留意下身邊有冇病患者啦!
#TO公主癌患者
坊間有「公主癌」呢個名詞,意指女生事事要人遷就,自我中心,以為自己係公主般時刻要受寵愛。
其實如果一個人有嚴重公主癌,可能確實係患上一種病,精神科醫生稱呢個病為人格障礙,患者可以係女性或男性。
人格障礙係指一個人嘅性格長期喺生活上造成人際關係方面嘅困難,患者難以控制自己情緒同行為,令自己、身邊人難過困擾。
人格障礙嘅成因並未完全確定,好大可能係天生或者因童年經歷而影響。
人格障礙可以分為以下10種:
1. 自戀型人格(narcissistic personality):可能就係公主癌嘅症狀,渴望權力同其他人嘅注目,覺得自己比其他人重要,時常剝削其他人。
2. 偏執型人格(paranoid personality):成日覺得人哋對你有惡意,自己亦會憎恨其他人,造成跟身邊人嘅磨擦,容易會投訴同事、鄰居,可能會演變成忘想症(delusional disorder)。
3. 類分裂型人格(schizoid personality):完全冇興趣同任何人溝通,斷絕自己同世界嘅接觸。
4. 分裂型人格(schizotypal personality):思想行為古怪,有幻覺幻聽,有較大機會患有精神分裂症(schizophrenia)。
5. 反社會型人格(antisocial personality):衝動而且唔識關心別人感受,唔會從錯誤中學習,唔少患者都有多次嘅犯罪紀錄,監獄裏有高達一半嘅人有呢種人格障礙。
6. 邊緣型人格(borderline personality):自我價值低,時常有空虛感,好需要同別人建立關係,但又冇法子維持長久嘅關係,有自毀傾向。
7. 表演型人格(histrionic personality):自我中心,非常著重自己外表,時常過份誇張地表現出自己强烈嘅情緒,就好似覺得自己係世界嘅主角一樣。
8. 強迫型人格(obsessive compulsive personality):完美主義者,時常檢查事物,擔心自己做錯。有好高嘅道德標準,對身邊人有過高要求。
9. 迴避型人格(avoidant personality):緊張焦慮,冇安全感,缺乏自信,對批評相當敏感,傾向逃避社交。
10. 依賴型人格(dependent personality):被動,依賴別人為自己做決定,只做人哋想自己做嘅事。
參考資料:青山醫院精神健康學院 黃美彰醫生
__________________________________
想睇精彩短片,即去:http://bit.ly/2IRwZ8a
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
「paranoid schizophrenia」的推薦目錄:
- 關於paranoid schizophrenia 在 RoadShow 路訊網 Facebook 的最讚貼文
- 關於paranoid schizophrenia 在 UnPuwanart Greenwave fan page Facebook 的最佳解答
- 關於paranoid schizophrenia 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的精選貼文
- 關於paranoid schizophrenia 在 大象中醫 Youtube 的最讚貼文
- 關於paranoid schizophrenia 在 大象中醫 Youtube 的精選貼文
- 關於paranoid schizophrenia 在 How Paranoid Schizophrenia Impacts My Life - A Day in the Life 的評價
paranoid schizophrenia 在 UnPuwanart Greenwave fan page Facebook 的最佳解答
ไว้อาลัยให้ John Nash
นักคณิตศาสตร์รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์จาก Game Theory
อ่านทฤษฎีจบฉลาดขึ้นเลย ชอบอะไรแบบนี้จริง
----------------------------
ทฤษฎีเกมส์กับ John Nash (A Beautiful Mind)
คอลัมน์ ระดมสมอง
โดย เพสซิมิสต์ ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 3770 (2970)
ทฤษฎีเกมที่จะต้องนำมาใช้ในกรณีดังกล่าว เป็นทฤษฎีที่คิดค้นขึ้นมาก่อนหน้าแล้ว ซึ่งเรียกว่า Prisoner"s Dilemma และเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ของนักเรียนเศรษฐศาสตร์และมักจะถูกนำไปใช้ในการแยกการสอบสวนผู้ต้องหา ซึ่งเข้าใจได้จากตารางข้างล่างนี้
สมมติว่าโจร 2 คนร่วมกันขโมยของในบ้านหลังหนึ่ง แล้วนำสินทรัพย์ที่ขโมยมาไปซ่อนเอาไว้ แต่ต่อมาถูกจับกุมได้ ตำรวจจึงจับไปแยกสอบสวนโจรทั้งสองคน ซึ่งหากโจรทั้งสองคนปากแข็ง และไม่ทรยศต่อกัน โจรทั้งสองก็จะถูกจำคุกเพียง 2 ปี ในฐานะบุกรุก (D) ซึ่งเป็นโทษเบา และเป็นแนวทางที่เป็นประโยชน์กับทั้งสองมากที่สุด อย่างไรก็ดี ต่างคนต่างจะต้องระแวงว่า อีกคนหนึ่งจะยอมสารภาพกับตำรวจและทรยศกับตนหรือไม่ เช่น กรณีที่โจร ก.ยอมสารภาพ และโจร ข.ไม่สารภาพ โจร ก.ก็จะติดคุกเพียง 1 ปี แต่โจร ข.จะโดนโทษหนักคือติดคุก 10 ปี (B) ในทำนองเดียวกัน หากโจร ข.สารภาพ แต่โจร ก.ปากแข็ง โจร ก.ก็จะได้รับโทษจำคุก 10 ปี และโจร ข. 1 ปี (C) กล่าวโดยสรุป คือ การสอบสวนแยกกัน มักจะทำให้ตำรวจสามารถกดดันให้โจรทั้งสองคนสารภาพได้ และต้องจำคุกไปคนละ 5 ปี (A) ทั้งๆ ที่หากโจรทั้งสองยึดมั่นที่จะร่วมมือกันแล้ว ก็จะต้องจำคุกกันคนละ 2 ปีเท่านั้น ซึ่ง Prof Rubinstein ชี้ให้เห็นว่า ทฤษฎี prisoner"s dilemma นี้ ใกล้เคียงกับปัญหาการจีบผู้หญิงผมบลอนด์มากกว่า แต่ไม่ได้เป็นทฤษฎีที่ John Nash คิดค้นขึ้นมาจนได้รับรางวัลโนเบลในที่สุด
John Nash นั้น ถือได้ว่าเป็นอัจฉริยะจริงๆ เพราะเขาจบปริญญาเอกขณะที่อายุเพียง 22 ปี ในปี ค.ศ.1950 และวิทยานิพนธ์ของเขานั้น มีความยาวเพียง 27 หน้า และวิทยานิพนธ์ดังกล่าว คือสาเหตุที่ทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลเมื่อปี 1994 อาจารย์ของ Nash สมัยที่เรียนจบปริญญาตรีเขียน Letter of Recommendation สั้นๆ เพียงประโยคเดียว (แต่ทำให้เขาได้เรียนต่อและจบปริญญาเอกที่ Princeton) คือ "This man is a genius"
แต่ก็เป็นอย่างที่เราได้เห็นจากภาพยนตร์ A Beautiful Mind ว่า Nash นั้น เป็นโรคจิตที่เรียกว่า paranoid schizophrenia นานกว่า 30 ปี ทำให้เขาเขียนบทความทางวิชาการครั้งสุดท้ายเมื่อปี 1958 ในช่วงที่เขามีอาการของโรคอย่างหนักนั้น มหาวิทยาลัย Princeton ยินยอมที่จะให้เขาเดินไปเดินมาอยู่ที่โรงอาหารของมหาวิทยาลัย และให้เขาสามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้ แต่ที่น่าแปลกคือการยืนยันของภรรยาของเขาไม่ให้นำตัวเขาเข้าไปกักตัวในโรงพยาบาลนั้นในที่สุด ทำให้อาการของเขาดีขึ้น และในที่สุดคณะกรรมการโนเบลก็กล้าที่จะให้รางวัลกับเขา ซึ่งเป็นการแสดงออกว่าการเป็นโรคประสาทนั้น ไม่ควรที่จะตัดสิทธิในการได้รับรางวัลโนเบลแต่อย่างใด
กลับมาคุยกันในเชิงวิชาการว่า ทฤษฎีเกมนั้น มีความสำคัญอย่างไร คำตอบแบบพื้นฐานก็คือแบบจำลองปกติ ของนักเศรษฐศาสตร์นั้น จะตั้งสมมติฐานว่าตลาดจะมีผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนหลายหมื่น หลายแสนราย แต่ละคนจึงมีความสำคัญน้อย และการกระทำของคนคนหนึ่งจะไม่กระทบต่อการกระทำของคนอีกคนหนึ่ง นอกจากนั้น ในกรณีดังกล่าวจุดดุลยภาพ (equilibrium) ของตลาด จะมีจุดเดียว และค้นพบได้ง่าย และการพิสูจน์ว่าดุลยภาพดังกล่าวมีเสถียรภาพก็จะเป็นเรื่องที่พิสูจน์ง่ายเช่นกัน
แต่ทฤษฎีเกมนั้น เป็นการวิเคราะห์กรณีซึ่งมี "ผู้เล่น" น้อยราย ดังนั้น พฤติกรรมของผู้เล่นคนหนึ่งย่อมจะส่งผลต่อผู้เล่นคนอื่นๆ ดังนั้น ผู้เล่นแต่ละคนจะต้องคาดการณ์ว่าผู้เล่นคนอื่นๆ จะทำอะไร ซึ่งมีความเป็นไปได้หลายประการ และเมื่อทราบแล้ว หรือคาดการณ์แล้ว ผู้เล่นคนอื่นๆ ก็จะมีการตอบสนองที่แตกต่างกันออกไป กล่าวคือ จุดดุลยภาพอาจมีหลายจุด หรืออาจไม่มีเลย ดังนั้น การแสวงหาในเชิงทฤษฎีว่ามีจุดดุลยภาพหรือไม่ และเป็นจุดดุลยภาพหรือไม่ ย่อมจะเป็นเรื่องที่พิสูจน์ได้ยากยิ่งในเชิงวิชาการ และจะต้องใช้คณิตศาสตร์ระดับสูงในการแสวงหาคำตอบดังกล่าว
ในช่วงแรกของการคิดค้นทฤษฎีเกมนั้น จะเน้นถึงการช่วงชิงแก่งแย่งของฝ่ายต่างๆ ซึ่งสะท้อนว่า หากกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดได้ประโยชน์มากขึ้น อีกกลุ่มหนึ่งก็ย่อมจะต้องสูญเสียประโยชน์หรือในภาษาวิชาการ คือเป็น Zero sum game นั่นเอง แต่ทฤษฎีของ Nash มีความสำคัญ เพราะ Nash สามารถพิสูจน์ได้ว่าการแก่งแย่งช่วงชิงระหว่างกันนั้น สามารถแสวงหาจุดดุลยภาพที่มีเสถียรภาพได้ ซึ่งเป็นจุดริเริ่มของการนำเอาทฤษฎีของ Nash ไปใช้ในการวิเคราะห์การเจรจาต่อรองระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง หรือแม้กระทั่งการคาดการณ์กลยุทธ์ของฝ่ายตรงกันข้าม ดังนั้น นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่จึงจะเคยได้ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีของ Nash โดยเฉพาะคำว่า Nash equilibrium นั้น จะเป็นคำที่คุ้นหูคุ้นตามาก แต่ก็ไม่ใช่ว่า Nash equilibrium หรือจุดดุลยภาพที่ได้มาจากทฤษฎีของ Nash นั้น จะสะท้อนความเป็นจริงเสมอไป เช่น Prof Rubinstein ตั้งโจทย์ให้คน 2 คน เลือกตัวเลขตัวหนึ่งระหว่าง 180 ถึง 300 โดยมีเงื่อนไขว่า คนที่เลือกตัวเลขต่ำกว่า จะได้เงินเท่ากับจำนวนของตัวเลขที่เลือกบวกกับอีก 5 บาท โดยชัยชนะ คือการได้เงินมากกว่าคู่แข่ง จะเห็นได้ว่า การเลือก 300 จะไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้อง เพราะหากคู่แข่งของเรา เลือก 299 เขาก็จะได้เงินทั้งสิ้น 299 + 5 = 304 ในกรณีนี้ Nash equilibrium จะอยู่ที่ 180 กล่าวคือทั้งสองคนจะเลือกตัวเลขต่ำสุดเพราะจะไม่มีใครเสียเปรียบใคร (เพราะจะได้เงินเท่ากัน)
แต่ Prof Rubinstein ได้ขอให้ผู้ที่เข้าฟังปาฐกถาของเขาใน 8 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทยตอบโจทย์ดังกล่าวข้างต้น และพบว่าคำตอบไม่ได้อยู่ที่ 180 แต่เฉลี่ยแล้วจะอยู่ที่ 250-280 โดยในกรณีของคนไทย มีค่าเฉลี่ยของคำตอบที่ 250 และคำตอบที่พบบ่อยที่สุดคือ 300 กล่าวคือ คนส่วนใหญ่มักจะใช้สัญชาตญาณมากกว่า และมีเพียง 30% เท่านั้นที่ตอบตามการคาดการณ์ของทฤษฎี
อีกเกมหนึ่งตั้งโจทย์ว่า มีโรงแรมเรียงอยู่บนชายหาด 7 โรงแรม โดยเรียงลำดับเบอร์ 1 ถึง 7 และมีการประมูลให้เปิดร้านกาแฟ 2 ร้าน โดยมีสมมุติฐานว่า คนจะมาดื่มกาแฟในร้านที่ใกล้มากที่สุด (ยี่ห้อกาแฟไม่สำคัญ) ในกรณีดังกล่าว Nash equilibrium คือร้านกาแฟทั้งสองร้านก็จะตั้งที่โรงแรมเบอร์ 4 ซึ่งอยู่กึ่งกลางพอดี และทั้งสองก็จะได้ส่วนแบ่งตลาดเท่ากัน แต่หากเพิ่มจำนวนร้านกาแฟเป็น 3 ร้าน คำตอบที่ถูกต้องตาม Nash equilibrium ไม่ใช่การที่ทั้ง 3 ร้าน ตั้งอยู่ที่โรงแรมเบอร์ 4 (เพราะแต่ละร้านกาแฟจะได้ส่วนแบ่งตลาดเท่ากันคือ 33%) จุดเปิดร้านกาแฟที่เหมาะสม หากเชื่อว่ามีคนจะเปิดร้านกาแฟที่โรงแรม 4 อย่างแน่นอน คือการไปตั้งร้านกาแฟที่โรงแรม 3 และโรงแรม 5 เพราะโรงแรม 3 จะได้ลูกค้าโรงแรม 1, 2, 3 ส่วนร้านกาแฟที่โรงแรม 5 จะได้ลูกค้าที่โรงแรม 5, 6, 7 กล่าวคือ คนควรจะเลือก 3 กับ 5 มากกว่า 4 แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังเลือก 4 อยู่ดี เกี่ยวกับเรื่องนี้ Prof Rubinstein ให้ข้อสังเกตว่า มนุษย์มีแนวโน้มที่จะเดินสายกลางซึ่งมีคนไปใช้วิเคราะห์การเมืองว่านักการเมืองนั้น แม้ว่าจะสังกัดพรรคต่างกันแต่ก็จะพยายามเสนอนโยบายสายกลางเหมือนๆ กัน เพราะรู้ว่าการเสนอนโยบายดังกล่าวมักจะเรียกคะแนนเสียงได้มากที่สุด
อีกเกมหนึ่งตั้งโจทย์ว่า มีเงินอยู่ 100 บาท และให้เราแบ่งเงินนี้ให้กับอีกคนหนึ่งในจำนวนใดก็ได้ แต่มีเงื่อนไขว่า หากคนนั้นไม่ยอมรับเงินดังกล่าว ทั้งสองคนก็จะไม่ได้เงินสักบาทเดียว Nash equilibrium คือ เราจะสามารถเสนอเงินให้คนนั้น 0-1 บาท ก็พอ เพราะเขายอมจะรับเงินจำนวนใดก็ได้ที่มากกว่าศูนย์เล็กน้อย เนื่องจากจะทำให้เราได้ประโยชน์มากกว่าไม่ได้รับเงินเลย แต่จากผลการสอบถามของ Prof Rubinstein ใน 8 ประเทศ พบว่าเงินที่แบ่งให้นั้นเฉลี่ยเท่ากับ 40-48 บาท โดยคนไทยให้เงินมากที่สุดคือ 48 บาท ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะหวังว่าอีกฝ่ายหนึ่ง จะไม่ยอมรับเงินทำให้เราอดได้เงินไปด้วย แต่ทั้งนี้ไม่ใช่ว่าทฤษฎีของ Nash จะผิด เพราะเงินจำนวนน้อยจะทำให้คนที่ขี้อิจฉายอมทิ้งเงิน เพียงเพราะไม่ต้องการเสียเปรียบใคร แต่หากเปลี่ยนจำนวนเงินให้เป็น 500 ล้านบาท ก็น่าจะเชื่อได้ว่าหากเราเสนอให้อีกคนหนึ่งได้เงิน 10 ล้านบาท เขาคงจะรับเอาไว้ แม้ว่าจะเสียเปรียบเราที่ได้เงินถึง 490 ล้านบาท
เกมสุดท้ายที่ผมจะนำมาพูดถึงคือ ถ้าสมมุติว่ามีสนามรบอยู่ 6 สนามเท่ากัน โจทย์คือให้วางกำลังในแต่ละสนามรบ โดยหากฝ่ายใครมีทหารมากกว่าฝ่ายนั้นก็จะชนะ และผู้ที่จะรบชนะในสนามรบมากกว่าจะเป็นฝ่ายชนะ จะเห็นได้ว่าหากต่างฝ่ายต่างวางกำลังสนามรบละ 20 นายเท่ากัน ก็จะไม่มีฝ่ายใดได้รับชัยชนะในสนามรบได้เลย ผลปรากฏว่ากลยุทธ์ที่กระจายกำลังทหารในแต่ละสนามรบตามลำดับดังนี้ 1 คนที่สนามรบ 1, 31 คน ที่สนามรบ 2, 31 คนที่สนามรบ 3, 25 คน ที่สนามรบ 4, 31 คน ที่สนามรบ 5 และ 1 คนที่สนามรบ 6 เป็นกลยุทธ์ที่ให้ชัยชนะสูงสุด ในการใช้คอมพิวเตอร์แข่งขันในลักษณะที่ให้ทุกคนได้แข่งขันกัน (Round Robin) การทดลองนี้แสดงให้เห็นว่า มนุษย์มีความต้องการที่จะเข้ามาอยู่ที่ตลาดกลาง และอาจมีประโยชน์ในการวางแผนรบทางการทหารอีกด้วย
---------------------
เกร็ดตวามรู้เกี่ยวกับตัวตนของแนช อันเป็นที่มาของหนังสือและภาพยนตร์ "A Beautiful Mind" ที่นพมาส แววหงส์ ผู้แปลถึงกับหงุดหงิดใจ เมื่อไม่สามารถใช้ชื่อหนังสือเป็นภาษาไทย "จิตประภัสสร"
-ระหว่างที่แนชศึกษาอยู่ที่ Princeton University เพื่อนๆถามเขาเสมอว่า "ทำไมไม่ค่อยเข้าฟังการบรรยายของอาจารย์เลย" แนชบอกว่า "ประเทศกำลังต้องการความคิดและทฤษฏีใหม่ๆ เพื่อนำไปแข่งขันกับรัสเซีย การเข้าฟังการบรรยายของอาจารย์เกรงว่า ความคิดของอาจารย์จะครอบงำความคิดของเขา กระทั่งเป็นอุปสรรคต่อการค้นพบทฤษฏีใหม่ๆที่เป็นโยชน์ต่อประเทศ"
-ระหว่างศึกษาแนชมีความใฝ่ฝันที่จะได้พบ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) ซึ่งขณะนั้นเป็นอาจารย์อยู่ที่ Princeton เขาพยายามหลายครั้งในที่สุดก็ได้พบขณะที่ไอน์สไตน์ เดินออกจากบ้านพักในมหาวิทยาลัย
-ผลงานของแนชไม่สามารถสอบผ่านในระดับปริญญาตรีได้ แต่เมื่อผลงานของเขาถูกส่งไปพิจารณาในระดับกรรมการบริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัย แนชกลับได้รับเกียรติว่าวิธีคิดของแนชนั้นแท้จริงควรที่ก้าวข้ามไปศึกษาในระดับปริญญาเอก ในเวลาต่อมาแนชก็สามารถสร้างผลงานทางคณิตศาสตร์ Nash Equilibrium ของเขาและจบปริญญาเอกที่ Princeton University
-ทฤษฏี Non-cooperative game theory ของแนชแตกต่างจากทฤษฏีเกมที่เคยมีมาก่อนหน้า ซึ่งในเกมการแข่งขันนั้นจะต้องมีผู้แพ้และชนะ ซึ่งการแข่งขันอยากที่จะสิ้นสุด จะพบเกมที่เริ่มต้นใหม่อยู่เสมอ หากแต่ทฤษฏีเกมของแนชกลับพบความสมดุลสมบูรณ์อย่างแท้จริงและเป็นไปแบบธรรมชาติที่สุด
-ทฤษฏีเกมของแนชทุกฝ่ายจะถูกดึงเข้ามาเล่นโดยธรรมชาติ และต่อสู้กันอย่างถึงที่สุด เมื่อสิ้นสุดเกมจะไม่มีผู้แพ้ ดุลยภาพในทฤษฏีเกมของแนชจะทำให้ผู้ร่วมในเกมจะรักษาดุลยภาพของตนให้สูญเสียน้อยที่สุด ผู้ที่ไม่เข้าร่วมในเกมจะเป็นผู้สูญเสียผลประโยชน์สูงสุด
-หลังจากแนชสำเร็จการศึกษาและทำงานได้เพียง ๓ ปี แนชกลับโชคร้าย แนชป่วยด้วย โรคจิตเภท [Schizophrenia] ซึ่งแนชกล่าวถึงชีวิตของเขา ระหว่างการรับรางวัลโนเบลว่า "สิ่งที่เขาสงสารตัวตนชีวิตของเขามากที่สุด ก็คือการที่เขาไม่สามารถรับรู้ได้เลยว่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นตลอดชั่วชีวิตของเขา มันเป็นภาพหลอนหรือความจริง แม้กระทั่งการได้รับรางวัลนี้"
-เแนชแต่งงานกับสาวงามระดับดาวของมหาวิทยาลัย และเป็นนักศึกษาระดับอัจฉริยะซึ่งเป็นหนึ่งในลูกศิษย์ของเขา แต่ความสุขและความงดงามในชีวิตครอบครัวของแนชอยู่ได้ไม่นานเพียงลูกยังแบเบาะ แนชต้องเป็นฝ่ายขอร้องภรรยาของเขาเพื่อแยกทางกัน เมื่อแนชพบว่าขณะที่ภาวะจิตเภทครอบงำตัวตนของเขาอยู่นั้น เขามักทำร้าย ลูกและภรรยาอยู่เสมอ
-หลังแยกทางกับภรรยา แนชใช้ชีวิตของเขาแบบคนบ้าทั่วๆไป แนชเดินตะรอนเรื่อยเปื่อยอย่างไร้ตัวตนของตนเองและเป้าหมาย เดินไปบนถนนอยู่ตามตรอกซอกซอยราว ๑๐ ปี
-ในความโชคร้ายของแนชก็มีความสวยงามอยู่อย่างสมบูรณ์ เมื่อภรรยาของเขาออกตามหาและนำแนชมาอยู่ด้วย เพื่อรักษาโรคร้ายนั้น (ไม่ใช่สถานะสามี-ภรรยา) เมื่ออาการของแนชเริ่มดีขึ้น แนชได้ขอร้องให้ภรรยานำเขากลับไป Princeton University อีกครั้ง แนชจะได้รับเชิญให้บรรยายแก่นักศึกษาระดับอัจฉริยะ ทุกครั้งเมื่อตัวตนของแนชหลุดพ้นจากสภาพจิตเภทครอบงำ(ชั่วคราว) และอยู่ในสภาวะปกติ
-ระหว่างปี ๑๙๘๐ เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาตกต่ำ และเกิดปัญหาความขัดแย้งด้านแรงงานอย่างรุนแรง ระหว่างเกษตรกรในประเทศ กับบริษัทยักษ์ใหญ่ของUSA ที่ไปลงทุนด้านการเกษตรในลาตินและนำผลผลิตกลับมาทุ่มใส่ตลาดในUSA รัฐบาลพบทางตันหาทางออกไม่ได้ ที่สุดทฤษฏีเกมของแนชที่ถูกทิ้งผุเปื่อยไร้ความสนใจอยู่นาถึง ๓๐ ปี(๑๙๕๑-๑๙๘๐) ได้ถูกรัฐบาลสหรัฐนำมาปัดฝุ่นใช้แก้ปัญหาความขัดแย้งลุล่วงประสบความสำเร็จยอดเยี่ยม รวมถึงสามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจการเมืองสหรัฐไปพร้อมๆกัน นอกจากนั้นแล้วปัญหาสงครามเย็นระหว่างสหรัฐ-รัเซีย-จีนก็เชื่อกันว่าความสำเร็จมาจากทฤษฏีเกมของแนชด้วยเช่นกัน ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกขยายตัว
ปัจจุบันทฤษฏีเกมของแนชถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในด้านเศรษฐกิจ-การเมือง ทั้งภายในและระหว่างประเทศ รวมถึงการใช้ในการแข่งขันทางธุรกิจฯลฯ
รัฐบาลสหรัฐได้เสนอผลงานของแนชเข้าชิงรางวัลโนเบล และได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ในปี 1994 [Nobel Prize in Economics ] แนชกล่าวสุนทรพจน์สั้นๆขณะขึ้นรับรางวัลโนเบล "ตลอดชั่วชีวิตของผมเชื่อในตรรกะและคณิตศาสตร์ ชีวิตของผมต้องเผชิญกับสิ่งที่รบกวนตัวตนของผมมาตลอด และที่เลวร้ายที่สุดในชีวิตของผมก็คือสภาพที่ ผมไม่สามารถรับรู้ได้เลยว่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นตลอดชั่วชีวิตของผมมันเป็นภาพหลอนหรือความจริง แม้กระทั่งการขึ้นรับรางวัลนี้ แต่เหนือสิ่งอื่นใดในชีวิตของผมคือภรรยาของผม"
กล่าวกันอย่างติดตลกว่าความอัจริยะของแนชล้ำลึกเหนือชั้นจริงๆแม้การเลือกคู่ครองศรีภรรยาของเขา
นี่คงไม่ถึงเศษเสี้ยวความงดงามในตัวตนของแนช "A Beautiful Mind" ที่ นพมาส แววหงส์ ผู้แปลสำผัสได้ "จิตประภัสสร"
paranoid schizophrenia 在 How Paranoid Schizophrenia Impacts My Life - A Day in the Life 的推薦與評價
Allie Burke first started seeing shadows when she was three years old but it wasn't until she was in her mid-twenties that she was formally ... ... <看更多>