เห้ยย นี่คือเคยโดนอุบัติเหตุนะ ตอนนั้นเรียนขี่ม้า มันวิ่งเร็วแล้วคือเท้าเรามันหลุดออกมาจากที่เหยียบ คือหลุดปุ้ปเราจะทรงตัวไม่ได้ จังหวะนั้นคือตัวนี่จะหลุดจากม้าแล้วอะ เอียงทำมุม45°กับพื้น
จังหวะนั้นคือเหมือนจิตหลุด หูอื้อ สมองประมวลผลเเล้วว่ากูร่วงแน่ๆกระเเทกพื้นแน่ๆ (คือจังหวะที่คิดนี่แค่เสี้ยววินาทีเลยอะแต่มันเหมือนผ่านไปช้ามาก เห็นภาพเป็น slowmotion) แล้วก็ร่วงจริงๆ ไม่รู้สึกเจ็บ ไม่ร้องไห้ กระแทกพื้นแบบกระเด็นออกเลย
สักพักก็เดินไปหาแม่ แล้วค่อยร้องไห้ พอสติมาเท่านันแหล่ะ เจ็บโคตรๆ อ่านโพสต์นี้เเล้วเข้าใจเลยว่าทำไมร่างกายมันเป็นแบบนั้นนน
cr. แคปชั่นจากเพื่อนคนนึงในเฟสบุ๊คมันบอกให้ตัดชื่อกูออกไปเลยนะ สงสัยไม่อยากมีชื่อในเพจ555555555555555555
"ผู้หญิงที่กำลังถูกข่มขืนมีปฏิกิริยาอย่างไร: ความจริงกับความเชื่อ
เมื่อวานสอนวิชาสัมมนากฎหมายอาญา แล้วถามนักศึกษาว่า "พวกคุณคิดว่าผู้หญิงที่กำลังถูกข่มขืนเค้าจะมีปฏิกิริยาอย่างไร" นักศึกษาทั้งห้อง (11 คน ถามทีละคน) ซึ่งมีทั้งหญิงและชายตอบตรงกันว่าผู้หญิงก็คงจะดิ้นรน ขัดขืน และร้องเรียกให้คนช่วย คำตอบนี้ไม่แตกต่างกันกับคำตอบที่ถามในหลายๆ คลาสที่สอน และกับหลายๆ คนที่พูดคุย
เรามักจะเชื่อกันอย่างนั้นเพราะส่วนใหญ่เราก็ไม่เคยถูกข่มขืน และถึงแม้ตามสถิติแล้วผู้หญิงทั่วโลกโดยเฉลี่ยทุก 1 ใน 5 คน จะเคยถูกข่มขืนหรือถูกพยายามข่มขืน แต่คนที่ผ่านประสบการณ์นี้ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ออกมาพูดให้เราฟัง เราจึงเรียนรู้ประสบการณ์แบบนี้ด้วยจินตนาการ ผ่านทางสื่อต่างๆ ซึ่งสร้างภาพให้เราเห็นว่าผู้หญิงที่ถูกข่มขืนจะดิ้นรนสุดกำลังและเรียกร้องให้คนมาช่วย เพื่อสร้างภาพเหยื่อให้น่าสงสารที่สุด
ผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญและควรต้องคุยกัน และผมไม่คิดว่าเราควรรู้สึกกระอักกระอ่วนที่ต้องพูดเรื่องความผิดเกี่ยวกับเพศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่นักกฎหมาย เพราะเมื่อเรามีความคาดหวังว่าผู้หญิงที่เป็นเหยื่อต้องมีปฏิกิริยาเช่นนี้ แล้วในชีวิตจริงเหยื่อนิ่งเฉยไม่โวยวาย ผู้กระทำความผิดอาจอ้างได้ว่ายินยอม เพราะถ้าไม่ยอมคงดิ้นแล้ว โวยวายแล้ว และเป็นเหตุให้ศาลยกฟ้องได้ (ดู CEDAW/C/57/D/34/2011 และ CEDAW/C/46/D/18/2008) รวมทั้งเป็นการวางตราบาปให้กับผู้หญิงที่ถูกข่มขืนว่าทำไมเราไม่สู้ ทำไมเราไม่หนี ถ้าเราทำแบบนั้น ผลคงไม่เป็นแบบนี้
แล้วผู้หญิงโวยวาย ดิ้นรน และเรียกให้ช่วย..จริงหรือ? หรือถามใหม่ ในทางชีววิทยาผู้หญิงในสภาวะเช่นนั้นโวยวาย ดิ้นรน ร้องให้คนช่วยได้จริงหรือ?
คำตอบอาจทำให้ประหลาดใจ เพราะถึงแม้โดยปกติเมื่อเราเผชิญกับภยันตรายร่างกายเราจะสั่งให้เราเข้าสู่สภาวะเตรียมพร้อมที่จะสู้ หรือหนี (fight or flight) ดวงตาเปิดกว้าง ลูกตาดำกรอกด้วยความเร็ว ได้ยินเสียงทุกอย่างอย่างชัดเจน แต่ถ้าภยันตรายนั้นเป็นภยันตรายที่หนีไม่พ้น และรู้ว่าสู้ไม่สำเร็จ (สมองเราคำนวณความเป็นไปได้เร็วมากว่าจะชนะหรือแพ้ และการคำนวณนี้อยู่เหนือการควบคุมของเรา) และภยันตรายนั้นกระทบทางจิตใจอย่างรุนแรง ซึ่งการคุกคามทางเพศโดยเฉพาะการข่มขืนเป็นภยันตรายที่อยู่ในกลุ่มนี้สมองจะสั่งการให้เราอยู่เฉยๆ แล้วการสั่งการนี้ไม่ใช่การแนะนำของสมองต่อร่างกายนะครับ แต่เป็นการที่สมองยึดครองร่างกายไปจากเรา เพราะตอนนั้นสมองส่วนใช้เหตุผล (prefrontal cortex) จะถูกทำให้ใช้การณ์ไม่ได้ เราอยู่ในสภาวะที่ไม่สามารถสั่งการให้ร่างกายขยับได้่ตามใจ (เหมือนกวางที่ถูกเสือจ้อง) ปฏิกิริยาโดยธรรมชาติของร่างกายเมื่ออยู่ในสภาวะสิ้นหวังนั้น จากตาเปิดกว้างตอนนี้เราจะปิดตาลง ตัวสั่นเทา อุณหภูมิร่างกายลดลง ไม่รู้สึกถึงความเจ็บปวด หมดเรี่ยวแรง และในกรณีที่รุนแรงคือเราไม่รู้สึกถึงตัวตนหรือแยกตัวตนออกจากร่างกายที่ถูกกระทำ เราเรียกปฏิกิริยาทั้งหมดนี้ว่า "tonic immobility"
แน่นอนว่าเราสามารถเอาชนะปฏิกิริยาธรรมชาติพวกนี้ ด้วยการฝึกฝนให้ร่างกายเราคุ้นเคยกับสภาวะหวาดกลัวและสิ้นหวังนั้น เหมือนทหารที่ทำให้คุ้นเคยกับเสียงดงกระสุน เมื่อสมองคุ้นชินความหวาดกลัวรูปแบบนี้ เราก็จะยังสามารถบังคับร่างกายได้ คำถามคือผู้หญิงที่เป็นเหยื่อได้ถูกฝึกหัดให้คุ้นชินกับความหวาดกลัวจากการถูกจู่โจมในทางเพศหรือไม่ ผมคิดว่าเรารู้ว่าคำตอบคือไม่ (เว้นแต่กรณีภรรยาถูกสามีข่มขืนเป็นประจำ แต่นั้นก็อาจอธิบายได้ว่าทำไมภรรยาถึงกล้าตอบโต้สามีมากกว่าผู้หญิงถูกคนแปลกหน้าจู่โจม เพราะภรรยา "อาจ" ไม่ได้หวาดกลัวสามี หรือคุ้นชินกับความหวาดกลัวนั้น เหมือนทหารที่ถูกฝึกฝน)
ผมหวังว่าเพื่อนใน fb ที่เป็นนักกฎหมายรุ่นใหม่เมื่อเป็นผู้พิพากษาแล้ว หรือที่เป็นผู้พิพากษาอยู่เมื่อเจอคดีว่าผู้หญิงไม่ร้อง ไม่หนี ไม่ดิ้น จะเข้าใจปฏิกิริยาทางธรรมชาติของร่างกายได้ดีขึ้น และไม่ตัดสินคดีตามจินตนาการว่าการที่ไม่ร้อง ไม่หนี ไม่ดิ้น แปลว่ายอม ซึ่งนั่นไม่เพียงเป็นการทำลายชีวิตคนที่ถูกทำลายมาแล้วหนึ่งครั้ง แต่ยังเป็นการส่งต่อความเชื่อผิดๆให้กับคนรุ่นต่อไปด้วยครับ
#อย่าให้รุ่นลูกฉลาดเพียงเท่ารุ่นเรา #ข่มขืนไม่ใช่เรื่องล้อเล่น
(รายละเอียดอาการและกรณีศึกษา tonic immobility ดูเพิ่มเติมที่ Fear and the Defense Cascade: Clinical Implications and Management บทความนี้ตีพิมพ์ในวารสารจิตเวชศาสตร์ ของ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย Harvard)
http://journals.lww.com/…/Fear_and_the_Defense_Cascade___Cl…
ส่วนเรื่องการที่สมองส่วนการใช้เหตุผลใช้การไม่ได้เมื่อถูกโจมตีอย่างรุนแรง ดู Stress signalling pathways that impair prefrontal cortex structure and function. ตีพิม์ใน Nature Reviews Neuroscience https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/19455173
ใครไม่อยากอ่านงานเขียนทางแพทย์ยาวๆ (แต่สนุกมากอ่านเถอะ)หรืออ่านเป็นพื้นความรู้ก่อน อาจอ่านได้จากบทความในหนังสือพิมพ์ที่เขียนโดยแพทย์จิตเวชเกี่ยวกับเรื่องนี้ https://www.washingtonpost.com/…/why-many-rape-victims-don…/ "
#มิตรสหายท่านหนึ่ง
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過5萬的網紅健康巴哥,也在其Youtube影片中提到,你知道每一天 人類總共排出約700億氣體 這代表有10個屁是正在觀看影片的你放的 但是你有沒有想過為什麼自己的屁比別人的屁還不臭呢 ?? Levitt, M.D., et al., Evaluation of an extremely flatulent patient. The America...
nature reviews neuroscience 在 臨床筆記 Facebook 的精選貼文
Nature Reviews Neuroscience: Neuroinflammatory and neurodegenerative disorders — as well as normal ageing — are accompanied by changes in endocannabinoid signalling. In this Review, Di Marzo and colleagues discuss the different mechanisms through which endocannabinoid signalling both contributes to and mitigates these conditions, and how they could serve as targets for novel therapeutics. http://bit.ly/1AqbEIs (£)
nature reviews neuroscience 在 快樂小藥師 Facebook 的最讚貼文
Nature Reviews Neuroscience: Cannabinoid receptors and their endogenous ligands, the endocannabinoids, are widely expressed in the brain, particularly in regions that are implicated in mediating reward. In this Review, Parsons and Hurd explore the role of endocannabinoid signalling in natural and drug-induced reward, as well as in addiction. http://bit.ly/1NSANlS
nature reviews neuroscience 在 健康巴哥 Youtube 的最佳貼文
你知道每一天 人類總共排出約700億氣體 這代表有10個屁是正在觀看影片的你放的 但是你有沒有想過為什麼自己的屁比別人的屁還不臭呢 ??
Levitt, M.D., et al., Evaluation of an extremely flatulent patient. The American Jouranl of Gastroenterology, 1998. 93(11): p. 2276-2281
McBurney, D.H., J.M. Levine, and P.H. Cavanaugh, Psychophysical and social ratings of human body odor. Personality and Social Psychology Bulletin, 1976. 135(3): p. 135-138.
Case, T.I., B.M. Repacholi, and R.J. Stevenson, My baby doesn't smell as bad as yours: The plasticity of disgust. Evolution and Human Behaviour, 2005. 27: p. 357-365.
Curtis, V., R. Aunger, and T. Rabie, Evidence that disgust evolved to protect from risk of disease. Proceedings of the Royal Society, 2004. 271: p. 130-134.
Hart, B.L., Behavioural adaptations to pathogens and parasites: five strategies. Neuroscience & Biobehavioral Reviews, 1990. 14: p. 273-294.
Haidt, J., C. McCauley, and P. Rozin, Individual differences in sensitivity to disgust: a scale sampling seven domains of disgust elicitiors. Personality and Individual Differences, 1994. 16(5): p. 701-713.
Somerville, L.H., T.F. Heatherton, and W.M. Kelley, Anterior cingulate cortex responds differently to expectancy violations and social rejections. Nature Neuroscience, 2006. 9(8): p. 1007-1008.
nature reviews neuroscience 在 Nature Reviews Neurology 的相關結果
Nature Reviews Neurology · Search · Explore content · About the journal · Publish with us · Parkinson disease · Featured · Current issue · Announcements. ... <看更多>
nature reviews neuroscience 在 Nature Reviews Neuroscience - Wikipedia 的相關結果
Nature Reviews Neuroscience is a review journal covering neuroscience. It was launched in 2000, and is published by Nature Research, a division of Springer ... ... <看更多>
nature reviews neuroscience 在 Nature Reviews Neuroscience 的相關結果
Published monthly, in print and online, Nature Reviews Neurosciences offers a mix of research news, reviews and opinion. ... <看更多>