痛心疾首!狠心飼主重摔鬥牛犬 輕易虐待生命…
#吐司切編:可惡讓你也被摔摔看)怒氣衝天
#請分享 別把虐待動物當成娛樂/不尊重生命該付出代價
請願連署:
https://www.change.org/p/david-cameron-mp-reconsider-andrew-and-daniel-frankish-s-prison-sentences-for-animal-cruelty-charges
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
frankish 在 呂承祐 York Lu, flutist Facebook 的最佳解答
一位在圖書館實習的博士生近來無意間發現的斷簡殘篇,可能會改寫我們以往所知的西方音樂史:他在英國圖書館中找到的文件,顯示「複音音樂」 (polyphonic music,亦稱多聲部音樂) 出現的時間,也許比之前想像的還要早。
這些意外被發現的手稿大約作於1100年前,已被證明為現存最早的複音合唱作品:這意味它是由數個不同的旋律線交織而成。這段演奏時長不過幾秒鐘的手稿是寫在一幅聖像底下,作曲時間約可上溯至西元900年。雖然比它更早的論文中就已指出複音音樂的存在,但此稿為目前所知最早的、為歌者譜寫的複音音樂作品。名列第二「老」的則是約在西元1000年時寫給溫徹斯特教堂的《Winchester Troper》。
這段用於Saint Boniface教堂的短篇,是劍橋聖約翰學院博士生Giovanni Varelli在大英圖書館實習時無意間發現的,作為古代音樂記譜法專家,他注意到這份手稿是寫給「兩個聲部」。他也相信古記譜法造成的障礙,使得這份手稿的重要性一直隱而未顯,因為沒有特別研究的人很難讀懂譜表發明之前的樂譜。
他說這位佚名作曲者已經在實驗打破當時慣例:「有趣的是,這份開複音音樂先聲的手稿與一般預期大相逕庭。典型複音音樂通常被視為來自一整套修訂好的歸範、依靠近於機械式的運作。該稿顛覆了我們對音樂發展的確切認知,因為稿上打破了所謂的規則,這顯示當時的音樂仍在融合與發展之中」
雖然手稿的作者與來源尚且不明,Giovanni Varelli已對自己的發現展開廣泛調查,其上的記譜方式一般相信為「古東法蘭克」(Eastern Palaeo frankish)式,來自位於今日德國西北部Düsseldorf或Paderborn的修道院。樂譜記於Maternianus of Reims主教生平頁面下緣的空白處,該頁上方另有拉丁文題辭曰:「頌於12月1日」。Varelli表示,這個日期對他縮小搜尋作品來源的範圍有所幫助:大部份修道院在4月30日慶祝屬於這位聖人的日子,只有少數在德國的修道院是在12月1日才慶祝。這種樂譜應是歷經數世紀發展的產物,遠超過僅供兩位僧侶演唱的簡單歌譜。
「這份樂譜中運用的規則,展示了往後千年主宰大部份西方音樂的規則之基礎,並揭示它們如何演變,以及如何在不斷變動的狀態中保存下來。」
影片:https://www.youtube.com/watch?v=5H9YEwcxB_g
frankish 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
ประวัติศาสตร์กฎหมายประเทศฝรั่งเศส : ภายใต้อิทธิพลกฎหมายโรมัน
นักกฎหมายหรือบุคคลทั่วๆไปรู้จักกฎหมายฝรั่งเศสในนามของประมวลกฎหมายนโปเลียน (Code Napolian) ซึ่งจัดทำขึ้นในปี ค.ศ. 1804 เพราะเป็นประมวลกฎหมายฉบับแรกที่ได้รับการยกย่องว่าทันสมัยเหมาะสมกับสภาพทางสังคมและสมบูรณ์ที่สุดในโลกในช่วงสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นยุคที่ประเทศต่างๆมีความตื่นตัวทางด้านกฎหมาย ประมวลกฎหมายนโปเลียนจึงเข้ามีอิทธิพลต่อการจัดทำหรือปรับปรุงประมวลกฎหมายของประเทศต่างๆมาก
แต่ก่อนที่จะศึกษาประวัติความเป็นมาขอองประมวลกฎหมายนโปเลียน ควรจะได้ศึกษาถึงประวัติศาสตร์กฎหมายของประเทศฝรั่งเศสทั้งหมดเสียก่อน ดังนี้
1.1ประวัติศาสตร์กฎหมายฝรั่งเศสในยุคเก่า
ประวัติศาสตร์กฎหมายฝรั่งเศสยุคเก่าเริ่มต้นด้วย ยุคโรมัน ยุคในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ยุคฟิวดัล ยุคกษัตริย์ ดังนี้
1.1.1 ยุคโรมัน
ยุคโรมัน (Roman period) ดินแดนที่เป็นฝรั่งเศสในปัจจุบันเคยเป็นดินแดนของชาวโกล(Gaul) มาเป็นเวลาช้านาน และต่อมาดินแดนของชาวโกลก็ได้ถูกแบ่งออกเป็นประเทศฝรั่งเศส เบลเยี่ยม ลักเซมเบอร์ก บางส่วนของประเทศเนเธอร์แลนด์ เยอรมนีและสวิสเซอร์แลนด์ ดังเช่นเป้นอยู่ในขณะนี้ ในสมัยก่อนดินแดนชาวโกลก็ดู้กรวมอยู่ในอาณาจักรโรมันด้วย กฎหมายโรมันจึงเข้าไปมีอิทธิพลในดินแดนของชาวโกล แต่อิทธิพลนี้ชาวโกลไม่ได้ยอมรับไว้อย่างสมบูรณ์ กล่าวคือการที่จะยอมรับหรือไม่ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของแต่ละท้องถิ่น โดยชาวโรมันไม่ได้บังคับแต่ประการใด เพราะฉะนั้นบางท้องถิ่นก็ยังคงใช้จารีตประเพณีท้องถิ่นมาบังคับแก่ประชาชน บางท้องถิ่นก็ยอมรับกฎหมายโรมันเข้ามาผสมกับประเพณีดั้งเดิมของตน เป็นลักษณะกฎหมายผสมที่เรียกว่า กฎหมายโกล-โรมัน (Gallo-roman) ขึ้น
อย่างไรก็ตาม กล่าวได้ว่าในคริสต์ศตววรรษที่ 4 ชาวโกลได้รับอิทธิพลของกฎหมายโรมัน โดยยอมรับเอาประมวลกฎหมาย Gregorius และ Hermogenius รวมทั้ง Institutesของ Gaius ไปใช้ในกฎหมายของตน Barbarian ในคริสต์ศตวรรษที่ 5
1.1.2 ยุคศตวรรษที่ 5
ยุคศตวรรษที่ 5 ที่เรียกว่ายุค Franque(Frankish period) ชาว Burgundians, Visgothsและ Frankishได้มีอำนาจปกครองไปทั่วทั้งประเทศ แต่ถึงแม้พวก Barbarians เหล่านี้จะทีอำนาจปกครองดินแดนส่วนต่าง ๆ ก็ตาม ทั้งพวก Burgundians,VisgothsและFrankishต่างก็ไม่ได้บังคับให้นำกฎหมายของพวกตนเข้ามาใช้แทนที่กฎหมายโรมัน ดดยเฉพาะในระยะแรกพลเมืองแต่ละพวกต่างก้อยู่ต่างก็อยู่ใต้บังคับกฎหมายของตนโดยอิสระ กล่าวคือชาว Barbarians ก็อยู่ภายใต้ บังคับของกฎหมาย Barbarians ส่วนชาวโกล ก็อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายโกล-โรมันอย่างไรก็ตาม อาณาจักรโกลได้ถูกรุกรานโดยชาว Norman ในระยะต่อมา ประกอบกับชาวอาหรับก็ได้เข้าครอบครองดินแดนแถบเมดิเตอร์เรเนียน จึงทำให้ประชาชนที่เป็นชาวโกลและชาวบาร์เบเรียนตกอยู่ในสภาพบังคับที่จะต้องรวมเข้าด้วยกัน ซึ่งสภาพดังกล่าวนี้ทำให้กฎหมายของชนสองพวกจำต้องรวมเข้าด้วยกันด้วย เพื่อให้มีผลบังคับใช้แก้ประชนได้ทุกพวกโดยเสมอภาคกัน เฉพาะในท้องถิ่นจำต้องมีการรวมตัวกัน
เพราะฉะนั้นโดยสรุป กฎหมายที่นำมาใช้และเป็นที่นิยมในยุคนี้มากในบางท้องถิ่น และใช้อยู่ตลอดเวลาประมาณห้าศตวรรษ ได้แก่กฎหมายที่เรียกว่า Lex Romana Visigthorumเพราะฉะนั้นถึงแม้ว่าในยุคนั้นประมวลกฎหมายจัสติเนียนจะได้ประกาศใช้แล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่มีอิทธิพลเข้ามาในดินแดนส่วนนี้ จนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 12
1.1.3 ยุคฟิวดัล
ยุคฟิวดัล (Feudal period) แม้ว่า LexRomana Visigothrum ซึ่งได้แบบอย่างมาจากกฎหมายโรมมันในสมัยก่อน จะนำมาใช้กันอยู่ในดินแดนชาวโกลดังที่ได้กล่าวมาแล้วก็ตามแต่กฎหมายดังกล่าวก็ไม่สามารถใช้บังคับได้ทั่วไป เพราะการปกครองในขณะนั้นอยู่ภายใต้ระบบฟิวดัล ซึ่งอำนาจจากส่วนกลางยังไม่เข้มแข็งเพียงพอ นอกจากนั้นประชาชนยังแบ่งออกเป็นวรรณะต่างๆ ได้แก่พวกนักรบหรือชนชั้นสูง (nobles) และพวกพระ (clerge) ชนชั้นกลาง (meddle-class) และชนชั้นต่ำ มีฐานะคล้ายทาสแต่ยังไม่ถึงกับเป็นทาส (serfs):ซึ่งมีสถานะแตกต่างกัน เพราะฉะนั้นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้นจึงยังไม่ใช่กฎหมายอันหนึ่งอันเดียวกันที่สามารถนำมาใช้บังคับได้ทุกท้องถิ่น
กล่าวโดยสรุปคือในตอนต้นของคริสต์ศตวรรษที่สิบสาม กฎหมายของชาวฝรั่งเศสอาจแบ่งออกได้เป็นสองระบบใหญ่ๆ และมีความสัมพันธ์กับท้องถิ่นของฝรั่งเศส โดยได้มีการแบ่งภาคที่ใช้กฎหมายจารีตประเพณีและภาคที่ใช้กฎหมายลายลักษณ์อักษร (Pays de coutumes et pays de droit e’crit) ออกเป็น 2 ภาค ดังนี้
1.ภาคใต้ของฝรั่งเศส เป็นดินแดนส่วนที่ได้รับอารยธรรมของโรมันอย่างมาก ประชาชนรวมกันอยู่อย่างหนาแน่น และมีวัฒนธรรมสูงกว่าในภาคเหนือ ในภาคนี้ระยะแรกแม้จะยังไม่ได้ใช้กฎหมายลายลักษณ์อักษร แต่กฎหมายจารีตประเพณีที่ใช้อยู่ก็คือกฎหมายโรมันเป็นส่วนใหญ่ เพระฉะนั้นเมื่อ Corpus Juris ของจัสติเนียนเข้าไปมีอิทธิพลในศตวรรษที่ 12 ดินแดนฝรั่งเศสตอนใต้จึงยอมรับกฎหมายโรมันของจัสติเนียนโดยไม่มีปัญหา
2.ภาคเหนือของฝรั่งเศส ซึ่งมีอาณาเขตกว้างขวางแต่ความหนาแน่นของประชาชนน้อยกว่าทางภาคใต้ อยู่ภายใต้อิทธิพลของพวกบาร์เบเรียนซึ่งมีต้นกำเนิดจากชาวเผ่าเยอรมัน) รวมทั้งด้านกฎหมายด้วย ดังนั้นทางภาคเหนือจึงยอมรับเอาจารีตประเพณีของพวกบาร์เบเรียน มาใช้
กฎหมายของฝรั่งเศสในยุคศตวรรษที่ 5 นอกจากที่ได้รับอิทธิพลจากจากกฎหมายโรมันและกฎหมายของพวกบาร์เบเรียน (ชาวเยอรมัน) แล้งยังได้รับอิทธิพลจากกฎหมายโรมันคาทอลิค (ซึ่งในยุคนี้เป็นยุคเริ่มเริ่มต้นของยุคมืดยุคที่ศาสนจักรครองงำอาณาจักรอิทธิพลของศาสนาโรมันคาทอลิค)
1.1.4 ยุคกษัตริย์
ยุคกษัตริย์ (Monarchical period ค.ศ. 1500-1789) ในตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 กษัตริย์ของฝรั่งเศสได้พยายามรวบรวมอำนาจอยู่ที่กษัตริย์ แทนที่จะกระจายอำนาจออกไปดังเช่นที่เป็นอยู่ในยุคฟิวดัลและในยุคนี้เองเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายบางประการ ดังนี้
1.การบันทึกจารีตประเพณี เนื่องจากด้วยจารีตประเพณีต่างๆไม่ได้มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร การถ่ายทอดต่อๆมาได้กระทำด้วยวาจา จึงเกิดการผิดพลาดและคลาดเคลื่อนมาก และเหตุนี้เองทำให้เกิดการโต้แย้งถึงความถูกต้องของจารีตประเพณีขึ้นเสมอๆในที่สุดเพื่อขจัดปัญหาต่างๆให้หมดสิ้นไป จึงได้มีการบันทึกขึ้นโดยกฤษฎีกาของ Montilles-Tours ในปี คศ. 1453 และได้มีการแก้ไขต่อมาระยะหลังอีกหลายครั้ง
2.การประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาเกี่ยวกับกฎหมายในลักษณะต่างๆ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14-15 กษัตริย์ของฝรั่งเศสได้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นให้มีผลใช้เป็นกฎหมายหลายฉบับ เรียกว่า “Grandes ordonnances” ซึ่งพระราชกฤษฎีกาเหล่านี้เอง ได้มีการจัดรวบรวมกฎหมายเข้าด้วยกันเป็นหมวดหมู่แบบประมวลกฎหมาย ได้แก่ พระราชกฤษฎีกาเกี่ยวกับกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ค.ศ. 1667 พระราชกฤษฎีกาทางกฎหมาย ค.ศ.1731 พระราชกฤษฎีกาเรื่องพินัยกรรม ค.ศ. 1735 เป็นต้น ซึ่งพระราชกฤษฎีกาเหล่านี้ได้เป็นบ่อเกิดหรือที่มาของประมวลกฎหมายนโปเลียน หรือประมวลกฎหมายอื่นๆในยุคหลังต่อมา
1.2 ยุคปฏิวัติ
ยุคปฏิวัติเริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1789-1804 ประเทศฝรั่งเศสได้มีการปฏิวัติเมื่อ ค.ศ. 1789 เปลี่ยนแปลงการการปกครอง ทางด้านกฎหมายก็มีการเปลี่ยนแปลง เพราะคณะปฏิวัติได้ยกเลิกกฎหมายเก่าโดยเฉพาะกฎหมายในยุคฟิวดัล ซึ่งได้มีการแบ่งชนชั้นวรรณะของประชาชน และบัญญัติกฎหมายที่ให้ความเสมอภาคและเสรีภาพแก่ประชาชน แก่ประชาชนมาใช้แทนที่ และตั้งแต่ ค.ศ. 1792-1795 คณะผู้ปกครองประเทศต่างก็มีความปรารถนาที่จะให้มีกฎหมายที่มีลักษณะง่าย ๆ เป็นประชาธิปไตยและสามารถเข้าถึงประชาชนออกมาใช้บังคับ จึงได้พยายามที่จะให้มีการจัดทำกฎหมายดังกล่าวนี้ขึ้น คือในปี ค.ศ. 1790 สภาร่างรัฐธรรมนูญ (L’Assemblee Constituante) ได้มีมติให้ร่างประมวลกฎหมายแพ่งขึ้น และได้บัญญัติความมุ่งหมายนี้ไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปี ค.ศ. 1791 ด้วย แต่มติของสภาร่างรัฐธรรมนูญ รวมทั้งบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญเองเป็นอันไร้ผล เพราะไม่มีการปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น
จนกระทั่งเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1793 สภา Convention ได้มอบหมายให้ Combaceres และกรรมาธิการนิติบัญญัติจัดร่างกฎหมายแพ่งให้เสร็จเรียบร้อยภายใน 1 เดือน แต่ระยะเวลา 1 เดือนที่กำหนดไว้นี้สั้นมาก แม้กระนั้น Combaceres และคณะก็พยายามร่างกฎหมายขึ้นตามที่ได้รับมอบหมายจนสำเร็จ และแม้ว่าร่างกฎหมายจะสั้นมากก็ตาม แต่ก็ประกอบไปด้วยหลักการสำคัญในการประกันเสรีภาพและเชิดชูแนวความคิดใหม่ๆ
อย่างไรก็ตาม เมื่อนำร่างกฎหมายนี้เสนอต่อ Convention สภาดังกล่าวนี้มีมติไม่ยอมรับ โดยอ้างว่ามีความยุ่งยากเกินไป และเป็นกฎหมายของพวกปฏิกิริยา
ภายหลังที่ประธานของสภา ConventionคือRobespierre สิ้นอำนาจลง Combaceres ได้ร่างกฎหมายขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยนำเอาข้อวิพากษ์วิจารณ์จากการร่างครั้งแรกมาประกอบการพิจารณาด้วยกฎหมายแพ่งที่ร่างขึ้นในครั้งนี้เป็นกฎหมายสั้น ๆ มีความยาวเพียง 295 มาตรา แต่ก็มีบทบัญญัติเกี่ยวกับหลักกฎหมายทั่วไปและปรัชญากฎหมายรวมอยู่ด้วย ร่างกฎหมายครั้งที่ 2 นี้ได้รับการพิจารณาและลงมติกันเพียงบางมาตราเท่านั้น แต่ในที่สุดก็ล้มเลิกไปเพราะไม่มีผู้ใดสนใจที่น่าชมเชยก็คือ Combaceres ผู้ซึ่งเป็นคนสำคัญในการจัดทำและเสนอร่างกฎหมายไม่ได้มีความย่อท้อแต่ประการใด และได้พยายามเสนอร่างกฎหมายแพ่งนี้ต่อสภา (Conseildes Cing Cents ) อีก แต่ไม่ได้รับความสนใจ แม้แต่จะหยิบยกขึ้นมาอภิปรายกัน เป็นอันว่าความพยายามของ Combaceres ไม่ประสบความสำเร็จ
1.3 ยุคการจัดทำและประกาศใช้ประมวลกฎหมายนโปเลียน (ค.ศ. 1804)
ยุคการจัดทำและประกาศใช้ประมวลกฎหมายนโปเลียน ในปี ค.ศ. 1804 จะกล่าวถึงที่มาและสาระสำคัญของประมวลกฎหมายนโปเลียนและข้อสังเกตเกี่ยวกับประมวลกฎหมายนโปเลียน ดังนี้
1.3.1 ที่มาของการจัดทำประมวลกฎหมายนโปเลียน
การจัดทำ เมื่อนโปเลียน โบนาปาร์ต(Napoleon Bonaparte) ได้มีอำนาจในการปกครองประเทศ โดยได้ดำรงค์ตำแหน่ง Premier Consul แล้ว นโปเลียนมีความประสงค์ที่จะจัดทำประมวลกฎหมายขึ้นให้ได้ แม้ว่าผู้ปกครองประเทศในยุคเก่าหรือคณะปฏิวัติประสบความล้มเหลวมาแล้วก็ตาม ในปี ค.ศ. 1800 นโปเลียนได้ตั้งกรรมการขึ้นคณะหนึ่งประกอบไปด้วยนักกฎหมายที่มีชื่อเสียงจากศาลสูง และ Conseil d’Etat จำนวน 4 คนคือ Tronchet,Bigot de Pre’ameneu,Malleville และ Portalis ให้มีหน้าที่ในการร่างประมวลกฎหมายแพ่งขึ้นต่อจากนั้น 4 เดือน ร่างกฎหมายดังกล่าวได้ถูกส่งไปยังศาลสูง (Tribunal de Cassation) และศาลอุทธรณ์ (Tribunauxd’appel) เพื่อให้พิจารณาและเสนอความคิดเห็น ซึ่งศาลต่าง ๆ ดังกล่าวแล้วได้ให้ความร่วมมือ โดยได้ทำความเห็นส่งกลับไปโดยเร็ว เพื่อให้ป็นไปตามความประสงค์ของนโปเลียน
หลังจากนั้นร่างกฎหมายนี้ได้เสนอผ่านสภาต่างๆ (Assemble’es)ตามลำดับได้แก่ Conseil d’Etat ซึ่งมีสมาชิกจำนวน 80 คน โดยการแต่งตั้งของนโปเลียน ในการประชุมที่ Conseil d’Eata นี้ นโปเลียนเข้าประชุมเป็นประธานเกือบทุกครั้ง และถ้าเข้าร่วมประชุมไม่ได้ก็ให้ Combaceres เป็นประธานแทน หลังจากที่ Conseil d’Etat มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว ก็ส่งร่างนี้ไปยังสภานิติบัญญัติ (Corps legislatif) ซึ่งมีสมาชิก 300 คน แต่สภานี้ได้ส่งร่างกฎหมายต่อไปยังสภา Tribunat ซึ่งมีสมาชิกจำนวน 100 คน รับแต่งตั้งจากสภา S’enat แต่สภา Tribunatคัดค้านไม่เห็นด้วยกับร่างกฎหมายที่เสนอนี้ จนทำให้นโปเลียนต้องขอถอนร่างนี้กลับคืนไปเพื่อให้กฎหมายนี้สามารถผ่านสภา Tribunatไปได้ นโปเลียนจึงได้ปรับปรุงสภา Tribunatเสียใหม่ โดยลดจำนวนสมาชิกให้เหลือเพียง 50 คน ทั้งนี้เพื่อจะได้มีโอกาสปลดผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับร่างกฎหมายนี้ออกไป ดังนั้นเมื่อนโปเลียนเสนกร่างกฎหมายให้พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง จึงได้รับความเห็นชอบจากสภา Tribunat
การประกาศใช้ ในที่สุดได้มีการประกาศใช้กฎหมายนี้เป็นทางการ เมื่อวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ. 1804 เรียกว่าประมวลกฎหมายแพ่งของฝรั่งเศส (Code Civil des Francais) มีกฎหมายทั้งสิ้น 2,281 มาตรา แบ่งเป็น 3 บรรพ (Livre) บรรพแรกได้แก่กฎหมายว่าด้วยบุคคล (Des Personnes) บรรพ 2 ได้แก่กฎหมายว่าด้วยทรัพย์ และทรัพย์สิน (Des biens et de la propriete) และบรรพ 3 ได้แก่กฎหมายอื่นๆ คือมรดก (Successions) หนี้ (Obligation) สัญญา (Contrats) ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ทั้งสิ้น ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับโครงสร้างของสังคมยุคใหม่ ซึ่งยึดหลักเสรีภาพส่วนบุคคลในด้านทรัพย์สินและการได้มาซึ่งทรัพย์สิน รวมทั้งหลักเสมอภาคในการเข้าทำสัญญา ดังนั้นประมวลกฎหมายนี้จึงมีความสำคัญขั้นมูลฐานในการสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของประเทศด้วย
ชื่อของประมวลกฎหมาย เมื่อประกาศใช้ในครั้งแรก ประมวลกฎหมายนี้เรียกว่า “ประมวลกฎหมายแพ่งของชาวฝรั่งเศส” (Code Civil des Francais) ดังได้กล่าวมาแล้ว แต่ในปี ค.ศ. 1807 ได้เปลี่ยนชื่อโดยเรียกว่า “ประมวลกฎหมายนโปเลียน” (Code Napoleon) แต่ในปี1814 และ 1830 กลับมาใช้ชื่อเดิมอีกครั้งหนึ่ง จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1852 จึงกลับมาเรียกชื่อประมวลกฎหมายนี้ว่า “ประมวลกฎหมายนโปเลียน” อันเป็นชื่อเรียกทางราชการอีกครั้งหนึ่ง จนกระทั่งปัจจุบัน แต่ตั้งแต่ ค.ศ. 1870 เป็นต้นมา ได้นิยมเรียกชื่อกันอย่างไม่เป็นทางการว่า “ประมวลกฎหมายแพ่ง” (Code Civil) อีกชื่อหนึ่งด้วย
1.3.2 เนื้อหาสาระสำคัญของประมวลกฎหมายนโปเลียน
เนื้อหาของประมวลกฎหมายนโปเลียน ดังที่กล่าวมาแล้วว่าประมวลกฎหมายนโปเลียนได้ทำขึ้นภายหลังการปฏิวัติใหญ่ ซึ่งระยะนั้นประเทศฝรั่งเศสกำลังอยู่ในยุตอนาธิปไตย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานทางการเมืองและสังคมอย่างกะทันหัน และในลักษณะรุนแรง ดังนั้นการจัดทำกฎหมายนโปเลียน นอกจากจะคำนึงถึงหลักการทางกฎหมายแล้ว ยังคำนึงถึงการสถาปนาความสงบเรียบร้อยในสังคมเป็นสำคัญอีกด้วย
สำหรับหลักการทางกฎหมายนั้น ก็ได้พยายามที่จะนำเอากฎหมายเท่าที่เคยใช้อยู่มาปรับปรุงและผสมผสานเขาด้วยกัน ได้แก่จารีตประเพณีดั้งเดิม กฎหมายโรมัน พระราชกฤษฎีกาและกฎหมายคริสต์ศาสนา (Canon law) เป็นต้น แต่บัญญัติให้ความเหมาะสมแก่สภาพของสังคมในยุคนั้นยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากกฎหมายในลักษณะต่างๆ ดังนี้คือ
1.กฎหมายลักษณะบุคคล ประมวลกฎหมายนโปเลียนได้พยายามรักษาแบบอย่างของกฎหมายเก่าเอาไว้ แต่ก็เปลี่ยนแปลงไปบางประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการจดทะเบียนสถานภาพของบุคคล (I’ acte de etatcivil ) ซึ่งแม้ว่ายังคงมีอยู่ในกฎหมายใหม่ แต่ผู้ที่ทำหน้าที่นายทะเบียน หรือผู้รับรองสถานภาพของบุคคลเปลี่ยนจากพระในคริสต์ศาสนามาให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นในแขวงต่างๆ (maries) เป็นผู้ทำหน้าที่แทน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเสมอภาคแก่บุคคลซึ่งนับถือศาสนาอื่นๆ เป็นต้น
ในส่วนที่เกี่ยวกับความสามารถของบุคคล กำหมายใหม่ได้ยกเลิกการแบ่งชั้นวรรณะของประชาชนโดยเด็ดขาด โดยถือว่าบุคคลทุกคนย่อมมีสิทธิ์เท่าเทียมกันตามกฎหมาย บุคคลทุกคนจะบรรลุนิติภาวะ พ้นจากอำนาจปกครองเมื่ออายุครบ 21 ปีบริบูรณ์และเมื่อสมรสแล้วสามารถหย่าร้างกันได้ ซึ่งแตกต่างกับบทบัญญัติแห่งกฎหมายเก่าที่บัญญัติว่าชายหญิงเมื่อทำการสมรสแล้วจะหย่าร้างกันไม่ได้ ทั้งนี้เพราะกฎหมายเก่าตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของกฎหมายทางศาสนา ส่วนกฎหมายใหม่เป็นผลสืบเนื่องมาจากกฎหมายของคณะปฏิวัติตั้งแต่ ค.ศ. 1790
อย่างไรก็ตาม ในส่วนที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา และความสามารถของหญิงมีสามีนั้น กฎหมายใหม่ยังคงยึดถือหลักการเดิมในกำหมายเก่า กล่าวคือยังถือว่าสามีมีอำนาจเหนือภริยาและบุตร โดยเฉพาะในเรื่องการจัดการทรัพย์สินสามรภริยาตามระบบที่เรียกว่า “re’gime de communaute” แล้ว อำนาจในการจัดการเกือบทั้งหมด ตกอยู่แก่สามีส่วนอำนาจของภริยานั้น เกือบจะไม่มีเลย
2.กฎหมายลักษณะมรดก กฎหมายใหม่ยึดถือหลักการกฎหมายของคณะปฏิวัติกล่าวคือยกเลิกหลักการในกฎหมายเก่าที่ให้อภิสิทธิ์แก่ประชาชนบางประเภทในการรับมรดกรวมทั้งยกเลิกอภิสิทธิ์ในการรับมรดกของบุตรคนโต และบุตรที่เป็นเพศชายด้วย
3.กฎหมายลักษณะทรัพย์ กฎหมายใหม่ที่ยึดถือหลักการสำคัญในการยอมรับรองสิทธิของเอกชนในการมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น โดยยกเลิกกฎหมายเก่าในยุคฟิวดัลที่สงวนสิทธิ์ในการมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินไว้ให้แก่อภิสิทธิ์ชนบางประเภทเสีย โดยหวนกลับไปยอมรับหลักการของกฎหมายโรมัน ซึ่งยอมให้เอกชนสามารถมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินได้ มาใช้ในกฎหมายใหม่
อย่างไรก็ตาม กฎหมายใหม่ยังคงให้ความสำคัญแก่กฎหมายที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์และกรรมสิทธิ์ในที่ดินเช่นเดียวกับที่บัญญัติไว้ในกฎหมายโรมัน และยังคงรักษาความสำคัญของกฎหมายที่เกี่ยวกับสิทธิเก็บเงิน ทรัพย์สิทธิ ครอบครอง และการครอบครองโดยปรปักษ์ตามกฎหมายเก่าไว้ อีกด้วย
4.กฎหมายลักษณะหนี้และสัญญา คือ
1) กฎหมายใหม่ยึดถือหลักเรื่องเสรีภาพในการทำสัญญา โดยยกเลิกหลักบางประการของกำหมายเก่าที่จำกัดการทำสัญญาบางประเภท โดยถือว่าขัดต่อหลักศีลธรรมศาสนา เช่นการให้กู้ยืมเงินโดยคิดดอกเบี้ย เป็นต้น
2) กฎหมายลักษณะหนี้ กฎหมายใหม่ยังคงยอมรับหลักการของกฎหมายเก่าในในเรื่องที่มาหรือบ่อเกิดแห่งหนี้รวมทั้งผลแห่งหนี้
1.3.3 ข้อสังเกตของประมวลกฎหมายนโปเลียน
เมื่อพิจารณาถึงประมวลกฎหมายนโปเลียนที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นประมวลกฎหมายที่ที่ทันสมัยและสมบูรณ์ที่สุดในยุคนั้นก็ตาม แต่ประมวลกฎหมายนี้มีข้อบกพร่องและมีช่องโหว่ อยู่หลายประการ ดังนี้
1. ข้อบกพร่องประมวลกฎหมายนโปเลียน มีดังนี้
1) ประมวลกฎหมายนโปเลียนมีบทบัญญัติจำกัดสิทธิคนต่างชาติมาก ทั้งนี้เพราะนโปเลียนมีความรู้สึกว่าคนต่างชาติเป็นศรัตรู จึงไม่ควรจะได้รับสิทธิต่างๆในประเทศฝรั่งเศส (แต่ในที่สุดข้อจำกัดนี้ได้ถูกแก้ไขตั้งแต่ ค.ศ. 1819 โดยให้สิทธิคนต่างชาติได้รับสิทธิดีขึ้น)
2) ประมวลกฎหมายนโปเลียนมีบัญญัติให้หญิงมีสามีมีฐานะด้อยกว่าสามีมาก ทั้งนี้เนื่องมาจากอิทธิพลของนโปเลียนที่มีความเคยชินกับจารีตประเพณีของชาวเกาะคอร์ซิการ์ ซึ่งเป็นบ้านเกิดของนโปเลียน ที่ยึดถือประเพณีสามีย่อมมีอำนาจเด็ดขาดในครอบครัว (ต่อมาได้แก้ไขเมื่อปี ค.ศ. 1965 ให้หญิงมีสามีมีสิทธิเท่าเทียมกับสามีมากขึ้น)
3) ประมวลกฎหมายนโปเลียนถูกตำหนิในเรื่องบทบัญญัติที่เกี่ยวกับระบบการให้ความคุ้มครองผู้เยาว์ โดยเหตุที่บทบัญญัติเหล่านี้มีความยุ่งยากและขาดประสิทธิภาพในการให้ความคุ้มครองอย่างแท้จริง
4) ในส่วนที่เกี่ยวกับบุตรนอกสมรส แม้ว่าประมวลกฎหมายนโปเลียนจะได้แก้ไขปรับปรุงฐานะของบุตรนอกสมรสก็ยังคงมีฐานะต่ำ โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับสิทธิในมรดก
2. ช่องโหว่ของประมวลกฎหมายนโปเลียน นอกจากมีข้อบกพร่อง แล้วประมวลกฎหมายนโปเลียนมีช่องโหว่หลายประการ ซึ่งเกิดขึ้นโดยเจตนาหรือไม่ เช่น
1) ละเลยในการบัญญัติกฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์เรื่องกรรมสิทธิ์ในสังหาริมทรัพย์ให้มีความสมบูรณ์เพียงพอที่จะให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ได้รับความคุ้มครองอย่างเต็มที่ โดยได้บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้เพียงไม่กี่มาตรา ต่างกับหลักเกณฑ์เรื่องกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้บัญญัติไว้โดยละเอียดชัดเจน
2).ไม่ได้ให้ความสนใจต่อกรรมสิทธิ์ในอุตสาหกรรม (propriete industrielle) ซึ่งได้แก่สิทธิในการประดิษฐ์ ( droits sur les inventions) และสิทธิในเครื่องหมายการค้า (druits sur les de fabrique) นอกจากนั้นยังไม่ให้ความสนใจต่อสิทธิในวรรณกรรมและศิลปกรรม(droits sur les propriete litteraire etartisque) ด้วย สิทธิต่างๆ ดังกล่าวนี้เพิ่งได้รับการยอมรับและเห็นความสำคัญในระยะต่อมา
3).กฎหมายแพ่งในระยะแรกไม่ยอมรับฐานะของนิติบุคคล โดยให้ถือเป็นเรื่องของกฎหมายมหาชนโดยเฉพาะ การจัดตั้งสมาคมก็ต้องห้ามตามกฎหมายอาญาในยุคนั้น ยกเว้นในกรณีที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน
4) ช่องโหว่ประการสุดท้าย ได้แก่ปัญหาเรื่องชนชั้น ซึ่งประมวลกฎหมายนี้ถูกตำหนิว่าไม่ให้ความคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้ใช้แรงงาน โดยมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยสัญญาจ้างแรงงาน (louage de services) เพียง 2 มาตราเท่านั้น ทำให้บรรดาคนงานและกรรมกรถูกกดขี่ข่มเหงโดยบรรดานายทุน ทั้งๆ ที่ประมวลกฎหมายนี้ได้รับการยกย่องว่าได้ทำขึ้นตามหลักประชาธิปไตย เพราะได้ยกเลิกระบบชนชั้นและระบอบอภิสิทธิ์ทั้งปวง แต่ก็ยังละเลยไม่ให้ความคุ้มครองผู้ใช้แรงงานเท่าที่ควร
อย่างไรก็ตาม ปัญหาเรื่องนี้ได้รับการแก้ไขในภายหลัง จนกระทั่งปัจจุบันนี้บรรดาผู้ใช้แรงงานทั้งหลายได้รับความคุ้มครองจากบทบัญญัติแห่งกฎหมายมากขึ้น
1.3.4 อิทธิพลของประมวลกฎหมายนโปเลียน
อิทธิพลของประมวลกฎหมายนโปเลียน ได้มีอิทธิพลออกไปนอกประเทศฝรั่งเศสอย่างรวดเร็ว รวมทั้งมีอิทธิพลต่อการจัดทำประมวลกฎหมายของประเทศต่างๆด้วย ดังนี้
1.อิทธิพลของประมวลกฎหมายนโปเลียนนอกประเทศฝรั่งเศส อิทธิพลดังกล่าวนี้ได้แก่การที่ประเทศอื่นๆได้ยอมรับเอาประมวลกฎหมายนี้ไปใช้โดยสมัครใจ ได้แก่
1) ประเทศอิตาลี ซึ่งประเทศอิตาลีเลิกใช้ประมวลกฎหมายนโปเลียน เมื่อได้มีการประกาศใช้ประวลกฎหมายอิตาลี ในปี ค.ศ. 1865
2) ประเทศเยอรมัน ซึ่งเยอรมันได้เลิกใช้ประมวลกหมายนโปเลียนเมื่อได้มีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายเยอรมันใน ปี ค.ศ. 1900
3) ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ซึ่งสวิสเซอร์แลนด์เลิกใช้ประมวลกฎหมายนโปเลียนเมื่อได้มีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายสวิส ในปี ค.ศ. 1907
4) ส่วนประเทศเบลเยี่ยมและประเทศลักแซมเบอร์ก ยังคงใช้ประมวลกฎหมาย นโปเลียนอยู่จนกระทั่งปัจจุบัน ถึงแม้ภายหลังจะมีความแตกต่างกันเมื่อมีการแก้ไขปรับปรังกฎหมายและมีความแตกกันโดยคำพิพากษาของประเทศไปบ้างก็ตาม
2. อิทธิพลของประมวลกฎหมายนโปเลียนที่มีต่อประมวลกฎหมายของประเทศอื่นที่นำเป็นแบบอย่างหรือถูกลอกเลียนแบบในการจัดทำประมวลกฎหมาย เช่น
1) ประเทศที่เคยเป็นดินแดนของฝรั่งเศส ได้แก่ ประมวลกฎหมายลุยเซียนา ใน ปี ค.ศ.1824 ประมวลกฎหมายของไฮติ(Haiti)ในปีค.ศ. 1826 ประมวลกฎหมายตอนใต้ของแคนาดาในปี ค.ศ. 1866 เป็นกฎหมายผสมระหว่างจารีตประเพณีของปารีส ประมวลกฎหมายนโปเลียน และกฎหมายอังกฤษ
ประเทศกรีซ หลังจากการได้รับการปลดปล่อยจากตุรกี ได้มีโครงการจัดทำประมวลกฎหมายขึ้นในปี ค.ศ. 1827 แต่สำเร็จลงเมื่อ ค.ศ. 1870 และได้รับอิทธิพลจากประมวลกฎหมายนโปเลียนมาก
ประเทศฮอลันดา ได้ยอมรับเอาประมวลกฎหมายนโปเลียนไปใช้ จนกระทั่งได้มีการจัดทำปีประมวลกฎหมายขึ้นในปี ค.ศ. 1838 แต่ประมวลกฎหมายนี้หลายตอนได้ลอกแบบไปจากประมวลกฎหมายนโปเลียน
ประเทศอิตาลี ประมวลกฎหมายในปี ค.ศ. 1865 นอกจากจะได้รับอิทธิพลของประมวลกฎหมายนโปเลียนแล้ว ยังได้รับอิทธิพลของกฎหมายโรมันไว้อย่างเห็นได้ชัดอีกด้วย
นอกจากนั้นได้แก่ประมวลกฎหมายของประเทศต่างๆ ดังต่อไปนี้คือ
ประเทศรูเมเนีย ประมวลกฎหมายในปี ค.ศ. 1865
ประเทศสปน ประมวลกฎหมายในปี ค.ศ. 1889
ประเทศบัลแกเรีย ประมวลกฎหมายในปี ค.ศ. 1904
ประเทศมาดากัสการ์ประมวลกฎหมายในปี ค.ศ. 1885 (แก้ไขจากประมวลกฎหมายนโปเลียนเพียงเล็กน้อย)
ประเทศอียิปต์ ประมวลกฎหมายในปี ค.ศ. 1875
ประเทศโบลิเวีย ประมวลกฎหมายในปี ค.ศ. 1843
ประเทศเปรู ประมวลกฎหมายในปี ค.ศ. 1852
ประทศอุรุกวัย ประมวลกฎหมายในปี ค.ศ. 1869
ประเทศอาร์เจนตินา ประมวลกฎหมายในปี ค.ศ. 1871 (และประมวลกฎหมายนี้ได้นำไปใช้เป็นประมวลกฎหมายของประเทศปารากวัยในปี ค.ศ. 1889 ด้วย)
ประเทศชิลี ประมวลกฎหมายในปี ค.ศ. 1857 ได้ลอกบบประมวลกฎหมายนโปเลียนไปใช้หลายตอน แต่ได้ดัดแปลงการจัดลับดับเสียใหม่ นอกจากนั้นได้ยอมรับเอาจารีตประเพณีของสเปนมาผสมเข้าด้วย เพื่อให้เป็นไปตามความเหมาะสมแก่สภาพและความต้องการของประชาชน
ประเทศโคลอมเบีย ประมวลกฎหมายในปี ค.ศ.1873 ได้ยอมรับเอาประมวลกฎหมายชิลีไปเป็นกฎหมายของตนโดยเกือบไม่ได้มีการแก้ไขเลย
สำหรับประมวลกฎหมายลักษณะหนี้ของประเทศเลบานอนในปี ค.ศ. 1922 และประมวลกฎหมายของประเทศจีน ในปี ค.ศ. 1930 บางส่วน มีนักกฎหมายชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ร่างคือ Professeur Josserand ร่างประมวลกฎหมายเลบานอน และ professeur Escarra ร่างประมวลกฎหมายจีน ดังนั้น ประมวลกฎหมายทั้งสองประเทศจึงได้รับอิทธิพลของประมวลกฎหมายนโปเลียนเช่นเดียวกัน
ประเทศญี่ปุ่น ในระยะแรกคือในปี ค.ศ. 1872 ญี่ปุ่นได้จัดแปลประมวลกฎหมายนโปเลียนเป็นภาษาญี่ปุ่น และมีความสนใจประมวลกฎหมายนี้มาก กับต้องการนำไปใช้เป็นแบบอย่างในการจัดทำประมวลกฎหมายญี่ปุ่น จึงมอบให้นักกฎหมายชาวฝรั่งเศสชื่อ Boissonadeเป็นผู้ร่างประมวลกฎหมายแพ่งญี่ปุ่นขึ้น แต่เมื่อประเทศญี่ปุ่นได้ข่าวว่าประเทศเยอรมันกำลังร่างประมวลกฎหมายแพ่งขึ้น ร่างกฎหมายของ Boissonade จึงถูกเลื่อนไปและต่อมาประเทศญี่ปุ่นได้แต่งตั้งนักกฎหมายชาวญี่ปุ่น 3 คน เป็นผู้ร่างประมวลกฎหมายแพ่งโดยเลียนแบบจากประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมัน และได้ประกาศใช้ในปี ค.ศ. 1896
1.4การจัดทำประมวลกฎหมายอื่น ๆ ของฝรั่งเศส
ภายหลังจากการประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งในปี ค.ศ. 1804 แล้ว ประเทศฝรั่งเศสได้ประกาศใช้ประมวลกฎหมายอื่น ๆ ต่อมาตามลำดับ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (Code de Procedure Civile) ในปีค.ศ. 1806 ประมวลกฎหมายพาณิชย์ (Code de Commerce) ในปี ค.ศ. 1808 ประมวลกฎหมายอาญา (Code Penal) ในปี ค.ศ.1811 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ( Code de procedure Criminelle) ซึ่งเปลี่ยนมาเรียกชื่อว่า Code de Procedure Penale ในปืค.ศ. 1948
นอกจากประมวลกฎหมายหลักดังกล่าวมาแล้ว ประเทศฝรั่งเศสยังได้จัดทำประมวลกฎหมายในลักษณะอื่น ๆ หลายฉบับ ได้แก่ ประมวลกฎหมายป่าไม้ (Code Forestier) ในปี ค.ศ. 1826 ประมวลกฎหมายขนส่ง ( Code desTransports) ในปี ค.ศ. 1939 ประมวลกฎหมายสัญชาติ (Code de Nationalite) ในปี ค.ศ. 1945 ประมวลกฎหมายเกี่ยวกับการเช่าบ้านและอาคาร ในปี ค.ศ. 1948
frankish 在 11. Frankish Society - YouTube 的推薦與評價
... <看更多>