิติธรรม) เพื่อเป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน
articles of confederation 在 Articles of Confederation (1777) | National Archives 的相關結果
The Articles of Confederation were adopted by the Continental Congress on November 15, 1777. This document served as the United States' first ... ... <看更多>
articles of confederation 在 Articles of Confederation | Summary, Date, & Facts | Britannica 的相關結果
Articles of Confederation, first U.S. constitution (1781–89), which served as a bridge between the initial government by the Continental ... ... <看更多>
articles of confederation 在 Articles of Confederation - Wikipedia 的相關結果
The Articles of Confederation and Perpetual Union was an agreement among the 13 original states of the United States of America that served as its first ... ... <看更多>