◤Taiwan’s big 3 ocean shippers hitting it big, but what’s next?◢
Ocean freight rates have skyrocketed amid shortages of container and bulk cargo space. What key role is Taiwan playing in this industry, and how have its big players set themselves up for success, now and in the future?
>> https://bit.ly/3AzOW2u
---
✹Subscribe to CW English newsletter
https://bit.ly/3kqYCY6
---
✹More stories to follow. Please visit
https://bit.ly/3ihoXGG
#Evergreen #YangMing #WanHai #containers
ocean freight 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
หุ้นกลุ่มเดินเรือ กำลังกลับมาร้อนแรง /โดย ลงทุนแมน
ถ้าถามว่า นับจากต้นปีมานี้ หุ้นกลุ่มไหนที่ปรับตัวขึ้นมาอย่างร้อนแรงบ้าง
หนึ่งในนั้นน่าจะมีหุ้นกลุ่มเดินเรือรวมอยู่ด้วย
อุตสาหกรรมเดินเรือ ดูเหมือนจะเป็นอีกธุรกิจหนึ่ง
ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด 19 ในช่วงแรก ๆ
แต่เวลาผ่านไปไม่นาน ทำไมหุ้นกลุ่มนี้ จึงกลับมาร้อนแรงอีกครั้ง ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ก่อนอื่นเรามาดูกันก่อนว่า ตั้งแต่ต้นปี 2021
หุ้นกลุ่มเดินเรือรายใหญ่ในตลาดหุ้นไทย 3 ตัว มีมูลค่าบริษัทปรับเพิ่มขึ้นมาเท่าไร
1. บริษัท อาร์ ซี แอล จำกัด (มหาชน) หรือ RCL มูลค่าบริษัท เพิ่มขึ้นประมาณ 61%
2. บริษัท พรีเชียส ชิพปิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือหุ้น PSL มูลค่าบริษัท เพิ่มขึ้นประมาณ 47%
3. บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TTA มูลค่าบริษัท เพิ่มขึ้นประมาณ 36%
ซึ่งหุ้นทั้ง 3 ตัว ปรับตัวขึ้นมากกว่าตลาดหุ้นไทยที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาประมาณ 9%
ที่เป็นแบบนี้ ส่วนหนึ่งก็เนื่องมาจาก
นักลงทุนกำลังคาดหวังว่า รายได้ของบริษัทเดินเรือเหล่านี้กำลังจะเติบโตมากขึ้นในอนาคต
โดยรายได้ของบริษัทเดินเรือนั้น หลัก ๆ คือมาจาก
“ค่าระวางเรือ (Ocean Freight Charges)” หรือค่าขนส่งสินค้าไปทางเรือ ซึ่งจะคิดคำนวณจากรายละเอียดการขนส่ง เช่น ระยะทางการขนส่ง ประเภทของสินค้า น้ำหนักของสินค้า
และปัจจุบัน หุ้นกลุ่มเดินเรือในตลาดหุ้นไทยนั้น มีอยู่ 2 กลุ่มหลัก ๆ คือ
1. กลุ่มเดินเรือเทกอง หมายถึง เรือที่ขนสินค้าครั้งละมาก ๆ โดยไม่มีภาชนะบรรจุสินค้า
ซึ่งสินค้าพวกนี้ ก็อย่างเช่น แร่เหล็ก ถ่านหิน สินค้าเกษตร ซึ่งหุ้นที่อยู่ในกลุ่มนี้คือ หุ้น TTA และ PSL
โดยหุ้นกลุ่มนี้ มีดัชนีค่าระวางเรือที่เกี่ยวข้องก็คือ BDI (Baltic Dry Index)
2. กลุ่มเดินเรือที่ขนส่งสินค้าโดยบรรจุอยู่ในตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งหุ้นที่อยู่ในกลุ่มนื้คือ หุ้น RCL
โดยจะมีดัชนีค่าระวางเรือที่เกี่ยวข้อง คือ CCFI (China Containerized Freight Index) และ SCFI (Shanghai Containerized Freight Index)
หลายปีก่อนหน้านี้ อุตสาหกรรมขนส่งสินค้าทางเรือนั้นค่อนข้างซบเซา
เนื่องจากภาวะ Oversupply หรือปริมาณเรือในอุตสาหกรรมที่มีมากเกินไป ในช่วงปี 2551-2559
ภาวะอุตสาหกรรมที่ไม่สู้ดีนักมาหลายปี ยังถูกซ้ำเติมด้วยสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาในปี 2561
พอเรื่องเป็นแบบนี้ จึงส่งผลต่อห่วงโซ่อุปทานการค้าทั่วโลกอย่างหนัก และส่งผลกระทบอย่างหนักต่อหุ้นกลุ่มเดินเรืออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
พอสงครามการค้าเริ่มจะเบาบางลงไป อุตสาหกรรมเดินเรือขนส่งสินค้าทำท่าจะกลับมาฟื้นตัว ก็ดันมาเกิดการแพร่ระบาดของโควิด 19 ตั้งแต่ปลายปี 2562 อีก จนสร้างฝันร้ายให้แก่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเดินเรือขนส่งสินค้า และแน่นอนว่าคนที่ลงทุนในหุ้นกลุ่มเดินเรือด้วย
แม้ว่า ผลกระทบจากโควิด 19 ทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก
การปิดเมือง ส่งผลโดยตรงต่อความต้องการขนส่งสินค้าทางเรือ
แต่อีกด้านหนึ่ง เรื่องนี้ก็ทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ เนื่องจากมีตู้คอนเทนเนอร์ จำนวนมากที่ยังคงตกค้างอยู่ในสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป
นอกจากนี้ การชะลอตัวของอุตสาหกรรมในช่วงหลายปีก่อนหน้า
ประกอบกับการที่สถาบันการเงินหลายแห่งไม่ปล่อยกู้ให้แก่บริษัทเดินเรือ เพื่อนำไปต่อเรือใหม่ ก็ส่งผลให้อุปทานของเรือใหม่ ๆ ในอุตสาหกรรมลดลงตามไปด้วย
แต่นับตั้งแต่ครึ่งปีหลังของปี 2563 เศรษฐกิจโลกก็เริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัว
ประกอบกับการมาของวัคซีนป้องกันโควิด 19
ทำให้อุปสงค์ในการขนส่งสินค้าเริ่มกลับมาเพิ่มมากขึ้นอีกครั้ง
เมื่อความต้องการขนส่งสินค้าเพิ่มมากขึ้น
ขณะที่อุปทานเรือสำหรับขนส่งยังมีจำกัด และยังพ่วงด้วยปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้
พอเรื่องเป็นแบบนี้ จึงทำให้บริษัทเดินเรือ มีอำนาจในการต่อรองราคากับลูกค้า ในเรื่องของการเก็บค่าระวางสำหรับการส่งสินค้าให้เพิ่มสูงขึ้น
ซึ่งเรื่องนี้ได้สะท้อนออกมาผ่านดัชนี ที่สะท้อนราคาค่าระวางประเภทต่าง ๆ
ลองมาดูการปรับตัวของดัชนี BDI ดัชนี CCFI และ ดัชนี SCFI ในช่วงที่ผ่านมา
ณ สิ้นปี 2562
- ดัชนี BDI อยู่ที่ 976 จุด
- ดัชนี CCFI อยู่ที่ 879 จุด
- ดัชนี SCFI อยู่ที่ 959 จุด
ณ สิ้นปี 2563
- ดัชนี BDI อยู่ที่ 1,366 จุด
- ดัชนี CCFI อยู่ที่ 1,659 จุด
- ดัชนี SCFI อยู่ที่ 2,783 จุด
ดัชนี BDI ปรับขึ้นมา 40% ดัชนี CCFI ปรับขึ้นมา 89% และดัชนี SCFI ปรับขึ้นมา 190%
และเรื่องนี้จึงทำให้นักลงทุนเริ่มเพ่งความสนใจมายังหุ้นกลุ่มเดินเรือกันมากขึ้น
ส่งผลให้ราคาหุ้นของบริษัทเดินเรือเหล่านี้ ปรับตัวขึ้นอย่างร้อนแรงในช่วงที่ผ่านมา
เพราะคาดว่า ผลประกอบการของหุ้นกลุ่มนี้จะดีขึ้นมากในอนาคต
อย่างไรก็ตาม หุ้นกลุ่มเดินเรือนั้น มักถูกมองว่าเป็นหุ้นวัฏจักร (Cycle Stock) เนื่องจากผลประกอบการที่มักจะขึ้น ลงเป็นรอบ ๆ ซึ่งรอบหนึ่งบางครั้งก็อาจใช้เวลาเป็นสิบปี
ที่เป็นแบบนี้ เนื่องจากช่วงเวลาที่ดัชนีค่าระวางเรือสูง หมายถึง ช่วงที่อุตสาหกรรมเดินเรือส่งสินค้า กำลังเฟื่องฟู ความต้องการขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก
เมื่อความต้องการขนส่งทางทะเลเพิ่มขึ้นมาก
บริษัทหลายแห่งในอุตสาหกรรม ก็มักจะส่งคำสั่งให้มีการสร้างเรือขนส่งสินค้ากันมาก
และเนื่องจากระยะเวลาก่อสร้างเรือนั้นใกล้เคียงกัน จึงทำให้มีเรือขนส่งสินค้าออกมาจำนวนมาก และนำไปสู่ภาวะ Oversupply ได้ จนสุดท้าย ก็จะทำให้ดัชนีค่าระวางเรือนั้น ค่อย ๆ ลดลงอีกครั้ง
เมื่อดัชนีค่าระวางเรือลดลง หลายบริษัทก็ต้องประสบกับภาวะขาดทุน เพราะรายได้เข้ามาไม่คุ้มต้นทุนที่เสีย
จนบางบริษัทต้องออกจากอุตสาหกรรมไป ปริมาณเรือที่ใช้ขนส่งในอุตสาหกรรมนี้ก็จะลดลงอีกครั้ง
และเมื่อมีความต้องการขนส่งสินค้าเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้ง ปริมาณเรือที่น้อย จึงดันให้ดัชนีค่าระวางเรือเพิ่มสูงอีกครั้ง จนนำไปสู่การสร้างเรือใหม่ วนเวียนแบบนี้เรื่อย ๆ เป็นวัฏจักร
อีกหนึ่งประเด็นที่ลืมไม่ได้ก็คือ ความผันผวนของราคาน้ำมันที่เป็นสินค้าโภคภัณฑ์
ซึ่งนับเป็น ต้นทุนหลัก ของบริษัทเดินเรือ
ช่วงที่ราคาน้ำมันต่ำลง ต้นทุนของบริษัทเดินเรือก็จะลดลงจนทำให้บริษัทอาจมีกำไรเพิ่มขึ้นมาก แม้ว่าปริมาณการขนส่งสินค้าอาจจะลดลง
ในทางกลับกันช่วงที่ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น บริษัทเดินเรืออาจขาดทุน แม้ว่าปริมาณการขนส่งสินค้าอาจจะเพิ่มขึ้นก็ตาม
ดังนั้น การลงทุนในหุ้นกลุ่มเดินเรือที่มีลักษณะเป็นหุ้นวัฏจักร และมีปัจจัยเรื่องความผันผวนของต้นทุน อย่างเช่น ราคาน้ำมัน เราจึงควรต้องทำความเข้าใจภาพรวมของอุตสาหกรรม และปัจจัยความผันผวนเหล่านี้ให้ดี
เพราะถ้าเราเข้าไปลงทุนได้ถูกจังหวะเวลา เราก็สามารถทำกำไรจากการลงทุนได้
แต่ในทางกลับกัน ถ้าเราเข้าไปลงทุนผิดจังหวะ มันก็อาจเป็นฝันร้ายของเราได้ เช่นกัน..
หมายเหตุ: บทความนี้ไม่ได้มีเจตนาชี้นำให้ซื้อหรือขายหุ้นเหล่านี้ การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้ครบถ้วนก่อนการตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-รายงานประจำปี 2562, บริษัท พรีเชียส ชิพปิ้ง จำกัด (มหาชน),บริษัท อาร์ ซี แอล จำกัด (มหาชน) และบริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน)
-คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ประจำปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค. 2562-2563, บริษัท พรีเชียส ชิพปิ้ง จำกัด (มหาชน), บริษัท อาร์ ซี แอล จำกัด (มหาชน) และบริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน)
-https://en.macromicro.me/charts/947/commodity-ccfi-scfi
-https://www.investidea.in.th/2012/12/blog-post_24.html
-https://www.stock2morrow.com/discuss/room/1/topic/25733
ocean freight 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
รู้จัก “ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์” ธุรกิจโลจิสติกส์ครบวงจรของคนไทย ที่เติบโตและก้าวเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ mai
ถ้าพูดถึงธุรกิจโลจิสติกส์
หลายคนนึกถึง ธุรกิจที่เน้นบริการด้านการขนส่ง
แต่ความจริงแล้ว…
การขนส่ง เป็นเพียงรูปแบบบริการหนึ่งของธุรกิจโลจิสติกส์เท่านั้น
บริการของธุรกิจโลจิสติกส์จริงๆ แล้ว มีอะไรบ้าง
และธุรกิจโลจิสติกส์ มีความน่าสนใจอย่างไร?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
คำว่า “โลจิสติกส์” ถูกพูดถึงบ่อยครั้งในช่วงเวลาที่ผ่านมา
ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะว่า โลจิสติกส์เป็นหนึ่งยุทธศาสตร์สำคัญ
ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564)
ที่จะช่วยผลักดันให้ประเทศไทย ก้าวสู่การเป็นศูนย์การทางการค้าระดับภูมิภาคอาเซียน
ธุรกิจโลจิสติกส์กำลังเติบโตไปตามเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน
โลก ที่มีการค้าขายระหว่างประเทศมากขึ้น
ซึ่งตามมาด้วยความต้องการการขนส่งสินค้าทั่วโลกที่มากขึ้น
ด้วยเหตุนี้ เราจึงเห็นธุรกิจโลจิสติกส์ เริ่มขยายธุรกิจเพื่อรองรับความต้องการขนส่งสินค้าทั่วโลกที่มากยิ่งขึ้น
โดยกลยุทธ์ที่สำคัญในการทำธุรกิจนี้ ก็คือ การมีบริการโลจิสติกส์แบบ “ครบวงจร”
ซึ่งหนึ่งบริษัทที่ให้การบริการโลจิสติกส์แบบครบวงจรที่น่าสนใจในตอนนี้
คือ บริษัท ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า LEO
LEO เริ่มดำเนินธุรกิจโลจิสติกส์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534
โดยมีจุดเริ่มต้นธุรกิจด้วยการให้บริการขนส่งสินค้าทางทะเล ที่เรียกว่า Sea Freight
ซึ่งได้รับผลตอบรับที่ดี และเริ่มขยายรูปแบบบริการใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ปัจจุบัน LEO ให้บริการโลจิสติกส์ครบวงจร ประกอบด้วย
1. บริการขนส่งสินค้าทางทะเล (Sea Freight)
2. การขนส่งสินค้าทางอากาศ (Air Freight)
3. การบริการสนับสนุนโลจิสติกส์แบบครบวงจร (Integrated Logistics Services - ILS) อาทิ บริการด้านพิธีการศุลกากร, บริการรถบรรทุก, บริการบรรจุหีบห่อสินค้า, บริการคลังสินค้าและกระจายสินค้า รวมถึงการประกันภัยสินค้า
4. พื้นที่สำหรับเก็บของ (LEO Self Storage - LSS) และลานเก็บตู้คอนเทนเนอร์ (Container Depot)
จะเห็นว่า จริงๆ แล้วคำว่า โลจิสติกส์ ไม่ได้มีแค่เรื่องการขนส่งเพียงเท่านั้น แต่ยังมีบริการอย่างอื่น ที่มาสนับสนุนการขนส่ง เช่น การบริการคลังสินค้า การบรรจุหีบห่อหรือบริการอำนวยความสะดวกด้านการดำเนินพิธีการศุลกากรอีกด้วย
และด้วยความเชี่ยวชาญ และไม่หยุดนิ่งในการให้บริการโลจิสติกส์แบบครบวงจร ทำให้ LEO กลายเป็นธุรกิจโลจิสติกส์สัญชาติไทย ที่มีการบริการครอบคลุมทั่วโลกแบบครบวงจร (End-to-End Global Logistics Services) และมีพันธมิตรมากกว่า 1,000 แห่ง ใน 846 เมือง ของ 190 ประเทศทั่วโลก
ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ลูกค้าจากหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรม ให้ความไว้วางใจในการบริการของ LEO มาโดยตลอด
อาทิ ลูกค้ากลุ่มชิ้นส่วนยานพาหนะ, ปิโตรเคมีและเม็ดพลาสติก, อาหารและสินค้าเกษตร, อุปกรณ์และวัสดุก่อสร้าง,เคมีภัณฑ์และกลุ่มลูกค้า E-Commerce
สิ่งที่น่าสนใจคือ
แม้ตลาดการให้บริการโลจิสติกส์ในปัจจุบัน
จะกำลังมีการแข่งขันกันด้านราคาอย่างดุเดือด
ถึงขนาดที่หลายคนบอกว่า ตลาดนี้เป็นทะเลเลือด หรือ “Red Ocean”
แต่ LEO ก็ยังคงรักษาฐานลูกค้าเดิมไว้ได้อย่างเหนียวแน่น
และพยายามสร้างความแตกต่างและหาช่องว่างทางการตลาดที่ยังเป็น “Blue Ocean” ให้กับตัวเองอย่างสม่ำเสมอ
โดย LEO เลือกใช้ 4 กลยุทธ์สำคัญ คือ
1. พัฒนาและการนำเสนอบริการใหม่ๆ เพื่อช่วยลูกค้าประหยัดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่ง
2. พัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าในยุค Digitalization เช่นการพัฒนา แอปพลิเคชัน “Book Leoy” เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงบริการได้ง่ายขึ้น เช่น การจองค่าระวางการขนส่งสินค้าทางเรือ, การขนส่งเอกสารและพัสดุด่วน, การจองรถบรรทุก
3. พัฒนาบุคลากรภายใต้โครงการ “LEO Academy” ให้บุคลากรขององค์กรเป็นทรัพยากรที่ทรงคุณค่า
4. ขยายเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างระบบนิเวศ (Ecosystem) ที่ดีในการให้บริการ
จะเห็นได้ว่า LEO ให้ความสำคัญทั้งในด้านบริการ, เทคโนโลยี, บุคลากร และพันธมิตรธุรกิจ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่สะท้อนถึงความเป็นมืออาชีพของผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์มาโดยตลอด จนทำให้ได้รับรางวัล Prime Minister's Export Award 2019 (PM AWARD) ในสาขา Best Service Enterprise ด้าน Logistics Services และรางวัล Excellent Logistics Management Award (ELMA) สาขาผู้ให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ จากกระทรวงพาณิชย์ ในปี 2019 ที่ผ่านมา
นอกจากนี้ แม้ในช่วงครึ่งปีแรกที่เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกได้รับผลกระทบจากโควิด 19 แต่ LEO ก็ยังสามารถประคองตัวรักษาระดับยอดขายและกำไรให้ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา แต่รายได้จากการให้บริการ Air Freight กลับเพิ่มขึ้น แม้จะมีปริมาณสายการบินในตลาดที่น้อยลงมาก สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการบริหารจัดการของ LEO ได้เป็นอย่างดี
สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างคือ ธุรกิจโลจิสติกส์ เป็นธุรกิจที่อยู่คู่กับการค้าและการส่งออก และยิ่งหากเศรษฐกิจกลับมาขยายตัว ธุรกิจโลจิสติกส์ก็จะได้ผลดี รวมทั้งกลุ่ม E-Commerce ซึ่งเป็นลูกค้าหลักกลุ่มหนึ่งของบริษัทก็มีแนวโน้มการเติบโตอีกมากในอนาคต จึงเป็นโอกาสดีในการเติบ
โตของ LEO ในอนาคต
และก้าวต่อไปนับจากนี้ของ LEO ก็คือ…
LEO ได้ขยายธุรกิจครั้งใหญ่ในลักษณะ Exponential Growth
โดยการนำธุรกิจเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ในเดือนพฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2563
เพื่อระดมเงินทุน 410 ล้านบาท ไปพัฒนาบริการโลจิสติกส์ครบวงจร ให้ให้มีการเติบโตและมีการพัฒนาการที่ดียิ่งขึ้น
ซึ่งทาง LEO จะมีอะไรใหม่ๆ ในการให้บริการโลจิสติกส์ครบวงจร
ก็เป็นเรื่องที่น่าติดตามไม่น้อยเลยทีเดียว..
หมายเหตุ: บทความนี้ไม่ได้มีเจตนาชี้นำให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ดังกล่าว การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดศึกษาข้อมูลให้ครบถ้วนก่อนตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง
ocean freight 在 ocean freight的意思 - 漢語網 的相關結果
片語. Ocean n Freight Forwarder遠洋貨運代理人. ocean n freight海運運費. Ocean n freight rates海運運費率. Ocean Shipping Freight遠洋航運市場. ... <看更多>
ocean freight 在 International Ocean Freight - Shipping Rates [November 2021 ... 的相關結果
In ocean freight shipping, goods are packed in shipping containers, the freight forwarder books the space or container with the ship agent, cargo is trucked to ... ... <看更多>
ocean freight 在 海運OCEAN FREIGHT - 舟際運通有限公司|報關|海運|空運 ... 的相關結果
OCEAN FREIGHT /TO DOOR SERVICE / LOGISTIC SERVICE. ○ FCL / LCL SERVICE ○ DOOR TO DDOR SERVICE / CUSTOMS CLEARANCE, DELIVERY ... <看更多>