ครั้งหนึ่งเหล่าวิหคสายฟ้าเจ็ทแมน และมือปราบวินสเปคเตอร์ได้มาเหยียบเมืองไทย...
เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2536 ประเทศไทยมีการจัดไลฟ์แอคชั่นโชว์ “เจ็ทแมน แอนด์ วินสเปคเตอร์โชว์” ขึ้น โชว์นี้ถูกจัดขึ้นที่อินดอร์สเตเดียมหัวหมาก สถานที่จัดงานที่ถือว่าใหญ่และทันสมัยอันดับต้นๆ ของไทยในสมัยนั้น (ยุคนั้นยังไม่มีอิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี)
วิหคสายฟ้าเจ็ทแมน ออกอากาศครั้งแรกในเมืองไทยเมื่อปี พ.ศ. 2535 ทางช่อง 9 อสมท จะเรียกได้ว่าเป็นขบวนการห้าสีที่แทบจะดังที่สุดในยุคนั้นเลยก็ว่าได้ แม้ตัวรายการจะฉายจบไปแล้ว แต่กระแสความนิยมก็ยังอยู่อีกเป็นปีเลย ถ้าใครจำตอนจบที่แบล็คคอนดอร์ตาย หลายๆ คนร้องไห้ ทำใจไม่ได้นะ ส่งจดหมายมาหาน้าต๋อยที่รายการเพียบเลย เอาตรงๆ ตอนผมพากย์เองยังเศร้าเลย โถ่ พ่อพระรองของผม (ถ้าเป็นยุคนี้ก็คงเหมือนผู้อำนวยการฮันสินะ)
กระแสของวิหคสายฟ้าเจ็ทแมนในตอนนั้น คือดีตั้งแต่ตอนแรกที่ออกอากาศ ด้วยเนื่อเรื่องสไตล์ขบวนการห้าสี แต่มาในคอนเซปต์นก มีปีกบินได้ และที่สำคัญยังตลกและมีความดราม่าที่สอดแทรกเข้าไปเนื้อเรื่องด้วย สัมผัสได้ถึงมิติที่มากขึ้นของตัวละครเมื่อเปรียบกับเรื่องอื่นๆ คือแบบโคตรเท่ห์และยังซึ้งอีก เด็กๆ ในยุคนั้นเลยยิ่งอิน
จดหมายมากมายที่ถูกส่งเข้ามา ทุกคนได้พูดถึงความชื่นชอบ ความประทับใจในขบวนการเรื่องนี้ในแบบของตน และแทบทุกฉบับจะพูดเหมือนกันว่า “อยากมีโอกาสได้ดูเจ็ทแมนตัวเป็นๆ สักครั้งในชีวิต” ต้นปีพ.ศ. 2536 น้าต๋อยจึงรีบแพ็คกระเป๋า บินไปญี่ปุ่นเพื่อขอเข้าประชุมกับบริษัทโตเอะ พูดคุยถึงความเป็นไปได้ในการขอซื้อลิขสิทธิ์เพื่อนำวิหคสายฟ้าเจ็ทแมน มาจัดแสดงที่เมืองไทยแบบเต็มรูปแบบ
สมัยก่อนการซื้อการ์ตูนแต่ละเรื่องไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก เพราะรูปแบบลิขสิทธิ์มีไม่มาก ช่องทางหลักยังเป็นทีวี ทำให้การแข่งขันค่อนข้างสูง และการซื้อแต่ละครั้งจะต้องบินไปซื้อกับบริษัทเจ้าของลิขสิทธิ์โดยตรง ในที่ประชุมผมพยายามอธิบายถึงกระแสความนิยมของเจ็ทแมนในบ้านเรา (ผ่านล่ามนะ 55) แล้วจึงพูดถึงความเป็นไปได้ในการนำเจ็ทแมนมาที่เมืองไทย (เอารูปถ่ายกองจดหมายให้ดูด้วย ญี่ปุ่นถึงกับตกใจ) ตอนแรกทางญี่ปุ่นเข้าใจว่าเราอยากได้ชุดเจ็ทแมนไปใส่โชว์ตัวเฉยๆ เราบอกว่าไม่ใช่ เราต้องการไปจัดแสดงโชว์สดที่เมืองไทย (ญี่ปุ่นตกใจต่อ) คือต้องเข้าใจว่าขนาดเศรษฐกิจในบ้านเราณ ตอนนั้นมันเล็กมากเมื่อเทียบกับญี่ปุ่น เค้าเลยยังไม่มั่นใจในกำลังซื้อเพราะค่าลิขสิทธิ์แพงจริงๆ เท่านั้นยังไม่พอผมขอพาทั้งทีมสตั๊นแมนที่ใส่ชุดในเรื่อง ทีมงานสเปเชียลเอฟเฟคบางส่วนไปด้วย เพราะต้องการให้งานแสดงโชว์ออกมาสมจริงที่สุด (ญี่ปุ่นอ้าปากค้าง) และท้ายที่สุดผมขอนักแสดงจริง ดาราทั้ง 4 คนมาด้วย (ญี่ปุ่นแทบตกเก้าอี้) เพราะไม่คิดว่าจะมีใครกล้าซื้อลิขสิทธิ์โชว์ไปต่างประเทศพร้อมตัวนักแสดงจริงไปด้วย ยังไม่หมดนะครับ ระหว่างประชุมผมดันเหลือบไปเห็นภาพโปสเตอร์มือปราบวินสเป็คเตอร์พอดี ไหนไหนก็ไหนแล้ว ขอจัดวินสเป็คเตอร์มาด้วยแล้วกัน โชว์ครั้งนี้มันต้องสุดแน่นอน (ญี่ปุ่นคุยกันแล้วหันมามองหน้าผม ประมาณว่าเอาที่มึงสบายใจแล้วกัน พวกกูยังไงก็ได้แล้ว 55) และนี่คือจุดเริ่มต้นที่ “เจ็ทแมน แอนด์ วินสเปคเตอร์โชว์” ได้ถือกำเนิดขึ้นมา
ลองนึกภาพดูนะครับทั้งค่าลิขสิทธิ์ ค่าตัวนักแสดงญี่ปุ่น ค่าทีมงาน ค่าเดินทาง (สมัยนั้นยังไม่มีสายการบิน low cost นะครับ) ค่าที่พักค่าอาหาร และหากรวมค่าใช้จ่ายทางฝั่งไทยเข้าไปด้วย ต้นทุนในการจัดแสดงโชว์ครั้งนี้อยู่ราวๆ 30 กว่าล้านบาท (พระเจ้า! นี่มันยิ่งกว่าคอนเสิร์ตพี่เบิร์ดอีกนะ) กลับมาปรึกษากับทีมงาน คือไม่ว่าจะรูปแบบไหน โชว์ครั้งนี้ไม่มีทางที่จะทำกำไรได้เลย เอาเป็นว่าจะขาดทุนมากหรือน้อยดีกว่า ท่ามกลางเสียงคัดค้านแต่ผมก็ยังยืนกรานว่าจะทำโชว์ครั้งนี้ให้ได้ โดยที่จะไม่ลดต้นทุนที่แพลนไว้ในตอนแรก จะเอาทุกอย่างมาเมืองไทยให้ได้ทั้งหมด ช่วงนั้นทะเลาะกับภรรยาแทบทุกวันเลยทีเดียว (ยอมเป็นพ่อบ้านใจกล้าเพื่อความฝันอันยิ่งใหญ่ 55)
แม้จะพอหาสปอนเซอร์เข้ามาได้ และยอดผู้ชมก็ไม่ได้น้อยจนเกินไปนัก แต่เมื่อหักค่าใช้จ่ายทุกอย่างแล้ว การจัดโชว์ในครั้งนี้ก็ยังขาดทุนไปกว่า 20 ล้านบาท ในแง่ของธุรกิจถือว่าล้มเหลวโดยสิ้นเชิง จะว่าไปตัวเลขนี้ก็ไม่ได้ต่างกับที่ประมาณการไว้ในตอนแรกมากนัก (ผมเลยไม่ได้ตกใจมากเพราะได้เตรียมทำใจรับความ chip หายไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ แล้ว นี่ยังไม่นับอุลตร้าแมนโชว์ที่ขาดทุนไปกว่าสิบล้านบาทช่วงต้นปีอีกนะ) ถ้าถามว่าทำไมถึงยังทำต่อ ไม่ล้มเลิกโชว์นี่เสีย คือมันไม่ใช่ความฝันของแค่ผมคนเดียวไง แต่มาจากจดหมายนับหมื่นที่ได้อ่านตอนนั้นด้วย ไหนจะกับเด็กๆ ที่ไม่ได้ส่งจดหมายเข้ามาอีกล่ะ โชว์ครั้งนี้มันจึงเป็นครั้งหนึ่งในชีวิตของเด็กๆ ในยุคนั้นเลยทีเดียว ตรงจุดนี้เองที่ผมมองว่ามันคุ้มค่า เพราะจากวันนั้นจนถึงวันนี้ผ่านมาเกือบจะ 30 ปีแล้ว เรายังแทบไม่มีไลฟ์แอคชั่นโชว์เต็มรูปแบบ พร้อมนักแสดงตัวจริงเสียงจริงจากญี่ปุ่นเกิดขึ้นมาอีกเลย ถ้ามองแบบโลกสวย ตรงจุดนี้ผมก็ถือว่าประสบความสำเร็จประมาณนึงแล้วนะ
“เจ็ทแมน แอนด์ วินสเปคเตอร์โชว์” ในวันนั้นก็ยังคงเป็นเรื่องราวดีๆ ที่อยู่ในความทรงจำของผมจวบจนทุกวันนี้ ทั้งความเหนื่อยยาก รอยยิ้ม เสียงหัวเราะ ความประทับใจ นึกถึงทีไรเป็นต้องอมยิ้มทุกที (แม้จะมีเรื่องหมดตูดก็ตามที) จำได้ว่าผมแทบไม่เคยให้สัมภาษณ์ในรายละเอียดแบบนี้กับที่ไหนเลยนะเนี่ย และที่เขียนก็ไม่ได้ต้องการจะให้เอาเป็นแบบอย่างนะครับ แน่นอนว่าการจะตัดสินใจทำอะไรสักอย่าง ก็ควรคิดให้รอบคอบ มองผลดีผลเสียให้ดีเสียก่อน แต่สำหรับผมการที่เราจะทำสิ่งที่แทบจะเรียกได้ว่าเกินกำลังหรือเป็นไปไม่ได้ให้เกิดขึ้นจริงได้นั้น มันจะต้องมีความบ้าเข้ามาประกอบด้วยเยอะหน่อย ในสมัยนี้คงเรียกว่า passion ละมั้งครับ
#เจ็ทแมนแอนด์วินสเปคเตอร์โชว์ #JetmanAndWinSpectorShow #Jetman30thAnniversary #วิหคสายฟ้าเจ็ทแมน #น้าต๋อยเซมเบ้ #ไทม์แมชชีน
「jetman30thanniversary」的推薦目錄:
- 關於jetman30thanniversary 在 น้าต๋อยเซมเบ้ FanPage Facebook 的精選貼文
- 關於jetman30thanniversary 在 Jet30! Jetman 30th anniversary cast meet & greet with TokuSpirits ... 的評價
- 關於jetman30thanniversary 在 Flash Antonio - Facebook 的評價
- 關於jetman30thanniversary 在 Buy Planet Coaster: Deluxe Edition | Xbox - Pinterest 的評價
- 關於jetman30thanniversary 在 File Finder - GitHub 的評價
jetman30thanniversary 在 Flash Antonio - Facebook 的推薦與評價
Celebrating the 30th anniversary of Choujin Sentai Jetman (first aired February 15, 1991)! Sharing this photo with an autograph from Toshihide Wakamatsu... ... <看更多>
jetman30thanniversary 在 Buy Planet Coaster: Deluxe Edition | Xbox - Pinterest 的推薦與評價
Rare Replay: Solar Jetman (NES) 30th Anniversary, Replay, Games, Solar. Rare Replay: Solar Jetman (NES). More information. 30th Anniversary. ... <看更多>
jetman30thanniversary 在 Jet30! Jetman 30th anniversary cast meet & greet with TokuSpirits ... 的推薦與評價
Featuring the cast of Choujin Sentai Jetman* Rika Kishida (Kaori Rokumeikan / White Swan)* Tomihisa Naruse (Raita Ooishi / Yellow Owl)* Toshihide Wakamatsu ... ... <看更多>